[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
29 เมษายน 2567 18:59:12 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - สุรพศ ทวีศักดิ์: พุทธไทยเป็นเหตุผลนิยมจริงหรือ  (อ่าน 92 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
สุขใจ ข่าวสด
I'm Robot
สุขใจ บอทนักข่าว
นักโพสท์ระดับ 15
****

คะแนนความดี: +101/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Italy Italy

กระทู้: มากเกินบรรยาย


บอท @ สุขใจ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 14 พฤศจิกายน 2566 23:26:53 »

สุรพศ ทวีศักดิ์: พุทธไทยเป็นเหตุผลนิยมจริงหรือ  
 


<span class="submitted-by">Submitted on Tue, 2023-11-14 22:12</span><div class="field field-name-field-byline field-type-text-long field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><p>สุรพศ ทวีศักดิ์</p>
<p> </p>
</div></div></div><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>หนังสือ “พระ-พุทธ-ศาสนา-ไทย ตายแล้ว?” รวมบทความ และบทสัมภาษณ์ของนิธิเกี่ยวกับพุทธศาสนาในมิติความสัมพันธ์กับรัฐ สังคม การเมือง มิติคำสอน และมิติเชิงวัฒนธรรมประเพณีความเชื่อของชาวพุทธไทยไว้แทบทั้งหมด ผู้สนใจ "ความคิดทางพุทธศาสนา" ของนิธิไม่ควรพลาด</p>
<p>มีบางประเด็นที่ผมอยากแลกเปลี่ยน คือผมคิดว่างานบางชิ้นของนิธิและงานวิชาการที่ได้อิทธิพลจากงานนิธิ (เช่นงานของพระไพศาล วิสาโล เป็นต้น) มักตีความว่าการปฏิรูปพุทธศาสนาสมัย ร.4-5 เน้นคำสอนที่มีความเป็นเหตุเป็นผลสอดคล้องกับวิทยาศาสตร์ ส่งผลให้พุทธศาสนาแบบปฏิรูปแล้วเป็น “พุทธแบบเหตุผลนิยม” ที่ทำลายความหลากหลายของพุทธศาสนาแบบที่เคยมีมาในอดีต</p>
<p>ในงานชื่อ “ปากไก่และใบเรือ” นิธิมองว่าการเกิดพุทธแบบเหตุผลนิยมมาจาก “ปัจจัยภายใน” คือชนชั้นนำให้ความสำคัญกับ “คำสอนที่มีเหตุผล” ในไตรปิฎกมากกว่าอรรถกถา แต่ในบทความชื่อ “อารมณ์ความรู้สึกทางศาสนา” (บทความในหนังสือที่เอ่ยข้างต้น) นิธิตีความการปฏิรูปศาสนายุค ร.4-5 ว่าชนชั้นนำหรือปัญญาชนยุคนั้น อาศัย “ตรรกะของวิทยาศาสตร์” และ “เหตุผลนิยมแบบตะวันตก” ในยุคสมัยนั้นเป็น “บรรทัดฐาน” ในการตีความพุทธศาสนาที่พึงได้รับคำรับรองจากรัฐ แต่นิธิไม่ได้อภิปรายว่าเหตุผลนิยมแบบตะวันตกคืออะไร และชนชั้นนำเอามาใช้เป็นบรรทัดฐานสร้างพุทธแบบเหตุผลนิยมขึ้นมาอย่างไร ผมมีประเด็นที่จะอภิปรายเชิงแลกเปลี่ยน 5 ประเด็นหลักๆ</p>
