[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
29 เมษายน 2567 15:57:04 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - อิหร่านกวาดล้างอาจารย์หนุนการประท้วง-แต่งตั้งคนใกล้ชิดรัฐบาลเข้าไปในมหาวิทย  (อ่าน 60 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
สุขใจ ข่าวสด
I'm Robot
สุขใจ บอทนักข่าว
นักโพสท์ระดับ 15
****

คะแนนความดี: +101/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Italy Italy

กระทู้: มากเกินบรรยาย


บอท @ สุขใจ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 03 กันยายน 2566 02:22:24 »

อิหร่านกวาดล้างอาจารย์หนุนการประท้วง-แต่งตั้งคนใกล้ชิดรัฐบาลเข้าไปในมหาวิทยาลัย
 


<span class="submitted-by">Submitted on Sat, 2023-09-02 19:18</span><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>ในอิหร่านมีกระแสการเลิกจ้างอาจารย์มหาวิทยาลัยหลายคนที่ถูกมองว่าเป็นผู้สนับสนุนกลุ่มผู้ประท้วงต่อต้านรัฐบาลอำนาจนิยมจากชนวนเหตุเรื่องกฎสวมฮิญาบเมื่อปีที่แล้ว เรื่องนี้แม้แต่ฝ่ายรัฐบาลเองก็ส่งสัญญาณให้ความชอบธรรมกับการไล่ออกอาจารย์เหล่านี้รวมถึงมีการแต่งตั้งอาจารย์ที่มีความใกล้ชิดกับรัฐบาลเข้าไปในมหาวิทยาลัยอีกหลายคน</p>
<p>2 ก.ย. 2566 ในอิหร่านเมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมามีรายงานข่าวเรื่องที่ออกอาจารย์ในมหาวิทยาลัยชั้นนำหลายแห่งของอิหร่านถูกสั่งให้ออกจากตำแหน่ง ทำให้เกิดการถกเถียงว่าเรื่องนี้อาจจะเป็นเพราะอาจารย์เหล่านี้เคยแสดงการสนับสนุนการประท้วงทั่วประเทศเมื่อปีที่แล้ว (2565)</p>
<p>ในการประท้วงปีที่แล้วเริ่มต้นขึ้นในเดือน ก.ย. 2565 หลังจากที่ มาห์ซา อามีนี หญิงอายุ 22 ปี เสียชีวิตในที่คุมขังของตำรวจ เธอถูกตำรวจศีลธรรมจับกุมในข้อหาสวมชุดไม่เหมาะสม ซึ่งในอิหร่านมีกฎบังคับให้ผู้หญิงทุกคนต้องสวมฮิญาบออกนอกบ้าน</p>
<p>หลังจากนั้นก็มีการประท้วงใหญ่อย่างต่อเนื่อง มาจนถึงในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมาการประท้วงถึงเริ่มซาลง แต่รัฐบาลอิหร่านก็ยังคงทำการปราบปรามโดยเฉพาะในมหาวิทยาลัยทั่วอิหร่าน ซึ่งในช่วงที่มีการประท้วงนั้นในมหาวิทยาลัยหลายแห่งมีการประท้วงแบบอารยะขัดขืนจากนักศึกษาและคณาจารย์</p>
<p>ในช่วงไม่นานมานี้มีการไล่ออกอาจารย์หลายคนรวมถึงอาจารย์ที่มีชื่อเสียงในอิหร่าน หนึ่งในนั้นคือ อาลี ชาริฟี ซาร์จี ศาสตราจารย์ด้านชีวสารสนเทศศาสตร์และระบบปัญญาประดิษฐ์ที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีชารีฟ ซึ่งเป็นสถาบันอุดมศึกษาระดับท็อปของอิหร่าน</p>
<p>ซาร์จี ประกาศเรื่องที่เขาถูกไล่ออกผ่านทางเอ็กซ์/ทวิตเตอร์เมื่อช่วงสัปดาห์ที่แล้ว และต่อมาก็โต้แย้งข้ออ้างของเจ้าหน้าที่มหาวิทยาลัยที่อ้างว่าเขายอมออกจากมหาวิทยาลัยเองด้วยการไม่ต่อสัญญาลูกจ้างมหาวิทยาลัย เขาโพสต์หลักฐานที่โต้แย้งในเรื่องดังกล่าวนี้ รวมถึงระบุข้อความว่า "มีการเซ่นสังเวยความจริงเพื่อการเมือง"</p>
