[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
28 เมษายน 2567 04:13:25 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - ฝ่าระเบียบและปัญหาสารพันในการเข้าถึงสิทธิของคนพิการ (ตอนจบ)  (อ่าน 102 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
สุขใจ ข่าวสด
I'm Robot
สุขใจ บอทนักข่าว
นักโพสท์ระดับ 15
****

คะแนนความดี: +101/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Italy Italy

กระทู้: มากเกินบรรยาย


บอท @ สุขใจ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 18 ธันวาคม 2566 04:34:08 »

ฝ่าระเบียบและปัญหาสารพันในการเข้าถึงสิทธิของคนพิการ (ตอนจบ)
 


<span class="submitted-by">Submitted on Mon, 2023-12-18 02:12</span><div class="field field-name-field-byline field-type-text-long field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><p>อรรถพล ศรีชิษณุวรานนท์ รายงาน
คชรักษ์ แก้วสุราช ถ่ายภาพ</p>
</div></div></div><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>เพื่อที่จะทำให้คนพิการสามารถใช้ชีวิตอยู่ในที่พักอาศัยได้อย่างสะดวกสบายตามอัตภาพนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายเลย เพราะระบบราชการไทยมีระเบียบต่างๆมากมายที่กลายเป็นอุปสรรคกีดกันไม่ให้พวกเขาเหล่านั้นได้รับสิทธิ ผู้ที่ทำงานในแวดวงนี้ต้องต่อสู้ พลิกแพลง ปรับแนวทางและประสานความร่วมจากหลายฝ่าย</p>
<p>ในทางนโยบายระดับชาตินั้น วราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2566 ว่า ทางรัฐบาลพยายามจะหางบประมาณเพื่อเพิ่มวงเงินสำหรับการปรับปรุงที่อยู่อาศัยของผู้พิการให้ได้ 100,000 บาทต่อครอบครัว เพื่อให้เพียงพอ รวมถึงอยากจะหาเงินเพื่อให้ผู้พิการได้ใช้จ่ายซื้อสิ่งของจำเป็นอีกเดือนละ 2,000 บาท แถมยังจะมีค่าอุปการะผู้พิการอีกด้วย</p>
<p>ในระดับปฏิบัติ ผ่องศรี หิรัญบริรักษ์ ผู้อำนวยการศูนย์บริการคนพิการจังหวัดสุรินทร์ กล่าวว่า ปี 2565 แล้วได้รับงบประมาณทั้งสิ้น 2,300,000 บาท ปีนี้เพิ่มขึ้นเป็น 3,600,000 บาท แต่ยังไม่พอเพียงเพราะจังหวัดสุรินทร์มีประชากรพิการเป็นจำนวนมาก ที่ต้องการปรับบ้านใน ปี2566 นี้ได้รับรายชื่อมาทั้งหมด 90 หลัง เกินจำนวนงบปีก็มีอยู่</p>
<p>สำหรับงบประมาณ 40,000 บาทต่อครอบครัวนั้นคงไม่เพียงพอ เนื่องจากค่าวัสดุอุปกรณ์ที่แพงขึ้น ค่าแรงช่างที่เพิ่มขึ้น ผ่องศรี กล่าวว่า ถ้าจะให้ได้บ้านที่ปลอดภัย เหมาะสม และอำนวยความสะดวกให้สามารถใช้ชีวิตได้ด้วยตัวเอง และต้องเพิ่มงบประมาณต่อหลัง ขั้นต่ำ 70,000 และไม่เกิน 100,000 บาท ต่อหลัง</p>
<p>นอกจากงบประมาณแล้ว ปัญหาอีกประการหนึ่งซึ่งพบมาคือ คนพิการที่ต้องการรับสิทธิ์ในการปรับปรุงที่อยู่อาศัยไม่มีเอกสารสิทธิในที่ซึ่งอาคารเหล่านั้นปลูกสร้างอยู่ ผ่องศรี บอกว่า ปัญหานี้อาจจะสามารถยืดหยุ่นได้บ้าง หากว่าได้รับความยินยอมจากเจ้าของที่ดินที่ถือเอกสารสิทธินั้นอยู่ </p>
