สปสช. หนุน Quick win 100 วันมะเร็งครบวงจร จัดสิทธิประโยชน์บริการมะเร็งปากมดลูก
<span class="submitted-by">Submitted on Sun, 2023-10-29 13:26</span><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>สปสช. หนุน Quick win 100 วัน “มะเร็งครบวงจร” เดินหน้าสิทธิประโยชน์ “โรคมะเร็งปากมดลูก” ครอบคลุมทั้งการป้องกัน ตรวจคัดกรอง และรักษา เผยปี 2567 สปสช.จัดสรรงบบัตรทองซื้อวัคซีนเอชพีวีเพิ่มกว่า 717 ล้านบาท ส่งผลให้ภาพรวมในระบบมีวัคซีนฯ กว่า 1.9 ล้านโดส เพื่อสนับสนุนนโยบาย “ฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก 1 ล้านโดส” นี้ พร้อมขยายเครือข่ายบริการตรวจคัดกรองกลุ่มเป้าหมายเชิงรุก กระจายชุดเก็บสิ่งส่งตรวจด้วยตนเอง เชื่อมโยงเครือข่ายรักษาผู้ป่วย</p>
<p><img alt="" src="
https://live.staticflickr.com/65535/53293710106_bb21f403b5_k_d.jpg" /></p>
<p>29 ต.ค. 2566 นพ.จเด็จ ธรรมธัชอารี เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กล่าวว่า ““มะเร็งครบวงจร และการให้วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก (HPV) จำนวน 1 ล้านโดส ในผู้หญิงอายุ 11-20 ปี” เป็นหนึ่งในนโยบาย Quick win 100 วัน ที่ต้องเร่งดำเนินการแบบครบวงจร ตามที่คณะกรรมการพัฒนาระบบสุขภาพแห่งชาติ หรือ ‘Super Board สาธารณสุข’ ให้เร่งดำเนินการขับเคลื่อน โดยเฉพาะมะเร็งปากมดลูก เนื่องด้วยเป็นมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับ 2 ของผู้หญิงไทยที่อายุต่ำกว่า 45 ปี ซึ่งผู้หญิงทุกคนมีความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งปากมดลูกได้จากการรับเชื้อ HPV ซึ่งสายพันธุ์ที่พบบ่อย คือ สายพันธุ์ที่ 16 และ 18 โดยเมื่อติดเชื้อแล้วจะไม่มีอาการ กว่าจะรู้ตัวใช้เวลาหลายปีและได้เข้าสู่ระยะลุกลามแล้ว </p>
<p>ดังนั้น เพื่อเป็นการดำเนินการตามนโยบาย สปสช.จึงได้ร่วมขับเคลื่อนกับกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วยภาคีเครือข่าย และได้ลงนามประกาศความร่วมมือเมื่อวานนี้ (25 ต.ค. 66) เพื่อฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกให้เป็นไปตามเป้าหมาย </p>
<p>นพ.จเด็จ กล่าวว่า จากนโยบายมะเร็งครบวงจรนี้ สปสช. จะเร่งสนับสนุนการจัดบริการมะเร็งปากมดลูก ภายใต้สิทธิประโยชน์สร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ประกอบด้วย บริการวัคซีนป้องกันไวรัสเอชพีวี เพื่อป้องกันการติดเชื้อ ลดโอกาสเสี่ยงต่อโรค ตามนโยบายจะเริ่มในเดือนพฤศจิกายน 2566 นี้ ซึ่งการฉีดวัคซีนตั้งแต่ยังไม่มีเพศสัมพันธ์ หรือในผู้หญิง อายุ 9-26ปี จะป้องกันการติดเชื้อได้มากถึงร้อยละ 90 ช่วยลดความเสี่ยงการเกิดมะเร็งปากมดลูกใน 10 -20 ปีข้างหน้าได้ โดย สปสช. ได้กำหนดเป้าหมาย Quick win สนับสนุนการฉีดวัคซีนเอชพีวี 1 ล้านโดส ใน 100 วันแรก ให้กับกลุ่มเป้าหมาย คือนักเรียนหญิงชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ถึงชั้นอุดมศึกษาปีที่ 2 (หรืออายุ 11-20 ปี) ทุกสิทธิการรักษาพยาบาล โดยเน้นการให้บริการฉีดวัคซีนเข็มที่ 1 ให้ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายทั้งหมดก่อน </p>
<p>อย่างไรก็ตาม กรณีที่เป็นฉีดให้กับกลุ่มอายุ 15 –20 ปี จะเป็นการฉีดเข็มที่ 2 ซึ่งต้องผู้ที่ได้รับเข็ม 1 แล้วเกิน 6 เดือน (ตามคำแนะนำของ ACIP : Advisory Committee on Immunization Practices) โดย สปสช. จะจัดหาวัคซีนให้เพียงพอกับกลุ่มเป้าหมาย และพิจารณาจัดหาวัคซีนเอชพีวีเข็มที่ 2 เพื่อสร้างเสริมภูมิคุ้มกันอย่างถูกต้องตามคำแนะนำทางวิชาการและสิทธิประโยชน์ของประชาชน โดย สปสช. ได้เพิ่มเติมงบประมาณปี 2567 อีก 717.63 ล้านบาท เพื่อสนับสนุนวัคซีนเอชพีวีเพิ่มรวมเป็นจำนวน 1,747,000 ล้านบาท จากเดิมที่กำหนดจัดซื้อเพียง 703,700 โดส และเมื่อรวมกับวัคซีนเอชพีวีกับส่วนอื่นๆ ทำให้มีวัคซีนเอชพีวีในระบบราว 1,900,000 โดส ในการเดินหน้านโยบายนี้ </p>
