นักกิจกรรมยื่นหนังสือถึง UNDP-ผู้พิพากษานานาชาติ ช่วยส่งเสียงถึงศาลไทยต้องเป็นอิสระอย่างแท้จริง
<span class="submitted-by">Submitted on Thu, 2023-10-05 21:46</span><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>นักกิจกรรมยื่นหนังสือถึงที่ประชุมผู้พิพากษานานาติ สะท้อนปัญหาการดำเนินคดีการเมืองกับ ปชช. และความไม่เป็นกลางของกระบวนการยุติธรรม พร้อมเรียกร้องให้ต่างชาติร่วมส่งเสียงถึงศาลไทยต้องทำหน้าที่อย่างอิสระอย่างแท้จริง หลังช่วงที่ผ่านมาผู้ถูกคุมขังทางการเมืองพุ่งเป็น 35 ราย</p>
<p> </p>
<p>5 ต.ค. 2566 ผู้สื่อข่าวรายงานวันนี้ (5 ต.ค.) ที่โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ ชั้นที่ 22 ห้องสูต 1-4 ซึ่งโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) ได้มีการจัดงานประชุมผู้พิพากษานานาชาติ นักกิจกรรมทางการเมืองเพื่อประชาธิปไตยหลายคน เดินทางไปยื่นหนังสือเรียกร้องให้ผู้พิพากษาจากประเทศต่างๆ ที่เข้าร่วมประชุมดังกล่าวทั้งในอาเซียน และสหรัฐฯ ร่วมกันสนใจปัญหากระบวนการยุติธรรมในประเทศไทย และร่วมเรียกร้องให้ผู้พิพากษาในประเทศไทยเป็นอิสระอย่างแท้จริง โดยวันนี้มี Tomas Kvedaras เป็นตัวแทน UNDP รับหนังสือหน้าห้องประชุม</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="
https://live.staticflickr.com/65535/53236614344_571ac7affb_b.jpg" /></p>
<p>ทั้งนี้ รายละเอียดในหนังสือได้กล่าวถึงปัญหากระบวนการยุติธรรมว่า ตอนนี้ประชาชนไทยกำลังเผชิญกับความเสี่ยงที่สิทธิมนุษยชนของพวกเขากำลังถูกละเมิดในศาลไทย มีประชาชนจำนวนมากถูกจับ ถูกกล่าวหา ถูกคุมขัง และเต็มไปด้วยข้อกังขา พวกเขามองว่าศาลไทยตอนนี้ไม่มีความเป็นกลางในตัดสินคดีความ และขาดความเป็นอิสระอย่างแท้จริง พร้อมยกกรณีของผู้พิพากษา คณากร เพียรชนะ ที่พยายามพูดถึงปัญหาเรื่องนี้ และได้ทำการอัตวินิบาตกรรมในที่สุด</p>
<p>หนังสือระบุด้วยว่า ทางกลุ่มขอเรียกร้องให้นานาชาติร่วมเรียกร้องให้ผู้พิพากษาไทยทำหน้าที่อย่างอิสระจากระบบคอรัปชันและพยายามควบคุมพวกเขา ให้พวกเขาได้เป็นอิสระอย่างแท้จริง ให้ประชาชนทุกคนได้ต่อสู้คดีอย่างเต็มที่ต่อหน้าศาลไทย</p>
<p>“เมื่อไม่มีผู้พิพากษาที่เป็นอิสระ ประเทศไทยก็จะไม่มีวันเป็นอิสระอย่างแท้จริง” หนังสือ ระบุ</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">สะท้อนปัญหา เหรียญอีกด้านของกระบวนการยุติธรรมไทย</span></h2>
