[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
01 พฤศจิกายน 2567 08:04:45 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - เกิดอะไรขึ้นจากปฏิบัติการ 1027 บริเวณชายแดนจีน-รัฐฉาน  (อ่าน 128 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
สุขใจ ข่าวสด
I'm Robot
สุขใจ บอทนักข่าว
นักโพสท์ระดับ 15
****

คะแนนความดี: +101/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Italy Italy

กระทู้: มากเกินบรรยาย


บอท @ สุขใจ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 21 พฤศจิกายน 2566 14:37:17 »

เกิดอะไรขึ้นจากปฏิบัติการ 1027 บริเวณชายแดนจีน-รัฐฉาน
 


<span class="submitted-by">Submitted on Tue, 2023-11-21 14:06</span><div class="field field-name-field-byline field-type-text-long field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><p>ภาพปก: กองกำลัง MNDAA (ที่มา: เฟซบุ๊ก "The Kokang")</p>
</div></div></div><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>กองทัพโกก้างฝ่ายปฏิปักษ์กับกองทัพพม่า MDAA ร่วมด้วยกองกำลังปะหล่อง TNLA และกองทัพอาระกัน AA เปิดปฏิบัติการหมายเลข 1027 ยึดจุดยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจชายแดนติดประเทศจีน</p>
<p> </p>
<p>สืบเนื่องจากช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา (13-17 พ.ย. 2566) กองทัพพันธมิตรประชาธิปไตยแห่งชาติเมียนมา (MNDAA) ฝ่ายปฏิปักษ์กับกองทัพพม่า สนธิกำลังกับพันธมิตรอย่างกองทัพปลดปล่อยแห่งชาติตะอาง หรือ TNLA และกองกำลังอาระกัน AA เปิดปฏิบัติการหมายเลข 1027 ยึดเมืองติดชายแดนจีนในภูมิภาคโกก้าง คืนมาจากกองทัพพม่าซึ่งถูกยึดในปี 2552 ประกอบด้วย ชินฉ่วยเหอ กุนโหลง เมืองโก เพื่อเป้าหมายใหญ่คือ 'เหลากาย' เมืองหลักของโกก้าง ศูนย์กลางการลงทุนสีเทา</p>
<p>ดุลยภาค ปรีชารัชช ผู้เชี่ยวชาญด้านการเมืองเมียนมา ให้สัมภาษณ์กับเดลินิวส์ มองว่า พื้นที่ดังกล่าวถือเป็นจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญ เนื่องจากเป็นระเบียงเศรษฐกิจชายแดนจีน-มัณฑะเลย์ และมีความสำคัญตั้งแต่สมัยสงครามโลก ครั้งที่ 2 จึงเป็นที่หมายปองของกองกำลังกลุ่มต่างๆ ถ้าคุมเส้นทางได้ ก็ได้เปรียบทั้งเรื่องของการค้า และการส่งกำลังบำรุงทางทหาร</p>
<p style="text-align: center;">
<iframe allow="autoplay; clipboard-write; encrypted-media; picture-in-picture; web-share" allowfullscreen="true" frameborder="0" height="314" scrolling="no" src="https://www.facebook.com/plugins/video.php?height=314&amp;href=https%3A%2F%2Fwww.facebook.com%2Fdailynewsonlinefan%2Fvideos%2F863401975530512%2F&amp;show_text=false&amp;width=560&amp;t=0" style="border:none;overflow:hidden" width="560"></iframe></p>
