[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
29 เมษายน 2567 09:38:58 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: พระกฤษณะ เทพเจ้าองค์สำคัญในศาสนาฮินดู  (อ่าน 279 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5462


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 109.0.0.0 Chrome 109.0.0.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 09 กันยายน 2566 19:26:12 »



เทวรูปพระกฤษณะในศรีมหามริอัมมันโกยิล โบสถ์พราหมณ์ที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศสิงคโปร์
สร้างด้วยสถาปัตยกรรมทราวิฑ ตั้งอยู่บนถนนเซาธ์บริจด์ ในย่านไชน่าทาวน์ของสิงคโปร์ซิตี

ภาพจาก วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

พระกฤษณะ เทพเจ้าองค์สำคัญในศาสนาฮินดู

พระกฤษณะ (कृष्ण) หรือ ศรี กฤษณะ เป็นเทพเจ้าองค์สำคัญในศาสนาฮินดู เป็นหนึ่งในอวตารลำดับที่ ๘ ของพระวิษณุ และในบางธรรมเนียมบูชาในฐานะสวยัมภควัน หรือพระเจ้าสูงสุด พระกฤษณะเป็นเทพเจ้าแห่งการปกป้องดูแล, ความเมตตา, ความอ่อนโยน และความรัก รวมถึงเป็นหนึ่งในเทพเจ้าฮินดูที่ได้รับความนิยมและมีการบูชาสักการะอย่างแพร่หลายตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ชาวฮินดูเฉลิมฉลองวันประสูติของพระกฤษณะทุกปีในเทศกาลกฤษณชันมาษฏมีตามปฏิทินฮินดู ซึ่งตรงกับเดือนสิงหาคมถึงกันยายนตามปฏิทินเกรกอเรียน

เรื่องราวของพระกฤษณะเกี่ยวข้องกับตำนานวีรบุรุษของชาวอินเดียในคัมภีร์มหากาพย์ “มหาภารตะ” (महाभारत) บริเวณภาคกลางตอนบนและภาคตะวันตกของประเทศอินเดีย ตั้งแต่บริเวณรัฐอุตรประเทศ รัฐคุชราช รัฐพิหาร รัฐราชสถาน กรุงเดลี เป็นต้น ซึ่งอาจจะเป็นบุคคลที่มีตัวตนอยู่จริงในประวัติศาสตร์ และได้รับการเคารพอย่างยิ่งจึงถูกนำมารวมกับความเชื่อเรื่องอวตารของพระวิษณุ เรื่องราวถูกเขียนขึ้นตั้งแต่ราวพุทธศวรรตที่ ๒ มีการแก้ไขปรับปรุงเนื้อหา จนคาดว่าการชำระคัมภีร์แล้วเสร็จราวพุทธศตวรรษที่ ๙

ประวัติของพระกฤษณะ (โดยสรุป) มีเรื่องเล่าว่า พระราชากังสะ (कंस) บางตำนานอธิบายว่าเป็นอสูรกลับชาติมาเกิด บางตำนานอธิบายว่าเป็นมนุษย์ แล้วแต่ความเชื่อของแต่ละคัมภีร์ กังสะได้โค่นล้มอำนาจของบิดาคือ มหาราชอุครเสน (उग्रसेन) แล้วยึดครองเมืองมถุรา (मथुरा) รัฐอุตตรประเทศ เขาปกครองเมืองโดยใช้อำนาจเผด็จการ กดขี่ประชาชน กังสะ ได้รับคำทำนายว่าบุตรของนางเทวกี (देवकी) ผู้เป็นลูกพี่ลูกน้องของตนจะเป็นผู้สังหารตน จึงสั่งจำคุกนางพร้อมสวามีของนาง คือ วสุเทพ (वसुदेव) สายเลือดกษัตริย์จากอาณาจักรสุรเสน (सुरसेन) บริเวณภาคกลางของอินเดีย จากคำทำนายพระวิษณุเสด็จอวตารลงมาในครรภ์ของนางเทวกีในอวตารที่ ๘ คือ “กฤษณะ” โดยบุตรทั้ง ๖ คนของนางเทวกีถูกสังหารจนหมดยกเว้น พลราม (बलराम) พระกฤษณะ และนางสุภัทรา (सुभद्रा) ซึ่งนางเกิดขึ้นหลังกังสะเสียชีวิต ดังนั้นบุตรของนางเทวกีมีความสัมพันธ์กับกังสะ เป็นลุง - หลาน

