[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
29 เมษายน 2567 02:59:23 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - ‘แสงธรรมดา’ คนเดือนตุลา ผู้ปลุก soft power หลังแนวรบเทือกเขาบรรทัด  (อ่าน 57 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
สุขใจ ข่าวสด
I'm Robot
สุขใจ บอทนักข่าว
นักโพสท์ระดับ 15
****

คะแนนความดี: +101/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Italy Italy

กระทู้: มากเกินบรรยาย


บอท @ สุขใจ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 20 กันยายน 2566 22:34:12 »

‘แสงธรรมดา’ คนเดือนตุลา ผู้ปลุก soft power หลังแนวรบเทือกเขาบรรทัด
 


<span class="submitted-by">Submitted on Wed, 2023-09-20 21:56</span><div class="field field-name-field-byline field-type-text-long field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><p>เรื่อง: ชาลินี ทองยศ</p>
<p>ภาพปก: กิตติยา อรอินทร์</p>
<p>รายงานชิ้นนี้อยู่ภายใต้โครงการ Journalism that Builds Bridges</p>
<p>เผยแพร่ครั้งแรกเมื่อ 20 ก.ย. 2566</p>
</div></div></div><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>ดนตรีทำหน้าที่อะไรในขบวนประชาธิปไตย ? คุยกับ ‘น้าแสง’ หรือ สหายแสง คนเดือนตุลา ผู้ปลุก soft power หลังแนวรบเทือกเขาบรรทัด </p>
<p>ก่อนจะมีกระแส soft power จนเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางในปัจจุบัน จนกลายเป็นนโยบายในการเลือกตั้งปี 2566 นั้น ในอดีตก็มีการใช้ soft power ในการต่อสู้เพื่อเปลี่ยนแปลงความคิดทางการเมือง ทำให้ผู้คนมีส่วนร่วมและเข้าถึงง่าย โดยใช้ดนตรีเป็นเครื่องมือ สกัดความคิด ทฤษฎี การถูกกดขี่เอารัดเอาเปรียบ ปลุกขวัญกำลังใจในการต่อสู้กับผู้กดขี่ สมัยที่มีการหนีเข้าป่าก็ใช้เพลงปลอบประโลมเพื่อชีวิตในป่าที่กำลังคิดถึงบ้าน คนรัก และเพื่อนพ้องในเมือง  เพราะอำนาจรัฐไทยสมัยก่อนเป็นเผด็จการทหาร รัฐใช้อำนาจทั้งกฏหมาย มีการการคุกคามโดยเฉพาะการใช้อำนาจทางทหารปราบปรามสังหารนักเรียนนักศึกษาประชาชนฝ่ายก้าวหน้า ทำให้หลายคนต้องเข้าป่าจับอาวุธในการต่อสู้ครั้งนี้</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53200705707_562980fdf7_b.jpg" /> </p>
<p>น้าแสง–แสงธรรมดา กิติเสถียรพร เป็นอีกหนึ่งคนที่ตัดสินใจเข้าป่าร่วมต่อสู้เพื่อต้องการเปลี่ยนสังคม ก่อนจะเป็นสหายแสง แต่เดิมมีชื่อว่า โต้ง เป็นชาวจังหวัดสงขลา เกิดเมื่อวันที่ 15 ก.ค. พ.ศ. 2497 จบการศึกษามัธยมที่โรงเรียนแสงทองวิทยา อำเภอหาดใหญ่หาด เป็นโรงเรียนชื่อดังเรื่องภาษาอังกฤษ</p>
<p>น้าแสงเล่าให้เราฟังว่า พอเข้าไปศึกษารู้ตัวว่าไม่ได้ชอบและสนใจในภาษาอังกฤษ แต่สิ่งที่ได้รู้จักและเป็นตัวตนในตอนเรียนคือ ไปสมัครเข้าวงโยธวาทิต เลยเข้าใจตัวโน๊ตและศิลปะแขนงนี้ ซึ่งเป็นประตูบานเเรกที่เปิดโอกาสให้หลงรักในดนตรีจนมาเป็นศิลปินทุกวันนี้</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">ทหารอเมริกาหัดกีตาร์ให้ </span></h2>
