[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
29 เมษายน 2567 18:26:22 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - เสวนา 'การบ้าน ครม.เศรษฐา 1' แนะสร้างสมดุล 'เสรีนิยม-รัฐสวัสดิการ-อนุรักษ์นิย  (อ่าน 88 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
สุขใจ ข่าวสด
I'm Robot
สุขใจ บอทนักข่าว
นักโพสท์ระดับ 15
****

คะแนนความดี: +101/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Italy Italy

กระทู้: มากเกินบรรยาย


บอท @ สุขใจ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 03 กันยายน 2566 17:50:32 »

เสวนา 'การบ้าน ครม.เศรษฐา 1' แนะสร้างสมดุล 'เสรีนิยม-รัฐสวัสดิการ-อนุรักษ์นิยม'
 


<span class="submitted-by">Submitted on Sun, 2023-09-03 17:26</span><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์ฯ จัดราชดำเนินเสวนา 'การบ้าน ครม.เศรษฐา 1 แก้วิกฤตประเทศ' ทีดีอาร์ไอ แนะให้สร้างสมดุล แกนการเมือง 3 รูปแบบ 'เสรีนิยม-รัฐสวัสดิการ-อนุรักษ์นิยม' พัฒนาประเทศ 'ธนิต โสรัตน์' เสนอนโยบายเร่งด่วนที่ควรทำให้เห็นผล 3 เดือนคืออัดฉีดเงินในรูปแบบต่างๆ เพื่อพยุงการจ้างงาน แก้ปัญหาหนี้ครัวเรือน และหนี้ธุรกิจ และมีก้อนใหม่มาให้มีเงินหมุนเวียน ด้าน 'ดร.เกียรติอนันต์' ชี้ต้องระวังเรื่องการศึกษา ทำให้กลายเป็นเมล็ดพันธุ์ความเหลื่อมล้ำ ด้าน 'We Fair' คลี่ค่าใช้จ่ายสวัสดิการกระตุ้นเศรษฐกิจไม่แพ้เงินดิจิทัล ตัดงบกองทัพ-เรือดำน้ำ จ่ายคนแก่ได้สบาย  </p>
<p><img alt="" src="https://tja.or.th/wp-content/uploads/2023/09/372682069_788469563283626_8646001334768431530_n-1024x683.jpg" /></p>
<p>3 ก.ย. 2566 เว็บไซต์สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย รายงานว่าสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย จัดราชดำเนินเสวนา ครั้งที่ 1/2566 หัวข้อ "การบ้าน ครม.เศรษฐา 1 แก้วิกฤตประเทศ" โดยมี ดร.ธนิต โสรัตน์ รองประธานสภาองค์การนายจ้างผู้ประกอบการค้าและอุตสาหกรรมไทย ดร.นณริฎ พิศลยบุตร นักวิชาการอาวุโส สถาบันวิจัย เพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ดร.เกียรติอนันต์ ล้วนแก้ว คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  และนายนิติรัตน์ ทรัพย์สมบูรณ์ ผู้ประสานงานเครือข่าย We Fair ร่วมเสวนา</p>
