[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
30 เมษายน 2567 01:15:52 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - เผยปัญหาความถดถอยของชุมชนพุทธชายแดนใต้ จ่อดันฟื้นฟูชุมชนร้างหลังได้รัฐบาลให  (อ่าน 99 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
สุขใจ ข่าวสด
I'm Robot
สุขใจ บอทนักข่าว
นักโพสท์ระดับ 15
****

คะแนนความดี: +101/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Italy Italy

กระทู้: มากเกินบรรยาย


บอท @ สุขใจ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 23 สิงหาคม 2566 21:47:39 »

เผยปัญหาความถดถอยของชุมชนพุทธชายแดนใต้ จ่อดันฟื้นฟูชุมชนร้างหลังได้รัฐบาลใหม่
 


<span class="submitted-by">Submitted on Wed, 2023-08-23 20:49</span><div class="field field-name-field-byline field-type-text-long field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><p>มูฮำหมัด ดือราแม รายงาน</p>
<p>ภาพปก รักชาติ สุวรรณ์ คณะทำงานแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ พรรคประชาชาติ</p>
</div></div></div><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>คณะทำงานแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ พรรคประชาชาติ เผย 2 รูปแบบปัญหาคนพุทธชายแดนใต้ทิ้งถิ่น ปัญหาปากท้องและความถดถอยทางวัฒนธรรม เตรียมผลักดันฟื้นฟูชุมชนพุทธร้างหลังได้รัฐบาลใหม่ ย้อนอ่านข้อกังวลของคนพุทธ และข้อเสนอแนะด้านสันติภาพ ความปลอดภัย และความจริงใจของคู่พูดคุยสันติสุข</p>
<p>รักชาติ สุวรรณ์ คณะทำงานแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ พรรคประชาชาติ เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 19 ส.ค.2566 ได้เป็นตัวแทนพรรคประชาชาติร่วมเป็นวิทยากรเสวนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในประเด็นฟื้นฟูชุมชนพุทธร้าง-ถดถอยในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่โรงแรม ชี.เอส.ปัตตานี จัดโดยสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับสมาพันธ์ไทยพุทธจังหวัดชายแดนภาคใต้</p>
<p>ทั้งนี้ เพื่อสร้างพื้นที่ให้ชาวพุทธในชุมชน หมู่บ้านที่มีปัญหาการย้ายถิ่นฐานหรือการทิ้งถิ่น หรือในบางพื้นที่มีแนวโน้มว่าจะย้ายออกจากพื้นที่ เนื่องจากเหตุการณ์ความไม่สงบ ตลอดจนหาแนวทางในการให้ความช่วยเหลือและป้องกันการทิ้งถิ่น</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">2 รูปแบบความถดถอยของชุมชนชาวพุทธ</span></h2>
<p>รักชาติ เปิดเผยต่อไปว่า สำหรับรูปแบบถดถอยหรือการทิ้งถิ่นของชุมชนชาวพุทธมี 2 รูปแบบ ได้แก่ หนึ่ง รูปแบบและลักษณะความถดถอยเชิงเศรษฐกิจ ประกอบด้วยปัญหาของชุมชนพุทธที่ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทางการเกษตร เมื่อเกิดปัญหาความไม่สงบในระหว่างการเข้าไปเก็บเกี่ยวผลผลิต ทำให้รู้สึกหวาดกลัว และไม่สามารถประกอบอาชีพได้</p>
