[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
30 เมษายน 2567 03:04:36 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - เสวนา 'สันติภาพเมียนมา': เสนอบทบาทไทย-อาเซียน แก้ไขวิกฤตการเมืองเมียนมา (1)  (อ่าน 124 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
สุขใจ ข่าวสด
I'm Robot
สุขใจ บอทนักข่าว
นักโพสท์ระดับ 15
****

คะแนนความดี: +101/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Italy Italy

กระทู้: มากเกินบรรยาย


บอท @ สุขใจ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 24 สิงหาคม 2566 03:50:17 »

เสวนา 'สันติภาพเมียนมา': เสนอบทบาทไทย-อาเซียน แก้ไขวิกฤตการเมืองเมียนมา (1)
 


<span class="submitted-by">Submitted on Thu, 2023-08-24 02:25</span><div class="field field-name-field-byline field-type-text-long field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><p>ภาพปก: (ซ้าย) กัณวีร์ สืบแสง กับ (ขวา) พินิตพันธุ์ บริพัตร (ที่มา: เว็บไซต์ สถาบันปรีดี พนมยงค์)</p>
<p>ภาพประกอบ: ที่มา: เว็บไซต์ สถาบันปรีดี พนมยงค์</p>
</div></div></div><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>เสวนา 'สันติภาพเมียนมา' จัดโดยสถาบันปรีดีฯ ระดมหลากหลายความเห็นจากภาคประชาสังคม นักการเมือง และนักวิชาการ ข้อเสนอบทบาทรัฐบาลใหม่ไทย-อาเซียนต่อการสร้างสันติภาพ และแก้ไขวิกฤตการเมืองเมียนมา หลังรัฐประหารผ่านมากว่า 2 ปี  </p>
<div class="summary-box">
<ul>
<li>ผ่านมา 2 ปีหลังรัฐประหารพม่า เมียนมายังติดหล่มวิกฤตสงครามการเมือง มีประชาชนเสียชีวิตอย่างต่ำเกือบ 4 พันราย มีนักโทษการเมือง 24,410 ราย และผลจากสงครามกลางเมืองทั่วประเทศ ทำให้มีผู้พลัดถิ่นภายในเพิ่มขึ้นถึง 1.6 ล้านราย </li>
<li>กัณวีร์  เลขาธิการพรรคเป็นธรรม เสนอไทยเล่นบทนำสร้างสันติภาพเมียนมา ต้องเริ่มเปลี่ยนกระบวนทัศน์ทางการทูตเชิงอนุรักษ์นิยม ซึ่งเน้นความสัมพันธ์ทวิภาคี สู่การเน้นเรื่องมนุษยธรรม และมองไทยต้องเปิดระเบียงมนุษยธรรม ใช้เป็นช่องทางส่งความช่วยเหลือประชาชนเมียนมา โดยผลักดันผ่านอาเซียน และความสัมพันธ์ด้านทวิภาคี</li>
<li>พินิตพันธุ์ ผู้เชี่ยวชาญการเมืองความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ มองการสร้างสันติภาพในเมียนมา มีความสลับซับซ้อนด้านตัวแสดง และผลประโยชน์ แต่สิ่งที่เริ่มต้นได้คือการเปลี่ยนกระบวนทัศน์ความหมายของ 'สันติภาพ' จากการปราศจากความขัดแย้ง-สงคราม สู่สันติภาพเป็นสิทธิและศักดิ์ศรีที่ชาวเมียนมาควรได้รับ ถ้าเรามองแบบนี้ จะทำให้การแก้ไขวิกฤตเมียนมา วางอยู่บนฐานของประชาชน</li>
</ul>
</div>
