[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
07 กรกฎาคม 2568 03:38:47 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - จากกลุ่มช่วยเหลือกันสู่องค์กรแรงงาน ข้อสรุปเบื้องต้นจากการสำรวจความคิดเห็นข  (อ่าน 201 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
สุขใจ ข่าวสด
I'm Robot
สุขใจ บอทนักข่าว
นักโพสท์ระดับ 15
****

คะแนนความดี: +101/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Italy Italy

กระทู้: มากเกินบรรยาย


บอท @ สุขใจ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 10 พฤศจิกายน 2566 05:50:41 »

จากกลุ่มช่วยเหลือกันสู่องค์กรแรงงาน ข้อสรุปเบื้องต้นจากการสำรวจความคิดเห็นของไรเดอร์
 


<span class="submitted-by">Submitted on Thu, 2023-11-09 13:22</span><div class="field field-name-field-byline field-type-text-long field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><p>พฤกษ์ เถาถวิล</p>
<p> </p>
</div></div></div><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>การรวมกลุ่มของไรเดอร์ เพื่อช่วยเหลือกันเรื่องการทำงาน เยียวยาอุบัติเหตุ หรือพูดคุยเรื่องต่างๆ ในลักษณะกลุ่มธรรมชาติ เกิดขึ้นทั่วไป หลายกลุ่มสร้างเพจเฟสบุ๊คเป็นช่องทางสื่อสารขยายสมาชิก เกิดกลุ่มย่อยในที่ต่างๆเชื่อมโยงกันเป็นเครือข่าย เครือข่ายเป็นกลไกสร้างความร่วมมือ และระดมกำลังปกป้องสิทธิประโยชน์ ดังการรวมตัวเรียกร้องต่อบริษัทแพลตฟอร์มหลายครั้งในช่วงที่ผ่านมา</p>
<p>การรวมตัวช่วยเหลือกันของแรงงาน เป็นบันใดขั้นแรกของการพัฒนาไปสู่องค์กรที่เข้มแข็ง แต่กลุ่มช่วยเหลือกัน มีข้อจำกัดหลายอย่าง เช่น สมาชิกมักยินดีรวมตัวกันแบบหลวมๆ มากกว่าเป็นองค์กรกฎระเบียบเคร่งครัด ไม่ค่อยเห็นด้วยหากกลุ่มแสดงความคิดเห็นทาง “การเมือง” ให้ความสำคัญกับการช่วยเหลือเยียวยาความเดือดร้อนจากการทำงาน เช่น เจ็บป่วย ประสบอุบัติเหตุ การต่อสู้มักให้ความสำคัญกับปัญหาที่กำลังเผชิญ และเห็นว่าการต่อสู้ในประเด็นทางกฎหมายเป็นเรื่องไกลตัว<a href="#_edn1" name="_ednref1" title="" id="_ednref1">[1][/url]</p>
<p>แรงงานแพลตฟอร์มส่งอาหาร หรือไรเดอร์ มีทั้งจุดแข็งและข้อจำกัดในการรวมกลุ่ม แรงงานกลุ่มนี้มีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน (solidarity) สูง จากปัญหาที่เผชิญร่วมกัน เช่น ค่ารอบต่ำ การทำงานภายใต้แอปที่คลุมเครือ-ไม่โปร่งใส-เปลี่ยนตามอำเภอใจของบริษัท อีกทั้ง แรงงานกลุ่มนี้มีโอกาสพบปะกันในพื้นที่ทำงาน และเชื่อมโยงกันผ่านออนไลน์ แต่ข้อจำกัดก็คือ แรงงานกลุ่มนี้มีความหลายหลายของสถานะส่วนบุคคล และระดับของการพึ่งพารายได้จากอาชีพนี้ ทำให้ความเห็นพ้องในเรื่องหนึ่งๆ เป็นไปได้ยาก<a href="#_edn2" name="_ednref2" title="" id="_ednref2">[2][/url]</p>