<p>อีกจุดเปลี่ยนหนึ่งที่สำคัญในชีวิตของน้าแสง คือ ในอดีตทางการไทยเคยอนุญาตให้สหรัฐอเมริกาเข้ามาตั้งฐานทัพทั้งหมด 8 แห่งเพื่อทำสงครามกับเวียดนามและปราบปรามคอมมิวนิสต์ โดยอเมริกามีส่วนสำคัญในการสร้างฐานคิดความเป็นไทยแบบอนุรักษนิยมและการก่อรูปรัฐไทยอย่างมีนัยสำคัญเนื่องจากเล็งเห็นว่าประเทศไทยมีภูมิรัฐศาสตร์พร้อมรบ ประหยัดงบประมาณในการส่งทหารมาแต่ละครั้งได้ ประเทศไทยจึงได้รับบทบาทผู้ให้บริการ 3 ด้าน ได้แก่ การให้ที่ตั้งฐานทัพ เป็นที่ตั้งอุปกรณ์สืบราชการลับ และศูนย์พักผ่อนพักฟื้นของทหารอเมริกัน</p>
<p>น้าแสงเล่าว่า ในช่วงที่ทหารอเมริกาพักรบ มีทหารอเมริกาชื่อ “จอน” จากแคมป์ฐานทัพอากาศโคราชมาพักร้อน จอนมาหาเพื่อนนักดนตรีของน้าแสงที่ไนต์คลับแห่งหนึ่งในหาดใหญ่ และเขามาร่วมเล่นดนตรีที่นั่นด้วย ระหว่างการพักร้อนจอนเช่าบ้านพักซึ่งอยู่ติดกันกับบ้านของน้าแสง ทำให้น้าแสงมีโอกาสไปคลุกคลีที่บ้านของจอนอยู่บ่อยๆ นั่นน้าแสงได้เห็นได้เห็นกีตาร์ตัวเป็นๆ ครั้งแรก  ได้ฟังเพลงสากลครั้งแรกจากแผ่นเสียง ได้รู้จักเพลงของวงต่างประเทศ เช่น The Beatles Santana CCR และ Bob Dylan</p>
<p>“ไปอยู่กับจอน จนจอนรับเป็นลูกศิษย์สอนดนตรี เพลงแรกในการหัดกีตาร์ คือเพลง ‘Why Do I Love You So’ แต่เรียนไปสักพักเกือบจะได้เลิกเรียนแล้ว เพราะจอนหัดเป็นเดือนแล้วไม่ได้เรื่องเลย สอนก็ไม่จำทำก็ไม่ได้”</p>
<p>น้าแสงเล่าพร้อมบอกว่าตนมีหน้าที่ไปซื้อกาแฟ ชาเย็น บุหรี่ รวมถึงหากัญชาให้กับจอน</p>
<p>จนวันหนึ่งก็ถึงจุดเปลี่ยน จอนชวนน้าแสงให้ไปให้ช่วยตอกตะปูติดรูปนักดนตรีคนโปรดของจอน น้าแสงก็ไปตอกตะปูติดรูป Elvis Presley The Beatles Jimmy Hendrix พอจอนเห็นน้าแสงถือค้อนตอกตะปูมือซ้าย จอนเลยถามว่า “อ่าวถนัดซ้ายเหรอ ทำไมไม่บอก” เพราะตอนที่จอนสอนใช้กีตาร์มือขวา</p>
<p>หลังจากนั้นจอนบอกให้ไปหากีตาร์มาหนึ่งตัว จะเป็นกีตาร์ใหม่กีตาร์ยืมก็ได้ แต่สมัยนั้นกีตาร์หายากมากเพราะของแปลกยังไม่เป็นที่นิยมเหมือนทุกวันนี้ น้าแสงจึงเริ่มสะสมเงินได้ 200 บาท ขอยืมแม่อีก 300 บาท เมื่อได้เงินครบแล้วจึงออกเดินทางไปปาดังเบซาร์เพื่อไปหาซื้อกีตาร์ กีตาร์ตัวแรกที่ได้มาชื่อยี่ห้อกะโป๊ของจีน ราคาตัวละ 500 บาท (ราคาเปรียบเทียบทองบาทละ 3,000 บาท) พอได้กีตาร์จากปาดังเบซาร์มาจอนก็เอามาปรับสายกีตาร์ให้เป็นกีตาร์ซ้าย จากนั้นฝึกเดือนหนึ่งเล่นเพลงได้เลย </p>
<p>ก่อนจะเจอกับจอน ชีวิตประจำวันน้าแสงมักฟังเพลงลูกทุ่ง ลูกกรุง สุนทราภรณ์ เพลงที่ชอบที่สุดในตอนนั้นคือ “เป็นโสดทำไม” ของสุรพล สมบัติเจริญ ได้ฟังจากช่องทางการรับฟังจากวิทยุ ชื่อช่อง วปถ.5 ดีเจสมาน ตันตะนุ ซึ่งพวกเขาเหล่านี้ “จะเป็นอินฟลูเอนเซอร์สมัยก่อน” </p>
<h2><span style="color:#2980b9;">ชีวิตเปลี่ยนหลัง 14 ตุลา</span></h2>
<p>น้าแสงเล่าว่า ก่อนเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ตนเองเป็นวัยรุ่นทั่วไป เรียนหนังสือให้จบทำตามความหวังของพ่อแม่และการหล่อหลอมของสังคม ยิ่งถ้าได้เป็นข้าราชการก็ถือว่าสุดยอด “ดูหนังก็มีแต่หนังไทยก็มีทัศนคติเเบบเก่าๆ ตำรวจเป็นพระเอกเป็นคนดี คนดีแบบที่ผู้ปกครองอยากให้เป็น” แต่หลัง 14 ตุลา น้าแสงและเพื่อนร่วมรุ่นที่เรียนหนังสือด้วยกัน หลายคนเปลี่ยนไปครึ่งต่อครึ่ง</p>
