[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
07 มิถุนายน 2567 22:29:15 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - พ่อตายอายุน้อย แม่พิการยามแก่ ลูกอายุสั้นเพราะยาเสพติด ชีวิตไร้อนาคตในชุมชนป  (อ่าน 75 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
สุขใจ ข่าวสด
I'm Robot
สุขใจ บอทนักข่าว
นักโพสท์ระดับ 15
****

คะแนนความดี: +101/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Italy Italy

กระทู้: มากเกินบรรยาย


บอท @ สุขใจ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 19 ตุลาคม 2566 09:01:58 »

พ่อตายอายุน้อย แม่พิการยามแก่ ลูกอายุสั้นเพราะยาเสพติด  ชีวิตไร้อนาคตในชุมชนประมงขนาดเล็กในปัตตานี
 


<span class="submitted-by">Submitted on Thu, 2023-10-19 07:42</span><div class="field field-name-field-byline field-type-text-long field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><p>อลิสา หะสาเมาะ</p>
<p> </p>
</div></div></div><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>ณ หมู่บ้านประมงขนาดเล็กแห่งหนึ่งในจังหวัดปัตตานี สภาพบ้านชั้นเดียว หลังคาสังกะสีที่เต็มไปด้วยรูโหว่ขนาดใหญ่ มีฝาไม้เป็นผนังแต่ก็เต็มไปด้วยความเก่าและผุพัง ในบ้านแทบจะไม่มีเฟอร์นิเจอร์อะไรที่ดูมีค่า นอกจากหม้อหุงข้าว มุ้งเก่า และพัดลม ถึงแม้ว่าจะมีห้องน้ำแต่ก็ไม่มีประตู ทางเข้าบ้านเป็นโคลนเลน มีเพียงหินและปูนซีเมนต์เล็กๆ กั้นไว้เป็นทางเดิน</p>
<p>บ้านของนางปิ (นามสมมติ) ตั้งอยู่ใกล้ริมทะเลอ่าวไทย ครั้นเกิดพายุใหญ่จะต้องอพยพไปอยู่ในโรงเรียนเพื่อความปลอดภัย หมู่บ้านแห่งนี้ได้รับผลกระทบจากการกัดเซาะชายฝั่งมาแล้ว 70 ปี เคยมี 4 หมู่บ้าน แต่ต้องจมหายไปอยู่ใต้ท้องทะเล ชาวประมงที่เหลือจึงต้องถอยร่นเข้ามาอยู่ในผืนดินมากขึ้น ในพื้นที่ที่ถูกประกาศภายหลังว่าเป็นป่าอนุรักษ์ชายเลน </p>
<p>ฉันได้เข้าไปคุยกับนางปิ หญิงชราอายุ 62 ปี ผิวสีคล้ำ รูปร่างผอม ที่พยายามพยุงร่างที่บอบช้ำจากการลื่นหกล้มหน้าบ้านเมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา </p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53248492596_16e33171b2_o_d.png" />
<span style="color:#2980b9;">สภาพบ้านนางปิ ก่อนจะซ่อมแซมด้วยเงินฌาปนกิจลูกชายคนโต ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2566</span></p>
<p>ยาม่วงแต้มบริเวณฝามือ และเท้า ที่เต็มไปด้วยบาดแผล ทำให้ฉันตกใจจนต้องถามถึงสาเหตุของบาดแผลและยาม่วงเหล่านี้ นางปิ ตอบว่า “ฉันลื่นหกล้มที่หน้าบ้าน ฝนมันตก” นอกจากอาการบาดเจ็บที่เกิดขึ้นจากอุบัติเหตุแล้ว สิ่งที่ทำให้ฉันสะเทือนใจคือ นางปิ ยังเจ็บป่วยเรื้อรังจากหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ที่เกิดจากอาชีพการแปรรูปปลา และซ่อมอวน</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53248788843_ac2fed8681_o_d.png" /></p>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#2980b9;">สภาพบาดแผลและยาม่วงที่มือ</span></p>