<p>เมื่อ 16 ส.ค. 2566 เนื่องในวาระครบรอบ 78 ปี วันสันติภาพไทย สถาบันปรีดี พนมยงค์ จัดเสวนาในหัวข้อ "สันติภาพในเมียนมา" โดยมีผู้ร่วมแลกเปลี่ยนอภิปรายด้วยกัน 5 ราย ประกอบด้วย กัณวีร์ สืบแสง เลขาธิการพรรคเป็นธรรม ดุลยภาค ปรีชารัชช รองผู้อำนวยการสถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) พินิตพันธุ์ บริพัตร อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ มธ., สุณัย ผาสุข ที่ปรึกษา “Human Rights Watch” ประจำประเทศไทย และอังคณา นีละไพจิตร ผู้เชี่ยวชาญสหประชาชาติ และกรรมการบริหารสถาบันปรีดี พนมยงค์ และดำเนินรายการโดย ฐปนีย์ เอียดศรีไชย ผู้สื่อข่าวจากสำนักข่าว The Reporters</p>
<p>โดยระหว่างเสวนามีประเด็นที่น่าสนใจคือโอกาสและปัญหาอุปสรรคของการสร้างสันติภาพในเมียนมา และข้อเสนอนโยบายทางการทูตต่อรัฐไทย ในการช่วยเหลือวิกฤตการณ์การเมืองของประเทศเพื่อนบ้านฝั่งตะวันตกครั้งนี้ </p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53137012171_1bce1e4429_b.jpg" /></p>
<h2><span style="color:#2980b9;">เปิดระเบียงมนุษยธรรม ช่วยเหลือผู้พลัดถิ่นภายในชาวเมียนมา</span></h2>
<p>กัณวีร์ สืบแสง เลขาธิการพรรคเป็นธรรม และเคยทำงานกับ UNHCR มองบทบาทรัฐบาลไทยต่อการสร้างสันติภาพในประเทศเมียนมาหลังรัฐประหารปี 2564 ในมิติด้านมนุษยธรรม ผ่านข้อเสนอการเปิดระเบียงมนุษยธรรม (Human Corridor) บนพื้นี่ชายแดนไทย-เมียนมา</p>
<div class="note-box">
<p>สถานการณ์ด้านมนุษยธรรมของเมียนมาขณะนี้ ผลจากการปราบปรามผู้ประท้วง และไล่จับกุมผู้ต่อต้านกองทัพเมียนมา ส่งผลให้มีผู้พลัดถิ่นภายในจำนวนมาก ตัวเลขจาก UNHCR เปิดเผยว่า ก่อนหน้าการทำรัฐประหารเมียนมาเมื่อปี’64 เมียนมามีผู้พลัดถิ่นนภายใน จำนวน 306,200 คน แต่นับตั้งแต่ 1 ก.พ. 2564 จนถึง 14 ส.ค. 2566 มีผู้พลัดถิ่นภายในจำนวนอย่างน้อยประมาณ 1.6 ล้านคน นอกจากนี้ รายงานจาก UNCHR เผยแพร่เมื่อ 31 ก.ค.ที่ผ่านมา ระบุด้วยว่า มีผู้ลี้ภัยเข้ามายังประเทศไทยแล้วอย่างน้อย 43,735 ราย </p>
</div>
<p>เลขาธิการพรรคเป็นธรรม กล่าวว่า สถานการณ์ขณะนี้มีผู้พลัดถิ่นภายในเมียนจำนวนมากรอเข้ามาในประเทศไทย บทบาทแรกที่รัฐบาลไทยสามารถทำได้คือการพิจารณาเปิดระเบียงมนุษยธรรม (Humanitarian Corridor) บริเวณชายแดนไทย-เมียนมาทั้งหมด (เชียงราย แม่ฮ่องสอน ตาก กาญจนบุรี ราชบุรี และระนอง)</p>
<div style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53137012321_85d13db65c_b.jpg" /></div>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#d35400;">กัณวีร์ สืบแสง</span></p>
<p>เลขาธิการพรรคเป็นธรรม กล่าวต่อว่า ระเบียงมนุษยธรรมจะเป็นพื้นที่ห่างจากชายแดนไทย-เมียนมา โดยลึกเข้ามาในเมียนมา ราว 5 กิโลเมตร และจะเป็นพื้นที่ปลอดปฏิบัติการทางทหารทั้งทางบกและทางอากาศ ซึ่งปฏิบัติการทางอากาศสร้างผลกระทบต่อประชาชนเมียนมาอย่างมาก เพราะทุกครั้งที่มีปฏิบัติการ ชาวเมียนมาอพยพหนีภัยภัยเข้ามาในฝั่งไทย และปฏิบัติการดังกล่าวยังส่งผลต่อสวัสดิภาพของประชาชนไทยบริเวณชายแดน ดังนั้น ไทยต้องใช้กลไกทั้งทวิภาคี และพหุภาคี ในการเปิดระเบียงมนุษยธรรม และหลังจากนั้น ระเบียงมนุษยธรรมจะเป็นช่องทางส่งความช่วยเหลือจากไทยไปที่ประเทศเมียนมาได้</p>