<p>สอง รูปแบบความถดถอยในเชิงวัฒนธรรม โดยคนพุทธไม่ได้รับสิทธิต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการได้รับโอกาสที่เท่าเทียมทางการศึกษา หรือ การสอบบรรจุเข้ารับราชการ ยังไม่ได้รับการจัดสรรในสัดส่วนที่เหมาะสม เป็นต้น</p>
<p>“คนพุทธสะท้อนถึงเรื่องที่เรียกร้องมานาน เช่น วันหยุดสารทเดือนสิบ และครัวสากลในโรงพยาบาล ซึ่งภาครัฐยังไม่ได้ดำเนินการแก้ไขให้” รักชาติ กล่าว</p>
<p>คณะทำงานแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ พรรคประชาชาติ กล่าวว่า พรรคประชาชาติมีนโยบายเรื่องที่ดินทำกิน จึงมีข้อเสนอคนไทยพุทธในเรื่องของการขอใช้ที่ดินเพื่อให้ผู้มีรายได้น้อย ยากจน ทั้งพุทธและมุสลิมได้ใช้ทำกิน</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">จัดสรรที่ดินทำกิน ดีกว่าย้ายคนนอกพื้นที่มาอยู่</span></h2>
<p>รักชาติ กล่าวด้วยว่า คนในพื้นที่ทั้งพุทธและมุสลิมที่ไม่มีที่ดินทำกินยังมีอยู่อีกจำนวนมาก การจัดสรรที่ดินของรัฐให้เข้ามาทำกิน โดยไม่ต้องครอบครองหรือซื้อขายได้ ดีกว่าการนำคนนอกพื้นที่ เช่น คนอีสานเข้ามาอยู่อาศัย แต่เป็นไปได้ว่า ตอนแรกๆ ที่มีโครงการ เช่น การทำฟาร์มตัวอย่าง คนในพื้นที่อาจจะไม่สนใจ ภาครัฐจึงต้องเอาคนนอกพื้นที่เข้ามา</p>
<p>คณะทำงานแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ พรรคประชาชาติ กล่าวว่า แม้ปัจจุบัน ภาครัฐมีการฟื้นฟูชุมชนชาวพุทธแล้วหลายชุมชน เช่น ชุมชนท่าด่าน ใน อ.ยะหริ่ง จ.ปัตตานี โดยสร้างบ้านหรือปรับปรุงที่อยู่อาศัยให้ใหม่ แต่คนที่ย้ายออกไปก็แล้วก็ยังรู้สึกลำบากใจที่จะกลับเข้าไปอยู่อาศัยตามเดิม ด้วยเหตุผลทางเศรษฐกิจเป็นหลัก เนื่องจากหลายคนเมื่อย้ายออกไปแล้ว มีอาชีพที่มีรายได้ดีกว่าหรืออาศัยอยู่ใกล้ที่ทำงานมากกว่า</p>
<p>แนะถอดบทเรียนชุมชนท่าด่าน</p>
<p>รักชาติ กล่าวด้วยว่า นอกจากนี้ หากย้ายกลับมาแล้ว ก็ยังต้องเดินทางไปกลับที่ทำงานด้วยรถจักรยานยนต์ซึ่งก็ยังรู้สึกไม่ปลอดภัย บางครอบครัวก็กลับไปนานๆ ครั้ง เพราะไม่มีงานให้ทำ ดังนั้น การฟื้นฟูชุมชนชาวพุทธก็ควรใช้กรณีชุมชนนี้มาถอดบทเรียนด้วย</p>
<p>“ความรู้สึกกลัว หวาดระแวงต่อความรุนแรงยังมีอยู่ แต่ตอนนี้ไม่ใช่ประเด็นหลัก เพราะความสัมพันธ์หลายแห่งก็กลับมาปกติ ยกเว้นเมื่อมีเหตุการณ์เกิดขึ้นกับคนพุทธ ประเด็นหลักตอนนี้คือปัจจัยทางเศรษฐกิจ อาชีพการงาน รายได้ที่มั่นคงเป็นเรื่องที่สำคัญมากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นคนพุทธหรือมุสลิม แม้แต่เรื่องการพูดคุยก็ยังถือว่าไม่สำคัญเท่าปากท้องของประชาชน” คณะทำงานแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ พรรคประชาชาติ กล่าว</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">อยากเรียนภาษามลายู เรียนรู้จากคนสยามในมาเลย์</span></h2>
