[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
28 เมษายน 2567 14:24:50 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ประวัติหลวงธรรมาภิมณฑ์ (ถึก จิตรกถึก) - พระนิพนธ์ สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ  (อ่าน 180 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5462


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 109.0.0.0 Chrome 109.0.0.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 09 สิงหาคม 2566 14:57:46 »



ประวัติหลวงธรรมาภิมณฑ์ (ถึก จิตรกถึก)
พระนิพนธ์ สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ

หลวงธรรมาภิมณฑ์(ถึก) ผู้ต้นสกุลจิตรกถึก เป็นชาวจังหวัดจันทบุรี บ้านเดิมอยู่ ณ ตำบลบ้านตะปอนน้อยในท้องที่อำเภอขลุง เกิดในรัชชกาลที่ ๔ เมื่อวันที่ ๕ กรกฎาคม ปีมะเมีย พ.ศ. ๒๔๐๑ บิดาเป็นที่ขุนมณีบุบผา ชื่อจีด เมื่อหลวงธรรมาภิมณฑ์ยังเป็นเด็กเข้ามาอยู่ในกรุงเทพฯ กับ พระยาธรรมปรีชา(บุญ) ผู้เป็นลุง พระยาธรรมปรีชา (บุญ) นั้นเป็นที่นับถือกันว่าเป็นอาจารย์พระปริยัติธรรมอย่างยอดเยี่ยมผู้หนึ่ง มีศิษย์มาก ที่ได้ถึงคุณธรรมชั้นสูงก็หลายองค์ ว่าแต่เพียงที่นึกได้ในเวลาแต่งหนังสือนี้ เช่น พระศาสนโสภณ (อ่อน) วัดราชประดิษฐ์ และสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย วัดเทพศิรินทรบัดนี้ เป็นต้น ถึงเจ้าพระยายมราชก็เป็นศิษย์พระยาธรรมปรีชา จนได้เป็นเปรียญ หลวงธรรมาภิมณฑ์ได้ศึกษาอักษรสมัยเบื้องต้นต่อพระยาธรรมปรีชา (บุญ) แล้วบรรพชาเป็นสามเณรไปอยู่วัดบุบผาราม จังหวัดธนบุรี จนอายุครบอุปสมบทบวชเป็นพระภิกษุอยู่วัดนั้นต่อมา เมื่อคิดดูโดยสำนักที่ได้ศึกษาและโอกาสที่ได้บวชเรียน ถ้าหากหลวงธรรมาภิมณฑ์มีใจรักในทางที่จะศึกษาพระปริยัติธรรม ก็คงจะได้เป็นมหาบาเรียน แต่อุปนิสสัยของหลวงธรรมาภิมณฑ์ชอบมาทางบทกลอนภาษาไทย จึงศึกษาพระปริยัติธรรมแต่พอเป็นนิสสัยปัจจัย พยายามศึกษาแต่ทางวิชาหนังสือไทยจนสามารถแต่งโคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน นับว่าเป็นอย่างดีในสมัยของตนคนหนึ่ง อันนี้เป็นเหตุให้ได้รับราชการมียศศักดิ์ และเป็นผู้หนึ่งซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทั้งในรัชชกาลที่ ๕ และรัชชกาลที่ ๖ ทรงพระเมตตากรุณามาด้วยเป็นกวี

แรกหลวงธรรมาภิมณฑ์จะได้รู้จักกับข้าพเจ้านั้น ในสมัยเมื่อข้าพเจ้าเป็นอธิบดีกรมศึกษาธิการ มีหน้าที่จัดการบำรุงศาลาที่เล่าเรียนพระปริยัติธรรมของพระภิกษุสามเณรที่ในวัดพระศรีรัตนศาสดารามด้วย ครั้งนั้นตำแหน่งอาจารย์ว่างลงคนหนึ่ง ข้าพเจ้าได้ยินคำสรรเสริญความสามารถของพระยาธรรมปรีชา เมื่อยังไม่ได้รับพระราชทานสัญญาบัตร เรียกกันว่า “อาจารย์บุญ” จึ่งชวนเข้ามาเป็นอาจารย์บอกพระปริยัติธรรม ที่ศาลาหน้าวัดพระศรีรัตนศาสดาราม แล้วกราบบังคมทูลขอพระราชทานบรรดาศักดิ์ให้เป็นที่หลวงญาณภิรมย์ ในกรมราชบัณฑิตย์ เสมอกับอาจารย์คนอื่นซึ่งบอกหนังสืออยู่ในที่แห่งเดียวกัน ในไม่ช้าก็มีพระภิกษุสามเณรพากันนิยมมาศึกษาในสำนักหลวงญาณภิรมย์ (บุญ) มากขึ้นทุกที จนที่เก๋งศาลาข้างหน้าวัดไม่พอ ต้องย้ายเข้าไปอาศัยพระพุทธปรางค์ปราสาท (ซึ่งเป็นปราสาทพระเทพบิดรเดี๋ยวนี้) เป็นที่บอกพระปริยัติธรรม มีพระภิกษุสามเณรมาเล่าเรียนมากกว่าที่แห่งใดๆ หมด เกียรติคุณของหลวงญาณภิรมย์ (บุญ) ก็ปรากฏแพร่หลายขึ้นโดยลำดับมา เป็นเหตุให้ทรงพระกรุณาโปรดฯ ให้เลื่อนบรรดาศักดิ์ขึ้นจนถึงได้เป็นพระยาธรรมปรีชา เป็นที่สุด

