[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
03 กรกฎาคม 2568 12:21:27 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - สำรวจทัศนคติคน กทม. มองสันติวิธีคือการไม่ทำผิด กม. แต่เปิดกว้างถกเรื่องสถาบันก  (อ่าน 201 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
สุขใจ ข่าวสด
I'm Robot
สุขใจ บอทนักข่าว
นักโพสท์ระดับ 15
****

คะแนนความดี: +101/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Italy Italy

กระทู้: มากเกินบรรยาย


บอท @ สุขใจ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 25 สิงหาคม 2566 06:01:53 »

สำรวจทัศนคติคน กทม. มองสันติวิธีคือการไม่ทำผิด กม. แต่เปิดกว้างถกเรื่องสถาบันกษัตริย์มากขึ้น
 


<span class="submitted-by">Submitted on Thu, 2023-08-24 16:54</span><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>ผลสำรวจคน กทม. 44.2% มองว่าการเคลื่อนไหวสันติวิธีไม่รุนแรงคือต้องถูกกฎหมายด้วย ผู้วิจัยชี้ปัญหาทัศนคติดังกล่าวเป็นการจำกัดกรอบวิธีการเคลื่อนไหวเรียกร้องว่าต้องถูกกฎหมายแม้จะเป็นวิธีที่ไม่ได้ทำให้มีคนเจ็บหรือล้มตาย และมิหนำซ้ำรัฐยังสรรหากฎหมายมาทำให้การชุมนุมนั้นผิดกฎหมายได้ตั้งแต่เรื่องความสะอาด เครื่องขยายเสียง ไปจนถึง พ.ร.บ.ชุมนุมฯ</p>
<p style="text-align: center;">
<iframe allow="accelerometer; autoplay; clipboard-write; encrypted-media; gyroscope; picture-in-picture; web-share" allowfullscreen="" frameborder="0" height="315" src="https://www.youtube.com/embed/k0APxtBzkOQ?si=jK-sHO9Ufe1FDZsf" title="YouTube video player" width="560"></iframe></p>
<p>เมื่อวานนี้ 23 ส.ค.2566 ที่คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา อาคารคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ มีการแถลงผลสำรวจทัศนคติของประชาชนในกรุงเทพต่อประเด็นการชุมนุมทางการเมืองในแนวทางไม่ใช้ความรุนแรง โดยการสำรวจครั้งนี้มี รศ. ดร.บุญเลิศ วิเศษปรีชา และอุเชนทร์ เชียงเสน เป็นคณะวิจัย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิจัย "สันติวิธีในทางปฏิบัติท่ามกลางความขัดแย้งทางการเมือง"</p>
<p>ทั้งนี้ในรายงานวิจัยดังกล่าวเป็นการสำรวจความเห็นประชาชนในกรุงเทพจำนวน 500 คนระหว่างวันที่ 19 พ.ค.- 6 มิ.ย.2566  โดยมีจุดประสงค์เพื่อทราบว่ามีความคิดเห็นอย่างไรต่อการเคลื่อนไหวในแนวทางไม่ใช้ความรุนแรงอย่างไร โดยมีการแบ่งช่วงอายุของกลุ่มประชากรที่ทำสำรวจเป็น 4 ช่วงวัยคือ เบบี้บูมเมอร์( 59-77 ปี) ร้อยละ 21 เจน X (44-58  ปี) ร้อยละ 31 เจน Y (26-43 ปี) ร้อยละ 34 และเจน Z (18-25 ปี) ร้อยละ 14 ซึ่งกำหนดให้มีสัดส่วนใกล้เคียงกับสัดส่วนของจำนวนประชากรแต่ละช่วงวัยเนื่องจากผู้วิจัยมีสมมติฐานว่าระดับการยอมรับในวิธีการเคลื่อนไหวเรียกร้องและประเด็นเนื้อหาที่เรียกร้องสัมพันธ์กับกลุ่มช่วงวัย และในการทำสำรวจมีการกระจายตัวกลุ่มเพศและอาชีพที่หลากหลายจากทั้ง 6 โซนในกรุงเทพ</p>