<p>“หลังเกิดเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 การเคลื่อนไหวเข้มข้นมาก มีกลุ่มนั้นกลุ่มนี้เกิดขึ้นในหลายมหาวิทยาลัยเป็น สิบๆ กลุ่ม มีทั้งกลุ่มที่ต้องการปฎิรูป มีกลุ่มนักต่อสู้ด้านสิทธิ มีกลุ่มที่ต่อสู้เพื่อสิ่งแวดล้อม กลุ่มที่จะปฏิรูปการศึกษา มีกลุ่มที่ต่อสู้เพื่อต้องการอำนาจรัฐ จนกระทั่งกลุ่มที่ต้องการการปฏิวัติ ขบวนการนิสิตนักศึกษาขบวนการประชาธิปไตยเติบใหญ่ มีนักศึกษาออกไปเผยแพร่ประชาธิปไตยในชนบท มีหนังสือให้อ่าน มีหนังสือวิชาการ มีกระแสเปลี่ยนความคิดคน”</p>
<p>“จากคนที่ไม่มีเป้าหมายในชีวิตอะไร กลายเป็นคนที่ต้อง เอ๊ะ กูต้องทำอะไรสักอย่าง ในช่วงนั้นมีหนังสือวรรณกรรมที่เป็นเป้าหลอม เช่น  เสนีย์ เสาวพงศ์ เรื่อง ปีศาจ ความรักของวัลยา ศรีบูรพา เรื่องจนกว่าจะพบกันใหม่ ฯลฯ ได้อิทธิพลความคิดจากวรรณกรรมเหล่านี้ ได้เห็นโลกกว้างขึ้น ได้รู้ว่าใครกำหนดเกมส์ แบ่งเป็นกี่ค่าย และกำลังสู้กับอะไร ประเทศไทยตอนนี้คืออะไร เป็นประชาธิปไตยจริงหรือป่าว หรือว่ามันเป็นประชาธิปไตยแบบทหาร”</p>
<p>วรรณกรรมต่างมีอิทธิพลอย่างมากในการเปลี่ยนความคิดความเชื่อของคนสมัยนั้น สิ่งเหล่านี้ทำให้น้าแสงได้รู้จักสังคมประวัติศาสตร์ของมนุษย์มากขึ้น ต่อมาก็ได้พบกับลัทธิมากซ์ ทำให้ความคิดเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง รู้จักกับวัตถุนิยมวิพากษ์ประวัติศาสตร์ วัตถุนิยมประวัติศาสตร์ว่าด้วยความขัดแย้ง ว่าด้วยการดัดแปลงตนเอง ว่าด้วยการต่อสู้ ว่าด้วยการปฏิวัติ</p>
<p>“ทำให้เรากลายเป็นอีกคนหนึงซึ่งเราไม่เคยเจอสิ่งเหล่านี้มาก่อน มันหล่อหลอมให้เรากลายเป็นนักต่อสู้” </p>
<p>จุดเริ่มต้นของนักสู้เกิดขึ้นพร้อมกันกับวงดนตรีเพื่อชีวิต วงเพื่อชีวิตวงแรกในประเทศไทยคือ คาราวาน หลังจากนั้นในยุคเดียวกันก็มีวงกรรมาชน วงคุรุชน วงโคมฉาย วงกงล้อ วงต้นกล้า หลายๆ วงเหล่านี้คือวงดนตรีจากส่วนกลางศูนย์อำนาจ ส่วนต่างจังหวัดในตอนนั้นน้าแสงได้ไปเรียนแผนกวิชาสถาปัตยกรรม วิทยาลัยเทคนิคภาคใต้ (ปัจจุบันคือมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย) ก็ได้ร่วมมือกับเพื่อนทำวงดนตรี ชื่อ วงโลกที่สาม</p>
<p>“ที่ชื่อวงว่าโลกที่สามเพราะว่าสมัยก่อนจะแบ่งเป็น 3 โลก โลกที่ 1 คือโลกที่พัฒนาแล้ว โลกที่ 2 คือกำลังพัฒนา โลกที่ 3 คือประเทศที่ด้อยการพัฒนา ประเทศไทยสมัยนั้นถือว่าเป็นประเทศโลกที่ 3 ประเทศล้าหลัง พอตั้งวงแล้วก็ไปตะเวนเล่นงานกิจกรรมตามมหาลัย งานการเมือง งานเสวนา งานอภิปราย เพลงที่เล่นส่วนใหญ่ เป็นเพลงคาราวาน กรรมมาชน คุรุชน โคมฉาย กงล้อ ตอนนั้นเอาเพลงมาโคฟเวอร์”</p>
<p>ชีวิตจากนักสู้ทางความคิดสู่นักดนตรีที่อยากจะมีส่วนในการสร้าง Soft Power อย่างเต็มตัว</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53201495705_013c21cce1_o.jpg" /> </p>
<h2><span style="color:#2980b9;">จากถังแดงสู่เมืองคอน(กรีด)</span></h2>
<p>“มีการจับผู้บริสุทธิ์มาเผาทั้งเป็นถีบลงเขาเผาลงถัง มีเรื่องจริงอยู่เพราะก่อนหน้านั้นสมัยที่ถนอม ประภาส เรืองอำนาจอยู่เรื่องเล่านี้ถูกปกปิด โดยทหาร กอรมน. มีแต่ข่าวชาวบ้านพูดกันปากต่อปากว่ามีการจับคนเผาลงถังแดง แต่มันคลุมเครือ พอหลัง 14 ตุลา โครงสร้างอำนาจรัฐของถนอม ประภาส ถูกพังทลายลง จึงมีนักศึกษามาหาข้อมูล” </p>
<p>น้าแสงเล่าถึงสมัยตนเองเรียนอยู่เทคโน ช่วงปี 2517-18 มีโครงการของสหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนนท.) ในขณะนั้นคนที่เป็นเลขาฯ คือ สุธรรม แสงประทุม เขามาลงพื้นที่จังหวัดพัทลุงเพื่อที่จะมาหาข้อมูลกรณีถังแดง เพื่อนำข้อมูลไปจัดนิทรรศการในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และสนามหลวงให้ประชาชนได้รับรู้</p>