<p>ดร.นณริฎ กล่าวว่า แกนการเมืองจะมี 3 มุม คือ เสรีนิยม รัฐสวัสดิการ และอนุรักษ์นิยม ซึ่งผลการเลือกตั้งที่ผ่านมาจะเป็นการเปลี่ยนผ่านจากอนุรักษ์นิยมมาเป็นเสรีนิยม และเกินโยบายใหม่ ๆ ที่ต้องมาตกผลึกว่าจะเหมาะสม เกิดผลดีหรือผลเสียกับประเทศไทยหรือไม่ ซึ่งรัฐบาลเศรษฐา 1 รวมกับ 2 ลุง ก็จะมีทั้งฝ่ายของเสรีนิยม สวัสดิการ และอนุรักษ์นิยมด้วย ในแง่วิชาการไม่มีถูกผิด แต่ไม่ว่าจะอยู่ตรงจุดไหนก็ตาม จะขึ้นอยู่กับว่าเรามีรัฐบาลที่ดีหรือไม่ เช่น เสรีนิยม หากเป็นการเมืองที่ดีก็อยากจะเห็นการเติบโตอย่างมีคุณภาพ มีนวัตกรรม ผลักดันประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม  แต่ไม่อยากเห็นทุนผูกขาด กระจุกตัว ขณะที่รัฐสวัสดิการ อยากให้ลดความเหลื่อมล้ำ เพิ่มโอกาส มีสวัสดิการที่เป็นธรรม มีนโยบายช่วยกลุ่มเปราะบาง แต่ไม่อยากเห็นการแจกเงินโดยไร้ความรับผิดชอบ ไร้จำเป็น และเป็นภาระการคลัง ส่วนสุดท้ายคือสมดุลอนุรักษ์นิยม ซึ่งไทยมีวัฒนธรรมที่ดี แต่ก็อยากเติบโตแบบโลกยุคใหม่ จึงอยากที่จะอยู่ร่วมกันได้ของสังคม ไม่อยากเห็นการเกรงกลัวต่างชาติเกินไป ปกป้องไม่ลืมหูลืมตา ดังนั้น นับว่าเป็นความท้าทายใหม่ขอรัฐบางที่จะสร้างสมดุลทั้ง 3 รูปแบบนี้ให้อยู่ในรูปแบบการเมืองที่ดี </p>
<p>ดร.นณริฎ กล่าวต่อว่า ทั้งนี้เมื่อพูดถึงเศรษฐกิจย้อนหลังปี 1997 เศรษฐกิจเราโตเฉลี่ย 7.27% หลังจากนั้นก็ตกลงมา 4.8% และตกลงมาเรื่อยๆ กระทั่งหลังโรคโควิด เหลืออยู่ที่ 3% สะท้อนว่า หลังวิกฤต เศรษฐกิจไทยต่ำลงแปลว่าเราไม่สามารถปรับโครงสร้างเพื่อรับกับสถานการณ์ใหม่ๆ ได้เลย นั่นแปลว่าการทำอะไรแบบเดิมไม่สามารถไปได้ไกล จึงเป็นความท้าทายของรัฐบาลใหม่ที่ต้องมีมาตรการเสริมเข้ามา มองไปข้างข้า โดยรัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ วางยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี เป็นประเทศพัฒนาแล้ว เป็นประเทศร่ำรวยประมาณปี 2035 แต่เมื่อดูตัวเลขหลังพ้นวิกฤติ จะกลายเป็นปี 2043-2048 เรียกว่าดี เข้าใกล้กับการวางเป้าหมายของเวียดนาม ดังนั้นนี่เป็นเรื่องสำคัญที่ท้าทายที่ภาครัฐต้องหาช่องทางในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ โดยเริ่มคิดใหม่ทำใหม่ จะทำแบบเดิมไม่ได้ เช่นภาคการท่องเที่ยวที่นักท่องเที่ยว 2019 มี 40ล้านคน ตอนนี้ยังดันกลับมาไม่ได้ ส่วนหนึ่งคือการกลับมาของนักท่องเที่ยวจีนที่กลับมาเพียง 30-40%อย่างไรก็ตาม เมื่อเรามีทรัพยากรเท่าเดิมจึงต้องพัฒนาในส่วนของเราเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวในเชิงคุณภาพมากกว่าเชิงปริมาณ  ดังนั้นต้องเปลี่ยนแปลงที่อุตสาหกรรมอาหาร ถ้าเป็นครัวโลก</p>
<p>อย่างไรก็ตาม ความท้าทายระยะสั้นคือต่อสู้ระหว่างแรงกดดันที่อยากให้รัฐบาลทำตามที่หาเสียง แต่เมื่อสถานการณ์เปลี่ยน จึงควรคัดนโยบายที่สำคัญ เหมาะสมกับช่วงระยะเวลา บางนโยบายอาจจะไม่จำเป็นต้องทำแล้ว บางนโยบายอาจจะปรับขนาด เช่น เงินดิจิตอล 10,000  บาท ที่เป็นเรือธงของพรรคเพื่อไทย แต่ต้องดูว่าในปัจจุบันว่าเราจะเป็นต้องกระตุ้นระดับไหน โดยเปรียบเทียบกับการเติมโตของเศรษฐกิจไทย และเศรษฐกิจไทยที่ควรจะเป็น  ซึ่งหากประมาณการณ์ว่าควรโต 3.7-3.8 % แต่แบงค์ชาติระบุว่า เศรษฐกิจไทยโตเพียง 2.8% เท่านั้น แปลว่าหายไป 1% หรือราวๆ 1-2 แสนล้านบาทเท่านั้น ดังนั้น การให้งบ 5.6 แสนล้าน อาจจะเยอะเกินไป เสี่ยงเกิดภาวะเงินเฟ้อ ดังนั้นหากตัดบางส่วนมาใช้สำหรับรัฐสวัสดิการก็เป็นทางออกได้ </p>