<p>สถานการณ์นี้นำมาสู่คำถามน่าสนใจว่า การรวมกลุ่มของไรเดอร์จะพัฒนาเป็นองค์กรแรงงานเพื่อต่อสู้ในระยาวได้หรือไม่ โครงการวิจัยของเรา<a href="#_edn3" name="_ednref3" title="" id="_ednref3">[3][/url] สำรวจข้อมูลซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการตอบคำถามดังกล่าว ประเด็นคำถามสำคัญคือ สมาชิกกลุ่มมีความคิดเห็นและคาดหวังต่อกลุ่มอย่างไร พวกเขามีความรู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันมากน้อยเพียงใด เห็นด้วยหรือไม่หากกลุ่มจัดองค์กรเป็นทางการ และพัฒนาไปสู่รูปแบบสหภาพแรงงาน และพวกเขามีข้อจำกัดอะไรในการร่วมกิจกรรมกับกลุ่ม</p>
<p>การวิจัยเก็บข้อมูลจากสมาชิกกลุ่มไรเดอร์ 3 กลุ่ม ในกรุงเทพฯ ซึ่งมีบุคลิกลักษณะแตกต่างกัน</p>
<p>กลุ่ม A เป็นกลุ่มที่เกิดจากการพบปะกันในย่านที่ทำงานแห่งหนึ่งของกรุงเทพฯ ช่วยเหลือกันเรื่องการทำงานและเยียวยาอุบัติเหตุ ช่วงแรกใช้ไลน์กลุ่มเป็นเครื่องมือสื่อสาร ต่อมาสร้างเพจเฟสบุ๊คเป็นอีกช่องทางสื่อสาร  เพจเป็นกลุ่มปิด สื่อสารกันในหมู่สมาชิก ปัจจุบันในเพจมีสมาชิกประมาณ 700 คน</p>
<p>กลุ่ม B เริ่มจากกลุ่มคนขับมอเตอร์ไซค์ส่งผู้โดยสารภายใต้แอปพลิเคชั่น รวมตัวช่วยเหลือกันเมื่อมีเหตุกระทบกระทั่งกับวินมอเตอร์ไซค์ เริ่มต้นจากกลุ่มไลน์ ต่อมาได้เปิดเพจเฟสบุ๊ค เป็นเพจสื่อสารสาธารณะ ปัจจุบันขยายวงสื่อสารกับกลุ่มส่งอาหาร และส่งสินค้า และกับไรเดอร์ภายใต้แอปอื่นด้วย ปัจจุบันเพจมีผู้ติดตาม 1.2 แสนคน เป็นกลุ่มที่มีผู้ติดตามเพจมากที่สุด</p>
<p>กลุ่ม C เป็นกลุ่มที่เกิดจากไรเดอร์กลุ่มเล็กๆที่มีประสบการณ์ไม่ได้รับความเป็นธรรมจากการการทำงาน แกนนำใช้เพจเฟสบุ๊คเป็นเครื่องมือนำเสนอความคิดต่อสาธารณะ สร้างเครือข่าย และออกไปสนับสนุนการจัดตั้งกลุ่มในพื้นที่ต่างๆ รวมทั้งต่างจังหวัด เพจของกลุ่มมีจุดเด่นคือการนำเสนอความคิดเรื่องการสร้างอำนาจต่อรอง และสิทธิแรงงาน ปัจจุบันกลุ่มมีผู้ติดตามเพจ 4.5 หมื่นคน</p>
<p>การสำรวจข้อมูลโดยแบบสำรวจ กลุ่ม A มีผู้ตอบแบบสำรวจ 166 ชุด กลุ่ม B 204 ชุด และกลุ่ม C 139 ชุด (รวม 509 ชุด) เมื่อเปรียบเทียบกันในภาพรวมพบว่า  กลุ่ม A และ B มีคำตอบคล้ายคลึงกัน และคำตอบในแต่ละข้อส่วนใหญ่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน (เสียงเอกฉันท์) ส่วนกลุ่ม C คำตอบแต่ละข้อคำถาม มีความเห็นแตกต่าง (เสียงแตก) แสดงให้เห็นความคิดที่หลากหลายในกลุ่ม C</p>
<p>อย่างไรก็ตาม โอกาสนี้จะไม่นำเสนอข้อมูลแต่ละกลุ่มโดยละเอียด แต่นำเสนอค่าเฉลี่ยจากข้อมูลดิบของทั้ง 3 กลุ่ม และนำเสนอเฉพาะประเด็นสำคัญ (จากคำถามทั้งหมด 30 ข้อ) ส่วนรายละเอียดทั้งหมด จะนำเสนอในโอกาสต่อไป</p>
<p>ข้อสรุปความคิดเห็นของไรเดอร์จากทั้ง 3 กลุ่ม ซึ่งมาจากผู้ตอบแบบสำรวจจำนวน 509 ชุด ในประเด็นสำคัญมีดังนี้</p>
<p>1. ลักษณะผู้ตอบแบบสำรวจ : ส่วนใหญ่เป็นชาย (87%); อายุช่วงวัยแรงงานตอนกลาง (30-44 ปี) (57%); ทำงานมานานประมาณ 3-4 ปี (42%); ทำงานนี้เป็นงานประจำ (64%)             </p>
