[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
29 มีนาคม 2567 22:45:23 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: บทธรรมบรรยาย ๑-๘ พระอาจารย์มั่น :๑ วิเวกธรรม  (อ่าน 2485 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 7.0.1 Firefox 7.0.1


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 14 ตุลาคม 2554 21:37:34 »



บทธรรมบรรยาย ของ
พระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ

1 วิเวกธรรม
สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงวิเวกธรรมแก่เมตตคูมาณพดังต่อไปนี้
อุปธิกิเลสมีประเภท 10 ประการ คือ 1 ตัณหา 2 ทิฏฐิ 3 กิเลส 4 กรรม 5 ทุจริตความประพฤตชั่วด้วย กาย วาจา และใจ 6 อาหาร 7 ปฏิฆะ 8 อุปาทินนกะ ธาตุสี่ 9 อายตนะหก 10 วิญญาณกายหก ทุกข์ทั้งหลายมีชาติทุกข์เป็นต้น ย่อมมีอุปธิกิเลสเหล่านี้เป็นเหตุ นิพพานเป็นปัจจัย เมื่อบุคคลมารู้ทั่วถึง รู้แจ้งประจักษ์ชัดด้วยวิปัสสนาปัญญาว่า สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา หรือมารู้ทั่วถึงว่า ยํ กิญจิ สมุทยธมมํ สพพนตํ นิโรธธมมํ สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดมีความดับเป็นธรรมดา ดังนี้แล้วเป็นผู้ตามเห็นซึ่งชาติว่าเป็นแดนเกิดแห่งวัฏฏทุกข์ และมาเห็นว่าอุปธิเป็นแดนเกิดแห่งชาติทุกข์เป็นต้นแล้ว ก็ไม่พึงทำอุปธิมีตัณหาเป็นต้น ให้เจริญขึ้นในสันดานเลย

เมื่อจะทรงแสดงธรรมเครื่องข้ามตัณหา จึงตรัสพระคาถาว่า ยํ กิญจิ สญชานาสิ อุทธํ อโธ ติโยญจาปิ มชเฌ เอเตสุ นนทิญจ ปนุชชวิญญาณํ ภเว น ติฏฐ ดูก่อนท่านทั้งหลาย ท่านจงรู้สิ่งใดสิ่งหนึ่งในเบื้องบน เบื้องต่ำ และเบื้องขวาง สถานกลางแล้วจงบรรเทาเสีย จะละเสียซึ่งความเพลิดเพลินและความถือมั่นในสิ่งเหล่านั้น วิญญาณของท่านก็จะไม่ตั้งอยู่ในภพดังนี้

คำว่าเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวางสถานกลางนั้น ทรงแสดงไว้ 6 นัย คือนัยที่ 1 อนาคตเป็นเบื้องบน อดีตเป็นเบื้องต่ำ ปัจจุบันเป็นเบื้องขวางสถานกลาง นัยที่ 2 เหล่าธรรมที่เป็นกุศล เป็นเบื้องบน เหล่าธรรมที่เป็นอกุศล เป็นเบื้องต่ำ เหล่าธรรมที่เป็นอัพยากฤตเป็นเบื้องขวางสถานกลาง นัยที่ 3 เทวโลกเป็นเบื้องบน อบายโลก เป็นเบื้องต่ำ มนุสสโลกเป็นเบื้องขวางสถานกลาง นัยที่ 4 สุขเวทนา เป็นเบื้องบน ทุกขเวทนา เป็นเบื้องต่ำ อุเบกขาเวทนาเป็นเบื้องขวางสถานกลาง นัยที่ 5 อรูปธาตุเป็นเบื้องบน กามธาตุเป็นเบื้องต่ำ รูปธาตุเป็นเบื้องขวางสถานกลาง นัยที่ 6 กำหนดแต่พื้นเท้าขึ้นมาเบื้องบน กำหนดแต่ปลายผมลงไปเป็นเบื้องต่ำ ส่วนท่ามกลางเป็นเบื้องขวางสถานกลาง เมื่อท่านมาสำคัญหมายรู้เบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวางสถานกลาง ทั้ง 6 นัยนี้แล้ว แม้อย่างใดอย่างหนึ่ง

