[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
16 มิถุนายน 2567 07:27:03 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - กสม.-ยธ. ผลักดันแก้ไขนิยาม 'ป่า' ตามหลักสากล ป้องกันผลกระทบทางการค้าจาก EU  (อ่าน 65 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
สุขใจ ข่าวสด
I'm Robot
สุขใจ บอทนักข่าว
นักโพสท์ระดับ 15
****

คะแนนความดี: +101/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Italy Italy

กระทู้: มากเกินบรรยาย


บอท @ สุขใจ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 24 พฤศจิกายน 2566 16:21:57 »

กสม.-ยธ. ผลักดันแก้ไขนิยาม 'ป่า' ตามหลักสากล ป้องกันผลกระทบทางการค้าจาก EU
 


<span class="submitted-by">Submitted on Fri, 2023-11-24 13:23</span><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>กสม. เผยผลการติดตามการดำเนินการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามมาตรการหรือข้อเสนอแนะของ กสม. ชุดที่ 3 และ 4 - เป็นเจ้าภาพจัดประชุมประจำปี SEANF เฉลิมฉลอง 30 ปีหลักการปารีส และ 75 ปีปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน - ร่วมกับกระทรวงยุติธรรมผลักดันการปฏิรูปกฎหมายป่าไม้ แก้ไขนิยาม “ป่า” ตามหลักสากล ป้องกันผลกระทบทางการค้าจาก EU</p>
<p><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53352771310_299323e4c5_o_d.jpg" /></p>
<p>เมื่อวันที่ 23 พ.ย. 2566 คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) โดยนายวสันต์ ภัยหลีกลี้ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และ นายพิทักษ์พล บุณยมาลิก เลขาธิการคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ แถลงข่าวเด่นประจำสัปดาห์ครั้งที่ 43/2566 โดยมีวาระสำคัญดังนี้  </p>
<h2><span style="color:#3498db;">1. กสม. เผยผลการติดตามการดำเนินการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามข้อเสนอแนะของ กสม. พบหน่วยงานต่าง ๆ ตอบรับดำเนินการด้วยดี</span></h2>
<p>นายวสันต์  ภัยหลีกลี้ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เปิดเผยว่า คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) มีหน้าที่และอำนาจตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ในการตรวจสอบและรายงานข้อเท็จจริงที่ถูกต้องเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนทุกกรณีโดยไม่ล่าช้า และเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางที่เหมาะสมในการป้องกันหรือแก้ไขการละเมิดสิทธิมนุษยชน รวมทั้งการเยียวยาผู้ได้รับความเสียหายจากการละเมิดสิทธิมนุษยชนต่อหน่วยงานของรัฐหรือเอกชนที่เกี่ยวข้อง และเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนต่อรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมตลอดทั้งการแก้ไขปรับปรุงกฎหมาย กฎ ระเบียบ หรือคำสั่งใด ๆ เพื่อให้สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชน ซึ่งภายหลังการตรวจสอบและมีข้อเสนอแนะออกไป กสม.ได้ติดตามการดำเนินการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง</p>
<p>ทั้งนี้ กสม.ในคราวประชุมด้านการคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิมนุษยชน เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2566 ได้ติดตามการดำเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามมาตรการหรือข้อเสนอแนะของ กสม. ชุดที่ 3 และ 4 และเห็นชอบผลการติดตามรวม 16 เรื่อง แบ่งเป็นรายงานการตรวจสอบของ กสม. ชุดที่ 3 จำนวน 9 เรื่อง และของ กสม. ชุดที่ 4 จำนวน 7 เรื่อง เนื่องจากหน่วยงานได้ดำเนินการตามข้อเสนอแนะแล้ว ขณะที่บางกรณีหน่วยงานไม่อาจดำเนินการได้โดยมีเหตุผลอันควร หรือมีการฟ้องร้องเป็นคดีหรือศาลมีคำพิพากษาแล้ว</p>
