เทียบคะแนนนิยมแคนดิเดตนายกฯ และพรรคการเมือง ก่อนเลือกตั้ง-ปัจจุบัน จากนิด้าโพล
<span class="submitted-by">Submitted on Mon, 2023-12-25 13:14</span><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>เทียบคะแนนนิยมแคนดิเดตนายกฯ และ พรรคการเมือง ก่อนเลือกตั้ง-ปัจจุบัน จากนิด้าโพล พบ 'เพื่อไทย' ลด 13.87% 'รวมไทยสร้างชาติ' ลด 9.64% 'ก้าวไกล' เพิ่มขึ้น 8.69% แพทองธาร ลด 23.45% ขณะที่ เศรษฐา เพิ่ม 15.59% ส่วนยังหาคนที่เหมาะสมไม่ได้ เพิ่มในสัดส่วนที่เท่ากันคือ 15.6% ส่วนพิธายังเพิ่ม 3.96%</p>
<p> </p>
<p>25 ธ.ค.2566 จากวานนี้ (24 ธ.ค.)ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง “การสำรวจคะแนนนิยมทางการเมืองรายไตรมาสปี 2566” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 13-18 ธ.ค. 2566 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 2,000 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับคะแนนนิยมทางการเมือง การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 97.0 นั้น</p>
<p>ผลออกเมื่อเทียบกับ ผลลสำรวจของประชาชน เรื่อง “ศึกเลือกตั้ง 2566 ครั้งที่ 3” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 24-28 เม.ย. 2566 หรือก่อนเลือกตั้งและจับขั้วรัฐบาล จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 2,500 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับศึกเลือกตั้ง 2566 ครั้งที่ 3 การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็น จากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 97.0 </p>
<p style="margin:0in 0in 8pt"> </p>
<div class="more-story">
<ul>
<li>
นิด้าโพลเผยสำรวจพบคนส่วนใหญ่หนุนโหวต 'พิธา' จนกว่าจะได้เป็นนายก</li>
<li>
นิด้าโพลสำรวจเลือกตั้งครั้งที่ 3 ความนิยม 'พิธา' แซง 'แพทองธาร' ส่วนพรรค 'เพื่อไทย' ยังมาอันดับ 1</li>
<li>
นิด้าโพลเผยผลสำรวจพบ 64.5% ไม่เห็นด้วย ‘เพื่อไทย' ตั้งรัฐบาลสลายขั้ว</li>
</ul>
</div>
<p>มีประเด็นเปรียบเทียบน่าสนใจดังนี้ </p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="
https://live.staticflickr.com/65535/53419719859_f0151906bb_b.jpg" /></p>
<p>สำหรับรายละเอียด สำรวจของประชาชน เรื่อง “การสำรวจคะแนนนิยมทางการเมืองรายไตรมาสปี 2566” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 13-18 ธ.ค. 2566 มีดังนี้ จากการสำรวจเมื่อถามถึงบุคคลที่ประชาชนจะสนับสนุนให้เป็นนายกรัฐมนตรีในวันนี้ พบว่า อันดับ 1 ร้อยละ 39.40 ระบุว่าเป็น พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ (พรรคก้าวไกล) เพราะ มีความเป็นผู้นำ เป็นคนรุ่นใหม่ วิสัยทัศน์ดี บุคลิกดี และเข้าถึงประชาชน อันดับ 2 ร้อยละ 22.35 ระบุว่าเป็น เศรษฐา ทวีสิน (พรรคเพื่อไทย) เพราะ มีความรู้ความสามารถ ตรงไปตรงมา และชื่นชอบพรรคเพื่อไทย อันดับ 3 ร้อยละ 18.60 ระบุว่า ยังหาคนที่เหมาะสมไม่ได้ อันดับ 4 ร้อยละ 5.75 ระบุว่าเป็น แพทองธาร (อุ๊งอิ๊งค์) ชินวัตร (พรรคเพื่อไทย) เพราะ เป็นคนรุ่นใหม่ ชื่นชอบพรรคและนโยบายพรรคเพื่อไทย และชื่นชอบผลงานในอดีตของตระกูลชินวัตร อันดับ 5 ร้อยละ 2.40 ระบุว่าเป็น พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค (พรรครวมไทยสร้างชาติ) เพราะ มีความรู้ความสามารถ มีความน่าเชื่อถือ ตรงไปตรงมา และมีความซื่อสัตย์สุจริต อันดับ 6 ร้อยละ 1.70 ระบุว่าเป็น อนุทิน ชาญวีรกูล (พรรคภูมิใจไทย) เพราะ เข้าถึงประชาชนทุกกลุ่ม ตรงไปตรงมา และชื่นชอบผลงานที่ผ่านมา อันดับ 7 ร้อยละ 1.65 ระบุว่าเป็น คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ (พรรคไทยสร้างไทย) เพราะ มีประสบการณ์ด้านการบริหารประเทศ และต้องการเปิดโอกาสให้ผู้หญิงเข้ามาบริหารประเทศ ร้อยละ 3.90 ระบุอื่นๆ ได้แก่ พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ (พรรคพลังประชารัฐ) ชัยธวัช ตุลาธน (พรรคก้าวไกล) อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (พรรคประชาธิปัตย์) วราวุธ ศิลปอาชา (พรรคชาติไทยพัฒนา) ชวน หลีกภัย (พรรคประชาธิปัตย์) เฉลิมชัย ศรีอ่อน (พรรคประชาธิปัตย์) เทวัญ ลิปตพัลลภ (พรรคชาติพัฒนากล้า) วันมูหะมัดนอร์ มะทา (พรรคประชาชาติ) พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง (พรรคประชาชาติ) เฉลิม อยู่บำรุง (พรรคเพื่อไทย) มงคลกิตติ์ สุขสินธารานนท์ (พรรคไทยศรีวิไลย์) และ ศุภชัย พานิชภักดิ์ และร้อยละ 4.25 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="
