[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
05 กรกฎาคม 2568 05:47:45 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - กัณวีร์-ทนายแจม นำ กมธ.ลงภูเก็ต หารือแก้ไขปัญหาการโยกย้ายถิ่นฐานแบบไม่ปกติในก  (อ่าน 235 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
สุขใจ ข่าวสด
I'm Robot
สุขใจ บอทนักข่าว
นักโพสท์ระดับ 15
****

คะแนนความดี: +101/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Italy Italy

กระทู้: มากเกินบรรยาย


บอท @ สุขใจ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 12 มกราคม 2567 02:40:03 »

กัณวีร์-ทนายแจม นำ กมธ.ลงภูเก็ต หารือแก้ไขปัญหาการโยกย้ายถิ่นฐานแบบไม่ปกติในกลุ่มแรงงานข้ามชาติ
 


<span class="submitted-by">Submitted on Thu, 2024-01-11 19:26</span><div class="field field-name-field-byline field-type-text-long field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><p>เรื่องและภาพ: ทีมสื่อมูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา (มสพ.)</p>
</div></div></div><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>สรุปเนื้อหาจากที่ กมธ. ลงพื้นที่ จ.ภูเก็ต เพื่อหารือแนวทางแก้ไขปัญหาการโยกย้ายถิ่นฐานแบบไม่ปกติในกลุ่มแรงงานข้ามชาติ</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53457508165_d580dcd341_b.jpg" /></p>
<p>11 ม.ค. 2567 ทีมสื่อมูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา (มสพ.) แจ้งต่อผู้สื่อข่าวประชาไทว่า เมื่อวันที่ 8-9 ม.ค. ที่ผ่านมา คณะกรรมาธิการการกฎหมาย การยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน สภาผู้แทนราษฎร ได้ลงพื้นที่หารือเรื่อง “แนวทางการแก้ไขปัญหาแบบยั่งยืนต่อการโยกย้ายถิ่นฐานแบบไม่ปกติในกลุ่มแรงงานข้ามชาติ” ณ จังหวัดภูเก็ต กับหน่วยงานภาครัฐ ภาคประชาสังคม และกลุ่มผู้โยกย้ายถิ่นฐานไม่ปกติ ซึ่งนำโดย กัณวีร์ สืบแสง รองประธานคณะกรรมาธิการ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร(สส.) แบบบัญชีรายชื่อ และเลขาธิการพรรคเป็นธรรม, ศศินันท์ ธรรมนิฐินันท์ รองประธานคณะกรรมาธิการ สส. จ.กรุงเทพมหานคร เขต 11 พรรคก้าวไกล , เกียรติคุณ ต้นยาง ที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการ สส. จ.นนทบุรี เขต 7 พรรคก้าวไกล, คุณากร มั่นนทีรัย กรรมาธิการ สส. จ.นนทบุรี เขต 6 พรรคก้าวไกล และวราวุธ รักเที่ยง กรรมาธิการ สส. จ.กรุงเทพมหานคร เขต 17 พรรคก้าวไกล โดยมีคณะอนุกรรมาธิการพิจารณาศึกษาหาแนวทางการแก้ไขปัญหาแบบยั่งยืนต่อการโยกย้ายถิ่นฐานแบบไม่ปกติ ที่ปรึกษาประจำคณะกรรมาธิการและเลขานุการประจำคณะกรรมาธิการ ที่ปรึกษาคณะอนุกรรมาธิการ คณะทำงานกลุ่มแรงงานข้ามชาติ คณะทำงานกลุ่มผู้ลี้ภัย และฝ่ายเลขานุการคณะกรรมาธิการ จำนวน 22 ท่าน ร่วมติดตามและแลกเปลี่ยนข้อมูล</p>
<ul>
<li>โดยวันที่ 8 ม.ค. ช่วงเช้า เวลา 10.30 – 13.00 น. เป็นการนำเสนอประเด็นปัญหาเกี่ยวกับแรงงานข้ามชาติ โดยภาคประชาสังคมในพื้นที่  ประกอบด้วย มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา (มสพ.) สมาคมมิตรภาพอันดามัน ศูนย์สังคมพัฒนามูลนิธิคาทอลิก สุราษฎร์ธานี จังหวัดภูเก็ต มูลนิธิบ้านศรีชุมพาบาล สาขาภูเก็ต มูลนิธิการศึกษาเพื่อการพัฒนา (FED) สมาคมไทยเนปาลี สาขาภูเก็ต และผู้แทนภาคประชาชนอื่นๆ</li>
