[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
29 พฤษภาคม 2567 16:42:10 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - ข่าวลือข่าวลวงในช่วงการจัดตั้งรัฐบาล : เป็นข่าวลือเรื่องอะไร กล่าวหาพรรคไหน ป  (อ่าน 52 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
สุขใจ ข่าวสด
I'm Robot
สุขใจ บอทนักข่าว
นักโพสท์ระดับ 15
****

คะแนนความดี: +101/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Italy Italy

กระทู้: มากเกินบรรยาย


บอท @ สุขใจ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 26 ธันวาคม 2566 16:28:22 »

ข่าวลือข่าวลวงในช่วงการจัดตั้งรัฐบาล : เป็นข่าวลือเรื่องอะไร กล่าวหาพรรคไหน ประเด็นใดมากที่สุด
 


<span class="submitted-by">Submitted on Tue, 2023-12-26 15:40</span><div class="field field-name-field-byline field-type-text-long field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><p>รายงาน Rocket Media Lab</p>
</div></div></div><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><div class="summary-box">
<ul>
<li>แม้ ‘ข่าวลือ’ จะยังไม่ถูกจัดเป็นข้อมูลผิดพลาด (misinformation) หรือข้อมูลบิดเบือน (disinformation) เนื่องจากไม่สามารถพิสูจน์ความเป็นจริงหรือเท็จได้ ทั้ง ณ เวลานั้น หรือในเวลาต่อมา แต่หลายข่าวลือกลับมีโครงสร้างการสร้างข่าวที่เทียบเคียงได้กับข้อมูลผิดพลาด (misinformation) หรือข้อมูลบิดเบือน (disinformation) จำนวนมาก</li>
<li>แม้ข่าวลือจะเป็นเรื่อง ‘เกมการเมือง’ มากที่สุด 21 ชิ้น แต่ในช่วงแรกที่พรรคก้าวไกลเป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล ประเด็นของข่าวลือที่พบมากที่สุดคือ ‘อุดมการณ์ทางการเมือง’ มากถึง 11 ชิ้น ซึ่งเป็นประเด็นที่พรรคก้าวไกลถูกโจมตีเสมอมา</li>
<li>ช่วงไทม์ไลน์ที่มีพรรคเพื่อไทยเป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล  ประเด็นที่พรรคเพื่อไทยถูกโจมตีด้วยข่าวลือจะแตกต่างไปจากในช่วงไทม์ไลน์แรกที่พรรคก้าวไกลเป็นแกนนำ และเป็นเรื่องที่มีเป้าประสงค์เพื่อลดความน่าเชื่อถือของแคนดิเดตนายกฯ ซึ่งก็คือ เศรษฐา ทวีสิน </li>
<li>การสร้างข่าวลือโดยการปล่อยข่าวนั้นมีมากที่สุด จำนวน 28 ชิ้น โดยมีเป้าประสงค์ในการสร้างความแตกแยกในการจัดตั้งรัฐบาลโดยมีพรรคก้าวไกลเป็นแกนนำมากที่สุด ถึง 10 ชิ้นด้วยกัน และยังพบว่าใน 10 ชิ้นนี้มีเป้าหมายโจมตีเป็นพรรคเพื่อไทยมากที่สุด</li>
<li>หัวหน้าข่าวการเมือง นสพ.เดลินิวส์ ชี้ทุกข่าวที่ได้มาเป็นข่าวลือ จนกว่าจะตรวจสอบ และในการจัดตั้งรัฐบาลครั้งนี้ ความจริงเปลี่ยนไว แม้จะคอนเฟิร์ม ณ ตอนนี้ แต่พรุ่งนี้หรืออีกหนึ่งชั่วโมงมันอาจจะเปลี่ยน </li>
<li>นักวิชาการวารสารศาสตร์เสนอวิธีรายงานข่าวลือแบบ ‘แซนด์วิช’ เอาสิ่งที่จริงขึ้นก่อน และตัวเท็จมาอยู่ตรงกลาง เสนอว่าข้อเท็จจริงคือแบบนี้ เพื่อให้อัลกอริทึมจับข้อมูลที่จริง มากกว่าตัวเท็จเวลาคนค้นหาข้อมูล </li>
</ul>
</div>