<p>อีกเรื่องคือแก้ปัญหาหนี้สิน ที่ไม่ใช่การยกหนี้ แต่ต้องมีการจัดกลุ่มหนี้หนี้ แล้วแก้ปัญหาหนี้นั้นให้ตรงจุด โดยเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่มีข้อมูลมาร่วมวางแผนแก้ไขปัญหา ยกตัวอย่าง ครัวเรือนของไทยที่สูงถึง 90% ต่อจีดีพี คนที่มีปัญหามากที่สุด คือ คนที่ไม่มีเงินออมเลย ขณะที่ในทางเศรษฐศาสตร์บอกว่าคนเราควรมีเงินออมอย่างน้อย 3 -6 เดือน  แต่คนรุ่นใหม่อาจจะน้อยกว่านี้อีก ดังนั้นเป็นโจทย์ที่จะต้องปลูกฝังการออม ลดการเติบโตผ่านการจับจ่ายใช้ นอกจากนี้ต้องพูดถึงการกระจายอำนาจเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นหัวใจการกระจายทรัพยากรเพื่อดูแลประชาชนในพื้นที่อย่างทั่วถึง ตลอดจนการต่อยอดบัตรสวัสดิการแห่งรัฐที่เข้าถึงคนจนจริง  แต่เพิ่มให้มีการเข้าถึงมากขึ้น ที่สำคัญคือเนื่องจากเรามีการแจกมาระยะหนึ่งแล้ว จากนี้ต้องเป็นการเสริมให้ประชาชนสามารถดูแลตัวเองได้  </p>
<p>ดร.ธนิต กล่าวว่า นายเศรษฐา ทวีสิน เป็นตัวเลือกที่เราไม่มีทางเลือก แต่ดีที่สุดในแคนดิเดตทั้งหลาย แต่นายเศรษฐา คงไม่ต้องเรียนรู้งานมากเพราะมาจากภาคเศรษฐกิจอยู่แล้ว ทั้งนี้เศรษฐกิจไทยอยู่ในสภาพที่บอบช้ำต่อเนื่องมาหลายปี จากรัฐประหาร ซึ่งเป็นโจทย์ใหญ่ที่ทำให้การลงทุนลดลงอย่างต่อเนื่อง วันนี้ก็ยังไม่ฟื้น จากนั้นก็มีรัฐบาลเดิมมานาน 9 ปี ที่เน้นความมั่นคง จากนั้นก็มาเจอวิกฤติโรคโควิด-19 ซึ่งเป็นทั้งโลก พอกำลังจะฟื้นก็เจอเรื่องภูมิรัฐศาสตร์ โดยเฉพาะราคาน้ำมันที่พุ่งกระฉูด แล้วดึงราคาพลังงาน และสินค้าต่างๆ ให้เพิ่มตามไปด้วย เกิดภาวะเงินเฟ้อสูง 8% วันนี้ไม่ลดลงเลย แม้จะขึ้นมาก 0.38% ปีนี้จะทำให้ได้ 1% แต่ก็ไม่ถือว่าลดลง กลับมาเจอวิกฤติโลกที่มีแนวโน้มว่าปี้หน้าจะยิ่งหนัก</p>
<p>ดังนั้นเศรษฐกิจบอบช้ำมากถึงจะบอกว่ากลับมาได้แต่ก็ไม่มาก ส่งผลให้สภาพคล่องทั้งธุรกิจและครัวเรือนแรงมาก หนี้สินต่างๆ เพิ่มมากขึ้น ทั้งหนี้ NPL หนี้ระยะยาว ต่างๆ เกือบ 9 แสนล้าน ซึ่งเป็นเรื่องที่รัฐบาลต้องเข้ามาแก้ไข หนี้ NPL รายไหนปล่อยเงินได้ก็ต้องปล่อย  และที่แทรกซ้อนเข้ามา คือกาส่งออกซึ่งหดตัว 6.2% ในเดือนกรกฎาคม เพราะเป็นภาคส่วนที่มีการอุ้มแรงงานถึง 3 ใน 4 ของประเทศ จากนี้ต้องส่งออก 9% จากที่ติดลบเฉลี่ยทุกเดือน 5% แต่เป็นไปไม่ได้ พยากรณ์ว่าปีนี้พยากรณ์ว่าจะติดลบมากกว่า 3%  ทั้งหมดทำให้กำลังซื้ออ่อน กำลังการผลิตต่ำ ข้อสุดท้ายคือความเชื่อมั่นของการค้า การลงทุน ดัชนีชี้วัดต่างๆ ติดลบหมดทุกเรื่อง</p>