<p>ผลสรุปการวิจัยพบว่าทัศนคติของประชาชนต่อการเคลื่อนไหวในแนวทางสันติวิธีหรือการไม่ใช้ความรุนแรงยังค่อนข้างจำกัด เนื่องจากกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ยังมองว่าแนวทางดังกล่าวหมายการเคลื่อนไหวที่ไม่ผิดกฎหมาย (44.2%) แม้ว่าในทางวิชาการเกณฑ์ความถูกผิดกฎหมายไม่ใช่เกณฑ์ในการพิจารณาว่าเป็นสันติวิธีหรือไม่เพราะเกณฑ์ที่ใช้กันโดยทั่วไปคือ การกระทำที่จะไม่ทำให้เกิดการบาดเจ็บทางกายภาพหรือล้มตาย และการกระทำที่ทำให้ทรัพย์สินของเอกชนหรือรัฐเสียหาย ซึ่งเกณฑ์เรื่องการไม่ทำให้บาดเจ็บล้มตายนั้นเป็นที่ยอมรับทั่วไป ส่วนการทำให้ทรัพย์สินเสียหายนั้นยังคงมีข้อถกเถียงกันอยู่</p>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#e67e22;">การยอมรับว่าวิธีการใดเป็นสันติวิธีแบ่งสัดส่วนตามช่วงวัย</span></p>
<p><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53137539377_451af4bdc5_o.jpg" /></p>
<p><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53138611198_c2b9557fb8_b.jpg" /></p>
<p>ทั้งนี้ทัศนคติที่จำกัดการเคลื่อนไหวที่เป็นสันติวิธีต้องเป็นการกระทำที่ถูกกฎหมายส่งผลให้มีการยอมรับในวิธีการเคลื่อนไหวอื่นๆ ที่ยังอยู่ถูกจัดเป็นสันติวิธีที่ไม่ได้ทำให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บล้มตายหรือทำให้ทรัพย์สินเสียหายน้อยลงไปด้วย และในเงื่อนไขของประเทศไทยที่เจ้าหน้าที่รัฐสามารถเลือกใช้กฎหมายต่อการชุมนุมได้ทุกครั้ง เช่นกฎหมายเรื่องการรักษาความสะอาด การใช้เครื่องขยายเสียง ร่วมทั้งพ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะ 2558 ยิ่งทำให้ขอบเขตการกระทำที่ถูกกฎหมายและถูกยอมรับว่าเป็นสันติวิธีน้อยลงไปด้วย  </p>
<p>ยิ่งไปกว่านั้นกลุ่มตัวอย่างอีก 28.4% หรือ 1 ใน 4 ยังมองว่าการเคลื่อนไหวในแนวทางสันติวิธียังต้องไม่กระทบสิทธิของคนอื่น อย่างไรก็ตามการเคลื่อนไหวเรียกร้องโดยการชุมนุมประท้วงในพื้นที่สาธารณะเป็นเรื่องยากที่จะหลีกเลี่ยงการสร้างผลกระทบต่อคนอื่นเพราะการเลือกใช้ปฏิบัติการท้าทายขัดขวางช่องทางปกตินั้นก็เพื่อเรียกร้องผู้คนให้หันมาสนใจและกดดันผู้มีอำนาจหรือมีส่วนเกี่ยวข้องต้องเข้ามาแก้ไขปัญหา ซึ่งปฏิบัติการดังกล่าวจะเกิดผลกระทบต่อผู้ไม่เกี่ยวข้องโดยตรงมากน้อยต่างกันไป ซึ่งวิธีการที่สร้างผลกระทบมากแม้จะสร้างแรงกดดันได้มากแต่ก็อาจจะไม่ได้รับการยอมรับจากคนในสังคม</p>