<p>ผลการเลือกตั้งในวันที่ 14 พฤษภาคม 2566 ปรากฏว่าพรรคก้าวไกลได้จำนวนที่นั่ง สส. มากเป็นอันดับหนึ่ง และก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำในการจัดตั้งรัฐบาลภายใต้พรรคร่วมรัฐบาลชุดแรก 8 พรรค ที่มีก้าวไกลเป็นแกนนำ โดยมีพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ เป็นแคนดิเดตนายกรัฐมนตรี แต่ในกระบวนการก้าวขึ้นสู่การเป็นนายกรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญ 2560 นั้น จำต้องได้เสียงโหวตเกินกว่า 376 เสียง ซึ่งรวมไปถึงเสียงโหวตจาก สว. ทั้ง 250 คนด้วย นำมาสู่บทสรุปที่ได้เศรษฐา ทวีสิน เป็นนายกรัฐมนตรีและพรรคเพื่อไทยเป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล โดยในช่วงเวลาดังกล่าวเต็มไปด้วยความพลิกผันทางการเมือง และมีข่าวลือ ข่าวลวง ข้อมูลที่ผิดพลาด บิดเบือน เกี่ยวกับการจัดตั้งรัฐบาลและการโหวตประธานสภาและนายกรัฐมนตรี ทั้งทางตรงและทางอ้อม ถูกนำเสนอผ่านสื่อมวลชนไปจนถึงในโซเชียลมีเดียหลากหลายแพลตฟอร์มเป็นจำนวนมาก</p>
<p>Rocket Media Lab เก็บข้อมูลข่าวลือ ข่าวลวง ข้อมูลที่ผิดพลาด บิดเบือน ที่มีการรายงานในสื่อสารมวลชนและปรากฏในโซเชียลมีเดีย ในช่วงเวลาหลังการเลือกตั้ง 14 พฤษภาคม 2566 จนถึงการจัดตั้งรัฐบาล 22 สิงหาคม 2566 เพื่อนำมาวิเคราะห์ให้เห็นปรากฏการณ์ฝุ่นตลบในการรายงานข่าวของสื่อสารมวลชนที่เต็มไปด้วยข่าวลือข่าวลวงในช่วงก่อนการจัดตั้งรัฐบาล </p>
<h2><span style="color:#2980b9;">ข่าวลือข่าวลวงมีมากน้อยแค่ไหน ในช่วงก่อนจัดตั้งรัฐบาล</span></h2>
<p>พรรษาสิริ กุหลาบ อาจารย์ประจำภาควิชาวารสารสนเทศ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้คำนิยามคร่าวๆ ของคำว่า “ข่าวลือ” โดยอ้างอิงงานศึกษาเรื่อง The Web of False Information: Rumors, Fake News, Hoaxes, Clickbait, and Various Other Shenanigans ว่าหมายถึง “ข้อมูลที่ข้อเท็จจริงยังคลุมเครืออยู่ หรือยังไม่สามารถยืนยันได้ ยังฟันธงไม่ได้ในขณะนั้นว่าเป็นเรื่องจริงหรือเท็จ” โดยภายใต้กรอบคำนิยามนี้ Rocket Media Lab ได้เก็บรวบรวมการรายงานข่าวที่ถือว่าเป็นข่าวลือ ข่าวลวง ข้อมูลที่ผิดพลาด บิดเบือน  ที่มีการรายงานในสื่อสารมวลชนและปรากฏในโซเชียลมีเดีย ในช่วงการจัดตั้งรัฐบาลที่ผ่านมา ตั้งแต่หลังวันเลือกตั้ง 14 พฤษภาคม 2566  จนถึงวันที่ 22 สิงหาคม 2566 ที่มีการโปรดเกล้าคณะรัฐมนตรี จำนวนทั้งหมด 70 ชิ้น พบว่า เป็นข่าวลือที่มุ่งตรงไปยังองค์กรต่างๆ ซึ่งส่วนมากเป็นพรรคการเมือง โดยแยกได้ดังนี้ </p>
<p><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53421601236_5eca71ba3e_b.jpg" /></p>
<p>จากข้อมูลจะเห็นได้ว่า 2 พรรคการเมืองที่ได้ที่นั่ง สส. มาเป็นอันดับหนึ่งและอันดับสอง และเป็นพันธมิตรในการจัดตั้งรัฐบาลร่วมกันในช่วงแรก ต่างเป็นพรรคการเมืองที่มีข่าวลือที่มุ่งตรงไปยังตัวพรรคมากที่สุด โดยพรรคก้าวไกลมีมากถึง 24 ชิ้น พรรคเพื่อไทยมี 23 ชิ้น แต่ถ้านับรวมข่าวลือที่เกี่ยวพัน 2 พรรคการเมืองใน 1 ข่าว ซึ่งมีทั้ง เพื่อไทย/พลังประชารัฐ และ เพื่อไทย/ก้าวไกล ก็จะพบว่าพรรคเพื่อไทยเป็นพรรคการเมืองที่มีข่าวลือเกี่ยวพันกับพรรคมากที่สุดในช่วงการจัดตั้งรัฐบาลที่ผ่านมา รองลงมาก็คือพรรคก้าวไกล และพรรครวมไทยสร้างชาติ </p>