พึงบรรเทาเสียซึ่งนันทิ
ความยินดี เพลิดเพลิน และอภินิเวส ความถือมั่นด้วยตัณหา และทิฏฐิในเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวางสถานกลาง เสียให้สิ้นทุกประการ แล้ววิญญาณของท่านจะไม่ตั้งอยู่ในภพและปุณภพอีกเลย เมื่อบุคคลมารู้ชัดด้วยญาณจักษุในส่วนเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวางสถานกลาง ไม่ให้ตัณหาซ่านไปในภพน้อย ภพใหญ่ มีญาณหยั่งรู้ในอริยสัจจ์ 4 เป็นผู้ไม่มีกังวล คือ ราคะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ และทุจจริตต่างๆ ละกังวลทั้งปวงเสียแล้ว กามภเว อสตตํ ก็เป็นผู้ไม่ข้องเกี่ยวพัวพันในวัตถุกาม และกิเลสกาม ในกามภพและปุณภพอีกเลย ท่านนั้นเป็นผู้ข้ามโอฆะ ห้วงลึกที่กดสัตว์ให้จมอยู่ในวัฏฏสงสารฯ โอฆะนั้น 4 ประการคือ 1 กามโอฆะ 2 ภวโอฆะ 3 ทิฏฐิโอฆะ 4อวิชชาโอฆะ ติณโณ จ ปรํ ท่านนั้นย่อมข้ามห้วงทั้ง 4 ไปฟากโน้น คือ พระนิพพานธรรม อขีเณ เป็นผู้ไม่มีตะปูคือกิเลสเป็นเครื่องตรึงแล้ว

กิเลสทั้งหลาย
ที่เป็นประธาน คือ ราคะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ และกิเลสที่เป็นบริวาร มี โกโธ อุปนาโห เป็นต้น จนถึงอกุศลอภิสังขารซึ่งเป็นประหนึ่งตะปูเครื่องตรึงจิตให้แนบแน่นอยู่ ยากที่สัตว์จะฉุดจะถอนให้เคลื่อนให้หลุดได้ เมื่อบุคคลมาละเสียแล้ว ตัดขึ้นพร้อมแล้ว เผาเสียด้วยเพลิงคือญาณแล้ว เป็นนรชนผู้รู้ผู้ดำเนินด้วยปัญญาอันเป็นเครื่องรู้แจ้งชัดเป็นเวทคู ผู้ถึงฝั่งแห่งวิทยาในพระศาสนานี้ ไม่มีความสงสัยใน ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค และปฎิจจสมุปบาทธรรม ปัจจยการ ย่อมบรรลุถึงวิเวกธรรม คือพระอมฤตนฤพานด้วยประการฉะนี้

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 7.0.1 Firefox 7.0.1


ดูรายละเอียด
« ตอบ #1 เมื่อ: 14 ตุลาคม 2554 22:27:50 »



๒ สันติธรรม
สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงซึ่งสันติธรรมแก่โธตกมาณพ จึงตรัสพระคาถาว่า ยํกิจิ สญชานาสิ โธตก อุททํ อโธ ติโยญญาปิ มชเฌ เอตํ วิทิตวา สงโคติ โลเก ภวาภวาย มากาสิ ตัณหํ แปลความว่า ดูกรโธตกะ ท่านมากำหนดรู้หมายรู้ซึ่งอารมณ์อันใดอันหนึ่ง ซึ่งเป็นเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวางสถานกลางว่า เป็นเครื่องข้องอยู่ในโลก เครื่องเกี่ยวสัตว์ไว้ในโลกดังนี้แล้ว อย่าได้ทำซึ่งตัณหา ความปรารถนาเพื่อภพน้อยภพใหญ่เลยดังนี้

อธิบายว่า ท่านมารู้แจ้งสัญญาณนี้ด้วยปัญญาว่า เป็นเครื่องข้องเครื่องติดอยู่ในโลกดังนี้แล้ว อย่าได้ทำตัณหาความปรารถนาเพื่อภพน้อยภพใหญ่เลย ส่วนคำว่าเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวางสถานกลางในพระคาถานั้น ก็มีนัยอธิบายเป็น 6 นัยเช่นเดียวกับเรื่องวิเวกธรรมที่กล่าวมาแล้ว

