[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
27 เมษายน 2567 21:49:23 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - 5 เรื่องน่ารู้ คดีอนุสาวรีย์ปราบกบฏหาย  (อ่าน 69 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
สุขใจ ข่าวสด
I'm Robot
สุขใจ บอทนักข่าว
นักโพสท์ระดับ 15
****

คะแนนความดี: +101/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Italy Italy

กระทู้: มากเกินบรรยาย


บอท @ สุขใจ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 28 ธันวาคม 2566 20:06:59 »

5 เรื่องน่ารู้ คดีอนุสาวรีย์ปราบกบฏหาย
 


<span class="submitted-by">Submitted on Thu, 2023-12-28 18:26</span><div class="field field-name-field-byline field-type-text-long field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><p>ภาพปก: กลุ่มคนเสื้อแดงจัดงานรำลึก 78 ปี อนุสาวรีย์ปราบกบฏ</p>
<p>รายงาน: จุฑารัตน์ กุลตัณกิจจา</p>
</div></div></div><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>'อนุสาวรีย์ปราบกบฏ' หรือชื่อทางการคือ 'อนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ' และยังเป็นที่รู้จักในชื่ออื่นอีก เช่น อนุสาวรีย์หลักสี่ อนุสาวรีย์ 17 ทหารและตำรวจ เป็นต้น สร้างขึ้นในสมัยรัฐบาลพระยาพหลฯ เมื่อปี 2479 โดยบรรจุอัฐิทหารและตำรวจ 17 นายที่เสียชีวิตจากการปราบปรามกลุ่มคณะกู้บ้านเมือง นำโดยพระองค์เจ้าบวรเดช ผู้ก่อกบฏต่อรัฐบาลคณะราษฎรในช่วงกลางเดือน ต.ค. 2476</p>
<p>เมื่อ 28 ธ.ค. 2561 อนุสาวรีย์คอนกรีต สูงประมาณ 4 เมตร ตั้งอยู่บริเวณวงเวียนหลักสี่ หน้า สน.บางเขน อดีตแลนด์มาร์กสำคัญของย่านนี้หายไปอย่างไร้ร่องรอยระหว่างก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต และรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี ของ รฟม. แม้ตัวอนุสาวรีย์จะได้รับการประกาศให้เป็นโบราณสถานตามกฎหมายแล้วก็ตาม</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53425108757_594ff1bf0f_b.jpg" /></p>
<div class="more-story">
<p>ข่าวที่เกี่ยวข้อง</p>
<ul>
<li>อนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ โบราณสถานที่สูญหาย</li>
</ul>
</div>
<p>การที่โบราณสถานสูญหายนับว่าแปลกแล้ว แต่คดีนี้ยังมีรายละเอียดน่ารู้แปลกๆ อย่างอื่นที่เราอยากบอก ดังนี้</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">1. กรมศิลปากรแจ้งความโบราณสถานสูญหาย แต่ตำรวจงดการสอบสวนแล้ว</span></h2>
<p>เมื่อ 2 ธ.ค. 2563 อธิบดีกรมศิลปากรมอบอำนาจให้ สถาพร เที่ยงธรรม ผู้อำนวยการกองโบราณคดีขณะนั้น มาร้องทุกข์กล่าวโทษ เพื่อดำเนินคดีกับผู้ที่รื้อถอน เคลื่อนย้าย หรือทำลายอนุสาวรีย์ เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.โบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ </p>
<p>ต่อมา 17 ม.ค. 2565 อธิบดีกรมศิลปากรแจ้งข้อมูลต่อประชาไทว่า "กรมศิลปากรได้รับแจ้งผลการสอบสวนจากสถานีตำรวจนครบาลบางเขน ซึ่งคดีดังกล่าวพนักงานสอบสวนได้ทำการสอบสวนมาตลอด แต่ยังไม่ปรากฏว่าผู้ต้องหาในคดีนี้เป็นผู้ใด และกระทำความผิดเมื่อใด อย่างไร จึงมีความเห็นควรให้งดการสอบสวนในคดีนี้ไว้ก่อน จนกว่าจะมีพยานหลักฐานใหม่เพิ่มเติม ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 140"</p>
