[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
01 พฤษภาคม 2567 14:10:38 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - ทำไม กทม. เก็บภาษีได้ลดลง ทำความเข้าใจภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างและปัญหาจากเน  (อ่าน 65 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
สุขใจ ข่าวสด
I'm Robot
สุขใจ บอทนักข่าว
นักโพสท์ระดับ 15
****

คะแนนความดี: +101/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Italy Italy

กระทู้: มากเกินบรรยาย


บอท @ สุขใจ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 31 สิงหาคม 2566 00:19:14 »

ทำไม กทม. เก็บภาษีได้ลดลง ทำความเข้าใจภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างและปัญหาจากเนื้อใน
 


<span class="submitted-by">Submitted on Wed, 2023-08-30 22:35</span><div class="field field-name-field-byline field-type-text-long field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><p>กฤษฎา ศุภวรรธนะกุล : สัมภาษณ์/เรียบเรียง</p>
<p>กิตติยา อรอินทร์ : ภาพปก </p>
</div></div></div><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่มาแทนภาษีโรงเรือนและที่ดินกับภาษีบำรุงท้องที่ทำให้จัดเก็บภาษีได้น้อยลง แต่ในอนาคตคาดว่าจะเก็บได้มากขึ้น อย่างไรก็ตาม ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างกลับมีปัญหาในตัวเองโดยเฉพาะการยกเว้นภาษี นักเศรษฐศาสตร์อธิบายว่าภาษีนี้ต้องการกระจายอำนาจทางการคลังให้ท้องถิ่น ส่วนการลดความเหลื่อมล้ำต้องใช้ภาษีและมาตรการอื่นๆ</p>
<p>การยกเลิกภาษีบำรุงท้องที่และภาษีโรงเรือนและที่ดินมาใช้ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ.2562 ทำให้รายได้ที่ท้องถิ่นเก็บได้ลดลง ดังที่ชัชชาติ สิทธิพันธุ์เคยให้สัมภาษณ์โดยยกตัวอย่างเขตพญาไทว่าก่อนเปลี่ยนรูปแบบการจัดเก็บภาษีสามารถจัดเก็บได้ประมาณ 300 ล้านบาท แต่เมื่อเปลี่ยนเป็นภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างทำให้รายได้ลดลงเหลือประมาณ 200 ล้านบาท ซึ่งไม่เป็นไปตามที่คาดไว้ว่าภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างจะช่วยแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำในสังคม</p>
<div class="more-story">
<ul>
<li>'ชัชชาติ' ฝาก รบ.ใหม่ ทบทวนภาษีที่ดิน หลังเก็บห้างใหญ่ได้ลดลง 10 เท่า</li>
</ul>
</div>
<p>เมื่อดูผลการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างปี 2563-2565 เปรียบเทียบกับผลการจัดเก็บภาษีโรงเรือนและที่ดิน และภาษีบำรุงท้องที่ปี 2562 ก็พบว่าตัวเลขลดลงจริงโดยในปี 2563-2564 ลดลงถึงร้อยละ 90</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53153167538_ac49bf7ebc_o.jpg" /></p>