<p><span style="color:null;">ท่านั่งกับพื้นปูน และเก้าอี้เตี้ย ตลอดทั้งวัน ตั้งแต่ช่วงวัยรุ่น ส่งผลให้ปัจจุบัน สภาพร่างกายของผู้หญิงชาวประมงขนาดเล็กในหมู่บ้านแห่งนี้ป่วยเป็นโรคกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท เพราะความยากจน รายได้น้อย จึงต้องทำงานหนักตลอดทั้งวัน ถึงแม้ว่าชีวิตจะไม่ได้ทำงานอยู่ในโรงงาน แต่สภาวะความยากจนเรื้อรังซ้ำซาก ทำให้การใช้ชีวิตแทบจะไม่ต่างอะไรกับผู้หญิงที่ต้องทำงานอยู่ในโรงงานนรก</span></p>
<p style="text-align: center;"><span style="color:null;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53248492721_a826268497_o_d.png" /></span></p>
<p>ความยากจนยังทำให้สามีของผู้หญิงหลายคนในหมู่บ้านต้องทำงานหนัก และได้รับการศึกษาที่ไม่สูงมากนัก แต่ด้วยบทบาทความเป็นผู้นำครอบครัว ผู้ชายในหมู่บ้านจึงต้องประกอบอาชีพทุกอย่างที่ขวางหน้า ทำงานหามรุ่งหามค่ำ ตระเวณไปตามจังหวัดและพื้นที่ต่างๆ เพื่อให้ได้เงินมาจุนเจือครอบครัว ถึงแม้ว่าส่วนใหญ่จะมีการศึกษาน้อย รวมทั้งยากจน แต่หลายคนเป็นคนดี ขยันขันแข็ง บางคนจึงต้องทำงานมากกว่า 3 อย่าง ใน 1 วัน </p>
<p>ในอดีต โครงการพัฒนาเข้าไม่ถึงพื้นที่ชายขอบแบบนี้ เพราะคนที่นี้พูดภาษาไทยไม่ได้ และข้าราชการไทยส่วนใหญ่ไม่สามารถพูดภาษาท้องถิ่นได้เช่นเดียวกัน ส่วนระบบการศึกษาที่มีการพัฒนามาจากกรุงเทพและผู้คนในแถบลุ่มน้ำเจ้าพระยา ระบบการศึกษาจากส่วนกลางจึงไม่สอดคล้องกับวิถีชีวิตของคนประมงที่ขึ้นอยู่กับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในแบบชีวิตบนท้องทะเลและชายฝั่ง เด็กๆ ในหมู่บ้านจะต้องไปช่วยพ่อแม่จับสัตว์น้ำ เมื่อถึงฤดูกาล หรือต้องเดินทางไปพร้อมกับพ่อแม่ที่ต้องทำงานรับจ้างตามจังหวัดอื่นๆ</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53248492511_f780f96e8d_o_d.png" />
<span style="color:#2980b9;">เรือประมงขนาดเล็ก</span></p>
<p>ผืนดินบริเวณแห่งนี้เคยอุดมสมบูรณ์มาก หลักฐานเชิงประจักษ์คือปล่องไฟสำหรับสีข้าว ที่เคยมีทุ่งนาและป่าไม้โกงกางอยู่เต็มดาษดื่น แต่เมื่อมีถนนและการพัฒนาเข้าถึง ป่าชายเลนเริ่มหาย โดยมีบ้านและสิ่งปลูกสร้างขึ้นมาแทนที่ ขยายตาม 2 ฝั่งที่ถนนตัดผ่าน นายทุนกว้านซื้อที่ดินที่ไม่เคยได้อยู่อาศัย ปล่อยทิ้งร้าง ขนาบข้าง ทำให้ชาวประมงพื้นบ้านขนาดเล็ก ถูกบีบให้อยู่ในพื้นอัดแคบลง ทำให้ลักษณะทางภูมิศาสตร์มีสภาพไม่แตกต่างจากสลัม</p>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#2980b9;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53247615452_a86d940fed_o_d.png" />
ภาพขอบเขตแผนที่หมู่บ้านที่ได้รับการอนุญาติให้อยู่อาศัย แต่ไม่สามารถซื้อขายได้</span></p>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#2980b9;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53247615577_16bf2d7627_o_d.png" style="width: 399px; height: 532px;" />