<p>1. ในยุคที่ศาสนาพยายามปรับตัวเข้ากับความเป็นสมัยใหม่ (modernity) ปัญญาชนของศาสนาหลักๆ ต่างพยายามตีความศาสนาของตนให้สอดคล้องกับวิทยาศาสตร์ เช่น นิวตัน (Isaac Newton)ตีความว่าการค้นพบความจริงทางวิทยาศาสตร์ คือการค้นพบผลงานสร้างสรรค์ของพระเจ้า หรือค้นพบอัจฉริยภาพของพระเจ้าในการออกแบบธรรมชาติและกฎของธรรมชาติ นักคิดอิสลามก็ตีความทำนองเดียวกัน ในยุคอาณานิคมปัญญาชนพุทธในศรีลังกา พม่า สยาม ต่างตีความว่าพุทธศาสนาเป็นศาสนาที่มีเหตุผลสอดคล้องกับวิทยาศาสตร์ เพื่อแสดงให้พวกบาทหลวง มิชชันนารีหรือชาวตะวันตกเห็นว่าพุทธศาสนาไม่ได้งมงายล้าหลัง แต่มีความทันสมัย และเข้ากันได้กับความก้าวหน้าทางปัญญาของตะวันตก </p>
<p>2. แต่การตีความเช่นนั้นทำให้ศาสนาพุทธ คริสต์ อิสลาม กลายเป็น “ศาสนาแบบเหตุผลนิยม” หรือไม่? การจะตอบคำถามนี้ เราต้องแยกระหว่าง “ความมีเหตุผล” (justification) กับ “เหตุผลนิยม” (rationalism) ให้ชัดก่อน </p>
<p><strong>ความมีเหตุผลเป็นคุณสมบัติของระบบความเชื่อ, แนวคิด หรือทฤษฎีต่างๆ ส่วนเหตุผลนิยมคือแนวคิดหรือทฤษฎีเฉพาะแบบหนึ่งที่ให้อำนาจสูงสุดแก่เหตุผล (reason) ในการตัดสินความจริงและความถูกต้องทางศีลธรรม </strong></p>
<p>ตัวอย่างเช่น แนวคิดตรงข้ามกับเหตุผลนิยม คือ “ประสบการณ์นิยม” (empiricism) ถือว่าเหตุผลไม่ใช่สิ่งตัดสินความจริงที่เชื่อถือได้มากที่สุด ประสาทสัมผัสต่างหากคือสิ่งตัดสินความจริงที่เชื่อถือได้มากที่สุด นักคิดฝ่ายประสบการณ์นิยมอ้างข้อเท็จจริงหรือหลักฐานต่างๆ มากมายเพื่อสนับสนุนว่าแนวคิดประสบการณ์นิยมเป็นแนวคิดที่มีเหตุผล หรือมีความสมเหตุสมผลให้น่าเชื่อถือได้มากกว่า แต่ “ความมีเหตุผล” ของแนวคิดนี้ก็ไม่ได้ทำให้ตัวแนวคิดนี้เป็นเหตุผลนิยม ตรงกันข้ามมันกลับเป็น “คู่แข่ง” สำคัญของแนวคิดเหตุผลนิยม</p>
<p>ในยุคกลาง นักปรัชญาคริสต์อย่างอไควนัส (Thomas Aquinas) และคนอื่นๆ ได้นำแนวคิดเหตุผลนิยมโบราณแบบเพลโตและอาริสโตเติลมาตีความสนับสนุนความมีอยู่จริงของพระเจ้า (God) แต่ก็ไม่ได้ทำให้คริสต์ศาสนากลายเป็น “ศาสนาแบบเหตุผลนิยม” ขึ้นมาเลย เพราะนักปรัชญาเหล่านั้นเพียงใช้หลักเหตุผลแสดงให้เห็นว่าความเชื่อเรื่องพระเจ้าเป็นความเชื่อที่มีเหตุผล หรือมีความสมเหตุสมผลที่จะเชื่อ แต่การใช้เหตุผลไม่สามารถทำให้เราเข้าถึงพระเจ้าได้ การเข้าถึงพระเจ้าต้องอาศัย “ศรัทธา” (faith) เท่านั้น </p>
<p>ในคัมภีร์พุทธศาสนาและการตีความของปัญญาชนยุค ร.4-5 หรือยุคไหนๆ และในพุทธศาสนานิกายใดๆ ก็แสดงเหตุผลไว้มากมายเพื่อสนับสนุนว่า “นิพพานมีอยู่จริง” แต่ต่างก็ยืนยันว่าการใช้เหตุผลไม่สามารถทำให้บรรลุนิพพานได้ การบรรลุนิพพานเป็นประสบการณ์ด้านในของแต่ละคนที่เรียกว่า “การตรัสรู้” หรือวิมุติ ดังนั้น ไม่ว่าจะเป็นการเลือกเน้นคำสอนที่มีเหตุผลในไตรปิฎก หรือการเน้นตีความคำสอนพุทธศาสนาให้มีเหตุผลสอดคล้องกับวิทยาศาสตร์ ก็ไม่ทำให้พุทธศาสนาเป็น “พุทธแบบเหตุผลนิยม” ได้จริง เพราะไม่ใช่การให้อำนาจสูงสุดแก่เหตุผลในการตัดสินความจริงและความถูกต้องทางศีลธรรมอย่างที่แนวคิดเหตุผลนิยมยืนยัน </p>