<p>ดร.ธนิต กล่าวอีกว่า สำหรับนโยบายเร่งด่วนที่ควรทำให้เห็นผล 3 เดือน ไม่ใช่ออกมานโยบายมา 24-25ข้อ แต่เป็นเรื่องไกลตัว ดังนั้น ที่ต้องเร่งสุดคืออัดฉีดเงินในรูปแบบต่างๆ เพื่อพยุงการจ้างงาน เพราะขณะนี้เริ่มมีการเลิกจ้าง แก้ปัญหาหนี้ครัวเรือน และหนี้ธุรกิจ และมีก้อนใหม่มา ส่วนกระเป๋าเงินดิจิตอล แค่อยากถามว่าจะให้ครั้งเดียวหรือตลอดไป เพราะประชาชนหวังว่าจะได้ทุกปี ต้องตอบให้ชัด ส่วนแรงงาน โดยเฉพาะค่าแรง 600 บาทนั้น ถือว่าหนักแม้จะใช้กรอบ 4 ปี ถ้าเป็นโรงงานใหญ่ไม่สะเทือน แต่เอสเอ็มอีเจ๊งหมด ดังนั้นควรพิจารณาอย่างพอเหมาะ ส่วนเงินเดือนปริญญาตรี ที่เพิ่มขึ้นมาอีก 10,000 บาท ซึ่งกลุ่มปริญญาตรี รวมเกษตรกร 30% แล้วจะทำให้เด็กตกงาน แล้วดันเด็กอาชีวะเข้าเรียนปริญญาตรีหมด สุดท้ายเรื่องพลังงาน  ดีเซลลต้องลด หรือตรึงราคาไม่เกิน 32 บาท เพราะราคาน้ำมันเพิ่ม ราคาสินค้าก็จะเพิ่มขึ้นด้วย อนาคตถ้าน้ำมันลง ราคาของก็ไม่ลง  แล้วถ้ายาวกว่านั้นน้ำมันขึ้น 3 -4 บาทราคาของก็ขึ้นอีก อย่างก็ได้ตาม ตนเข้าใจ “รัฐบาลเศรษฐา” ซึ่งเข้ามากับความท้าทาย และมาภายใต้ความคาดหวัง แต่อย่างน้อยที่เห็นขั้วทั้งหลายมีการจับมือกันแล้ว</p>
<p>ดร.ธนิต กล่าวต่อว่า เข้าใจว่าทุกคนอยากมีรายได้สูง แต่ก็จะตามมาด้วยค้าครองชีพที่สูงขึ้น เหมือนที่ญี่ปุ่นเงินเดือน 5 หมื่นบาท แต่น้ำเปล่าขวดละ 100 บาท ราเมงชามละ 300 บาท ค่าเช่าบ้านเดือนละ 30,000-40,000 บาท อย่างไรก็ตาม มีการศึกษาตัวอย่างรัฐที่ล้มเหลว อย่างฟิลิปปินส์ และอาร์เจนตินา ซึ่งเราเองก็เดินตามเขาเป๊ะๆ คือ การเอาใจรากหญ้า ค่าจ้างเท่าสหรัฐอเมริกา แต่อุตสาหกรรมอยู่ไม่ได้ ย้ายฐานการผลิต เกิดปัญหาเงินเฟ้อ ทั้งๆ ที่ประเทศเราไม่ได้ร่ำรวย มีคนเสียภาษี 4 ล้านคน เพื่อเลียงคน 66.5 ล้านคน ดังนั้นเรื่องค่าจ้างต้องเหมาะสม อยู่ได้ทั้งนายจ้าง ลูกจ้าง  ส่วนเรื่องของฝีมือแรงงานนั้นประเทศไทยมีความไม่สมดุลในเรื่องของจำนวนการพัฒนาแรงงานมีฝีมือ ไม่สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน ดังนั้นเรื่องนี้ตนเตรียมที่จะหารือกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาที่การ กระทรวงแรงงานในเรื่องหลักสูตรพัฒนาฝีมือแรงงานที่ตรงกับความต้องการของตลาดแรงงาน โดยเชิญนายจ้างมาช่วยสะท้อนปัญหาและความต้องการ และสิ่งที่ต้องทำด้วยกันคือการพัฒนาเจ้าของธุรกิจ ส่งเสริมเทคโนโลยีในการทำงาน มีกองทุนเรื่องนี้ชัดเจนสำหรับกลุ่มเอสเอ็มอี กระทรวงแรงงาน กรมพัฒนาฝีมือแรงงานก็ต้องหลุดจากกรอบ 2.0</p>