<p>รักชาติ เปิดเผยด้วยว่า อีกประเด็นหนึ่งที่คนพุทธในพื้นที่ให้ความสนใจอย่างมากในปัจจุบัน ก็คือความต้องการเรียนรู้ภาษามลายู แต่อยากให้นำคนสยามที่อาศัยอยู่ในมาเลเซียมาเป็นคนสอนให้ เพราะเห็นว่าภาษามลายูมีความสำคัญกับพื้นที่ สามารถที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารหรือค้าขายกับคนมาเลเซียได้ และยังเป็นการสร้างความสัมพันธ์ให้ใกล้ชิดมากขึ้นด้วย บางหมู่บ้านถึงกับมีคนพุทธอยากส่งลูกเข้าไปเรียนโรงเรียนสอนศาสนาอิสลามด้วย เหตุผลเพราะอยากให้เข้าภาษา ศาสนาและวัฒนธรรมของคนในพื้นที่ที่จะอยู่ร่วมกัน โดยไม่จำเป็นว่าจะต้องเปลี่ยนศาสนา</p>
<p>รักชาติ กล่าวว่า ปัญหาต่างๆ ของคนพุทธนั้นจะนำเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการบริหารพรรค และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของพรรคประชาชาติก็จำเป็นต้องลงพื้นที่หมู่บ้านคนพุทธ เพื่อรับฟังปัญหา ข้อกังวล นำไปสู่การแก้ไขต่อไป</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">ข้อมูลชุมชนคนพุทธย้ายถิ่น</span></h2>
<p>จากฐานข้อมูลเดิมที่มีการเก็บรวบรวมจำนวนครัวเรือนชาวพุทธที่ละทิ้งถิ่นทั้งครอบครัวเนื่องจากปัญหาความไม่สงบตั้งแต่ปี 2547 พบว่ามีจำนวน 102 ครัวเรือนรวม 285 คน เป็นครอบครัวที่เคยอาศัยอยู่ในพื้นที่ต่างๆ ใน 3 จังหวัด คือ ปัตตานี ยะลาและนราธิวาส โดยเป็นครอบครัวที่ย้ายออกจากพื้นที่ อ.สุไหงปาดี จ.นราธิวาสมากที่สุด 21 ครอบครัว จากพื้นที่ 7 หมู่บ้าน แต่ปัจจุบันจำนวนผู้ที่ทิ้งถิ่นอาจจะมีจำนวนมากกว่านี้เมื่อรวมกับคนที่ไม่ได้ย้ายออกมาทั้งครอบครัว</p>
<p> </p>
<div class="note-box">
<h2><span style="color:#2980b9;">ย้อนอ่านข้อกังวลคนพุทธชายแดนใต้</span></h2>
<h2><span style="color:#2980b9;">ข้อเสนอด้านสันติภาพ ความปลอดภัย และความจริงใจของคู่พูดคุยสันติสุข</span></h2>
<p>ก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2566 เครือข่ายชาวพุทธเพื่อสันติภาพชายแดนใต้ (B4P) และ กลุ่มจัดตั้งสมาคมเพื่อสันติภาพและการพัฒนา (PDA) ได้ออกข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย เรื่อง การลดความเหลื่อมล้ำของโอกาสทางด้านอาชีพและการศึกษาในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ ในบริบทของการอยู่ร่วมกันท่ามกลางความหลากหลาย เพื่อการหนุนเสริมการแก้ไขปัญหา สร้างบรรยากาศในเอื้อต่อการพูดคุย ลดความขัดแย้งทางความรู้สึก โดยนำข้อกังวล ข้อเสนอแนะจากประชาชนและองค์กรภาคประชาสังคมมาจัดทำเป็นข้อเสนอแนะเชิงนโยบายของกลุ่มชาวไทยพุทธในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้</p>