สภาพขยะในหมู่บ้าน</span></p>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#2980b9;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53248492536_b5ffe41390_o_d.png" />
ป่าชายเลนในหมู่บ้าน</span></p>
<p>ชาวประมงพื้นบ้านขนาดเล็ก ไม่ได้ไปเรียนหนังสือเพราะไม่มีเงินซื้ออาหารกลางวัน โครงการอาหารกลางวันฟรีที่กระจายครอบคลุมทุกพื้นที่ มาทีหลังเมื่อปีงบประมาณ พ.ศ. 2546<a href="#1"><sup>[1] </sup>[/url] เด็กๆ ในยุคนั้นจึงไม่ได้เรียน </p>
<p>การเข้าไม่ถึงระบบการศึกษา นำไปสู่ความยากลำบากในการเลื่อนฐานะทางสังคม ภาวะความยากจนจึงเป็นสิ่งที่ยากจะหลีกเลี่ยง</p>
<p>ผู้ชายชาวประมงในหมู่บ้านแห่งนี้ส่วนมาก ไม่มีเรือเป็นของตัวเอง ต้องไปเป็นลูกเรือของเพื่อนที่เป็นเจ้าของเรือ ออกทะเลช่วงเวลา 5-6 โมงเย็น และเดินทางกลับเข้าฝั่งอีกทีตอนหัวเช้า ประมาณ ตี 5 – 6 โมงเช้า แต่ไม่ทุกวันที่เรือจะโชคดีได้ปลา บางวันไม่ได้ปลาสักตัวก็มีและเริ่มบ่อยครั้ง </p>
<p>ชาวประมงพื้นบ้านยากจนจะมีวิธีจับปลาที่ต่างจากชาวประมงร่ำรวย พวกเขาจะใช้ความรู้และความคุ้นชินกับฤดูกาลในท้องทะเล ส่วนชาวประมงร่ำรวยบนเรือมีโซนาร์ที่สามารถค้นหาปลาได้อย่างแม่นยำ แน่นอนว่าชาวประมงพื้นบ้านยากจนหลายครั้งกลับบ้านมือเปล่าก็มี</p>
<p>ชายชาวประมงที่ไม่มีเรือ จะใช้แห หรือเบ็ด หาปลาตามริมชายหาด เอามาให้ภรรยาแปรรูปเป็นปลาตากแห้ง เพื่อนำไปขายในตลาดอีกทอดหนึ่ง</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53247615492_92890aee55_o_d.png" />
<span style="color:#2980b9;">ปลาตากแห้ง </span></p>
<p>วิถีชีวิตของผู้ชายชาวประมงพื้นบ้านเมื่อถึงฝั่ง จะนอนพักสัก 2-3 ชั่วโมง ก่อนเริ่มกิจกรรมการซ่อมอวนในท่านั่งขัดสมาดประมาณ 7 โมงเช้า ส่วนภรรยาจะบริการน้ำชา ที่เขี่ยบุหรี่ อาหาร ไว้พร้อมข้างกาย กิริยาดังกล่าว แทบจะทำให้ไม่ต้องลุกออกจากที่เดิม เพื่อไปยืดเส้นยืดสายที่ไหน สุดท้ายหลายคนเกิดภาวะพิการกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท และกลายเป็นผู้ป่วยติดเตียง แต่ผู้ชายชาวประมงแห่งนี้จะไม่นิยมเดินทางไปตรวจสุขภาพเพราะความหวาดกลัว ประกอบกับการทำงานหนักหลายอย่าง จึงป่วยด้วยโรคเบาหวาน ความดัน หอบหืด และมีอายุขัยโดยเฉลี่ยเพียงประมาณ 50 ปี เท่านั้น</p>
<p>ผู้หญิงชาวประมงในหมู่บ้านแห่งนี้ จำนวนไม่น้อยเรียนจบเพียงประถมศึกษาปีที่ 2 เพราะต้องตระเวณตามแม่ที่ยากจน ไปทำงานยังหมู่บ้านและจังหวัดอื่นเป็นเวลากว่า 2-3 ปี หรือมากกว่า ทำให้ขาดโอกาสในการเรียนหนังสือ ถึงแม้ว่าจะอยู่ในวัยศึกษาก็ตาม จนเกิดเป็นภาวะการอ่านไม่ออก เขียนหนังสือไม่ได้ บางคนเขียนได้แค่ชื่อตัวเองพอเป็นลายเซ็นเวลาไปธนาคาร นับเงินได้เพียงรู้แค่สีของกระดาษเท่านั้น</p>