https://live.staticflickr.com/65535/53418478517_5cf1ab1593_k.jpg" /></p>
<p>ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงพรรคการเมืองที่ประชาชนจะสนับสนุนในวันนี้ พบว่า อันดับ 1 ร้อยละ 44.05 ระบุว่าเป็น พรรคก้าวไกล อันดับ 2 ร้อยละ 24.05 ระบุว่าเป็น พรรคเพื่อไทย อันดับ 3 ร้อยละ 16.10 ระบุว่า ยังหาพรรคการเมืองที่เหมาะสมไม่ได้ อันดับ 4 ร้อยละ 3.60 ระบุว่าเป็น พรรคประชาธิปัตย์ อันดับ 5 ร้อยละ 3.20 ระบุว่าเป็น พรรครวมไทยสร้างชาติ อันดับ 6 ร้อยละ 1.75 ระบุว่าเป็น พรรคภูมิใจไทย อันดับ 7 ร้อยละ 1.45 ระบุว่าเป็น พรรคพลังประชารัฐ ร้อยละ 1.85 ระบุอื่น ๆ ได้แก่ พรรคไทยสร้างไทย พรรคชาติไทยพัฒนา พรรคเพื่อไทยรวมพลัง พรรคประชาชาติ พรรคชาติพัฒนากล้า และพรรคเสรีรวมไทย และร้อยละ 3.95 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ</p>
<div class="note-box">
<h2><span style="color:#2980b9;">ลักษณะทั่วไปของตัวอย่างในการสำรวจรอบวันที่ 13-18 ธ.ค. 2566 </span></h2>
<p>พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 8.60 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ ร้อยละ 18.55 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคกลาง ร้อยละ 17.95 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ ร้อยละ 33.45 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 13.75 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้ และร้อยละ 7.70 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออก ตัวอย่าง ร้อยละ 48.10 เป็นเพศชาย และร้อยละ 51.90 เป็นเพศหญิง</p>
<p>ตัวอย่าง ร้อยละ 12.90 อายุ 18-25 ปี ร้อยละ 17.80 อายุ 26-35 ปี ร้อยละ 18.95 อายุ 36-45 ปี ร้อยละ 26.65 อายุ 46-59 ปี และร้อยละ 23.70 อายุ 60 ปีขึ้นไป ตัวอย่าง ร้อยละ 96.10 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 3.20 นับถือศาสนาอิสลาม และร้อยละ 0.70 นับถือศาสนาคริสต์และศาสนาอื่น ๆ</p>
<p>ตัวอย่าง ร้อยละ 33.25 สถานภาพโสด ร้อยละ 64.80 สมรส และร้อยละ 1.95 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ ตัวอย่าง ร้อยละ 25.15 จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ร้อยละ 36.25 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 8.45 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 25.05 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 5.10 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า</p>
<p>ตัวอย่าง ร้อยละ 9.10 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 16.55 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 21.45 ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจส่วนตัว/อาชีพอิสระ ร้อยละ 12.85 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 15.85 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน ร้อยละ 19.55 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน และร้อยละ 4.65 เป็นนักเรียน/นักศึกษา</p>
<p>ตัวอย่าง ร้อยละ 21.40 ไม่มีรายได้ ร้อยละ 21.05 รายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 10,000 บาท ร้อยละ 29.40 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001-20,000 บาท ร้อยละ 9.95 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001-30,000 บาท ร้อยละ 4.65 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001-40,000 บาท ร้อยละ 4.85 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 40,001 บาทขึ้นไป และร้อยละ 8.70 ไม่ระบุรายได้</p>
</div>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="
https://live.staticflickr.com/65535/53418478547_9784392128_k.jpg" /></p>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#e67e22;">ผลสำรวจก่อนการเลือกตั้ง</span> </p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ข
https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์
https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
https://prachatai.com/journal/2023/12/107374