<li>ส่วนช่วงบ่าย เวลา 13.00 – 17.00 น. เป็นการพาคณะกรรมาธิการลงพื้นที่ชุมชนแรงงานเพื่อสำรวจปัญหาของแรงงานข้ามชาติ ที่ ศูนย์ประสานงานแรงงานเพื่อนบ้านองค์การสะพานปลา และบริเวณโดยรอบชุมชนเพื่อพูดคุยและพบปะกับแรงงานในพื้นที่</li>
</ul>
<h2><span style="color:#2980b9;">ปัญหามีมานาน แต่ไม่มีแนวทางแก้ที่ยั่งยืน</span></h2>
<p>กัณวีร์ สืบแสง รองประธานคณะกรรมาธิการ กล่าวว่า ในฐานะอนุกรรมาธิการที่จัดตั้งภายใต้คณะกรรมาธิการการกฎหมาย การยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน จำเป็นจะต้องดำเนินการเรื่องสิทธิมนุษยชน เราเห็นมายาวนานว่าประเทศไทยเรามีปัญหาเรื่องผู้ลี้ภัย แรงงานข้ามชาติ บุคคลไร้รัฐ บุคคลไร้สัญชาติ  ซึ่งเป็นปัญหาที่เรายังเอาไปซุกอยู่ใต้พรม เราจำเป็นต้องนำเรื่องเหล่านี้ขึ้นมาบนพรมและมีการพูดคุยกันเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืนให้กลุ่มคนต่างๆ ซึ่งถูกละเลยในการเข้าถึงสวัสดิการและสิทธิขั้นพื้นฐานต่างๆในการเป็นมนุษย์ จึงมีการตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อศึกษาการโยกย้ายถิ่นฐานที่ไม่ปกติ</p>
<p><span style="color:#d35400;"><strong>การโยกย้ายถิ่นฐานไม่ปกติ คืออะไร? </strong></span></p>
<p>กัณวีร์อธิบายความหมายว่า ในทั่วไปเราพบเห็นคนเดินทางข้ามแดนไปประเทศต่างๆ มากมาย ซึ่งคนเหล่านี้จะต้องมีหนังสือเดินทาง มีการตรวจลงตราวีซ่า หรือ หลักฐานสำคัญในการขออนุญาตเพื่อเดินทางเข้าประเทศ นั่นคือการโยกย้ายถิ่นฐานปกติ แต่หลายๆ ครั้งยังคงมีผู้คนที่เดินทางข้ามแดนโดยไม่มีเอกสารรับรอง หรือแม้เข้ามามีหนังสือเอกสารรับรอง แต่พออยู่ไปแล้วเอกสารเหล่านี้หายไป หรือไม่ถูกต้องตามระเบียบของรัฐนั้นๆ คนที่อยู่โดยเอกสารไม่ถูกต้องในต่างประเทศเราเลยเรียกว่า กลุ่มคนผู้โยกย้ายถิ่นฐานไม่ปกติ</p>
<p>ในกรณีของประเทศไทย กัณวีร์ยกตัวอย่างดังนี้</p>
<ol>
<li>กลุ่มผู้ลี้ภัยบริเวณชายแดนไทย-เมียนมา มีจำนวนศูนย์พักพิงชั่วคราว 9 แห่ง มีประชากรจำนวนกว่า 99,000 คน ซึ่งกลุ่มคนเหล่านี้อาศัยอยู่ในศูนย์ฯ มาแล้วกว่า 40 ปี โดยประเทศไทยยังไม่รู้ว่าแนวทางแก้ไขปัญหาต้องทำอย่างไร</li>
<li>กลุ่มคนที่หนีภัยการสู้รบจากเมียนมาเข้ามายังประเทศไทย หลังเหตุการณ์รัฐประหารพม่าตั้งแต่ 1 ก.พ. 2564 ซึ่งไทยยังไม่มีแนวทางแก้ปัญหารองรับกลุ่มนี้ และยังคงใช้วิธี “ผลักดันกลับ” ซึ่งไม่ใช่หลักการสากล ที่ทั่วโลกยอมรับคือ “หลักการไม่ส่งกลับ”</li>
<li>ชาวอุยกูร์ที่ลี้ภัยจากเขตปกครองพิเศษซินเจียงทางตะวันตกเฉียงเหนือของจีน ที่เดินทางเข้ามาอยู่ในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2014 (พ.ศ.2557) หลังจากนั้นก็ถูกกักขังไว้ในห้องกักตัวคนต่างชาติของ ตม. ซึ่งยังไม่รู้ว่าจะแก้ปัญหาอย่างไร พวกเขาจะถูกขังลืมไปเรื่อยๆหรือไม่</li>
<li>ชาวโรฮิงญาที่ขังอยู่ในเรือนจำ/ทัณฑสถาน กรมราชทัณฑ์ ที่เราไม่รู้ว่าจะขังพวกเขาอีกนานเท่าไหร่?</li>
