กมธ.สันติภาพฯ เตรียมเชิญ BRN เข้าร่วมประชุม หวังหาทางออกร่วมกัน
<span class="submitted-by">Submitted on Sun, 2023-12-24 16:15</span><div class="field field-name-field-byline field-type-text-long field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><p>มูฮำหมัด ดือราแม</p>
</div></div></div><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>รองประธาน กมธ.สันติภาพ เผยเตรียมเชิญผู้แทน BRN เข้าร่วมประชุม หลังจากฟังคณะพูดคุยฝ่ายไทยและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องมาแล้ว หวังสร้างหลักประกันที่ปลอดภัย ให้เข้ามาหาทางออกร่วมกัน ผ่านกลไกสภาผู้แทนราษฎรเป็นพื้นที่ฟังเสียงที่แตกต่างที่ต้องเปิดกว้างและขยายออก อันจะมีส่วนสนับสนุนกระบวนการสันติภาพที่ทุกคนจับตามอง พร้อมขยายเวลาศึกษาเพิ่มอีก 3 เดือน เริ่มลงพื้นที่ครั้งแรกต้นปีหน้า ด้านเครือข่ายผู้นำศาสนา เสนอ 52 ข้อต่อทุกฝ่าย ชี้กระบวนการสันติควรตามมาตรฐานสากล</p>
<p><img alt="" src="
https://live.staticflickr.com/65535/53418000039_495fb25273_o_d.jpg" /></p>
<p>23 ธ.ค. 2566 นายรอมฎอน ปันจอร์ รองประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อพิจารณาศึกษาและเสนอแนวทางการส่งเสริมกระบวนการสร้างสันติภาพเพื่อแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ เปิดเผยช่วงปิดท้ายเวทีเสวนา หัวข้อ "ทิศทาง อนาคตกระบวนการสันติภาพปาตานี/จังหวัดชายแดนภาคใต้" ที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ว่าคณะกรรมาธิการชุดนี้จะลงพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นครั้งแรก ในวันที่ 19 – 20 ม.ค. 2567 หลังจากหลายคนมีเสียงบ่นว่า คณะกรรมาธิการชุดนี้ทำอะไรบ้าง</p>
<p>นายรอมฎอน เปิดเผยอีกว่า คณะกรรมาธิการชุดใหญ่นี้ได้มีมติเมื่อ 2 สัปดาห์ที่แล้วว่าจะขยายระยะเวลาของคณะกรรมาธิการชุดนี้จาก 90 วัน เป็น 180 วัน โดยจะมีข้อเสนอว่ากระบวนการสันติภาพต้องมีการปรับปรุงเรื่องอะไรบ้าง เพื่อเสนอต่อรัฐบาลและต่อสภาผู้แทนราษฎรตามอำนาจที่ได้รับมอบหมาย โดยจะต้องรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่ 2 ครั้ง คือในวันที่ 19 – 20 ม.ค. 2567 และอีกครั้งในช่วงต้นเดือน ก.พ. 2567</p>
<p>อย่างไรก็ตาม จะมีคณะอนุกรรมาธิการภายใต้คณะกรรมาธิการชุดใหญ่เดินสายรับฟังประชาชนทั่วประเทศว่ามีความคิดเห็นอย่างไรต่อกระบนการสันติภาพ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการทำงานของคณะกรรมาธิการด้วย</p>
<p>นายรอมฎอน ยังเปิดเผยด้วยว่า การประชุมเมื่อวันพุธที่ผ่านมา ได้รับมอบหมายให้มีการเชิญผู้แทนของ BRN เข้าสู่การประชุมของคณะกรรมาธิการสันติภาพชุดนี้ ซึ่งไม่เคยมีในประวัติศาสตร์ที่กลไกสภาผู้แทนราษฎรจะฟังคนในขบวนการ BRN </p>
<p>“วันนี้ทุกท่านได้เจอตัวแทน BRN (ทางออนไลน์) และหวังเช่นกันว่า เราจะสามารถสร้างหลักประกันที่ปลอดภัยที่พวกเขาจะกลับมาในพื้นที่นี้ แล้วก็ได้หาทางออกร่วมกัน ตอนนี้ก็ยังอยู่ในกระบวนการทำงาน”</p>
<p>“ขอให้ทุกท่านเป็นพยานและสนับสนุนการตัดสินใจของ BRN เพราะนี่คือการเปิดพื้นที่ทางการเมืองอีกระดับหนึ่ง ซึ่งเป็นกลไกอีกทางหนึ่งของกลไกสภาผู้แทนราษฎรที่มาจากตัวแทนของปวงชนชาวไทย .. เราอยากให้เป็นพื้นที่ฟังเสียงที่แตกต่างออกไป ในสถาบันการเมืองที่เป็นทางการในสภาผู้แทนราษฎร และเชื่อว่า อันนี้จะมีส่วนสนับสนุนกระบวนการสันติภาพที่ทุกคนกำลังจับตามอง”</p>