<p>ผู้สื่อข่าว สัมภาษณ์ กรกช แสงเย็นพันธ์ จากกลุ่มฟื้นฟูประชาธิปไตย หรือ DRG หลังยื่นหนังสือถึง UNDP โดยกรกช กล่าวว่า เขามายื่นหนังสือวันนี้เพราะอยากให้เรื่องของการคุมขัง และการตัดสินคดีที่ไม่เป็นธรรมต่อนักโทษการเมือง ได้เป็นประเด็นที่เวทีนานาชาติได้รับการพูดถึงด้วย และเข้าใจว่าในงานวันนี้มีผู้พิพากษาจากหลายประเทศเข้าร่วมการประชุมครั้งนี้ เราอยากให้ผู้พิพากษาได้เข้าร่วมการประชุมที่มาจากอาเซียน และทวีปอื่นๆ ได้เข้าใจสถานการณ์ทางการเมือง และปัญหาในระบบยุติธรรมไทยด้วย</p>
<div style="text-align: center;"><img alt="" src="
https://live.staticflickr.com/65535/53038764370_fdd5f8f98b_b.jpg" /></div>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#d35400;">กรกช แสงเย็นพันธุ์ เมื่อ 11 ก.ค. 2566 (ถ่ายโดยสหภาพคนทำงาน)</span></p>
<p>กรกช กล่าวเสริมว่า ปัญหาสำคัญตอนนี้ ผู้ถูกกล่าวหาคดีทางการเมืองเข้าไม่ถึงสิทธิการประกันตัวระหว่างถูกดำเนินคดี หรือคดียังไม่ถึงที่สิ้นสุด หลายๆ เคสเป็นคำพิพากษาจากศาลชั้นต้น และศาลอุทธรณ์มีคำสั่งไม่อนุญาตประกันตัวโดยใช้ข้ออ้างว่ามีพฤติการณ์หลบหนี ทั้งที่ตัวศาลระบุเงื่อนไขชัดเจนว่าไม่ให้ออกนอกประเทศ และตัวจำเลยก็มาตามนัดของศาลทุกครั้ง ท้ายที่สุด ศาลอุทธรณ์ก็ลงไม่ให้ประกันตัวหลายคดีที่เกิดขึ้น</p>
<p>สมาชิก DRG ระบุว่า อีกปัญหาที่อยากสะท้อนคือคดีมาตรา 112 ที่เขาต้องตกเป็นจำเลย กรณีอ่านจดหมายหน้าสถานทูตเยอรมนี เมื่อปี 2563 เราไม่สามารถเข้าถึงพยาน หรือหลักฐาน ที่โจทก์ฟ้อง อย่างในคดีนี้อัยการฟ้องเรา เนื่องจากเรากล่าวหาพระมหากษัตริย์ใช้อำนาจนอกราชอาณาจักร ซึ่งพอฝ่ายจำเลยจะขอเบิกพยานหลักฐานเรื่องการเดินทางเข้า-ออกของรัชกาลที่ 10 ก็ไม่สามารถนำสืบได้ เพราะว่าศาลจะอ้างตลอดว่าไม่เกี่ยวข้อง</p>
<p>กรกช กล่าวต่อว่า หลังจากไปยื่นหนังสือวันนี้ก็ได้รับความสนใจจากผู้เข้าร่วมประชุมจากต่างชาติ และทาง UNDP โดยมีการเข้ามารับหนังสือ และบอกกับนักกิจกรรมว่า ‘ดีใจที่นักกิจกรรมมาร่วมงานวันนี้ด้วย’ นอกจากนี้ ทาง UNDP อยากคุยกับนักกิจกรรมต่อประเด็นที่มายื่นหนังสือวันนี้เพิ่มเติม</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมผลักดัน พ.ร.บ.นิรโทษกรรม</span></h2>
<p>กรกช กล่าวว่า สำหรับกลุ่มฟื้นฟูประชาธิปไตย (DRG) นั้น เขาอยากผลักดัน พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ผู้ที่ออกมาแสดงความเห็นทางการเมือง เพราะตนมองว่าตั้งแต่ปี 2563 มันเป็นนิติสงครามที่ใช้กับประชาชนอย่างตรงไปตรงมา และในเวลาที่เราไม่สามารถพึ่งพาอำนาจตุลาการได้แล้ว เราอยากให้อำนาจนิติบัญญัติรักษาความเป็นธรรมในระบอบประชาธิปไตย ด้วยเช่นกัน</p>
