[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
29 เมษายน 2567 16:50:28 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - ประกาศ 10 หนังขึ้นทะเบียนเป็นมรดกภาพยนตร์ 'เพลงสุดท้าย' และสัมภาษณ์ผู้เข้าร่  (อ่าน 54 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
สุขใจ ข่าวสด
I'm Robot
สุขใจ บอทนักข่าว
นักโพสท์ระดับ 15
****

คะแนนความดี: +101/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Italy Italy

กระทู้: มากเกินบรรยาย


บอท @ สุขใจ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 05 ตุลาคม 2566 00:53:58 »

ประกาศ 10 หนังขึ้นทะเบียนเป็นมรดกภาพยนตร์ 'เพลงสุดท้าย' และสัมภาษณ์ผู้เข้าร่วม พคท. ติดด้วย
 


<span class="submitted-by">Submitted on Wed, 2023-10-04 23:43</span><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>หอภาพยนตร์ กระทรวงวัฒนธรรม ประกาศ 10 รายชื่อหนังขึ้นทะเบียนเป็นมรดกภาพยนตร์ของชาติ ปี 2566 มีภาพยนตร์บันทึกเหตุการณ์ 14 ตุลา, “เทวดาเดินดิน”, หนัง LGBTQ “เพลงสุดท้าย” และ “หัวใจทรนง”, หนังร่วมทุนสร้างกับฮ่องกง “กตัญญูปกาสิต”, หนังชีวประวัติ “14 ตุลา สงครามประชน” , หนังซอฟท์พาวเวอร์ไทยยุคบุกเบิก “Thailand” รวมทั้ง สัมภาษณ์ผู้เข้าร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์ไทยที่กลับออกจากป่า</p>
<p style="text-align: center;">
<iframe allow="autoplay; clipboard-write; encrypted-media; picture-in-picture; web-share" allowfullscreen="true" frameborder="0" height="758" scrolling="no" src="https://www.facebook.com/plugins/post.php?href=https%3A%2F%2Fwww.facebook.com%2FThaiFilmArchivePage%2Fposts%2Fpfbid02y4JhkpxLymqNC9hqKb2dvmed8Fhi1gmH37bY9zZ5EFp2Qq3zYWhEJh5Fm9rxAAZnl&amp;show_text=true&amp;width=500" style="border:none;overflow:hidden" width="500"></iframe></p>
<p>4 ต.ค. 2566 วันอนุรักษ์ภาพยนตร์ไทย ประชาสัมพันธ์ หอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) รายงานต่อสื่อมวลชนว่า  เสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ได้ประกาศ 10 รายชื่อภาพยนตร์ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกภาพยนตร์ของชาติ ประจำปี 2566 ทั้งหนังเรื่อง และหนังสารคดี จากการคัดเลือกจากกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจากหลากหลายสาขาอาชีพ 33 คนที่คัดสรรมาโดยหอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) โดยภาพยนตร์ส่วนหนึ่งมาจากมาจากประชาชนกว่า 1,000 คนที่ร่วมเสนอรายชื่อ โดยพิจารณาคัดเลือกตามหลักเกณฑ์คุณค่า ความสำคัญทางประวัติศาสตร์ อิทธิพลต่อสังคม วัฒนธรรม และศิลปะ </p>