<div style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/51277142008_c7faa7020f_b.jpg" /></div>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#d35400;">สถาพร เที่ยงธรรม อดีตผู้อำนวยการกองโบราณคดี กรมศิลปากร</span></p>
<h2><span style="color:#2980b9;">2. ประจักษ์พยานถูกจับ เพราะไปดูการย้ายอนุสาวรีย์</span></h2>
<p>แม้ตำรวจ สน.บางเขน จะแจ้งต่อกรมศิลปากรว่า ไม่ทราบตัวผู้ต้องหา ไม่ทราบวันเวลาการกระทำผิด แต่มีคน 2 กลุ่ม ที่ไปสังเกตการณ์และถูกจับในคืนที่มีการย้ายอนุสาวรีย์ปราบกบฏ ซึ่งกรมศิลปากร ระบุว่า การเคลื่อนย้ายครั้งนั้นเป็นการเคลื่อนย้ายโดยไม่ขออนุญาต และเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.โบราณสถานฯ</p>
<p>ศรัญญู เทพสงเคราะห์ อาจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พร้อมประชาชน และผู้สื่อข่าว รวมประมาณ 8 คน เป็นกลุ่มแรกที่ไปสังเกตการณ์การเคลื่อนย้ายอนุสาวรีย์ปราบกบฏ ในคืนวันที่ 27 ต่อเนื่องถึงวันที่ 28 ธ.ค. 2561</p>
<p>ศรัญญู เคยให้สัมภาษณ์แก่ประชาไทว่า วันเกิดเหตุเขาไปติดตามดูการเคลื่อนย้าย ประมาณ 22.00 น. มีเจ้าหน้าที่ทหาร และตำรวจ มาสั่งห้ามบันทึกภาพ ศรัญญูได้พูดคุยกับทหารนอกเครื่องแบบ ซึ่งอ้างว่ามาจาก กอ.รมน. ต่อมา เริ่มมีนักข่าวและประชาชนเข้ามาในพื้นที่ เจ้าหน้าที่พยายามห้ามถ่ายรูป บันทึกภาพทุกรูปแบบ และเชิญศรัญญู ไปที่ป้อมตำรวจ ขอให้เปิดมือถือดูเพื่อจะลบรูป</p>
<p>อาจารย์ผู้สนใจประวัติศาสตร์คณะราษฎร เล่าอีกว่า หลังถูกตรวจสอบโทรศัพท์มือถือ เขาและกลุ่มคนประมาณ 8 คน ถูกคุมตัวไปที่ป้อมตำรวจ บริเวณวงเวียนหลักสี่ จึงไม่ได้เห็นการเคลื่อนย้ายทั้งหมด แต่เห็นช่วงท้ายๆ ผ่านกล้องวงจรปิดของป้อมตำรวจ มีการแยกส่วนพานรัฐธรรมนูญด้านบนใส่รถกระบะ ส่วนตัวอนุสาวรีย์วางนอนใส่รถเครน โดยมีตำรวจและทหารตามไปกับรถด้วย 
กาณฑ์ พงษ์ประภาพันธ์ นักกิจกรรมประชาธิปไตย และเพื่อน เป็นอีกกลุ่มที่ไปติดตามการเคลื่อนย้ายอนุสาวรีย์ เขาเล่าว่า เขานั่งแท็กซี่ไปที่บางเขนพร้อมกับเพื่อนอีกคน พอไปถึงเห็นว่าไซต์ก่อสร้างกำลังดำเนินงาน มีตาข่ายสีเขียวและแผ่นคล้ายสังกะสีล้อมรอบ จึงเริ่มถ่ายทอดสดผ่านเฟซบุ๊กตั้งแต่ตรงนั้น แต่ไลฟ์ไปได้ไม่ถึง 5 นาที มีกลุ่มคนราว 10 คน เข้ามารุม ถามว่าไลฟ์อะไร เมื่อตอบว่าไลฟ์อนุสาวรีย์ปราบกบฏ ก็มีคนคว้ามือถือของกาณฑ์ ไปทันที พร้อมเรียกตำรวจอีกกลุ่มหนึ่งมาจับกุม และขอให้พวกเขาหยุดติดตามเรื่องนี้</p>
<p>กาณฑ์ กล่าวว่า พวกเขาถูกพาขึ้นรถไปที่ สน.บางเขน และให้นั่งรอที่ สน. หลายชั่วโมง ส่วนโทรศัพท์มือถือถูกยึดไป มีคนอ้างว่าเป็นทหารสั่งให้เขาลบไลฟ์ กลุ่มของกาณฑ์ ถูกควบคุมตัวตั้งแต่ประมาณเที่ยงคืนของวันที่ 28 ธ.ค. 2561 ก่อนถูกปล่อยตัวราว 03.00 น. ตำรวจลงบันทึกประจำวันว่า เขามาถ่ายทอดสดที่อนุสาวรีย์ปราบกบฏ และถูกเจ้าหน้าที่จับกุม กาณฑ์ ยืนยันว่า ตำรวจนำเอกสารดังกล่าวมาให้เซ็น เพื่อยึดโทรศัพท์มือถือของเขาไว้ ก่อนจะปล่อยตัวไปโดยไม่คืนโทรศัพท์ อ้างว่าจะนำไปตรวจสอบ และนัดหมายให้กาณฑ์ มารับคืนในช่วงเย็น โดยห้ามทนายความเข้าร่วมกระบวนการ</p>