<p>โดยเป็นข้อเสนอแนะที่มาจากการลงพื้นที่ในจังหวัดยะลา นราธิวาสและปัตตานี รับฟังความคิดเห็นจากกลุ่มชาวไทยเชื้อสายจีน กลุ่มคนไทยพุทธที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยง กลุ่มสตรีพุทธที่ได้รับผลกระทบ กลุ่มสตรีพุทธที่ฝึกอาวุธและผู้นำท้องถิ่น กลุ่มเยาวชน และองค์กรภาคประชาสังคม ต่อประเด็นกระบวนการสันติภาพและการดูแลความปลอดภัยในกลุ่มคนไทยที่นับถือศาสนาพุทธ</p>
<p>ทั้งนี้ B4P และ PDA ระบุว่า กลุ่มที่เข้าไปรับฟังนั้น ในอดีตเป็นชุมชนที่เข้มแข็ง มีความรักความสามัคคีกันหมู่พี่น้องคนไทยที่นับถือศาสนาพุทธ หรือการอยู่ร่วมกันกับคนไทยที่นับถือศาสนาอิสลาม (หรือมลายูมุสลิม) ทำให้ไม่อยากย้ายถิ่นฐานไปอยู่ที่อื่น แต่ก็ยังคงมีความหวาดกลัวในการดำรงชีวิต โดยนำข้อกังวลและข้อเสนอแนะเสนอต่อภาครัฐ (กอ.รมน, ศอ.บต.) เพื่อแก้ไขปัญหา รวมทั้งเสนอต่อคณะพูดคุยสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ของทั้งสองฝ่าย(ฝ่ายรัฐและฝ่ายขบวนการ BRN ) และเสนอต่อพรรคการเมือง</p>
<p>โดยกลุ่มคนไทยพุทธกลุ่มต่างๆ มีข้อกังวลและมีข้อเสนอแนะต่อฝ่ายต่างๆ โดยเฉพาะพรรคการเมือง (เสนอก่อนการเลือกตั้งครั้งล่าสุด) โดยสรุป ดังนี้</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">ข้อกังวลของคนไทยพุทธต่อสถานการณ์ปัจจุบัน </span></h2>
<p>ได้แก่</p>
<p>• มีตลาดของอิสลามเพิ่มขึ้นมาก ทำให้ผลิตภัณฑ์และผลผลิตทางการเกษตรของชุมชนไทยพุทธไม่สามารถขายได้</p>
<p>• รัฐบาลไม่จริงใจต่อกระบวนการพูดคุยสันติสุข และการพูดคุยนั้นพูดคุยถูกตัวหรือถูกกลุ่มแล้วจริงหรือไม่ นอกจากนี้กองกำลังทั้งสองฝ่ายยังไม่ให้เกียรติคณะพูดคุยด้วย ทำให้ขณะดำเนินการพูดคุยอยู่นั้น ก็ยังมีเหตุการณ์เกิดขึ้นในพื้นที่ และ กระบวนการพูดคุยมีผลประโยชน์มากเกินไปทำให้การพูดคุยไม่คืบหน้า</p>
<p>• กังวลเรื่องการบรรจุภาษามลายูเข้าในหลักสูตรการเรียน และการกำหนดภาษามลายูเป็นภาษาราชการอันดับสอง และคนไทยพุทธมีโอกาสสอบเข้าทำงานได้น้อย เนื่องจากมีข้อจำกัดเรื่องของภาษามลายู</p>
<p>ส่วนข้อกังวล หากมีการถอนกำลังทหารออกจากพื้นที่ ได้แก่ กังวลเรื่องความไม่ปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สินในเวลากรีดยางพารา และกังวลเรื่องการดำรงชีวิตและการมีขวัญกำลังใจในการใช้ชีวิตประจำวัน</p>
<p>ข้อเสนอต่อพรรคการเมือง และหน่วยงานภาครัฐ สรุปได้ดังนี้</p>
<p>• กระตุ้นราคาเรื่องยางพารา ข้าว และผลผลิตทางการเกษตร ส่งเสริมการตลาดเพื่อรองรับสินค้าและผลผลิตทางการเกษตร รวมถึงผลิตภัณฑ์กลุ่มอาชีพในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้</p>