เมื่อหลวงธรรมาภิมณฑ์บวชเป็นพระภิกษุได้ ๗ พรรษาแล้วลาสิกขาบท พระยาธรรมปรีชา (บุญ) พามาฝากข้าพเจ้าเมื่อ พ.ศ.๒๔๒๗ แรกเข้ารับราชการเป็นตำแหน่งเสมียนในกรมศึกษาธิการ อยู่สักปี ๑ ได้เลื่อนตำแหน่งย้ายไปเป็นครูรองที่โรงเรียนวัดประยูรวงศาวาส ต่อมาอีก ๓ ปี ถึง พ.ศ. ๒๔๓๑ ได้เลื่อนเป็นครูใหญ่โรงเรียนวัดจักรวรรดิราชาวาส คุณวิเศษของหลวงธรรมาภิมณฑ์ ในทางกวีเริ่มปรากฏในตอนนี้ ด้วยเหตุสองอย่างคือ เมื่อมีโรงเรียนหลวงตั้งขึ้นตามวัด เวลาเสด็จพระราชดำเนินพระราชทานพระกฐิน หรือว่าเจ้านายเสด็จไปทอดพระกฐินต่างพระองค์ นักเรียนในโรงเรียนย่อมมายืนแถวคอยเฝ้าฯ และครูใหญ่แต่งโคลงถวายพระพรทูลเกล้าฯ ถวายทุกแห่ง ปรากฏสำนวนโคลงของหลวงธรรมาภิมณฑ์แต่ยังเรียกกันว่า “ครูถึก” แต่งดี อีกอย่างหนี่งนั้นหอพระสมุดวชิรญาณออกหนังสือพิมพ์วชิรญาณวิเศษ รับหนังสือซึ่งแต่งใหม่ หลวงธรรมาภิมณฑ์แต่งโคลงฉันท์ส่งมาลงพิมพ์ ได้รับชมว่าสำนวนดี ข้าพเจ้าจึงได้แนะนำให้หลวงธรรมาภิมณฑ์พากเพียรในการแต่งบทกลอนหนังสือไทยให้เป็นเรื่องเป็นราว หลวงธรรมาภิมณฑ์ได้แต่งฉันท์ชาดกเรื่องหนึ่ง (จะเป็นเรื่องอะไรจำชื่อไม่ได้ และหาฉะบับไม่ได้เสียแล้วในเวลานี้) มาให้ข้าพเจ้าเรื่องหนึ่ง เห็นว่าสำนวนดี แต่เรื่องยังจืดนัก แต่ยังมิทันที่จะขอให้เปลี่ยนแปลงประการใด ข้าพเจ้าย้ายจากกระทรวงธรรมการไปเป็นเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ฝ่ายหลวงธรรมาภิมณฑ์ก็เผอิญเกิดมีอาการเจ็บป่วยเรื้อรัง จึงลาออกจากตำแหน่งไปรักษาตัวอยู่ที่บ้านเดิมในแขวงจังหวัดจันทบุรี  ครั้นหายป่วยเข้ารับตำแหน่งเป็นครูโรงเรียนของกรมทหารเรืออยู่ที่อำเภอขลุง จนสมเด็จพระวชิรญาณวงศ์ฯ เมื่อ(ยังเป็นที่พระสุคุณคณาภรณ์) เป็นตำแหน่งเจ้าคณะสงฆ์มณฑลจันทบุรีไปพบเข้า ชวนไปเป็นครูใหญ่ที่โรงเรียนวัดจันทน์ในเมืองจันทบุรี ครั้นเมื่อ พ.ศ.๒๔๕๒ ทางกรุงเทพฯ ข้าพเจ้ากลับเข้ามีตำแหน่งเป็นกรรมการหอพระสมุดวชิรญาณ คิดปรับปรุงหนังสือวชิรญาณ นึกขึ้นถึง “ครูถึก” สืบได้ความว่าออกไปเป็นครูอยู่เมืองจันทบุรี จึงได้ชวนให้กระทรวงธรรมการเรียกกลับเข้ามาไว้ในกองแต่งตำราเรียน แต่นั้นหลวงธรรมาภิมณฑ์ก็มามีตำแหน่งราชการอยู่ในกระทรวงธรรมการ และได้มาช่วยแต่งหนังสือในหอพระสมุดวชิรญาณสืบมา เพราะความชอบในการแต่งหนังสือเรื่องต่างๆ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานสัญญาบัตรให้เป็นที่หลวงธรรมาภิมณฑ์ มีตำแหน่งในกรมราชบัณฑิตย์ เมื่อ พ.ศ.๒๔๔๖ ต่อมาถึงรัชชกาลที่ ๖ ได้พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เบ็ญจมาภรณ์ช้างเผือก กับเหรียญรัตนาภรณ์ ชั้นที่ ๔ ถึง พ.ศ.๒๔๕๙ ย้ายตำแหน่งมาเป็นพนักงานฝ่ายหนังสือไทยในหอพระสมุดวชิรญาณ สำหรับพระนคร ได้เลื่อนยศเป็นรองอำมาตย์เอก และได้พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ จตุรถาภรณ์ มงกุฎสยาม กับเหรียญจักรพรรดิมาลา รับราชการมาจน พ.ศ.๒๔๗๐ มีอาการเจ็บป่วยด้วยความชราทุพพลภาพ จึงต้องออกจากราชการ ได้รับพระราชทานเบี้ยบำนาญต่อมา แต่อาการป่วยไม่หายเป็นปกติได้ ครั้นถึงวันที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๗๑ หลวงธรรมาภิมณฑ์ (ถึก จิตรกถึก) ถึงแก่กรรมด้วยโรคชรา อายุได้ ๗๑ ปี