ทรงแสดงที่อาศัยแห่งกิเลสปปัญจธรรมมีสัญญาเป็นนิทานว่า ตัณหา มานะ ทิฏฐิ อันทำให้สัตว์เนิ่นช้า 3ประการนี้ มีสัญญาความสำคัญหมายเป็นเหตุให้เกิด เมื่อบุคคลมาสำคัญหมายในส่วนอดีต อนาคต ปัจจุบัน, สุข ทุกข์ อุเบกขา กุศลากุศล อัพยากฤต สามธาตุ สามภพ ด้วยประการใดๆ ปปัญจสังขาร ที่ทำให้เนิ่นช้า คือ ตัณหา มานะ ทิฏฐิ บังเกิดกล้าเจริญทวีขึ้นด้วยประการใดๆ ทำให้บุคลลเกิดความเห็นถือมั่นด้วยตัณหาว่า เอตํ มม นั่นเป็นของเรา ถือมั่นด้วยมานะว่า เอโสหมสมิ เราเป็นนั่น ถือมั่นด้วยทิฏฐิว่า เอโส เม อตตา นั่นเป็นตัวตนแก่นสารของเรา ดังนี้แล้วก็ข้องอยู่ในอารมณ์นั้นๆ ด้วยฉันทะราคะ สเน่หาอาลัย ผูกพันจิตใจไว้ไม่ให้เปลื้องปลดออกได้ สัญญาอันเป็นนิทาน เป็นเหตุเกิดแห่งตัณหา มานะ ทิฏฐิก็ดี ตัณหา มานะ ทิฏฐิอันเกิดแต่สัญญานั้นก็ดี

สงโค เป็นเครื่องข้องเครื่องติด เครื่องเกี่ยวสัตว์ไว้ในโลกไม่ให้พ้นไปได้ เอตํ วิทิตวา สงโคติ โลเก ท่านรู้แจ้งประจักษ์ว่าสัญญาเป็นเหตุแห่งตัณหา มานะ ทิฏฐิ ตัณหา มานะ ทิฏฐิ มีสัญญาเป็นเหตุดังนี้แล้ว ท่านอย่าได้ทำตัณหา คือความปรารถนาดิ้นรน ด้วยจำนงหวังต่างๆ เพื่อภพน้อยภพใหญ่เลย ท่านจงหยั่งญาณรู้ชั่งด้วยตราชู คือ ปัญญา แล้วเห็นประจักษ์แจ้งชัดว่า เป็นเครื่องผูกจำ เป็นเครื่องเกี่ยวสัตว์ไว้ในโลก ท่านอย่าได้ทำซึ่งตัณหา เพื่อภพน้อยภพใหญ่เลย ตัณหาอันเป็นไปในอาหารวิสัยคือรูป เสียงกลิ่น รส โผฎฐัพพะ ธรรมารมณ์ แตกต่างโดยอาการปวัฎฎิเป็น 3ประการ คือกามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ตัณหา 6 หมู่ ตามอารมณ์ สามอย่างตามอาการที่เป็นไปในภพ เป็นธรรมอันเกิดอีก เกิดขึ้นเป็นไปพร้อมกับทุกข์ คืออุปทานขันธ์ ท่านอย่าได้ทำตัณหานั้น เพื่อภพน้อยภพใหญ่เลย ท่านจงละตัณหานั้นเสีย จงบรรเทาเสีย ทำตัณหานั้นให้มีที่สุด ท่านจงยังตัณหานั้นให้ถึงซึ่งอันจะยังเกิดตามไม่ได้ ท่านจงละตัณหานั้นด้วยสมุจเฉทปาหานเถิดฯ

บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 7.0.1 Firefox 7.0.1


ดูรายละเอียด
« ตอบ #2 เมื่อ: 14 ตุลาคม 2554 23:16:48 »



๓ อนุปาทาปรินิพาน
สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงแสดงอนุปาทาปรินิพพานของพระอริยสาวก ผู้บรรลุอากิญจัญญายตนสมาบัติ แก่อุปสีวมาณพ โดยหลีกเลี่ยงสัสสตวาทะและอุจเฉทวาทะ*ทั้งสองเสีย จึงตรัสพระคาถาว่า
อจฉิยถา วาตเวเคณ จิตตา อตถํ ปเลติ น อุเปติ สงขํ เอวํ มุนิ นาม กายา วิมุตโต อตถํ ปเลติ น อุเปติ สงขํ

