[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
09 มิถุนายน 2567 09:15:21 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - นักวิชาการเสนอใช้ 'สวัสดิการชราภาพถ้วนหน้าแบบยืดหยุ่น' ค้านพิสูจน์ความจนก  (อ่าน 118 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
สุขใจ ข่าวสด
I'm Robot
สุขใจ บอทนักข่าว
นักโพสท์ระดับ 15
****

คะแนนความดี: +101/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Italy Italy

กระทู้: มากเกินบรรยาย


บอท @ สุขใจ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 21 สิงหาคม 2566 06:59:17 »

นักวิชาการเสนอใช้ 'สวัสดิการชราภาพถ้วนหน้าแบบยืดหยุ่น' ค้านพิสูจน์ความจนก่อนรับสิทธิ
 


<span class="submitted-by">Submitted on Sun, 2023-08-20 16:35</span><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>20 ส.ค. 2566 รศ.ดร.อนุสรณ์ ธรรมใจ กรรมการวิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ อดีตกรรมการนโยบายและกำกับการบริหารหนี้สาธารณะ กระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ความพยายามในการใช้ระบบจ่ายเบี้ยยังชีพแบบมุ่งเป้าด้วยการพิสูจน์ความจนเพื่อลดภาระทางการคลังนั้นจะสร้างปัญหาในการดำเนินการ มากกว่า ช่วยประหยัดงบประมาณ มีการคาดการณ์ว่า อาจต้องใช้เงินงบประมาณ 9 หมื่นล้านบาทในปีงบประมาณ 2567 ในการจ่ายเบี้ยยังชีพให้กับผู้สูงวัยและงบประมาณส่วนนี้จะเพิ่มสูงขึ้น เรื่อย ๆ จากจำนวนประชากรผู้สูงวัยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะที่เบี้ยยังชีพจ่ายในอัตราปัจจุบันที่ 600-1,000 บาทนั้นก็ไม่เพียงพอต่อผู้สูงอายุที่มีฐานะยากจน ไม่มีรายได้จากการทำงานและไม่มีเงินออม ที่สำคัญเกณฑ์ใหม่เรื่องเบี้ยยังชีพผู้สูงวัยยังเปลี่ยนแนวคิดสวัสดิการสมัยใหม่ถือเป็นสิทธิที่จะมีคุณภาพชีวิตที่ดี เป็น แนวคิดสวัสดิการอนุรักษ์นิยมแบบสงเคราะห์คนจนหรือผู้ด้อยโอกาส </p>
<p>การกำหนดหลักเกณฑ์เพิ่มเติมว่า ผู้ที่จะรับเบี้ยยังชีพต้องเป็นผู้ไม่มีรายได้ หรือมีรายได้ไม่เพียงพอแก่การยังชีพ ตามที่คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติตามกฎหมายว่าด้วยผู้สูงอายุกำหนด เมื่อกำหนดเกณฑ์ใหม่เช่นนี้ก็จำเป็นที่ต้องมีกระบวนการในการพิสูจน์ความจนขึ้น ทำให้เกิดต้นทุนในการบริหารสวัสดิการเบี้ยยังชีพ หากต้นทุนส่วนเพิ่มนี้มากกว่า ผู้สูงอายุที่ไม่ได้ยากจนแต่ได้ใช้สิทธินี้ไป เกณฑ์ใหม่นี้จะไม่เกิดประโยชน์ในการประหยัดงบประมาณเพราะไม่คุ้มกับต้นทุนการบริหารจัดการพิสูจน์ความจนที่เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ในกระบวนการพิสูจน์ความจนนั้นยังก่อให้เกิดการรั่วไหลทุจริตคอร์รัปชันเอื้อประโยชน์กันผ่านการใช้อำนาจดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่ของรัฐในระดับปฏิบัติการได้ นอกจากนี้ อาจเกิดการตกหล่นตกสำรวจของผู้สูงวัยที่มีฐานะยากจนได้ </p>