<p>“Humanitarian Corridor นี่ไม่ใช่เรื่องใหม่ ไม่ใช่ ‘การชักน้ำเข้าลึก ชักศึกเข้าบ้าน’ อย่างที่สังคมเข้าใจ แต่เป็นการเปิดประตูเพื่อให้มีความเป็นไปได้ที่ประเทศไทยจะมีความช่วยเหลือในเรื่องมนุษยธรรมต่อผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการลิดรอนสิทธิมนุษยชนจากเมียนมาเข้ามาอยู่ตรงนี้” กัณวีร์ ระบุ</p>
<p>เลขาธิการพรรคเป็นธรรม เสนอด้วยว่า ไทยต้องใช้กรอบพหุภาคีผ่านฉันทามติอาเซียน 5 ข้อ เพราะฉันทามติทั้ง 5 ข้อนี้ เป็นการสร้างพื้นที่ในการเข้าไปหารือเรื่องกระบวนการสร้างสันติภาพในเมียนมา ประเทศไทยต้องใช้บทบาทนี้ และจังหวะนี้ พูดคุยกับทูตพิเศษ (Special Envoy) ให้มีการหยิบยกเรื่องระเบียงมนุษยธรรม ในฐานะวาระเร่งด่วนที่ต้องรีบดำเนินการ </p>
<p>นอกจากนี้ กัณวีร์ เสนอว่า ไทยต้องเล่นบทบาทนำ ในฐานะผู้ประสานงานการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม โดยการเชิญหน่วยงานต่างๆ เข้ามาประชุมหารือร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นองค์การระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง สถานทูตต่างๆ ที่สนใจเรื่องการสร้างสันติภาพ หรือองค์กรภาคประชาสังคมทั้งในและต่างประเทศ เพื่อหาทางช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">เปลี่ยนกระบวนทัศน์ทางการทูตจากสมัยสงครามเย็น</span> </h2>
<p>อย่างไรก็ตาม กัณวีร์ มองว่า หากรัฐบาลไทยยังไม่เปลี่ยนกระบวนทัศน์ (Paradigm) จุดยืนทางการทูตอนุรักษ์นิยมจากสมัยยุคสงครามเย็น สิ่งที่เขาเสนอไปจะไม่สามารถทำได้เลย  เพราะการทูตอนุรักษ์นิยมเป็นการทูตที่เน้นเฉพาะทวิภาคี จะทำให้ไทยไม่สามารถก้าวข้ามกระบวนทัศน์ทางด้านความคิดในการให้ความสำคัญด้านสิทธิมนุษยชน และมนุษยธรรม</p>
<p>“เพราะจุดยืนทางด้านการทูตด้านอนุรักษ์นิยมจะมุ่งเน้นการปฏิสัมพันธ์รัฐต่อรัฐ เราเห็นชัดเจนว่ารัฐบาลไทยโดยเฉพาะช่วง คสช. (คณะรักษาความสงบแห่งชาติ) จนถึงปัจจุบันนี้ ให้ความสำคัญระหว่างทหารต่อทหารเป็นหลัก ทั้งที่เรามีความสัมพันธ์ในกลไกต่างๆ บริเวณชายแดนไทยกับเมียนมาทั้ง TBC (คณะกรรมการชายแดนส่วนท้องถิ่นไทย-เมียนมา) RBC (การประชุมคณะกรรมการชายแดนส่วนภูมิภาค) หรือรัฐบาลต่อรัฐบาลเรียบร้อยแล้ว แต่ทำไมเราถึงไม่ยอมข้ามกระบวนทัศน์ตรงนี้ไปให้ความช่วยเหลือทางด้านมนุษยธรรม </p>
<p>“ถ้าการเมืองไทยยังย่ำอยู่กับที่ การเมืองไทยยังไม่มีประชาธิปไตยเต็มใบ เราจะไม่สามารถหลุดกรอบความคิดนี้ไปได้เลย กรอบความคิดและการช่วยเหลือทางด้านมนุษยธรรมจะไม่สามารถทำงานได้” กัณวีร์ กล่าว  </p>
<h2><span style="color:#2980b9;">เปลี่ยนกระบวนทัศน์ของคำว่า "สันติภาพ" </span></h2>
