[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
29 เมษายน 2567 20:05:40 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: เหวินเฉิง ราชินีธิเบต (文成公主 The Queen of Tibet )  (อ่าน 84 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
มดเอ๊ก
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +8/-1
ออนไลน์ ออนไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5075


ระบบปฏิบัติการ:
Linux Linux
เวบเบราเซอร์:
Chrome 104.0.0.0 Chrome 104.0.0.0


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 05 มกราคม 2567 19:17:07 »



ปี 1986 เคยเอามาทำเป็นหนังจีน เรื่อง เหวินเฉิง ราชินีธิเบต (文成公主 The Queen of Tibet )

Legend of A Princess to The West Regions in The Tang Dynast











<a href="https://www.youtube.com/v//fIhf9lsbbQU" target="_blank">https://www.youtube.com/v//fIhf9lsbbQU</a> 

https://youtu.be/fIhf9lsbbQU?si=tU0mtkEAuI5RPFEr





องค์หญิงเหวินเฉิง สายสัมพันธ์สองแผ่นดิน

           องค์หญิงเหวินเฉิง (文成公主) ทรงเป็นพระราชนัดดาในองค์พระจักรพรรดิ์ถังไท่จง พระจักรพรรดิองค์ที่สองแห่งราชวงศ์ถัง ผู้ซึ่งเสกสมรสกับกษัตริย์ทิเบตพระนาม พระเจ้าซรอนซันกัมโป ซึ่งเป็นการอภิเษกสมรสเพื่อสร้างสัมพันธไมตรีที่ดีระหว่างจีนกับทิเบต พระนางมีพระสมัญญานามอันเป็นที่รู้จักในหมู่ชาวทิเบตว่า "กยาซา" แปลว่า "พระภรรยาชาวจีน"

กล่าวกันว่าองค์หญิงเหวินเฉิงนั้น ทรงเป็นหนึ่งในกุลสตรีซึ่งงดงามแห่งยุคผู้หนึ่ง ทรงรอบรู้ในเหล่าสรรพวิชาการต่างๆ รวมทั้งในเชิงวิชาสรรพวุธด้วย เนื่องจากในต้นราชวงศ์ ผู้หญิงก็จำเป็นต้องฝึกยุทธ เพื่อจะได้ทำให้ร่างกายแข็งแรงและเป็นวิชาป้องกันตัว



ในการเริ่มต้นแผ่นดินราชวงศ์ถังนั้น พระเจ้าถังเกาจู่ (หลี่หยวน) ได้ทำการรวบรวมแผ่นดินและสถาปนาราชวงศ์ถังขึ้น แต่ผู้ที่ทำให้แผ่นดินนั้นมีความเป็นปึกแผ่น คือ พระเจ้าถังไท่จง (หลี่ซื่อหมิ่น) ผู้เป็นพระโอรส โดยในช่วงที่พระองค์ครองราชย์ พระองค์ได้ทรงทำการปราบเหล่ากบฎ ซึ่งมีอยู่มากมายหลายก๊ก และเหล่าชนเผ่าแห่งแดนเถื่อน (เหล่าผู้คนที่ตั้งถิ่นฐานอยู่นอกอาณาเขตกำแพงเมืองจีน) จนได้กลายเป็นแผ่นดินที่กว้างใหญ่ไพศาล จนคนในยุคนั้นได้ถือว่า เมืองฉางอัน ซึ่งเป็นเมืองหลวงของราชวงศ์ถังในสมัยนั้น ได้กลายเป็นศูนย์กลางแห่งโลกตะวันออกเลยทีเดียว

ในช่วงต้นนั้น ชนเผ่าและอาณาจักรน้อยใหญ่ ต่างก็ตั้งตัวเป็นศัตรูแห่งราชวงศ์ถัง เช่นในคาบสมุทรเกาหลี ราชสกุลโกแห่งอาณาจักรโกคูรยอ และ ราชสกุลพูยอแห่งอาณาจักรแพ็กเจ ก็มีท่าทีเป็นศัตรู แต่ยังพอมีผู้ที่มีท่าทีเป็นมิตรกับทางราชวงศ์ถังอยู่บ้าง เช่น ราชสกุลคิมแห่งอาณาจักรชิลลา รวมไปถึง พระเจ้าซรอนซันกัมโป แห่งทิเบตด้วย