<p>ภาพยนตร์ 10 เรื่องในที่ได้รับการขึ้นทะเบียนในปีนี้ ครอบคลุมหลากหลายมิติทางสังคม ประวัติศาสตร์ และสุนทรียศาสตร์ แสดงให้เห็นถึงรากฐานวัฒนธรรมภาพเคลื่อนไหวอันแข้งแรงของผู้สร้างไทย </p>
<p>เนื่องด้วยปี 2566 เป็นปีครบรอบ 50 ปี เหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516  มีภาพยนตร์สามเรื่องที่เกี่ยวพันกับเหตุการณ์นี้ได้กรับการคัดเลือก ได้แก่ วันมหาวิปโยค (2516) เป็นบันทึกเหตุการณ์ 14 ตุลาคมที่ ทวีศักดิ์ วิรยศิริ นักข่าวภาพยนตร์อิสระได้ถ่ายเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ไว้  ส่วนหนัง [สัมภาษณ์ผู้เข้าร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์ไทยที่กลับออกจากป่า] [2528] เป็นฟุตเทจหายากที่ ไกรศักดิ์ ชุณหะวัณ ได้สัมภาษณ์อดีตนักศึกษาและนักเคลื่อนไหวที่ออกจากป่าหลังจากไปเข้าร่วมพรรคคอมมิวนิสต์ไทย เช่น จิระนันท์ พิตรปรีชา, เสกสรรค์ ประเสริฐกุล, จรัล ดิษฐาอภิชัย, เหวง โตจิราการ, เทียนชัย วงศ์ชัยสุวรรณ, เกรียงกมล เลาหไพโรจน์, คณะวงดนตรีคาราวาน และชาวบ้านคนอื่น ๆ ไกรศักดิ์ตั้งใจจะตัดต่อฟุตเทจเป็นสารคดีน แต่ทำไม่เสร็จสิ้น คงเหลือไว้แต่ฟุตเทจที่มีความกว่า 11 ชั่วโมง  เรื่องสุดท้ายได้แก่ 14 ตุลาสงครามประชาชน (2544) ภาพยนตร์ชีวประวัติ เสกสรรค์ ประเสริฐกุล  บุคคลสำคัญทางการเมืองในช่วงเวลาหัวเลี้ยวหัวต่อของประวัติศาสตร์ไทย เป็นงานกำกับโดย บัณฑิต ฤทธิ์ถกล</p>
<p>เทวดาเดินดิน (2519) โดย ม.จ. ชาตรี เฉลิมยุคล เป็นหนังที่จับภาพวัยรุ่นไทยในช่วงเวลาแห่งความเปลี่ยนแปลงทางสังคมได้อย่างเข้มข้น เป็นทั้งหนังสะท้อนสังคมและหนังแอคชั่นผจญภัยไปพร้อม ๆ กัน  นอกจากนี้ ภาพยนตร์คลาสสิกที่ได้รับการขึ้นทะเบียนที่สำคัญยังมี ปักธงไชย (2500) สร้างโดยบริษัท ละโว้ภาพยนตร์ ของ พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ ถือเป็นผลงานที่เก่าแก่ที่สุดที่ยังคงหลงเหลืออยู่ของพระองค์ ผู้ทรงเป็นนักทำหนังที่มีบทบาทสำคัญต่อวงการภาพยนตร์ไทย และเป็นภาพยนตร์ไทยเรื่องแรกและหนึ่งในไม่กี่เรื่องที่เล่าถึงสงครามปราบฮ่อ สมัยรัชกาลที่ 5 กตัญญูปกาสิต (2501) หนังร่วมทุนไทยฮ่องกงที่ประสบความสำเร็จทั้งที่ไทยและต่างแดนด้วยความสามารถของยอดฝีมือแห่งวงการหนังไทยยุคหลังสงครามโลก ครั้งที่ 2 ทั้ง ครูเนรมิต ผู้กำกับ ส. อาสนจินดา ผู้เขียนบท และบรรดานักแสดงชั้นครู</p>
<p>ภาพยนตร์ LGBTQ สองรสชาติอันแตกต่าง และแสดงให้เห็นการเดินทางของหนังแห่งความหลากหลายทางเพศของไทย ได้รับการขึ้นทะเบียนในปีนี้ ได้แก่ เพลงสุดท้าย (2528) หมุดหมายสำคัญแห่งประวัติศาสตร์ความหลากหลายทางเพศในภาพยนตร์ไทย ที่ส่งอิทธิพลต่อเนื่องอย่างกว้างขวางยาวนานมาจนถึงปัจจุบัน กำกับโดย พิศาล อัครเศรณี และอีกเรื่องได้แก่ หัวใจทรนง (2546) งานกำกับร่วมของ อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล และ ไมเคิล เชาวนาศัย กับเรื่องราวของสายลับไออ้อน พุซซี่ งานที่คารวะสุนทรีศาสตร์ของหนังไทยุค 16 มม. พร้อมไปกับการสร้างอารมณ์ขันสำหรับผู้ชมร่วมสมัย</p>