<p>นอกจากนี้ยังพบข่าวลือที่เกี่ยวข้องกับองค์กรอื่นๆ ที่ไม่ใช่พรรคการเมืองอีกเช่น กกต. อย่างเช่นข่าวลือว่า คะแนนผู้สมัครเขตเลือกตั้งที่ 7 จ.สุราษฎร์ธานี มีจำนวนมากกว่าจำนวนผู้ที่มาใช้สิทธิเลือกตั้ง หรือองค์กรเอกชนอย่าง  บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด ที่มีข่าวลือว่า ทรูตัดสัญญาณโทรศัพท์มือถือพิธา ซึ่งต่อมา ทรูปฏิเสธข่าวดังกล่าว อย่างไรก็ตาม กรณีนี้น่าจะสืบเนื่องจากกรณีที่มีการตัดสัญญาณถ่ายทอดการให้สัมภาษณ์ของพิธาในรายการของ BBC ไม่เพียงแค่นั้นในบางข่าวอาจจะไม่ใช่ข่าวลือของพรรคการเมืองเดี่ยวๆ แต่เป็นกลุ่มพรรคการเมืองที่ถูกนิยามว่า ‘ขั้วอำนาจเก่า’ อันหมายถึงพรรคการเมืองที่เคยเป็นรัฐบาลในสมัยที่ผ่านมา เช่นข่าวขั้วอำนาจเก่าเตรียมจับมือพรรคเพื่อไทยจัดตั้งรัฐบาล </p>
<p>ดังนั้น หากมองในแง่ที่ว่าข่าวลือเป็นเหมือนอาวุธทางการเมืองรูปแบบหนึ่ง อาวุธในครั้งนี้จึงถูกนำมาใช้กับ 2 พรรคการเมืองหลักที่ผลัดกันขึ้นมาเป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาลครั้งนี้ </p>
<h2><span style="color:#2980b9;">ข่าวลือเป็นเรื่องอะไร </span></h2>
<p><span style="color:#2980b9;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53422026660_836ce0ae67_b.jpg" /></span></p>
<p>จากนั้นเมื่อนำเอาข่าวลือทั้ง 70 ชิ้น มาวิเคราะห์เนื้อหาและแยกประเภทว่าเนื้อหาของข่าวมุ่งกล่าวหาในประเด็นอะไร สามารถแยกออกได้เป็น 10 ประเด็นดังนี้ </p>
<ul>
<li>เกมการเมือง 21 ชิ้น</li>
<li>อุดมการณ์ทางการเมือง 13 ชิ้น </li>
<li>หักหลัง 10 ชิ้น </li>
<li>ไม่เหมาะสม 9 ชิ้น </li>
<li>ความขัดแย้งในพรรค 4 ชิ้น </li>
<li>ขาดคุณสมบัติ 3 ชิ้น </li>
<li>ซื้อเสียง 3 ชิ้น </li>
<li>ไม่โปร่งใส 3 ชิ้น </li>
<li>ด้อยค่า 2 ชิ้น</li>
<li>ผิดคำพูด 2 ชิ้น </li>
</ul>
<p>จากข้อมูล แม้จะเห็นได้ว่าข่าวลือที่มีประเด็นในการกล่าวหาว่าเป็น ‘เกมการเมือง’ มีมากที่สุดถึง 21 ชิ้น แต่เมื่อนำเอาข่าวลือทั้ง 70 ชิ้น มาแยกตามไทม์ไลน์โดยแบ่งเป็น 3 ช่วงระยะเวลา เพื่อให้เห็นบริบทที่แวดล้อมว่าเหตุใดถึงมีข่าวลือเรื่องนั้นๆ เกิดขึ้น ซึ่งก็คือ 1. ช่วงการจัดตั้งรัฐบาลที่มีพรรคก้าวไกลเป็นแกนนำ 2. ช่วงการจัดตั้งรัฐบาลที่มีพรรคเพื่อไทยเป็นแกนนำภายใต้ MOU 8 พรรค 3. ช่วงการจัดตั้งรัฐบาลที่มีพรรคเพื่อไทยเป็นแกนนำ จะทำให้เห็นความน่าสนใจของประเด็นของข่าวลือเพิ่มเติมด้วย</p>
<p>ในช่วงแรกที่พรรคก้าวไกลเป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล ประเด็นของข่าวลือที่พบมากที่สุดกลับไม่ใช่เรื่อง ‘เกมการเมือง’ แต่เป็น ‘อุดมการณ์ทางการเมือง’ มากถึง 11 ชิ้น และใน 11 ชิ้นนี้เป็นข่าวลือที่เกี่ยวข้องกับพรรคก้าวไกลโดยตรงถึง 9 ชิ้น เช่น เป็นการกล่าวหาถึงจุดยืนของพรรคก้าวไกล ทั้งเรื่องการจะให้สหรัฐฯ มาตั้งฐานทัพ มีการทำประชามติแบ่งแยกดินแดน หรือมีนโยบายขับแรงงานกัมพูชาออกนอกประเทศ ในขณะที่อีก 2 ชิ้นแม้จะไม่ได้มุ่งตรงไปยังพรรคก้าวไกล แต่ก็มีความเกี่ยวเนื่องกัน เช่น ข่าวลือทรูตัดสัญญาณมือถือพิธา หรือข่าวลือ มีชัยให้ สว. ที่โหวตพิธาต้องรักษาชาติก่อนประชาธิปไตย ดังนั้นจะเห็นได้ว่าข่าวลือในช่วงแรกที่พรรคก้าวไกลเป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาลนั้นมุ่งตรงไปยังประเด็นที่พรรคก้าวไกลถูกโจมตีเสมอมาในเรื่องของอุดมการณ์ทางการเมือง </p>