<p>การจัดนิทรรศการในครั้งนั้น น้าแสงไปร่วมเป็นสต๊าฟ ทำให้มีโอกาสทำความรู้จักกับเหล่าสหายที่เข้าป่า น้าแสงจึงได้เข้ามาเคลื่อนไหวทางการเมืองอย่างเต็มตัว</p>
<p>“คนสมัยก่อนพอได้เข้าร่วมขบวนการต่อสู้ เขาจะเรียกคนเหล่านี้ว่า ‘ฝ่ายก้าวหน้า’ จะสนใจสังคม สนใจการเมือง สนใจการต่อสู้ มีความคิดที่จะเปลี่ยนแปลงสังคม พวกปานกลางจะเป็นพวกที่สนใจบ้างไม่สนบ้าง หรือบางทีก็คบกับเราบ้าง ไม่คบกับเราบ้าง อันไหนที่เขาสนุกอยากร่วมด้วยก็มาร่วม อันไหนไม่ตรงกับคอนเซ็ปต์ ไม่ตรงกับรสนิยมเขาก็ไม่มาร่วม แต่ก็ยังดีตรงที่ว่ายังสนใจเพื่อนอยู่ว่าเพื่อนทำอะไร สนใจเฉพาะบางกิจกรรมไม่ต่อเนื่อง อย่างเช่น งานดนตรีจะชอบไป งานนิทรรศการการเมืองก็จะไม่ไป ถ้ามีเคลื่อนไหว ทำม็อบประท้วง มีปัญหากับอำนาจรัฐ มีปัญหากับกระทรวงมหาดไทย หรือตำรวจก็จะไม่ร่วม ‘คนล้าหลัง’ คือ คนที่ไม่สนใจสิ่งรอบตัวรอบข้างตัวเอง สนใจแต่เรื่องตัวเองอย่างเดียว เรียนอย่างเดียว ไม่แบ่งปัน ไม่มีจิตใจสาธารณะ เขาเรียกว่าไม่มีจิตใจเพื่อส่วนรวมเพื่อประเทศ” </p>
<p>เครื่องมือของฝ่ายอนุรักษ์นิยมขณะนั้นมีกรมประชาสัมพันธ์ หนังสือพิมพ์ ทีวีที่ประโคมข่าวใส่ร้ายให้กลายเป็นผู้ร้ายนิยมความรุนแรง เป็นพวกก่อการร้าย” คำใส่ร้ายจากฝ่ายตรงข้ามที่มักประโคมเล่นงาน นี่คือสิ่งที่ฝ่ายก้าวหน้าต้องพบเจอหลังน้าแสงได้มาเคลื่อนไหวทางวัฒนธรรมทำวงดนตรี ณ ช่างกลพระราม 6 กรุงเทพฯ อย่างจริงจัง เพราะเป็นอาชีวะที่อยู่กับนิสิตนักศึกษา ตอนนั้นมีกลุ่มฝ่ายขวาอย่างกระทิงแดง นวพล ลูกเสือชาวบ้าน เป็นคู่เห็นต่าง การเคลื่อนไหวของขบวนการนักศึกในยุคนั้นทำให้บางคนต้องหนีเข้าป่า น้าแสงคือหนึ่งในนั้น ระหว่างรอเข้าป่าได้วงชื่อ ‘วงพิราบแดง’ ได้เล่นงานเดียวที่สนามหลวง </p>
<p>“เพลงเพื่อชีวิตในตอนนั้น มีเพลงคนกับควาย มีสองวงที่บันทึกเสียงคือ คาราวานกับกรรมาชน หลังจากมีการกระจายเสียงออกอากาศ กระทรวงมหาดไทยมีแบล็คลิสต์หากใครเล่นเพลงนี้มีความผิดจะโดนจับ เขาห้ามเล่นห้ามฟัง ห้ามเผยเเพร่ ทันทีที่มีคำสั่งจากกระทรวงมหาดไทยห้ามเล่นเพลง นักศึกษาก็จัดม็อบปิดสนามหลวง จากวงดนตรีเพื่อชีวิตประมาณสิบวงแต่เดิมมี คาราวาน กรรมมาชน คุรุชน โคมฉาย กงล้อ  กลายเป็นร้อยวง มีวงต่างจังหวัดมาสมทบ มาจากของแก่น เชียงใหม่ มีมอ.(มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์)ไปสมทบด้วย”</p>
<p>เมื่อเกิดกระแสสั่งห้าม ผู้คนก็ยิ่งประจักษ์มากขึ้น เมื่อดนตรีกลายเป็นสิ่งต้องห้าม จากวงดนตรีไม่กี่วงกลายมาเป็นร้อยวง นักดนตรีจำนวนมากได้ออกมาต่อต้านกับคำสั่งของกระทรวงมหาดไทยที่ห้ามเล่นเพลงเพื่อชีวิตโดยเฉพาะเพลงคนกับควาย</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">‘สหายแสง’ แห่งเขตงานพัทลุง</span></h2>
<p>“ในตอนแรกสหายยังไม่ไว้ใจให้อยู่ในหมู่บ้านก่อนเพราะไปผิดวิธี ปกติพรรคจะส่งคนเข้าป่าต้องไปตามสายจัดตั้งมีจดหมายส่งตัว แต่สายจัดตั้งน้าแสงเข้าป่าไปก่อนแล้ว เนื่องจากเคยมาเจอกับทางสหายตอนเป็นสต๊าฟงานถังแดงเพียงครั้งเดียวทางสหายยังระแวงอยู่กลัวเป็นสายจากฝ่ายขวา”</p>