แปลว่า เปลวเพลิงอันกำลังลมพัดดับไปย่อมนับไม่ได้ว่าไปไหนฉันใด ท่านผู้เป็นมุนี พ้นพิเศษแล้วจากนามกาย ย่อมถึงซึ่งอันตั้งอยู่ไม่ได้ นับไม่ได้ ว่าไปไหนฉันนั้น

วาตา อันว่าลมทั้งหลาย โดยปริยายในนิเทศ ว่าลมมาทิศบูรพา ปัจฉิม อุดร ทักษิณ ลมมีธุลี ลมไม่มีธุลี ลมเย็น ลมร้อน ลมกล้า ลมเวรัมภา พัดมา แต่พื้นดินขึ้นไปได้โยชน์หนึ่ง ลมปีกสัตว์ ปีกครุฑ ลมใบตาล ลมเปลวเพลิง อันกำลังลมเหล่านั้นพัดแล้วเปลวเพลิงย่อมถึงซึ่งอันตั้งอยู่ไม่ได้ ย่อมดังสงบรำงับไป ย่อมไม่ถึงซึ่งอันนั้น ย่อมไม่ถึงซึ่งโวหาร ว่าเปลวเพลิงไปแล้วยังทิศโน้นๆ ดังนี้ฉันใด บุคคลผู้บรรลุอากิญจัญญายตนสมาบัติเป็นเสขมุนีนั้น เป็นผู้พ้นวิเศษแล้วจากรูปกายในกาลก่อนเป็นปกติ ให้มรรคที่ 4 เกิดขึ้นในสมาบัตินั้น เป็นผู้พ้นวิเศษแล้วจากนามกายอีก เพราะความที่พ้นจากนามกาย อันท่านได้กำหนดรู้แล้ว เป็นอุปโตภาควิมุตติ พ้นวิเศษแล้วจากส่วนสองด้วย ส่วนสองเป็นขีณาสวะอรหันตร์ ถึงซึ่งอันไม่ตั้งอยู่คืออนุปาทาปรินิพพานแล้วตรัสพระคาถาต่อไปว่า

อตถํ ตสส น ปมาณมตถิ เยน นํ วชชํ ตํ ตสส นตถิ สพเพสุ ธมเมสุ สมูหเตสุ สมูหตา วาทปถาปิ สพเพ
แปลว่า สิ่งสภาวะเป็นประมาณของพระขีณาสพอัสดงคตดับแล้วย่อมไม่มี บุคคลทั้งหลายจะพึงกล่าวว่าท่านนั้นด้วยกิเลสใด กิเลสนั้นของท่านก็ไม่มีธรรมทั้งหลายมีขันธ์เป็นต้น อันพระขีณาสพถอนขึ้นพร้อมแล้ว แม้ทางวาทะทั้งปวงที่บุคคลจะพึงกล่าวพระขีณาสพท่านก็ตัดขึ้นพร้อมแล้ว

สิ่งสภาวะอันเป็นธรรมนั้น ได้แก่รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ย่อมไม่มีแก่ท่าน ท่านละเสียแล้ว ตัดขึ้นพร้อมแล้ว ท่านเผาเสียด้วยเพลิงคือญาณแล้ว เมื่อขันธ์ อายตนะ ธาตุ คติ อุบัติ ปฏิสนธิ ภพ สังขาร และวัฏฏะ ท่านถอนขึ้นเสียแล้ว ตัดเสียขาดแล้ว มีอันไม่บังเกิดต่อไป เป็นธรรมดา วาทะ อันเป็นคลองเป็นทางที่จะกล่าวด้วยกิเลสและขันธ์ และอภิสังขาร ท่านเพิกถอน สละละวางเสียสิ้นทุกประการแล้ว ด้วยประการฉะนี้ฯ

[* สัสสตวาทะ ลัทธิถือว่าเที่ยง (Eternalism)
อุจเฉทวาทะ ลัทธิถือว่าขาดสูญ (Annihilationism)]


บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 7.0.1 Firefox 7.0.1


ดูรายละเอียด
« ตอบ #3 เมื่อ: 14 ตุลาคม 2554 23:25:18 »