<p>ดวงมณี เลาวกุล จากคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่าตัวเลขที่ลดลงเกิดขึ้นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ทั่วประเทศ โดยเฉพาะภาษีจากการให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ซึ่งภาษีโรงเรือนและที่ดินเก็บในอัตราร้อยละ 12.5 จากฐานค่าเช่ารายปี แต่ในระยะเริ่มต้นที่จะเปลี่ยนมาจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ผู้ให้เช่าต่างส่งเสียงถึงรัฐบาลว่าเหตุใดจึงต้องเสียภาษีนี้โดยไม่เข้าใจว่าเดิมทีต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินอยู่แล้ว</p>
<p>แต่แทนที่กระทรวงการคลังจะอธิบายสร้างความเข้าใจ กลับลดกระแสคัดค้านลงโดยเก็บภาษีอสังหาริมทรัพย์ให้เช่าในอัตราที่อยู่อาศัยคือร้อยละ 0.02 ซึ่งต่างจากอัตราพาณิชย์ที่ร้อยละ 0.3 ทำให้ อปท. ในเขตเมืองมีรายได้ลดลงมาก</p>
<p>“การให้เก็บตามอัตราที่อยู่อาศัยนี้ไม่ถูกหลักการ เพราะ พ.ร.บ.ที่ดินและสิ่งปลุกสร้างนี้เก็บกับคนที่เป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์นั้น แล้วดูว่าเจ้าของใช้ประโยชน์ทำอะไร การให้เช่าก็ชัดเจนว่าใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ อัตราที่นำมาใช้ก็ต้องเป็นพาณิชย์ ไม่ใช่ที่อยู่อาศัย อัตราเปอร์เซ็นต์มันต่างกันค่อนข้างเยอะและเป็นเหตุให้รายได้ของ กทม. อปท.ในเขตเมืองลดลง เช่น เทศบาลนครแหลมฉบังก็ลดลง”</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/7826/32356882477_cae2673ef0_b.jpg" /></p>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#e67e22;">ดวงมณี เลาวกุล</span></p>
<h2><span style="color:#2980b9;">ปรับอัตราภาษี เพิ่มรายได้</span></h2>
<p>ดวงมณียังอธิบายต่อว่าภาษีโรงเรือนและที่ดินเก็บจากฐานค่าเช่ารายปี ขณะที่ภาษีของภาษีโรงเรือนและที่ดินเก็บจากฐานมูลค่าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่เป็นราคาประเมินของกรมธนารักษ์ซึ่งราคาประเมินจะต่ำกว่าราคาซื้อขายจริง</p>
<p>“แค่เปลี่ยนมาเป็นภาษีที่ดินและสิ่งปลุกสร้างด้วยอัตราเชิงพาณิชย์ หลายแห่งก็จะเสียภาษีลดลงจากภาษีโรงเรือนและที่ดินอยู่แล้ว เพราะถ้าเป็นบ้านที่ปลูกมานานมันมีการหักค่าเสื่อมราคา มูลค่าของสิ่งปลุกสร้างก็แทบไม่เหลือ ปลูกมาสี่สิบห้าสิบปี แม้ว่าจะอยู่แหล่งเมืองหรือพาณิชย์ ฉะนั้นการเปลี่ยนจากภาษีโรงเรือนและที่ดินมาเป็นภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง แม้จะเก็บอัตราพาณิชย์ หลายแห่งก็เสียภาษีน้อยลงกว่าเดิม ซ้ำร้ายว่าไปเก็บในอัตราที่อยู่อาศัยก็ทำให้รายได้ท้องถิ่นในเขตเมืองลดลงไปอีก แต่ก็มีบางแห่งเสียเพิ่มขึ้น แล้วแบบนี้ก็ผิดหลักการด้วย คือเจ้าของให้เช่าเพื่อการพาณิชย์หรือกรณีอื่นๆ ที่ไม่ได้อยู่อาศัยเอง”</p>