<p>• ให้ความรู้ และอัพเดทสถานการณ์การพูดคุยให้กับชาวบ้านได้รับทราบ และในขณะมีการพูดคุย ทั้งสองฝ่ายควรหยุดการปฏิบัติการทางทหาร และเห็นด้วยหาก BRN จะเข้ามาพูดคุยในพื้นที่อย่างถูกต้องตามกฎหมาย</p>
<p>• สนับสนุนงบประมาณ เพื่อจัดการเรียนการสอนภาษามลายูภายในวัด โดยผู้สอนเป็นคนไทยพุทธ และเป็นการรักษาภาษาถิ่นใต้ของตัวเองด้วย เช่น ภาษาเจ๊ะเห เป็นต้น</p>
<p>• ภาครัฐควรลดความเหลื่อมล้ำของประชาชนในพื้นที่ในทุกมิติ ไม่ควรบรรจุภาษามลายูในหลักสูตรการเรียนการสอน การสอบเข้าทำงานต้องไม่มีความเหลื่อมล้ำและมีการสอบภาษามลายู</p>
<p>• สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่เป็นมุสลิม ควรลงพื้นที่หมู่บ้านคนไทยพุทธด้วย</p>
<p>• รัฐบาลควรนำเยาวชนที่นับถือศาสนาพุทธไปแสวงบุญ ณ ประเทศอินเดียว รัฐบาลหาทุนและโควตาการเรียนให้กับเยาวชนไทยพุทธที่ประเทศอินเดีย</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">ข้อกังวลของกลุ่มผู้ได้รับผลกระทบสตรีชาวไทยพุทธ</span></h2>
<p>• ผู้ได้รับผลกระทบบางรายได้รับผลกระทบตั้งแต่ปี 2555 แต่ไม่ได้รับการช่วยเหลือในเรื่องของเงินจ้างงานเร่งด่วน 4,500 บาท</p>
<p>• ผู้ได้รับผลกระทบบางคนไม่มีญาติพี่น้อง ปัจจุบันอายุมากไม่มีงานทำ เมื่อถูกตัดเงิน ทำให้อยู่อย่างยากลำบากมากขึ้น</p>
<p>• ผู้ได้รับผลกระทบบางรายยังมีอาการทางจิตใจ</p>
<p>• หากต้องถอนกำลังทหารออกจากพื้นที่ กังวลเรื่องความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน และความปลอดภัยในระหว่างการเดินทาง</p>
<p>ข้อเสนอต่อพรรคการเมืองและหน่วยงานของรัฐ ดังนี้</p>
<p>• ให้มีการทบทวนกรณียกเลิกเงินช่วยเหลือ 4,500 บาท เป็นกรณีไป และตรวจสอบผู้ได้รับผลกระทบที่ยังไม่ได้รับความช่วยเหลือเงินจ้างงานเร่งด่วน</p>
<p>• ตรวจสอบผู้ได้รับผลกระทบ กรณีไม่สามารถช่วยเหลือตัวเอง และไม่มีงานทำ ให้มีการฝึกอาชีพให้กับทายาทผู้ได้รับผลกระทบ</p>
<p>• ให้มีการเยียวยาอย่างต่อเนื่อง และให้มีการเยียวยาทางด้านจิตใจของผู้ได้รับผลกระทบ</p>
<p>• อยากให้มีทหารอยู่ดูแลในพื้นที่ และหากจะถอนกำลังทหาร พื้นที่ต้องปลอดภัยแล้วจริง ๆ</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">ข้อกังวลของกลุ่มสตรีพุทธ (ชรบ., ผู้นำท้องถิ่น)</span></h2>
<p>• ทำไมมีการพูดคุยสันติสุขแล้วยังมีเหตุการณ์อยู่ และไม่มีความรู้เรื่องกระบวนการพูดคุยสันติสุข</p>
<p>ข้อเสนอต่อพรรคการเมืองและหน่วยงานของรัฐ คือ ให้ความรู้กับชาวบ้านในเรื่องของการพูดคุยสันติสุข สร้างความเท่าเทียม และลดความเหลื่อมล้ำของคนในพื้นที่</p>
<p>หากมีการถอนกำลังทหารออกจากพื้นที่ มีข้อกังวล คือ มีความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์ มีความไม่ปลอดภัยในระหว่างออกไปกรีดยาง หรือไม่ปลอดภัยเมื่อเวลากรีดยาง และมีความไม่ปลอดภัยเมื่อเวลาเดินทางออกจากหมู่บ้าน</p>