<p>3. ในทางจริยศาสตร์ (Ethics) มีแนวคิดที่เป็นคู่แข่งกันสองแนวคิดคือ “ประสบการณ์นิยมทางศีลธรรม” (moral empiricism) กับ “เหตุผลนิยมทางศีลธรรม” (moral rationalism) แนวคิดแรกอ้างอิงข้อเท็จจริงเชิงประจักษ์ หรือความรู้ ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์มาใช้เป็นเหตุผลสนับสนุนหลักการทางศีลธรรม แต่แนวคิดหลังปฏิเสธการอ้างอิงแบบนั้นมาใช้เป็นเหตุผลสนับสนุนหลักการทางศีลธรรม แนวคิดเหตุผลนิยมทางศีลธรรมยืนยันว่าการใช้เหตุผลเพียวๆ เท่านั้นที่จะนำไปสู่การสร้างหลักการทางศีลธรรมที่ถูกต้องได้จริง</p>
<p>ตัวอย่างของแนวคิดประสบการณ์นิยมทางศีลธรรม เช่น แนวคิดประโยชน์นิยม (utilitarianism) เสนอหลักการทางศีลธรรมว่า ”การกระทำที่ดีหรือถูกต้องคือการกระทำที่เกิดประโยชน์สูงสุดแก่คนจำนวนมากที่สุด” ผลลัพธ์ที่เรียกว่า “ประโยชน์สูงสุด” ต้องวัดปริมาณหรือตรวจสอบได้อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ ส่วนประเด็นว่าทำไมจึงถือว่า “ประโยชน์สูงสุด” แก่ “คนจำนวนมากที่สุด” (หรือส่วนรวม) จึงเป็นเป้าหมายสูงสุดทางศีลธรรม หรือเป็น “เกณฑ์” ตัดสินความถูกต้องของการกระทำทางศีลธรรม นักคิดประโยชน์นิยมก็จะอ้างข้อเท็จจริงต่างๆ หรือความจริงทางวิทยาศาสตร์ เช่น ผลการศึกษาทางจิตวิทยาบอกว่า “ธรรมชาติทางจิตวิทยาของมนุษย์คือ การเกลียดความทุกข์ ความเจ็บปวด และต้องการความสุข” เป็นสาเหตุให้พฤติกรรมในชีวิตประจำวันของผู้คนมีแนวโน้มแสวงหาความสุขหรือสิ่งที่มีประโยชน์เป็นปกติ สังคมทุกสังคมก็ต้องการความสุขหรือประโยชน์ส่วนรวม อาจมีการศึกษาลงลึกในทางชีววิทยาถึงระดับ “ดีเอ็นเอ” ว่ามนุษย์มีแนวโน้มโดยธรรมชาติในการพึ่งพาพาอาศัยกันเพื่อให้สังคมส่วนรวมอยู่รอด หรืออาจอ้างผลการศึกษาเปรียบเทียบว่าสังคมที่มีวัฒนธรรมเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม และวางระบบการกระจายประโยชน์ส่วนรวมอย่างเป็นธรรมคือสังคมที่ก้าวหน้ากว่าสังคมที่ขาดวัฒนธรรมและระบบเช่นนั้น เป็นต้น </p>