<p>นอกจากไม่ควรลดสวัสดิการผู้สูงวัยจากเดิมเป็น “สิทธิ” ให้ต้องไป “พิสูจน์ความจน” แล้ว ควรให้เป็น สิทธิถ้วนหน้าเหมือนเดิมและเพิ่มเบี้ยยังชีพจาก 600-1,000 บาท เป็น 2,000-3,000 บาทต่อเดือนแทน ซึ่งต้องใช้เม็ดเงินงบประมาณเพิ่มขึ้นมาขั้นต่ำ 300,000 - 400,000 ล้านบาท โดยงบประมาณส่วนนี้ให้นำมาจากกองทุนหมุนเวียนนอกงบประมาณต่างๆที่ไม่จำเป็น มาจากการเบิกจ่ายสวัสดิการรักษาพยาบาลของข้าราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ลดการจัดซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์ที่ไม่จำเป็น ลดการดูงานต่างประเทศของผู้บริหารในองค์กรของรัฐที่ไม่จำเป็น รวมทั้งต้องมีการจัดเก็บภาษีทรัพย์สินในอัตราก้าวหน้ามากขึ้น หากสามารถจัดการงบประมาณให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นพร้อมกับจัดเก็บภาษีทรัพย์สินได้เพิ่มขึ้น การจ่ายเบี้ยยังชีพหรือบำนาญผู้สูงอายุ 2,000-3,000 บาทต่อเดือนจะสามารถทำได้โดยไม่เกิดความเสี่ยงเรื่องฐานะการคลัง  หากรัฐบาลใหม่วางเป้าหมายต้องการให้ประเทศไทยมีระบบสวัสดิการที่ดีขึ้นย่อมทำได้แต่ต้องมีการปฏิรูประบบการคลังใหม่และต้องปฏิรูประบบราชการให้ทันสมัยเป็นรัฐบาลดิจิทัล  ประเทศรัฐสวัสดิการส่วนใหญ่ในยุโรปมักเป็นประเทศที่มีระบบราชการหรือระบบรัฐการที่ใหญ่ ต้องมีระบบราชการและระบบการเมืองที่โปร่งใส มีประสิทธิภาพ ไม่เช่นนั้นแล้วจะกลายเป็นรัฐสวัสดิการที่ล้มเหลวหรือประสบปัญหาความยั่งยืนทางการเงินการคลัง เกิดวิกฤติทางการคลัง นำไปสู่การลดขนาดของระบบราชการและลดสวัสดิการของประชาชนในที่สุด ปรากฎการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นในบางประเทศในยุโรปใต้และฝรั่งเศส และเมื่อมีการลดสวัสดิการก็จะเกิดการชุมนุมต่อต้านเกิดความไม่สงบขึ้นมาในสังคม เมื่อปีงบประมาณ 2564 รัฐบาลใช้งบกว่า 3 แสนล้านบาท เพื่อเป็นเงินบำนาญข้าราชการ มีอดีตข้าราชการที่ได้รับสิทธิ์ 9.5 แสนคน หรือคิดเป็นเงินบำนาญเฉลี่ย 2.6 หมื่นบาท/คน/เดือน แต่ผู้สูงอายุไทย 11 ล้านคน ได้รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุเพียงเดือนละ 600-1,000 บาทต่อเดือน และจะใช้เงินงบประมาณในปี พ.ศ. 2567 ประมาณ 9 หมื่นล้านบาทเท่านั้น ซึ่งสะท้อนถึงความเหลื่อมล้ำของผู้สูงอายุกลุ่มหนึ่งและผู้สูงอายุอีกกลุ่มหนึ่ง</p>
<p>ขณะนี้เกิดทางตันทางการเมืองไม่สามารถจัดตั้งรัฐบาลได้มากกว่า 3 เดือนแล้วทำให้การตัดสินใจหลายเรื่องเกี่ยวกับการจัดการระบบสวัสดิการของประชาชนต้องชะลอไปก่อน ทางตันเกิดจากรัฐธรรมนูญปี 2560 และ จุดยืนทางการเมืองของวุฒิสมาชิกบางส่วนที่ปฏิเสธเจตนารมณ์ของประชาชนทำให้การเลือกผู้นำประเทศยืดเยื้อมาจนถึงวันนี้  การเลือกนายกรัฐมนตรีให้ได้ภายใน 22 สิงหาคมมีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะหากลากยาวจะสร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจอย่างหนัก อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่อาจปรับตัวลงจากกรณีฐานได้ถึง 0.3-0.5% หากไม่สามารถจัดตั้งได้ภายในเดือน ส.