<p>น้าแสงเล่าถึงช่วงที่ต้องเข้าป่าและสาเหตุเปลี่ยนมาชื่อแสง เนื่องจากวันที่น้าแสงเข้าป่ามีนักศึกษาโดนลอบสังหารหลายคน ในจำนวนนั้นมีคนที่มีชื่อเสียงและเป็นสายจัดตั้งของพรรคที่อยู่ในรามคำแหง ชื่อ “แสง รุ่งนิรันดร์กุล” เขาเป็นนักจัดตั้ง โดนฝ่ายขวาอุ้มฆ่า วงกรรมาชนยังแต่งเพลงชื่อ “เเสงดับ” เพื่อไว้อาลัยถึงเขา สหายจึงตั้งชื่อให้ตนว่า “เเสง” เพื่อที่จะเป็นแสงที่แทนแสงที่ถูกยิงไปจึงเป็นที่มาของชื่อ แสงธรรมดา จนถึงทุกวันนี้</p>
<p>ดนตรีคือหนึ่งภารกิจของแสง น้าแสงต้องไปเล่นดนตรีตามบ้าน</p>
<p>“แต่ละหมู่บ้านจะเรียกคนมาประมาณ 20-30 คน ตะเวนเล่นตามหมู่บ้าน เล่นเพลงตัวเองสองเพลงคนกับตะเกียง อีกเพลงที่แต่งคือเพลงถังแดง เล่นเพลงเพื่อชีวิต คาราวาน กรรมชน กงล้อ พอคนพัทลุงได้ฟังเพลงถังแดงทางสหายก็มองว่ามันดี เพราะเป็นเรื่องที่ชาวบ้านรู้เหตุการณ์ทุกคน เพลงที่เขียนก็เกิดจากเรื่องจริงทั้งหมด คนกับตะเกียงก็ถ่ายทอดจากชีวิตของเขาชีวิตของคนชาวสวนยาง จึงทำให้งานขยายความคิดแข็งเเรงขึ้นเริ่มมีนักศึกษามาร่วมกับพรรค ทางสหายเคยวิเคราะห์ตั้งแต่ก่อน 6 ตุลาว่าอีกไม่นานนักศึกษาในเมืองจะโดนฝ่ายขวา เผด็จการทหารปราบปราม แล้วนักศึกษาจะมาอยู่กับพวกเรา”</p>
<p>น้าแสงเล่า โดยระหว่างนั้นสหายก็ได้ส่งคนมาถามไถ่กับน้าแสงตลอดเพื่อมาเช็กความคิดว่ามีความคิดเช่นเดียวกันหรือไม่ คิดแบบนักปฏิวัติแล้วหรือยัง หลังจากอยู่ได้ 3 เดือน เหล่าสายจัดตั้งของน้าแสงก็รวมตัวกันได้แล้วตามหาน้าแสงเพื่อมารับรองเพื่อให้แน่ใจว่าไม่ใช่สายสืบจากฝ่ายขวา จากนั้นก็ได้ไปตระเวนเล่นดนตรีตามเขตงานต่างๆ</p>
<p>“ไปเกือบทุกตำบลในพัทลุง ทางสหายก็สรุปกันว่า การที่มีแนวรบทางด้านศิลปะวัฒนธรรมเข้ามา มันเห็นผลทำให้ภาพพจน์ดีขึ้นการขยายงานทางความคิดกว้างขึ้นผ่านบทเพลง ทำไปสัก 6 เดือนก็ได้ไปเจอ คณะกรรมการจังหวัดของพรรค ได้ยินข่าวว่ามีนักศึกษาที่มีชื่อเสียงมาเล่นดนตรี ทางคณะกรรมการพรรคจึงขอตัวให้ไปร่วมทำงานกับคณะกรรมการพรรค” </p>
<p>หลังจากมีโอกาสได้ไปร่วมทำงานน้าแสงก็ไปตะเวนทำหน้าที่เดิมนั่นคือเล่นดนตรี แต่เขตงานพื้นที่กว้างขึ้น จากพัทลุงต้องไปตรัง สตูล สงขลา </p>
<p>ช่วงประมาณเดือนสิงหาคม ในเเต่ละเขตงานได้มีมติว่าหลังจากเดือน ส.ค. ต้องเตรียมที่พัก อาหารการกิน ที่เพาะปลูก และเสบียง</p>
<p>ในวันที่ 7 ส.ค. 2519 วงคาราวานได้รับการติดต่อมาเล่นดนตรีที่กองทัพประชาชน น้าแสงได้เป็นตัวแทนไปร่วมเล่นกับวงคาราวานเป็นครั้งแรก </p>
<p>“ในคืนนั้นคนเยอะมาก ส่งผลสะเทือนมหาศาล คนในป่าฟังแต่เทปวงคาราวานไม่เคยเห็นแสดงสด ไม่มีภาพวิดีโอ เคยเห็นแต่วงดนตรีลูกทุ่ง เครื่องเป่า เครื่องไฟฟ้า คนเป็น 30 ชีวิตเป็น 100 ชีวิต แต่วงคาราวานวันนั้นมา 4 คน คืนนั้นมี พี่หงา พี่หว่อง น้าอืด น้าแดง พงษ์เทพ (ตอนนั้นเป็นโฆษกเป็นนักดนตรีบองโก้)” น้าแสงเล่าด้วยสีหน้าประทับใจ</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">วิถีดนตรีในป่า หลัง 6 ตุลา</span></h2>
<p>หนึ่งสัปดาห์หลังเหตุการณ์ 6 ตุลา นักศึกษาเริ่มทยอยเข้าป่า น้าแสงอยู่ฝ่ายต้อนรับ คอยบอกระเบียบวินัยแนะนำชีวิตการเป็นอยู่ในป่า เริ่มมีนักดนตรี จากวงคุรุชน และกงล้อขึ้นมาสองคน เข้ามาในป่าด้วย น้าแสงเลยเสนอกองทัพประชาชนว่าให้จัดตั้งหน่วยศิลปะขึ้นมา ทางกองทัพรับหลักการโดยให้น้าแสงไปคัดเลือกคนมาเป็นหน่วยศิลป์</p>