<p>พินิตพันธุ์ บริพัตร อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ มธ. มองว่า การสร้างสันติภาพในเมียนมาไม่มี 'Quick Fix' หรือทางออกที่รวดเร็ว และทุกฝ่ายพึงพอใจ เขาอยากมองว่า ในความเป็นจริงเราทำอะไรได้บ้างบนพื้นฐานความเป็นจริง เขาอยากลองสำรวจว่าความสัมพันธ์อาเซียน กับเมียนมา เป็นอย่างไรบ้าง และอะไรคือความก้าวหน้า อะไรคืออุปสรรค และเราจะมองต่อไปอย่างไรได้บ้าง</p>
<div style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53137457685_6c83df78d4_b.jpg" /></div>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#d35400;">พินิตพันธุ์ บริพัตร (ที่มา: Youtube </span><span style="color:#d35400;">สถาบันปรีดี พนมยงค์</span><span style="color:#d35400;">)</span></p>
<p>พินิตพันธุ์ กล่าวว่ายินดีที่ได้มาพูดในงานวันสันติภาพไทย เนื่องจากเราต้องทบทวนความหมายหรือกรอบคิดความหมายของคำว่า "สันติภาพ" ซึ่งไม่ควรดำรงไว้แค่การปราศจากสงคราม ความขัดแย้ง หรือการบูรณภาพดินแดนอันสมบูรณ์ แต่เขารู้สึกว่าสันติภาพในปัจจุบันเป็นสิทธิและศักดิ์ศรีของคนทุกคนที่ควรจะได้รับ และไม่ควรจะอยู่ในกรอบคิดของรัฐชาติอีกต่อไป ซึ่งเรื่องนี้จำเป็นและสำคัญที่เราจะต้องเชื่อมโยงสู่การมองภาพวิเคราะห์พม่า และอุปสรรคและปัญหา ในเมียนมา </p>
<p>"อุปสรรคปัญหาในกรณีของพม่ามันอยู่ที่เรายังไม่คิดว่าสันติภาพ เป็นเรื่องของชาวพม่าที่เขาควรจะได้รับ เรากลับไปคิดถึงเรื่องอื่นมากกว่าคนที่กำลังเผชิญหน้ากับความเสี่ยงที่จะไม่ได้รับสิทธิและศักดิ์ศรีที่เกี่ยวข้องกับสันติภาพ" พินิตพันธุ์ ระบุ</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">จุดเปลี่ยนของอาเซียนต่อการจัดการเมียนมา </span></h2>
<p>เมื่อพูดถึงความสัมพันธ์ระหว่างอาเซียน และเมียนมา พินิตพันธุ์ เรียกว่าไม่ค่อยจะสู้ดี หรือว่าเป็น "หอกข้างแคร่" เพราะตั้งแต่เมียนมาเข้ามาเป็นสมาชิกอาเซียนเมื่อปี 2540 ก็มีปัญหาเรื่องอองซานซูจี ผู้ลี้ภัย ยาเสพติด อาชญากรข้ามชาติ ปัญหาสิ่งแวดล้อมข้ามพรมแดน อาเซียนจะถูกกดดันให้ออกแถลงการณ์ ให้แสดงความเป็นห่วงเป็นใย หรือให้ออกมาแก้ปัญหาเด็กดื้อในอาเซียน แต่อาเซียนมักอ้างหลักการไม่แรกแซงกิจการภายในสมาชิก ซึ่งเป็นหลักการหลักที่สำคัญตั้งแต่ก่อตั้งองค์การนี้มา แต่อาจารย์รัฐศาสตร์ ชวนมองว่า เวลาเราพูดถึงอาเซียนมักไม่เห็นการจัดการปัญหาเมียนมา แต่ถ้ามองในรายละเอียดจะเห็นว่าเมียนมาทำให้อาเซียนเปลี่ยนแปลงหลักการไม่แทรกแซงกิจการภายในชาติสมาชิก  </p>
<p>เมื่อปี 2546 อาเซียนเริ่มมีการพูดถึงการยกเลิกสมาชิกภาพเมียนมา หลังกองทัพพม่าควบคุมตัวอองซานซูจี รอบที่ 2 ซึ่งสะท้อนว่ามีความพยายามปรับหลักการไม่แทรกแซงกิจการภายใน ครั้งแรก </p>
<p>ต่อมา ในช่วงรัฐบาลชวน หลีกภัย สมัยที่ 2 สุรินทร์ พิศสุวรรณ อดีตเลขาธิการอาเซียน มีการทำข้อเสนอการทูตพัวพันอย่างยืดหยุ่น (Flexible Engagement) ซึ่งเป็นสิทธิของชาติสมาชิกที่จะแสดงความเห็นต่อประเด็นปัญหาในภูมิภาคที่ข้ามพรมแดน เป็นสิทธิที่ควรจะบอกได้ว่า เราได้รับผลกระทบจากประเด็นปัญหาอะไร เราไม่ควรจะใช้หลักการ "ไม่แทรกแซงกิจการภายใน" มาเป็นอุปสรรค เราควรจะใช้หลักการยืดหยุ่นในการแสดงความคิดเห็น และยอมรับ ขณะนั้นมีแค่ฟิลิปปินส์ ประเทศเดียวที่เห็นด้วย ขณะที่ประเทศอื่นๆ ไม่เห็นด้วย และต่อว่าว่ากำลังจะเปลี่ยนหลักการวิถีอาเซียน</p>