ค.นี้ เราจะสูญเสียโอกาสทางเศรษฐกิจการลงทุนและความล่าช้าในการแก้ปัญหาต่างๆของประเทศ ปัญหามลพิษทางอากาศ PM2.5 จะกลับมาอีก ผลกระทบภัยแล้งกำลังจะมา ปัญหาหนี้ครัวเรือนจะรุนแรงขึ้น จะไม่มีผู้รับผิดชอบประเทศโดยตรงทำข้อตกลงการค้าเปิดตลาดขับเคลื่อนภาคส่งออก ภาคส่งออกไทยปี 66 จะมีมูลค่าประมาณ 280,000-290,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ติดลบ 0.5-1% เมื่อเทียบกับปีก่อนที่ขยายตัว 5.5% เป็นการติดลบครั้งแรกในรอบ 3 ปีนับจากปี 63 ที่ติดลบ 5.9% นอกจากนี้ความล่าช้าในการตั้งรัฐบาลเข้าสู่เดือนที่สี่จะกระทบสวัสดิการประชาชนโดยตรง กรณีเรื่องการเปลี่ยนหลักเกณฑ์การรับเงินเบี้ยยังชีพเป็นตัวอย่างรูปธรรมชัดเจนที่สุด โครงการลงทุนใหม่ๆต้องรอการตัดสินใจจากรัฐบาลใหม่ การปรับตัวสูงขึ้นของค่าไฟฟ้า ราคาพลังงาน อันเป็นผลจากมาตรการรัฐ เป็นต้น       </p>
<p>การเดินหน้าดูแลสวัสดิการของรัฐบาลให้กับประชาชนนั้น เรื่องที่ต้องทำไปพร้อมกัน คือ ต้องปรับเปลี่ยนระบบราชการให้โปร่งใสมีประสิทธิภาพก่อน คือ ต้องปฏิรูประบบราชการครั้งใหญ่พร้อมกับการกระจายอำนาจการจัดระบบสวัสดิการให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เรื่องที่สอง    คือ ต้องปฏิรูปรายได้ภาครัฐและเพิ่มภาษี ประเทศแถบสแกนดิเนเวียที่เป็นประเทศรัฐสวัสดิการเต็มรูปแบบจะมีสัดส่วนรายได้ภาษีอยู่ที่ระดับ 42-48.9% ของจีดีพี อย่างเดนมาร์ก มีสัดส่วนรายได้ภาษีต่อจีดีพีอยู่ที่ 48.9% สวีเดนอยู่ที่ 48.2% โดยประเทศพัฒนาใน OECD มีสัดส่วนรายได้ภาษีต่อจีดีพีเฉลี่ยอยู่ที่ 35% สหรัฐอเมริกาที่ใช้แนวคิดปัจเจกนิยมเสรี (Liberal Individualism) กับ แนวคิดสังคมนิยมประชาธิปไตย (Social Democracy) ผสมกันในจัดระบบสวัสดิการโดยรัฐ ขึ้นอยู่กับว่า พรรคแดโมแครต หรือ พรรครีพับรีกัน พรรคไหนเป็นรัฐบาล มีสัดส่วนรายได้ภาษีต่อจีดีพีเฉลี่ยอยู่ที่ 28-30% ส่วนไทยมีสัดส่วนรายได้ภาษีต่อจีดีพีเพียงแค่  14% เท่านั้น จึงยังห่างไกลต่อการมีฐานะทางการคลังที่สามารถสนับสนุนรัฐสวัสดิการแบบเต็มรูปแบบอย่างสแกนดิเนเวียได้ ประเทศไทยเคยมีสัดส่วนการจัดเก็บรายได้อยู่ที่ระดับ 18% ในปี 2539 ก่อนวิกฤตการณ์เศรษฐกิจปี 2540 </p>
<p>นโยบายประชานิยมแบบแจกเงินไม่มีความจำเป็นในการกระตุ้นเศรษฐกิจช่วงนี้ และ จะนำไปสู่กับดักประชานิยม ยกเลิกยากและทำให้ประชาชนและสังคมอ่อนแอลงในระยะยาว หากเดินหน้าดำเนินการนโยบายประชานิยมแจกเงินต้องก่อหนี้สาธารณะเพิ่มเพราะการจัดเก็บภาษีเพิ่มด้วยการเพิ่มอัตราภาษีในระยะหนึ่งถึงสองปีข้างหน้าอาจไม่เหมาะสมเนื่องจากเศรษฐกิจไทยเพิ่งอยู่ในระยะแรกของการฟื้นตัว ไทยต้องต้องเพิ่มค่าใช้จ่ายทางด้านสวัสดิการสังคมเมื่อเทียบกับจีดีพีและเทียบกับงบประมาณ โดยเฉพาะสวัสดิการผู้สูงวัย ข้อมูลจากองค์การแรงงานระหว่างประเทศ หรือ ILO แสดงว่า รายจ่ายของรัฐบาลไทยสำหรับสวัสดิการผู้สูงอายุคิดเป็น 