<p>ภาพยนตร์สารคดีเก่าอีกสองเรื่องที่ได้รับการขึ้นทะเบียนได้แก่  โกนจุก [2510]  เป็นภาพบันทึกพิธีโกนจุก ซึ่งเป็นพิธีกรรมในวิถีชีวิตของสังคมไทยสมัยก่อน ได้อย่างละเอียดครบถ้วนตามประเพณีทั้งคติพราหมณ์และพุทธ สุดท้ายคือ Thailand (2501) ภาพยนตร์เรื่องแรก ๆ ที่รัฐบาลไทยจัดทำเพื่อเผยแพร่วัฒนธรรมไทยให้ผู้ชมในโลตะวันตก </p>
<p>หอภาพยนตร์ ได้จัดกิจกรรมประกาศรายชื่อภาพยนตร์ขึ้นทะเบียนมรดกภาพยนตร์ของชาติมาเป็นประจำทุกปี ตั้งแต่ปี 2554 หลังประกาศรายชื่อภาพยนตร์ในปีนี้ 10 เรื่อง ทำให้ภาพยนตร์ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนฯ มีจำนวนทั้งหมด 243 เรื่อง ซึ่งหอภาพยนตร์เตรียมนำภาพยนตร์เหล่านี้ออกฉายตามช่องทางต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นในโรงภาพยนตร์ Facebook YouTube Tiktok ของหอภาพยนตร์ รวมถึงการจัดงานเสวนาถึงภาพยนตร์ และการให้บริการในห้องสมุดและโสตทัศนสถาน เชิด ทรงศรี ของหอภาพยนตร์ ติดตามรายละเอียดได้ที่ www.fapot.or.th หรือที่เฟซบุ๊กช่อง หอภาพยนตร์ Thai Film Archive </p>
<h2><span style="color:#2980b9;">รายชื่อภาพยนตร์ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกภาพยนตร์ของชาติประจำปี 2566</span></h2>
<p>ปักธงไชย (2500)</p>
<p>Thailand (2501)</p>
<p>กตัญญูปกาสิต (2501)</p>
<p>โกนจุก [2510]</p>
<p>วันมหาวิปโยค (2516)</p>
<p>เทวดาเดินดิน (2519)</p>
<p>[สัมภาษณ์ผู้เข้าร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์ไทยที่กลับออกจากป่า] [2528]</p>
<p>เพลงสุดท้าย (2528)</p>
<p>14 ตุลาสงครามประชาชน (2544)</p>
<p>หัวใจทรนง The Adventure of Iron Pussy (2546)</p>
<div class="note-box">
<p><strong>หมายเหตุ</strong></p>
<p>ชื่อเรื่องใน [..] หมายถึง ภาพยนตร์เรื่องนั้นไม่มีไตเติ้ลชื่อเรื่องปรากฏอยู่ในภาพยนตร์เป็นชื่อหอภาพยนตร์ตั้งขึ้นเอง</p>
<p>ปีพ.ศ.ที่อยู่ใน […] หมายถึง ข้อมูลที่หอภาพยนตร์สันนิษฐานขึ้นเนื่องจากยังไม่มีหลักฐานชัดเจน</p>
</div>
<h2><span style="color:#2980b9;">หลักเกณฑ์ที่ใช้ในการพิจารณาคัดเลือกภาพยนตร์ขึ้นทะเบียนมรดกภาพยนตร์ของชาติ </span></h2>
<p>1. คุณค่าทางประวัติศาสตร์และความทรงจำ </p>
<p>เป็นภาพยนตร์ที่ถ่ายทอดเรื่องราวของ สถานที่ กาลสมัย บุคคล เหตุการณ์ ที่เกี่ยวข้องกับคนไทยและสังคมไทย ในมิติต่างๆ เช่น มานุษยวิทยา สังคมวิทยา เศรษฐกิจ การเมือง วัฒนธรรม ทั้งในฐานะปัจเจกและกลุ่มหรือมวลชน สามารถทำให้ผู้ชมเข้าถึงและเข้าใจมิติเหล่านั้นในเชิงประวัติศาสตร์หรือความทรงจำ</p>