<p>รองลงมาซึ่งมีจำนวนน้อยกว่าเพียง 1 ชิ้นก็คือ ‘หักหลัง’ ซึ่งเกี่ยวข้องกับพรรคเพื่อไทยโดยตรง 8 ชิ้น เช่น กระแสข่าวดีลลับในการจับขั้วรัฐบาลใหม่โดยไม่มีพรรคก้าวไกล ในขณะที่อีก 2 ชิ้น แม้เนื้อหาไม่ได้พุ่งตรงไปยังพรรคเพื่อไทย แต่ก็มีความเกี่ยวข้องกับพรรคเพื่อไทย เช่น ข่าวพรรคพลังประชารัฐจะยุบเพื่อไปรวมกับพรรคเพื่อไทย เพื่อจะได้เป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล </p>
<p>จะเห็นได้ว่าในช่วงแรกนี้ การที่ข่าวลือในประเด็นเรื่อง ‘อุดมการณ์ทางการเมือง’ ซึ่งมุ่งตรงไปยังพรรคก้าวไกลมีมากที่สุดก็เพราะว่ามีเป้าประสงค์เพื่อลดความน่าเชื่อถือของพรรคในการเป็นผู้นำในการจัดตั้งรัฐบาล ในขณะเดียวกันข่าวลือในประเด็นเรื่อง ‘หักหลัง’ ที่มีมากเป็นอันดับสองในจำนวนที่ใกล้กัน ซึ่งมุ่งตรงไปยังพรรคเพื่อไทยมากที่สุดโดยมีเป้าประสงค์เพื่อสร้างความแตกแยกในการจัดตั้งรัฐบาล </p>
<p>จากนั้นเมื่อมาพิจารณาดูในช่วงไทม์ไลน์ที่สองที่มีพรรคเพื่อไทยเป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาลภายใต้ MOU 8 พรรค จะพบว่าประเด็นข่าวลือที่มีมากที่สุดก็คือ ‘เกมการเมือง’ มีจำนวน 8 ชิ้น ซึ่งมีเนื้อหามุ่งตรงไปยังพรรคเพื่อไทย ก้าวไกล และประชาธิปัตย์ อย่างละ 2 ชิ้นเท่าๆ กัน</p>
<p><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53421601256_8b13e91a6d_b.jpg" /></p>
<p>และในช่วงไทม์ไลน์สุดท้าย ที่มีพรรคเพื่อไทยเป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล ก็จะพบว่า ประเด็นที่มีมากที่สุดคือ ‘ความไม่เหมาะสม’ มีจำนวน 6 ชิ้น ซึ่งหมายถึงความไม่เหมาะสมในด้านคุณสมบัติ ซึ่งเนื้อหาส่วนใหญ่มุ่งตรงไปยังเศรษฐา ทวีสิน แคนดิเดตนายกฯ ของพรรคเพื่อไทย ดังเช่นข่าวที่ชูวิทย์ออกมาระบุถึงความไม่ชอบมาพากลในการซื้อขายที่ดินของแสนสิริขณะอยู่ภายใต้การบริหารของเศรษฐา ในขณะที่  ‘เกมการเมือง’  นั้นตามมาอันดับสอง มีจำนวน 5 ชิ้น  ซึ่งเนื้อหามุ่งตรงไปยังพรรคพลังประชารัฐและก้าวไกล ฝ่ายละ 2 ชิ้นเท่ากัน</p>
<p>จะเห็นได้ว่าในช่วงไทม์ไลน์ที่มีพรรคเพื่อไทยเป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล  ประเด็นที่พรรคเพื่อไทยถูกโจมตีด้วยข่าวลือจะแตกต่างไปจากในช่วงไทม์ไลน์แรกที่พรรคก้าวไกลเป็นแกนนำ และเป็นเรื่องที่มีเป้าประสงค์เพื่อลดความน่าเชื่อถือของแคนดิเดตนายกฯ ซึ่งก็คือ เศรษฐา ทวีสิน แตกต่างจากไทม์ไลน์แรกที่ข่าวลือโจมตีไปที่อุดมการณ์ทางการเมืองของพรรคก้าวไกลเป็นหลัก</p>
<p>จากข้อมูลทั้งหมดจะเห็นได้ว่า ข่าวลือที่เกิดขึ้นไม่ได้เกิดขึ้นอย่างสะเปะสะปะ  แต่กลับมีลักษณะเฉพาะเจาะจงเพื่อเป้าประสงค์ที่สอดคล้องกับบริบทของช่วงเวลาทางการเมืองอย่างชัดเจน เช่น ในช่วงเวลาหนึ่ง ที่พรรคเพื่อไทยยังไม่ได้ก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำในการจัดตั้งรัฐบาล ก็จะถูกโจมตีด้วยข่าวลือในเรื่องหนึ่งซ้ำๆ ในขณะที่เมื่อพรรคเพื่อไทยเปลี่ยนบทบาทมาเป็นผู้นำในการจัดตั้งรัฐบาลแล้ว ประเด็นในการโจมตีจากข่าวลือก็จะเปลี่ยนไปสู่อีกประเด็นที่ส่งผลต่อการเป็นผู้นำในการจัดตั้งรัฐบาลแทน</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">ข่าวลือสร้างขึ้นมาอย่างไร และสร้างผลกระทบอย่างไร</span></h2>
<p>จากนั้นเมื่อนำข่าวลือข่าวลวง ข้อมูลที่ผิดพลาด บิดเบือน ทั้ง 70 ชิ้น มาวิเคราะห์โครงสร้าง ว่าข่าวแต่ละข่าวถูกสร้างด้วยวิธีการอย่างไร โดยแยกเป็นการสร้างข่าวลือจากการตัดต่อ สร้างข่าวลือจากการทำให้เข้าใจผิด สร้างข่าวลือจากการปลอมแปลงข้อมูล  สร้างข่าวลือจากการเชื่อมโยงที่ผิดบริบท และสร้างข่าวลือจากการปล่อยข่าว จะพบว่า </p>