<li>กลุ่มแรงงานข้ามชาติ ซึ่งถือเป็นภารกิจหลักของการเดินทางมาเยือนจังหวัดภูเก็ตในครั้งนี้ การพบปะภาคประชาชน ภาคประชาสังคม หน่วยงานภาครัฐที่ทำงานในด้านนี้ เพื่อสอบถามข้อเท็จจริงรวมทั้งพูดคุยกับแรงงานข้ามชาติที่อยู่ในภูเก็ต รวมถึงโมเดลการแก้ปัญหาว่าจังหวัดภูเก็ตมีการจัดการอย่างไร อย่างที่ทางผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ตได้นำเสนอจำนวนแรงงานข้ามชาติที่เข้ามาทำงานในพื้นที่จำนวนมาก ส่วนใหญ่เป็นชาวเมียนมา ลาว และกัมพูชา จึงมองว่าการบริหารจัดการแรงงานข้ามชาติจึงเป็นเรื่องสำคัญเพราะการดำเนินการเรื่องแรงงานข้ามชาติอย่างเป็นระบบไม่ได้เกี่ยวข้องแค่มิติสิทธิมนุษยชน แต่ยังเกี่ยวข้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจของคนจังหวัดภูเก็ต ซึ่งเป็นพื้นที่เศรษฐกิจสำคัญของประเทศไทย</li>
</ol>
<p>กัณวีร์ กล่าวต่อว่า ปัจจุบันประเทศไทยเราพยายามผลักดันให้เข้าไปอยู่ในเวทีประชาคมโลกได้อย่างสง่าผ่าเผย เราอยากเป็นสมาชิกของคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ แต่ว่าเรายังไม่มีการดำเนินงานใดๆ ที่จะตอบโจทย์ได้ในเวทีโลกในการดูแลสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานในการเป็นมนุษย์ของคน เพราะฉะนั้นอันนี้จึงเป็นจุดเริ่มต้น เรามีการให้คำมั่นข้อตกลงระหว่างประเทศ โดยมีหลักการ 4 ข้อ</p>
<p><span style="color:#e67e22;"><strong>1.การแจ้งเกิด</strong></span></p>
<p>การลงทะเบียนเกิดของบุคคลทุกคน ผู้อพยพที่เข้ามาในประเทศไทย ใครก็ตามที่เกิดในประเทศไทยเราสามารถแจ้งเกิดได้ การแจ้งเกิดไม่ใช่การรับรองสัญชาติ ใบเกิดใบแรกของผู้ลี้ภัยออกที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน ในศูนย์พักพิงผู้ลี้ภัยการสู้รบบริเวณชายแดนไทย-เมียนมา ปัญหาที่รับฟังจากแรงงานข้ามชาติในภูเก็ตคือการแจ้งเกิดไม่ได้เพราะขาดเอกสารรับรอง</p>
<p><span style="color:#d35400;"><strong>2.การเข้าถึงหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า </strong></span></p>
<p>สิ่งนี้เป็นสิทธิพื้นฐานของการเป็นมนุษย์ ของผู้อพยพไม่ว่าใครก็ตาม ในประเทศไทยควรสามารถเข้าถึงได้แล้ว ปัญหาที่มีปัจจุบันอย่างหน่วยงานภายใต้สังกัดกระทรวงสาธารณสุขและโรงพยาบาลในพื้นที่ ซึ่งเจ้าหน้าที่มีการใช้ดุลยพินิจแตกต่างกันและไม่สามารถกำกับดูแลได้อย่างทั่วถึง ทำให้หลายพื้นที่แรงงานข้ามชาติและเด็กที่เป็นบุตรหรือผู้ติดตามแรงงานข้ามชาติไม่สามารถเข้าถึงสิทธิได้ พื้นที่ที่มีแนวปฏิบัติที่ดีอย่างกรณีกรุงเทพมหานคร ดุลยพินิจในส่วนภาคราชการผู้ว่าราชการจังหวัดกรุงเทพมหานคร สามารถให้ผู้ลี้ภัยในเมืองที่ได้รับประกันตัวแล้วสามารถซื้อหลักประกันสุขภาพได้</p>
<p><span style="color:#d35400;"><strong>3.การหาทางออกที่ไม่ใช่การกักตัว (Alternatives to Immigration Detention) สำหรับเด็กผู้อพยพและครอบครัว</strong></span></p>
<p><span style="color:#d35400;"><strong>4.การต่อต้านการเลือกปฏิบัติ การส่งเสริมทัศนคติที่ดีต่อผู้อพยพ</strong></span></p>