<p>ผลสำรวจดังกล่าวยังชี้ให้เห็นอีกว่าการให้คำนิยามในสันติวิธีของกลุ่มตัวอย่างยังสอดคล้องกับการยอมรับในวิธีการและรูปแบบการประท้วงด้วยว่าเป็นสันติวิธีหรือไม่ วิธีการที่กระทบผู้อื่นน้อยที่สุดหรือแทบไม่กระทบเลยอย่างการแสดงออกเชิงสัญลักษณ์อย่างการผูกโบว์ขาว ใส่เสื้อดำ ติดสติกเกอร์ ได้รับการยอมรับมากถึง 89.4% ตามมาด้วยการบอยคอตไม่ซื้อสินค้าหรือบริการ 70.4% และเดินขบวนประท้วง 70.2%  ส่วนในกลุ่มวิธีการที่สร้างผลกระทบให้ผู้อื่น เช่น การปักหลักชุมนุมบนถนนไปจนถึงการชุมนุมในอาคารสนามบินจะได้รับการยอมรับว่าเป็นสันติวิธีน้อยลงไปตามลำดับตั้งแต่ 41%-13%  ส่วนกลุ่มวิธีการที่ค่อนข้างชัดเจนว่าทำให้เกิดการบาดเจ็บทางกายภาพ เช่น ขว้างขวดน้ำ วัตถุ ยิงพลุตอบโต้เจ้าหน้าที่ และทำให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินไม่ได้รับการยอมรับว่าเป็นสันติวิธีมากที่สุด</p>
<p>นอกจากนั้นการยอมรับในประเด็นเนื้อหาการชุมนุมว่าเรื่องใดเป็นสิทธิที่ทำได้ กลุ่มตัวอย่างรวมกันทุกช่วงวัยยังให้การยอมรับในประเด็นเรื่องความเท่าเทียมทางเพศ ปัญหาปากท้องและเศรษฐกิจมากกว่าประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการเมืองโดยตรงแต่ก็ยังได้รับการยอมรับเป็นลำดับรองลงมา</p>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#e67e22;">ประเด็นการเรียกร้องที่ยอมรับได้แบ่งตามช่วงวัย</span></p>
<p><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53137539382_e3e2a1917f_b.jpg" /></p>
<p>ทั้งนี้กลุ่มตัวอย่างให้การยอมรับในประเด็นเรื่องสถาบันกษัตริย์ว่าเป็นสิทธิที่จะทำได้เพียง 48% อย่างไรก็ตามผู้วิจัยยังเห็นว่าแม้ในประเด็นนี้เดิมจะเคยเป็นประเด็นอ่อนไหวและเป็นประเด็น “ต้องห้าม” ในสังคมไทยมาก่อนแต่จากผลสำรวจก็ทำให้เห็นว่าสังคมไทยเปิดกว้างมากขึ้นที่จะถกเถียงในประเด็นนี้</p>
<p>จากการสำรวจยังพบอีกว่าระดับการยอมรับทั้งในแง่รูปแบบวิธีการเรียกร้องและประเด็นเนื้อหาของการเรียกร้องในกลุ่มช่วงเจน Z มีสัดส่วนการยอมรับทั้งในด้านเนื้อหาและรูปแบบการเคลื่อนไหวสูงที่สุด โดยมีเจน Y ให้การยอมรับในสัดส่วนรองลงมาเป็นอันดับสอง เจน X เป็นอันดับสาม</p>
<p>อย่างไรก็ตาม ในรายงานวิจัยระบุว่าแม้ผลสำรวจจะทำให้เห็นว่ากลุ่มตัวอย่างมีความเข้าใจต่อสันติวิธีและการยอมรับในวิธีการที่ค่อนข้างจำกัด แต่กลุ่มตัวอย่างเหล่านี้ส่วนใหญ่ก็ยังมีความเชื่อมั่นว่าสันติวิธีจะเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาในสังคมไทย  </p>
<p><strong>สามารถอ่านงานวิจัยทั้งฉบับและสถิติต่างได้</strong></p>
<ul>
<li>รายงาน </li>
<li>สถิติทั้งหมด </li>
</ul>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ขhttps://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2023/08/105604
 

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

นักข่าวหัวเห็ด แห่งเวบสุขใจ
อัพเดตข่าวทันใจ ตลอด 24 ชั่วโมง

>> http://www.SookJai.com <<
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.185 วินาที กับ 27 คำสั่ง

Google visited last this page 03 มิถุนายน 2568 04:50:38