<p>สำหรับวันนี้พรรคก้าวไกล นำโดย ชัยธวัช ตุลาธร ได้ยื่นร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม เข้าสู่รัฐสภา สมาชิก DRG มองว่าเป็นการทำหน้าที่ที่ดี และอยากเชิญชวนพรรคการเมืองอื่นๆ ในฝากฝ่ายประชาธิปไตยร่วมกันสนับสนุนให้ผ่าน และให้ประชาชนได้เข้าไปมีส่วนร่วมว่าเราจะนิรโทษกรรมกันอย่างไร ทั้งในเชิงหลักการ หรือขอบเขตการบังคับใช้กฎหมายฉบับนี้ให้ชัดเจน นอกจากหน้าที่ของนักการเมืองแล้ว อยากให้สังคม และฝ่ายตุลาการ ได้เข้าไปมีส่วนด้วยกับประเด็นนี้ </p>
<p>“ผมคิดว่าบางทีอาจจะไม่จำเป็นต้องเป็นหน้าที่ของฝ่ายนิติบัญญัติอย่างเดียวก็ได้ ถ้าฝ่ายตุลาการมีความเห็นมิติอื่นๆ แบบที่มองว่าตัวกฎหมายมีปัญหาในบริบทปัจจุบัน ผมคิดว่าตุลาการสามารถพูดได้เช่นกัน</p>
<p>“ท้ายที่สุดอยากเรียกร้องให้กระบวนการยุติธรรมของไทยใช้หลักสิทธิมนุษยชนสากลมาประกอบการตัดสินใจด้วย ถ้าดูกฎหมายอย่างเดียวจะไม่มีมาแสดงออกทางการเมืองได้เลย” กรกช กล่าวทิ้งท้าย</p>
<p>ทั้งนี้ รายงานจากศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน เปิดเผยว่า นับตั้งแต่เดือน ก.ย. 2566 ที่ผ่านมา มีผู้ถูกคุมขังจากคดีที่เกี่ยวข้องกับการแสดงออกทางการเมือง เพิ่มเป็น 35 ราย หรือเพิ่มขึ้น 6 ราย เมื่อเทียบกับเดือน ส.ค.ที่ผ่านมา โดยแบ่งเป็น คดีที่สิ้นสุดแล้ว จำนวน 10 ราย และระหว่างสู้คดีอีก 25 ราย</p>
<p>ในจำนวนนี้แบ่งเป็นคดีที่สิ้นสุดแล้ว จำนวน 10 ราย ได้แก่ มาตรา 112 (อัญชัญ ปรีเลิศ ปริทัศน์ และ เมธิน) พ.ร.บ.คอมฯ (ศุภากร และเอกชัย หงส์กังวาน) คดีทะลุแก๊ส (ทัตพงศ์ สุวิทย์ และณัฐชนน) และสหพันธรัฐไท (กฤษณะ และวรรณภา)</p>
<p>ขณะที่คดีที่ยังไม่สิ้นสุด หรืออยู่ในระหว่างชั้นสอบสวน จำนวน 19 ราย โดยแบ่งเป็น คดีมาตรา 112 จำนวน 10 ราย และและที่เหลือเป็นคดีจากการถูกกล่าวหาจากการชุมนุม เผารถตำรวจ ครอบครองวัตถุระเบิด (ระเบิดปิงปอง) และปาระเบิด (ระเบิดปิงปอง) อีก 15 ราย</p>
<p style="text-align: center;">
<iframe allow="autoplay; clipboard-write; encrypted-media; picture-in-picture; web-share" allowfullscreen="true" frameborder="0" height="250" scrolling="no" src="
https://www.facebook.com/plugins/post.php?href=https%3A%2F%2Fwww.facebook.com%2Flawyercenter2014%2Fposts%2Fpfbid0YgoR29xcN3cjcnbMSo97U95GxZqTEHEdikYr4mbvzT2UpHv5wdgbEQrnRU357H2Nl&show_text=true&width=500" style="border:none;overflow:hidden" width="500"></iframe></p>
<div class="note-box">
<h2><span style="color:#2980b9;">รายละเอียดหนังสือ</span></h2>