<p>มีแรงงานข้ามชาติจำนวนมากในภูเก็ตและหลายจังหวัดในประเทศไทย เพราะฉะนั้นเราต้องมองว่าหากประเทศไทยขาดแรงงานข้ามชาติเราไม่สามารถดำเนินกิจกรรมหลายอย่างที่สำคัญต่อระบบเศรษฐกิจได้ แรงงานขั้นพื้นฐานของประเทศไทยปัจจุบันต้องยอมรับว่าเป็นแรงงานเพื่อนบ้าน หากเรามีทัศนคติที่ดี เราให้เขามีสวัสดิการต่างๆ ได้ ให้เขามาช่วยเราพัฒนาประเทศไทยอย่างถูกต้องตามกฎหมาย อันนี้เขาจะช่วยพัฒนาประเทศเราได้ด้วยการเสียภาษี </p>
<h2><span style="color:#2980b9;">แนะดูแลลูกแรงงานข้ามชาติ</span></h2>
<h2><span style="color:#2980b9;">สร้างคนคุณภาพ แก้วิกฤตเด็กเกิดน้อย</span></h2>
<p>ศศินันท์ ธรรมนิฐินันท์ รองประธานคณะกรรมาธิการ กล่าวว่า การมาลงพื้นที่ในครั้งนี้ ทำให้ได้พูดคุยกับเจ้าของปัญหาจริงๆ คือ กลุ่มแรงงานข้ามชาติ และเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานทั้งหน่วยงานภาครัฐ และหน่วยงานภาคประชาสังคม สิ่งที่ค้นพบคือประเด็นปัญหาเรื่องการโยกย้ายถิ่นฐานไม่ปกติเป็นปัญหาที่ซ้อนทับกันในหลายเรื่อง มีลักษณะเป็นโดมิโน ปัญหาสถานะการเข้าเมืองส่งผลต่อเรื่องการเข้าไม่ถึงสิทธิสุขภาพ สิทธิการศึกษา และการละเมิดสิทธิมนุษยชน </p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53457222933_4aa7055d62_b.jpg" /></p>
<p>เรื่องสำคัญที่ควรจัดทำเร่งด่วน คือ ปรับปรุงระบบข้อมูลจำนวนผู้โยกย้ายถิ่นฐาน แรงงานข้ามชาติและครอบครัวให้มีประสิทธิภาพ ซึ่งอาจจะต้องเกี่ยวข้องกับกระทรวงแรงงาน กระทรวงสาธารณสุขในแต่ละพื้นที่ที่จะติดตามจำนวนของการลงทะเบียนของแรงงานข้ามชาติในระบบให้มีความถูกต้องและมีจำนวนสอดคล้องกัน การทำงานอย่างบูรณาการกันระหว่างหน่วยงานจึงเป็นเรื่องสำคัญ</p>
<p>ภารกิจหลังจากนี้ของคณะกรรมาธิการ คือ การจัดทำรายงานสรุปและนำมาพิจารณาในกลุ่มกรรมาธิการเพื่อนำไปรายงานต่อสภาผู้แทนราษฎร เพื่อผลักดันว่าปัญหาทั้งหมดที่ศึกษานั้นติดขัดที่ระบบกฎหมายใด และจะสามารถปลดล็อกส่วนไหนได้บ้าง เช่น การออกระเบียบปฏิบัติให้เจ้าหน้าที่สามารถทำงานสะดวกลดเงื่อนไขอะไรที่สร้างความลำบากในการดำเนินการ</p>
<p>ในประเด็นสิทธิมนุษยชน ศศินันท์ มองว่าปัญหาผู้โยกย้ายถิ่นฐานไม่ปกติเป็นปัญหาเดียวกันกับที่รัฐบาลจะประกาศเป็นวาระแห่งชาติคือปัญหาเรื่องจำนวนวิกฤตเด็กเกิดต่ำ และการขาดแคลนแรงงานในอนาคต ถ้ารัฐบาลต้องการจะแก้ปัญหาโดยมองมิติของแรงงานข้ามชาติ ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่จะมาใช้แรงงานให้ประเทศไทย มาทดแทนปัญหาการขาดแคลนแรงงาน ดังนั้นรัฐบาลต้องสร้างกระบวนการนำเข้าแรงงานต่างชาติให้ง่ายขึ้น มองไปถึงเด็กผู้ติดตามแรงงานต่างชาติ ซึ่งหากรัฐบาลไทยดูแลส่งเสริมสุขภาพและการศึกษา เด็กเหล่านี้ก็จะมาเป็นกำลังแรงงานที่มีคุณภาพของประเทศไทย เพราะฉะนั้น การแก้ปัญหาแรงงานข้ามชาติจึงเป็นการแก้ไขปัญหาหลายมิติ ถ้าจัดการเรื่องนี้จะส่งผลดีต่อประเทศในด้านอื่นๆ ตามมา การทำเรื่องคุณภาพชีวิตแรงงาน การส่งเสริมการศึกษาจึงเกี่ยวข้องกับการพัฒนาประเทศไทย </p>
<p>โสภณ สุวรรณรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต เป็นประธานในการเข้าร่วมประชุมหารือในครั้งนี้ โดยได้สรุปและมอบหมายให้ทางแรงงานจังหวัดภูเก็ต สาธารณสุขจังหวัดภูเก็ต หน่วยงานการศึกษาพื้นที่จังหวัดภูเก็ตได้นำเสนอภาพรวมของสถานการณ์แรงงานข้ามชาติตามข้อสักถามจากคณะกรรมาธิการฯ </p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53457100891_7e9a9f14a2_b.jpg" /></p>