<p>สำหรับตัวอย่างเรื่องที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ดำเนินการตามข้อเสนอแนะของ กสม. แล้ว อาทิ การดำเนินการตามมาตรการหรือข้อเสนอแนะของ กสม. ชุดที่ 3 เช่น กองทัพภาคที่ 3 ได้กำชับเจ้าหน้าที่ให้ปฏิบัติตามข้อเสนอแนะ กสม. และให้ยึดถือปฏิบัติตามคำสั่งเรื่องกฎการใช้กำลังของกองทัพไทย จากกรณีเจ้าหน้าที่ทหารวิสามัญฆาตกรรมแกนนำเยาวชนลาหู่ ซึ่งครอบครัวผู้เสียหายได้ยื่นฟ้องกองทัพบกต่อศาลแพ่ง และเมื่อเร็ว ๆ นี้ ศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาให้กองทัพบกซึ่งเป็นหน่วยงานต้นสังกัดมีความผิดตาม พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 และต้องชดใช้เยียวยาให้กับครอบครัวแกนนำเยาวชนคนดังกล่าว ส่วนกรณีพลทหารถูกผู้บังคับบัญชาใช้ให้ไปเลี้ยงไก่ถูกด่าทอถึงบุพการี และถูกทำร้ายร่างกาย กองทัพบกได้แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริง และได้มีคำสั่งลงทัณฑ์ทางวินัยตาม พระราชบัญญัติว่าด้วยวินัยทหาร พ.ศ. 2476 ผู้บังคับบัญชาที่กระทำผิดแล้ว</p>
<p>สำหรับกรณีสถานบันเทิงกีดกันห้ามไม่ให้สาวประเภทสองเข้าใช้บริการ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ปฏิบัติตาม พระราชบัญญัติความเท่าเทียมระหว่างเพศ พ.ศ. 2558 และได้ร่วมกันกำหนดมาตรการรักษาความปลอดภัยที่ไม่เลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ รวมทั้งกำชับสถานบริการให้ดำเนินมาตรการรักษาความปลอดภัยและกำหนดเงื่อนไขการเข้าใช้บริการภายในสถานที่โดยไม่ให้เกิดการเลือกปฏิบัติ นอกจากนี้ กรณีธนาคารบางแห่งเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อคนพิการในการทำนิติกรรมสัญญาและธุรกรรมทางการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย และสมาคมธนาคารไทย ได้ทบทวนแนวปฏิบัติการให้บริการผู้พิการทางการมองเห็นและผู้พิการประเภทอื่นให้เหมาะสมและได้สื่อสารให้พนักงานทราบแล้ว รวมทั้งได้ปรับปรุงหลักเกณฑ์เกี่ยวกับช่องทางการให้บริการของธนาคารพาณิชย์ด้วย ซึ่งผู้ร้องแจ้งว่า ธนาคารพาณิชย์สามารถเปิดบัญชีเงินฝากให้กับผู้ร้องได้แล้ว เป็นต้น</p>
<p>ส่วนการดำเนินการตามมาตรการหรือข้อเสนอแนะของ กสม. ชุดที่ 4 อาทิ กรณีการตรวจหาสารเสพติดในปัสสาวะของนักศึกษาในสถานศึกษามีลักษณะเหมารวม สำนักงาน ป.ป.ส. ได้กำชับเจ้าหน้าที่ในสังกัดให้ปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ. 2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม อย่างเคร่งครัด และได้นำข้อเสนอแนะ กสม. เรื่อง การตรวจค้น จับกุม ควบคุมตัว และตรวจ หรือทดสอบสารเสพติดมากำหนดแนวทางการปฏิบัติงานเพื่อมิให้เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนด้วย สำหรับกรณีคณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (มช.) ขัดขวางไม่ให้นักศึกษาแสดงผลงานศิลปะในพื้นที่หอศิลปวัฒนธรรม มช. ได้มีการกำชับให้คณบดีคณะวิจิตรศิลป์พิจารณาคำขอการใช้พื้นที่หอศิลปวัฒนธรรม โดยระมัดระวังในการใช้ดุลพินิจที่อาจกระทบต่อเสรีภาพทางวิชาการ และสั่งการให้ในชั้นพิจารณาคำขอใช้พื้นที่ คณบดีคณะวิจิตรศิลป์ต้องเปิดโอกาสให้อาจารย์และหรือนักศึกษาที่ขอใช้ เข้าชี้แจงหรือแสดงความเห็นประกอบการพิจารณาคำขอด้วย</p>
<p>นอกจากนี้ยังมีกรณีการกำหนดให้โรคจิตหรือโรคอารมณ์ผิดปกติเป็นลักษณะต้องห้ามของการเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือน ที่คณะรัฐมนตรีได้ทบทวน และคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนได้ประกาศใช้กฎ ก.พ. ว่าด้วยโรค พ.ศ. 2566 เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2566 ซึ่งสอดคล้องกับข้อเสนอแนะของ กสม. ที่ให้ยกเลิกข้อความการกำหนดให้โรคจิต (Psychosis) หรือโรคอารมณ์ผิดปกติ (Mood Disorder) ที่ปรากฏอาการเด่นชัดรุนแรงหรือเรื้อรังและเป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติหน้าที่ ออกจากโรคต้องห้ามในการเข้ารับราชการแล้ว</p>
<h2><span style="color:#3498db;">2. กสม. จัดประชุมประจำปีสถาบันสิทธิมนุษยชนในภูมิภาคอาเซียน แลกเปลี่ยนเรียนรู้สิทธิมนุษยชนหลากหลายประเด็น ก่อนส่งไม้ต่อติมอร์-เลสเต</span></h2>