<p>สำหรับชีวิตในป่า นักศึกษาที่เข้าป่ามาจะผ่านการเข้าโรงเรียนการเมืองและการทหาร 6 เดือนก่อนที่จะไปกระจายตามความถนัด ช่วงเช้าเรียนทฤษฎีทางการเมือง ช่วงบ่ายเรียนการทหาร การใช้อาวุธ การเอาตัวรอดในป่า ตกเย็นก็ซ้อมดนตรี สามารถรวมกลุ่มได้วงดนตรีมาหนึ่งวงประกอบด้วยนักดนตรีทั้งหมด 7 คน และตั้งชื่อว่า “หน่วยศิลปะจารยุทธ”  ภายหลังมีแผนกละครทีมีนักศึกษามาจากธรรมศาสตร์ และมีแผนกนาฏศิลป์เกิดขึ้น </p>
<p>วงจรยุทธ์อัดเพลงประมาณ 10 เพลง เช่น  ฝากใจสู่นาคร  ภูบรรทัดปฏิวัติ ปากใต้แดนทอง น้าแสงเล่าว่าในสมัยก่อนยังไม่มีลำโพง ในป่าใช้ระบบคอนเดนเซอร์(Condenser) คือ คอนเดนเซอร์มีหน้าที่รับเสียงร้อง เสียงดนตรีต่างๆ เสียงโซโล เข้ามาอยู่ในเครื่องส่งวิทยุ FM คอนเดนเซอร์จะรวบรวมเป็นคลื่นเดียว ในระยะ 4 กิโลเมตร </p>
<p>การไปเล่นดนตรีไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะการปราบปรามอาจเกิดขึ้นได้ทุกเวลา นี่คือสิ่งที่ผู้คนผู้เห็นต่างต้องพบเจอในสมัยนั้น </p>
<p>เวลาวงจรยุทธ์ไปเล่นก็จะกระจายเสียงผ่านคอนเดนเซอร์ เวลาจะเดินทางไปเล่นดนตรี ต้องไปเตรียมเวทีสถานที่และการกระจายเสียงพร้อมทหารหนึ่งหน่วยที่คอยติดตามเฝ้าระวัง ดูแลความปลอดภัยให้วงจรยุทธ์ขณะตระเวนไปเล่นดนตรีตามหมู่บ้านต่างๆ ระหว่างเดินทางเคยปะทะสองครั้ง</p>
<p>น้าแสงเคยโดนซุ่มยิงขณะกำลังเดินทางไปยังหมู่บ้านต่อไป</p>
<p>“ในวันที่สะเทือนใจที่สุดไม่ใช่วันที่ออกจากบ้าน ไม่ใช่วันที่ถูกโดนซุ่มยิง แต่เป็นวันที่ออกจากป่า ยืนดูเทือกเขาบรรทัด วาระสุดท้ายที่พัทลุง น้ำตาไหล ไม่คิดว่าจะมีวันนี้ ไม่ได้ดีไซน์ไว้ก่อนเลยว่าชีวิตนี้จะพบกับความพ่ายแพ้ พกพาความพ่ายแพ้กลับบ้าน การปฏิวัติล้มเหลว องค์กรปฏิวัติล่มสลาย เป็นวันที่สะเทือนใจตราตรึง แต่ยังคิดในใจอยู่ว่า กูไม่เลิกต่อสู้หรอก กูกลับไปในอยู่เมืองก็จะสู้ต่อ แต่ด้วยวิธีไหนก็อีกแบบหนึ่ง ฝังใจมาตลอดว่า ขบวนมันจบแต่กูไม่จบ”</p>
<p>กำเนิด ‘แสง ธรรมดา’ หลังป่าแตก</p>
<p> </p>
<p>หลังป่าแตก นักศึกษาที่กลับมาอยู่ในเมืองมี 3 ประเภทใหญ่ๆ หนึ่ง คนที่กลับมาเรียนหนังสือต่อได้เลยแบบไม่ต้องสอบเอ็นทรานส์ กลุ่มนี้ฝ่ายขวาเอาใจเป็นอย่างมาก กลุ่มที่สองคือคนฐานะร่ำรวยที่ไปเรียนต่างประเทศ กลุ่มที่สามคือคนที่ไม่เรียนต่อแล้ว เบื่อระบบการศึกษา น้าแสงอยู่ประเภทสุดท้าย  ไม่อยากกลับไปเรียนเพราะได้จบมหาวิทยาลัยการปฏิวัติแล้ว</p>
<p> </p>
<p>หลังออกมาจากป่า น้าแสงได้มาอยู่มูลนิธิโกมลคีมทอง ไปทำหนังสือพิมพ์ “เพื่อนชาวบ้าน” เพราะตอนอยู่ป่านอกจากจะทำดนตรีแล้วก็มีประสบการณ์ทำหนังสือพิมพ์ตะวันแดงด้วย</p>
<p> </p>
<p>“เผอิญว่าคนที่ทำงานทั้งหมดเป็นคนที่ลงมาจากป่า ก็พูดคุยเรื่องเก่า ให้กำลังใจกันและกัน ลืมความตรอมใจได้บ้าง ทำงานไปสามปีก็ออกจากโกมลคีมทอง มีสหายมาติดต่อให้เข้าไปทำงานที่มติชน ซึ่งมีพี่เสถียร จันทิมาธร เป็น บก. เพราะแกเคยเข้าป่าสหายเลยฝากให้ดูแล”</p>
<p> </p>
<p>น้าแสงเล่าว่าตอนนั้นได้ไปเขียนการ์ตูน ได้ชิ้นงานละ 100 บาท (เปรียบเทียบข้าวราคา 5 บาท ห้องเช่าเดือนละ 1,500 บาท) ระหว่างที่ทำงานเขียนการ์ตูน ก็เริ่มซุ่มเขียนเพลงและศึกษาเพลงตลาด เป็นยุคที่เริ่มมีคาราบาว ลุงขี้เมา คาราวานก็กลับมาจากป่า มีวงเพื่อชีวิตใหม่ๆ ขึ้นมาจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็น วงอมตะ วงคนด่านเกวียน วงสองวัย </p>