<p>ผู้ว่าฯ ได้มีข้อเสนอเพิ่มเติมต่อแรงงานจังหวัดภูเก็ต ในเชิงการบูรณาการข้อมูลจำนวนแรงงานข้ามชาติ โดยอ้างอิงถึงวิธีการทำฐานข้อมูลติดตามคนต่างชาติของสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง (ตม.) ที่มีความแม่นยำทั้งจำนวนข้อมูลผู้เดินทางเข้า-ออกในประเทศ สามารถระบุพื้นที่และสืบค้นได้ง่าย ฉะนั้นทั้งแรงงานจังหวัดภูเก็ต สาธารณสุขจังหวัดภูเก็ต หน่วยการศึกษาจังหวัดภูเก็ต ควรมีข้อมูลจำนวนแรงงานข้ามชาติและผู้ติดตามที่แม่นยำและเชื่อมต่อกันได้ในระดับพื้นที่ ทำเป็น Dashboard ที่สามารถติดตามข้อมูลเชื่อมต่อกันได้ทั้งหมด </p>
<p>ปัจจุบันคาดว่าจังหวัดภูเก็ตมีจำนวนแรงงานข้ามชาติไม่เกิน 100,000 คน โดยส่วนใหญ่เป็นแรงงานชาวเมียนมา ชาวลาว และเวียดนาม นับเป็นตัวเลขที่น้อยกว่าจำนวนนักท่องเที่ยวที่เข้ามาในพื้นที่ 2-3 ล้านคน/ปี หน่วยงานภาครัฐที่รับผิดชอบจะต้องมาบูรณาการร่วมกัน และการแก้ปัญหาต้องเริ่มจากการทำฐานข้อมูลแรงงานข้ามชาติจังหวัดภูเก็ตให้ครอบคลุมและถูกต้อง ซึ่งต้องบ่งชี้ให้เห็นรายละเอียดและสถานะของกลุ่มผู้โยกย้ายถิ่นฐานในจังหวัดเพื่อดำเนินการแก้ไขปัญหาอื่นๆต่อไป ไม่ว่าจะเรื่องการเข้าถึงสิทธิทางสุขภาพ และการศึกษาของกลุ่มผู้เปราะบาง</p>
<p>นอกจากนี้ รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต ได้กล่าวขอบคุณคณะกรรมาธิการการกฎหมาย การยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน ที่ได้เดินทางมาติดตามงานและให้ความสนใจจังหวัดภูเก็ต ซึ่งถือเป็นเมืองท่องเที่ยวที่สร้างรายได้อันดับต้นๆ ให้แก่ประเทศไทย อย่างไรก็ตามภูเก็ตก็ยังมีปัญหา ด้วยต้นทุนของจังหวัดภูเก็ตที่สูงแต่งบประมาณยังมีจำกัด ไม่ว่าปัญหาเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม ความมั่นคง และอื่นๆ หวังว่าทางคณะกรรมาธิการฯ จะนำภาพของภูเก็ตไปสะท้อนให้เห็นในระดับประเทศต่อไป</p>
<p>นอกจากแรงงานข้ามชาตินั้น ภูเก็ตยังมีประเด็นเรื่องกลุ่มชาติพันธุ์ อูรักลาโว้ย มอแกลน และมอแกน ซึ่งเกาะเกี่ยวระหว่างพื้นที่จังหวัดระนอง จ.พังงา จ.ภูเก็ต รวมแล้วมีจำนวนกว่า 40 ชุมชน ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีความเปราะบางในด้านสาธารณสุขและการศึกษาเช่นกันประเด็นที่อาจจะต้องหารือในระดับจังหวัดต่อไปในเรื่องนี้  </p>
<h2><span style="color:#2980b9;">สร้าง one stop service </span></h2>
<h2><span style="color:#2980b9;">ระบบการขึ้นทะเบียนแรงงานข้ามชาติ</span></h2>
<h2><span style="color:#2980b9;">จุดเริ่มต้นแก้ปัญหาละเมิดสิทธิแรงงาน</span></h2>
<p>มสพ. ได้สะท้อนปัญหาหลักของแรงงานข้ามชาติ โดยเน้นย้ำ 3 เรื่องสำคัญ</p>
<p><span style="color:#d35400;"><strong>1.ด้านสถานะการเข้าเมืองและการขออนุญาตทำงานสำหรับแรงงานข้ามชาติ</strong></span></p>