<p>2. ความสัมพันธ์กับกลุ่ม : ส่วนใหญ่ทราบกฎระเบียบ นโยบาย แนวทางการทำงานของกลุ่มในระดับมากที่สุด; การได้รับข้อมูลข่าวสารประจำวัน ภายในกลุ่ม เป็นไปโดยสะดวกและรวดเร็วในระดับมากที่สุด; พึงพอใจบทบาทของกลุ่มในการช่วยเหลือสมาชิกระดับมากที่สุด; พึงพอใจต่อการสามารถเสนอความคิดเห็นและได้รับการรับฟังจากแกนนำระดับมากที่สุด; และเรื่องสำคัญที่สุดที่กลุ่มควรให้การช่วยเหลือสมาชิกคือ การช่วยเหลือเงินเมื่อเกิดอุบัติเหตุ หยุดงานขาดรายได้   </p>
<p style="margin-top:12.0pt; margin-right:0in; margin-bottom:0in; margin-left:0in; text-align:justify; margin:0in 0in 10pt"> </p>
<p style="margin: 0in 0in 10pt; text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53319782486_cd98c3794b_o_d.png" style="width: 640px; height: 480px;" /></p>
<p style="margin: 0in 0in 10pt; text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53320255260_b94f16e89f_b_d.jpg" style="width: 640px; height: 480px;" /></p>
<p style="margin-top:12.0pt; margin-right:0in; margin-bottom:0in; margin-left:0in; text-align:justify; margin:0in 0in 10pt"> </p>
<p style="margin: 0in 0in 10pt; text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53320137279_1239f7ce3e_c_d.jpg" style="width: 640px; height: 480px;" /></p>
<p><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53319782526_4ce120a477_c_d.jpg" style="width: 640px; height: 480px;" /></p>
<p><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53320255260_b94f16e89f_c_d.jpg" style="width: 640px; height: 480px;" /></p>
<p style="margin-top:12.0pt; margin-right:0in; margin-bottom:0in; margin-left:0in; text-align:justify; margin:0in 0in 10pt"> </p>
<p style="margin-top:12.0pt; margin-right:0in; margin-bottom:0in; margin-left:0in; text-align:justify; margin:0in 0in 10pt">3. ความรู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน : ส่วนใหญ่รู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับสมาชิกกลุ่มในระดับมากที่สุด; หากกลุ่มขยายความร่วมมือไปยังไรเดอร์กลุ่มอื่นเห็นด้วยในระดับมากที่สุด; การรวมตัวกันเรียกร้องสิทธิและสวัสดิการอันพึงมีพึงได้ของไรเดอร์ เช่น กฎหมายคุ้มครองไรเดอร์ ยินดีเข้าร่วมในระดับมากที่สุด; หากมีการเรียกร้องสิทธิอันพึงมีพึงได้ของไรเดอร์กลุ่มอื่นหรือแรงงานกลุ่มอื่น ยินดีให้การสนับสนุนระดับมากที่สุด</p>
<p style="margin: 0in 0in 10pt; text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53318917002_88917c432f_c_d.jpg" style="width: 640px; height: 480px;" /></p>
<p><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53320023583_4fe2f745b8_c_d.jpg" style="width: 640px; height: 480px;" /></p>
<p><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53319782621_6db0834096_c_d.jpg" style="width: 640px; height: 480px;" /></p>
<p><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53320023623_4a10c5e2e6_c_d.jpg" style="width: 640px; height: 480px;" /></p>