1.5% ต่อ GDP เท่านั้น ถือว่าน้อยกว่าหลายประเทศในภูมิภาคเอเชียและน้อยกว่าอย่างมากเมื่อเทียบประเทศที่เผชิญการเปลี่ยนผ่านโครงสร้างทางประชากรผู้สูงวัยใกล้เคียงกัน ส่วนข้อมูลจากดัชนี Mercer CFA Institute Global Pension Index (MCGPI) ประจำปี 2022 ซึ่งจัดทำโดย Mercer CFA Institute แสดงให้เห็นว่า ไทยได้คะแนนต่ำที่สุดเมื่อเทียบกับ 44 ประเทศในดัชนี สะท้อนให้เห็นว่าระบบบำนาญของไทยยังไม่แข็งแรง หมายความว่า ผู้สูงอายุชาวไทยทั้งปัจจุบันและในอนาคตแทบไม่มีหลักประกันเพียงพอ โดยไทยมีรายจ่ายด้านสวัสดิการเทียบกับจีดีพีและเทียบกับงบประมาณค่อนข้างต่ำ แต่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม รายจ่ายทางด้านสวัสดิการสังคมในปัจจุบันของไทยยังต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศสแกนดิเนเวียต้นแบบรัฐสวัสดิการมากกว่า 14-15 เท่า และ อย่างสวีเดนหรือเดนมาร์กมีรายจ่ายเพื่อสวัสดิการสังคมต่อหัวมากกว่าไทย ประมาณ 600 เท่า การดำเนินการยกระดับประเทศไทยสู่ระบบรัฐสวัสดิการจึงต้องใช้เวลา ประเมินจากฐานะการเงินการคลังของประเทศ รายจ่ายด้านสวัสดิการสังคม โครงสร้างประชากรล่าสุด สภาวะเศรษฐกิจและสังคมของไทย คาดว่าต้องใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 10 ปีจึงจะบรรลุเป้าหมายการมีระบบรัฐสวัสดิการที่มีมาตรฐานแบบยุโรปเหนือ จำเป็นต้องมีรัฐบาลที่มีนโยบายสร้างระบบรัฐสวัสดิการทำงานต่อเนื่องอย่างน้อยสองวาระจึงจะบรรลุเป้าหมายได้ เป้าหมายนี้อาจเป็นจริงได้ยากหากรัฐบาลไม่มีเสถียรภาพ โครงสร้างอำนาจและระบบพรรคการเมืองต้องมีการเปลี่ยนแปลงให้เกิด Strong and Accountable Government </p>
<p>แต่ควรเป็นระบบรัฐสวัสดิการที่มีความยืดหยุ่นเพื่อเลี่ยงวิกฤติการคลังเช่นประเทศยุโรปบางประเทศ ในอีกด้านหนึ่ง หากไม่เร่งดำเนินการ ผู้สูงอายุที่ยากจนจะประสบความเดือดร้อนทางเศรษฐกิจและการดำรงชีวิตอย่างมาก และ สังคมไทยก็ได้ก้าวสู่สังคมสูงวัยเต็มรูปแบบแล้ว ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ และ ความไม่เป็นธรรมทางสังคมจะเพิ่มขึ้นอีก และ อาจเป็นเงื่อนไขในการเกิดความไม่สงบเรียบร้อยในสังคม (Social Unrest) ได้ โครงสร้างประชากรที่เข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างรวดเร็ว ส่วนใหญ่มีเงินออมไม่เพียงพอต่อการดำรงชีพและไม่อยู่ในระดับบำนาญใดๆจะเป็นปัญหาวิกฤติในอนาคตอันใกล้ ประชากรในวัยทำงานลดลงอย่างมาก ต้องอาศัยแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้าน การศึกษานโยบายการเพิ่มประชากรผ่านการตั้งถิ่นฐานใหม่ของแรงงานทักษะสูงการศึกษาสูงเป็นเรื่องที่ควรมีการเตรียมการเอาไว้ </p>