<p>2. คุณค่าทางศิลปะภาพยนตร์</p>
<p>เป็นผลงานภาพยนตร์ที่สร้างสรรค์ อันแสดงถึงศิลปะวิทยาทางด้านภาพยนตร์</p>
<p>3. มีความโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์</p>
<p>เป็นภาพยนตร์ที่มีความโดดเด่นเป็นพิเศษ มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว เช่น การนำเสนอภาพยนตร์นั้นไม่ว่าการถ่ายทำ การแสดง การตัดต่อ ฯลฯ  มีความคิดริเริ่ม ไม่เคยมีแบบอย่างมาก่อนในภาพยนตร์อื่นๆ</p>
<p>4. บูรณภาพ </p>
<p>คือความสมบูรณ์ครบถ้วนของผลงานภาพยนตร์ตรงตามต้นฉบับของผู้สร้างสรรค์ ภาพยนตร์ที่ออกฉายแล้วอาจถูกตัดทอน ถูกเสริมเติมแต่งเพิ่มเติม ถูกดัดแปลงไปด้วยเหตุต่าง ๆ</p>
<p>5. ความเสี่ยงต่อการสูญเสียหรือยากแก่การหาทดแทน</p>
<p>เป็นภาพยนตร์ที่ยังมีฟิล์มต้นฉบับหรือสำเนาในรูปแบบอื่นใดอยู่ แต่ตกอยู่ในภาวะความเสี่ยงที่จะสูญเสียภาพยนตร์นั้นไป ด้วยเหตุปัจจัยต่าง ๆ เช่น มีต้นฉบับหรือสำเนาอยู่เพียงชุดเดียว หรือภาพยนตร์นั้นกำลังเสื่อมสภาพ หรือสภาพการจัดเก็บไม่ปลอดภัย ไม่ได้มาตรฐาน เป็นต้น</p>
<p>6. อิทธิพลต่อคนและสังคม</p>
<p>ภาพยนตร์ที่สามารถส่งผลกระทบโดยตรงหรือโดยอ้อมต่อปัจเจกชนและหรือต่อสังคม ไม่ว่าทางด้านพฤติกรรม ความคิด ความเชื่อ อารมณ์ ฯลฯ อาจก่อให้เกิดกระแสสมัยนิยมเกิดการเปลี่ยนแปลง ค่านิยม ขนบธรรมเนียม ไม่ว่าชั่วระยะเวลาสั้นหรือยั่งยืนนาน</p>
<p>รายชื่อคณะกรรมการพิจารณาตัดสินภาพยนตร์</p>
<p>1. กษิดิศ อนันทนาธร - บรรณาธิการ</p>
<p>2. กิตติศักดิ์ สุวรรณโภคิน - นักวิจารณ์ภาพยนตร์</p>
<p>3. ผศ.ดร. เกษม เพ็ญภินันท์ - นักวิชาการด้านปรัชญา</p>
<p>4. โกวิท โพธิสาร - สื่อมวลชน</p>
<p>5. ชญานิน เตียงพิทยากร - นักวิจารณ์ภาพยนตร์</p>
<p>6. ชีวสิทธิ์ บุณยเกียรติ - นักจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์ศึกษา</p>
<p>7. ศาสตราจารย์พิเศษ ธงทอง จันทรางศุ - นักประวัติศาสตร์</p>
<p>8. ศาสตราจารย์ ดร. ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ - นักประวัติศาสตร์</p>
<p>9. ธัญญ์วาริน สุขะพิสิษฐ์ - ผู้กำกับภาพยนตร์ </p>
<p>10. ธีปนันท์ เพ็ชร์ศรี - ครีเอทีฟ </p>
<p>11. นที กอนเทียน - ผู้ดูแลเพจ 77 PPP</p>
<p>12. นิธินันท์ ยอแสงรัตน์ - บรรณาธิการ</p>
<p>13. นิพันธ์ โอฬารนิเวศน์ - นักวิชาการด้านศิลปะ</p>
<p>14. ผศ.ดร. บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ - นักวิชาการด้านรัฐศาสตร์</p>
<p>15. ประวิทย์ แต่งอักษร - นักวิจารณ์ภาพยนตร์</p>
<p>16. ปราปต์ บุนปาน - บรรณาธิการ</p>
<p>17. พรพิชิต พัฒนถาบุตร - นักวิชาการอิสระ</p>
<p>18. ดร. พิชัยวัฒน์ แสงประพาฬ - นักวิชาการด้านภาพยนตร์</p>