<p>จากข้อมูลจะเห็นว่า การสร้างข่าวลือโดยการปล่อยข่าวนั้นมีมากที่สุด จำนวน 28 ชิ้น เช่น พรรคประชาธิปัตย์ จะเข้าร่วมรัฐบาล, จะมีการเสนอสุชาติ เป็นประธานสภาฯ นอกจากนี้ยังค้นพบว่า การสร้างข่าวลือโดยการปล่อยข่าว จำนวน 28 ชิ้นนี้ มีเป้าประสงค์ในการสร้างความแตกแยกในการจัดตั้งรัฐบาลโดยมีพรรคก้าวไกลเป็นแกนนำมากที่สุด ถึง 10 ชิ้นด้วยกัน และยังพบว่าใน 10 ชิ้นนี้มีเป้าหมายโจมตีเป็นพรรคเพื่อไทยมากที่สุด</p>
<p>โครงสร้างการสร้างข่าวลือที่มีมากเป็นอันดับสองก็คือ การสร้างข่าวลือจากการทำให้เข้าใจผิด จำนวน 17 ชิ้น โดยมีเป้าประสงค์เพื่อลดความน่าเชื่อถือของพรรคก้าวไกล/สส.ก้าวไกล มากที่สุดถึง 7 ชิ้น  เช่น พรรคก้าวไกลโทรมาขอเสียงสนับสนุนจากพรรคประชาธิปัตย์เพื่อโหวตให้พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ถัดมาเป็นการสร้างข่าวลือจากการทำให้เข้าใจผิด จำนวน 12 ชิ้น โดยมีเป้าประสงค์เพื่อลดความน่าเชื่อถือของพรรคก้าวไกล/สส.ก้าวไกลมากที่สุดถึง 7 ชิ้น เช่น ธนาธรปลุกระดมเยาวชนและกลุ่มชาติพันธุ์ภาคใต้ให้กระด้างกระเดื่องต่อรัฐไทย ถัดมาเป็นการสร้างข่าวลือจากข้อมูลที่ผิดบริบท 12 ชิ้น โดยมีเป้าประสงค์เพื่อลดความน่าเชื่อถือของพรรคก้าวไกลมากที่สุด 4 ชิ้น เช่น กรณีก้าวไกลกลับการทำประชามติแบ่งแยกดินแดน</p>
<p>และสุดท้าย การสร้างข่าวลือจากการตัดต่อ 7 ชิ้น โดยมีเป้าประสงค์เพื่อลดความน่าเชื่อถือของพรรคก้าวไกล/สส.ก้าวไกล มากที่สุดถึง 5 ชิ้น เช่น สส.ก้าวไกลนั่งฉี่ริมถนน และการสร้างข่าวลือจากการปลอมแปลงข้อมูล 6 ชิ้น โดยมีเป้าประสงค์เพื่อลดความน่าเชื่อถือของพรรคก้าวไกล และพรรคเพื่อไทยเท่ากัน อย่างละ 2 ชิ้น เช่น ฮุนเซนบอกว่าก้าวไกลมีนโยบายขับแรงงานกัมพูชา และจาตุรนต์จ่อซบก้าวไกล </p>
<p>นอกจากนี้หากพิจารณาเฉพาะพรรคการเมือง จะพบความน่าสนใจว่า ในบรรดาข่าวลือข่าวลวง ข่าวที่ผิดพลาด บิดเบือนทั้งหมด ข่าวลือที่มุ่งตรงไปยังพรรคเพื่อไทยนั้น มักจะมีโครงสร้างเป็นการปล่อยข่าวมากที่สุด ในขณะที่พรรคก้าวไกลนั้น ข่าวลือมีโครงสร้างที่ชัดเจนทั้งการตัดต่อ และการทำให้เข้าใจผิดมากที่สุด </p>
<p><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53420678182_7b39d73506_b.jpg" /></p>
<p>และจากข้อมูลทั้งหมดยังทำให้เห็นว่า แม้ ‘ข่าวลือ’ จะยังไม่ถูกจัดเป็นข้อมูลผิดพลาด (misinformation) หรือข้อมูลบิดเบือน (disinformation) เนื่องด้วยอยู่ในสถานะความคลุมเครือ ณ เวลานั้น หรือไม่สามารถพิสูจน์ความเป็นจริงหรือเท็จได้ ทั้ง ณ เวลานั้น หรือในเวลาต่อมา แต่หลายข่าวลือกลับมีโครงสร้างการสร้างข่าวที่เทียบเคียงได้กับข้อมูลผิดพลาด (misinformation) หรือข้อมูลบิดเบือน (disinformation) จำนวนมาก โดยในการศึกษาครั้งนี้พบว่าข่าวลือที่ไม่สามารถจัดประเภทโครงสร้างในแบบทฤษฎีข้อมูลผิดพลาด (misinformation) หรือข้อมูลบิดเบือน (disinformation) แต่ถูกจัดเป็นการปล่อยข่าวมีเพียง 28 ชิ้นเท่านั้น ขณะที่อีก 42 ชิ้น ที่เหลือ มีโครงสร้างการสร้างข่าวลือที่สามารถใช้ทฤษฎีข้อมูลผิดพลาด (misinformation) หรือข้อมูลบิดเบือน (disinformation) ได้ ทั้งการตัดต่อ การทำให้เข้าใจผิด การปลอมแปลงข้อมูล และการเชื่อมโยงที่ผิดบริบท  </p>