<p>อย่างไรก็ดี แม้ในทางหลักการ จะไม่ถูกนำไปใช้เลย แต่ในทางปฏิบัติถูกนำไปอยู่ในแผนแม่บทจัดตั้งประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political Security Blueprint) และถูกใส่ในธรรมนูญอาเซียน "ASEAN Charter" นอกจากนี้ เมื่อปี 2552 สุรินทร์ เป็นคนที่เอา "Humanitarian Assistance Force" เข้าไปในเมียนมา และเป็นครั้งแรกที่อาเซียน สามารถดำเนินการเรื่องพม่าได้</p>
<div style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/4520/38022994464_b18406a20e_b.jpg" /></div>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#d35400;">สุรินทร์ พิศสุวรรณ</span></p>
<p>พินิตพันธุ์ มองว่า ที่เป็นความเปลี่ยนแปลงใหญ่ของอาเซียนคือการออกฉันทามติ 5 ข้อของอาเซียน เป็นครั้งแรกที่อาเซียนจัดประชุมพิเศษเรื่องวิกฤตการเมืองเมียนมาหลังรัฐประหารปี 2564 เป็นการพูดตรงๆ ว่าคุณมีปัญหา และการมีปัญหานั้นกระทบต่ออาเซียนอย่างไร นอกจากนี้ ผู้นำสูงสุดของเมียนมาขณะนั้นคือ มินอ่องหล่าย ได้เข้าร่วมประชุม รวมถึงยอมรับฉันทามติ ซึ่งนี่เป็นประสบการณ์ใหม่ เมื่อเมียนมาปฏิเสธปฏิบัติตามฉันทามติ 5 ข้อ อาเซียนปฏิเสธการเข้าร่วมประชุมของผู้นำทางการเมืองระดับสูงของเมียนมา ปรากฏการณ์เหล่านี้ควบคู่กับความเป็นสถาบันของอาเซียน การระบุให้อาเซียนมีทูตพิเศษด้านพม่า ‘Special Envoy’ หรือให้เลขาธิการอาเซียนประสานงานเรื่องนี้ นี่ไม่เคยปรากฏมาก่อนในอาเซียน เพราะเป็นการแทรกแซงกิจการภายในของเมียนมาโดยตรง ดังนั้น อาเซียน ทำงานอะไรบางอย่าง เพื่อนำประเทศพม่ากลับคืนสู่ภาวะปกติ</p>
<p>พินิตพันธุ์ ระบุว่า ประเด็นที่เขาต้องการสื่อคือมุมมองและมิติของสันติภาพในลักษณะของศักดิ์ศรี และสิทธิความเป็นมนุษย์ มันมีอยู่ในอาเซียน ผ่านเอกสารต่างๆ แต่ปัญหาคืออาเซียนและชาติสมาชิกมิได้ให้ความสำคัญอย่างจริงจัง และมักจะยอมศิโรราบกับผลประโยชน์แห่งชาติ และก็หลักการไม่แทรกแซงฯ ไม่ใช่อาเซียนไม่ระลึกถึง แต่อาจจะมีอุปสรรคบางอย่างที่ทำให้อาเซียนยังไม่ได้ทำ</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">'อาเซียน' ลองมา 2 ปี ต้องเปลี่ยนวิธีใหม่</span></h2>
<p>อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ มธ. ระบุว่า 2 ปีหลังรัฐประหารผ่านไป เขาคิดว่าอาเซียนควรจะต้องเรียนรู้บางอย่างว่าสิ่งที่ทำมา ลองแล้วมันไม่เวิร์ก เพราะฉะนั้นจะต้องครุ่นคิดพอสมควรว่าปัญหามันคืออะไร ผมคิดว่าจาก 2 ปีที่ผ่านมา เราเห็นปัญหาในพม่า ไม่ใช่ปัญหาเฉพาะพม่า และอาเซียนเท่านั้น แต่มีความสลับซับซ้อนพัวพันกับหลายตัวแสดง และข้อได้เปรียบทางภูมิศาสตร์ของพม่า อย่างจีนที่มีความสนิทชิดเชื้อกับพม่า แม้ว่าช่วงที่ผ่านมา จีนไม่ได้ออกตัวแทนพม่าในเวทียูเอ็นมากเท่าเมื่อก่อน แต่จีนแค่ต้องการแค่พม่ามีเสถียรภาพโดยไม่สนว่าจะปกครองด้วยระบอบใด อินเดีย และญี่ปุ่นก็ไม่ได้ออกมาท้าทายมากนัก </p>
