[Live] คุยกับเครือข่าย ปชช.ร่างรัฐธรรมนูญ เอาอย่างไรต่อหลัง ครม.จ่อตั้ง กก.ศึกษาแนวทางการทำประชามมติ
<span class="submitted-by">Submitted on Wed, 2023-09-13 21:16</span><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p style="text-align: center;">
<iframe width="560" height="315" src="
https://www.youtube.com/embed/QYgJJRCvbtc?si=vPL_otY58Hdl0wg5" title="YouTube video player" frameborder="0" allow="accelerometer; autoplay; clipboard-write; encrypted-media; gyroscope; picture-in-picture; web-share" allowfullscreen=""></iframe></p>
<p>บันทึกถ่ายทอดสดการสนทนากับ รัชพงษ์ แจ่มจิรไชยกุล ตัวแทนเครือข่ายประชาชนร่างรัฐธรรมนูญ ภายหลังคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ ที่นำโดย เศรษฐา ทวีสิน นายกฯ แถลงนโยบายต่อรัฐสภา ซึ่งกำหนดให้การจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เป็นหนึ่งในนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล โดยที่ประชุม ครม.วันนี้ มอบให้ ภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกฯ เป็นผู้รับผิดชอบแต่งตั้งคณะกรรมการศึกษาแนวทางการทำประชามติ ยึดตามแนวทางของศาลรัฐธรรมนูญเป็นสำคัญ พร้อมระบุด้วยว่าจะใช้เวทีรัฐสภาในการหารือรูปแบบแนวทางในการแก้ไขรัฐธรรมนูญและการทำประชามติเพื่อให้ประชาชนทุกภาคส่วนร่วมออกแบบกฎกติกาที่เป็นประชาธิปไตยร่วมกัน</p>
<p>ทั้งนี้ ทางกลุ่มประชาชนร่างรัฐธรรมนูญที่ก่อนหน้านี้รวบรวมรายชื่อประชาชนเพื่อเสนอคำถามประชามติว่า “ให้จัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับโดยสภาร่างรัฐธรรมนูญที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน” จนได้ผู้ร่วมลงชื่อ 211,904 ชื่อ ได้ออกแถลงการณ์ในเรื่องผ่านทางแฟนเพจของ iLaw ถึงความกังวลต่อแนวทางการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญใหม่ของรัฐบาลเศรษฐาในคำแถลงนโยบายของ ครม.นั้นไม่ชัดเจนและยังสวนทางกับที่พรรคเพื่อไทยซึ่งเป็นแกนนำรัฐบาลเคยหาเสียงเอาไว้ แม้ว่าจะเข้าใจว่ารัฐบาลต้องการลดความขัดแย้งจึงต้องหารือแนวทางในการทำรัฐธรรมนูญใหม่และยังหลีกเลี่ยงที่จะแก้ไขหมวดที่ 1 และ 2 ในรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นประเด็นละเอียดอ่อน</p>
<p>“แต่เมื่อเป้าประสงค์ของรัฐบาล คือ การเห็นรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่เป็นประชาธิปไตย ทันสมัย และเป็นที่ยอมรับร่วมกัน รัฐบาลจึงควรเปิดพื้นที่ให้ประชาชนทุกคนได้เป็นผู้ตัดสินใจเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ และรัฐบาลหรือรัฐสภาไม่ควรสร้างเงื่อนไขที่จะเป็นข้อจำกัดในการร่างรัฐธรรมนูญโดยประชาชน เพราะท้ายที่สุด การตัดสินใจใดๆ เกี่ยวกับรัฐธรรมนูญล้วนเป็นฉันทามติของประชาชน ต่างจากการร่างรัฐธรรมนูญ ปี 2560 ที่ร่างขึ้นโดยคนเพียงกลุ่มเดียว และนำไปสู่วิกฤติและความขัดแย้งทางการเมืองที่รุนแรง” แถลงการณ์ระบุ</p>
<p>ในแถลงการณ์ระบุข้อเรียกร้องต่อ ครม. ไว้ 2 ประเด็นดังนี้</p>
<p>1. ทบทวนนโยบายเกี่ยวกับการจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่อีกครั้ง และพิจารณานำแนวทางการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่ประชาชนเสนอ ได้แก่ ‘ให้จัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับโดยสภาร่างรัฐธรรมนูญที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน’ มาเป็นแนวทางหลัก เนื่องจากประชาชนเสียงข้างมากได้ให้การสนับสนุนแนวทางดังกล่าวผ่านการออกเสียงเลือกตั้งเมื่อวันที่ 14 พ.ค.2566</p>
<p>2. คณะกรรมการศึกษาแนวทางการทำประชามติที่คณะรัฐมนตรีจะตั้งขึ้นควรจะพิจารณานำคำถามประชามติที่ประชาชนได้ระดมชื่อกันกว่าสองแสนรายชื่อเสนอมาเป็นแนวคิดหลักในการกำหนดคำถามประชามติ เพราะเป็นคำถามที่มีความครอบคลุมและชัดเจนในการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่โดยสภาร่างรัฐธรรมนูญที่มาจากประชาชน เพื่อเป็นหลักประกันให้กระบวนการร่างรัฐธรรมนูญต่อจากนี้เป็นไปอย่างชอบธรรมและเป็นที่ยอมรับทั่วกัน</p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%A1%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%93%E0%B9%8C-0" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">สัมภาษ
https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์
https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
https://prachatai.com/journal/2023/09/105892 







