ทางการอิหร่านจับผู้หญิงที่ขัดขืนไม่สวมฮิญาบให้ไป 'บำบัดจิต'
<span class="submitted-by">Submitted on Tue, 2023-08-22 15:56</span><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>อิหร่านบังคับให้ผู้หญิงที่ไม่ปฏิบัติตามกฎหมายสวมฮิญาบต้องเข้ารับการบำบัดทางจิต ซึ่งทางองค์กรด้านสาธารณสุขเตือนว่าระบบตุลาการของอิหร่านกำลังฉวยใช้การแพทย์ด้านจิตเวชวิทยาในทางที่ผิด และไม่เป็นไปตามหลักจิตเวช ในขณะที่มีคนอื่นบอกว่าเรื่องนี้สะท้อนถึงการที่รัฐบาลไม่สามารถบังคับใช้กฎหมายฮิญาบได้ และกำลังสูญเสียความชอบธรรม</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="อ" /><img alt="" src="
https://live.staticflickr.com/65535/52548551949_53053906d3_o.jpg" style="width: 600px; height: 375px;" /></p>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#e67e22;">แฟ้มภาพตำรวจศาสนาในเตหะราน ภาพจาก Fars News ถ่ายเมื่อ 22 เม.ย.2549</span></p>
<p>เคยมีเหตุการณ์ที่นักแสดงหญิงชาวอิหร่าน อัฟซาเนห์ บาเยกัน แสดงการประท้วงกฎหมายบังคับสวมฮิญาบของอิหร่าน ด้วยการโพสต์ภาพของตัวเองที่ไม่สวมฮิญาบลงในอินสตาแกรม และเมื่อไม่นานนี้เธอก็ได้เข้าร่วมพิธีกรรมในที่สาธารณะด้วยการไม่สวมฮิญาบด้วย</p>
<p>การประท้วงเช่นนี้สร้างความขุ่นเคืองให้กับทางการอิหร่านผู้ที่พยายามหาวิธีใหม่ๆ ในการบังคับให้ผู้หญิงสวมฮิญาบ พวกเขาตัดสินให้บาเยกันต้องโทษจำคุก 2 ปีโดยรอลงอาญา และสั่งให้ต้องไปที่ "ศูนย์จิตวิทยา" สัปดาห์ละครั้งเพื่อ "รักษาโรคต่อต้านครอบครัวของเธอ" (ซึ่งเป็นโรคที่ไม่มีอยู่จริงในทางจิตวิทยาหรือทางจิตเวชวิทยา)</p>
<p>ผู้หญิงจำนวนมากในอิหร่านเลือกที่จะเปิดเผยให้เห็นผมของตัวเองแทนการใส่ผ้าคลุม หลังจากเกิดกรณีการเสียชีวิตของ มาห์ซา อามินี เมื่อเดือน ก.ย. 2565 อามินีเสียชีวิตในที่คุมขังหลังจากที่เธอถูกตำรวจศีลธรรมจับตัวไปด้วยข้อหาสวมผ้าคลุมศีรษะในแบบที่ "ไม่เหมาะสม" หลังจากนั้นเหล่าดารา, นักกีฬา และนักแสดงในอิหร่านก็มากันทำตามการประท้วงด้วยการไม่สวมฮิญาบคลุมผม</p>
<p>อซาเดห์ คีอัน ผู้เชี่ยวชาญด้านอิหร่านและศาสตราจารย์ด้านรัฐศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยกรุงปารีส กล่าวว่าการลงโทษบาเยกันในเรื่องที่เธอขัดขืนกฎรัฐบาลนับเป็นการทำเพื่อเชือดไก่ให้ลิงดู บาเยกันเป็นหนึ่งในดาราคนแรกๆ ของอิหร่านหลังจากยุคปฏิวัติอิสลาม 2522 และนับเป็นผู้ที่ได้รับความเคารพในวงการทีวีของอิหร่าน</p>
<p>แต่การลงโทษกับบาเยกันก็ไม่ใช่กรณีเดียวที่เกิดขึ้นในอิหร่าน ศาลอิหร่านยังได้ทำการ "วินิจฉัยโรค" นักแสดงหญิงที่ชื่อ อซาเดห์ ซามาดี ว่าเป็น "โรคบุคลิกภาพต่อต้านสังคม" หลังจากที่เธอสวมหมวกแทนที่จะสวมฮิญาบไปในงานศพ ซามาดียังถูกสั่งให้ต้องไปรับการบำบัดรายสัปดาห์ที่ "ศูนย์จิตวิทยา" ด้วย</p>