<p>ด้านดร.เกียรติอนันต์ กล่าวว่า วิกฤติที่เข้ามาจะมี 3 แบบคือ วิกฤติที่มาจากอดีต วิกฤติในอนาคต  และที่รัฐบาลจะสร้างเอง  เมื่อดูการศึกษากับแรงางาน ต้องทำทั้งกลุ่มวัยเรียน และกลุ่มวัยทำงานที่ต้องทำไปพร้อมๆ กันโดยเฉพาะคนที่ทำงานแล้ว 12 ล้านคน ต้องมีการอัพสกิลให้สูงขึ้น ทันกับการเปลี่ยนแปลงสภาพการทำงานที่เปลี่ยนแปลงไปเรื่อย ไม่อย่างนั้นคนจะตกงานเยอะ แต่ยังไม่เห็นนโยบายพรรคร่วมรัฐบาลพรรคไหนที่ชัดเจนในการเพิ่มสกิลให้คนทำงาน ที่ตนมองว่าต้องทำในกลุ่มนี้ก่อนเพราะเป็นกลุ่มที่จะทำให้เกิดการขยายจีดีพี ทำให้รัฐบาลมีงบฯ ในการสร้างคน ใช้ในด้านต่างๆ  ถ้า 1 ปียังไม่เป็นรูปธรรมเกรงว่าจะไม่ทัน ส่วนกลุ่มนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ซึ่งโลกหลังจากนี้ทุกๆ 3-5 ปี จะไม่เหมือนเดิม เทรนด์ทักษะการทำงานจะเปลี่ยนไป จึงต้องระวังเรื่องการศึกษา นอกจากนี้ยังต้องระวังเรื่องความเหลื่อมล้ำ เพราะเวลาคนลำบาก พ่อแม่ต้อทำงานเยอะ ไม่มีเวลาดูแลลูก  ค่าใช้จ่ายไม่พอ ทุพโภชนาการ (กลายเป็นเมล็ดพันธุ์ความเหลื่อมล้ำ) ในขณะที่ตลาดแรงานที่ต้องการคนเก่ง คนที่ได้เปรียบคือคนมีฐานะดี ดังนั้นหากไม่ได้แก้เรื่องการศึกษาที่ดี อีก 6-7 ปีจะกลายเป็นความเหลื่อมล้ำเชิงโครงสร้างใหม่ มีคน 20 % ไปต่อได้ แต่จะมีกำลังไม่พออุ้มคน 80% ดังนั้น หากไม่แก้ด้วยอัพสกิล รีสกิลแรงงาน ช่วยเหลือผู้ประกอบการ อีก 2 ปีได้เรื่อง 4 ปีเลือกตั้งใหม่ได้เรื่อง  อย่างไรก็ตามก็ต้องรอดูการแถลงนโยบายของรัฐบาลอย่างเป็นทางการอีกครั้ง </p>
<p>ดร.เกียรติอนันต์ กล่าวต่อว่า ส่วนตัวถ้าให้ตั้ง เคพีไอของรัฐบาลแบบผ่านโปร คือ เพิ่มจีดีพีโตอย่างน้อย 5% ยากมาก ปีต่อไป 7-8% และถ้าตั้งเคพีไอตัวที่ 2 คือการเติบโตในปีต่อๆ ไป ขอให้เติบโตแบบที่คนตัวเล็กตัวน้อยได้มากขึ้น เพราะเข้าใจว่าถ้าจะเอาปีแรกแล้วทุกคนได้ทันทีนั้นเป็นเรื่องยากมาก แต่หากเลือกแก้แบบนี้ปีแรกๆ อาจจะโดนด่าไมสนใจคนรากหญ้า แต่เราต้องประคองโครงสร้าง เป็นการถางทางเพื่ออนาคต ทั้งนี้เมื่อมองเรื่องการศึกษาซึ่งเป็นสายพานในการพัฒนาคนตลอดชีวิต โดยกระทรวงอว. ที่ผ่านมามีการใช้นวัตกรรมแบบหัวแตก ดังนั้นต้องกำหนดทิศทางของประเทศว่า จะไปสายไหน เอาให้ชัดเจน 1-2 เรื่อง แล้วขับเคลื่อนจริงจัง</p>
<p> ดร.เกียรติอนันต์ กล่าวอีกว่า ส่วนตัวมองว่า คือ การทำเรื่องอาหารอย่างจริงจัง ไปให้สุด เป็นการกินเพื่อชาติ ซึ่งจะไปส่งเสริมเรื่องของการท่องเที่ยวด้วย ขณะที่มหาวิทยาลัยต้องกลับไปเป็นมหาวิทยาลัยเพื่อคนทั้งมวล ปรับตัวและสื่อสารเป็นหลักสูตรระยะสั้น พอดีสำหรับการทำงาน เพื่อสะสมความรู้แล้วค่อยรับใบปริญญาในภายหลังก็ได้ เพราะถ้ารอจบ 4 ปีนั้นนานเกินไป ควรดึงคนเก่งมาสร้างคลังสมอง สร้างแพลตฟอร์มการเรียนกลาง กระทรวงศึกษาตรึงเด็กกลุ้มเปราะบางให้อยู่ในระบบการศึกษาให้ได้ ในส่วนของอาชีวะศึกษา ต้องถูกอัพเกรดให้มีความรู้ความสามารถที่ทันกับโลกอนาคต เรียนต้นแบบเครื่องจักรยุคใหม่ สภาพการทำงานใหม่ เพราะมองว่าหลังจากนี้หลังเด็กจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จะไม่ได้เรียนต่อเยอะ หากไม่เตรียมพร้อมคนไทยจะวนอยู่กับการเป็นแรงงานไร้ฝีมือ ลูกหลานก็จนต่อเนื่อง และพยายามอย่าใช้คำว่า “10 อาชีพดาวรุ่ง” เพราะทำให้คนแห่เรียนเยอะ กลายเป็นตกงานแทน ทั้งนี้การศึกษาจะช่วยได้มากในการแก้ไขความยากจนซึ่งความจนนี้หากอยู่กับคนแล้วจะอยู่ไป 3 รุ่น หาดแก้ความจนคน 1 รุ่นก็จะแก้ไปได้ 100-200 ปี ดร.