<p>ดุลยภาค ตั้งข้อสังเกตว่า สถานการณ์ของการเมืองพม่า และรัฐฉานตอนเหนือ เป็นวิสัยปกติที่เมื่อมีภาวะสุญญากาศทางการเมือง เจ้าถิ่นเดิมถอนตัวจากเขตอิทธิพลเดิม หรือมีกำลังน้อยลง จะมีกลุ่มชาติพันธุ์อื่นเข้ามายึดครองแทน ส่วนที่ MDAA TNLA และ AA ประกาศจุดมุ่งหมายสำคัญ เพื่อล้มกองทัพพม่า และชูธงปฏิวัติสถาปนาระบอบสหพันธรัฐประชาธิปไตยขึ้นมานั้น ดุลยภาค มองว่า กองกำลังอาจมีจุดมุ่งหมายอื่นๆ ซึ่งเกี่ยวพันกับผลประโยชน์ด้านเศรษฐกิจ และการขยายเขตอิทธิพลของตัวเอง </p>
<p>"คนที่สนับสนุนแนวคิดนี้อย่างเข้มข้นเลยคือทางกองกำลังพิทักษ์ประชาชน หรือ PDF และรัฐบาลเอกภาพแห่งชาติ หรือ NUG เสียมากกว่า กองกำลังติดอาวุธชาติพันธุ์อาจจะประกาศจุดมุ่งหมายนี้เข้าร่วมได้ แต่ผมคิดว่ามันมีเหตุผลอื่นๆ ประกอบอยู่ด้วย อาจจะเป็นเรื่องผลประโยชน์ หรือเขตอิทธิพลเข้ามาประกอบด้วย" ดุลยภาค ระบุ</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">รู้จักกลุ่ม MDAA TNLA และ AA</span></h2>
<p>กองทัพอาระกัน หรือ AA ก่อตั้งขึ้นไม่นานมานี้ โดยจุดมุ่งหมายหลักคือต้องการสู้กับกองทัพพม่าในเขตรัฐยะไข่ ทางด้านตะวันตกเฉียงใต้ ของประเทศเมียนมา เพื่อเพิ่มอำนาจการปกครองตนเอง และสถาปนารัฐยะไข่ ให้เป็นหนึ่งในสมาพันธ์อยู่ในสหภาพพม่า อย่างไรก็ตาม แม้ว่าฐานปฏิบัติการของ AA จะอยู่ในรัฐยะไข่ ซึ่งห่างจากรัฐฉานภาคเหนือก็ตาม แต่ AA ได้รับการฝึกฝนทางการทหารจากตอนเหนือรัฐฉาน และรัฐกะฉิ่น จึงเป็นเหตุผลว่าทำไม AA จึงมาปฏิบัติการและเคลื่อนไหวในรัฐฉานตอนเหนือด้วย  </p>
<div style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53346090031_05ab4eee09_b.jpg" /></div>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#d35400;">ทุนเมียตหน่าย ผู้บัญชาการแห่งกองทัพอาระกัน (ที่มา: wikicommon)</span></p>
<p>อีกหนึ่งตัวแสดงคือ 'กองทัพปลดปล่อยแห่งชาติตะอาง' หรือ TNLA บางคนอาจจะเรียกว่าเป็นกองกำลังตะอาง ดาราอั้ง หรือปะหล่อง กลุ่มนี้มีการเคลื่อนไหวทางการเมืองการทหารมีการรบภายในพื้นที่รัฐฉานตอนเหนือ เพื่อคงเขตอิทธิพลของปะหล่อง ให้มีความเข้มแข็งมากขึ้น</p>
<p>ก่อนหน้านี้ ทาง TNLA ได้มีการรบพุ่งกับสภากอบกู้รัฐฉาน (RCSS) นำโดยเจ้ายอดศึก เนื่องจากทาง RCSS ได้มีการขยายอิทธิพลขึ้นมาที่รัฐฉานเหนือ ทับพื้นที่ของ TNLA จนสุดท้าย ผลการต่อสู้ทำให้ RCSS ต้องถอยร่นกลับไปยังพื้นที่เขตปฏิบัติการเดิมของตัวเองในรัฐฉานใต้ ใกล้บริเวณชายแดนไทย-เมียนมา </p>