<p>กลุ่มของศรัญญู และกาณฑ์ ไม่ได้พบกันในวันนั้น กาณฑ์ ไม่ทราบว่ามีกลุ่มของศรัญญู ถูกควบคุมตัวอยู่ที่ป้อมตำรวจด้วย</p>
<div style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/51276281447_8166f836ec_b.jpg" /></div>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#d35400;">กาณฑ์หลังได้โทรศัพท์ที่ถูกยึดคืนจาก สน.บางเขน (ภาพโดยศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน)</span></p>
<div class="more-story">
<ul>
<li>พบอนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญหายไปจากวงเวียนหลักสี่ ไม่ทราบอยู่ไหน</li>
</ul>
</div>
<p>อย่างไรก็ตาม ตามที่ศรัญญู และกาณฑ์ ให้ข้อมูล ประจักษ์พยานผู้เห็นเหตุการณ์ประมาณ 10 คน และภาพวงจรปิดการเคลื่อนย้ายอนุสาวรีย์ปราบกบฏที่ศรัญญู เห็นในป้อมตำรวจ ล้วนอยู่ในความควบคุมและครอบครองของ สน.บางเขน ในคืนวันเกิดเหตุ แต่ สน.บางเขน ยังคงยืนยันว่าไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับคดีนี้</p>
<p>"สน.บางเขน ยืนยันว่า ไม่มีหน่วยงานของรัฐหรือเอกชนแจ้งให้ สน.บางเขน ทราบเกี่ยวกับการเคลื่อนย้ายอนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ ไม่ได้มอบหมายเจ้าหน้าที่ตำรวจไปควบคุม หรืออำนวยความสะดวกในการเคลื่อนย้ายอนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ และไม่มีการควบคุมตัวนายศรัญญู เทพสงเคราะห์ และนายกาณฑ์ พงษ์ประภาพันธ์ แต่อย่างใด กรณีน่าเชื่อว่า สน.บางเขน ไม่มีข้อมูลข่าวสารตามที่ร้องเรียนอยู่ในความครอบครอง" ข้อสรุปจากคณะอนุกรรมการตรวจสอบข้อมูลข่าวสารของราชการเมื่อ 5 เม.ย. 2564</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">3. กรมศิลปากรตรวจโบราณสถานเป็นประจำ แต่เกือบ 2 ปี ไม่รู้ว่าอนุสาวรีย์หาย</span></h2>
<p>ชินณวุฒิ วิลยาลัย ให้สัมภาษณ์ประชาไท ขณะดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการกองโบราณคดี กรมศิลปากร เมื่อ 16 ส.ค. 2565 ว่า กองโบราณคดีมีเจ้าหน้าที่แวะเวียนไปดูโบราณสถาน ตรวจสภาพทั่วไปว่ายังคงอยู่ไหม มีส่วนไหนชำรุดทรุดโทรม ควรจะต้องปรับปรุงแก้ไขทำการอนุรักษ์หรือไม่ จะมีเจ้าหน้าที่เวียนดูเป็นล็อก โดยเฉพาะในกรุงเทพมหานครที่มีโบราณสถานจำนวนมาก แต่เจ้าหน้าที่ที่เวียนไปดูมีเพียง 1-2 คนเท่านั้น</p>
<p>ผู้อำนวยการกองโบราณคดีให้ข้อมูลว่า การตรวจตรานี้ทำมาตลอดทุกปี แต่กรณีอนุสาวรีย์ปราบกบฏต้องตรวจสอบข้อมูลเพิ่มเติม โดยไม่แน่ใจว่าพอเป็นช่วงชุลมุน อาจจะเป็นผลจากการก่อสร้างรถไฟฟ้าหรือไม่</p>
<p>ทั้งนี้ กรมศิลปากรใช้เวลาเกือบ 2 ปี จึงลงพื้นที่ และทราบว่าอนุสาวรีย์ปราบกบฏหายไป ก่อนเข้าแจ้งความที่ สน.บางเขน เมื่อ 2 ธ.ค. 2563 ซึ่งเป็นช่วงก่อนที่ชินณวุฒิ จะเข้ารับตำแหน่ง</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">4. รฟม. บอกย้ายอนุสาวรีย์เข้าที่แล้วตามที่ขออนุญาตแล้ว นอกจากนี้ไม่รู้ๆ</span></h2>
<p>การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ผู้รับผิดชอบโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต และรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี ให้ข้อมูลเมื่อ 30 ธ.ค. 2564 ว่า กรมศิลปากรพิจารณาเห็นชอบตำแหน่งและรูปแบบการก่อสร้างอนุสาวรีย์ปราบกบฏ หรืออนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ 28 ธ.ค. 2558 และ 19 พ.ค. 2559</p>