<p>ส่วนแนวคิดเหตุผลนิยมทางศีลธรรม เช่น ปรัชญาศีลธรรมสายคานท์ (Kantian) เป็นปรัชญาที่ให้อำนาจสูงสุดแก่เหตุผลในการตัดสินความถูกต้องทางศีลธรรม คานท์แยกว่าวิทยาศาสตร์ให้ความรู้แก่เราเกี่ยวกับธรรมชาติทางชีววิทยา จิตวิทยา แต่นำมาเป็นรากฐานของศีลธรรมไม่ได้ เพราะความถูกต้องทางศีลธรรมไม่ขึ้นกับข้อเท็จจริงในธรรมชาติหรือความจริงทางวิทยาศาสตร์ ดังนั้น การกระทำหรือพฤติกรรมที่เป็นไปตามกฎธรรมชาติ เช่น กฎทางชีววิทยา กฎทางจิตวิทยา หรือกระทั่งกฎทางสังคมวิทยา ไม่ถือว่าเป็นการกระทำตามกฎศีลธรรม เพราะศีลธรรมไม่ใช่เรื่องของ “ข้อเท็จจริง” แต่เป็นเรื่องของสิ่งที่ “ควรจะเป็น” และสิ่งที่จะบอกว่าอะไรคือสิ่งที่ควรจะเป็นคือ “เหตุผล” ที่เป็นอิสระจากกราครอบงำของอารมณ์ความรู้สึกตามกฎทางชีววิทยาและกฎทางจิตวิทยา และเป็นอิสระจากกฎทางสังคมวิทยา เช่น อิทธิพลครอบงำของคนอื่น ความเชื่อทางศาสนา ประเพณี อำนาจศาสนจักร อำนาจรัฐ เป็นต้น</p>
<p>สำหรับคานท์ การมีศีลธรรมกับการมี “อิสรภาพ” (autonomy) จึงเป็นเรื่องเดียวกัน เพราะการมีอิสรภาพ (หรือเสรีภาพ) หมายถึง การที่เราสามารถใช้เหตุผลของตนเองบัญญัติกฎศีลธรรมขึ้นมาใช้กับตัวเองและใช้ร่วมกันกับทุกคนอย่าง “สมเหตุสมผล” ได้ โดยกฎศีลธรรมที่เราบัญญัติขึ้นต้องเป็นกฎที่เคารพความเป็นมนุษย์ผู้มีเหตุผลที่มีเสรีภาพ ความเสมอภาค และมีศักดิ์ศรีในตัวเอง กฎศีลธรรมที่เคารพความเป็นมนุษย์ของตนเองและทุกคนในฐานะ “คนเท่ากัน” เช่นนี้ จึงสมเหตุสมผลที่จะเป็นกฎสากลที่ทุกคนสามารถยึดถือปฏิบัติร่วมกันได้ และการมีเสรีภาพยังหมายถึงการที่เรามีเจตจำนงอิสระ (free will) ในการกระทำตามกฎศีลธรรมสากลนั้นด้วย</p>
<p>นั่นคือเสรีภาพทางศีลธรรมหรืออิสรภาพทางศีลธรรม (moral autonomy) ตามไอเดียแบบคานท์ แต่เมื่อพูดถึง “เสรีภาพทางการเมือง” (political liberty) คานท์ยืนยันว่า “รัฐต้องเป็นกลางทางคุณค่า” หมายถึง รัฐต้องประกันสิทธิและเสรีภาพขั้นพื้นฐานให้พลเมืองทุกคนเลือกการมีชีวิตที่ดีตามความเชื่อทางศาสนา ความเชื่อที่ไม่ใช่ศาสนา หรือปรัชญาใดๆ ก็ได้ตราบที่เขายังเคารพสิทธิเสรีภาพแบบเดียวกันของคนอื่นๆ แนวคิดนี้เป็นรากฐานสำคัญของระบอบประชาธิปไตยสมัยใหม่ที่แยกศาสนาจากรัฐ หรือเป็นรัฐโลกวิสัย (secular state) ดังนั้น แนวคิดเหตุผลนิยมแบบคานท์จึงไม่ใช่แนวคิดที่ขจัดความแตกต่างหลากหลายทางความคิดความเชื่อ กลับเป็นแนวคิดที่วางหลักเสรีภาพเป็นรากฐานรองรับให้ความแตกต่างและหลากหลายทางความคิดความเชื่อเป็นไปได้จริงมากกว่า</p>
<p>พูดให้ชัดคือ แนวคิดปรัชญาศีลธรรมสมัยใหม่ ไม่ว่าประโยชน์นิยมหรือปรัชญาศีลธรรมสายคานท์ต่างยืนยันว่าปัจเจกบุคคลเป็นเจ้าของเสรีภาพอย่างสมบูรณ์ แต่ไม่ใช่ปัจเจกบุคคลที่ไม่สนใจสังคม เพราะประโยชน์นิยมยืนยันเสรีภาพในฐานะเป็นเงื่อนไขที่ขาดไม่ได้ของการสร้างประโยชน์ส่วนรวมและความก้าวหน้าของมนุษยชาติ ขณะที่ปรัชญาสายคานท์ยืนยันเสรีภาพควบคู่กับการสร้างหลักการสากลที่เน้นความเสมอภาคบนพื้นฐานของ “ความเป็นคนเท่ากัน” ซึ่งรอลส์ (John Rawls) นำหลักการนี้มาพัฒนาเป็นหลักความยุติธรรมทางสังคมและการเมือง คือหลักเสรีภาพที่เท่าเทียมที่ให้ความสำคัญกับเสรีภาพทางการเมืองและเสรีภาพปัจเจกบุคคล พร้อมๆ กับให้ความสำคัญกับหลักการประกันสิทธิในสวัสดิการพื้นฐานต่างๆ และโอกาสความก้าวหน้าด้านอาชีพการงานและอื่นๆ ที่เท่าเทียมและเป็นธรรม</p>