<p>“ถ้าคนพิการไม่มีโฉนดเป็นของตัวเอง แต่ของคนในครอบครัวของญาติพี่น้อง แล้วอยากปรับปรุงที่อยู่อาศัยตรงนี้ ทางออกของกระทรวงคือให้คนที่เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ เอาเอกสารรับรอง เขาเรียกว่าหนังสือยินยอมให้ปรับปรุงบ้านมีแบบฟอร์มยินยอมให้เจ้าของที่เจ้าของโฉนดยินยอมให้คนพิการได้รับสิทธิ์ในการปรับบ้านให้เข้าอยู่อาศัยได้” ผ่องศรี กล่าว</p>
<p>“แต่อาจจะมีปัญหาอีกว่า วันนี้ยอมให้ปรับบ้าน ต่อมาไม่กี่เดือนอยากเอาที่คืน ก็เป็นปัญหาต่อคนพิการถ้าแก้ไม่ถูกจุดปัญหาคือกลายเป็นการสร้างบ้านให้คนอื่น ต้องมีหนังสือยินยอมต้องคุยกัน ต้องให้คนพิการได้อยู่ตรงนี้เป็นระยะเวลาเท่าไหร่ก็ว่าไป” ผู้อำนวยการศูนย์ฯ กล่าว</p>
<p>แต่ถ้าเป็นการใช้ที่ดินทับซ้อนกับที่สาธารณะจะแก้ไขค่อนข้างยากทางศูนย์ได้คำแนะนำว่าก็ต้องได้รับความยินยอมจากพื้นที่ อบต. เป็นรายกรณี บางทีเป็นสิทธิทับซ้อนเป็นกรณีพิพาทก็ยากต้องดูว่าพื้นที่ทับซ้อนหน่วยไหนกับหน่วยไหนบ้าง ต้องปรึกษาทางด้านกฎหมายกับเจ้าหน้าที่กฎหมายของกลุ่มอีกที ต้องหารือไปที่ส่วนกลางว่าสามารถทำได้หรือไม่</p>
<div class="more-story">
<p>เมื่อพิการ, ทำอย่างไรบ้านจึงจะน่าอยู่</p>
</div>
<div class="summary-box">
<p>ข้อมูลจำเพาะเกี่ยวกับคนพิการจังหวัดสุรินทร์
•    เขตปกครอง 17 อำเภอ
•    ผู้พิการทั้งสิ้น 64,253 ราย (4.68 %ของประชากรทั้งจังหวัด)
•    หญิง 33,491 ราย
•    ชาย 30,762 ราย
•    พิการทางการเคลื่อนไหวหรือทางร่างกาย 33,099 ราย (จำนวนไม่น้อยสูงวัยและมีโรคประจำตัวด้วย เช่น โรคหลอดเลือดสมอง ทำให้เกิดอาการอ่อนแรงหรือต้องนอนติดเตียง
•    พิการทางการมองเห็น 11,038 ราย
•    พิการทางการได้ยินหรือสื่อความหมาย 8,189 ราย
•    พิการประเภทอื่นอีก 11,927 ราย</p>
</div>
<p><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53397398210_8d2afb8a82_k.jpg" /></p>
<p><span style="color:#e67e22;">ผ่องศรี หิรัญบริรักษ์ ผู้อำนวยการศูนย์บริการคนพิการจังหวัดสุรินทร์</span></p>
<div class="summary-box">
<p>แสดงจำนวนผู้ขอรับสิทธิปรับปรุงครัวเรือนของคนพิการ จ.สุรินทร์
ปี พ.ศ. จำนวนผู้รับบริการ
2562    36
2563    21
2564    28
2565    59
2566    90
ที่มา: ศูนย์บริการคนพิการจังหวัดสุรินทร์</p>
</div>
<p>ในส่วนของภาคที่ให้บริการต่อผู้พิการเองก็มีปัญหาว่า บุคคลากรไม่เพียงพอ ทำโครงสร้างของบุคลากรมาแต่ไม่เหมาะสมกับงาน แต่บางตำแหน่งอย่างที่สำคัญอย่างนักสังคมมีแค่คนเดียวในขณะที่คนพิการตั้ง 60,000 กว่าคน จังหวัดอื่นคนพิการหมื่นคนมีคนนึงเหมือนกัน นักพัฒน์มีแค่ 2 คน บางจังหวัดมี 3 คน</p>
<p>“อยากให้ได้กรอบเจ้าหน้าที่เยอะขึ้นเพราะว่าตอนนี้เจ้าหน้าที่เรามี 9 คน ส่วนพนักงานกองทุนมีนักพัฒน์ 2 คน  นักสังคมสงเคราะห์ 1 คน นิติกร 3 คน นักวิเคราะห์นโยบายและแผน 1 คน นักวิชาการการเงินและบัญชี 1 คน แล้วคนขับพนักงานขับรถ 1 คน ส่วนตัว ผอ. เป็นข้าราชการของสังกัดสำนักปลัดกระทรวงแต่มาช่วยดู เราทำงาน 9-10 คน แต่ดูแลคนพิการหกหมื่นกว่าคน 17 อำเภอถือว่าเยอะมาก” ผ่องศรี กล่าว</p>
