ปชช.จัดขบวนเยือน ก.คลัง มหาดไทย พม. ค้านตัดเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ
<span class="submitted-by">Submitted on Thu, 2023-08-17 14:09</span><div class="field field-name-field-byline field-type-text-long field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><p>ที่มาภาพ: Chanakarn Laosarakham</p>
</div></div></div><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>เครือข่ายสลัมสี่ภาค เครือข่ายประชาชนเพื่อรัฐสวัสดิการ และ We Fair จัดขบวนเยือน กระทรวงการคลัง มหาดไทย และ พม. ชู 5 ข้อเรียกร้องค้านการตัดเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ แล้วกลับไปใช้ระเบียบเดิม ซึ่งคงสิทธิถ้วนหน้าโดยไม่ต้องพิสูจน์ความยากจน</p>
<div class="more-story">
<ul>
<li>
เทียบ 'เบี้ยผู้สูงอายุ' จากสวัสดิการถ้วนหน้า สู่สงเคราะห์ที่ต้องพิสูจน์ความจน </li>
<li>
‘ก้าวไกล’ ค้านปรับเกณฑ์จ่ายเบี้ยผู้สูงอายุ ชี้ย้อนกลับไปเป็นระบบสงเคราะห์</li>
</ul>
</div>
<p>17 ส.ค. 2566 เวลา 10.00 น. เครือข่ายสลัมสี่ภาค เครือข่ายประชาชนเพื่อรัฐสวัสดิการ และเครือข่ายรัฐสวัสดิการเพื่อความเท่าเทียมและเป็นธรรม (We Fair) จัดกิจกรรม “ค้านการตัดเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ” โดยจัดขบวนไป 3 ที่ ได้แก่ กระทรวงการคลัง กระทรวงมหาดไทยและกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ </p>
<p>การชุมนุมดังกล่าว สืบเนื่องมาจากเมื่อวันที่ 11 ส.ค.2566 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยหลักเกณฑ์การจ่ายเงิน เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2566 ลงนามโดย พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย </p>
<p>ประเด็นสำคัญที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์คือ มีการปรับเปลี่ยนหลักเกณฑ์การจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ แก้คุณสมบัติของผู้มีสิทธิได้รับเบี้ยยังชีพ ต้องเป็น “ผู้ที่ไม่มีรายได้” หรือ “มีรายได้ไม่เพียงพอแก่การยังชีพ” ตามที่คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติกำหนด</p>
<p>เป็นการเปลี่ยนเกณฑ์จากเดิมที่ให้แบบถ้วนหน้า ไปเป็นการให้แบบสังคมสงเคราะห์เฉพาะคน</p>
<p>จากเดิมที่ต้องมีสัญชาติไทย มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีอายุหกสิบปีบริบูรณ์ขึ้นไป โดย "ไม่เป็นผู้ได้รับสวัสดิการหรือสิทธิประโยชน์อื่นใดจากหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นฯ"</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="
https://live.staticflickr.com/65535/53122527245_ea0cfe6926_b.jpg" /></p>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#d35400;">ภาพ: Chanakarn Laosarakham</span></p>
<p>เวลา 10.25 น. เครือข่ายสังเกตการชุมนุม Mob Data แจ้งต่อผู้สื่อข่าวว่า ผู้ชุมนุมเคลื่อนมาที่ประตู 4 สำนักงบประมาณ มีการเขย่าประตูที่ปิดไว้แต่ตัวแทนขอไม่ให้ทำ ให้โห่ไล่และย้ำไม่ได้อยากจะเข้าไป จากนั้นเริ่มอ่านแถลงการณ์เครือข่ายประชาชน 53 องค์กร 1,468 รายชื่อ "ปกป้องสวัสดิการประชาชน คัดค้านการตัดเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ" ข้อเรียกร้องเช่น ให้ยกเลิกระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การจ่ายเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2566 แล้วกลับไปใช้ระเบียบเดิม ซึ่งคงสิทธิถ้วนหน้าโดยไม่ต้องพิสูจน์ความยากจน และผลักดันการแก้ไขรัฐธรรมนูญให้รัฐสวัสดิการเกิดขึ้น</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="