<p>สุดท้ายคือ กองทัพพันธมิตรประชาธิปไตยแห่งชาติเมียนมา (MNDAA) หรือกองกำลังโกก้าง แต่เดิมกองกำลังนี้ไม่ใช่กองกำลังชนเผ่าพื้นเมืองในรัฐฉาน แต่เป็นชาวจีนฮั่น อยู่ในตะเข็บชายแดนจีน-พม่า กลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่ทางการพม่าหวาดระแวงมาก เนื่องจากว่ามีความสัมพันธ์กับประเทศจีนมากเป็นพิเศษ ทั้งในพื้นปฏิบัติการที่ติดกับชายแดนจีน และเป็นคนเชื้อชาติเดียวกัน นอกจากนี้ MNDAA เป็นอดีตสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์พม่า และได้รับอิทธิพลจากจีนมาตั้งแต่สมัยสงครามเย็น</p>
<p>ทั้งนี้ กลุ่มกองกำลังโกก้าง สามารถแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม โดยกลุ่มที่มีความใกล้ชิดสนิทสนมกับจีนมาก ซึ่งก็คือ MNDAA ที่ก่อการสู้กับพม่าในครั้งนี้ และอีกกลุ่มคือยอมสวามิภักดิ์ต่อกองทัพพม่า แม้ว่ายังเป็นจีนฮั่นอยู่ แต่ยอมสวามิภักดิ์ เพื่อแลกเปลี่ยนผลประโยชน์บางอย่าง </p>
<div style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53345200747_220d331ee9_b.jpg" /></div>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#d35400;">ภาพกองกำลังชาวโกก้าง MNDAA ที่ปฏิบัติการในรัฐฉาน ภาคเหนือ (เพจเฟซบุ๊ก The Kokang)</span></p>
<p>ทั้งสามรวมตัวในฐานะพันธมิตรภราดรภาพฝ่ายเหนือ (Brotherhood Alliance) เคลื่อนไหวในฝั่งภาคเหนือของรัฐฉาน โดยนอกจาก MNDAA TNLA และ AA แล้ว ฝ่ายพันธมิตรภราดรภาพฝ่ายเหนือ ยังมีกองกำลังสมาชิกอื่นๆ อีก 3-4 กลุ่ม ได้แก่ กองกำลังเมืองลา กองกำลังรัฐฉานภาคเหนือ หรือ SSPP กองกำลังสหรัฐว้า หรือ UWSA และอื่นๆ โดยจุดมุ่งหมายของการรวมตัวนั้น เพื่อต่อรองการเคลื่อนไหวทางการเมือง หรือการเป็นเขตปกครองพิเศษอื่นๆ ส่วนกองกำลังที่มีอิทธิพลมากที่สุดคือกองทัพสหรัฐว้า หรือ UWSA ซึ่งมีกองกำลังพลพร้อมรบ ร่วม 2 หมื่นนาย และมีอาวุธยุทโธปกรณ์ที่ได้รับจากจีน</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">ข้อพิพาทในอดีต</span></h2>
<p>อย่างที่กล่าวไปข้างต้น MNDAA TNLA และ AA รวมตัวกันในฐานะสมาชิกของพันธมิตรฝ่ายเหนือ เพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์เคลื่อนไหวบริเวณรัฐฉานตอนเหนือ ติดต่อกับรัฐกะฉิ่น ทั้งสามเป็นกลุ่มที่รัฐบาลทหารพม่าตั้งแต่ยุคประธานาธิบดีตานฉ่วย และเต็งเส่ง จนถึงยุครัฐบาลพลเรือนของพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย หรือ NLD นำโดยอองซานซูจี ไม่ยอมเจรจา ไม่นับว่าเป็นกองกำลังชนกลุ่มน้อยที่อยู่ในกลุ่มหยุดยิงทั่วประเทศ (National Ceasefire Agreement) เมื่อ ต.ค. 2558</p>