<p> </p>
<p>จุดพลิกผันในชีวิตอีกหนึ่งอย่าง คือ วงแฮมเมอร์เอาเพลงคนกับตะเกียงไปบันทึกเสียง โดยที่ไม่ได้มีการติดต่อกันเป็นการส่วนตัว รู้เพียงว่าคนแต่งเพลงนั้นชื่อแสง “อัดเพลงเป็นเดือนยังไม่ออกก็รอ เพราะทางค่ายต้องให้น้าแสงเซ็นลิขสิทธิ์ ทางวงเลยติดต่อน้าแสงให้เข้าไปคุยกับค่ายเพลง ก่อนออกจากบ้านน้าแสงก็เอาเพลงที่บันทึกไว้ 4 เพลงนำติดตัวไปด้วย เพราะคิดว่าเผื่อเขาจะซื้อเพลงอีก พอได้ไปคุยกับผู้บริหารถามไถ่ประวัติ คุยไปคุยมาแหลงใต้ใส่กันเพราะคนที่คุยก็เป็นคนใต้ ก่อนออกเขาก็ถามว่ามีเพลงอีกไหม ก็เอาเทปคาสเซ็ทที่อัดไว้ให้ค่ายเพลง</p>
<p> </p>
<p>หลังจากนั้นทางค่ายก็ติดต่อกลับมาเพื่อชวนน้าแสงร่วมงานเป็นศิลปิน ได้มีการแต่งเพิ่มอีก 6 เพลง ทางค่ายก็ให้นักดนตรีมาเป็นแบ็คอัพ ให้นักแต่งเพลงมาตั้งชื่อวงให้ มีหลายๆ คนเสนอชื่อเป็นร้อยๆ ชื่อ น้าแสงดูแล้วมีแต่ชื่อที่ฟังเพราะๆ ออกจะเกินตัวไป ซึ่งน้าแสงไม่ชอบ ทางค่ายเลยถามว่าจะเอาชื่ออะไร น้าแสงตอบว่า อยากได้ชื่อธรรมดาๆ ทางค่ายเลยบอก งั้นเอาชื่อ “วงธรรมดา” เป็นที่มาของแสงธรรมดาในตอนนี้</p>
<p> </p>
<p>ในช่วงคาราบาวทำเพลง เมด อิน ไทยแลนด์ วงธรรรมดาก็ปล่อยเพลงเเรกของสู่ตลาดตีคู่กันมา คือเพลง ไทยนิปปอน ที่ทำให้ แสง ธรรมดา กลายเป็นที่รู้จักในประเทศญี่ปุ่น </p>
<p> </p>
<p>ด้วยเนื้อเพลงพูดถึงสินค้าญี่ปุ่นที่อยู่ในชีวิตคนไทยตั้งแต่เช้าจนเข้านอน ทำให้ทีวีทุกช่องในญี่ปุ่นทั้งหลายมาสัมภาษณ์ เนื่องจากทางญี่ปุ่นกลัวเพลงดังกล่าวจะปลุกกระแสการต่อต้านญี่ปุ่น</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">ค้นหาตัวตนในบทเพลง</span></h2>
<p>“คืนหนึ่งที่บ้านน้าซู น้าซูถามขึ้นมาลอยๆ ภาคอื่นเขามีเพลงประจำภาคกันหมดแล้วนะ ภาคเหนือมีจรัลมโนเพ็ชร ภาคอีสานมีเยอะเเยะเลย พี่หว่อง  สีเผือก ซูซู พงษ์เทพ ภาคกลางก็มีแอ๊ด คาราบาว ทำไมภาคใต้ไม่มีเพลงเพื่อชีวิตที่เป็นภาษาใต้”</p>
<p>คำพูดของ น้าซู—ระพินทร์ พุฒิชาติ อีกหนึ่งนักดนตรีเพื่อชีวิตผู้เป็นตำนาน จุดประกายให้น้าแสงทำเพลง “นายหัวครก” เพลงนี้มีน้าซูมาช่วยทำดนตรีเป็นที่ปรึกษาและอัดเสียงให้ จนเพลงนี้กลายเป็นที่รู้จักเรียกได้ว่าเป็นเพลงแจ้งเกิดของ แสง ธรรมดา</p>
<p>หากย้อนดูความเป็นมาของชีวิตแสง ธรรมดาคนนี้สิ่งหนึ่งที่ไม่เคยหายไปไหนเลยคือ ดนตรี ดนตรีของน้าแสงมักจะถ่ายทอดอุดมการณ์ความคิดให้คนฟังเสมอ</p>
<p>“ฝากใจสู่นาคร” เป็นหนึ่งในบทเพลงที่น้าแสงชอบที่สุด เพลงนี้เป็นเพลงที่แต่งขึ้นนณะอยู่ในป่า น้าแสงได้ร่วมแต่งคนละบรรทัดกับ ‘ปกรณ์ รวีวร’ วงกงล้อ นักภาษาศาสตร์ ที่สอนให้น้าแสงได้เรียนรู้ภาษา เพลงนี้จึงถือว่าเป็นเพลงจบการศึกษาวิชาภาษาศาสตร์ ส่วนเพลงที่ให้อารมณ์คนที่อยู่ในป่าที่คิดถึงบ้าน คิดถึงเพื่อน คือเพลง “ไม่เคยลืมเลือน” มีเนื้อร้องบางส่วนว่า ไม่เคยลืมเลือน ย้ำเตือนสัมพันธ์ มั่นใจใฝ่ฝัน สักวันคงได้กลับคืน มุ่งไปเถิดหนา ผ่าผองไพด้วยใจระรื่น ยิ้มเย้ยกับความข่มขืนหยัดยืนท้าทายทมิฬ อีกหนึ่งเพลงที่ชอบคือ ‘นายหัวครก’ น้าแสงให้เหตุผลว่าเพราะเพลงนี้แสดงตัวตนชัดเจนที่สุดของแสงธรรมดา เป็นเพลงใต้เพื่อชีวิตเพลงแรกที่ร้องสำเนียงใต้และโดยคนใต้เพื่อคนใต้อย่างแท้จริง เพลงเหล่านี้มักจะบอกเล่าเรื่องราวของผู้ถ่ายทอดเสมอ บทเพลงของน้าแสงก็เช่นกัน</p>
