[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
29 เมษายน 2567 10:40:55 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: พระตำหนักคำหยาด อำเภอโพธิ์ทอง จังหวัดอ่างทอง  (อ่าน 261 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5462


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 109.0.0.0 Chrome 109.0.0.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 01 กันยายน 2566 18:22:53 »



โครงสร้างทางสถาปัตยกรรม ทำให้น่าสนใจที่จะเสาะแสวงหาเรื่องราวในสมัยอดีต
พระตำหนักคำหยาด สร้างอยู่ในท่ามกลางทุ่งโล่งในเขตพื้นที่ตำบลคำหยาด อ.โพธิ์ทอง จ.อ่างทอง


พระตำหนักคำหยาด
ตำบลคำหยาด อำเภอโพธิ์ทอง จังหวัดอ่างทอง

พระตำหนักคำหยาด หรือ พระที่นั่งคำหยาด ซึ่งชาวบ้านเรียกว่า “ตึกคำหยาด” เป็นโบราณสถาน ตั้งอยู่ในเขตวัดร้างชื่อว่า วัดโพธิ์ทอง หมู่ที่ ๙ ตำบลคำหยาด อำเภอโพธิ์ทอง จังหวัดอ่างทอง

เชื่อกันว่าพระตำหนักคำหยาดนี้ อายุอยู่ในราวครึ่งหลังของพุทธศตวรรษที่ ๒๓ เป็นอาคารก่อด้วยอิฐถือปูน ยกพื้นสูง มีใต้ถุน ขนาดกว้าง ๑๐ เมตร ยาว ๒๐ เมตร สภาพปัจจุบันมีเพียงผนัง ๔ ด้าน ช่วงหลังคาที่คาดว่าน่าจะเป็นไม้สูญหายไปหมด ตามผนังมีลวดลายปูนปั้นที่ยังเหลือเค้าความงามอยู่มาก ตัวอาคารหันหน้าไปทางทิศตะวันออก มีมุขเด็จด้านหน้าและด้านหลัง ภายในทาดินแดง ผนังใต้ถุนชั้นล่างทำเป็นช่องคูหา ช่องประตูหน้าต่างแบบโค้งแหลม ตามแบบสิ่งก่อสร้างที่ลพบุรี ซึ่งสร้างในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช   ตามช่องต่างๆ ที่เจาะไว้มีลักษณะปิดตัน น่าจะเป็นที่วางโคมไฟในเวลาค่ำคืน  ภายในโปร่งและมีร่องรอยของเสากลมที่ตั้งขึ้นรองรับน้ำหนักคาน  พื้นตำหนักปูด้วยกระดานหายไป คงเหลือส่วนฐานของพระตำหนักอ่อนโค้งแบบท้องสำเภา  อาคารพระตำหนักได้เจาะเป็นซุ้มหน้าต่างด้านละ ๕ บาน เหนือหน้าต่างทำเป็นซุ้มจระนำ มุขหน้ามีเสาหาร ๒ ต้น มีอัฒจันทร์ขึ้นด้านหลัง ส่วนมุขหลังก่อเป็นผนังขึ้นไปและเจาะช่องหน้าต่างลอยสูงขึ้น มีร่องรอยปูไม้กระดานที่ผนัง

พระตำหนักคำหยาดสร้างในสมัยอยุธยา แต่ไม่ทราบแน่ชัดว่าสมัยกษัตริย์พระองค์ใด มีข้อสันนิษฐานปรากฎแตกต่างกัน ดังนี้

๑. พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาหลายฉบับมีความปรากฏได้ว่า “ปีมะโรง โทศก เดือนแปดข้างขึ้น (พ.ศ.๒๓๐๓) กรมขุนพินิจ (พระเจ้าอุทุมพร) เสด็จลงเรือพระที่นั่งออกไป ณ วัดโพธิ์ทองคำหยาด ทรงผนวชแล้วเสด็จกลับเข้ามาอยู่ ณ วัดประดู่ดังแต่ก่อน” แสดงให้เห็นว่า พระตำหนักคำหยาด เคยเป็นที่ประทับของสมเด็จพระเจ้าอุทุมพร (กรมขุนพินิจ) หรือขุนหลวงหาวัด พระมหากษัตริย์องค์ที่ ๓๓ แห่งกรุงศรีอยุธยา ซึ่งได้เสด็จมาผนวชที่วัดโพธิ์ทอง แล้วจึงเสด็จกลับไปอยู่ ณ วัดประดู่ ดังนั้น ระหว่างที่พระองค์เสด็จที่วัดโพธิ์ทองนั้น พระองค์จะต้องมาประทับที่พระตำหนักคำหยาดแห่งนี้