<p>เนื่องจากการศึกษาน้อยและแต่งงานกับสามีที่มีสภาพไม่แตกต่างกัน เมื่อมีลูก ลูกก็ขาดโอกาสในชีวิต เพราะพ่อแม่ ไม่มีความสามารถให้เรียนหนังสือในระดับที่สูงกว่าประถมศึกษา ดังนั้นเมื่อถึงเวลาที่ลูกๆ เติบโตเข้าสู่ช่วงวัยรุ่น จึงได้เรียนหนังสือเพียงประถมศึกษาตอนปลาย หรือมัธยมศึกษาตอนต้น หลายคนต้องออกจากโรงเรียน แต่งงาน และเดินทางไปทำงานในประเทศมาเลเซีย </p>
<p>ด้วยวัฒนธรรมของชาวประมงในพื้นที่แห่งนี้ หลายคนจึงแต่งงานเมื่ออายุยังน้อย เพียง 13-15 ปี บางคนพ่อแม่จับให้แต่งงานและไม่ให้เรียนหนังสือ เพียงแค่ลูกของเพื่อนบ้านมีแฟน ทำให้โอกาสในการเรียนหนังสือที่ริบหรี่อยู่แล้ว กลับมืดบอดสนิท หมดโอกาสในการเลื่อนสถานะทางสังคม ครั้นเมื่อมีลูก จึงไม่สามารถส่งเสียให้เรียนจบการศึกษาภาคบังคับได้เช่นกัน วัฎจักรของความยากจนข้ามรุ่นจึงถูกผลิตซ้ำ และยากที่จะหลีกหนี</p>
<p>นางปิ นอกจากเสียสามีในช่วงวัยสาวแล้ว ลูกชาย 2 คน ที่เคยเป็นเด็กเรียนดีตั้งใจเรียน แต่ขาดโอกาสในการศึกษาต่อ เพราะสภาพทางบ้านที่อัตคัต ยากจนแสนสาหัส ต้องเดินทางไปทำงานในประเทศมาเลเซีย แต่ก็ติดยาเสพติดอย่างหนัก จนทำงานไม่ได้และต้องกลับมาอยู่กับแม่ในหมู่บ้าน </p>
<p>ลูกชายคนโตของนางปิ พึ่งเสียชีวิตเมื่อต้นปี พ.ศ. 2563 ที่ผ่านมา เพราะยาเสพติดทำลายสมองจนกลายเป็นคนสติไม่ดี ซึ่งมักจะเดินไปเรื่อยเปื่อยตามหมู่บ้านอื่น ขณะนั่งเล่นอยู่บนเกาะกลางถนน แต่โชคร้ายถูกรถพ่วงทับจนเสียชีวิตคาที่ ส่วนลูกชายคนที่ 2 ไม่สามารถทำงานได้ เนื่องจากสมองสูญเสียความสามารถจากยาเสพติดเช่นเดียวกัน แต่ยังพอพึ่งพาให้อยู่เป็นเพื่อนแม่ในหมู่บ้าน </p>
<p><strong>ตอนนี้นางปิ ซ่อมแซมบ้านที่อยู่อาศัยใหม่จากเงินสงเคราะห์ชดเชยของลูกชายที่ถูกรถพ่วงทับ แต่อนาคตของครอบครัวนี้มืดดับ เนื่องจากทั้งสามี และลูกชายคนโตได้เสียชีวิตไปแล้ว ส่วนนางปิและลูกชายคนเล็ก มีเพียงการทำงานเล็กน้อยพอประทังชีวิตเพื่อซื้อข้าวสารกรอกหมอ และได้แต่เพียงรอวันหมดลมหายใจ สิ้นเฮือกสุดท้าย ตายในหมู่บ้านแห่งนี้ โดยได้แต่ขอพรจากพระเจ้าให้ไปอยู่ในโลกหน้ากับพระองค์ ที่เชื่อว่าหากมีศรัทธาที่มั่นคง พระองค์จะมอบชีวิตที่ดีแตกต่างจากโลกบัดซบที่อาศัยอยู่ในปัจจุบัน</strong></p>
<p> </p>
<p>อ้างอิง</p>
<p><a id="1" name="1">[1][/url] สำนักงานกองทุนเพื่อโครงการอาหารกลางวัน. (2017). ความเป็นมาของกองทุนเพื่อโครงการอาหารกลางวัน. http://www.obecschoollunch.com/history/</p>
<p> </p>
<div class="note-box">
<p><strong>หมายเหตุ: </strong>จากบทความเดิมชื่อ พ่อตายอายุน้อย แม่พิการยามแก่ ลูกอายุสั้นเพราะยาเสพติด ชีวิตไร้อนาคตในชุมชนประมงขนาดเล็กในปัตตานี</p>
</div>
<p style="text-align: center;"> </p>
<p> </p>
<p style="text-align: center;"> </p>
<p style="text-align: center;"> </p>
<p style="text-align: center;"> </p>
<p style="text-align: center;"> </p>
<p style="text-align: center;"> </p>
<p> </p>
<p> </p>
<p style="text-align: center;"> </p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">บทควhttps://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2023/10/106422
 