<p>เรื่องความเข้าใจและทัศนคติของช่างก็เป็นประเด็นสำคัญด้วย “เคยเจอปัญหา นายช่างเวลาเขาออกแบบเขาก็คิดถึงคนปกติ ประตูกว้างเท่าบ้านคนปกติสูงประมาณ 180 ซม.ไม่เกินนี้แต่กว้างแค่ 80 ซม.” ผู้อำนวยการกล่าว และเสริมว่า “เราทำโครงการ ช่างรู้ใจห่วงใยใส่ใจคนพิการ เชิญอาจารย์จากมหาสารคามกับคุณหมอ มาอบรมตั้งแต่ทัศนคติให้รู้ว่าคนพิการต้องใช้ชีวิตยังไง รู้สึกยังไง ให้จำลองเป็นคนพิการทุกประเภท ให้ช่างลองเป็นคนพิการทางการเคลื่อนไหว ทางการได้ยิน ทางการมองเห็นซัก 1-2 ชั่วโมง เขาก็สะท้อนว่า รู้สึกอึดอัดมาก แค่ไม่กี่นาทีไม่กี่ชั่วโมงก็อึดอัดแล้ว เขาไม่ได้คิดมาก่อนในมุมคนพิการว่าคนพิการแบบนี้มาระยะเวลานานหรือบางคนตลอดชีวิตมันลำบากมากในการใช้ชีวิต นายช่างจำลองไปเข้าห้องน้ำ ไปกินข้าว ข้ามสิ่งกีดขวาง เขาก็เอาไปปรับก็ใส่ใจมากขึ้นเลยใส่ใจว่าคนพิการไม่ได้เหมือนคนปกติ ต้องใส่ใจเพราะบางคนเขาบอกเลยว่าปกติเขาไม่ต้องไปดูพื้นที่เลย เขาก็วาดในหัวเลยเขียนแบบออกมา แต่หลังจากอบรมแล้วเขาก็ต้องไปหน้างาน เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาเรื่องการออกแบบให้ตรงตามความต้องการของคนพิการ" ผ่องศรี กล่าว</p>
<h3><span style="color:#2980b9;">ปลูกเรือนตามใจผู้อยู่</span></h3>
<p><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53397278764_d5b86373ce_k.jpg" /></p>
<p><span style="color:#e67e22;">ผศ.กตัญญู หอสูติสิมา คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม</span></p>
<p>ผศ.กตัญญู  หอสูติสิมา จากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม หัวหน้าศูนย์ออกแบบสภาพแวดล้อมเพื่อทุกคน UDC (Universal Design Center) ผู้มีส่วนร่วมกับการสร้างการเรียนรู้เพื่อทำความเข้าอกเข้าใจเรื่องการปรับสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยของคนพิการให้ท้องถิ่นอธิบายถึง การออกแบบไม่ตรงตามความต้องการและขาดการมีส่วนร่วม มีผลต่อการใช้ชีวิตหรืออาจเพิ่มอุปสรรคมากกว่าการเอื้ออำนวยความสะดวกและปลอดภัย การถามความต้องการจากคนพิการและการได้จำลองความพิการทำให้เกิดประสบการณ์ร่วม ช่วยให้การออกแบบมีประสิทธิภาพเพราะคนออกแบบเข้าอกเข้าใจและคนใช้งานเข้าถึงได้ โดยสะท้อนอุปสรรคเรื่องการออกแบบ และแรงงานในกระบวนการปรับ สู่หนทางเสนอแนะ  จากประสบการณ์</p>
<p>“บรรยายไม่เกิดอะไรขึ้น ได้ความรู้แต่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงอะไร Transformative Learning คือเรียนรู้เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในตัวคน คาดหวังให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในตัวคนต้องมีเรื่องมากระทบใจ ถ้าเป็นอบรมทั่วไปคือไปนั่งฟังแล้วออกไปหน้างานเดี๋ยวก็ลืม แต่การจำลองจะตราตรึงเข้าไปอยู่ในใจ เป็นสิ่งที่เราเชื่อแล้วเราก็เห็นต้องผ่านฐานใจ ฐานหัว และการปฏิบัติ” กตัญญู กล่าว</p>
