'คดีน้ำมันรั่วระยอง' ศาลไม่ให้ฎีกาค่าทดแทน เหตุความเสียหายไม่เกิน 2 แสน
<span class="submitted-by">Submitted on Thu, 2023-08-24 18:53</span><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>ความคืบหน้า ‘คดีน้ำมันรั่วระยอง’ ศาลไม่ให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงของโจทก์ทั้ง 9 ราย ที่ฟ้องบริษัทในเหตุการณ์น้ำมันรั่วเมื่อปี 2556 ศาลระบุ เหตุความเสียหายมีทุนทรัพย์ไม่ถึง 200,000 บาท ส่วนคำขอเรื่องฟื้นฟู โจทก์ยังมีสิทธิอยู่ฎีกาได้ต่อ เพราะเป็นประเด็นข้อกฎหมาย ไม่มีข้อห้ามฎีกา</p>
<p> </p>
<p>24 ส.ค. 2566
มูลนิธิศูนย์ข้อมูลชุมชน รายงาน เมื่อวันที่ 23 ส.ค. ที่ผ่านมา วีรวัฒน์ อบโอ ทนายความมูลนิธิศูนย์ข้อมูลชุมชนได้เดินทางไปศาลจังหวัดระยอง เพื่อฟังคำสั่งกรณีอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่รับฎีกา กรณีสมาคมประมงพื้นบ้านเรือเล็กระยองกับพวกรวม 429 ราย ยื่นฟ้องคดีแพ่งบริษัท พีพีที โกบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) จากเหตุการณ์น้ำมั่นรั่วทะเลระยอง เมื่อปี 2556</p>
<p>หลังจากรับฟังคำสั่งศาลแล้ว วีรวัฒน์ได้ชี้แจงว่า คดีนี้ประชาชนยื่นฟ้องเมื่อปี 2557 จากเหตุการณ์น้ำมันรั่วในปี 2556 โดยมีโจทย์ทั้งหมด 429 ราย ปัจจุบันที่ยังยื่นฎีกาเหลืออยู่ 271 ราย โดยหลักๆ คำขอคือ</p>
<p>1. ขอให้มีการเยียวยาค่าเสียหาย จากเหตุการณ์น้ำมันรั่วให้กับโจทก์ แต่ละรายที่ประกอบอาชีพประมง และแม่ค้า คำขอที่</p>
<p>2. ขอให้มีการตั้งกองทุนเพื่อให้เอาเงินกำไรของบริษัท เพื่อมาตั้งกองทุนเพื่อดำเนินการฟื้นฟูทะเล ที่เกิดจากการทำละเมิดของบริษัท ซึ่งศาลชั้นต้นก็มีคำพิพากษาให้บริษัท จ่ายเงินค่าเสียหายให้กับโจทก์ แต่เรื่องการตั้งกองทุน ศาลยกคำขอ</p>
<p>พอไปถึงศาลอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ก็ให้ค่าเสียหายเพิ่มขึ้นมา แต่ในเรื่องของคำขอบังคับเรื่องของกองทุนฟื้นฟูศาลก็ยกเหมือนเดิม คือ ไม่ให้ ทีนี้โจทย์ทั้งหมด 271 ราย รวมสมาคมประมงพื้นบ้าน ที่ยังยึดมั่นในเรื่องของแนวทางฟื้นฟู ก็เลยยื่นฎีกาต่อศาลฎีกา ปรากฏว่าในจำนวน 271 ราย มีจำนวน 9 ราย ที่ทุนทรัพย์ไม่ถึง 200,000 บาท ที่จะฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้</p>
<p>“ความเสียหายที่ทุนทรัพย์ไม่ถึง 200,000 บาท ไม่สามารถฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้ ซึ่งศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฎีกาปัญหาข้อเท็จจริงของโจทย์ทั้งเก้า ตอนฎีกาเราก็ให้ผู้พิพากษาศาลชั้นต้น และศาลอุทธรณ์รับรองฎีกา ซึ่งก็ไม่รับรองให้ ฉะนั้นเราเลยอุทธรณ์ เขาเรียกว่าอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา ในกรณีที่ผู้พิพากษาไม่รับฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงของโจทก์ทั้งเก้าราย จึงเป็นที่มาของการรับฟังคำสั่งของศาลฎีกาวันนี้” ทนายความมูลจากนิธิศูนย์ข้อมูลชุมชน กล่าว</p>
<p>วีรวัฒน์ยังกล่าวด้วยว่า ในส่วนคำขอเรื่องฟื้นฟู โจทก์ทั้ง 9 รายก็ยังมีสิทธิ์อยู่ เพราะเป็นประเด็นข้อกฎหมาย ไม่มีข้อห้ามสามารถฎีกาได้ แต่จะไม่มีสิทธิ์เฉพาะในเรื่องค่าทดแทนในชั้นฎีกา ทั้งนี้ ศาลฎีกาจะพิพากษาออกมาอย่างไรนั้น ก็ต้องติดตามกันอีกที</p>
<p> </p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ข
https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์
https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
https://prachatai.com/journal/2023/08/105607 