<p>ข้อเสนอแนะต่อพรรคการเมืองและหน่วยงานของรัฐ คือ ควรมีทหารอยู่ในพื้นที่ จนกว่าจะปลอดภัยแล้วจริง ๆ</p>
<p>หากมีการถอนกำลังทหารจริงๆ รัฐต้องสนับสนุนกองกำลังภาคประชาชน เพื่อดูแลพื้นที่หมู่บ้านของตัวเอง ให้มีกองกำลังประจำถิ่น (อาสาสมัครรักษาดินแดน หรือ อส.) ที่เป็นคนในหมู่บ้านตัวเอง</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">ข้อเสนอของสมาคมฟ้าใส ส่งเสริมสุขภาวะเด็กและเยาวชนชายแดนใต้/ กลุ่มเยาวชนต้นกล้าพันธุ์ใหม่ / เครือข่ายเยาวชนจิตอาสาปะนาเระ</span></h2>
<p>ข้อเสนอต่อพรรคการเมืองและหน่วยงานของรัฐ</p>
<p>• สร้างพื้นที่กลาง เพื่อการมีส่วนร่วมระหว่างเยาวชนกับภาครัฐ รับฟังเสียงจากเยาวชนเพื่อนำไปวางนโยบายแก้ปัญหาที่สามารถใช้ได้จริง เพื่อยุติความรุนแรงในสังคมตั้งแต่เรื่องพื้นฐาน</p>
<p>• ควบคุม ดูแล ความปลอดภัยของคนในพื้นที่โดยเฉพาะพื้นที่สาธารณะ เช่น ตลาด ชุมชน สถานที่จัดกิจกรรมต่าง ๆ คงด่านหลักไว้ และลดจำนวนด่านลอย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเวลากลางคืน ให้มีการถอนกำลังทหารออกจากพื้นที่ ยกเลิกกฎหมายพิเศษในพื้นที่ ปกป้องพลเรือนจากการใช้ความรุนแรง</p>
<p>• มีเวทีพูดคุยของชาวไทยพุทธ มุสลิม โดยเยาวชนมีส่วนร่วมในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นต่อการลดความรุนแรงในพื้นที่ สร้างความร่วมมือ สร้างความสัมพันธ์และสร้างการมีส่วนร่วมให้กับคนในพื้นที่ทุกภาคส่วน สร้างความเข้าใจในการอยู่ร่วมกันท่ามกลางความหลากหลายทางเชื้อชาติและความคิดที่แตกต่าง</p>
<p>• ภาครัฐ และBRN ควรมีการพูดคุยกันให้มากขึ้น เพื่อลดการใช้อาวุธ ทั้งสองฝ่ายควรทำตามข้อตกลงที่ได้พูดคุยบนเวทีเจรจา มีเวทีให้ทั้งภาครัฐ และ BRN ได้ปรึกษาหาแนวทางสร้างความปลอดภัยให้กับทุกฝ่าย คนในพื้นที่มีส่วนร่วมในการพูดคุย เจรจา นำไปสู่การเกิดสันติภาพในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ และมีการถ่ายทอดสดในเวทีพูดคุยเจรจา เพื่อให้พื้นที่ได้รับทราบ</p>
<p>• รับรองความปลอดภัยเมื่อมีการเปิดเวทีแสดงความคิดเห็นของคนในพื้นที่ สร้างพื้นที่ปลอดภัยให้กับเด็ก เยาวชนในการแสดงออกทางการเมืองอย่างสร้างสรรค์ เยาวชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาพื้นที่ และร่วมกันแสดงความคิดเห็นในการออกแบบสังคม และไม่อยากให้เจ้าหน้าที่พกพาอาวุธเวลาลงไปในชุมชนหรือทำกิจกรรมกับเด็ก</p>
<p>• ภาครัฐควรมีการประชาสัมพันธ์ให้กับประชาชนอย่างถูกต้อง ไม่บิดเบือน</p>
<p>• ควรมีผู้นำที่มีแนวคิดใหม่ๆ ในการพัฒนาพื้นที่อย่างเหมาะสม</p>
<p>• ทุกภาคส่วนร่วมกันแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่อย่างจริงจัง</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">ข้อกังวลของกลุ่มจัดตั้งสมาคมเพื่อสันติภาพและการพัฒนา (Peace and Development Association) PDA</span></h2>