<p>“อย่าทำให้คนพิการรู้สึกว่าเขาไม่ใช่เจ้าของบ้าน เขาไม่ได้รู้สึกว่าเขามีส่วนร่วม เคยเจอเหตุการณ์ปรับแล้วใช้ไม่ได้ ใช้แล้วไม่ถนัด ถ้าไม่ได้คุยกับตัวคนพิการคือเขาไม่ยอมใช้ย้ายไปอยู่กับลูกสาวแทนเคยเจอแบบนี้  ตอนดูสภาพบ้านทำการประเมินต้องคุยหาข้อสรุปกับเจ้าของบ้านในวันนั้นเลย ดูว่าเขามีชีวิตประจำวันอย่างไร ทำอะไรตรงไหน บอกให้เขารู้เลยว่ามาทำอะไรกับชีวิตเขาบ้าง แล้วขอข้อเสนอด้วยว่าอันไหนชอบหรือไม่ชอบ อะไรอยากได้ไม่อยากได้ เพราะนั้นบ้านเขาไม่งั้นมีกรณีที่แบบปรับบ้านแล้วไม่อยากใช้ก็มี คือเขาไม่ได้รู้สึกว่าเป็นบ้านเขาเหมือนอยู่ดีๆมีคนมาตัดสินใจแทน แต่เขาไม่ได้มีส่วนร่วมตัดสินใจเลย”</p>
<p>การใช้ช่างจิตอาสา เพื่อแก้ปัญหางบประมาณไม่เพียงพอ อาจจะก่อปัญหาใหม่ การมีช่างจิตอาสาเป็นอุดมคติถ้าที่ไหนมีที่นั้นถือว่าเป็นชุมชนที่มีบุญ ถ้ามองจากเรื่องความยั่งยืนของช่างแล้วช่างจิตอาสาไม่ยั่งยืน กตัญญู บอกว่า เขาพยายามผลักดันเรื่องการสร้างช่างชุมชนให้มาเป็นกลไกหนุนเสริมของงานปรับสภาพบ้าน เพราะไม่เชื่อมั่นในเรื่องของจิตอาสา จิตอาสาขึ้นอยู่กับตัวคนอยากอาสาตอนนี้ก็มาช่วย ถ้าไม่อยากอาสาก็ว่าเขาไม่ได้ แต่ความต้องการมีอยู่ตลอด ควรพิจารณาให้ค่าตอบแทนที่สมเหตุสมผลแก่ช่างจะดีกว่า ควรต้องมีการสร้างช่างให้ตำบล ควรมีช่างที่ทำเรื่องนี้ต้องมีใจ มีความผูกพันกับชุมชนอยากดูแลคนในชุมชน แล้วมีค่าตอบแทนที่ควรได้รับ อาจไม่มากแต่ว่าอย่างน้อยต้องมีซึ่งค่าแรงที่คิด 30% จากค่าวัสดุ</p>
<p><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53397151113_c0c7b54b5f_k.jpg" /></p>
<p><span style="color:#e67e22;">นภสินธุ์ คนเกณฑ์ ช่างรับเหมา</span></p>
<p>นภสินธุ์ คนเกณฑ์ ช่างรับเหมา กล่าวว่า ก่อนจะทำงานช่างจะต้องถามคนพิการก่อน ว่าเขานั่งยังไง ชักโครกต่ำหรือสูงไปต้องให้เขามาลองดู เขาย้ายตัวออกจากที่นั่งของเขาจะง่ายไหมต้องปรับตามสภาพของเขา</p>
<p>“หลักการสำคัญที่คนเป็นช่างควรเป็น คือนั่นบ้านเขาควรต้องทำตามความต้องการตามใจเจ้าของบ้าน ถ้าไม่ตรงตามความต้องการใช้ เขาก็จะไม่ใช้และเขาก็จะไม่มีความสุข และที่สำคัญการทำไปด้วยความใจเย็น การทำไปด้วยการถามความต้องการคนใช้เจ้าของบ้านที่มีความพิการไปด้วย สามารถทำให้เขาสามารถช่วยเหลือตัวเองได้ ช่วยลดการเป็นภาระของคนในครอบครัว พ่อแม่เขาเหนื่อยน้อยลงชีวิตเขามีความสุขและเขาก็ดีใจ เขาได้อยู่บ้านที่ช่างได้ทำ” นภสินธุ์ กล่าว</p>
<p> </p>
<h3><span style="color:#2980b9;">ภาคประชาสังคมมีส่วนร่วม</span></h3>
<p><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53396963786_474cf3c6c2_k.jpg" /></p>
<p><span style="color:#e67e22;">เฉลิมชัย ทองสุข ผู้ร่วมก่อตั้งมูลนิธิขวัญชุมชน</span></p>