<p>ข่าวลือมายังไง มีอายุยาวนานแค่ไหน </p>
<p>จากข่าวลือข่าวลวงจำนวน 70 ชิ้นในช่วงการจัดตั้งรัฐบาล เมื่อนำมาแยกประเภทที่มาของข่าวลือเท่าที่สามารถสืบค้นได้ จะพบว่าสามารถแยกได้เป็น </p>
<ol>
<li>สื่ออ้างรายงานข่าว/กระแสข่าว/แหล่งข่าวพรรค/ข่าวลือ 28 ชิ้น </li>
<li>โซเชียลมีเดียทั้งอินฟลูเอนเซอร์และผู้ใช้ทั่วไป 15 ชิ้น </li>
<li>นักเคลื่อนไหว/นักวิชาการ 14 ชิ้น</li>
<li>นักการเมือง 7 ชิ้น </li>
<li>สื่อมวลชน 6 ชิ้น </li>
</ol>
<p>จากข้อมูลจะเห็นได้ว่าข่าวลือที่เกิดขึ้นในช่วงการจัดตั้งรัฐบาล ส่วนมากมาจากการที่สื่อรายงานโดยอ้างอิงว่าข่าวนั้นได้มาจาก รายงานข่าว/กระแสข่าว/แหล่งข่าวพรรค/ข่าวลือ เช่น ประวิตร วงษ์สุวรรณ บินไปอังกฤษเจรจาดีลลับจับขั้วแข่งก้าวไกล</p>
<p>รองลงมาก็คือ โซเชียลมีเดียทั้งอินฟลูเอนเซอร์และผู้ใช้ทั่วไป 15 ชิ้น เช่น คลิปเสียงคล้ายจาตุรนต์วิจารณ์เพื่อไทย  ซึ่งต่อมาก็ถูกนำมาเสนอผ่านสื่อมวลชนอีกครั้ง ตามมาด้วย นักเคลื่อนไหว/นักวิชาการ 14 ชิ้น เช่น กรณีชูวิทย์กล่าวหาเศรษฐาในขณะบริหารแสนสิริว่าทุจริต นักการเมือง 7 ชิ้น  เช่น หมอพรทิพย์นำเอาข้อเสนอแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม 10 ข้อ มาโพสต์ว่าเป็นข้อเสนอก้าวไกล หรือสื่อเอง 6 ชิ้น  เช่น ข่าวว่าจาตุรนต์จ่อซบก้าวไกล</p>
<p>นอกจากนั้นยังพบความน่าสนใจในประเด็นเรื่องอายุของข่าวลือข่าวลวงที่มีอายุสั้นมาก โดยจำนวนวันคำนวณจากวันแรกที่พบการพูดถึงหรือรายงานข่าวนั้นๆ จนถึงวันที่มีผู้ที่เกี่ยวข้องไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อม ออกมาแสดงท่าทีต่อกระแสข่าวนั้น ไม่ว่าจะปฏิเสธหรือยอมรับ ทำให้ข่าวลือข่าวลวงที่ตอนแรกอยู่ในสภาวะคลุมเครือและยังไม่สามารถพิสูจน์ความเป็นจริงหรือเท็จได้จบลงไป ซึ่งจะพบว่า ข่าวลือข่าวลวงที่มีอายุในช่วง 24 ชั่วโมง มีจำนวนสูงถึง 30 ชิ้น เช่น พิธาไม่ได้จบฮาวาร์ด และข่าวลือข่าวลวงที่มีอายุเพียง 1 วัน มีจำนวน 26 ชิ้น  เช่น  ธรรมนัสจะนำ สส. พลังประชารัฐไปโหวตให้เพื่อไทย</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">การตรวจสอบข่าวลือข่าวลวงโดยองค์กรอื่นๆ</span></h2>
<p>ข่าวลือข่าวลวงช่วงการจัดตั้งรัฐบาล มีการตรวจสอบข้อเท็จจริงจากหลายแหล่ง ทั้งของภาครัฐเอง เช่น กกต. ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทยซึ่งจะนำเสนอการตรวจสอบข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับบทบาทของ กกต. เช่น กรณี กกต. ถูกมองว่า ละเว้นปฏิบัติหน้าที่ดำเนินคดีอาญาอนาคตใหม่ หรือ สส. พรรคก้าวไกลจะโดนใบแดง 10 คน เนื่องจากไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง</p>
<p>การตรวจสอบโดย AFP Factcheck ที่หยิบเอาข่าวลือที่แพร่สะบัดในโซเชียลมีเดียมาตรวจสอบ เช่น กรณีพิธาไม่ได้จบจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด กรณีว่าที่ สส.ก้าวไกลนั่งฉี่ริมถนน กรณีมีคำกล่าวอ้างว่า สะพานที่ยาวที่สุดในประเทศไทยถูกสร้างในสมัยรัฐบาลของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา และ กรณีที่มีการระบุว่า พล.อ.ประยุทธ์ เป็นประธานยุทธศาสตร์ชาติ ในปี 2566 -2570 แปลว่ายังมีอำนาจเต็มเหนือรัฐบาล </p>