<p>ข้อกังวลต่อกระบวนการสันติภาพ ได้แก่ ประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนไม่ถูกหยิบยกมาพูดคุยในเวทีพูดคุยสันติสุข มีการถูกคุกคามของนักปกป้องสิทธิ</p>
<p>• กรอบการเจรจาของทั้งสองฝ่ายไม่ชัดเจน ทำให้ชาวบ้านหรือคนในพื้นที่ไม่รู้ถึงประเด็นสารัตถะของการพูดคุย</p>
<p>• มีการใช้กำลังทางทหารของทั้งสองฝ่าย ในระหว่างการพูดคุยทำให้เห็นถึงคณะพูดคุยของทั้งสองฝ่ายไม่สามารถคุมกองกำลังทหารในพื้นที่ได้</p>
<p>ข้อเสนอแนะ ต่อเจ้าหน้าที่รัฐและตัวแทนคู่เจรจาทุกฝ่าย</p>
<p>• หยิบยกประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนมาเป็นหนึ่งในประเด็นการเจรจา ไม่คุกคามนักกิจกรรม และนักปกป้องสิทธิ</p>
<p>• สร้างความเท่าเทียมในการมีส่วนร่วมในการเจรจาโดยทุกฝ่าย รวมถึงนักกิจกรรมการเมือง และภาคประชาสังคม</p>
<p>• สร้างพื้นที่ปลอดภัยในการพูดคุย</p>
<p>• ภาคประชาสังคมควรเพิ่มการสื่อสารแก่ประชาชนโดยไม่มีการชี้นำ</p>
<p>• ผลักดันให้กระบวนการสันติภาพเป็นวาระแห่งชาติ ตั้งคณะกรรมาธิการ เพื่อศึกษา และติดตามกระบวนการพูดคุยสันติสุข</p>
<p>• ภาคประชาสังคมนอก สล.3 มีส่วนร่วม “แผนปฏิบัติการร่วมเพื่อสร้างสันติสุขแบบองค์รวม” หรือ Joint Comprehensive Plan towards Peace (JCPP) เพื่อเป็นแนวทางขับเคลื่อนการพูดคุย</p>
<p>ข้อเสนอต่อพรรคการเมือง ได้แก่</p>
<p>• เข้ามามีส่วนร่วมในการพูดคุยด้วยผ่านการตั้งคณะกรรมาธิการเพื่อศึกษาปัญหาความขัดแย้ง • ผู้เจรจาต้องมีการรับรองความปลอดภัยจากกลไกรัฐสภา</p>
<p>• พิจารณาออก พ.ร.บ.การสร้างสันติภาพ</p>
<p>• ทบทวนกฎหมายและหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับหลักการใช้กำลังและอาวุธปืน และแก้ไขให้สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ</p>
<p>• เปิดทางให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการกำหนดแผนนโยบายด้านเศรษฐกิจและสังคม และสามารถเข้าถึงทรัพยากรอย่างเท่าเทียมและเป็นธรรม</p>
<p>• จัดสรรสวัสดิการแก่ประชาชนในจังหวัดชายแดนใต้ในการเดินทางมาทำงานนอกพื้นที่ รวมถึงการทำงานที่ประเทศมาเลเซีย เพื่อคุ้มครองสิทธิแรงงานและลดการทำงานอย่างผิดกฎหมาย</p>
<p>• รับรองสิทธิชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิม รวมถึงในกรณีของชุมนุมที่ได้รับผลกระทบจากโครงการพัฒนา</p>
<p>ข้อเสนอต่อกองกำลังติดอาวุธทั้งสองฝ่าย (เจ้าหน้าที่รัฐ และกลุ่มติดอาวุธที่ไม่ใช่รัฐ) คือ ยุติการปฏิบัติการใด ๆ ที่อาจส่งผลต่อพลเรือน</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">ผู้หญิง เด็ก ชาวไทยพุทธ และกลุ่มเปราะบางอื่น ๆ</span></h2>