เกียรติอนันต์</p>
<p>“ถ้าพูดถึงแผนการปฏิรูปการศึกษา ผมยกมือไหว้เลย ทุกกระทรวงอย่าทำ เพราะที่ผ่านมาเรามีแผนที่ดีอยู่ กรุณาทำงาน อย่าทำแผน ถ้าทุกวันทำแผน คือ การไม่ทำงาน ดังนั้นทุกกระทรวงมีของดีอยู่แล้ว วางทุกอย่างไว้ เราต้องการคนทำงาน วันแรก ก็ต้องทำงานเลย เวลาของประเทศไม่มีแล้ว ช่วงฮันนิมูนจบไปตั้งแต่เมื่อ 2 สัปดาห์ที่ผ่านมาแล้ว”  ดร.เกียรติอนันต์ กล่าว และมองว่า ตนมองหน้าตารัฐบาลนี้แล้วเห็นว่า มีความเสี่ยง ซึ่งหลายคนก็ตั้งคำถาม แต่เมื่อคัดสรรกันมาแล้วก็ต้องการสิ่งที่ดีที่สุด นโยบายที่ดี ซึ่งภาคประชาชน วิชาการ สื่อ ต้องร่วมกันตั้งคำถาม ตรวจสอบ ส่งเสียง อย่าหวังว่าเขาจะแก้ปัญหาได้ทั้งหมด ไม่ดีก็เตือน ขาดก็เสริม สื่อช่วยส่งเสียง และขอย้ำด้วยว่า เรื่องการตรวจสอบต่างๆ นั้นควรใช้ไม้บรรทัดอันเดียวกันสำหรับทุกคนไม่ว่าจะเป็นรัฐบาล หรือฝ่ายค้าน  นักการเมืองทุกคนแบบเดียวกัน ไม่เลือกปฏิบัติหรือให้เอกสิทธิ์กับนักการเมืองคนไหน หากเราใช้ไม้บรรทัดเดียวกัน จะส่งผลให้คนมีอำนาจเกิดการละอายใจ และเปลี่ยนมาใช้ไม้บรรทัดเดียวกันได้ เราต้องโลกสวย ต้องมีความหวังและกล้าที่จะเปลี่ยน</p>
<p>ขณะที่ นายนิติรัตน์ กล่าวว่า หากเอางบประมาณ 5.6 แสนล้านบาทมาเป็นตัวตั้ง เดิมเราเดินสายคุยกับพรรคการเมืองต่างๆ มี9 เรื่อง ประกอบด้วยเงินอุดหนุนเด็ก การศึกษาฟรี ระบบสุขภาพ 3 กองทุน ที่อยู่อาศัย แรงงานมีคุณค่า ประกันสังคมครอบคลุม บำนาญถ้วนหน้า สวัสดิการเสมอหน้าเท่าเทียมและการปฏิรูปภาษี อย่างไรก็ตามแม้หัวหน้าพรรคเพื่อไทยซึ่งตอนนี้เป็นอดีตไปแล้ว จะบอกว่าเป็นเทคนิคหาเสียง แต่ก็เป็นที่จดจำแน่นอน ซึ่งเรายื่นกกต.แล้ว เพราะการทำตามที่หาเสียงไว้เป็นเรื่องสำคัญ ที่สำคัญคือถ้ามองรัฐมนตรีที่นั่งคุมกระทรวงที่เกี่ยวข้องกับสวัสดิการแล้วกลับไม่มีนโยบายด้านนี้เลย  แต่โดยภาพรวมสวัสดิการที่มีนั้นมุ่งไปสู่รัฐสวัสดิการแน่นอน อย่างเช่นตอนหาเสียงไม่มีพรรคการเมืองไหนจะตัดเบี้ยยังชีพ แต่กระทรวงมหาดไทยกลับจะตัดให้เฉพาะคนจนเท่านั้น </p>