          พระเจ้าซรอนซันกัมโปพระองค์นี้ เป็นกษัตริย์ทิเบตระหว่าง ค.ศ. 620 - 650 เป็นกษัตริย์พระองค์แรกของทิเบตที่มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ชัดเจน ทรงครองราชย์ในสมัยที่ทิเบตเรืองอำนาจทางทหาร ทรงสร้างสัมพันธไมตรีกับกษัตริย์แห่งจีนและเนปาล โดยอภิเษกกับเจ้าหญิงภริคุติ ราชธิดาของพระเจ้าอังศุวรมันแห่งเนปาล ทั้งยังชื่นชอบวัฒนธรรมของราชวงศ์ถังเป็นอย่างมาก และหวังจะได้รับการสนับสนุนจากราชวงศ์ถังที่เจริญรุ่งเรือง พระเจ้าถังไท่จึงยกองค์หญิงเหวินเฉิงให้อภิเษกด้วย โดยตามบันทึกของจีน ในปี ค.ศ. 634 ได้กล่าวถึงราชทูตของพระเจ้าซรอนซันกัมโปว่า "ทรงทูลขอพระราชทาน (ในประวัติศาสตร์ทิเบตว่า ทรงเรียกร้อง) ที่จะสมรสกับเจ้าหญิงของถัง แต่กลับถูกปฏิเสธ" ต่อมาในช่วงปี ค.ศ. 635-636 กองทัพของพระเจ้าซรอนซันกัมโปก็ทรงได้ไปบุกเข้าโจมตีชนเผ่าอาซา ที่ได้ตั้งถิ่นฐานบริเวณทะเลสาบโกโกนูร์ (ปัจจุบันคือ ทะเลสาบชิงไห่) ซึ่งบริเวณดังกล่าวเป็นเส้นทางการค้าที่สำคัญของจีนในอดีต ในปีเดียวกันนั้นได้มีเหตุการณ์วุ่นวายเกิดขึ้น เพื่อสัมพันธภาพทางการทูต พระจักรพรรดิถังไท่จงจึงโปรดให้มีการอภิเษกสมรส ระหว่างองค์หญิงเหวินเฉิงกับกษัตริย์ทิเบตในปี ค.ศ. 640 และได้กลายเป็นสัมพันธภาพที่ดีระหว่างทิเบตกับจีนตลอดรัชสมัยของพระเจ้าซรอนซันกัมโป



           ปี ค.ศ. 641 องคค์หญิงเหวินเฉิงเดนทางไปทิเบต โดยมีข้าราชการเดินทางไปด้วย พระราชพิธีอภิเษกสมรสจัดขึ้นอย่างยิ่งใหญ่ ภายใต้การต้อนรับอย่างดีมากของชาวทิเบต ชาวบ้านต่างร้องรำทำเพลงกันอย่างสนุกสนาน แต่เดิมชาวทิเบตอาศัยอยู่ในเต้นท์พัก แต่ว่ากันว่า เพื่อต้อนรับองค์หญิง จึงทำการก่อสร้างพระราชวังอย่างหรูหราขึ้นเป็นพิเศษ ซึ่งก็คือ พระราชวังโปตาลาในปัจจุบันนั้นเอง



          ครั้นองค์หญิงผู้รักการอ่านหนังสือ และทรงพระปรีชาหลายด้าน ได้เข้ามาอาศัยยังทิเบต ก็ได้ทรงนำเอายารักษาโรค หนังสือ เมล็ดพันธ์พืช และงานหัตถกรรมของราชวงศ์ถังไปด้วย นอกจากนี้ยังมีช่างฝีมือในการเลี้ยงหม่อนไหม ช่างหมักเหล้า ช่างผลิตกระดาษ และช่างทอผ้าร่วมเดินทางไปด้วย องค์หญิงทรงนับถือศาสนาพุทธว่ากันว่าองค์หญิงเป็นผู้เลือกสถานที่สร้างวัดต้าเจา (วัดโจคัง) เพื่อเผยแพร่วัฒนธรรมของชนชาติฮั่นสู่ชาวตูโป ทำให้วัฒนธรรมและการผลิตของตูโปพัฒนาขึ้นมากกว่าเดิม




         องค์หญิงเหวินเฉิงมีชีวิตอยู่ในทิเบตเป็นระยะเวลากว่า 40 ปี พระองค์ได้เสียสละตนเพื่อสร้างมิตรภาพที่ดีระหว่างสองชนชาติ ชาวธิเบตต่างก็ได้เคารพรักและรำลึกถึงองค์หญิงเสมอมา จนถึงปัจจุบัน วัดต้าเจาและพระราชวังโปตาลาในเมืองลาซา ก็ยังคงมีรูปปั้นขององค์หญิงเหวินเฉิงประดิษฐานไว้ นอกจากนี้ในกลุ่มชนชาติธิเบตก็ยังมีเรื่องราวตำนานเกี่ยวกับองค์หญิงเหวินเฉิงมากมาย

จาก http://uppos.blogspot.com/2013/09/blog-post_663.html?m=1

จาก http://www.tairomdham.net/index.php/topic,16270.0.html

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
Sur Sudha & Nawang Khechog - Resham Firih (Tibet)
ธรรมะ มิวสิค (เพลงธรรมทั่วไป)
มดเอ๊ก 0 1436 กระทู้ล่าสุด 20 พฤศจิกายน 2554 09:41:39
โดย มดเอ๊ก
Sur Sudha & Nawang Khechog - Raja Mati (Tibet)
ธรรมะ มิวสิค (เพลงธรรมทั่วไป)
มดเอ๊ก 0 1418 กระทู้ล่าสุด 20 พฤศจิกายน 2554 09:52:55
โดย มดเอ๊ก
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.31 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 25 เมษายน 2567 15:36:33