<p>นอกจากนี้ยังมีกรณีที่ศาสตราจารย์หลายรายในมหาวิทยาลัยระดับท็อปอื่นๆ ที่ถูกไล่ออกเช่นกัน หนึ่งในนั้นคือ มหาวิทยาลัยแห่งเตหะราน สื่อในอิหร่านรายงานว่ามีนักวิชาการมากกว่า 50 ราย ที่ถูกให้ออกจากงานนับตั้งแต่ที่ประธานาธิบดี อิบราฮิม ไรซี เข้าสู่ตำแหน่งเมื่อ 2 ปีที่แล้ว ซึ่งทางรัฐบาลอิหร่านไม่ได้ยืนยันตัวเลขนี้</p>
<p>อาเมเนห์ อาลี ศาสตราจารย์จิตวิทยาจากมหาวิทยาลัยอัลลาเมห์ ตาบาตาไบ เป็นหนึ่งในผู้ที่ถูกไล่ออกในครั้งนี้ เธอบอกว่ามีการแจ้งไล่เธอออกทางโทรศัพท์และไม่ได้ให้เหตุผลใดๆ ว่าทำไมถึงมีการยกเลิกสัญญาจ้างของเธอ</p>
<h2><span style="color:#3498db;">ทำไมถึงมีการไล่ออกอาจารย์เหล่านี้</span></h2>
<p>ถึงแม้ว่ามหาวิทยาลัยเองจะระบุว่าการไล่ออกไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องการประท้วง แต่ก็มีผู้ใช้อินเทอร์เน็ต อดีตเจ้าหน้าที่ทางการอิหร่าน และสื่ออิหร่านจากหลายฝ่ายทางการเมือง ต่างก็ระบุถึงการไล่ออกว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องการประท้วงปี 2565</p>
<p>ฮอสเซน ชารีอัตมาดารี หัวหน้ากองบรรณาธิการของหนังสือพิมพ์เคย์ฮานซึ่งเป็นสื่ออนุรักษ์นิยมจัดของอิหร่านผู้ได้รับการแต่งตั้งจากผู้นำสูงสุดของอิหร่าน อาลี คาเมเนอี ระบุในบทบรรณาธิการปกป้องการไล่ออกศาสตราจารย์เหล่านี้ โดยนำเสนอรายชื่อของศาสตราจารย์ในโลกตะวันตกที่เคยถูกไล่ออกด้วยเหตุผลด้านการเมือง</p>
<p>ชารีอัตมาดารี กล่าวว่า กลุ่มนักวิชาการที่ถูกไล่ออกนั้นเป็น "คนที่ไม่เพียงแค่สนับสนุนการจลาจลและผู้ก่อจลาจลในปีที่แล้ว แต่ในบางกรณียังเข้าร่วมก่ออาชญากรรมต่อประชาชนผู้ถูกกระทำชาวอิหร่านโดยร่วมมือกันกับอันธพาลผู้ก่อจลาจลด้วย" ชารีอัตมาดารีอ้างว่าการไล่ออกนั้นเป็น "การลงโทษเล็กๆ น้อยๆ เมื่อเทียบกับการกระทำอันเลวทรามผิดมนุษย์ของพวกเขา"</p>
<p>กระทรวงมหาดไทยของอิหร่าน ที่ในตอนนี้มีผู้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีคือผู้บัญชาการกองกำลังพิทักษ์ปฏิวัติอิหร่าน อาห์หมัด วาฮิดี ซึ่งเป็นผู้ที่จัดการในเรื่องการประท้วงเมื่อปีที่แล้วได้แสดงความคิดเห็นต่อเรื่องการไล่ออกอาจารย์ในอิหร่านเอาไว้เมื่อวันที่ 28 ส.ค. ที่ผ่านมา ระบุว่าหน่วยงานที่รับผิดชอบในเรื่องนี้คือ กระทรวงวิทยาศาสตร์, การวิจัย และเทคโนโลยี ร่วมกับมหาวิทยาลัยต่างๆ ทำถูกต้องแล้ว</p>
<p>วาฮิดี อ้างว่าการดำเนินมาตรการไล่อาจารย์เหล่านี้ออกถือว่าเป็นไปตามแนวทางของ "หน้าที่ในเชิงปฏิวัติ" ของหน่วยงานที่รับผิดชอบ เพราะศาสตราจารย์เหล่านี้ตกอยู่ในภาวะ "ความเสื่อมทรามทางวิชาการ" และ "กำลังทำให้มหาวิทยาลัยแปดเปื้อน" ไปด้วยอคติทางการเมืองที่จะขัดต่อผลประโยชน์ของชาติ</p>
<p>ประธานาธิบดี ไรซี ได้พูดถึงมหาวิทยาลัยเอาไว้เมื่อวันที่ 29 ส.ค. ที่ผ่านมาว่า ถ้าหากมีใครบางคนต้องการจะละเมิดกฎหมาย มหาวิทยาลัยไม่ควรจะอนุญาตให้ทำเช่นนั้น</p>
<p>ผู้สังเกตการณ์ประเด็นอิหร่านยังมองว่าการไล่ออกศาสตราจารย์หลายคนในช่วงนี้อาจจะเป็นปฏิบัติการล่วงหน้าเพื่อสกัดกั้น ลดโอกาสไม่ให้มีการประท้วงในมหาวิทยาลัยในช่วงครบรอบ 1 ปีการเสียชีวิตของอามีนี ที่เคยเป็นชนวนการประท้วงใหญ่ในปีที่แล้ว</p>
<h2><span style="color:#3498db;">ฝ่ายรัฐบาลอิหร่าน แต่งตั้งอาจารย์สายหนุนรัฐบาลมาแทนที่</span></h2>