<p>พบว่านโยบายมีการเปลี่ยนแปลงบ่อยครั้ง ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการจัดทำเอกสารต่างๆ สูง แรงงานและนายจ้างต้องทำเอกสารบ่อยครั้ง อีกทั้งกระบวนการมีความยุ่งยากซับซ้อน แรงงานและนายจ้างไม่สามารถดำเนินการได้เองอย่างสะดวกรวดเร็ว ทำให้ต้องมีการพึ่งพา นายหน้า หรือตัวกลาง (โบรกเกอร์) ซึ่งมีทั้งที่ถูกต้องตามกฎหมายและผิดกฎหมาย ทำให้เกิดภาระค่าใช้จ่ายจำนวนมากและก่อให้เกิดหนี้สินระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง เป็นปัญหาซับซ้อนตามมา เช่น การยึดเอกสารประจำตัวแรงงาน หนี้ที่ไม่เป็นธรรม และการใช้ภาระด้านเอกสารและหนี้เหนี่ยวรั้งให้ทำงานอันเป็นข้อบ่งชี้ของการบังคับใช้แรงงานและการค้ามนุษย์</p>
<p><span style="color:#d35400;"><strong>2.ด้านความคุ้มครองทางสังคม</strong></span></p>
<p>แรงงานข้ามชาติรวมถึงผู้ติดตาม เช่น บุตรและครอบครัวมีอุปสรรคในการเข้าถึงสิทธิพื้นฐานและความคุ้มครองทางสังคม เช่น การจดทะเบียนเกิด การซื้อประกันสุขภาพของบุตรที่เป็นผู้ติดตาม สิทธิด้านการรักษาพยาบาล สิทธิด้านการศึกษาสำหรับเด็ก สิทธิประกันสังคมและกองทุนเงินทดแทน ปัญหาการเข้าถึงสิทธิเหล่านี้เกี่ยวข้องกับเรื่องเอกสารสถานะการเข้าเมืองที่ถูกทำให้กลายเป็นอุปสรรคในการเข้าถึงสิทธิพื้นฐานและความคุ้มครองที่แรงงานข้ามชาติและครอบครัวควรได้รับ และ</p>
<p><span style="color:#d35400;"><strong>3.ด้านสิทธิแรงงาน</strong></span></p>
<p>ประเด็นปัญหาค่าจ้างค่าแรงที่ต่ำกว่ากฎหมายค่าแรงขั้นต่ำ รวมถึงการเลือกปฏิบัติระหว่างเพศ การได้ค่าแรงที่ไม่เท่าเทียมกันของแรงงานหญิงและชาย ความปลอดภัยในการทำงานซึ่งแรงงานข้ามชาติส่วนใหญ่จะทำงานที่มีความเสี่ยง เช่น งานบริการ งานก่อสร้าง งานประมง หรือการทำงานที่ยาวนานและไม่มีวันหยุด การยึดทรัพย์สิน การไม่จ่ายค่าจ้าง นายจ้างค้างค่าแรง ยึดเอกสารประจำตัวเพื่อไม่ให้สามารถเปลี่ยนงานได้ ทำให้หลายครั้งแรงงานข้ามชาติตกอยู่ในสภาพแรงงานบังคับ (Forced Labour) ข้อเสนอแนะของ มสพ. คือ หน่วยงานภาครัฐที่ควรมีระบบการขึ้นทะเบียน แบบ one stop service เพื่อให้การขออนุญาตทำงานและการทำเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องมีความสะดวก ลดความซับซ้อนและภาระของแรงงานและนายจ้างที่ต้องดำเนินการผ่านหลายหน่วยงาน ลดการพึ่งพานายหน้าหรือตัวกลาง (โบรกเกอร์) นอกจากนี้ การทำระบบฐานข้อมูลที่เชื่อมโยงกันระหว่างหน่วยงานจะช่วยแก้ปัญหาสถานะบุคคลและการเข้าถึงสิทธิพื้นฐานสำหรับแรงงานข้ามชาติและครอบครัวได้ </p>
<h2><span style="color:#2980b9;">สิทธิทางการศึกษาและสุขภาพ : </span></h2>
<h2><span style="color:#2980b9;">ปัญหาใหญ่ของแรงงานข้ามชาติและครอบครัวที่รัฐมองเห็นแต่ไม่มีนโยบายรองรับผู้โยกย้ายถิ่นฐานไม่ปกติ</span></h2>
<p>มูลนิธิบ้านศรีชุมพาบาล สาขาภูเก็ต และ มูลนิธิการศึกษาเพื่อการพัฒนา (FED) ได้นำเสนอโดยเน้นปัญหา คือ การเข้าไม่ถึงการศึกษาของเด็กที่เป็นบุตรและครอบครัวแรงงานข้ามชาติ รวมถึงความยากลำบากของการเข้าถึงสิทธิการรักษาพยาบาล ทั้งระบบประกันสุขภาพ และประกันสังคม ในด้านการศึกษาผู้แทนจากศูนย์การเรียนรู้ของ FED ได้เล่าถึงสถานการณ์ไม่ปกติในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ตั้งแต่ 1 ก.