<p>อย่างไรก็ตาม ประเด็นรายได้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นลดลงกรณีการให้เช่าอสังหาริมทรัพย์เป็นเพียงกรณีเดียว ยังมีประเด็นอื่นอีกที่มีปัญหาคือพวกธุรกิจศูนย์การค้า โรงงานอุตสาหกรรม เนื่องจากพบว่าเสียภาษีที่ดินและสิ่งปลุกสร้างน้อยลงกว่าภาษีโรงเรือนและที่ดิน เช่น ศูนย์การค้าที่แบ่งเป็นล็อคๆ ให้เช่าซึ่งเก็บภาษีโรงเรือนและที่ดินตามค่าเช่า ถ้าค่าเช่าสูง ท้องถิ่นเก็บร้อยละ 12.5 ก็ทำให้ท้องถิ่นได้รายได้จากตรงนี้มาก แต่เมื่อเปลี่ยนเป็นภาษีที่ดินและสิ่งปลุกสร้างซึ่งเก็บจากมูลค่าทำให้รายได้ท้องถิ่นลดลงไปจากเดิม</p>
<p>ส่วนกรณีโรงงานอุตสาหกรรม การเก็บภาษีโรงเรือนและที่ดินจะนับรวมเครื่องจักรด้วย แต่พอเป็นฐานภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างทำให้เครื่องจักรไม่ถือว่าเป็นสิ่งปลุกสร้าง แต่ดูมูลค่าที่ดินและสิ่งปลุกสร้างเท่านั้นทำให้โรงงานเสียภาษีลดลง ซึ่งเป็นตัวอย่างทำให้ กทม. และองค์กรปกครองท้องถิ่นในเขตเมืองอย่างแหลมฉบังมีรายได้ลดลง โดยเฉพาะแหลมฉบังรายได้ลดลงไปถึง 180 ล้านบาท</p>
<p>นอกจากนี้ อปท.ในเขตเมืองที่มีผู้อยู่อาศัยแออัดอาจจะสำรวจได้ไม่ครอบคลุมทุกพื้นที่ การแจ้งภาษีไปยังผู้เสียภาษีไม่ครบถ้วน ดวงมณีแจ้งว่าทางแก้คือสำรวจให้ครบ ในส่วนของอสังหาริมทรัพย์ให้เช่าก็ต้องเปลี่ยนมาเป็นอัตราที่ควรจะเป็นอัตราในเชิงพาณิชย์ ไม่ใช่เชิงการอยู่อาศัย ส่วนศูนย์การค้า โรงงานอุตสาหกรรมเป็นเพียงตัวอย่าง แต่อาจจะมีประเภทอื่นๆ อีก</p>
<p>“เราสามารถไปปรับอัตราส่วนให้เหมาะสมได้ ในปัจจุบันนี้เราใช้อัตราเดียวกัน เริ่มต้นที่ 0.3 แล้วก็เพิ่มขึ้นตามมูลค่า แต่ในกฎหมายมีการเปิดช่องไว้ว่าสามารถกำหนดอัตราภาษีตามเงื่อนไขในแต่ละประเภทการใช้ประโยชน์ได้ ถ้าเชิงพาณิชย์แบบศูนย์การค้าหรือโรงงานอุตสาหกรรมก็อาจจะกำหนดให้สูงกว่าเดิมได้ ถ้าเราวิเคราะห์แล้วว่าลดลงจากภาษีโรงเรือนและที่ดินค่อนข้างเยอะ ถ้าพิจารณาแล้วเหมาะสมที่จะกำหนดอัตราใหม่ขึ้นมา ในกฎหมายก็สามารถทำได้ หลังจากมีการใช้กฎหมายไปแล้วก็มาพิจารณาอีกทีว่าต้องปรับปรุงหรือไม่อย่างไร ความเหมาะสมเป็นอย่างไร”</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">มีโอกาสที่จะเก็บภาษีได้เพิ่มขึ้น</span></h2>
<p>สำนักงานเศรษฐกิจการคลังออกมาชี้แจงว่าจะเก็บได้มากขึ้นในปีต่อๆ ไป ดวงมณีอธิบายว่าถ้าวิเคราะห์ตามตัวเลขในปี 2566 ในภาพรวมก็ควรเก็บได้สูงขึ้น</p>
<p>“เพียงแต่ว่าในพื้นที่ที่เป็นเมือง เช่น กทม. จะเก็บได้เพิ่มขึ้นมากน้อยแค่ไหน เพราะมันมีส่วนที่ไปดึงภาษีลดลงจากเดิมอยู่ในส่วนของศูนย์การค้า การให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ ถ้าไม่ได้ปรับตรงนี้ กทม. แทนที่จะสามารถเก็บภาษีได้เพิ่มขึ้นเยอะ เขาก็จะยังคงโดนกดเรื่องพวกนี้อยู่</p>