<p>ในความเป็นจริงแล้ว การวินัจฉัยโรคทางจิตจะต้องกระทำโดยนักจิตวิทยาหรือจิตแพทย์ ไม่ใช่ศาล อีกทั้งยังมีกระบวนการพิจารณาแบบแผนพฤติกรรม บุคลิกภาพ และปัจจัยด้านอื่นๆ ของบุคคลนั้นๆ อย่างครอบคลุม ไม่ใช่แค่พิจารณาจากพฤติกรรมเพียงครั้งเดียว นอกจากนี้ "บุคลิกภาพต่อต้านสังคม" ในนิยามของจิตวิทยา ไม่ได้หมายถึงการต่อต้านกฎแต่อย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังต้องพิจารณาพฤติกรรมอื่นๆ เช่น การไม่คำนึงถึงความรู้สึกของผู้อื่น ก้าวร้าวรุนแรงโดยเฉพาะต่อบุคคลหรือต่อสัตว์ ไม่สนใจสวัสดิภาพของตัวเองหรือคนอื่น ไร้ความรู้สึกผิดเมื่อทำให้คนอื่นเดือดร้อน และปัจจัยอื่นๆ ด้วย</p>
<p>แต่ทว่าศาลอิหร่านก็อ้างใช้โรคจิตเวชมาสั่งลงโทษผู้หญิงที่ฝ่าฝืนกฎฮิญาบ เริ่มตั้งแต่ต้นเดือน ก.ค. เป็นต้นมา ศาลกรุงเตหะรานได้ตัดสินลงโทษผู้หญิงคนหนึ่งให้จำคุกเป็นเวลา 2 เดือน และให้ต้องเข้ารับการบำบัดทางจิตเป็นเวลา 6 เดือน อ้างว่าเพื่อรักษา "โรคติดต่อทางจิตที่นำไปสู่การสำส่อนทางเพศ" เพียงเพราะเธอไม่ได้สวมฮิญาบ (ซึ่งเป็นข้ออ้างแบบวิทยาศาสตร์เทียมเช่นกัน เพราะโรคจิตเวช ไม่ใช่โรคที่ติดต่อได้)</p>
<p>กรณีการอ้างใช้หลักจิตเวชแบบผิดๆ เพื่อนำมาลงโทษผู้หญิง ซึ่งเป็นกรณีที่กำลังเกิดมากขึ้นในอิหร่าน ทำให้ภาคส่วนจิตเวชของอิหร่านตื่นตัวในเรื่องนี้ มีการส่งจดหมายเปิดผนึกไปถึง โกลัม-ฮอสเซน โมห์เซนี-เอเจอี หัวหน้าผู้พิพากษาของอิหร่าน เมื่อวันที่ 23 ก.ค. โดยผู้ส่งคือประธานขององค์กรด้านสุขภาพจิต 4 แห่ง ในจดหมายกล่าวหาว่าทางการอิหร่านได้ "ฉวยใช้จิตเวชวิทยา" เพื่อจุดประสงค์อื่น</p>
<p>กลุ่มองค์กรจิตเวชระบุในจดหมายว่า "การวินิจฉัยความผิดปกติทางสุขภาพจิตเป็นหน้าที่ความรับผิดชอบของนักจิตเวชวิทยา ไม่ใช่ผู้พิพากษา"</p>
<p>การกระทำของรัฐบาลอิหร่านเป็นเรื่องชวนให้กังวลอย่างจริงจังมากขึ้น เพราะแม้แต่เด็กรัฐบาลอิหร่านก็ไม่ละเว้น ในช่วงที่กำลังมีการประท้วงรัฐบาลอย่างหนักในเรื่องของการเสียชีวิตของอามินี รัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ ยูสเซฟ นูรี แถลงยอมรับว่ามีการจับกุมคุมขังนักเรียนตามท้องถนนหรือในโรงเรียน และมีการส่งตัวนักเรียนเหล่านี้ไปที่ศูนย์จิตเวชเพื่อ "ปรับทัศนคติ" และป้องกันไม่ให้มีพฤติกรรมแบบ "ต่อต้านสังคม"</p>
<p> </p>
<h3><span style="color:#2980b9;">เรื่องนี้สะท้อนว่า รัฐบาลอิหร่านกำลังสูญเสียการควบคุม และสูญเสียความชอบธรรม?</span></h3>
<p>คีอัน ผู้เชี่ยวชาญด้านอิหร่านบอกว่า การอ้างใช้การรักษาทางจิตเวชมาแบบผิดๆ เช่นนี้ เป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นในหลายๆ เรื่อง อย่างแรกสุดเลยคือ สะท้อนว่าทางการอิหร่านไม่สามารถควบคุมกฎระเบียบของตนเองได้ ถึงแม้ว่ารัฐบาลอิหร่านจะเพิ่มแรงกดดันต่อผู้ประท้วงต่อต้านฮิญาบมากขึ้น แต่ผู้หญิงก็เริ่มไม่ยอมสวมฮิญาบมากขึ้นในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา</p>
<p>ทางการอิหร่านทำการสั่งปรับอย่างหนัก และส่งข้อความเตือนว่าถ้าหากพบเห็นผู้หญิงที่ขับรถโดยไม่ได้สวมฮิญาบก็จะมีการยึดรถ นอกจากนี้ยังมีการกดดันนายจ้างรวมถึงในภาคเอกชนด้วยให้ไล่ออกผู้หญิงที่ไม่สวมฮิญาบ รวมถึงมีกรณีที่สถานพยาบาลปฏิเสธไม่ยอมให้การรักษาพยาบาลแก่ผู้หญิงที่ไม่สวมฮิญาบ ส่วนร้านค้าที่ให้บริการแก่ผู้หญิงที่ไม่ยอมสวมฮิญาบก็ถูกสั่งปิด</p>