พ.2564 กองทัพเมียนมาทำการรัฐประหาร ส่งผลให้เด็กต่างชาติโดยเฉพาะเด็กเมียนมา ในศูนย์ FED มีจำนวนเพิ่มขึ้นจากเดิม 300-400 คน เป็น 800-1,000 คน สถานการณ์ความขัดแย้งของประเทศพม่าสร้างผลกระทบต่อประชาชนในเรื่องความเป็นอยู่ หลายคนไม่ได้มีความพร้อมในการอพยพมาแต่จำเป็นต้องโยกย้ายถิ่นฐานและครอบครัวเข้ามาเพื่อความปลอดภัยโดยมาเป็นแรงงานข้ามชาติ ในขณะเดียวกันเด็กเหล่านี้เมื่อไม่มีเอกสารประจำตัวจากประเทศต้นทาง ก็อยู่ในสถานะผู้หลบหนีเข้าเมืองทำให้มีความเสี่ยงต่อการถูกละเมิดสิทธิและการค้ามนุษย์ ทางเครือข่ายภาคประชาสังคมมองว่า ในเรื่องการศึกษา อยากให้รัฐบาลเปิดโอกาสให้เด็กๆ ครอบครัวแรงงานข้ามชาติ สามารถอยู่ภายใต้กฎหมาย และให้เด็กสามารถเข้าเรียนได้ไม่ว่าจะเป็นโรงเรียนของรัฐหรือศูนย์การเรียนรู้  ซึ่งแรงงานข้ามชาติจำนวนมากก็มีความพร้อมที่จะช่วยเหลือและสนับสนุนทั้งภาคประชาสังคมและภาครัฐเพื่อให้บุตรได้เข้าเรียน เพราะการที่เด็กไม่ได้เข้าสู่ระบบการศึกษา ยังเป็นปัจจัยเชื่อมโยงกับ อุปสรรคในการเข้าถึงสิทธิพื้นฐานอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านสถานะบุคคล สิทธิด้านสุขภาพ และการเยียวยาเมื่อตกเป็นผู้เสียหายในคดีอาญา </p>
<p>ศูนย์การศึกษาและการให้สิทธิด้านสุขภาพของผู้โยกย้ายถิ่นฐานไม่ปกติจึงถือเป็นเรื่องสำคัญ ผู้แทนจากมูลนิธิบ้านศรีชุมพาบาล สาขาภูเก็ต ที่ดำเนินการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้สำหรับเด็กๆ สะท้อนว่า ตนมักจะถูกตั้งคำถามว่า “เด็กไทยลำบากมีจำนวนมาก ทำไมไม่ช่วยเหลือก่อน?”  จึงอยากสะท้อนความเห็นว่า การเข้าถึงการศึกษาสำหรับเด็กไม่ควรถูกแบ่งแยกด้วยเชื้อชาติ เด็กไม่ว่าจะมีเชื้อชาติหรือสัญชาติใด ก็ควรได้รับสิทธิที่จะเข้าถึงการศึกษาทุกคน โดยเฉพาะเด็กกลุ่มเปราะบางซึ่งมีโอกาสไม่เท่าเทียมและมักจะถูกละเลย ภูเก็ตเป็นเมืองที่มีความต้องการแรงงานข้ามชาติในภาคเศรษฐกิจและนำร่องเรื่องการศึกษา หากในอนาคตมีศูนย์การศึกษาที่รองรับร่วมกันระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ภาคประชาสังคม และเอกชน จะทำให้เด็กทุกชนชาติมีการศึกษาที่ถูกต้อง เขามีโอกาสที่จะเติบโตเป็นอนาคตแรงงานที่ดีได้ ดังนั้น มากกว่ามุมมองเรื่องความมั่นคง ควรมองว่าคนที่หนีความเดือดร้อนเข้ามาเป็นเด็ก และเด็กเหล่านี้ควรอยู่อย่างปลอดภัย ได้รับการศึกษา และสุขภาพตามหลักสิทธิมนุษยชน</p>
<p><span style="color:#d35400;"><strong>ข้อเสนอแรงงานข้ามชาติในจังหวัดภูเก็ต : จัดตั้งกลุ่มภายใต้สหพันธ์แรงงานไทย และมีศูนย์ประสานงานไกล่เกลี่ยในกระบวนการยุติธรรม</strong></span></p>
<p>สมาคมมิตรภาพอันดามัน สมาคมไทยเนปาลี ศูนย์สังคมพัฒนามูลนิธิคาทอลิก สุราษฎร์ธานี จังหวัดภูเก็ต และ ผู้แทนแรงงานข้ามชาติในจังหวัดภูเก็ต ได้สะท้อนว่าสถานการณ์ของแรงงานข้ามชาติในอดีตนั้นการขอความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐมีความยากลำบาก ซึ่งปัจจุบันสถานการณ์ดีขึ้นโดยได้รับความร่วมมือกับองค์กรภาคประชาสังคมในการดำเนินการช่วยเหลือด้านกฎหมายแก่แรงงานข้ามชาติ ปัญหาการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม แรงงานที่เกิดคดีความมักจะเข้าไม่ถึงสิทธิในการต่อสู้คดี