<p>“ถ้าจะถามว่า สศค. พูดแบบนั้นจะไม่เป็นจริงหรือเปล่า ก็พูดขนาดนั้นไม่ได้ว่าไม่เป็นจริง เพราะดูตัวเลขก็มีแนวโน้มที่จะสามารถเพิ่มรายได้ได้ และตัวฐานภาษีของภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างก็มาจากมูลค่าของราคาประเมิน พอรอบภาษีถัดไปคืออีก 4 ปีถัดไปราคาประเมินโดยภาพรวมโดยเฉลี่ยก็จะสูงขึ้นอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นโอกาสที่จะเก็บภาษีได้มากขึ้นก็จะมี”</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">ทำไมต้องเปลี่ยนการจัดเก็บภาษี</span></h2>
<p>เหตุที่ต้องปรับเปลี่ยนการจัดเก็บภาษีบำรุงท้องที่และภาษีโรงเรือนและที่ดินมาเป็นภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเพราะมีปัญหา 2 ประการ</p>
<p>ดวงมณีอธิบายว่าประการแรกฐานภาษีเดิมใช้ราคาประมาณการที่ดินเป็นหลัก แต่เป็นราคารประมาณการที่ดินตั้งแต่ 2521-2524 และไม่มีการปรับปรุงให้ทันยุคทันสมัยอีกเลยแม้ว่าที่ดินจะมีมูลค่าสูงขึ้น กลายเป็นว่าเก็บภาษีได้ในอัตราถดถอย ทั้งยังมีการลดหย่อนให้กับพื้นที่ตั้งแต่ 50 ตารางวา ถึง 50 ไร่ไม่ต้องเสียภาษีบำรุงท้องที่</p>
<p>ประการต่อมา ภาษีโรงเรือนและที่ดินที่เก็บจากค่าเช่าร้อยละ 12.5 ในแง่หนึ่งก็ถือว่าซ้ำซ้อนกับภาษีเงินได้ ทำให้ผู้เสียภาษีจำนวนมากเลือกหนีภาษี และถ้าการประเมินค่าเช่ารายปีไม่มีมาตรฐานที่ชัดเจน ขึ้นกับดุลพินิจของเจ้าพนักงาน ผู้ให้ก็อาจแจ้งเจ้าหน้าที่ว่าให้เช่าในราคาที่ต่ำกว่าที่เป็นจริงเพื่อลดภาระภาษีของตน</p>
<p>จากปัญหาสองประการนี้ทำให้ท้องถิ่นไม่สามารถจัดเก็บภาษีได้มากเท่าที่ควรจะเป็น และขาดอิสระทางการคลัง ไม่สามารถตัดสินใจได้ว่าจะนำเงินรายรับส่วนนี้ไปทำอะไรที่ตอบสนองความต้องการของประชาชนในพื้นที่จึงจำเป็นต้องยกเลิกภาษีทั้งสอง</p>
<p>“พอมาถึง พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลุกสร้าง ฐานภาษีมาจากมูลค่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้างซึ่งต่างจากภาษีโรงเรือนและที่ดินกับภาษีบำรุงท้องที่ มูลค่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเป็นการประเมินมูลค่าของกรมธนารักษ์ ฉะนั้นทุกคนที่เป็นเจ้าของที่ดินและสิ่งปลุกสร้างก็สามารถเช็คได้ว่าราคาเท่าไหร่ ไม่ต้องใช้ดุลยพินิจเจ้าพนักงาน แล้วผู้ครอบครอบสิ่งปลุกสร้าง เจ้าของที่ดินเหล่านี้ก็ต้องเสียภาษี ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดเก็บ เขาก็ต้องดูว่าเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ใช้ประโยชน์อะไร โดยแบ่งเป็น 4 ประเภท เกษตรกรรม ที่พักอาศัย อื่นๆ เช่น เพื่อการพาณิชย์ อุตสาหกรรม สถานศึกษา และที่ดินรกร้าง เป็นต้น”</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">อัตราภาษีต่ำเกินไป</span></h2>