<p>ขณะที่ Cofact Thailand องค์กรภาคประชาสังคมที่เปิดแพลตฟอร์มให้ประชาชนร่วมตรวจสอบข่าวปลอมก็มีการตรวจสอบข่าวในช่วงนี้ด้วยเช่นกัน เช่น มีกรณีคลิปเสียงคล้ายจาตุรนต์วิจารณ์พรรคเพื่อไทย หรือกรณีปดิพัทธ์ซึ่งถูกขุดกิจกรรมทางการเมืองในอดีตมาพูดถึงหลังจากถูกเสนอชื่อเขาเป็นประธานสภาผู้แทนราษฎรถึง 4 ประเด็นโดย Cofact ได้รวบรวมไว้เป็นกรณีเดียว</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">ข่าวลือข่าวลวงในสายตาสื่อสารมวลชนและนักวิชาการ </span></h2>
<p><strong>ทุกข่าวที่ได้มาเป็นข่าวลือ จนกว่าจะตรวจสอบ</strong></p>
<p>จากการสัมภาษณ์ ดวงฤทัย ผ่องใส หัวหน้าข่าวการเมือง หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ถึงประสบการณ์การทำข่าวโดยเฉพาะช่วงหลังเลือกตั้งที่ผ่านมาว่า ระหว่างข่าวลือกับข่าวจริง อะไรมีมากกว่ากัน ดวงฤทัยมองว่า ข่าวที่ได้มาทั้งหมดเป็นข่าวลือ จนกว่าจะมีการตรวจสอบ </p>
<p>“เวลาเขาส่งอะไรมา มันลือทั้งหมด แล้วก็เราต้องรีเช็คทั้งหมด  ข่าวลือที่ส่งมาวันนี้เราอาจจะยังไม่เล่น เพราะเราไม่รู้ว่ามันจริงหรือไม่จริง แล้วถ้าเกิดว่าอีกสองวันมันไม่เป็นไปตามข่าวลือ เราก็จะมองแล้วว่า คนที่ปล่อยต้องการอะไร ทุกอย่างมันมีเรื่องราว มันเป็นไปตามการต่อรอง ธรรมชาติ แล้วก็ผลประโยชน์” </p>
<p>หัวหน้าข่าวการเมือง หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ เล่าว่า ขั้นตอนการทำงานคือ หนึ่ง ประเมินได้เลยว่าไม่เอาข่าวนี้ สอง สนใจแต่รีเช็ค อาจไม่จำเป็นต้องนำเสนอข่าววันนี้ สาม มันน่าจะเป็นไปได้ แต่ไม่แน่ใจว่าเป็นความจริง 100% หรือเปล่า อันนี้ประเมินด้วยประสบการณ์ว่า ต้องนำเสนอข่าวไหม</p>
<p>“เวลาได้ข่าวมา ก็จะใช้วิธีให้นักข่าวแต่ละคนโทรหาแกนนำเลย แล้วมาประเมินกันว่าใช่หรือไม่ใช่ บางครั้งในที่สุด ข่าวที่ได้มามันไม่ใช่ มันอาจจะเป็นการมโนของอีกฝั่งหนึ่งที่คิดว่าตัวเองจะไปได้ในเวย์นี้ จึงปล่อยข่าวออกมาแบบนี้ แต่พอไปถามคนที่เกี่ยวข้องว่าเป็นไปได้เหรอ เขาก็ปฏิเสธ มันมีการหลอกกันไปมาเยอะมาก มันต้องทันเกมมาก  เราเองก็ต้องระวัง เพราะเราอยากจะนำเสนอในสิ่งที่คนอ่านไม่ไขว้เขว จะเห็นว่าในการจัดตั้งรัฐบาลครั้งนี้ ใครเปิดก่อนคนนั้นพลาดก่อน”</p>
<p>นอกจากนี้ดวงฤทัยยังอธิบายว่า ถ้าเป็นประเด็นใหญ่ๆ ก็จะตรวจสอบอีกครั้ง เช่น ตำแหน่งรัฐมนตรี หรือประธานสภาฯ แต่ในขณะเดียวกันการทำงานข่าวออนไลน์ก็ต้องมีความรวดเร็วด้วย ดังเช่นข่าวลือที่ว่าเพื่อไทยจะยกประธานสภาฯ ให้ก้าวไกล ที่จากการเก็บข้อมูลพบว่าเดลินิวส์เป็นสื่อมวลชนแรกๆ ที่นำเสนอข่าวนี้ในคืนวันที่ 29 มิถุนายน ก่อนที่มาต่อมาในช่วงเช้าวันที่ 30 มิถุนายน ชลน่านจะออกมาปฏิเสธข่าวว่าไม่เป็นความจริง </p>
<p>“ในหนังสือพิมพ์รอได้ บางเรื่องที่เราเห็นว่ายังไม่ได้ข้อสรุปหรือยังหมิ่นเหม่ เรารอ แต่ว่าบางเรื่องที่มันพอจะเห็นว่ามันเป็นไปได้ เราก็ปล่อย ปล่อยแล้วเราไม่ทิ้ง เราก็กลับมารีเช็คต่อ หากได้ข้อเท็จจริงมาเพิ่มเติมเราก็อัปเดตข่าว เราต้องเข้าใจว่าการแข่งขันมันสูง มีอะไรที่พอจะโยนได้ที่ไม่ได้กระทบต่อสังคม อย่างเช่นข่าวเพื่อไทยจะยกประธานสภาฯ ให้ก้าวไกล เนื่องจากเวลานั้นดึกแล้ว เราจึงตัดสินใจนำเสนอข่าวไป เพราะเป็นออนไลน์ แต่เราก็ตามต่อ เช้าวันต่อมาเมื่อคุณหมอชลน่านปฏิเสธ เราก็รายงานข่าวใหม่” </p>