<p>นายนิติรัตน์ กล่าวอีกว่า เส้นความยากจน คือ มีรายได้เดือนละ 2,803 บาท ซึ่งมีราวๆ 4.4 ล้านคน เกือบคน 4.8 ล้านคน ดังนั้นรวมแล้ว 9.2 ล้านคน หนี้สินครัวเรือนแตะ 90% ของจีดีพี ประเทศไทยมีคนจนมากในอันดับ 55 ของโลก แต่อันดับความคุ้มครองทางสังคมอยู่ที่ 69 การศึกษา 62 จาก 82 ประเทศ เรียกว่าอยู่อันดับเกือบท้าย ลูกคนรวบมีโอกาสร่ำรวยต่อ คนจนก็มีโอกาสจนต่อ เรียกว่าเราตกอยู่ในสถานการณ์ส่งต่อความจน ขณะที่สถานการณ์ความเหลื่อมล้ำของไทยติด 1 ใน 5 ของโลก ปี 2564 ครัวเรือน มีทรัพย์สินรวม 31% ของจีดีพีประเทศ ส่วนสถานการณ์ความเปราะบาง เด็กเยาวชน ว่างงาน เข้าไม่ถึงสวัสดิการประกันสังคม ผู้สูงอายุ พิการ ขณะที่ILO ระบุว่าสัดส่วนค่าใช้จ่ายในการคุ้มครองทางสังคมของไทยต่ำมากเมื่อเทียบค่าเฉลี่ยในเอเชีย และระดับโลก   </p>
<p>ทั้งนี้เมื่อเปรียบเทียบรัฐมนตรี เรื่องการพัฒนาเด็ก และศูนย์เด็กเล็ก เงินอุดหนุนเดก ข้อเสนอของเราไม่ปรากฏนโยบายหาเสียงของชาติไทยพัฒนา และพรรคเพื่อไทย ส่วนเรื่องการศึกษา ในช่วงท้ายของพรรคภูมิใจไทยที่ดูลกระทรวงศึกษา และกระทรวงอุดมศึกษา ช่วงท้ายมาพูดถึงการฟรีปริญญาตรี แต่ไม่มีในเอกสารที่ส่ง กกต. มีการสร้างระบบการเรียนออนไลน์ ไม่มีนโยบายหลักที่พูดถึงการพัฒนาเรียนฟรี เงินอุดหนุนการเรียนรู้ในทุกช่วงวัย ขณะที่พรรคเพื่อไทยยังมีพูด ขณะที่เรื่องหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ซึ่งพรรคเพื่อไทยเข้ามาดูก็บอกว่าจะยกระดับระบบหลักประกันสุขภาพ แต่ประเทศไทยมีมี 3 กองทุน  ซึ่งบัตรทอง และประกันสังคมมีงบรายหัวอยู่ที่ประมาณ 3,000 บาท แต่สิทธิข้าราชการอยู่ที่ 15,000 บาท ดังนั้นจะทำอย่างไรให้มีสิทธิเท่ากัน รวมถึงเรื่องที่อยู่อาศัยของพม. ก็ไม่มีนโยบายด้านนี้ แต่เราเสนอให้ปรับลดดอกเบี้ย ให้มีบ้านเช้าที่มีมาตรฐาน ราคาถูก สำหรับคนทั้งสังคม ด้านการทำงานและรายได้ ตรวจสอบแล้วไม่พบว่าพรรคภูมิใจไทยไม่มีนโยบายด้านแรงงาน ไม่ว่าจะเป็นค่าจ้างพื้นฐาน ลดชั่วโมงการทำงาน สิทธิลาคลอด 180 วัน การรับรองอนุสัญญา ILO เป็นต้น </p>
<p>ย้ำว่า สวัสดิการของประชาชนไม่ควรจะตัดไปมากกว่านี้ แล้วถ้าเอางบ  5.6 แสนล้านบาท สำหรับนโยบายเงินดิจิทัลนั้น คิดว่าสามารถนำมาใช้ขับเคลื่อนนโยบายรัฐสวัสดิการด้านต่างๆ ได้ 20 % และควรพูดถึงการปฏิรูปภาษีต่างๆ การปฏิรูปกองทัพ ซึ่งมีงบฯ กว่าแสนล้านล้านบาท หากลดลง 20% เท่ากับว่าจะได้เงินงบฯกว่า 4  หมื่นล้านบาท ถ้าลดเงินซื้อเรือดำน้ำอีก 3 หมื่นล้านบาทก็จะมีเงินในเป็นสวัสดิการสำหรับผู้สูงอายุได้นานถึง 1 ปี ทันที แล้วถ้ามองว่านโยบายเงินดิจิทัล เป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจชั่วคราว แต่ถ้ามองใหม่เงินสำหรับผู้สูงอายุ 3,000 บาท แต่ปรับการให้ปีแรกเป็น 1 พันบาท จากเดิม 600 บาท เท่ากับว่าปรับเพิ่ม 400 บาท แล้วธรรมชาติของผู้สูงอายุเมื่อได้รับเงินแล้วก็มีการใช้จ่ายเลย จึงสามารถกระตุ้นเศรษฐกิจได้เช่นกัน ที่สำคัญตนมองส่า เรื่องสวัสดิการประชาชนนั้นเป็นการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างจริงๆ ทะลายกำแพงระหว่างคนรวย คนจนลงได้  </p>