<p>ทั้งนี้อัตราภาษีในการใช้ประโยชน์ที่ดินแต่ละประเภทไม่เท่ากัน ที่ดินเพื่อการเกษตรกรรมมีอัตราต่ำสุด เก็บได้ไม่เกินร้อยละ 0.15 แต่อัตราเก็บจริงคือร้อยละ 0.001-0.1 ซึ่งดวงมณีเห็นว่าเป็นอัตราที่ต่ำและยังมีการยกเว้นให้บุคคลธรรมดาในเขตปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นๆ ที่ถือครองที่ดินหรือสิ่งปลุกสร้างมีมูลค่าไม่เกิน 50 ล้านบาท</p>
<p>ส่วนที่พักอาศัยเก็บได้ไม่เกินอัตราร้อยละ 0.3% แต่จัดเก็บจริงร้อยละ 0.02-0.1 และหากบ้านหลังหลักเจ้าของมีชื่อในโฉนดหรือในทะเบียนบ้านก็จะได้ยกเว้นหากบ้านมีมูลค่าไม่เกิน 50 ล้านบาท แต่ถ้ามีชื่อเป็นเจ้าของบ้านอย่างเดียวโดยไม่ได้เป็นเจ้าของที่ดินจะยกเว้นอยู่ที่ 10 ล้านบาท ส่วนบ้านหลังอื่นๆ ที่ไม่ได้มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านต้องเสียภาษีในอัตราร้อยละ 0.02-0.1</p>
<p>“ส่วนอัตราอื่นๆ อัตราเพดานอยู่ที่ 1.2 เปอร์เซ็นต์จัดเก็บจริงร้อยละ 0.3-0.7 ประเภทสุดท้าย ที่ดินรกร้างว่างเปล่า อัตราจัดเก็บเดียวกับพาณิชย์และเพิ่มขึ้น 0.3 เปอร์เซ็นต์ทุก 3 ปี เช่น 3 ปีแรกไม่ใช่ประโยชน์ 0.3 เปอร์เซ็นต์ แล้ว 3 ปีต่อมายังไม่ใช้ประโยชน์อีกก็เก็บ 0.6 เปอร์เซ็นต์ แต่ว่าสุดท้ายแล้วจะกำหนดไว้ว่าไม่เกิน 3 เปอร์เซ็นต์ ประมาณเกือบ 20 ปี ถึงจะเกือบถึง 3 เปอร์เซ็นต์”</p>
<p>เมื่อพื้นที่เกษตรที่มูลค่าไม่เกิน 50 ล้านบาทได้รับการยกเว้นภาษี เกษตรกรที่เคยเสียภาษีบำรุงท้องที่เดิมจึงได้รับการยกเว้นเกือบทั้งหมด ขณะที่บ้านที่มีมูลค่าเกิน 50 ล้านบาท จากข้อมูลปี 2558 มีอยู่ประมาณ 10,000 หลังเท่านั้นที่ต้องเสียภาษี</p>
<p>“ถ้าดู กทม. เดิมในปี 2562 ภาษีบำรุงท้องที่กับภาษีที่ดินและโรงเรือนอยู่ที่ 15,000 ล้านบาท แต่พอดี 2565 ได้แค่ 13,000 กว่าล้าน แต่ก็มีภาษีที่ค้างชำระอยู่ด้วย ถ้าบวกก็เพิ่มมาอีกส่วนหนึ่ง แต่จะเห็นได้ว่าลดไปประมาณ 2 พันกว่าล้าน เหตุก็อย่างที่อธิบายไปข้างต้นว่าเก็บภาษีอาคารที่ปล่อยให้เช่าในอัตราที่อยู่อาศัยไม่ใช่อัตราพาณิชย์ ศูนย์การค้าเดิมที่เก็บจากฐานค่าเช่า พอมาเป็นสิ่งปลุกสร้างและมูลค่าที่ดินก็รายได้ลดลง พวกโรงงานอุตสาหกรรมก็ด้วย วิธีแก้ก็มาเก็บในเชิงอัตราพาณิชย์ซะให้ตรงตามหลักการ ศูนย์การค้าและโรงงานอุตสาหกรรมต้องพิจารณาว่าต้องปรับเพิ่มมั้ย ของเดิมที่เก็บ 12.5 เปอร์เซ็นต์ของค่าเช่า มันก็อาจจะเป็นอัตราภาษีที่มากกว่าเดิมไปหน่อย</p>