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

นักข่าวหัวเห็ด แห่งเวบสุขใจ
อัพเดตข่าวทันใจ ตลอด 24 ชั่วโมง

>> http://www.SookJai.com <<
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
[ข่าวมาแรง] - ศาลอนุมัติหมายจับเจ้าของโกดังเก็บดอกไม้เพลิงมูโนะ
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 506 กระทู้ล่าสุด 02 สิงหาคม 2566 14:49:17
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - องค์กรพิทักษ์สัตว์เรียกร้องให้เพิ่มเรื่องสวัสดิภาพสัตว์และห้ามใช้ยาปฏิชีวน
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 548 กระทู้ล่าสุด 05 สิงหาคม 2566 15:31:10
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - คาดแบงก์พาณิชย์ไทยปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยตามอัตราดอกเบี้ยนโยบาย กนง.
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 423 กระทู้ล่าสุด 06 สิงหาคม 2566 18:04:42
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - ประเทศไทยกำลังเดินถอยหลังเรื่องความคุ้มครองความยากจนผู้สูงอายุ
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 436 กระทู้ล่าสุด 17 สิงหาคม 2566 17:55:22
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - เผยนักกิจกรรมชายแดนใต้ถูกคุกคามหลังไลฟ์สดการปิดล้อม
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 321 กระทู้ล่าสุด 20 สิงหาคม 2566 15:35:02
โดย สุขใจ ข่าวสด
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.132 วินาที กับ 29 คำสั่ง

Google visited last this page 02 มิถุนายน 2567 02:47:28