<p>ในเรื่องที่ว่าประชาชนชาวอิหร่านคิดอย่างไรต่อการปราบปรามอาจารย์ในครั้งนี้ พวกเขามีปฏิกิริยาต่อเรื่องการไล่อาจารย์ออกแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับว่าพวกเขาจะอยู่ฝ่ายใด ฝ่ายสนับสนุนรัฐบาลจะเห็นด้วยกับการไล่ออก แต่ผู้วิจารณ์รัฐบาลจะมองว่ามันเป็นการเปลี่ยนแปลงมหาวิทยาลัยไปในทางที่แย่ลง เพราะนอกจากจะไล่คนสนับสนุนการประท้วงรัฐบาลออกไปแล้ว ยังมีการนำคนที่ใกล้ชิดกับรัฐบาลเข้ามาเป็นอาจารย์แทนด้วย</p>
<p>ยกตัวอย่างเช่น พิธีกรช่องโทรทัศน์ของรัฐบาลอิหร่าน 2 ราย ได้รับการคัดเลือกให้เป็นศาสตราจารย์อาคันตุกะที่มหาวิทยาลัยชารีฟ จนทำให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ตามมาในโลกออนไลน์</p>
<p>หนึ่งในคนที่ได้รับแต่งตั้งคือ อามีร์ ฮอสเซน ซาเบตี ผู้ที่เพิ่งจะสละตำแหน่งในรายการโทรทัศน์ของรัฐบาลเพื่อมาสอนวิชา "การปฏิวัติอิสลาม" ที่ม.ชารีฟ และลงสมัครรับเลือกตั้งในการเลือกตั้ง ส.ส. ที่กำลังจะมีขึ้น ซาเบตีกล่าวปกป้องการรับตำแหน่งทางวิชาการของตัวเองและด่าว่าสื่อต่างประเทศที่ระบุถึงเหตุการณ์ไล่ออกคณาจารย์ทั้งหลายว่าเป็น "การกวาดล้าง" เสียงต่อต้านรัฐบาลในมหาวิทยาลัย</p>
<p>อย่างไรก็ตามสื่อท้องถิ่นบางแห่ง เช่น หนังสือพิมพ์ ฮัม-มีฮาน ที่นักข่าวชื่อ อีลาเฮห์ โมฮัมมาดี เพิ่งจะถูกจับกุมเพราะทำข่าวประท้วง ระบุว่า การกวาดล้างที่เกิดขึ้นดูคล้ายกับ "การปฏิวัติวัฒนธรรม" ครั้งที่ 2</p>
<p>การปฏิวัติวัฒนธรรมครั้งแรกในอิหร่าน เกิดขึ้นเมื่อช่วงประมาณหลังปี 2523 เป็นต้นมาหลังจากที่มีการปฏิวัติอิสลามในปี 2522 ในครั้งนั้นมีการล้างบางวงการวิชาการที่ถูกกล่าวหาว่าได้รับอิทธิพลจากตะวันตกและมีแนวความคิดแบบไม่เป็นอิสลาม</p>
<p>มีการตั้งข้อสังเกตว่าการที่กระทรวงมหาดไทยของอิหร่านออกปากพูดปกป้องเรื่องการไล่ออกอาจารย์มหาวิทยาลัยด้วยตนเอง ชวนให้โยงว่าการกวาดล้างในครั้งล่าสุดนี้มีส่วนเกี่ยวข้องกับหน่วยงานความมั่นคง</p>
<p>โมห์เซน บอร์ฮานี ศาสตราจารย์ด้านนิติศาสตร์จากมหาวิทยาลัยแห่งเตหะรานบอกว่า การกวาดล้างในครั้งนี้น่าจะมีจากคำสั่งอันมิชอบด้วยกฎหมายของหน่วยงานความมั่นคงอิหร่าน</p>
<p>อาลี อัคบาร์ ซาเลฮี อดีตรัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศและหัวหน้าทบวงนิวเคลียร์ของอิหร่านเป็นหนึ่งในอดีตเจ้าหน้าที่ทางการอิหร่านที่วิพากษ์วิจารณ์เรื่องการไล่อาจารย์มหาวิทยาลัยออก รวมถึงวิจารณ์เรื่องที่มีการแต่งตั้งคนที่เกี่ยวข้องกับรัฐบาลมาแทนที่ด้วย เขาบอกว่าการแต่งตั้งคนที่ละมากๆ เข้าสู่มหาวิทยาลัยโดยที่พวกเขาไม่ได้มีผลงานหรือความสามารถอะไรนั้นมันจะทำให้สถาบันการศึกษาเหล่านี้ "ไม่สามารถเรียกว่าเป็นมหาวิทยาลัยได้อีกต่อไป"</p>
<p><strong>เรียบเรียงจาก</strong>
‘Academic decline‘: Why are university professors being expelled in Iran?, Aljazeera, 30-08-2023
Hardliners Purge More Professors In Iran, Hiring Ideologues, Iran International, 28-08-2023</p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A9" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">รายงานพิเhttps://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2023/09/105739
 