<p>“ประเด็นคือเจ้าของธุรกิจเหล่านี้รับภาระภาษีน้อยลง แต่ไม่ลดค่าเช่าหรือลดราคาสินค้าให้กับผู้บริโภค ประชาชนไม่ได้รับประโยชน์อะไรกลับมา แต่เมื่อภาระภาษีเพิ่มขึ้นก็ผลักมาให้ผู้บริโภค มันก็เลยเกิดข้อโต้แย้งตรงนี้ว่าทำไมไม่คืนกลับมาให้ผู้บริโภคบ้าง การสำรวจพื้นที่เขตเมืองมันก็หนาแน่นมาก ไม่สามารถสำรวจได้ครบ 100 เปอร์เซ็นต์ ถ้าครบก็จะจัดภาษีได้มากขึ้น”</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ปัญหาจากเนื้อใน</span></h2>
<p>ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างจึงถือว่ามีปัญหาตั้งแต่ต้น เช่น การยกเว้นภาษีให้กับพื้นที่เกษตรกรรมหรือที่อยู่อาศัยมูลค่าไม่เกิน 50 ล้านบาท ซึ่งการจัดเก็บภาษีที่ดีต้องไม่มีการยกเว้น แต่จัดเก็บในอัตราที่ที่ไม่สูงให้ประชาชนสามารถจ่ายภาษีได้</p>
<p>“พ.ร.บ.ฉบับนี้กลัวว่าจะกระทบกับประชาชนก็ไปละเว้นให้ที่ 50 ล้านบาท คือถ้าจะดูแลคนที่ไม่มีความสามารถในการจ่ายหรือมีความสามารถในการจ่ายน้อยก็ต้องทำให้มันเฉพาะกลุ่ม ไม่ควรละเว้นถึง 50 ล้าน คนที่ใช้ที่ดินเกษตรหรืออยู่อาศัยทั่วไปก็ไม่เกิน 3-5 ล้าน ก็แสดงว่าเขาไม่มีความสามารถในการจ่ายภาษีมากนัก ก็ควรจะยกเว้นแค่นี้ ดูแลเฉพาะกลุ่มนี้ พอไปยกเว้นถึง 50 ล้าน ทุกคนก็ถูกละเว้นได้ ถ้ามีบ้านขนาดนั้นก็ต้องสามารถจ่ายภาษีได้ แล้วอัตราเก็บภาษีเกษตรที่ต่ำก็ไปโยงกับการที่คนหลีกเลี่ยงภาษี เปลี่ยนที่ดินรกร้างมาทำเกษตร  ซึ่งก็ไม่ได้ทำเกษตรจริงๆ แต่เขาก็ไม่ต้องเสียภาษีเลย”</p>
<p>ในทางกลับกัน นโยบายรัฐเรื่องโฉนดชุมชนที่มีการถือครองร่วมกันในนามสหกรณ์กลับใช้การประเมินภาษีที่ดินโดยการรวมแปลงทั้งหมดของเกษตรกรแต่ละคนทำให้ต้องเสียภาษีในอัตราสูง ซึ่งหากแบ่งที่ดินตามโฉนดของเกษตรกรแต่ละคนจะได้รับการยกเว้นภาษี จึงต้องมีการทบทวนการประเมินภาษีที่ดินตามนโยบายรัฐด้วย</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">เป้าหมายคือกระจายอำนาจทางการคลัง</span></h2>
<p>อย่างไรก็ตาม ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ ดวงมณีอธิบายว่าวัตถุประสงค์ของภาษีนี้คือต้องให้ อปท. มีแหล่งรายได้จากภาษี เนื่องจากการที่ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างตั้งอยู่ใน อปท. แต่ละแห่ง ผู้เป็นเจ้าของย่อมได้รับประโยชน์โดยตรงจากการพัฒนาของท้องถิ่นหรือบริการสาธารณะต่างๆ ฉะนั้นก็ควรมีส่วนร่วมในการจ่ายภาษีรวมถึงราคาสิ่งปลูกสร้างที่เพิ่มขึ้นในแต่ละปี</p>
<p>“ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างจึงเป็นภาษีของท้องถิ่นที่ท้องถิ่นจัดเก็บเอง เพื่อที่จะได้มีความเชื่อมโยงระหว่างคนที่เป็นเจ้าของที่ได้ประโยชน์จากบริการสาธารณะต่างๆ และการพัฒนาท้องถิ่น”</p>
<p>กล่าวอีกนัยหนึ่งคือเป็นการกระจายอำนาจทางการคลังให้แก่ท้องถิ่น ถึงกระนั้นก็จะเกิดปัญหาว่าท้องถิ่นแต่ละแห่งมีขนาดการเติบโตทางเศรษฐกิจไม่เท่ากัน ทำให้ท้องถิ่นที่มีขนาดเล็กให้อาจภาษีได้ไม่มากเพียงพอต่อการนำไปพัฒนาพื้นที่ ประเด็นนี้ดวงมณีกล่าวว่า</p>