<p>ส่วนเรื่องการเลือกนำเสนอกระแสข่าวจากโลกโซเชียล ดวงฤทัยเล่าวิธีการทำงานว่า “ในออนไลน์ ช่วงนั้นมันจะมีเรื่องของโซเชียลฟุ้งๆ ใช่ไหม เราก็เขียนให้ชาวบ้านรับรู้เท่านั้นเอง ว่าโซเชียลว่าอย่างนี้ๆ ในประเด็นที่น่าสนใจ ก็มาสรุปให้รู้ว่าเขามองอย่างนี้ๆ แต่เราไม่ได้บอกว่าแหล่งข่าวว่ามาอย่างนี้นะ จากนั้นเราก็ค่อยมาบอกว่ามันจริงมันเท็จอย่างไร ถ้าเราตามการเมืองในโลกออนไลน์ เราก็ต้องตามด้วยสติ”</p>
<p>นอกจากนี้ ดวงฤทัยชี้ถึงธรรมชาติการนำเสนอข่าวในหนังสือพิมพ์กับออนไลน์ว่า "มันมีธรรมชาติของการนำเสนอต่างกันอยู่แล้ว หนังสือพิมพ์เราเดินตามกรอบ ออนไลน์เราก็จะเดินตามเวลา และมีการตรวจสอบให้ตามเวลา แล้วเราก็จะมีบทวิเคราะห์ให้ทุกวัน”</p>
<p>ในข่าวลือข่าวลวงในช่วงการจัดตั้งรัฐบาลที่ผ่านมา จะเห็นได้ว่าหลายข่าวเกิดขึ้นโดยใช้คำว่า สื่ออ้างรายงานข่าว/กระแสข่าว/แหล่งข่าวพรรค โดยไม่มีการอ้างอิงชื่อแหล่งข่าวหรือตัวบุคคลผู้ให้ข่าวระบุชัดเจน หัวหน้าข่าวการเมือง หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ อธิบายส่วนนี้ว่า </p>
<p>“เวลาเราคุยกับแหล่งข่าว เราจะต้องถามว่าอันนี้ขอโคว้ทได้ไหม หรือไม่ได้ แล้วแต่การตกลงในการคุยกัน แต่เราจะไม่ตีหัวแหล่งข่าว ที่เราไม่มีชื่อใครมาโคว้ทเลย เพราะถ้าโคว้ทไปปุ๊บ ไอ้นี่ก็ตายไง โดนผู้ใหญ่กาหัว ขนาดไม่โคว้ท เขาก็ยังหาอยู่เลยว่าใครให้ข่าว ทุกอย่างมันเป็นความลับ จนบัดนี้บางเรื่องก็เป็นความลับ แม้เราจะได้ชื่อรัฐมนตรีมาแล้ว เราก็พูดไม่ได้ว่าชื่อนี้เป็นมาอย่างไร เขาดูแลกันมาตั้งแต่ไหน มันพูดไม่ได้ </p>
<p>“การที่เราจะเอาแหล่งข่าวมา เราจะไม่บอกว่าน้อ
บันทึกการเข้า

นักข่าวหัวเห็ด แห่งเวบสุขใจ
อัพเดตข่าวทันใจ ตลอด 24 ชั่วโมง

>> http://www.SookJai.com <<
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
[ข่าวมาแรง] - ศาลอนุมัติหมายจับเจ้าของโกดังเก็บดอกไม้เพลิงมูโนะ
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 492 กระทู้ล่าสุด 02 สิงหาคม 2566 14:49:17
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - องค์กรพิทักษ์สัตว์เรียกร้องให้เพิ่มเรื่องสวัสดิภาพสัตว์และห้ามใช้ยาปฏิชีวน
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 520 กระทู้ล่าสุด 05 สิงหาคม 2566 15:31:10
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - คาดแบงก์พาณิชย์ไทยปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยตามอัตราดอกเบี้ยนโยบาย กนง.
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 403 กระทู้ล่าสุด 06 สิงหาคม 2566 18:04:42
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - ประเทศไทยกำลังเดินถอยหลังเรื่องความคุ้มครองความยากจนผู้สูงอายุ
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 415 กระทู้ล่าสุด 17 สิงหาคม 2566 17:55:22
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - เผยนักกิจกรรมชายแดนใต้ถูกคุกคามหลังไลฟ์สดการปิดล้อม
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 308 กระทู้ล่าสุด 20 สิงหาคม 2566 15:35:02
โดย สุขใจ ข่าวสด
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.425 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 27 พฤษภาคม 2567 11:50:38