หนังสือเรื่องต่าง ๆ ซึ่งหลวงธรรมาภิมณฑ์ (ถึก จิตรกถึก) ได้แต่งไว้ ค้นฉะบับพบเมื่อเรียบเรียงเรื่องประวัตินี้ คือ

            ๑. โคลงนิราสวัดรวก แต่งเมื่อ พ.ศ.๒๔๒๘ พิมพ์แล้ว

            ๒. วินิสวานิชคำฉันท์ เรื่องนี้แต่งเมื่อ พ.ศ.๒๔๓๓ เวลารับราชการอยู่ด้วยกันกับข้าพเจ้าในกรมศึกษาธิการเดิม หลวงธรรมาภิมณฑ์แต่งฉันท์เรื่องชาดกมาให้ข้าพเจ้าดังกล่าวแล้ว ข้าพเจ้าติว่าเรื่องจืดนัก ให้หาเรื่องให้ดีกว่านั้น หลวงธรรมาภิมณฑ์บอกว่าไม่รู้ว่าจะไปหาเรื่องที่ไหน เมื่อกลับมาทำงานด้วยกันอีก ข้าพเจ้าจึงเขียนโครงนิทานเรื่อง เมอชันต์, ออฟ - เวนิศ บทละครของเชกสเปียให้หลวงธรรมาภิมณฑ์ไปแต่งขึ้นเป็นฉันท์ ให้ชื่อว่า วินิศ - วานิช ฉันท์เรื่องนี้ได้นำขึ้นทูลเกล้า ฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดและได้พิมพ์แล้วหลายครั้ง

            ๓. เบริคคลิสคำฉันท์ ข้าพเจ้าเขียนโครงนิทานบทละครเรื่องเบริคคลิสชองเชกสเปีย ให้แต่งอีกเรื่องหนึ่ง แต่แต่งไม่ตลอด (จะเป็นเพราะข้าพเจ้าเขียนโครงเรื่องให้ไม่หมด หรือหลวงธรรมาภิมณฑ์แต่งไม่ตลอดเอง ลืมเสียแล้ว) มีอยู่แต่ฉบับเขียนยังไม่ได้พิมพ์