<p>รศ.ดร.อนุสรณ์ กล่าวต่อว่ามาตรการแจกเงินนั้นเป็นเรื่องชั่วคราว ไม่ยั่งยืน เป็นนโยบายแนวประชานิยมที่อาจสร้างปัญหาได้ เพราะเป็นประชานิยมที่ไม่ได้ยึดกรอบการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจมหภาคที่ดี สิ่งที่รัฐบาลใหม่ควรทำ คือ  การปฏิรูประบบสวัสดิการสังคม มุ่งไปที่การสร้างความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจและลดความเหลื่อมล้ำ รวมทั้ง วางแผนให้เกิดความยั่งยืนทางการเงิน การปฏิรูประบบการศึกษาต้องเน้นไปที่คุณภาพการศึกษามากกว่า การใช้ระดับปีการศึกษา (School attainment) หรือ จำนวนปีการศึกษา (Year of schooling) เป็นเป้าหมายไม่เพียงพอ การลงทุนทางด้านการศึกษาอย่างจริงจัง โดยเฉพาะในระดับอาชีวศึกษาและระดับการศึกษาพื้นฐานจะช่วยแก้ปัญหาความยากจนข้ามรุ่นได้  </p>
<p>ประเทศไทยประสบกับปัญหาความไม่สอดคล้องระหว่างความต้องการและอุปทานในตลาดแรงงานแล้วยังจะประสบปัญหาการขาดแคลนแรงงานจากสังคมสูงวัยอีกด้วย การผลิตคนสู่ภาคการผลิตของเรายังไม่ได้อิงกับอุปสงค์ของระบบเศรษฐกิจเท่าไหร่นัก สถาบันการศึกษาเลือกผลิตคนตามความพร้อมของตน นอกจากนี้ระบบการศึกษายังผลิตคนตามความนิยมและค่านิยมในการเรียนมากกว่าความต้องการจริงๆในระบบเศรษฐกิจ ระบบการศึกษาไทย จึงเป็น Supply Driven Education System คุณภาพทางด้านการศึกษาระดับสูงของไทยลดลงอย่างต่อเนื่องเนื่องจากการลงทุนทางด้านวิจัยและการค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการอุดมศึกษาไม่ได้เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ความด้อยลงของคุณภาพการศึกษาสะท้อนมาที่แรงงานที่ไม่มีคุณภาพ นอกจากนี้ระบบการศึกษายังไม่ได้เตรียมคนสำหรับเศรษฐกิจในยุคหุ่นยนต์และ AI ให้ได้แรงงานที่มีทักษะแบบใหม่ ขณะที่ ตำแหน่งงานบางอย่างจะหายไปจากตลาดแรงงานเพราะถูกแทนที่โดยหุ่นยนต์และ AI ทั้งหมด </p>
<p>ต้องดำเนินการปฏิรูปเศรษฐกิจในสองด้านสำคัญ คือ สร้างความเป็นธรรมและยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขัน ในประชาคมอาเซียนเองนั้นมีปัญหาความยากจนและปัญหาความเท่าเทียมกันค่อนข้างมากโดยเฉพาะในกลุ่มประเทศ CLMV (ประกอบไปด้วย เขมร ลาว พม่าและเวียดนาม)  การจะแก้ปัญหาได้ต้องอาศัยแนวทางแบบบูรณาการและมีความหลากหลาย (Multi-dimensional and Integrated Approach) เน้นยุทธศาสตร์การเติบโตแบบ Inclusive Growth และ การคุ้มครองทางสังคม (Social Protection) ไทยและอาเซียนต้องแสวงหาความร่วมมือระดับมหภาคระหว่างประเทศผ่านทาง ESCAP และ ADB เนื่องจากสองหน่วยงานนี้สนับสนุนให้มีการกำหนดนโยบายเศรษฐกิจมหภาคเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืนและเสมอภาค (Macroeconomic Policies for Inclusive and Sustainable Development)</p>
<p>ท่ามกลางการเปิดเสรีภายใต้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนและข้อตกลงเขตการค้าเสรีและหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจต่างๆ หากรัฐบาลไม่สามารถจัดการดูแลบรรดาธุรกิจอุตสาหกรรม ภาคเกษตรกรรมรวมทั้งกิจการที่ปรับตัวไม่ทันและแข่งขันไม่ได้ จะทำให้ ปัญหาความเหลื่อมล้ำในระบบเศรษฐกิจมีความซับซ้อนและกระจายตัวมากขึ้นไปอีก โดยเฉพาะกลุ่มคนที่สูญเสียอาชีพและยังไม่สามารถไปทำอย่างอื่นได้ ขณะที่กลุ่มธุรกิจอุตสาหกรรมหรือกิจการที่แข่งขันได้ ตลาดที่เปิดกว้างมากขึ้นและใหญ่ขึ้น ย่อมเป็นโอกาสแห่งการขยายตัวอย่างก้าวกระโดดได้ </p>