<p>นอกจากนี้ยังมีเรื่องสำคัญคือกู้วิกฤติข้ามขั้ว ครม.หน้าเดิมบวกเพื่อไทย เรื่องเร่งด่วนเลยคือ เราไปโฟกัสนโญบายนโยบายรัฐบางว่าจะดูดีกว่า MOU 8 พรรคเดิมหรือไม่ก็ต้องดูต่อไป ตนให้โอกาสเพื่อไทยได้ แต่รัฐมนตรีที่อยู่มา 4 ปี แล้วเราคงไม่ได้โอกาสนั้น แต่จะเร่งในการตรวจสอบมากกว่า สุดท้ายเวลาพูดเรื่องรัฐสวัสดิการ คงแยกไม่ได้ขาด กับการแก้โครงสร้าง คือรัฐธรรมนูญ เรื่องกระจายอำนาจ การรวมตัวอย่างๆ ดังนั้น เรื่องเร่งด่วนเหมือนกันคือการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ซึ่งนายเศรษฐาบอกว่าเป็น 1  เรื่องเร่งด่วนที่ต้องทำ และในมาตรา 12 ของรัฐธรรมนูญ 2489 ระบุว่า บุคคลย่อมมีสถานะเสมอกัน ตามกฎหมายฐานันดรศักดิ์โดยกำเนิดก็ดี โดยแต่งตั้งก็ดี หรือโดยประการอื่นใดก็ดี ไม่ทำให้เกิดเอกสิทธิ์อย่างใดเลย ซึ่งพออ่านแล้วนึกถึงโรงพยาบาลชั้น 14</p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ขhttps://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2023/09/105755
 

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

นักข่าวหัวเห็ด แห่งเวบสุขใจ
อัพเดตข่าวทันใจ ตลอด 24 ชั่วโมง

>> http://www.SookJai.com <<
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
[ข่าวมาแรง] - เสวนา 'สันติภาพเมียนมา': เสนอบทบาทไทย-อาเซียน แก้ไขวิกฤตการเมืองเมียนมา (1)
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 123 กระทู้ล่าสุด 24 สิงหาคม 2566 03:50:17
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - เสวนา 'สันติภาพเมียนมา': ถึงเวลาไทย-อาเซียน สร้างอำนาจต่อรองกับกองทัพพม่า (2)
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 104 กระทู้ล่าสุด 27 สิงหาคม 2566 21:16:01
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - เสวนา 'สันติภาพเมียนมา': ถึงเวลาไทย-อาเซียน สร้างอำนาจต่อรองกับกองทัพพม่า (2)
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 76 กระทู้ล่าสุด 28 สิงหาคม 2566 00:16:24
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - เสวนา 'แลนด์บริดจ์ตอบโจทย์ใคร' ชี้เรือขนส่งตู้คอนเทนเนอร์ใช้ต้นทุนสูง
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 79 กระทู้ล่าสุด 09 ธันวาคม 2566 14:19:06
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - เสวนา ร่าง พรบ.นิรโทษฯ ประชาชน เปิดพื้นที่พูดคุยนิรโทษฯ ม.112 ไม่รวมก็ไม่ได้แก้ไข
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 56 กระทู้ล่าสุด 14 ธันวาคม 2566 22:36:08
โดย สุขใจ ข่าวสด
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.208 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 11 เมษายน 2567 17:04:51