<p>ขณะที่ภาคเอกชนโดยเฉพาะบรรษัทข้ามชาติ ที่จะเป็นกลจักรสำคัญมากขึ้นยุคหลังโควิด-19 และสงครามรัสเซีย-ยูเครน กองทัพพม่าก็จูงใจภาคเอกชนในเชิงบวก ด้วยทรัพยากรที่หนาแน่น สิ่งเหล่านี้ทำให้การจัดการเรื่องสันติภาพในพม่ามันพัวพันกันไปหมด แต่สิ่งที่มันจะเริ่มต้นก็คือการเปลี่ยนกระบวนทัศน์เรื่อง 'สันติภาพ' </p>
<p>"แต่สิ่งที่เราจะเริ่มต้นคือกระบวนทัศน์ของเรา ที่เราควรมองว่า สันติภาพที่ควรจะเป็นของใคร ถ้าตรงนั้นเราชัด ภาคเอกชนก็ชัด ภาคการเมืองก็ชัด ภาคอาเซียนก็ชัด ถ้าเรากลับไปกระบวนทัศน์ในแบบเดิม สันติภาพในแบบรัฐชาติ หรือการสถาปนาบูรณภาพดินแดนอันสมบูรณ์แบบ เรื่องเหล่านี้ก็จะกลับมาเป็นลูปเดิมอย่างที่พม่า ประสบปัญหา 30-40 ปีที่ผ่านมา" พินิตพันธุ์ กล่าว  </p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-promote-end field-type-text field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even">ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2023/08/105595
 

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

นักข่าวหัวเห็ด แห่งเวบสุขใจ
อัพเดตข่าวทันใจ ตลอด 24 ชั่วโมง

>> http://www.SookJai.com <<
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
[ข่าวมาแรง] - เสวนา 'สันติภาพเมียนมา': ถึงเวลาไทย-อาเซียน สร้างอำนาจต่อรองกับกองทัพพม่า (2)
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 104 กระทู้ล่าสุด 27 สิงหาคม 2566 21:16:01
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - เสวนา 'สันติภาพเมียนมา': ถึงเวลาไทย-อาเซียน สร้างอำนาจต่อรองกับกองทัพพม่า (2)
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 76 กระทู้ล่าสุด 28 สิงหาคม 2566 00:16:24
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - เสวนา 'การบ้าน ครม.เศรษฐา 1' แนะสร้างสมดุล 'เสรีนิยม-รัฐสวัสดิการ-อนุรักษ์นิย
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 88 กระทู้ล่าสุด 03 กันยายน 2566 17:50:32
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - ผบ.ทอ.ไทย เข้าหารือ ‘มินอ่องหล่าย’ หลังเสร็จสิ้นประชุม ผบ.ทอ.อาเซียน
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 167 กระทู้ล่าสุด 19 กันยายน 2566 05:48:15
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - เสวนา 'แลนด์บริดจ์ตอบโจทย์ใคร' ชี้เรือขนส่งตู้คอนเทนเนอร์ใช้ต้นทุนสูง
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 79 กระทู้ล่าสุด 09 ธันวาคม 2566 14:19:06
โดย สุขใจ ข่าวสด
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.561 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 10 เมษายน 2567 09:15:06