<p>นายพิทักษ์พล  บุณยมาลิก เลขาธิการคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เปิดเผยว่า ระหว่างวันที่ 22 - 23 พฤศจิกายน 2566 คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมประจำปีครั้งที่ 20 ของกรอบความร่วมมือระหว่างสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (South East Asia National Human Rights institutions Forum: SEANF) ณ โรงแรม เดอะ สุโกศล กรุงเทพฯ</p>
<p>การประชุมครั้งนี้จัดขึ้นในฐานะที่ กสม. ดำรงตำแหน่งประธาน SEANF ในปี 2566 โดยนางสาวพรประไพ  กาญจนรินทร์ ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ได้กล่าวเปิดและทำหน้าที่เป็นประธานการประชุม SEANF ซึ่งมีสมาชิกประกอบด้วยสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จาก 6 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย เมียนมา ฟิลิปปินส์ ติมอร์-เลสเต และไทย ผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วยประธานและกรรมการสิทธิมนุษยชนจากสถาบันที่เป็นสมาชิก SEANF ทั้ง 6 แห่ง</p>
<p>ในการประชุม สมาชิกได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับการดำเนินงานเพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนระหว่างกัน เช่น การแก้ไขปัญหาคนไร้รัฐไร้สัญชาติ การป้องกันการทรมานโดยการตรวจเยี่ยมสถานที่ควบคุม/คุมขังบุคคล การยกเลิกโทษประหารชีวิต ธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมต่อสิทธิมนุษยชน การคุ้มครองสิทธิของเด็ก แรงงานข้ามชาติ การเผยแพร่ความรู้และสร้างความตระหนักด้านสิทธิมนุษยชนทั้งในส่วนของประชาชนทั่วไปและกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ เช่น เจ้าหน้าที่รัฐ เป็นต้น นอกจากนี้ ยังได้แลกเปลี่ยนเกี่ยวกับการทำงานกับภาคส่วนต่าง ๆ ทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศ เช่น ความร่วมมือกับกลไกสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติและอาเซียน ตลอดจนเครือข่ายความร่วมมือระหว่างสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลก</p>
<p>ในส่วน กสม. ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินการที่สำคัญของ กสม. เช่น สถิติการรับเรื่องร้องเรียน การสนับสนุนการบังคับใช้กฎหมายป้องกันและปราบปรามการทรมานและการทำให้บุคคลสูญหายที่มีประสิทธิผล การเปิดสำนักงานในภูมิภาคแห่งที่ 2 ที่ จ. ขอนแก่น การจัดสมัชชาสิทธิมนุษยชนปีที่ 2 เพื่อเป็นเวทีในการปรึกษาหารือระหว่าง กสม. กับภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐ ภาคประชาสังคม ภาคเอกชน และนักวิชาการ เพื่อแสวงหาแนวทางแก้ไขปัญหาสิทธิมนุษยชนร่วมกัน การพบหารือกับหน่วยงานรัฐในระดับนโยบายเพื่อแก้ไขปัญหาสิทธิมนุษยชนอย่างเป็นระบบ และความร่วมมือกับหน่วยงานของสหประชาชาติ เช่น สำนักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชน (OHCHR) UNDP และ UNICEF </p>
<p>นอกจากนั้น ที่ประชุมได้ติดตามความก้าวหน้าในการดำเนินการตามแผนยุทธศาสตร์ของ SEANF พ.ศ. 2565-2569 ที่ให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการภัยพิบัติที่เคารพหลักสิทธิมนุษยชนโดยมีการศึกษาการบริหารจัดการของรัฐบาลประเทศสมาชิกในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด 19 เพื่อถอดบทเรียนและจัดทำเป็นข้อเสนอแนะสำหรับการดำเนินการในอนาคต การสำรวจสถานะการนำหลักการชี้แนะว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชนไปดำเนินการในประเทศต่าง ๆ การจัดทำแผนปฏิบัติการของสมาชิกในการป้องกันการทรมาน และการเสริมสร้างความเข้มแข็งของ SEANF ซึ่งในส่วนของ กสม. ได้นำเสนอแผนปฏิบัติการของ กสม. ด้านการป้องกันการทรมานด้วย</p>