<p>เฉลิมชัย ทองสุข ผู้ร่วมก่อตั้งมูลนิธิขวัญชุมชนกล่าวสะท้อนเพื่อยืนยัน หากว่าคนพิการสามารถเข้าถึงสิทธิการปรับสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยได้ เท่ากับคุณภาพชีวิตของคนพิการและครอบครัวนั้นดีขึ้นได้ มูลนิธิขวัญชุมชนเป็นอีกหนึ่งองค์กรที่ตระหนักถึงปัญหาของคนพิการในพื้นที่ ซึ่งความสนใจเกิดขึ้นหลังจากทำในงานประเด็น เด็ก HIV ผู้หญิง ในพื้นที่จังหวัดสุรินทร์เมื่อ 10 ปีที่แล้ว แล้วค้นพบว่าไม่มีประเด็นเรื่องคนพิการเลย เกิดคำถามว่าเด็กพิการหายไปไหน พวกเขาอยู่อย่างไร จึงเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้เข้ามาทำงานเรื่องคนพิการมากขึ้น เริ่มลงสำรวจเก็บข้อมูลคนพิการทำให้เห็นสภาพปัญหาของเด็กพิการและคนพิการในจังหวัดสุรินทร์ ว่าสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยนั้นมีผลกระทบต่อชีวิตคนพิการในหลายมิติ</p>
<p>คุณชีวิตคนพิการที่จะดีขึ้นได้ ภาครัฐควรต้องสนับสนุนเพิ่มงบประมาณ และวิธีการจัดการในรูปแบบอื่นๆร่วมด้วย เพื่อรองรับเนื่องจากสังคมไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุสัดส่วนของคนพิการอาจจะมากขึ้น</p>
<p>“ควรจ้างบุคคลภายนอกขึ้นมา แล้วไปรับสัมปทานจากกรมส่งเสริมคุณภาพชีวิตคนพิการในการทำเรื่องปรับสภาพบ้านโดยเฉพาะ สมมติว่ากรมคนพิการมีความต้องการในการปรับบ้านคนพิการ 50 หลังในจังหวัดสุรินทร์ ก็หาหน่วยงานที่มีความเชี่ยวชาญเรื่องนี้มาทำเลย ซึ่งเชื่อว่าจะทำให้กระบวนการงานเร็วมากขึ้นและคุมมาตรฐานได้เหมือนกัน เพื่อเกิดความยืดหยุ่นมากขึ้นแก้ปัญหาให้กับคนได้มากขึ้น ซึ่งภาครัฐเป็นแหล่งทุนหลัก” เฉลิมชัย กล่าว</p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%9A%E0%B8%AA%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%92%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%93%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">พ.ร.บ.ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิกhttps://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2023/12/107285
 

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

นักข่าวหัวเห็ด แห่งเวบสุขใจ
อัพเดตข่าวทันใจ ตลอด 24 ชั่วโมง

>> http://www.SookJai.com <<
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
มหัศจรรย์แห่งชีวิต ๗ - ๘ ตอนจบ
ธรรมะทั่วไป ธารธรรม - ธรรมทาน
sometime 2 2124 กระทู้ล่าสุด 06 พฤษภาคม 2553 16:57:53
โดย sometime
การดำเนินของจิตในแนวปฏิบัติ {ตอนจบ}
สมถภาวนา - อภิญญาจิต
時々๛कभी कभी๛ 4 4263 กระทู้ล่าสุด 14 กันยายน 2553 08:53:03
โดย 時々๛कभी कभी๛
บทสัมภาษณ์ท่านอาจารย์ผู้มีพระคุณอบรมสั่งสอนศิษย์{ตอนจบ}
ธรรมะทั่วไป ธารธรรม - ธรรมทาน
時々๛कभी कभी๛ 0 1764 กระทู้ล่าสุด 24 กันยายน 2553 12:48:34
โดย 時々๛कभी कभी๛
พระศรีศากยมุนีพุทธเจ้า คือ พระเจ้าของเหล่ามนุษย์ต่างดาว(ตอนจบ)
ธรรมะทั่วไป ธารธรรม - ธรรมทาน
phonsak 14 7889 กระทู้ล่าสุด 29 ตุลาคม 2553 02:33:23
โดย หมีงงในพงหญ้า
[ข่าวมาแรง] - ก่อนบอลไทยจะไปบอลโลก: ‘บอลท้องถิ่น’ และ ‘บอลเยาวชน’ ต้องเข้มแข็งก่อน (ตอนจบ)
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 34 กระทู้ล่าสุด 23 มีนาคม 2567 00:52:48
โดย สุขใจ ข่าวสด
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.366 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 23 เมษายน 2567 16:45:50