<p>กองทัพโกก้าง MNDAA เคยถูกรัฐบาลทหารพม่าหักหลัง เนื่องจากไม่ยอมแปรสภาพมาเป็นกองกำลังพิทักษ์ชายแดน หรือ BGF ทำให้กองทัพพม่าบุกยึดภูมิภาคโกก้างเมื่อ ส.ค. 2552 นำโดย พล.อ.อาวุโส มินอ่องหล่าย ตอนนั้นเป็นแม่ทัพภาคสามเหลี่ยมทองคำ คุมกองกำลังพม่าในรัฐฉาน ปีถัดมา พล.อ.อาวุโส มินอ่องหล่าย ได้เลื่อนตำแหน่งขึ้นเป็นเสนาธิการร่วมกองทัพพม่า จากนั้น มีการตั้งผู้นำโกก้างอีกตระกูลที่จงรักภักดีกับพม่า ควบคุมบริหารภูมิภาคโกก้างแทน ส่วนผู้นำโกก้าง MNDAA ชื่อว่า 'เผิงจาเซิง' ลี้ภัยไปชายแดนจีน สลับกับอยู่ในเขตเมืองลา ที่ 'จายลืน' ผู้นำเมืองลา เป็นลูกเขย</p>
<p>MNDAA พยายามจะยึดภูมิภาคโกก้างคืนในปี 2558 แต่ไม่สำเร็จ ส่วนเผิงจาเซิง เสียชีวิตเมื่อ ก.พ. 2565 ที่เมืองลา งานศพจัดใหญ่โต โดยมีพันธมิตรของโกก้างเป็นเจ้าภาพงาน (เมืองลา และกองทัพสหรัฐว้า)</p>
<p>สิ่งที่น่าสนใจคือ การบุกของ MDAA ทำให้กองกำลังกลุ่มชาติพันธุ์อื่นๆ หันมาเปิดแนวรบทั้งบริเวณเมืองที่เป็นชุมทางการค้าชายแดน หรือชุมทางคมนาคม รวมไปถึงประกาศยึดเมืองสำคัญในพื้นที่รัฐชนกลุ่มน้อย</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">แนวรบอื่น</span></h2>
<p>เริ่มจาก (1) รัฐกะยา หรือรัฐกะเรนนี หลังรัฐประหาร ก.พ. 2564 มีกองกำลังพันธมิตร ประกอบด้วย 1. กองกำลังกะเรนนี (KA) เป็นกองกำลังหลักของพรรคก้าวหน้าแห่งชาติกะเรนนี (KNPP) 2. กองกำลังปลดปล่อยแห่งชาติกะเหรี่ยง (KNLA) เป็นกองกำลังหลักของ KNU 3. KNDF เป็นการรวบรวมกลุ่ม PDF ย่อยในรัฐกะยา ที่ตั้งขึ้นหลังรัฐประหารพม่า จัดสายบัญชาการใหม่ และ 4. แนวร่วมปลดปล่อยประชาชนแห่งชาติกะเรนนี หรือ KNPLF (Karenni National People's Liberation Front) เป็นอดีตพรรคคอมมิวนิสต์พม่าเก่าที่เดิมโอนไปเป็นกองกำลังพิทักษ์ชายแดนแล้ว แต่ต่อมาแยกตัวออกมาจากกองทัพพม่า แบบออกยกกองกำลังตั้งแต่ มิ.ย. 2566</p>
<p>กองกำลัง KNPLF ที่เปิดปฏิบัติการ '1107' เมื่อ 7 พ.ย. ที่ผ่านมา เพื่อยึดตำบลแม่แจ๊ะ พื้นที่ตรงข้ามคือจุดผ่อนปรนการค้าชายแดนไทย-พม่า บ้านเสาหิน ซึ่งบริเวณบ้านเสาหิน-แม่แจ๊ะ เป็นชุมทางการค้าสำคัญ และเป็นเส้นทางรองรับผู้ลี้ภัยมาตั้งแต่หลังรัฐประหาร 2564  </p>
<p>นอกจากนี้ ตอนในรัฐกะยา มีการเปิดปฏิบัติการ 1111 โดยกองกำลัง KNDF ร่วมกับพันธมิตร ประกาศจะยึดพื้นที่ตอนใน อย่าง ลอยก่อ เมืองหลวงรัฐกะยา และเมืองสำคัญอื่นๆ ในรัฐ เช่น เดโมโซ และโมเบีย (Moebye) เมืองตอนใต้ของรัฐฉาน ที่ประชากรเป็นกลุ่มชาติพันธุ์กะยาเหมือนกัน</p>
<p>(3) รัฐยะไข่ กองกำลังอาระกัน AA ยกเลิกการหยุดยิงกับรัฐบาลทหารพม่าที่ทำไว้เมื่อปีก่อน (2565) หันมาปฏิบัติการเพื่อยึดป้อมของกองทัพพม่าหลายแห่งที่เมือง ‘Rathedaung’  บริเวณชายแดนรัฐยะไข่ติดบังกลาเทศ</p>