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

นักข่าวหัวเห็ด แห่งเวบสุขใจ
อัพเดตข่าวทันใจ ตลอด 24 ชั่วโมง

>> http://www.SookJai.com <<
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
[ข่าวมาแรง] - ศาลอนุมัติหมายจับเจ้าของโกดังเก็บดอกไม้เพลิงมูโนะ
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 350 กระทู้ล่าสุด 02 สิงหาคม 2566 14:49:17
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - องค์กรพิทักษ์สัตว์เรียกร้องให้เพิ่มเรื่องสวัสดิภาพสัตว์และห้ามใช้ยาปฏิชีวน
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 363 กระทู้ล่าสุด 05 สิงหาคม 2566 15:31:10
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - คาดแบงก์พาณิชย์ไทยปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยตามอัตราดอกเบี้ยนโยบาย กนง.
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 265 กระทู้ล่าสุด 06 สิงหาคม 2566 18:04:42
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - ประเทศไทยกำลังเดินถอยหลังเรื่องความคุ้มครองความยากจนผู้สูงอายุ
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 275 กระทู้ล่าสุด 17 สิงหาคม 2566 17:55:22
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - เผยนักกิจกรรมชายแดนใต้ถูกคุกคามหลังไลฟ์สดการปิดล้อม
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 208 กระทู้ล่าสุด 20 สิงหาคม 2566 15:35:02
โดย สุขใจ ข่าวสด
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.549 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page วานนี้