๒. พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จทอดพระเนตรพระตำหนักคำหยาดเมื่อวันที่ ๒๖ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๕๐ และทรงมีพระราชวินิจฉัยดังปรากฏในพระราชหัตถเลขา เรื่อง เสด็จลำน้ำมะขามเฒ่าว่า “พระตำหนักนี้คงได้สร้างเมื่อขุนหลวงบรมโกศเสด็จประพาสตามแถบเมืองอ่างทองอยู่เนืองๆ จนถึงได้เสด็จพระนอนขุนอินทรประมูลถึง ๒ ครั้ง ทรงปฏิสังขรณ์ทั้งพระนอนจักสีห์ และพระนอนขุนอินทประมูล ที่ตำหนักคำหยาดนี้คงได้สร้างไว้เป็นที่ประทับเมื่อเสด็จออกมาเนืองๆ”

๓. พระตำหนักคำหยาด ในอดีตสันนิษฐานกันว่าปลูกสร้างขึ้นตั้งแต่รัชสมัยสมเด็จพระเจ้าบรมโกศเพื่อใช้เป็นที่ประทับแรม เนื่องจากมีพระราชนิยมเสด็จประพาสเมืองแถบนี้ และในขณะเดียวกัน กรมขุนพรพินิต (ขุนหลวงหาวัด หรือ เจ้าฟ้าอุทุมพร) เคยผนวชอยู่ที่วัดราชประดิษฐ์ ได้ทรงนำข้าราชบริพารกับพระภิกษุ ที่จงรักภักดี เสด็จลงเรือพระที่นั่ง ออกจากพระนครศรีอยุธยามาจำพรรษาที่วัดโพธิ์ทองคำหยาด และประทับอยู่ที่พระตำหนักคำหยาดนี้ เพื่อไปร่วมสมทบกับชาวบ้านบางระจัน ซึ่งขณะนั้นมีคนไทยที่รักชาติได้รวมกำลังตั้งค่ายต้านพม่าอยู่ที่บางระจัน ได้แก่ นายทองแก้ว นายดอก ชาวเมืองวิเศษชัยชาญ  นายแท่น นายโชติ นายอิน และนายเมือง ชาวบ้านศรีบัวทอง และชาวบางระจัน ได้แก่ ขุนสรรค์ พันเรือง นายทองเหม็น นายจันทร์หนวดเขี้ยว และนายทองแสงใหญ่ โดยมีอาจารย์ธรรมโชติเป็นหัวหน้า

ปัจจุบันนี้ พระตำหนักแห่งนี้ กรมศิลปากรได้บูรณะและขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน









สถาปัตยกรรมสมัยอยุธยาตอนปลาย และรัตนโกสินทร์ตอนต้น ฐานที่รองรับโบสถ์วิหาร
และพระที่นั่งในพระราชวังล้วนเป็นแนวโค้ง เรียกว่า ท้องสำเภา
มีลักษณะเป็นแนวเส้นอ่อนช้อยเหมือนความหย่อนโค้งของเส้นเชือกตกท้องช้าง สันนิษฐานความหมาย -
ลักษณะโค้งท้องสำเภาเปรียบเสมือนยานหรือสำเภาที่ขนสัตว์ทั้งหลายให้ข้ามพ้นวัฏสงสารไปสู่พระนิพพาน

ขอขอบคุณเว็บไซต์ travelchoicetv.ran4u.com (ที่มาข้อมูล)






ร่องรอยโบราณสถานข้างๆ พระตำหนักคำหยาด

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 01 กันยายน 2566 18:29:39 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.276 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 26 เมษายน 2567 18:20:04