4 ปริญญา 3 ประการ
การกำหนดรู้ตัณหานั้น กำหนดรู้ด้วยปริญญา 3 ประการ คือ
1. ญาตปริญญา คือความกำหนดรู้ชัดเจนว่า นี้รูปตัณหา นี้สัททตัณหา นี้คันธตัณหา นี้รสตัณหา นี้โผฏฐัพพะตัณหา นี้ธัมมตัณหา อย่างนี้แลชื่อว่าญาตปริญญา
2. ตีรณปริญญานั้นคือ ภิกษุกระทำตัณหาทั้ง 6 ให้เป็นของอันตนรู้แล้ว พิจารณาใคร่ครวญ ซึ่งตัณหาโดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นโรคเสียดแทง เป็นต้น อย่างนี้แลชื่อตีรณปริญญา
ปหานปริญญานั้นคือ ภิกษุมาพิจารณาใคร่ครวญ ฉะนี้แล้ว ละเสียซึ่งตัณหา บรรเทาเสีย ถอนเสีย และกระทำให้สิ้นไป ให้ถึงซึ่งความไม่เป็นต่อไปอย่างนี้และชื่อว่าปหานปริญญา



5 อาสวะ 4 ประการ
อนาสวา ผู้ชื่อว่าไม่มีอาสวะคือไม่มีอาสวะ 4 ประการ ได้แก่ 1 กามาสวะ 2 ภวาสวะ 3 ทิฏฐาสวะ 4 อวิชชาสวะ บุคคลผู้ใดมาละเสีย ตัดเสียขาดแล้ว ซึ่งอาสวะทั้งหลายเหล่านั้น มิให้มันบังเกิดขึ้นได้ต่อไป ผู้นั้นเป็น อนาสวะ คือผู้ไม่มีอาสวะแล

6 อัตตานุทิฏฐิ
อตตานุทิฏฐิติวุจจติ วิสติวตถุกา สกกายทิฏฐิ สักกายทิฏฐิ อันมีวัตถุ พุทธบัณฑิตเรียกว่า อัตตนุทิฏฐิ ความตามเห็นซึ่งอาตมะตัวตน ได้ในขันธ์ 5 ขันธ์ ละ4 วัตถุ บรรจบเป็นวัตถุ 20 ทิศคือปถุชนผู้ไม่ได้สดับฟัง ณ โลกนี้

1 รูปํ อตตโต สมนุปสสติ เห็นรูปโดยความเป็นตนบ้าง
2 รูปํวนตํ วา อตตานํ สมนุปสสติ เห็นตนเป็นรูปบ้าง
3 อตตนิ วา รูปํ สมนุปสสติ เห็นรูปมีในตนบ้าง
4 รูปสมํ วา อตตานํ สมนุปสสติ เห็นตนมีในรูปบ้าง ดังนี้
แม้ในเวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ก็มีวัตถุอย่างละ 4 เช่นเดียวกัน จึงบรรจบเป็นกายทิฏฐิ 20 วัตถุ ด้วยประการฉะนี้

เมื่อบุคคลตรัสรู้อริยสัจจ์ 4 ประชุมลงในขณะจิตอันเดียวได้แล้วชื่อว่า เป็นผู้ละสักกายทิฏฐิ เมื่อบุคคลใดมาเข่นฆ่า ซึ่งอัตตานุทิฏฐิ คือความเห็นผิดว่าเป็นอัตตาตัวตนลงเสียได้แล้ว ก็จะพึงเป็นบุคคลผู้ข้ามมฤตยูความตายเสียได้ เอวํ โลกํ อเวกขนตํ มจจุราชา น ปสสติ เมื่อบุคคลมาเห็นซึ่งโลกทั้งหลาย คือขันธโลก อายตนโลก และธาตุโลก โดยความเป็นของสูญ สังหารอัตตานุทิฏฐิลงเสียได้อย่างนี้ มฤตยุราช คือความตายย่อมไม่เห็น เพราะบุคคลผู้นั้นพ้นสัตว์วิสัยเสียแล้ว มัจจุราชย่อมไม่เห็นซึ่งผู้นั้น ผู้นั้นย่อมถึงพระนิพพานธรรมอันเป็นวิสัยแห่งมฤตยูราช ล่วงวิสัยมฤตยูราชเสียได้ด้วยประการฉะนี้ฯ


บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 7.0.1 Firefox 7.0.1


ดูรายละเอียด
« ตอบ #4 เมื่อ: 14 ตุลาคม 2554 23:32:53 »