<p>ถึง ผู้พิพากษาทุกคนในโลกใบนี้</p>
<p>ในวันนี้เรายืนอยู่ต่อหน้าท่านในขณะที่ UNDP กรุงเทพฯ กำลังจัดงานร่วมกับสำนักงานศาลยุติธรรมของประเทศไทย ในงาน Evolving Justice: ASEAN judge conference ซึ่งมีจุดประสงค์ที่จะพัฒนาเป็นเวทีซึ่งทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และการพูดคุยถกเถียงเป็นสำคัญเกี่ยวกับพลวัตรในกระบวนการทางกฎหมาย เช่น การพัฒนาระบบกระบวนการยุติธรรม บทบาทของผู้พิพากษาในการพัฒนาความเท่าเทียมทางเพศ และบทบาทของผู้พิพากษาในการสร้างสิ่งแวดล้อมที่ยุติธรรม, เทคโนโลยีที่กำลังเกิดขึ้นในศาล และกระบวนการความเป็นธรรมที่เอาประชาชนเป็นศูนย์กลาง ซึ่งเราก็คาดหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะเป็นประโยชน์ต่อกระบวนการยุติธรรมของอาเซียน</p>
<p>ระหว่างที่เรื่องนี้กำลังเกิดขึ้นในกรุงเทพมหานคร คนไทยกำลังเผชิญกับความเสี่ยงที่สิทธิมนุษยชนของเขากำลังถูกละเมิดในศาลไทย มีประชาชนคนไทยถูกจับ ถูกกล่าวหา และถูกจำคุกกักขัง อย่างรุนแรงและเป็นข้อกังขา โดยปราศจากความโปร่งใสและปราศจากความเป็นกลาง ต่อหน้าบุคคลที่เรียกตนเองว่าเป็นผู้พิพากษา ซึ่งได้สาบานตนว่าจะนำความยุติธรรมมาให้กับสังคมไทย </p>
<p>ผู้พิพากษาไทย กำลังประสบกับสภาวะที่ขาดความเป็นกลาง และขาดความเป็นอิสระอย่างแท้จริง มีผู้พิพากษาพยายามจะพูดเรื่องนี้ และสุดท้ายได้ยิงตนเองในห้องพิจารณา โดยในที่สุดได้ทำการอัตวินิบาตกรรม เมื่อไม่มีผู้พิพากษาที่เป็นอิสระ ประเทศไทยก็จะไม่มีวันเป็นอิสระอย่างแท้จริง</p>
<p>เพราะฉะนั้นแล้ว เราขอสนับสนุนให้ท่านทุกคนในห้องนี้ซึ่งได้สาบานตนต่อประชาชนของท่าน และได้สาบานตนภายใต้นามแห่งความยุติธรรมว่าจะปกป้องสิทธิ์และศักดิ์ศรี เกียรติยศในฐานะผู้พิทักษ์ความยุติธรรม ให้ไปทำการสนับสนุนและเสนอให้ผู้พิพากษาไทย ทำตนเองให้เป็นอิสระจากระบบที่คอรัปชั่น และพยายามที่จะควบคุมพวกเขา เพื่อให้คนเหล่านี้ เป็นอิสระอย่างแท้จริง และทำให้คนไทยทุกคน เท่าเทียมกัน</p>
<p>เพื่อให้คนทุกคนมีสิทธิ์ในการต่อสู้คดีอย่างเต็มที่ต่อหน้าศาลไทย</p>
<p>ด้วยความเคารพและด้วยความสัตย์จริง,</p>
<p>จาก เหยื่อของกระบวนการยุติธรรม</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="
https://live.staticflickr.com/65535/53236545883_eb173bf811_b.jpg" /></p>
</div>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ข
https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์
https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
https://prachatai.com/journal/2023/10/106224