<p>ต่อมา โครงการดำเนินการรื้อย้ายอนุสาวรีย์จากตำแหน่งเดิม เพื่อเตรียมการก่อสร้างโครงการ และดำเนินการก่อสร้างฐานที่ตั้งอนุสาวรีย์แห่งใหม่ โดยมีการทำพิธีร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในวันที่ 3 พ.ย. 2559</p>
<p>เอกสารของ รฟม. ระบุอีกว่า โครงการฯ ดำเนินการก่อสร้างฐานที่ตั้งอนุสาวรีย์แห่งใหม่แล้วเสร็จ และได้เคลื่อนย้ายอนุสาวรีย์จากตำแหน่งชั่วคราวไปไว้บนฐานที่ตั้งอนุสาวรีย์แห่งใหม่เรียบร้อยแล้ว ต่อมา พบว่ามีการดำเนินการล้อมรั้วสูง 6 เมตร ซึ่งการล้อมรั้วดังกล่าวไม่ใช่การดำเนินการของโครงการฯ และไม่ทราบว่าเป็นการดำเนินการของหน่วยงานใด</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53426229453_dfccf02518_b.jpg" /></p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53426188738_2795cc0ecd_b.jpg" /></p>
<div style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53426188703_199e05c47b_b.jpg" /></div>
<div style="text-align: center;"> </div>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#d35400;">ภาพบางส่วนจากเอกสารตอบกลับจาก รฟม. ถึงผู้สื่อข่าวประชาไท ต่อกรณีอนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญหายไปจากบริเวณสถานีรถไฟฟ้าวัดพระศรี</span></p>
<div class="more-story">
<ul>
<li>ฐานอนุสาวรีย์ปราบกบฏบวรเดช ถูกทุบแล้ว หลังตัวอนุสาวรีย์หายไปปีกว่า  </li>
</ul>
</div>
<h2><span style="color:#2980b9;">5.ไม่ได้มีแค่อนุสาวรีย์ปราบกบฏที่หายไป</span></h2>
<p>อนุสาวรีย์ปราบกบฏเป็นเพียงหนึ่งในหลักฐานทางประวัติศาสตร์การเปลี่ยนแปลงการปกครองที่สูญหายไปอย่างเป็นปริศนา ตามหลังหมุดคณะราษฎรที่หายไจากลานพระบรมรูปทรงม้าเมื่อเดือน เม.ย. 2560 และถูกแทนที่ด้วยหมุดใหม่ ตามมาด้วยอนุสาวรีย์จอมพล ป. พิบูลสงคราม ที่สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ และอนุสาวรีย์พระยาพหลพลพยุหเสนา ที่ศูนย์การทหารปืนใหญ่ จ.ลพบุรี หรือค่ายพหลโยธิน ต่างก็หายไปช่วงเวลาใกล้เคียงกันในเดือน ม.ค. 2563</p>
<div class="more-story">
<ul>
<li>[สาระ+ภาพ] รวมลิสต์มรดกคณะราษฏรที่หายไป</li>
</ul>
</div>
<p>เพียงแต่อนุสาวรีย์ปราบกบฏมีสถานะโบราณสถานตามกฎหมายคุ้มครอง ทำให้มีช่องทางในการสอบถามข้อมูลและติดตามความรับผิดชอบจากหน่วยงานรัฐ ต่างจากมรดกคณะราษฎรชิ้นอื่นที่การทวงถามก็อาจทำให้ถูกจับกุมได้แล้ว</p>
<div class="more-story">
<ul>
<li>1 ปี 'หมุดคณะราษฎร' หาย : ย้อนดูชะตากรรมคนตามหาความจริงในรัฐที่ขยันเป็นเรื่องๆ </li>
</ul>
</div>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A9" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">รายงานพ
บันทึกการเข้า

นักข่าวหัวเห็ด แห่งเวบสุขใจ
อัพเดตข่าวทันใจ ตลอด 24 ชั่วโมง

>> http://www.SookJai.com <<
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.457 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 29 มีนาคม 2567 08:37:43