<p>รศ. ดร. อนุสรณ์ ธรรมใจ กรรมการวิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวต่อว่า การลดช่องว่างทางรายได้ การแก้ความยากจนและสร้างความเป็นธรรมทางสังคมจำเป็นต้องดำเนินการใน 2 ด้าน คือ ด้านผู้มีความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจอย่างเหลือล้น – ใช้แนวทางการคลัง การงบประมาณ การภาษี และการป้องกันการผูกขาด ส่วนด้านคนยากไร้ – ผลักดันให้กลุ่มผู้ยากไร้ ผู้ด้อยโอกาสหลุดพ้นจากภาวะขัดสนยากจนด้วยการสร้างโอกาสให้เข้าถึงปัจจัยการผลิต พัฒนาระบบสวัสดิการโดยรัฐอย่างเป็นระบบ จัดให้มีระบบการคุ้มครองทางสังคม (Social protection) และเสริมสร้างการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจเชิงนโยบายสาธารณะ ทิศทางแนวนโยบายด้านสวัสดิการสังคมที่เป็นไปได้ และสามารถดำเนินการได้ทันทีคือ การสร้าง “สังคมสวัสดิการ (welfare society)” ขึ้นโดยผนึกกำลังจากภาคส่วนต่าง ๆ ในสังคมสร้างสรรค์สวัสดิการสังคมขึ้นในหลายรูปแบบ มีการจัดการโดยหลายสถาบัน และสร้างความร่วมมือจากหลายฝ่ายให้เข้ามามีส่วนร่วมในการผลิตสวัสดิการอย่างกว้างขวางครอบคลุม โดยแต่ละรูปแบบและแต่ละสถาบันมีความเป็นอิสระต่อกัน ภายใต้ความรับผิดชอบและการดูแลของสังคมโดยรวม</p>
<p>รศ.ดร. อนุสรณ์ ระบบรัฐสวัสดิการไม่สามารถเกิดขึ้นได้ในอนาคตอันใกล้ แต่สิ่งที่สามารถเกิดขึ้นได้เลย คือ สังคมสวัสดิการที่ต้องทำให้สถาบันครอบครัวและระบบชุมชนมีความเข้มแข็ง การสร้างและการพัฒนาสังคมสวัสดิการซึ่งเป็นระบบสวัสดิการที่หลากหลาย เปิดกว้างเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย และมีการจัดการในหลายรูปแบบทั้งเอกภาคี ทวิภาคี ไตรภาคี และพหุภาคี ตามแต่ลักษณะของผู้จัดสวัสดิการสามารถดำเนินการเป็นขั้นตอนได้ดังนี้ </p>
<p>1. กำหนดการสร้างสังคมสวัสดิการให้เป็นวาระแห่งชาติ สังคมสวัสดิการ มีความหมายที่แตกต่างไปจากรัฐสวัสดิการ (welfare state) เพราะรัฐสวัสดิการโดยทั่วไปเป็นหน้าที่ของรัฐ ภาครัฐต้องขยายใหญ่ขึ้น อาจไม่เหมาะกับไทยอย่างน้อยในระยะสั้นที่ยังไม่มีความพร้อมในเรื่องฐานะทางการคลัง รัฐสวัสดิการเป็นการจัดสวัสดิการทั่วหน้าและทั่วด้านโดยรัฐ แต่สังคมสวัสดิการมีสวัสดิการทางเลือกหลากหลายจากทุกฝ่ายเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดสวัสดิการถ้วนหน้า</p>