<p>19. ภาณุ บุรุษรัตนพันธุ์ - บรรณาธิการ</p>
<p>20. มโนธรรม เทียมเทียบรัตน์ - นักวิจารณ์ภาพยนตร์</p>
<p>21. หม่อมราชวงศ์ปิยฉัตร ฉัตรชัย - สื่อสารมวลชน</p>
<p>22. ผศ.ดร. ลลิตา หาญวงษ์ - นักประวัติศาสตร์</p>
<p>23. ดร. อับดุลเลาะห์ พรหมขุนทอง - นักวิชาการด้านภาพยนตร์และวัฒนธรรมศึกษา</p>
<p>24. ศรัณย์ ทองปาน - นักเขียนสารคดี</p>
<p>25. ศักดินา ฉัตรกุล ณ อยุธยา - นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์แรงงาน</p>
<p>26. ศาสวัต บุญศรี - นักวิชาการด้านภาพยนตร์</p>
<p>27. ผศ. สุดแดน วิสุทธิลักษณ์ - นักวิชาการด้านมานุษยวิทยา</p>
<p>28. สุภัตรา ภูมิประภาส - นักเขียน นักแปล</p>
<p>29. โสภิต หวังวิวัฒนา - นักจัดรายการวิทยุ</p>
<p>30. อธิคม คุณาวุฒิ - บรรณาธิการ</p>
<p>31. อธิป กลิ่นวิชิต - สื่อมวลชน</p>
<p>32. อัษฎาวุธ สาคริก - นักดนตรีและที่ปรึกษางานศิลปวัฒนธรรม</p>
<p>33. ผศ. อุรุพงศ์ รักษาสัตย์ - ผู้กำกับภาพยนตร์</p>
<p> </p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ขhttps://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2023/10/106216
 

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

นักข่าวหัวเห็ด แห่งเวบสุขใจ
อัพเดตข่าวทันใจ ตลอด 24 ชั่วโมง

>> http://www.SookJai.com <<
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
รายการข่าวออสซี่ ประกาศ มีการเปลี่ยนรูปแบบการนับเวลา
สุขใจ คลังความรู้ลวงโลก
หมีงงในพงหญ้า 0 2006 กระทู้ล่าสุด 25 พฤษภาคม 2553 20:41:50
โดย หมีงงในพงหญ้า
[ข่าวสังคม] - ประกาศ มท.เลื่อนเก็บภาษีที่ดิน 100% อีก 3 เดือน
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 187 กระทู้ล่าสุด 25 มิถุนายน 2565 08:36:12
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ไทยรัฐ] - โต๋-ไบรท์ แจ้งติดโควิด-19 ขออภัยทุกคนที่เกี่ยวข้อง ไก่ ภาษิต ติดด้วย
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 135 กระทู้ล่าสุด 04 กรกฎาคม 2565 22:11:57
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - 'พิธา' ประกาศ 'ก้าวไกล' พร้อมชนะกว้าง-ชนะลึก เตรียมสู้ศึก อบจ.
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 60 กระทู้ล่าสุด 25 พฤศจิกายน 2566 20:12:47
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - 'เชียงใหม่' ประกาศ 'พื้นที่ประสบสาธารณภัย' ในเขต 2 อำเภอ
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 47 กระทู้ล่าสุด 07 เมษายน 2567 02:13:59
โดย สุขใจ ข่าวสด
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.444 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 07 มีนาคม 2567 08:04:18