<p>นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้พิจารณากิจกรรมส่งเสริมความร่วมมือระหว่างสมาชิก SEANF ในรูปแบบการไต่สวนสาธารณะระหว่างสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (inter-NHRI inquiry mechanism) ที่เสนอโดยสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติของฟิลิปปินส์ เพื่อเป็นกลไกสำหรับการแก้ไขปัญหาข้ามพรมแดน เช่น ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เป็นต้น รวมทั้งได้แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางการจัดการกับข้อมูลที่บิดเบือน (Disinformation) โดยเคารพสิทธิมนุษยชน ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องจากการประชุมเรื่องดังกล่าวที่สถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติของมาเลเซียจัดร่วมกับ World Justice Project (WJP) ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์เมื่อเดือนกันยายน 2566 และการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของผู้พลัดถิ่นชาวโรฮินจาในอินโดนีเซียและประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาค</p>
<p>ในส่วนความร่วมมือกับองค์กรภายนอก ที่ประชุมได้รับทราบและพิจารณาความร่วมมือระหว่าง SEANF กับคณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน หรือ AICHR (ASEAN Inter-governmental Commission on Human Rights) ซึ่งเป็นกลไกสิทธิมนุษยชนระดับภูมิภาค โดยในปี 2566 SEANF ได้เข้าร่วมการประชุมที่ AICHR จัดขึ้นในเรื่องการป้องกันการทรมาน การคุ้มครองผู้เป็นเหยื่อของกลุ่มนิยมความรุนแรงแบบสุดโต่ง (extremism) และการค้ามนุษย์ ส่วนในปี 2567 จะมีการจัดกิจกรรมร่วมกันในเรื่องการป้องกันการทรมาน และธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน นอกจากนี้ ยังได้หารือกับองค์กรภาคประชาสังคมในภูมิภาค ได้แก่ Asian NGO Coalition for Agrarian Reform and Rural Development (ANGOG) เกี่ยวกับการเข้าถึงที่ดินสำหรับคนจนในชนบทในหลายประเทศในเอเชีย และการหารือกับ World Justice Project (WJP) เกี่ยวกับการวัดผลการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนด้วย  </p>
<p>ก่อนสิ้นสุดการประชุม ประธาน กสม. ได้ส่งมอบตำแหน่งประธาน SEANF ให้แก่ผู้ตรวจการแผ่นดินของติมอร์-เลสเต เพื่อทำหน้าที่ประธาน SEANF ในปี 2567 ต่อไป ทั้งนี้ การดำรงตำแหน่งประธานของ SEANF มีวาระคราวละ 1 ปีโดยเวียนตามตัวอักษรของชื่อประเทศ</p>
<p>ในวันที่ 24 พฤศจิกายน 2566 กสม. จะจัดกิจกรรมคู่ขนานกับการประชุมประจำปี SEANF ครั้งที่ 20 ได้แก่ การประชุมหารือระดับภูมิภาคว่าด้วยการจัดทำความเห็นทั่วไปเกี่ยวกับผลกระทบนโยบายยาเสพติด (Regional Consultation on the General Comment on the Human Rights Impact of Drug Policies) โดยมีนางสาวสุภัทรา  นาคะผิว กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เป็นผู้แทนหลักของ กสม. กล่าวเปิดงานและกล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมการประชุม ซึ่ง กสม. และ SEANF ร่วมกับคณะกรรมการประจำกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (Committee on Economic, Social and Cultural Rights: CESCR) จัดขึ้น อันเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการจัดทำข้อคิดเห็นทั่วไป (General Comment) ของ CESCR มีวัตถุประสงค์เพื่อรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับผลกระทบของนโยบายยาเสพติดต่อสิทธิมนุษยชน โดยเฉพาะสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม เพื่อ CESCR จะได้นำไปเป็นข้อมูลประกอบการจัดทำแนวทางสำหรับรัฐในการกำหนดนโยบายยาเสพติดที่เคารพสิทธิมนุษยชน โดยมีผู้เข้าร่วมประกอบด้วยสมาชิก SEANF หน่วยงานภาครัฐ ภาคประชาสังคม องค์การระหว่างประเทศ สถานทูต นักวิชาการ และผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศ</p>
<h2><span style="color:#3498db;">3. กสม. ร่วมกับกระทรวงยุติธรรมผลักดันการปฏิรูปกฎหมายป่าไม้ แก้ไขนิยาม “ป่า” ตามหลักสากล ป้องกันผลกระทบทางการค้าจาก EU</span></h2>
<p>นายวสันต์  ภัยหลีกลี้ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2566 คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) โดยนางสาวศยามล  ไกยูรวงศ์ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ได้ประชุมหารือร่วมกับกระทรวงยุติธรรม (ยธ.) โดยพันตำรวจโท ประวุธ  วงศ์สีนิล รองปลัด ยธ. และคณะ เกี่ยวกับการรับมือ EUDR (European Union Regulation on Deforestation-free Products) ที่ให้ความสำคัญกับการลดการตัดไม้ทำลายป่า ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อเกษตรกรและผู้ประกอบการที่จะนำเข้าสินค้าไปยังสหภาพยุโรป (EU) โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ที่มีแหล่งกำเนิดจากบริเวณที่ไม่มีโฉนดที่ดินหรือเอกสารสิทธิตามประมวลกฎหมายที่ดิน ซึ่งตามกฎหมายไทยถือว่าพื้นที่เหล่านั้นเป็นป่าไม้</p>