<p>2. สร้างภาคีสังคมสวัสดิการจากภาคส่วนต่าง ๆ ของสังคมใน 3 รูปแบบได้แก่ สวัสดิการโดยรัฐถือเป็นสิทธิพื้นฐานของสังคมที่จะลดความแตกต่างทางสังคม และเศรษฐกิจและการลดช่องว่างความสัมพันธ์ไม่เสมอภาคอันเกิดจากโครงสร้างเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง เพื่อไม่ได้เกิดการได้เปรียบเสียเปรียบในสังคม สวัสดิการโดยรัฐประกอบด้วย 3 ส่วน คือ การบริการสังคม การประกันสังคม และการสงเคราะห์สังคม หรือการช่วยเหลือทางสังคม แนวทางการสร้างสวัสดิการโดยรัฐให้กว้างขวางครอบคลุม สามารถดำเนินการได้โดยการจัดการงบประมาณ โดยการกำหนดเป้าหมายในการจัดทำงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์ให้ถึงมือคนจน การกระจายอำนาจจากราชการให้องค์กรประชาชนเพื่อทำให้องค์กรเหล่านี้สามารถจัดสวัสดิการในบางประเภท การพัฒนาฐานข้อมูลระดับพื้นที่ และข้อมูลจุลภาคในระดับชุมชน/ท้องถิ่น การคลังเพื่อการกระจายรายได้โดยปรับปรุงการจัดเก็บภาษีทั้งอัตราภาษีและประเภทภาษี รวมถึงการกระจายระบบงบประมาณไปสู่ระบบการคลังท้องถิ่น การจัดให้มีระบบความมั่นคงทางสังคม (หรือระบบการประกันสังคม) เพื่อลดความเสี่ยงในชีวิตของคน เช่น ความเสี่ยงด้านสุขภาพ ความเสี่ยงจากความไม่มั่นคงในอาชีพการงาน ซึ่งควรมีลักษณะถ้วนทั่ว</p>
<p>3. สวัสดิการโดยภาคธุรกิจ นอกจากสวัสดิการจากรัฐตามกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญแล้ว ภาคธุรกิจก็สามารถจัดสวัสดิการให้กับแรงงานลูกจ้างและแรงงานที่คล้ายลูกจ้าง (เช่น เกษตรกรภายใต้พันธสัญญา และผู้รับงานไปทำที่บ้าน) ได้โดยผ่านการปรับปรุงกฎระเบียบของทางราชการใน 3 ด้าน คือ ขยายการคุ้มครองแรงงานทั่วหน้า การประกันสังคมถ้วนหน้าครอบคลุมทั้งแรงงานภายในและนอกระบบที่เกี่ยวข้องกับภาคธุรกิจโดยตรง และสวัสดิการแรงงานในลักษณะอื่น ๆ เช่น ที่พัก อาหารกลางวัน รถรับส่ง เป็นต้น</p>
<p>4. สวัสดิการโดยชุมชน รูปแบบการจัดสวัสดิการสำหรับกลุ่มนี้ได้แก่ การที่รัฐส่งเสริมและสนับสนุนโครงการที่ชุมชนร่วมกันจัดทำขึ้น กล่าวคือ ขยายผลสวัสดิการบนฐานทรัพยากรและวัฒนธรรมให้กว้างขวาง และการมีส่วนร่วมจากภาคชุมชน ครัวเรือน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยส่วนกลางจัดทำกฎระเบียบที่เอื้อต่อการดำเนินการในระดับพื้นที่ สนับสนุนสถาบันแรงงานที่ไม่เป็นทางการ เพื่อทำงานคู่ขนานไปกับระบบสหภาพแรงงานไม่ติดยึดเพียงกรอบการทำงานของระบบสหภาพ และส่งเสริมให้การจัดตั้งเครือข่ายแรงงานนอกระบบร่วมกับแรงงานในระบบภาคต่าง ๆ  ส่งเสริมงบประมาณเพื่อการส่งเสริมสถาบันสวัสดิการชุมชน โดยสนับสนุนให้ภาคประชาชนทั้งในรูปแบบกลุ่ม องค์กรชุมชน องค์กรพัฒนาเอกชน มูลนิธิ เป็นเจ้าภาพในการจัดสวัสดิการ โดยรัฐทำหน้าที่เป็นผู้สนับสนุนและจัดงบประมาณสมทบกองทุนสวัสดิการที่กลุ่มและองค์กรเหล่านี้จัดทำขึ้นสวัสดิการอื่น ๆ เช่น ปรับกระบวนการทำงานของสถาบันและระบบสถานสงเคราะห์ ไม่ให้เป็นกลายเป็น การกระทำแบบซ้ำซ้อน พร้อมกับส่งเสริมให้ผู้ด้อยโอกาสและด้อยสมรรถนะดำเนินชีวิตอิสระ เพื่อสร้างความมั่นใจในตนเองให้ยืนอยู่ได้ในสังคม โดยเฉพาะกับกลุ่มผู้พิการ คนชรา เหยื่อผู้ถูกกระทำจากความรุนแรง เป็นต้น</p>
