[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
06 กรกฎาคม 2568 20:56:22 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - สช. ชวนภาคีสร้างนโยบายสาธารณะฯ บริหาร ‘ทรัพยากรน้ำ’ ด้วยกลไกระดับพื้นที่  (อ่าน 193 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
สุขใจ ข่าวสด
I'm Robot
สุขใจ บอทนักข่าว
นักโพสท์ระดับ 15
****

คะแนนความดี: +101/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Italy Italy

กระทู้: มากเกินบรรยาย


บอท @ สุขใจ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 21 ตุลาคม 2566 11:02:49 »

สช. ชวนภาคีสร้างนโยบายสาธารณะฯ บริหาร ‘ทรัพยากรน้ำ’ ด้วยกลไกระดับพื้นที่
 


<span class="submitted-by">Submitted on Sat, 2023-10-21 10:18</span><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>สช. ชักชวนภาคีเครือข่ายร่วมให้ความคิดเห็นนโยบายสาธารณะ ประเด็น “การส่งเสริมความเข้มแข็งกลไกการบริหารจัดการน้ำเชิงพื้นที่” หนึ่งในมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 16 เตรียมเข้าสู่การรับรองร่วมกันปลายปีนี้ มุ่งเป้าลดความเหลื่อมล้ำ-สร้างความเป็นธรรมการใช้น้ำ หนุนเสริมความเข้มแข็งกลไกการจัดการในระดับพื้นที่</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/1843/44683040192_5d9566bbce_k_d.jpg" />
<span style="color:#f39c12;">แฟ้มภาพ</span></p>
<p>เมื่อวันที่ 18 ต.ค. 2566 สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) จัดเวทีรับฟังความคิดเห็นเพื่อการพัฒนานโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วม ประเด็น “การส่งเสริมความเข้มแข็งกลไกการบริหารจัดการน้ำเชิงพื้นที่” ซึ่งเป็นเวทีการสื่อสาร รับฟัง และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในประเด็นที่จะนำไปพัฒนาเป็นระเบียบวาระภายในงานสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 16 โดยมีองค์กร หน่วยงาน ภาคีเครือข่าย เข้าร่วมทั้งในห้องประชุมและผ่านระบบออนไลน์</p>
<p>รศ.ดร.บัญชา ขวัญยืน ประธานคณะทำงานพัฒนาประเด็นการส่งเสริมความเข้มแข็งกลไกการบริหารจัดการน้ำเชิงพื้นที่ เปิดเผยว่า ‘น้ำ’ คือทรัพยากรที่มีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งต่อประชาชนทุกคน ทั้งในแง่ของการอุปโภคบริโภคเพื่อดำรงชีวิต ไปจนถึงประโยชน์เชิงเศรษฐกิจ การเพาะปลูก การเกษตร ฯลฯ แต่ทุกคนกลับไม่สามารถเข้าถึงทรัพยากรน้ำได้อย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน โดยเฉพาะกลุ่มคนยากจน กลุ่มคนเปราะบางในสังคม หรือชุมชนนอกเขตชลประทาน จึงนำมาสู่ความเหลื่อมล้ำและปัญหาเกิดขึ้นในหลากหลายมิติ ทั้งมิติทางสังคม เศรษฐกิจ สุขภาพ สิ่งแวดล้อม ฯลฯ</p>
<p>รศ.ดร.บัญชา กล่าวว่า ที่ผ่านมา มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการน้ำจำนวนมาก ซึ่งแต่ละหน่วยงานต่างรับผิดชอบการดำเนินงานตามแผนงานของตนเอง ความท้าทายจึงเป็นเรื่องการจัดสรรและประสานหน่วยงานต่างๆ เพื่อเข้ามาร่วมกันบริหารจัดการน้ำให้ครอบคลุมทุกมิติ โดยเฉพาะการหนุนเสริมให้เกิดการบริหารจัดการน้ำในระดับพื้นที่ ชุมชน ท้องถิ่น ก็เป็นอีกส่วนสำคัญที่มีความจำเป็นเร่งด่วน เพื่อยกระดับการแก้ไขปัญหาด้านทรัพยากรน้ำให้เกิดความยั่งยืน</p>
<p>ทั้งนี้ สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ คืออีกหนึ่งกลไกสำคัญของการพัฒนานโยบายสาธารณะ ด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ภาควิชาการ และภาคประชาชน สามารถช่วยผลักดันข้อเสนอหรือประเด็นสำคัญของสังคม สู่การกำหนดนโยบายในระดับชาติที่ตอบสนองพื้นที่ได้ ภายใต้การใช้ความรู้เป็นฐานและการแสวงหาทางออกร่วมกันอย่างสมานฉันท์ ดังนั้นจึงได้มีการบรรจุเรื่องนี้ให้เป็นหนึ่งในระเบียบวาระเพื่อหาฉันทมติร่วมกัน ในเวทีสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ปี 2566 นี้</p>
<p>“การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ โดยเฉพาะการส่งเสริมความเข้มแข็งในกลไกเชิงพื้นที่ สนับสนุนให้องค์กรผู้ใช้น้ำสามารถร่วมบริหารจัดการน้ำได้อย่างเข้มแข็ง จะเป็นส่วนที่ช่วยลดความเหลื่อมล้ำและสร้างความเป็นธรรมในสังคมได้ ซึ่งการขับเคลื่อนกระบวนการนโยบายสาธารณะผ่านสมัชชาสุขภาพ จะเป็นพื้นที่กลางการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อหนุนเสริมการพัฒนากลไกและบริหารจัดการทรัพยากรน้ำทั้งระบบ” รศ.ดร.บัญชา กล่าว</p>