            ๔. สิทธิศิลปคำฉันท์ ของหลวงธรรมาภิมณฑ์ คิดเรื่องขึ้นเอง แต่งเมื่อ พ.ศ.๒๔๓๕

            ๕. เพ็ชรมงกุฎคำฉันท์ เอาเรื่องจากลิลิตมาแต่ง เมื่อ พ.ศ.๒๔๔๕

            ๖. รัชมังคลาภิเษกคำฉันท์ เรื่องนี้ข้าพเจ้าคิดรูปเรื่องให้หลวงธรรมาภิมณฑ์แต่ง เฉลิมพระเกียรติยศพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อเสด็จสวรรคตแล้ว แต่แต่งดีไม่ได้ถึงดังใจข้าพเจ้า จึงยังไม่ได้พิมพ์

            ๗. ฉันท์ดุษฎีสังเวย สำหรับงานพระราชพิธีฉัตรมงคลรัชชกาลที่ ๖ หลวงธรรมาภิมณฑ์แต่งลา ๑ (กรมหมื่นกวีพจนสุปรีชา แต่งลา ๒ พระยาพจนปรีชา ม.ร.ว.สำเริง อิศรศักดิ์ฯ แต่งลา ๓ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ แต่งลา ๔)

            ๘. ฉันท์ดุษฎีสังเวยกล่อมช้างเผือก พระเศวตวชิรพาหะ แต่งเมื่อ พ.ศ.๒๔๕๔ ได้พระราชทานรางวัล

            ๙. กฎาหกคำฉันท์ เอาเรื่องนิบาตชาดกมาแต่งเมื่อ พ.ศ.๒๔๕๖ 

            ๑๐. ธาดามณีศรีสุพิน กลอนสุภาพ ๒ เล่มสมุดไทย จะแต่งเมื่อใดหาทราบไม่

            ๑๑. เรื่องสามก๊ก ตอนนางเตียวเสี้ยนกับตั๋งโต๊ะ แต่งเป็นกลอนสุภาพ แต่งเมื่อใดหาทราบไม่

            ๑๒. ประชุมลำนำ เรื่องนี้แต่งเมื่อหลวงธรรมาภิมณฑ์ชราและเริ่มป่วยเสียแล้ว

นอกจากนี้ยังมีคำฉันท์และคำกลอนเบ็ดเตล็ดซึ่งหลวงธรรมาภิมณฑ์ ได้แต่งอีกมาก แต่มิได้เป็นเรื่องต่างหาก จึงมิได้ลงในบัญชีนี้



ที่มา : "ประวัติหลวงธรรมาภิมณฑ์ (ถึก จิตรกถึก)" พระนิพนธ์ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ
         บริษัท แพร่พิทยา บริษัท โอเดียนสโตร์ กรุงเทพฯ พิมพ์เผยแพร่ พ.ศ.๒๔๙๖
         (การสะกดคำ - คัดตามต้นฉบับ)

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
สมเด็จฯ พระพันปีหลวง ในทรรศนะของหมอสมิธ : เรื่องเล่าของชาวต่างชาติ
สุขใจ ห้องสมุด
Kimleng 0 16570 กระทู้ล่าสุด 03 พฤศจิกายน 2556 18:52:03
โดย Kimleng
การเสด็จลี้ภัยไปประทับ ณ ปีนัง ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
สุขใจ ห้องสมุด
Kimleng 0 10520 กระทู้ล่าสุด 25 มิถุนายน 2557 14:57:34
โดย Kimleng
วัดนิเวศธรรมประวัติ 'ประวัติวัด' พระนิพนธ์สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
สุขใจ ไปเที่ยว
Kimleng 2 3926 กระทู้ล่าสุด 10 พฤษภาคม 2559 16:44:15
โดย Kimleng
45 พรรษาของพระพุทธเจ้า พระนิพนธ์ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช
พุทธประวัติ แห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
มดเอ๊ก 0 2059 กระทู้ล่าสุด 24 ธันวาคม 2559 00:12:17
โดย มดเอ๊ก
[ไทยรัฐ] - ส.ผู้สื่อข่าวกีฬาออนไลน์ ประสานพบ “สี จิ้นผิง” ดันงาน “150 ปีพุฒาจารย์โต สมเด็จฯ คู่แ
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 182 กระทู้ล่าสุด 27 ตุลาคม 2565 22:50:45
โดย สุขใจ ข่าวสด
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.354 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 21 เมษายน 2567 23:02:37