<p>รศ.ดร.อนุสรณ์ กล่าวในช่วงท้ายว่า หากอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีหลังและปีหน้าปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้นชัดเจน ควรทบทวนและชะลอนโยบายโอนเงินผ่านดิจิทัล วอลเลต 10,000 บาทไปก่อน หากสถานการณ์ภาคส่งออกไทยยังคงติดลบในช่วงเหลือของปี หรือ ปัจจัยเสี่ยงจากฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์ในจีน ปัญหาหนี้เสียในระบบธนาคารและสถานการณ์การชะลอตัวลงของเศรษฐกิจจีนรุนแรงกว่าคาด และ จำนวนคนว่างงานในจีนพุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว หากปัจจัยเสี่ยงภายนอกเหล่านี้กระทบต่อเศรษฐกิจไทยและจำเป็นต้องใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจภายในแรงๆ ค่อยนำมาใช้จึงเป็นมาตรการที่สอดคล้องกับสถานการณ์ และ ควรเอางบประมาณส่วนนี้ 500,000 กว่าล้านบาทไปใช้ลงทุนเพื่อเพิ่มทักษะแรงงาน ลงทุนระบบการบริหารจัดการน้ำ หรือลงทุนเพื่อสร้างรายได้อย่างยั่งยืน ในช่วงนี้จะดีกว่า นอกจากนี้ ต้องเตรียมงบประมาณสำหรับระบบบริหารจัดการน้ำที่ในหลายพื้นที่ของประเทศอาจเผชิญภัยแล้งอย่างรุนแรง พร้อมกับราคาพืชผลเกษตรโดยเฉพาะข้าวมีราคาสูงขึ้น ทำให้ค่าครองชีพของคนจนเมืองเพิ่มสูงขึ้น </p>
<p> </p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ขhttps://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2023/08/105541
 

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

นักข่าวหัวเห็ด แห่งเวบสุขใจ
อัพเดตข่าวทันใจ ตลอด 24 ชั่วโมง

>> http://www.SookJai.com <<
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
[ข่าวมาแรง] - ศาลอนุมัติหมายจับเจ้าของโกดังเก็บดอกไม้เพลิงมูโนะ
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 510 กระทู้ล่าสุด 02 สิงหาคม 2566 14:49:17
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - องค์กรพิทักษ์สัตว์เรียกร้องให้เพิ่มเรื่องสวัสดิภาพสัตว์และห้ามใช้ยาปฏิชีวน
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 548 กระทู้ล่าสุด 05 สิงหาคม 2566 15:31:10
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - คาดแบงก์พาณิชย์ไทยปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยตามอัตราดอกเบี้ยนโยบาย กนง.
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 425 กระทู้ล่าสุด 06 สิงหาคม 2566 18:04:42
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - ประเทศไทยกำลังเดินถอยหลังเรื่องความคุ้มครองความยากจนผู้สูงอายุ
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 437 กระทู้ล่าสุด 17 สิงหาคม 2566 17:55:22
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - เผยนักกิจกรรมชายแดนใต้ถูกคุกคามหลังไลฟ์สดการปิดล้อม
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 322 กระทู้ล่าสุด 20 สิงหาคม 2566 15:35:02
โดย สุขใจ ข่าวสด
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.176 วินาที กับ 29 คำสั่ง

Google visited last this page 06 มิถุนายน 2567 15:14:07