<p>“ถ้าเป็นท้องถิ่นเล็กๆ ห่างไกลก็จะไม่ได้รายได้จากภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างมากนัก อันนี้ก็จริง ซึ่งส่วนนี้ในโครงสร้างรายรับของ อปท. จะมีส่วนเงินอุดหนุนหรือส่วนของภาษีมูลค่าเพิ่มที่เป็นไปตาม พ.ร.บ.การกระจายอำนาจว่ารัฐจะต้องแบ่งกี่เปอร์เซ็นต์ให้กับท้องถิ่น ส่วนงบประมาณเหล่านี้จะเข้ามาช่วยลดความเหลื่อมล้ำของรายได้ภาษีที่ท้องถิ่นจัดเก็บเองในแต่ละแห่ง มันมีองค์ประกอบอื่นๆ ที่สามารถเข้ามาช่วยลดความเหลื่อมล้ำตรงนี้ได้</p>
<p>“ตอนนี้ทางคณะกรรมการกระจายอำนาจกำลังดูอยู่ว่าจะสามารถทำยังไงจะจัดสรรรายได้ให้ อปท. ที่สามารถลดความเหลื่อมล้ำได้เพราะก็เห็นปัญหาตรงนี้อยู่ คือมันมีโครงสร้างที่สามารถลดความเหลื่อมล้ำได้อยู่ แต่เราจะทำยังไงให้มันสามารถลดความเหลื่อมล้ำได้จริง”</p>
<p>ส่วนการลดความเหลื่อมล้ำด้านทรัพย์สินต้องใช้ภาษีทรัพย์สินและมาตรการอื่นๆ เข้ามาประกอบ ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะผลักดันออกมา</p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%A1%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%93%E0%B9%8C-0" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">สัมภhttps://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2023/08/105696
 

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

นักข่าวหัวเห็ด แห่งเวบสุขใจ
อัพเดตข่าวทันใจ ตลอด 24 ชั่วโมง

>> http://www.SookJai.com <<
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
ทำไม? น้ำทะเลจึงมีสีเขียว-สีฟ้า
สุขใจ ไปรษณีย์
ใบบุญ 0 1701 กระทู้ล่าสุด 05 พฤษภาคม 2558 09:15:49
โดย ใบบุญ
ทำไม พระสงฆ์ถึงมาชุมนุมกันโดยมิได้นัดหมาย ?
สุขใจ ห้องสมุด
ฉงน ฉงาย 1 737 กระทู้ล่าสุด 28 กุมภาพันธ์ 2564 18:51:25
โดย ฉงน ฉงาย
[ข่าวมาแรง] - ทำไม 'อิสราเอล' ถึงพลาด ไม่รู้แผนการโจมตีของ 'ฮามาส'
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 129 กระทู้ล่าสุด 12 ตุลาคม 2566 19:11:01
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - ทำไม ‘เพลงเพื่อชีวิตยุคเก่า’ จึงแผ่วหายในการชุมนุมปี 2563
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 67 กระทู้ล่าสุด 04 มกราคม 2567 18:32:26
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - ทำไม TikTok ถึงปิดตัวในฮ่องกง?
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 35 กระทู้ล่าสุด 13 เมษายน 2567 04:06:59
โดย สุขใจ ข่าวสด
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.205 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 24 กุมภาพันธ์ 2567 23:47:12