<p>4. ภาพรวมความก้าวหน้าของการเน้นความเป็นเหตุเป็นผล (rationality) ความเป็นวิทยาศาสตร์ และเหตุผลนิยมแบบตะวันตกสมัยใหม่ เกิดจากการปฏิรูปคริสต์ศาสนาที่ยืนยัน “คำสอนที่แท้จริงของเยซูคริสต์” ควบคู่กับยืนยัน “ความเสมอภาคในสายตาของพระเจ้า” และ “เสรีภาพแห่งมโนธรรม” (freedom of conscience) ของปัจเจกบุคคล จนนำมาสู่การยืนยันเสรีภาพที่จะแสวงหาและนำเสนอความจริงที่เป็นเหตุเป็นผลและเป็นวิทยาศาสตร์ทอย่างเป็นอิสระจากอำนาจครอบงำของศาสนจักรและศาลศาสนา ส่งผลให้แนวคิดมนุษยนิยม (humanism) เสรีนิยม (liberalism) และแนวคิดโลกวิสัย (secularism) งอกงามขึ้น แนวคิดเหตุผลนิยมทางศีลธรรมแบบตะวันตกสมัยใหม่ ก็คือส่วนหนึ่งของมนุษยนิยม เสรีนิยม และโลกวิสัย ที่ต่างยืนยันเสรีภาพปัจเจกบุคคล และเสรีภาพทางการเมือง หรือเสรีภาพทางความคิดเห็น การพูด การแสดงออก การอภิปรายสาธารณะทางสังคมและการเมือง ที่กลายเป็นรากฐานของการปฏิวัติเปลี่ยนรัฐคริสเตียนในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชญ์เป็นรัฐโลกวิสัยในระบอบประชาธิปไตยสมัยใหม่ในเวลาต่อมา</p>
<p>5. หากจะมีการตีความศาสนาที่สอดคล้องกับเหตุผลนิยมที่ยืนยัน “freedom of conscience” และ “moral autonomy” ก็คงมีในการตีความของนักคิดโปรเตสแตนท์ เช่น ล็อก (John Locke) ตีความว่าพระเจ้าสร้างมนุษย์มาให้มีสิทธิตามธรรมชาติเท่าเทียมกัน แนวคิดนี้ถูกเขียนไว้ในคำประกาศอิสรภาพอเมริกา และในอเมริกาที่เป็นรัฐโลกวิสัย แยกศาสนาจากรัฐ ก็มีวัฒนธรรมตีความคริสต์ศาสนาสนับสนุนเสรีภาพและความเสมอภาค </p>
<p>ขณะที่คานท์ซึ่งเป็นโปรเตสแตนท์เช่นกัน ก็ยืนยันว่ากฎศีลธรรมไม่ใช่กฎของพระเจ้าหรือกฎของศาสนจักร แต่เป็นกฎที่เราทุกคนใช้เหตุผลและเสรีภาพของตนเองบัญญัติขึ้นมาใช้ร่วมกัน และกฎกติกาทางการเมืองก็ไม่เกี่ยวกับความเชื่อศาสนาใดๆ หากเป็นกฎที่พลเมืองมีสิทธิเท่าเทียมในออกเสียงบัญญัติขึ้น แม้ต่อมามีแนวคิดปรัชญาอื่นๆ ที่ไม่เห็นด้วยกับปรัชญาศีลธรรมแบบคานท์ เช่น Existentialism นักคิดสายปรัชญานี้ก็ยืนยันคล้องกับคานท์และนักคิดสายประโยชน์นิยมว่าปัจเจกบุคคลเป็นเจ้าของเสรีภาพอย่างสมบูรณ์ </p>