<p style="margin-top:12.0pt; margin-right:0in; margin-bottom:0in; margin-left:0in; text-align:justify; margin:0in 0in 10pt">4. การพัฒนากลุ่มเป็นองค์กร : ส่วนใหญ่เห็นด้วยหากกลุ่มพัฒนาให้มีคณะกรรมการ กฎระเบียบ และการรับสมาชิก อย่างเป็นและระบบชัดเจนมากขึ้น ในระดับมากที่สุด; หากกลุ่มพัฒนาเป็นสหภาพแรงงานเห็นด้วยในระดับมากที่สุด; ความเข้าใจสิ่งที่เรียกว่า "สหภาพแรงงาน" ส่วนใหญ่เข้าใจดี; หากกลุ่มจัดอบรมให้ความรู้เรื่องสิทธิและสวัสดิการของแรงงาน ส่วนใหญ่จะเข้าร่วมการอบรม</p>
<p style="margin: 0in 0in 10pt; text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53320023678_116f2095fb_c_d.jpg" style="width: 640px; height: 480px;" />
<img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53320137419_08440db126_c_d.jpg" style="width: 640px; height: 480px;" /></p>
<p><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53318917112_eff7770df0_c_d.jpg" style="width: 640px; height: 480px;" /></p>
<p><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53318917112_eff7770df0_c_d.jpg" style="width: 640px; height: 480px;" /></p>
<p><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53320137429_056744ac75_c_d.jpg" style="width: 640px; height: 480px;" /></p>
<p style="margin-top:12.0pt; margin-right:0in; margin-bottom:0in; margin-left:0in; text-align:justify; margin:0in 0in 10pt">5. ข้อจำกัดการร่วมกิจกรรมของกลุ่ม : ส่วนใหญ่มีข้อจำกัดด้วยเหตุผลต่างๆ</p>
<p style="margin: 0in 0in 10pt; text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53320255355_ce44ff1e7f_c_d.jpg" style="width: 640px; height: 480px;" /></p>
<p>6. กฎหมายคุ้มครองไรเดอร์ : ส่วนใหญ่เห็นว่าจำเป็นต้องมีกฎหมายคุ้มครองการทำงานของไรเดอร์ในระดับมากที่สุด </p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53318917152_f4c344f1d5_c_d.jpg" style="width: 640px; height: 480px;" /></p>
<p style="margin-top:12.0pt; margin-right:0in; margin-bottom:0in; margin-left:0in; text-align:justify; margin:0in 0in 10pt">7. ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม ประเด็นที่มีการเสนอแนะมากที่สุดคือเรื่องค่ารอบ เช่น อยากให้ต่อสู้เรื่องค่ารอบ; ขอเพิ่มค่ารอบหน่อยเหอะ ทุกวันนี้เหมือนวิ่งการกุศล; อยากให้ค่ารอบของไรเดอร์ขั้นต่ำ 40 บาทเพราะว่าน้ำมันลิตรละ 40 แล้ว; นอกนั้นมีประเด็นหลากหลาย เช่น อยากให้มีประกันสังคม; ไม่อยากเข้าระบบแรงงาน; จัดกิจกรรม พบปะพูดคุย จะได้สนิทกัน ความช่วยเหลือในกลุ่มจะได้มากขึ้น; ทำกลุ่มสหภาพแรงงานซะ; อยากให้ทางกลุ่มลองหาพันธมิตรจากส่วนของลูกค้า ประชาชนทั่วไปและร้านค้า เพื่อช่วยในการขับเคลื่อนนโยบายของกลุ่มให้บรรลุจุดประสงค์</p>