<p>ปัจจุบันแม้จะได้ปลดเกษียณงานดนตรีไปแล้วแต่ก็ยังคงเล่นดนตรีอยู่บ้าง บางครั้งบางคราวแล้วแต่ตามงานสังคม งานอนุรักษ์ หรืองานที่มีประโยชน์มีคุณค่า พร้อมทั้งทำร้านกาแฟอยู่ในหุบเขามีสายน้ำ มีลำธารไหลเล็กๆ ที่อำเภอนาหม่อม ชื่อร้านแสงธรรมดา โฮมคาเฟ่ เพื่อเปิดพื้นที่ให้กับผู้ที่มีความคิดอุดมการณ์แบบเดียวกันนี้มาร่วมพูดคุยพบปะกัน แม้น้าแสงจะไม่ได้มาร่วมเคลื่อนไหวกับขบวนการคนรุ่นใหม่ในปัจจุบัน แต่เราเชื่อเป็นอย่างยิ่งว่าอุดมการณ์มันได้รับไม้ต่อแล้ว และคงเป็นแบบนี้ต่อไปเรื่อยๆ จนถึงสิ่งที่คาดหวังนั้นเป็นจริง</p>
<p>“สิ่งที่ผมดีใจอย่างหนึ่งก็คือ ยังเห็นรุ่นลูกรุ่นหลานเด็กๆ น้องขึ้นมาต่อสู้ ยังมีคนที่ลูกขึ้นสู้เพื่อสังคมที่ดีกว่าก็คือว่าเชื้อมันยังไม่ทิ้งแถว คือการต่อสู้ยังไม่จบ จะจบเมื่อไหร่ผมไม่รู้นะ แต่ว่าก็ดีใจตรงที่ว่า ยังมีคนต่อสู้กันอยู่”</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53201495720_db713c7e08_b.jpg" /></p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/6%E0%B8%95%E0%B8%B8%E0%B8%A5%E0%B8%B219" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">6ตุลา19[/url]</div><div class="field-item even"><a href="/category/soft-power" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">soft power[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B9%81%E0%B8%AA%E0%B8%87" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">น้าแสhttps://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2023/09/105988
 

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

นักข่าวหัวเห็ด แห่งเวบสุขใจ
อัพเดตข่าวทันใจ ตลอด 24 ชั่วโมง

>> http://www.SookJai.com <<
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
[ข่าวมาแรง] - สมาคมประชาสัมพันธ์ไทย ฝากถึงรัฐบาลใหม่ ผลักดัน Soft Power แบบยุทธศาสตร์อย่างจริงจัง
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 71 กระทู้ล่าสุด 16 กันยายน 2566 21:37:02
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - ตะวันออกกลางแห่สอนภาษาจีนกันมากขึ้น หรือเรื่องนี้สะท้อนอิทธิพล 'Soft Power' จีน
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 58 กระทู้ล่าสุด 25 กันยายน 2566 23:07:54
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - ‘แพทองธาร’ ยก 3 หลักสร้าง Soft Power ปลดล็อกเสรีภาพ ต้นทุนทางวัฒนธรรมและนโยบายส่งออกท
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 82 กระทู้ล่าสุด 15 พฤศจิกายน 2566 19:55:56
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - สวนดุสิตโพลเผยคนหนุน 'ลอยกระทง' เป็น Soft Power
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 74 กระทู้ล่าสุด 27 พฤศจิกายน 2566 05:31:42
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - หรือการทูตแบบไผ่ลู่ลมจะเป็น soft power?
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 75 กระทู้ล่าสุด 06 ธันวาคม 2566 12:27:48
โดย สุขใจ ข่าวสด
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.731 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 01 ตุลาคม 2566 06:31:07