<p>ในเดือน ก.ค. ที่ผ่านมา ทางการอิหร่านได้สั่งปิดสำนักงานบริษัทอีคอมเมิร์ซใหญ่ซึ่งเปรียบเสมือนเป็นแอมะซอนของอิหร่าน ที่ชื่อ ดิจิกาลา เป็นการชั่วคราว หลังจากที่มีรูปภาพโพสต์ออกไปในโซเชียลมีเดียแสดงให้เห็นว่าพนักงานในสำนักงานของบริษัทใหญ่แห่งนี้ไม่ได้สวมฮิญาบ</p>
<p>ไม่กี่วันก่อนหน้านั้น ก็มีกรณีที่ศาลกรุงเตหะรานสั่งลงโทษผู้หญิงรายหนึ่งให้ทำงานล้างศพที่ห้องดับจิตเป็นเวลา 1 เดือน หลังจากที่ถูกจับได้ว่าเธอไม่สวมฮิญาบ</p>
<p>คีอันบอกว่า ทางการอิหร่านพยายามทำทุกวิถีทางในการที่จะยับยั้งไม่ให้ผู้หญิงขัดขืนต่อกฎสวมฮิญาบแล้วมันก็ไม่ได้ผล อำนาจการบังคับในเรื่องนี้ของทางการอิหร่านเริ่มอ่อนกำลังลงเรื่อยๆ บีบให้พวกเขาต้องหันมาใช้มาตรการแบบที่อ้างใช้การบำบัดรักษาทางจิต</p>
<p>ฟาร์ฮัด โกสรอกคาวาร์ ผู้อำนวยการโครงการวิจัยที่วิทยาลัยสังคมศึกษาระดับสูงในกรุงปารีสบอกว่าเรื่องนี้เป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นถึงความแตกแยกกันระหว่างทางการอิหร่านกับสังคมอิหร่านโดยเฉพาะกับเยาวชนคนรุ่นใหม่ พวกกลุ่มชนชั้นสูงที่ส่วนใหญ่เป็นผู้ชายอายุ 80-90 ปี พวกเขามองว่าอำนาจมาพร้อมกับการคิดแทนไว้ล่วงหน้าและแนวคิดแบบเบ็ดเสร็จ พวกเขาพยายามบังคับใช้มาตรฐานที่ไม่ได้มีความชอบธรรมใดๆ เหลืออยู่แล้วในสายตาคนรุ่นใหม่ในอิหร่าน</p>
<p>"พวกเขากำลังทำให้ตัวเองเสื่อมเสียในสายตาของสังคมชาวอิหร่านเท่านั้น และกำลังสูญเสียความชอบธรรม" โกสรอกคาวาร์กล่าว</p>
<p>อย่างไรก็ตามคีอันวิเคราะห์ว่าการพยายามปราบปรามผู้ประท้วงต่อต้านฮิญาบในอิหร่านก็ดูเหมือนจะยังคงไม่ลดลดลงในช่วงเร็ววันนี้ มีหลายภาคส่วนของรัฐบาลอิหร่านที่พยายามมีส่วนในการปราบปรามการแสดงออกต่อต้านของประชาชน</p>
<p>เมื่อปลายเดือน ก.ค. ที่ผ่านมารัฐสภาอิหร่านเพิ่งจะเสนอให้มีการลงโทษผู้หญิงอิหร่านที่ไม่สวมฮิญาบหนักขึ้นด้วย</p>
<p>คีอันบอกว่าถ้าหากกฎหมายนี้ผ่านร่าง ผู้หญิงในอิหร่านจะสูญเสียสิทธิพลเมืองของตัวเอง สูญเสียสิทธิที่จะมีงานทำ พวกเธอจะ "ถูกตัดสิทธิในทุกด้าน" แต่ทว่าที่น่ากังวลมากกว่านั้นในสายตาของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายคือการที่กฎหมายใหม่ระบุโทษถึง "การส่งเสริมไม่ให้สวมฮิญาบ" ที่อาจจะตีความได้ว่าการไม่ยอมสวมฮิญาบซ้ำๆ มีสิทธิเข้าข่ายการ "เผยแพร่แนวคิดต่อต้านฮิญาบ" ซึ่งมีโอกาสที่จะทำให้ผู้หญิงเหล่านั้นเผชิญโทษประหารชีวิตได้</p>
<p><span style="color:#2980b9;">เรียบเรียงจาก</span></p>
<p><span style="color:#2980b9;">Iran forces women defying hijab laws into psychiatric treatment, </span>
<span style="color:#2980b9;">France24,</span><span style="color:#2980b9;"> 06-08-2023</span></p>
<p><span style="color:#2980b9;">Antisocial personality disorder, </span>
<span style="color:#2980b9;">Mayo Clinic,</span><span style="color:#2980b9;"> 24-03-2023</span></p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">
https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์
https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
https://prachatai.com/journal/2023/08/105568