เนื่องจากไม่มีกลไกการไกล่เกลี่ยระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง ความไม่รู้ในเรื่องภาษา กฎหมายไทย และความไม่เท่าเทียมกันทางอำนาจ นอกจากนี้การถูกข่มขู่คุกคามทั้งจากนายจ้างและเจ้าหน้าที่รัฐ การที่แรงงานไม่กล้าสู้คดีเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นจำนวนมาก ข้อเสนอจึงอยากให้พี่น้องแรงงานข้ามชาติสามารถจัดตั้งกลุ่มภายใต้สหพันธ์แรงงานไทย เพื่อใช้กลไกนี้ในการต่อรองกับนายจ้างและเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม และอยากให้จังหวัดภูเก็ตมีศูนย์ประสานงานไกล่เกลี่ยในกระบวนการยุติธรรมที่แรงงานข้ามชาติหรือคนต่างชาติสามารถเข้าถึงได้ อีกส่วนคือเรื่องการดำเนินการด้านเอกสารของคนต่างชาติและแรงงานข้ามชาติ กรณีที่แรงงานข้ามชาติอยู่ในประเทศไทยมายาวนาน มีแนวทางการดำเนินการขอเอกสาร Visa หรือขอสัญชาติอย่างไร และอีกกรณี คือ ลูกแรงงานข้ามชาติที่เติบโตและเรียนในโรงเรียนไทยจนจบมหาวิทยาลัย ความเป็นไปได้ในเรื่องของการขอสัญชาติ การดำเนินการเอกสาร และค่าใช้จ่ายยังไม่ชัดเจน</p>
<p>นอกจากนี้ ยังมีประเด็นความไม่เท่าเทียมกันทางเพศ และการละเมิดสิทธิแรงงานเกิดขึ้นมากในจังหวัดภูเก็ต ผู้แทนแรงงานข้ามชาติ ได้ยกกรณีแรงงานข้ามชาติที่เป็นเพศหญิงมักจะได้ค่าแรงต่ำกว่าผู้ชาย การถูกเลิกจ้างเพราะตั้งครรภ์ระหว่างทำงาน ได้รับค่าแรงต่ำกว่าค่าแรงขั้นต่ำที่กฎหมายกำหนด ซึ่งในภูเก็ตยังมีแรงงานข้ามชาติได้รับค่าจ้างต่ำกว่า 370 บาท/วัน โดยเฉพาะอาชีพคนทำงานในบ้านและคนทำความสะอาดส่วนใหญ่มักจะเป็นแรงงานข้ามชาติเพศหญิงมักจะทำงานเกินเวลา 8 ชั่วโมง/วัน และบางครั้งก็ทำงานแต่ไม่ได้รับเงินเดือน ไม่มีวันหยุดวันลา หรือถูกไล่ออกโดยไม่แจ้งล่วงหน้า อย่างกรณีในช่วงฤดูกาลวันหยุดยาวหรือช่วงท่องเที่ยวแม่บ้านที่ทำงานในโรงแรมหรือทำงานวันหยุดก็ไม่สามารถลาหยุดและไม่ได้รับค่าจ้างชดเชย นอกจากนี้ผู้ประกอบการยังไม่ให้ความสำคัญกับความปลอดภัยในเรื่องที่พักอาศัย บางกรณีมีการทำร้ายร่างกายลูกจ้าง หรือการเจ็บป่วยจากการทำงานนายจ้างก็ไม่รับผิดชอบค่ารักษา ทำให้แรงงานต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเอง นอกจากนี้ยังมีกรณีที่แรงงานข้ามชาติที่ถูกกฎหมายกลายเป็นแรงงานผิดกฎหมาย อันเนื่องจากนายจ้างไม่ดำเนินการทำเอกสารให้แรงงานให้ถูกต้องทำให้แรงงานหลุดจากระบบ กลายเป็นคนเข้าเมืองผิดกฎหมายและผลักภาระให้ลูกจ้างต้องดำเนินการทั้งหมด</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53457222963_e987483e3e_b.jpg" /></p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-promote-end field-type-text field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even">ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2024/01/107591
 

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

นักข่าวหัวเห็ด แห่งเวบสุขใจ
อัพเดตข่าวทันใจ ตลอด 24 ชั่วโมง

>> http://www.SookJai.com <<
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.847 วินาที กับ 27 คำสั่ง

Google visited last this page 08 มิถุนายน 2568 07:28:29