<p>นพ.จเด็จ กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ สปสช. ได้เร่งสนับสนุนการบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก เพื่อเพิ่มการเข้าถึงการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก และค้นหาผู้ป่วยเข้าสู่การรักษาในระยะเริ่มแรก โดยมีกลุ่มเป้าหมายบริการ คือหญิงไทย อายุ 30 –59 ปี ทุกสิทธิการรักษาพยาบาล และหญิงไทย อายุ 15 –29 ปี กรณีที่มีความเสี่ยงสูง ให้บริการตรวคัดกรองด้วยวิธีเอชพีวี ดีเอ็นเอ เทส (HPV DNA Test) 1 ครั้ง ทุกๆ 5 ปี โดยเข้ารับบริการได้ที่หน่วยบริการในระบบบัตรทองที่สามารถให้บริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกได้ </p>
<p>ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเชิงรุก สปสช. ยังได้เพิ่มบริการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเชิงรุกด้วย HPV Self Sampling ที่เป็นชุดเก็บสิ่งส่งตรวจด้วยตนเองเพื่อนำส่งตรวจที่หน่วยบริการ ที่เป็นการเพิ่มทางเลือกให้กับหญิงไทยที่มีความรู้สึกอายที่จะรับบริการที่หน่วยบริการ ซึ่งจะช่วยสนับสนุนการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกให้บรรลุผลตาม Quick win 100 วันโดยเร็ว ซึ่งที่ผ่านมา สปสช. ได้ร่วมกับหน่วยบริการภาครัฐและเอกชนออกหน่วยให้บริการเชิงรุกในสถานประกอบการแล้ว </p>
<p>นอกจากนี้ สปสช. ได้สนับสนุนการจัดบริการโดยหน่วยบริการที่มีศักยภาพให้บริการ HPV DNA Test ในรูปแบบ Center Lab) ที่มีเครือข่ายบริการที่หน่วยบริการเก็บตัวอย่าง หรือหน่วยบริการนวัตกรรม อาทิ ร้านยาและคลินิกการพยาบาลในการกระจายชุดตรวจ พร้อมมีเครือข่ายระบบจัดส่ง (Logistic) เพื่อนำ </p>
<p>เพื่อให้สามารถดำเนินการบริการตรวจคัดกรอง ประสานการส่งตอได้อย่างครบถ้วน ซึ่งที่ผ่านมาได้มีหลายพื้นที่ดำเนินการแล้ว เช่นที่เขต 7 ขอนแก่น ในจังหวัดร้อยเอ็ด โดยมีโรงพยาบาลพนมไพรเป็นแม่ข่ายบริการห้องปฏิบัติการตรวจ และที่เขต 9 นครราชสีมา โดยโรงพยาบาลกรุงเทพราชสีมาที่ได้ออกหน่วยตรวจเชิงที่สถานประกอบการ เป็นต้น </p>
<p>นพ.จเด็จ กล่าวว่า ภายหลังการตรวจคัดกรองมะเร็งปาดมดลูก ในกรณีผลการตรวจพบว่าเป็นผู้ที่มีความเสี่ยงหรือเป็นมะเร็งปากมดลูกในระยะแรก ก็สามารถเข้าสู่การรักษาพยาบาลตามสิทธิได้ โดยในส่วนของผู้มีสิทธิบัตรทองสามารถเข้ารับบริการได้ที่หน่วยบริการในระบบได้ เบื้องต้นอาจเริ่มเข้ารับบริการที่หน่วยบริการประจำก่อน หากเกินศักยภาพของหน่วยบริการที่จะดูแล หรือมีคิวผู้ป่วยที่รอบริการจำนวนมาก ก็สามารถเข้ารับบริการยังหน่วยบริการเฉพาะด้านโรคมะเร็ง หรือหน่วยบริการที่มีศักยภาพด้านการรักษามะเร็งทั่วประเทศในระบบบัตรทองได้ ตามนโยบายโรคมะเร็งไปที่ไหนก็ได้ (Cancer Anywhere) ที่ได้ร่วมกับกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข โดยครอบคลุมทั้งหน่วยบริการเคมีบำบัด หน่วยบริการรังสีรักษา และหน่วยบริการผ่าตัดรักษา เป็นต้น </p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ข
https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์
https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
https://prachatai.com/journal/2023/10/106565 