<p><strong>คำถามคือ “พุทธแบบเหตุผลนิยม” ที่ใช้ “ตรรกะของวิทยาศาสตร์” และ “เหตุผลนิยมแบบตะวันตก” เป็น “บรรทัดฐาน” ในการตีความคำสอน เหตุใดจึงไม่นำไปสู่การยืนยันเสรีภาพแห่งมโนธรรม เสรีภาพทางศีลธรรม ความเสมอภาค ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และแนวคิดโลกวิสัยแบบตะวันตก แต่กลับเป็นพุทธที่ถูกควบคุมโดยอำนาจรัฐที่ขัดกับหลักความเป็นเหตุเป็นผล ความเป็นวิทยาศาสตร์ และเหตุผลนิยมโดยสิ้นเชิง</strong></p>
<p>แม้แต่ “เสรีภาพทางศาสนา” ในไทยมีจริงหรือไม่? ก็ยังเป็นประเด็นที่ต้องคิดให้ลึกซึ้ง นิธิเขียนไว้ในหนังสือ "พระ-พุทธ-ศาสนา-ไทย ตายแล้ว?" ว่าสังคมไทยมีเสรีภาพทางศาสนา แต่ไม่มีความเสมอภาคทางศาสนา เป็นแบบนี้มาตลอด คือแม้คนไทยเลือกนับถือศาสนาได้ แต่พุทธศาสนาต้องสำคัญที่สุด</p>
<p>ผมเห็นด้วยว่าไทยซึ่งไม่ใช่ “รัฐโลกวิสัย” (secular state) ไม่มีความเสมอภาคทางศาสนาได้จริงหรอก (เช่นเดียวกับพม่า, ศรีลังกา, มาเลเซีย, อินโดนีเซีย) แต่ “เสรีภาพทางศาสนาก็ไม่มีจริง” ด้วย เพราะการบังคับเรียนวิชาพระพุทธศาสนาในหลักสูตรการศึกษาของชาติขัดกับ freedom of conscience ของปัจเจกบุคคล แม้ไม่ได้บังคับให้เขาถือพุทธ แต่มันคือการบังคับขืนจิตใจให้เรียนสิ่งที่เขาไม่นับถือ หรือไม่อยากเรียน เป็นการไม่เคารพ moral autonomy ของปัจเจกบุคคลด้วย
 
ยิ่งกว่านั้น พระเณรภายใต้ “ระบบศาสนจักรพุทธราชาชาตินิยม” ก็ไม่มี freedom of conscience และ moral autonomy เพราะศาสนจักรนี้มีกฎให้พระทำหน้าที่สอน หรือตีความคำสอนพุทธสนับสนุนความจงรักภักดีชาติ ศาสน์ กษัตริย์ได้ แต่ห้ามตีความพุทธสนับสนุนการต่อสู้เพื่อสิทธิเสรีภาพและประชาธิปไตยของประชาชน การไม่มีเสรีภาพดังกล่าวคือการ “ถูกกดทับความเป็นมนุษย์” ที่ต้องมีเสรีภาพแห่งมโนธรรมสำนึกและอิสรภาพทางศีลธรรมเป็นของตนเอง</p>
<p>น่าเศร้านะครับเมื่อนึกถึงความเป็นจริงว่าเราอยู่ภายใต้ระบบการปกครองที่การเป็นพระและการเป็นพลเมืองไม่สามารถจะทำให้เรามี “ความเป็นมนุษย์” ทึ่มีเสรีภาพแห่งมโนธรรมและอิสรภาพทางศีลธรรมเป็นของตนเองได้ ถ้าพระแสดงออกว่ามีเสรีภาพและอิสรภาพดังกล่าวก็ถูกไล่ออกจากวัดหรือจับสึก ถ้าพลเมืองทำแบบนั้นก็ถูกไล่ออกนอกประเทศหรือถูกขังคุก </p>
<p>ดังนั้น ไม่มีจริงหรอก “พุทธแบบเหตุผลนิยม” ที่เกิดจากการใช้ตรรกะของวิทยาศาสตร์และเหตุผลนิยมแบบตะวันตกมาเป็นบรรทัดฐานตีความคำสอน ถ้ามีก็คงเป็น “พุทธเหตุผลนิยมไทยๆ” ที่ไม่ใช่เหตุผลนิยมแบบตะวันตกสมัยใหม่ เหมือน “ประชาธิปไตยไทยๆ” ที่ไม่ใช่ประชาธิปไตยสมัยใหม่ </p>