<p>ข้อมูลทั้งหมดโดยสรุป แสดงให้เห็นแนวโน้มที่สวนทางกับงานศึกษาก่อนหน้า ที่ตั้งข้อสังเกตว่ากลุ่มช่วยเหลือกันมีข้อจำกัดคือ สมาชิกนิยมรวมตัวกันหลวมๆ และมุ่งแก้ไขเรื่องเฉพาะหน้า แต่ข้อสรุปเบื้องต้นนี้แสดงให้เห็น ความต้องการของสมาชิกกลุ่ม ในการสนับสนุนให้กลุ่มพัฒนาเป็นองค์กรตามแนวทางสหภาพแรงงาน ความต้องการได้รับการอบรมเรื่องสิทธิและสวัสดิการ และความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในกลุ่มเดียวกัน ข้ามกลุ่ม และกับแรงงานกลุ่มอื่น และแม้ว่าส่วนใหญ่มีข้อจำกัดในการเข้าร่วมกิจกรรมของกลุ่ม แต่เกือบครึ่งหนึ่งไม่มีข้อจำกัดในการเข้าร่วมกิจกรรม ซึ่งทั้งหมดเป็นสัญญาณบวกของการพัฒนาองค์กรแรงงาน</p>
<p>อย่างไรก็ตามข้อสรุปนี้ เกิดขึ้นจากข้อจำกัดหลายประการ เช่น มาจากกลุ่มตัวอย่างจำนวนน้อยเมื่อเทียบกับจำนวนไรเดอร์ทั้งหมด ข้อจำกัดต่างๆในการออกแบบคำถาม และคำอธิบายที่ต้องการเพิ่มเติม</p>
<p><strong>โดยคำนึงถึงข้อจำกัดดังกล่าว สัญญาณบวกของการพัฒนาองค์กรแรงงาน เป็นเพียงจุดเริ่มต้น ซึ่งต้องการก้าวต่อไปบนความมุ่งมั่นยกระดับองค์กรของไรเดอร์ และการสนับสนุนจากพี่น้องแรงงาน สหภาพแรงงาน และภาคประชาชน</strong></p>
<div>
<div id="edn1">
<p class="MsoEndnoteText" style="margin:0in"> </p>
<p class="MsoEndnoteText" style="margin:0in"><strong>อ้างอิง</strong></p>
<p><a href="#_ednref1" name="_edn1" title="" id="_edn1">[1][/url] Ford, M., &amp; Honan, V. (2019). The limits of mutual aid: Emerging forms of collectivity among</p>
<p>app-based transport workers in Indonesia. Journal of Industrial Relations, 61(4), 528–548.</p>
</div>
<div id="edn2">
<p><a href="#_ednref2" name="_edn2" title="" id="_edn2">[2][/url] Tassinari, A., &amp; Maccarrone, V. (2020). Riders on the storm: Workplace solidarity among gig economy couriers in Italy and the UK. Work, Employment and Society, 34(1), 35–54.</p>
</div>
<div id="edn3">
<p><a href="#_ednref3" name="_edn3" title="" id="_edn3">[3][/url]โครงการวิจัยเชิงปฏิบัติการรูปแบบการสร้างอำนาจต่อรองเพื่อสุขภาวะของแรงงานแพลตฟอร์มส่งอาหารและแรงงานในกิจการขนส่ง ดำเนินโครงการโดยนายพฤกษ์ เถาถวิล และนายวรดุลย์ ตุลารักษ์ ภายใต้โครงการพัฒนาความรู้และความเข้มแข็งกลุ่มแรงงานนอกระบบเพื่อสุขภาวะ มูลนิธิชุมชนท้องถิ่นพัฒนา สนับสนุนโดยสำนักงานกองทุนสร้างเสริมสุขภาพ</p>
</div>
</div>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">บทคhttps://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2023/11/106727
 

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

นักข่าวหัวเห็ด แห่งเวบสุขใจ
อัพเดตข่าวทันใจ ตลอด 24 ชั่วโมง

>> http://www.SookJai.com <<
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.163 วินาที กับ 27 คำสั่ง

Google visited last this page 10 มิถุนายน 2568 21:41:24