<p>มีข้อกังวลและข้อเสนอแนะ ดังนี้  </p>
<p>• ชาวไทยพุทธในพื้นที่มีส่วนร่วมในกระบวนการสันติภาพอย่างจำกัด สถานการณ์ความรุนแรงยังทำให้เกิดหญิงหม้าย แม่เลี้ยงเดี่ยว เด็กกำพร้า และผู้สูงอายุจำนวนมาก ส่งผลต่อโครงสร้างสังคมโดยรวม</p>
<p>• กลุ่มชุมชนชาวพุทธรู้สึกไม่ปลอดภัย ตกเป็นเหยื่อจากการถูกเอาคืน นักการเมืองไม่เคยลงพื้นที่ในชุมชนชาวพุทธ และไม่ค่อยได้รับการสนับสนุนการทำงานจากแหล่งทุน</p>
<p>ข้อเสนอแนะ ต่อ เจ้าหน้าที่รัฐ</p>
<p>• สนับสนุนการมีส่วนร่วมของกลุ่มเปราะบางทุกกลุ่ม (พุทธ มุสลิม) ในกระบวนการต่าง ๆ รวมถึงกระบวนการสันติภาพ</p>
<p>• สนับสนุนความเท่าเทียมลดความเหลื่อมล้ำในพื้นที่ ให้การคุ้มครองและช่วยเหลือกลุ่มเปราะบางต่าง ๆ อย่างเป็นระบบ</p>
<p>• สนับสนุนกระบวนการเยียวยาที่ต่อเนื่อง เท่าเทียม และครอบคลุมทุกมิติ โดยรวมถึงผลกระทบทางด้านสังคมและจิตใจ (social-psychosocial support)</p>
</div>
<p> </p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ขhttps://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2023/08/105594
 

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

นักข่าวหัวเห็ด แห่งเวบสุขใจ
อัพเดตข่าวทันใจ ตลอด 24 ชั่วโมง

>> http://www.SookJai.com <<
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
[ข่าวมาแรง] - ศาลอนุมัติหมายจับเจ้าของโกดังเก็บดอกไม้เพลิงมูโนะ
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 350 กระทู้ล่าสุด 02 สิงหาคม 2566 14:49:17
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - องค์กรพิทักษ์สัตว์เรียกร้องให้เพิ่มเรื่องสวัสดิภาพสัตว์และห้ามใช้ยาปฏิชีวน
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 363 กระทู้ล่าสุด 05 สิงหาคม 2566 15:31:10
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - คาดแบงก์พาณิชย์ไทยปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยตามอัตราดอกเบี้ยนโยบาย กนง.
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 266 กระทู้ล่าสุด 06 สิงหาคม 2566 18:04:42
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - ประเทศไทยกำลังเดินถอยหลังเรื่องความคุ้มครองความยากจนผู้สูงอายุ
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 275 กระทู้ล่าสุด 17 สิงหาคม 2566 17:55:22
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - เผยนักกิจกรรมชายแดนใต้ถูกคุกคามหลังไลฟ์สดการปิดล้อม
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 208 กระทู้ล่าสุด 20 สิงหาคม 2566 15:35:02
โดย สุขใจ ข่าวสด
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 1.037 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page วานนี้