<p>นายรอมฎอน เปิดเผยด้วยว่า ตลอดเดือนที่ผ่านมา คณะกรรมาธิการได้เชิญหัวหน้าคณะพูดคุย รวมถึงเจ้าหน้าที่ คนทำงานเบื้องหน้าและเบื้องหลังมาชี้แจงให้ฟังแล้ว ครั้งนี้จึงได้รับมอบหมายให้เชิญผู้แทนของ BRN อย่างเป็นทางการ </p>
<p>“ผมขอให้โอกาสนี้ในการทำให้เชื่อว่า ความปลอดภัยเหล่านี้ต้องขยายไปเรื่อยๆ ต้องช่วยกัน แม้ยังมีอุปสรรค อย่างที่บางท่านบอกว่ายังรู้สึกว่าความปลอดภัยเรื่องนี้ยังไม่เต็มร้อยจากการถูกดำเนินคดี ผมคิดว่าต้องช่วยกัน และสภาผู้แทนราษฎรจะเป็นองค์กรหนึ่งที่จะช่วยขยายพื้นที่แบบนี้ ให้เรื่องที่อยู่ใต้พรม ที่พูดไม่ได้ ได้มาคุยได้ หาทางออกร่วมกัน” นายรอมฎอน กล่าวทิ้งท้าย</p>
<h2><span style="color:#3498db;">เครือข่ายผู้นำศาสนา เสนอ 52 ข้อต่อทุกฝ่าย ชี้กระบวนการสันติควรตามมาตรฐานสากล</span></h2>
<p>นอกจากนี้ Dr. Muhammad Bin Ahmad ผู้แทนเครือข่ายผู้นำศาสนา นักวิชาการ ภาคประชาสังคมในพื้นที่ปาตานี/จังหวัดชายแดนภาคใต้ (Jaringan Pimpinan Islam Ahli Akaderik Organisasi Masyarakat dan Antara Bangsa.) ยังมอบข้อเสนอกระบวนการสันติภาพของเครือข่ายฯ ต่อนายพลเทพ ธนโกเศศ ตัวแทนคณะพูดคุยสันติสุขจังหวัดชายแดนใต้ และส่งต่อไปยังแนวร่วมปฏิวัติแห่งชาติ (BRN) </p>
<p>ประกอบด้วย ข้อเสนอต่อรัฐบาลไทย มี 18 ข้อ ข้อเสนอสำหรับขบวนการแนวร่วมปฏิวัติแห่งชาติมลายูปาตานี (BRN) 10 ข้อ ข้อเสนอสำหรับผู้อำนวยความสะดวก (ประเทศมาเลเซีย) 13 ข้อ ข้อเสนอสำหรับประชาคมระหว่างประเทศ 11 ข้อ ข้อเสนอต่อประชาชนและภาคประชาสังคมในพื้นที่ปาตานี/จังหวัดชายแดนภาคใต้ 4 ข้อ รวมทั้งหมด 52 ข้อ โดยมีข้อเสนอ ที่สำคัญๆ เช่น</p>
<ul>
<li>กระบวนการสันติภาพควรเป็นไปตามมาตรฐานสากลในการแก้ปัญหาความขัดแย้ง ตามหลักการ 8 ข้อใน UN Guidance for Effective Mediation </li>
<li>เมื่อมีข้อตกลงหยุดปฏิบัติการทางทหารทั้งสองฝ่าย (Ceasefire) ฝ่ายรัฐไทย ควรงดบังคับใช้กฎหมายพิเศษทุกฉบับ ตลอดช่วงเวลาตามที่ตกลงเพื่อสร้างบรรยากาศความปลอดภัยให้กับประชาชน</li>
<li>ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการสันติภาพต้องได้รับการคุ้มครองความปลอดภัยในทุกมิติ </li>
<li>ต้องมีการรับประกันความปลอดภัยสำหรับประชาชนในการแสดงความเห็นหรือการมีส่วนร่วมในกระบวนการสันติภาพ</li>
<li>ควรเปิดโอกาสให้ประชาชนและภาคประชาสังคมมีส่วนร่วมกับกระบวนการโดยตรง </li>
<li>ให้การสร้างสันติภาพในปาตานี/จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นวาระแห่งชาติ ด้วยการตราพระราชบัญญัติสันติภาพจังหวัดชายแดนภาคใต้</li>
<li>BRN ควรสนับสนุนแนวทางทางการเมืองในการแก้ปัญหาความขัดแย้งมากกว่าการใช้ความรุนแรง และ ควรเปิดกว้างให้ขบวนการอื่น ๆ มีส่วนร่วม</li>
<li>BRN ต้องรับประกันความปลอดภัยในทุกมิติกับสำหรับประชาชนทุกฝ่ายในการแสดงความเห็นหรือการมีส่วนร่วมในกระบวนการสันติภาพ </li>
</ul>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ข
https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์
https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
https://prachatai.com/journal/2023/12/107367 