<p>(4) รัฐชิน (12-13 พ.ย.) กองกำลังแห่งชาติชิน (Chin National Army - CNA) ยึดเมือง Rikhawdar เป็นด่านชายแดนพม่า-อินเดีย ตรงข้ามเป็นรัฐมิโซรัม (ประชากรส่วนมากเป็นกลุ่มเดียวกับในรัฐชิน)</p>
<p>(5) รัฐกะเหรี่ยง KNU+PDF พยายามจะยึดกอกะเร็ก ที่เป็นชุมทางและมีทางหลวงเอเชียสาย AH1 ผ่าน (ทางหลวง AH1 ในไทยคือ สายแม่สอด-อรัญประเทศ)</p>
<p>(6) รัฐมอญ - ทหารพม่าประมาณ 1 กองร้อย ยอมมอบตัว หลังทหารกะเหรี่ยง KNU กับกลุ่มนักรบประชาชน PDF บุกยึดสะพานอัตรัน ที่หมู่บ้านแห่งหนึ่ง ที่อำเภอ Kyaikmayaw ใกล้ชายแดนรัฐมอญ-รัฐกะเหรี่ยง</p>
<p>(7) ภูมิภาคสะกายและรัฐกะฉิ่น ที่จริงกองกำลังแห่งอิสรภาพกะฉิ่น KIA เพิ่งถูกกองทัพพม่าบุกฐานใหญ่เมื่อหลายเดือนก่อน แต่ในช่วงวันที่ 5-7 พ.ย.ที่ผ่านมา กองกำลังแห่งอิสรภาพกะฉิ่น (KIA) กับกลุ่ม PDF อื่นๆ บุกกลับในพื้นที่อื่น ด้วยการยึดตำบล Khampat บนทางหลวง Kale-Tamu  เป็นทางหลวงเอเชีย AH1 ที่เชื่อมภาคสะกาย ทางตอนเหนือของพม่า กับรัฐมณีปุระของอินเดีย</p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2023/11/106903
 

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

นักข่าวหัวเห็ด แห่งเวบสุขใจ
อัพเดตข่าวทันใจ ตลอด 24 ชั่วโมง

>> http://www.SookJai.com <<
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
[ข่าวมาแรง] - รพ.มิตรประชาพร้อมรับส่งต่อผู้ป่วยสิทธิบัตรทอง
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 306 กระทู้ล่าสุด 02 กันยายน 2566 11:02:13
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - กว่า 1 เดือน 'ปฏิบัติการ 1027' กองกำลังโกก้างและพันธมิตรรุกคืบแค่ไหน?
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 211 กระทู้ล่าสุด 12 ธันวาคม 2566 22:46:37
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - กว่า 1 เดือน 'ปฏิบัติการ 1027' กองกำลังโกก้างและพันธมิตรรุกคืบแค่ไหน?
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 167 กระทู้ล่าสุด 13 ธันวาคม 2566 00:21:13
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - กว่า 1 เดือน 'ปฏิบัติการ 1027' กองกำลังโกก้างและพันธมิตรรุกคืบแค่ไหน?
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 149 กระทู้ล่าสุด 13 ธันวาคม 2566 01:55:02
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - กองทัพรัฐฉานเหนือ-ใต้ หนุนปราบยาเสพติด-สแกมเมอร์ เน้นเจรจา ยังไม่ร่วมปฏิบัติก
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 158 กระทู้ล่าสุด 13 กุมภาพันธ์ 2567 02:29:33
โดย สุขใจ ข่าวสด
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.479 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 28 ตุลาคม 2567 02:41:03