เมื่อพระกฤษณะประสูติ วสุเทพได้พาหนีออกจากที่คุมขังข้ามแม่น้ำยมุนา แล้วนำพระองค์ฝากไว้กับนันทะ (नंद) ลูกพี่ลูกน้องของวสุเทพ และภรรยาคือ นางยโศทา (यशोदा) พระองค์ได้รับการเลี้ยงดูเป็นอย่างดีจากพ่อแม่บุญธรรมในสังคมคนเลี้ยงวัว ช่วงวัยเด็กและวัยรุ่นของพระองค์ถูกกังสะ ส่งอสูรมาทำร้ายตนแต่พระองค์ก็สามารถรอดพ้นจากอันตรายได้ทุกครั้ง อาทิ วตสาสูร (वत्सासुर) กาลิยนาค (कालिय नाग) สังกาสูร (शंखासुर) เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีเหตุการณ์สำคัญ คือ พระกฤษณะยกภูเขาโควรรธนะ (गोवर्धन पर्वत) ด้วยนิ้วเดียว เพื่อปกป้องเมืองวฤนทาวัน (वृन्दावन) ให้พ้นจากเหตุการณ์ฝนตกและน้ำท่วมครั้งใหญ่จากพลังอำนาจของพระอินทร์ จนสุดท้ายพระอินทร์ยอมเคารพในพลังอำนาจของพระองค์ ต่อมาพระกฤษณะได้กลับไปที่เมืองมถุราเพื่อสังหารกังสะสำเร็จ จึงได้คืนบัลลังก์ให้กับมหาราชอุครเสน (มีความสัมพันธ์เป็นท่านตาของกฤษณะ) และได้สถานะความเป็นเจ้าชายแห่งมถุราคืน บางตำนานกล่าวว่าพระองค์ได้ย้ายเมืองไปตั้งเมืองทวารกา (द्वारका) รัฐคุชราต หลังจากนั้นพระกฤษณะกับอรชุนก็ผูกมิตร พร้อมกับพี่น้องสกุลปาณฑพ (पाण्डव) แห่งอาณาจักรกุรุ (कुरु) พระกฤษณะเข้ามามีบทบาทสำคัญในมหากาพย์สงครามมหาภารตะ ซึ่งเป็นเรื่องราวความขัดแย้งระหว่างพี่น้องสองตระกูล คือ ตระกูลปาณฑพ และตระกูลเการพ (कौरव)

หนึ่งในเหตุการณ์สำคัญของมหาภารตะที่เกี่ยวข้องกับพระกฤษณะ คือ เหตุการณ์ในสงครามกุรุเกษตร (कुरुक्षेत्र युद्ध) กฤษณะเป็นสารถีให้อรชุน ต่อสู่ในสงคราม อรชุนต้องต่อสู้กับญาติพี่น้องของตน จนเกิดความสะเทือนใจจนไม่ต้องการต่อสู้ พระกฤษณะจึงสั่งสอนบทคำสอนสำคัญคือ “ภควัทคีตา” (भगवद्गीता) ซึ่งกล่าวถึงธรรมชาติของกรรม ชีวิต จริยธรรม ศีลธรรม จิตวิญญาณ หน้าที่โดยธรรม และหนทางแห่งการหลุดพ้นตามหลักศาสนาฮินดู จนทำให้อรชุนเข้าใจถึงภาระหน้าที่ของตนในฐานะกษัตริย์ที่ต้องอุทิศตนเพื่อประเทศชาติจนชนะสงครามในที่สุด

วาระสุดท้ายของพระกฤษณะ บางตำนานเชื่อว่าพระองค์ถูกศรจากนายพรานยิง จากคำสาปตั้งแต่รามาวตาร (ภพชาติที่พระองค์อวตารลงมาเป็นพระราม) เชื่อว่าสถานที่สุดท้ายของพระองค์อยู่ที่เมืองเวราวัล รัฐคุชราต จิตวิญญาณของพระองค์จึงกลับคืนสู่ความเป็นพระวิษณุในที่สุด