7 สังสารทุกข์
สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเทศนา ซึ่งสังสารทุกข์ไว้ว่า สังสาระการท่องเที่ยวเกิดตายของสัตว์เปรียบเหมือนสระ คือเป็นโอกาสที่เที่ยวที่ลงของสัตว์ทั้งหลาย

สโรติ วุจจติ สํสาโร ก็ที่ท่านเรียกว่าสังสาระนี้หมายถึงความท่องเที่ยวไปด้วยการบังเกิดและจุติ อาคมนํ การมาสู่โลกนี้ คมนํ การไปสู่โลกหน้า คมนาคมนํ ทั้งไปและมา กาลํ กาลกิริยา คือมรณะขาดชีวิตอินทรีย์ คติ ความไป ภวาภโว ภพน้อยภพใหญ่ จุติ ความเคลื่อนจากภพ อุปปตติ ความเข้าถึงอัตตภาพ นิพพตติ ความปรากฏชัดแห่งขันธ์ ชาติ ความเกิด ชรา ความแก่ มรณํ ความตาย

ความท่องเที่ยว บังเกิด กำเนิด เกิด แก่ ตาย อันเป็นประหนึ่งโคถูกสวมคอเข้าไว้ในแอกฉะนั้น ได้ชื่อว่า สังสาระ คือเสือกไสดันไป ซึ่งแสดงไว้ว่า ขนธานํ ปฏิปาฏิยา ธาตุอายตนา นญจ อนโนจฉินนํ วฏฏมานา สํสาโรติ วุจติ ลำดับแห่งขันธ์ธาตุ และอายตนะทั้งหลายเป็นไปอยู่ไม่ขาดสาย ผู้รู้ท่านกล่าวว่า สงสาโร คือความเสือกซ่านท่องเที่ยวไป

สังสาระนี้ เมื่อจะกำหนดนามในสาคร 4 เป็นดังนี้ สังสารสาคร 1 ชลสาคร 1 นยสาคร 1ญาณสาคร 1 สังสารสาครชื่อว่าสโร คือสังสาระเปรียบเหมือนสระ
บทว่า มชเฌ สรสมิ ติฏฐตํ นั้นแสดงว่า สระสังสารสาครนี้ เป็นมัธยมสถานกลาง เพราะว่าที่สุดเบื้องต้น และที่สุดเบื้องปลายแห่งสังสารนั้น อันบุคคลหารู้ทั่วรู้ชัดไม่ ในเงื่อนเบื้องต้นและเบื้องปลายแห่งสังสาระนั้นไม่ปรากฏ จึงเป็นมัธยมสถานกลาง ด้วยประการฉะนี้

มชเฌ สํสาเร สตตา ฐิตา ก็แลสัตว์ทั้งหลายได้ตั้งอยู่แล้วในสังสาระอันเป็นสถานกลาง ซึ่งเกิดโอฆะห้วงน้ำใหญ่ท่วมท้น คือ 1 กามโอฆะ 2 ภวโอฆะ 3 ทิฏฐิโอฆะ 4 อวิชชาโอฆะ โอฆะทั้ง 4 แต่ละอย่างๆ อาศัยปัจจัยนั้นๆ แล้วเกิดขึ้น เจริญทวีมากขึ้นเป็นห้วงพัดพาสัตว์ให้เพียบด้วยทุกข์ คือ เกิด แก่ เจ็บ ตาย อยู่ในสระสังสาระนั้นถูกภัยใหญ่เบียดเบียนร่ำไป ภัยใหญ่คือ ชาติ ความเกิด ชรา ความแก่ พยาธิ ความเจ็บ ป่วยไข้ มรณํ ความตาย แตกขาดแห่งชีวิตตินทรีย์ ทุกขํ ความทุกข์กายลำบากใจ เหล่านี้แลเป็นภัยใหญ่หลวงนัก

เมื่อเกลื่อนกล่นอยู่ในสระสังสาระ
ชรามจจุปเรตานํ เหล่าสัตว์ผู้ตั้งอยู่ ณ สังสาระอันเป็นสถานกลาง เกิดห้วงและมีภัยใหญ่หลวง เป็นสัตว์อันความแก่และความตายแวดล้อมรุมเบียดเบียนเป็นนิตย์ ความแก่และความตายท่านกำหนดเป็นประธานแห่งความทุกข์ทั้งหลาย เอวมา ทิตเก โลเก ชราย มรเณน จ โลกคือขันธ์ ธาตุ อายตนะ รุ่งเรืองแต่ต้น เพราะความแก่และความตายเข้าจุดเผา เหล่าสัตว์ที่ตั้งอยู่ ณ สระสังสาระ อันเป็นสถานกลาง เกิดห้วงและภัยใหญ่หลวง รุมเบียดเบียนด้วยประการฉะนี้