<p>ขณะที่ ดร.พงศกร กาวิชัย คณะทำงานและผู้ช่วยเลขานุการคณะทำงานพัฒนาประเด็นการส่งเสริมความเข้มแข็งกลไกการบริหารจัดการน้ำเชิงพื้นที่ กล่าวว่า ภาพรวมปัญหาทรัพยากรน้ำของประเทศไทย มีทั้งการขาดแคลนน้ำ น้ำท่วม น้ำเสีย น้ำเค็ม การแย่งใช้น้ำ ฯลฯ ซึ่งเกิดขึ้นจากสาเหตุต่างๆ ทั้งโดยธรรมชาติและการบริหารจัดการที่ขาดประสิทธิภาพ ขณะที่โจทย์ของการลดความเหลื่อมล้ำ คือทำอย่างไรให้ชุมชนเกิดความเข้มแข็งในการบริหารจัดการน้ำและทรัพยากรท้องถิ่น และสามารถขยายผลกลไกการมีส่วนร่วมจากระดับท้องถิ่น ตำบล ขึ้นไปสู่ระดับจังหวัด เชื่อมโยงกับกลไกบริหารจัดการจากบนลงล่างที่เป็นไปตาม พ.ร.บ.ทรัพยากรน้ำ พ.ศ. 2561
ทั้งนี้ จากการประมวลผลช่องว่างและความท้าทายในสถานการณ์น้ำของประเทศ ที่จะลดความเหลื่อมล้ำและสร้างความเป็นธรรมให้ประชาชนทุกกลุ่ม พบว่ามีช่องว่างต่างๆ เช่น ขาดการสนับสนุนให้เกิดองค์กรจัดการน้ำระดับพื้นที่ที่ชุมชนมีบทบาทเป็นเจ้าของน้ำและบริหารจัดการน้ำร่วมกับท้องถิ่น ขาดการส่งเสริมศักยภาพองค์กรผู้ใช้น้ำ ขาดความพยายามกระจายอำนาจการจัดการน้ำ ตลอดจนขาดโครงสร้างองค์กรบริหารจัดการน้ำระดับชุมชนหรือตำบล เป็นต้น</p>
<p>ดร.พงศกร กล่าวว่า ในเบื้องต้นทางคณะทำงานจึงได้วางกรอบทิศทางนโยบายของมติสมัชชาฯ นี้ โดยมีสาระสำคัญของข้อเสนอที่ประกอบด้วย 1. หนุนเสริมกระบวนการสร้างความเข้มแข็งต่อกลไกการบริหารจัดการน้ำเชิงพื้นที่ 2. ผลักดันให้เกิดการบูรณาการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำตามความต้องการของพื้นที่ 3. ส่งเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำแบบองค์รวมเพื่อโอกาสการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน/ท้องถิ่น 4. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมบริหารจัดการน้ำเสียและสิ่งแวดล้อมระดับพื้นที่ 5. ส่งเสริม ฟื้นฟู ปรับปรุง อนุรักษ์ รวมถึงการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ประโยชน์ระบบเส้นทางน้ำชุมชน</p>
<p>ด้าน นพ.สมชาย พีระปกรณ์ ประธานคณะอนุกรรมการกำกับ สนับสนุน และเชื่อมโยงกระบวนการสมัชชาสุขภาพ กล่าวว่า เรื่องของการจัดการทรัพยากรน้ำในระดับประเทศถือเป็นเรื่องที่ใหญ่ และมีความยากซับซ้อน ทั้งยังเป็นประเด็นที่มีแนวโน้มอาจก่อให้เกิดความขัดแย้งรุนแรงได้ ดังนั้นเวทีสมัชชาสุขภาพจึงจะเป็นพื้นที่กลางให้ฝ่ายผู้กำหนดนโยบายและภาคประชาชนได้เข้ามาร่วมพูดคุยกัน เพื่อสร้างนโยบายสาธารณะที่มีความคมชัดและครบถ้วน เป็นข้อเสนอที่จะส่งตรงถึงคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปเป็นแนวทางปฏิบัติได้ต่อไป</p>
<p>นพ.สมชาย กล่าวว่า ในส่วนของความคิดเห็นและข้อเสนอต่างๆ ที่รวบรวมได้จากการประชุมครั้งนี้ จะยังคงเปิดรับเพิ่มเติมต่อไปจนถึงวันที่ 25 ต.ค. 2566 โดยทางคณะทำงานจะนำมารวบรวมและปรับปรุงจนได้ร่างมติที่มีความชัดเจนและครบถ้วน หลังจากนั้นจะนำเอกสารร่างมติที่สมบูรณ์เข้าสู่การประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ประเด็นการส่งเสริมความเข้มแข็งกลไกการบริหารจัดการน้ำเชิงพื้นที่ วันที่ 13 พ.ย. 2566 เพื่อรับฟังความเห็นขั้นสุดท้าย ก่อนที่จะนำเข้าสู่เวทีสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 16 พ.ศ. 2566 ซึ่งจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 21-22 ธ.ค. 2566 ที่ภาคีเครือข่ายภาคส่วนต่างๆ จะให้การรับรองร่วมกัน ควบคู่กับอีกสองระเบียบวาระ คือ ‘ระบบสุขภาวะทางจิตเพื่อสังคมไทยไร้ความรุนแรง’ การส่งเสริมการพัฒนาประชากรให้เกิดและเติบโตอย่างมีคุณภาพ
 </p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ขhttps://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2023/10/106452
 

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

นักข่าวหัวเห็ด แห่งเวบสุขใจ
อัพเดตข่าวทันใจ ตลอด 24 ชั่วโมง

>> http://www.SookJai.com <<
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.419 วินาที กับ 27 คำสั่ง

Google visited last this page 16 พฤษภาคม 2568 02:59:22