'พิธา' พบแรงงานไทยในเกาหลี รับฟังปัญหาการทำงานและการใช้ชีวิต
<span class="submitted-by">Submitted on Tue, 2023-12-05 16:32</span><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>'พิธา' พบปะแรงงานไทยในเกาหลี รับฟังปัญหา สวัสดิการ การจ้างงาน การทำงานและการใช้ชีวิตของแรงงานไทยในต่างแดน</p>
<p><img alt="" src="
https://live.staticflickr.com/65535/53377170499_532d9a911f_o_d.jpg" /></p>
<p>5 ธ.ค. 2566 ทีมสื่อพรรคก้าวไกล รายงานว่าพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ประธานที่ปรึกษาหัวหน้าพรรคก้าวไกล เดินทางมายังเมืองฮวาซอง จังหวัดคยองกีโด ประเทศเกาหลีใต้ ในช่วงเย็นวันที่ 4 ธ.ค. 2566 เพื่อเยี่ยมเยียนร้านชำของคนไทย ร่วมรับประทานอาหารเย็น และพูดคุยพบปะกับแรงงานไทย แลกเปลี่ยนและรับฟังปัญหาของแรงงานไทย สวัสดิการการทำงาน ไปจนถึงการใช้ชีวิตในเกาหลีใต้</p>
<p>โดยพิธา ได้เริ่มขอบคุณชาวไทยในเกาหลีที่ออกมาใช้สิทธิ์เลือกตั้งนอกราชอาณาจักร ในการเลือกตั้งทั่วไป 14 พ.ค. ที่ผ่านมา โดยเกาหลีใต้เป็นหนึ่งในประเทศที่ติดหนึ่งใน 10 อันดับที่ชาวไทยออกมาเลือกตั้งมากที่สุด จึงถือโอกาสนี้เดินทางมาขอบคุณด้วยตัวเอง และทางพรรคก้าวไกลเอง ซึ่งเป็นพรรคที่มี สส. จำนวนมากที่สุดในสภาผู้แทนราษฎร ทั้งยังมีปีกแรงงาน ทีมต่างประเทศ และทีมเศรษฐกิจ ในโอกาสที่เดินทางมานี้ แม้ตนจะถูกสั่งให้หยุดปฏิบัติหน้าที่ แต่ก็ตั้งใจมาเพื่อรับฟังปัญหาของพี่น้องแรงงานไทย เพื่อเสนอต่อพรรค และ สส. คนอื่นต่อไป</p>
<p>สนอง วรรณษา ตัวแทนแรงงานไทย ซึ่งมาทำงานกับโครงการจัดหางานของกระทรวงแรงงาน (EPS) ได้เล่าว่าปัญหาของแรงงานที่ได้รับเรื่องร้องเรียนมากที่สุด คือแรงงานเกษตร โดยเฉพาะผู้หญิง ที่จำนวนงานมีโควตาน้อยกว่าจำนวนแรงงาน และเนื่องจากประเทศเกาหลีใต้มี 4 ฤดูกาล ในช่วงฤดูหนาว เมื่อไม่มีงาน แรงงานได้รับผลกระทบ โดนให้ออกจากงาน ซึ่งมาถึงประเทศเกาหลีใต้แล้ว แต่ไม่สามารถหางานใหม่ได้ตามเวลาที่กำหนด ก็จำเป็นต้องกลับประเทศไทย ทั้งที่กว่าจะสอบผ่านเข้าร่วมโครงการ และเสียเงินหลักแสนในการเดินทาง การตรวจโรค และการเตรียมตัวขั้นตอนต่างๆ นอกจากนี้ แรงงานไทยยังเล่าถึงปัญหาต่างๆ ที่ทำให้แรงงานในระบบจำเป็นต้องตัดสินใจเลือกเป็นแรงงานผิดกฎหมายด้วย</p>
<p>ในประเด็นนี้ พิธาได้เสนอเพิ่มชนิดวีซ่าให้ละเอียดมากขึ้น เพื่อให้ตรงกับลักษณะงาน ลดความคลุมเครือ เจรจาให้งานตรงกับสัญญา และตรงไปตรงมา รวมถึงเรื่องแทร็กระยะเวลาการทำงาน หากแรงงานทำงานถึงเกณฑ์ สามารถขยายเวลาการทำงานในเกาหลีใต้ได้ยาวนานขึ้น รวมถึงโอกาสในการได้รับวีซ่าทำงานอย่าง E7 ที่จะได้รับสวัสดิการที่ดีขึ้น</p>
<p>รวมถึงโมเดลของประเทศอื่นๆ ที่ต้องการแรงงานเกษตร และเปิดรับแรงงานเป็นฤดูกาล สามารถเดินทางไปทำงานเฉพาะหน้าเก็บเกี่ยวและกลับไทยเมื่อหมดฤดู ก่อนจะเดินทางไปใหม่ในปีต่อไป ทำให้ไม่มีปัญหาเรื่องต้องโดนออก สามารถบริหารตัวเองได้ ซึ่งทางพรรคได้มีการมองโมเดลนี้ และตั้งใจนำไปเสนอให้ปรับปรุงกับระบบของวีซ่า EPS รวมถึงยังมองว่าปัญหาของแรงงาน EPS ในปัจจุบัน คือการไม่ลงรายละเอียดในอุตสาหกรรมแต่ละส่วนที่แตกต่างกันที่มีการทำงานเฉพาะ อย่างวีซ่าเกษตรและอุตสากรรม เป็นต้น</p>
<p>แรงงานไทยในเกาหลีใต้ ยังได้สะท้อนปัญหาสวัสดิการที่หลายๆ อย่างขึ้นอยู่กับนายจ้าง ว่าแต่ละงานอาจจะเจอนายจ้างที่ดีหรือไม่ดี รวมไปถึงงานและสวัสดิการอย่างเรื่องที่พักที่ไม่ตรงกับสัญญาจ้าง การย้ายงานที่ไม่สามารถทำได้ง่าย เช่นเรื่องที่พัก ตามสัญญาระบุว่าห้องนอนสองคนต่อหนึ่งห้อง แต่สภาพตอนนี้คือหนึ่งห้องนอนหกคน และห้องน้ำห้องเดียว ทั้งที่แรงงานกว่าจะสอบผ่านจนถึงบินมาทำงาน ใช้เวลาหลายเดือน ใช้เงินหลักแสนบาท แต่กลับมีปัญหาทั้งที่พักและงาน ทำให้ไม่สบายใจ สภาพร่างกายไม่ตรงสายงาน จะขอย้ายงานก็ไม่สามารถทำได้ และเมื่อถามศูนย์ช่วยเหลือ ก็ได้รับคำตอบว่าไม่ครอบคลุมความช่วยเหลือ แรงงานหลายคนคิดว่าเงินที่เสียไปไม่คุ้ม แต่ไม่สามารถทำอะไรได้</p>
<p>กลุ่มแรงงานไทยยังร้องขอว่าต้องการให้มีองค์กรที่สามารถรับฟังปัญหาจากปากคนทำงานจริงๆ ด้วย ไม่ใช่ฟังฝั่งนายจ้างเพียงด้านเดียว</p>
<p>สำหรับพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ จะมีกำหนดการบรรยายสาธารณะที่ห้อง 506 อาคารรัฐศาสตร์และเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกาหลี (Korea University) เวลา 18.00 น. เป็นต้นไป วันที่ 6 ธ.ค. 2566 ในหัวข้อ “Towards a Brighter Horizon: Thai Democracy and the Future of Thai-Korea Relations”</p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ข
https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์
https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
https://prachatai.com/journal/2023/12/107120 