https://live.staticflickr.com/65535/53122321924_b2797f47c3_b.jpg" /></p>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#d35400;">ภาพ: Chanakarn Laosarakham</span></p>
<p>12.05 น. องค์กรเครือข่ายเดินทางมายังกระทรวงมหาดไทย ต่อมาผู้แทนสำนักงานรัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทยออกมารับหนังสือยกเลิกระเบียบพิสูจน์ความจนคนชรา</p>
<p>12.30 น. องค์กรเครือข่ายเดินทางมายังกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ มวลชนรวมตัวกันนั่งที่บันไดทางเข้าอาคาร</p>
<p>“รัฐบาลนี้ไม่ต้องการที่จะช่วยคนจนเลย ต้องการให้เรายิ่งจน ยิ่งทำให้เราต้องก้มหน้าหาเงิน” </p>
<p>กรกนก คำตา ตัวแทนจากกลุ่มทำทาง กล่าวว่า เงินเบี้ยเลี้ยงผู้สูงอายุเป็นเงินที่แบ่งเบาการทำงานของคนรุ่นใหม่ที่ต้องส่งให้ครอบครัวที่อยุ่ต่างจังหวัด เมื่อรัฐปรับนโยบายให้ผู้สูงอายุพิสูจน์ความจนทำให้การส่งเงินกลับไปที่บ้านในแต่ละครั้งมากขึ้น ทำคนรุ่นใหม่ต้องหาเงิน และใช้เงินอย่างจำกัด ไม่มีโอกาสไปลืมตาอ้าปาก เงิน 600-700 บาท จากรัฐบาลนั้นสามารถช่วยเหลือให้คุณภาพชีวิตเราดีขึ้นได้ยิ่งครอบครัวที่มีผู้สูงอายุหลายคน อีกทั้งเมื่อปรับนโยบายนั้นไม่ใช่ทุกครอบครัวที่ผู้สูงอายุจะมีคนพาไปพิสูจน์ และความยากในการเข้าถึงเทคโนโลยีของผู้สูงอายุก็ยากเช่นกัน เงินผู้สูงอายุเบื้องต้นต้องถ้วนหน้า</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="
https://live.staticflickr.com/65535/53122124261_3c42149d24_b.jpg" /></p>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#d35400;">ภาพ: Chanakarn Laosarakham</span></p>
<p>เวลา 13.05 น. อนุกูล ปีดแก้ว ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์ แรมรุ้ง วรวัธ รองปลัดกระทรวง ลงมาร่วมฟังแถลงการณ์ และรับหนังสือจากตัวแทนผู้สูงอายุ</p>
<p>อนุกูล ปีดแก้ว กล่าวหลังจากรับหนังสือว่าอยากให้มั่นใจได้ว่ากระทรวงการพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์จะไม่ทำให้ผู้สูงอายุผิดหวังแน่นอน… ทั้งท่านและเรามีจุดยืนอันเดียวกัน คือการปกป้องสิทธิของผู้สูงอายุ</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="
https://live.staticflickr.com/65535/53121519037_a8de37c150_b.jpg" /></p>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#d35400;">ภาพ: Chanakarn Laosarakham</span></p>
<div class="note-box">
<p>แถลงการณ์ร่วมเครือข่ายประชาชน 53 องค์กร 1,468 รายชื่อ "ปกป้องสวัสดิการประชาชน คัดค้านการตัดเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ" วันที่ 17 สิงหาคม 2566</p>