จากความเชื่อในพระกฤษณะเป็นที่นิยมอย่างมากในพื้นที่ประเทศอินเดียและพื้นที่ใกล้เคียง ต่อมาจากการติอต่อเส้นทางการค้าระหว่างอินเดีย – เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ส่งผลให้อิทธิพลของวัฒนธรรมภารตะ เข้าไปมีบทบาทต่อความเชื่อของอาณาจักรในพื้นที่อาณาเขตของประเทศไทยในปัจจุบันและพื้นที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยอิทธิพลวัฒนธรรมแพร่หลายเข้ามาเป็นช่วงๆ ตามการเข้ามาของชาวฮินดู ช่วงเริ่มแรกราวพุทธศตวรรษที่ ๑๐-๑๒ ศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู นิกายลัทธิไวษณพ เข้ามามีบทบาทอย่างยิ่งต่อคติความเชื่อในด้านการเมืองการปกครอง มีการเชื่อมโยงสถาบันกษัตริย์กับความศักดิ์สิทธิ์ของเทพเจ้า การรับขนบธรรมเนียมประเพณีจากวัฒนธรรมอินเดีย และการสร้างศิลปกรรมของคนในพื้นที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยปรากฏหลักฐานทางโบราณคดีที่เกี่ยวข้องกับพระกฤษณะ อาทิ ประติมากรรมลอยตัว อาทิ พระกฤษณะโควรรธนะ พุทธศตวรรษที่ ๑๒ พบที่ อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ ปัจจุบันเก็บรักษาที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร กรุงเทพฯ เป็นต้น ทับหลังประดับศาสนสถาน อาทิ ทับหลังรูปพระกฤษณะปราบช้างและสิงห์ พุทธศตวรรษที่ ๑๘ พบที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดลพบุรี ปัจจุบันเก็บรักษาที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดลพบุรี เป็นต้น บทสวดมนต์ คำจารึก เป็นต้น ต่อมาในยุคถัดๆ ไป ความเชื่อในพระกฤษณะหลั่งไหลเข้ามามากขึ้นทั้งจากการชาวฮินดูที่เข้ามาติดต่อค้าขายในสมัยอยุธยาจนถึงรัตนโกสินทร์ การสืบสายสกุลพราหมณ์และศรัทธาที่เกิดขึ้นของชาวไทยในตอนหลัง

ในปัจจุบันศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู เป็นศาสนาที่ชาวไทยยังคงนับถืออย่างแพร่หลายในปัจจุบัน และมีองค์การศาสนาพราหมณ์ – ฮินดูที่กรมศาสนาให้การรับรองและสมาคมเอกชนที่เข้ามาเผยแผ่ศาสนา อาทิ สำนักพราหมณ์พระราชครู ในสำนักพระราชวัง สมาคมฮินดูสมาช สมาคมฮินดูธรรมสภา สมาคมกฤษณภาวนามฤตนานาชาติ (ISKCON) เป็นต้น

สรุปได้ว่าจากหลักฐานทางโบราณคดีในอดีต มาจนถึงในปัจจุบันนี้ ปรากฏหลักฐานที่สำคัญว่ายังคงมีศาสนิกชนที่ยังคงศรัทธาพระกฤษณะอยู่อย่างแพร่หลาย  และมีศาสนสถานเผยแพร่คำสอนตามหลักพราหมณ์ - ฮินดู อยู่ในสังคมไทย ดังนั้น กล่าวได้ว่า “พระกฤษณะ” รวมถึงวัฒนธรรมอินเดีนอื่นๆ ทั้ง ความเชื่อ อาหาร เครื่องเทศ เครื่องแต่งกาย ฯลฯ เป็นส่วนหนึ่งในอารยธรรมอินเดียที่เข้ามามีบทบาทอยู่ในสังคมไทยอย่างยาวนาน ชาวไทยก็ยิ่นดีรับมรดกวัฒนธรรมนี้โดยนำมาผสมผสานและเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของเรา จึงถือได้ว่า “วัฒนธรรมอิทธิพลอินเดีย” เป็นหนึ่งในมรดกวัฒนธรรมที่สำคัญ ที่แสดงความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมระหว่างไทย – อินเดีย และจะคงดำรงสืบไป


ที่มา :-
      - "กฤษณะ จากภารัตสู่สยาม (ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพระกฤษณะ)" โดย นายจุลเกียรติ ไพบูลย์เกษม ผู้ช่วยนักโบราณคดี  สำนักศิลปากร
      - "พระกฤษณะ" จาก วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.331 วินาที กับ 31 คำสั่ง

Google visited last this page 29 มีนาคม 2567 02:53:27