8 เนกขัมมธรรม
เนกขมมํ ปสส เขมโต ท่านจงเห็นเนกขัมมะโดยความเป็นธรรมเกษม จากโยคะทั้งปวงเถิดฯ
พระนิพพาน ก็ชื่อว่า เนกขัมมะ ปฏิปทาที่จะให้สัตว์ถึงพระนิพพานก็ชื่อว่า เนกขัมมะ นิพพานคามินีปฏิปทา ชื่อว่าเนกขัมมะนั้น คือสัมมาปฏิปทา ปฏิบัติดำเนิน กาย วาจา จิตชอบ อนุโลมปฏิปทา ปฏิบัติ อนุโลมแก่ธรรมนั้น อปจจนิกปฏิปทา ปฏิบัติไม่เป็นข้าศึกแก่พระนิพพาน อนุวตตปฏิปทา ปฏิบัติไปตามเนื้อความแห่งพระนิพพาน ธมมานุปฏิปทา ปฏิบัติซึ่งธรรมอันสมควรแก่โลกุตตธรรม คือบำเพ็ญศีลให้บริบูรณ์ รักษาทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย รู้ประมาณในโภชนะประกอบตามซึ่งธรรมของผู้ตื่นอยู่ คือสติสัมปชัญญะ สติปัฏฐาน 4 สัมมัปปธาน 4 อิทธิบาท 4 อินทรีย์5 พละ 5 โพชฌงค์ 7 อัฏฐังคิกมรรค 8 นิพพานคามินีปฏิปทา มีศีลสังวรเป็นต้น นี้ชื่อว่าเนกขัมมธรรม เป็นเบื้องต้นที่จะให้บรรลุถึงเนกขัมมะคือพระนิพพาน ปสสิตวา เมื่อบุคคลมาเห็นแล้วเลือกแล้วให้มีการแจ้งแล้ว กระทำให้ปรากฏแล้ว ซึ่งเนกขัมมะคือพระนิพพานอันเป็นธรรมเกษมย่อมพ้นทุกข์ทั้งปวง เป็นผู้ปลอดภัยในที่ทุกสถานในกาลทุกเมื่อแล

:http://www.84000.org/supatipanno/dham.html
อนุโมทนาสาธุที่มาทั้งหมดมากมายค่ะ

บันทึกการเข้า
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
ความผูกพัน (พระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต)
ธรรมะจากพระอาจารย์
เงาฝัน 1 2356 กระทู้ล่าสุด 17 ธันวาคม 2553 23:20:36
โดย หมีงงในพงหญ้า
สันติธรรม (พระอาจารย์มั่น)
ธรรมะจากพระอาจารย์
เงาฝัน 0 1688 กระทู้ล่าสุด 01 สิงหาคม 2554 09:10:31
โดย เงาฝัน
สนทนาธรรมภาคปฏิบัติ ปฏิปัตติวิภัชน์ โดย พระอาจารย์มั่น
ห้องวิปัสสนา - มหาสติปัฏฐาน 4
เงาฝัน 5 3993 กระทู้ล่าสุด 19 กันยายน 2554 15:10:14
โดย เงาฝัน
บทธรรมบรรยายที่ ๙ - ๑๖ ของ พระอาจารย์มั่น :๖ อุปสันตบุคคล
ธรรมะจากพระอาจารย์
เงาฝัน 0 1752 กระทู้ล่าสุด 15 ตุลาคม 2554 09:35:04
โดย เงาฝัน
บทธรรมบรรยายที่ ๑๗ - ๒๑ ของ พระอาจารย์มั่น :๑๗ อริยทรัพย์
ธรรมะจากพระอาจารย์
เงาฝัน 1 1680 กระทู้ล่าสุด 23 ตุลาคม 2554 20:46:21
โดย เงาฝัน
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.339 วินาที กับ 34 คำสั่ง

Google visited last this page 13 กุมภาพันธ์ 2567 18:36:59