<p>ยธ. และ กสม. เห็นตรงกันว่า ควรหารือระดับรัฐมนตรีร่วมกับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ถึงแนวทางการแก้ไขนิยามของป่าไม้ให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล สอดคล้องกับสภาพนิเวศ พืชพรรณและความอุดมสมบูรณ์ และมีการประกาศขอบเขตความเป็นป่าไม้ให้ชัดเจน เพื่อคุ้มครองสิทธิของประชาชน อันเป็นจุดเริ่มต้นการแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยและที่ทำกินทับซ้อนกับพื้นที่ป่าไม้ การดำเนินคดีตามกฎหมายว่าด้วยการป่าไม้ รวมถึงการแก้ปัญหาบทบัญญัติของกฎหมายและการบังคับใช้กฎหมายที่ละเมิดสิทธิในที่ดินและสิทธิชุมชน</p>
<p>สำหรับการปรับปรุงกฎหมายด้านป่าไม้ทั้ง 9 ฉบับ กสม. อาจมีส่วนช่วยผลักดันให้กฎหมายดังกล่าวรวมเป็นฉบับเดียวในลักษณะประมวลกฎหมาย อย่างไรก็ดี ปัญหาเกี่ยวกับป่าไม้ไม่อาจแก้ไขได้จากการผลักดันของหน่วยงานเดียว ทั้งสามกระทรวงที่เกี่ยวข้อง ควรตั้งคณะทำงานศึกษาแนวทางการแก้ไขปัญหาร่วมกัน โดยเริ่มจากการหารือร่วมกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมซึ่งเป็นแกนนำในการผลักดันเรื่องนี้กับกระทรวงอื่นที่เกี่ยวข้อง</p>
<p>สอดคล้องกับการประชุมเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม และวันที่ 7 พฤศจิกายน 2566 ที่ประชุมเห็นชอบในหลักการร่วมกันให้มีการแต่งตั้งคณะทำงานเพื่อศึกษาความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในการปฏิรูปและจัดทำประมวลกฎหมายป่าไม้ของประเทศไทย โดยให้คณะทำงานประกอบด้วยผู้แทนจากกระทรวงยุติธรรม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และนักวิชาการรวมถึงผู้ทรงคุณวุฒิ ทั้งนี้ ผู้บริหารของทั้งสามกระทรวงจะนำเรียนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเพื่อดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป</p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2023/11/106953
 

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

นักข่าวหัวเห็ด แห่งเวบสุขใจ
อัพเดตข่าวทันใจ ตลอด 24 ชั่วโมง

>> http://www.SookJai.com <<
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
[ข่าวมาแรง] - ศาลอนุมัติหมายจับเจ้าของโกดังเก็บดอกไม้เพลิงมูโนะ
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 520 กระทู้ล่าสุด 02 สิงหาคม 2566 14:49:17
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - องค์กรพิทักษ์สัตว์เรียกร้องให้เพิ่มเรื่องสวัสดิภาพสัตว์และห้ามใช้ยาปฏิชีวน
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 560 กระทู้ล่าสุด 05 สิงหาคม 2566 15:31:10
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - คาดแบงก์พาณิชย์ไทยปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยตามอัตราดอกเบี้ยนโยบาย กนง.
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 443 กระทู้ล่าสุด 06 สิงหาคม 2566 18:04:42
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - ประเทศไทยกำลังเดินถอยหลังเรื่องความคุ้มครองความยากจนผู้สูงอายุ
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 458 กระทู้ล่าสุด 17 สิงหาคม 2566 17:55:22
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - เผยนักกิจกรรมชายแดนใต้ถูกคุกคามหลังไลฟ์สดการปิดล้อม
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 325 กระทู้ล่าสุด 20 สิงหาคม 2566 15:35:02
โดย สุขใจ ข่าวสด
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.211 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 14 มีนาคม 2567 22:50:15