<p>ในห้วงยามที่เศรษฐกิจยังไม่ฟื้นตัว รัฐบาล 'ประยุทธ์' ยังคงรักษาการในช่วงการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ กระทรวงมหาดไทยได้ออกหลักเกณฑ์การจ่ายเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2566 โดยเพิ่มคุณสมบัติการเป็นผู้ไม่มีรายได้หรือมีรายได้ไม่เพียงพอแก่การยังชีพ เป็นเงื่อนไขในการรับเบี้ยยังชีพ ทั้งที่ทศวรรษกว่านับตั้งแต่ป๊ 2552 สวัสดิการเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุได้ถูกปรับจากระบบสงเคราะห์คนยากไร้อนาถามาเป็นสิทธิสวัสดิการระบบถ้วนหน้า ขอเพียงให้ประชาชนมีอายุ 60 ปี และไม่ได้รับสวัสดิการหรือบำนาญอื่นใดจากรัฐในลักษณะเดียวกัน</p>
<p>จนเมื่อเข้าสู่การรัฐประหาร 2557 การบริหารประเทศภายใต้การนำของประยุทธ์ จันทร์โอชา การดำเนินนโยบายด้านสวัสดิการสังคม ของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงการคลัง และกระทรวงมหาดไทย กลับลิดรอนสิทธิสวัสดิการของประชาชน ลดทอนด้อยค่า ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ด้วยการให้พิสูจน์ความยากจน แสดงถึงความไม่เชื่อมั่นในระบบสวัสดิการถ้วนหน้าอันเป็นการเคารพสิทธิเสมอกันของประชาชน และส่งเสริมคุณภาพชีวิตของพลเมือง ยิ่งสังคมไทยเข้าสู่สังคมสูงวัย จำนวนผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้น รัฐควรต้องออกโรงมาปกป้องดูแลทรัพยากรมนุษย์ ผู้เป็นกำลังหลักในการขับเคลื่อนประเทศ ด้วยการเพิ่มสิทธิสวัสดิการ ยกระดับคุณภาพชีวิต ในฐานะพลเมือง ทรัพยากรบุคคลของประเทศ</p>
<p>ในนามของพลเมืองที่ได้รับผลกระทบจากการออกระเบียบของกระทรวงมหาดไทย และหลักเกณฑ์ของคณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ เราจะร่วมกันปกป้องสวัสดิการประชาชน และร่วมกันคัดค้านการตัดเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ โดยมีข้อเรียกร้องร่วมกันดังนี้</p>
<p> 1. กระทรวงมหาดไทย ให้ยกเลิกระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การจ่ายเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2566 แล้วกลับไปใช้ระเบียบเดิม ซึ่งคงสิทธิถ้วนหน้าโดยไม่ต้องพิสูจน์ความยากจน และตัดสิทธิการรับสวัสดิการซ้ำซ้อนไว้แล้ว</p>
<p> 2. คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติต้องออกมาปกป้องหลักเกณฑ์การจ่ายสิทธิของผู้สูงอายุทุกตน ไม่ให้ถูกลิดรอนต่ำลงไปกว่าที่เคยเป็น ด้วยการไม่สนองตอบต่อหลักเกณฑ์การจ่ายเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2566</p>
<p> 3. กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ต้องมีบทบาทสำคัญในการยกระดับการเปลี่ยนเบี้ยยังชีพให้เป็นระบบบำนาญถ้วนหน้า ด้วยการออกเป็นกฎหมายรองรับ ไม่ใช่ใช้หลักนโยบายการจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุตามมติคณะรัฐมนตรี</p>
<p> 4. กระทรวงการคลัง ต้องมีบทบาทในการสร้างความเข้มแข็งทางการคลัง โดยการตัดงบประมาณรายจ่ายที่ไม่จำเป็น และหาแหล่งรายได้ใหม่ๆ เข้ารัฐ เพื่อเพิ่มรายได้ในการจัดสวัสดิการสังคมให้กับประชาชนแบบถ้วนหน้า เช่น การศึกษาถึงความเป็นไปได้ในการจัดเก็บภาษีความมั่งคั่ง ภาษีลาภลอย ภาษีกำไรจากการซื้อขายหุ้น เป็นต้น</p>
<p> 5. รัฐบาลใหม่ ต้องผลักดันการแก้ไขรัฐธรรมนูญให้รัฐสวัสดิการเกิดขึ้น สวัสดิการต้องเป็นสิทธิแบบถ้วนหน้าและบรรจุในกฎหมายให้ชัดเจน</p>
</div>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ข
https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์
https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
https://prachatai.com/journal/2023/08/105494 