<p>ความสำเร็จรูปธรรมที่ชัดเจนมากที่สุดของการปฏิรูปศาสนาของชนชั้นนำสยาม คือการสถาปนา “พุทธราชาชาตินิยม” (พุทธศาสนาแบบที่ถูกตีความสนับสนุนอุดมการณ์ชาตินิยมที่มีราชาเป็นศูนย์กลางอำนาจรัฐ) และสร้างศาสนจักรของรัฐ อันได้แก่ “ศาสนจักรพุทธราชาชาตินิยม” (มหาเถรสมาคม) ที่เป็นกลไกรวบอำนาจปกครองพระสงฆ์ทั่วราชอาณาจักรให้ขึ้นต่ออำนาจกษัตริย์ และใช้พุทธศาสนาเป็นเครื่องมือสนับสนุนอุดมการณ์ชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ที่สร้างขึ้นในยุคสมบูรณาญาสิทธิราชย์ และเป็นมรดกตกทอดมาถึงปัจจุบัน</p>
<p><strong>จะตีความพุทธศาสนาให้สอดคล้องกับแนวคิดเหตุผลนิยมทางศีลธรรมที่ยืนยัน moral autonomy ของเราทุกคนได้ แบบนักคิดโปรเตสแตนท์เคยทำ ก็ต่อเมื่อปัญญาชนพุทธบ้านเรามองเห็นปัญหาของ “พุทธราชาชาตินิยม” มรดกสมบูรณาญาสิทธิราชย์อย่างทะลุ และมีความกล้าหาญทางศีลธรรมที่จะต่อสู้เพื่อ “ปลดปล่อยพุทธธรรม” ให้ “หลุดพ้น” จากอำนาจครอบงำของรัฐ และศาสนจักรของรัฐเท่านั้น </strong> </p>
<p> </p>
<p><strong>ที่มาภาพ</strong> https://www.facebook.com/photo/?fbid=718887443614970&amp;set=a.553484836821899
 </p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">บทคhttps://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2023/11/106806
 

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

นักข่าวหัวเห็ด แห่งเวบสุขใจ
อัพเดตข่าวทันใจ ตลอด 24 ชั่วโมง

>> http://www.SookJai.com <<
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
[ข่าวมาแรง] - สุรพศ ทวีศักดิ์: มองการเมืองผ่านเลนส์ปรัชญา
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 127 กระทู้ล่าสุด 31 สิงหาคม 2566 18:44:27
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - สุรพศ ทวีศักดิ์: ทำไมจึงขาดภราดรภาพ
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 98 กระทู้ล่าสุด 18 กันยายน 2566 02:27:22
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - สุรพศ ทวีศักดิ์: ปากท้องกับอุดมการณ์ไม่เคยแยกขาดจากกันได้จริง
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 85 กระทู้ล่าสุด 03 ตุลาคม 2566 05:26:25
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - สุรพศ ทวีศักดิ์: ยุคมืดภายใต้ 112
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 68 กระทู้ล่าสุด 13 ตุลาคม 2566 03:14:39
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - สุรพศ ทวีศักดิ์: ประเด็นมากมายจากศาล 112
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 65 กระทู้ล่าสุด 21 ตุลาคม 2566 23:22:02
โดย สุขใจ ข่าวสด
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.153 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 1 นาทีที่แล้ว