สุรพศ ทวีศักดิ์: ปัญหาของเหตุผลทางศีลธรรมเถรวาทไทยเทียบกับมหายาน
<span class="submitted-by">Submitted on Fri, 2024-01-12 10:28</span><div class="field field-name-field-byline field-type-text-long field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><p>สุรพศ ทวีศักดิ์</p>
<p> </p>
</div></div></div><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>ข้อแตกต่างสำคัญหนึ่งของการอ้างเหตุผลทางศีลธรรม ระหว่างพุทธเถรวาทไทยกับมหายาน เห็นได้อย่างชัดเจนในการอ้างเหตุผลทางศีลธรรมกรณีการรักษาศีลข้องดเว้น “ปาณาติบาต” หรือการไม่ทำลายชีวิตสัตว์ การทำความเข้าใจประเด็นนี้ จะช่วยให้เราเข้าใจปัญหาการอ้างเหตุผลทางศีลธรรมโดยภาพรวมของพุทธเถรวาทไทย และทำให้เราเข้าใจชัดขึ้นว่า ทำไมสังคมที่คนส่วนใหญ่ถือพุทธเถรวาทอย่างสังคมไทย (เป็นต้น) จึงมีปัญหาศีลธรรมทางสังคมและการเมืองในทางที่เป็นอุปสรรคต่อเสรีภาพ ประชาธิปไตย และสิทธิมนุษยชนมายาวนาน</p>
<p>เหตุผลของการรักษาศีลข้อ “ไม่ทำลายชีวิตสัตว์” ของพุทธฝ่ายมหายานเชื่อมโยงกับการ “ไม่กินเนื้อสัตว์” เพราะเขาถือว่า การกินเนื้อสัตว์คือสาเหตุของการฆ่าสัตว์มาเป็นอาหาร นี่คือเหตุผลทางศีลธรรมที่ “นึกถึงคนอื่น” เป็นด้านหลัก คือนึกถึงการปกป้องชีวิตสัตว์เป็นสิ่งสำคัญสูงสุด ความยากในการตัดความอยากกินเนื้อสัตว์ และความลำบากในการใช้ชีวิตถือมังสวิรัติของตนเองเป็นเรื่องรอง </p>
<p>แต่เหตุผลของเถรวาทไทยอ้างว่า การรักษาศีลข้อไม่ทำลายชีวิตสัตว์ เรากินเนื้อสัตว์ได้ นักบวชก็กินเนื้อสัตว์ได้ ถ้าไม่สงสัยว่าเขาเจาะจงฆ่าสัตว์นั้นๆ มาทำอาหารถวายตน นี่คือเหตุผลที่ “นึกถึงตัวเอง” เป็นด้านหลัก คือยึด “ความบริสุทธิ์ในการรักษาศีลของตน” เป็นสิ่งสำคัญกว่าเจตจำนงมุ่งปกป้องชีวิตสัตว์ </p>
<p>นักบวชเถรวาทไทยมักอ้างว่า ที่ไม่ถือมังสวิรัติเพราะต้องการทำตนให้ “เป็นผู้เลี้ยงง่าย” ไม่เป็นภาระของชาวบ้าน แต่การทำตนให้เป็นผู้เลี้ยงง่ายเช่นนั้น ก็เป็นภาระแก่คนอื่นโดยตรงอยู่ดี เพราะต้องคอยแต่พึ่งพา หรือ “ขอ” จากคนอื่นเลี้ยงชีพ ขณะที่นักบวชมหายานเขาทำมาหาเลี้ยงชีพตนเอง การถือมังสวิรัติจึงไม่ตกเป็นภาระของคนอื่น</p>
<p><strong>อย่างไรตาม บทความนี้ไม่ต้องการถกประเด็นว่า ระหว่างมังสวิรัติกับการกินเนื้อสัตว์อันไหนดีกว่า แต่ต้องการวิพากษ์ “ปัญหาการอ้างเหตุผลทางศีลธรรม” แบบพุทธเถรวาทไทยว่าก่อให้เกิดปัญหาสำคัญอื่นๆ ตามมาอย่างไรบ้าง </strong></p>
<p>เมื่อเราเชื่อมโยงเหตุผลทางศีลธรรมในการไม่ทำลายชีวิตสัตว์กับ “ความคิดพื้นฐาน” (basic idea) ของฝ่ายมหายาน จะเห็นความสอดคล้องทางตรรกะชัดเจนขึ้น นั่นคือ ฝ่ายมหายายึดถือ “อุดมคติโพธิสัตว์” ที่นึกถึงคนอื่น และสังคมส่วนรวมเป็นสิ่งสำคัญมาก่อน (priority) ความหมายตรงตัวอักษรตามอุดมคตินี้คือ การทำความดีทางศีลธรรม หมายถึง การช่วยให้คนอื่น, คนส่วนใหญ่ หรือสรรพสัตว์พ้นทุกข์ก่อน แล้วค่อยช่วยตนเองให้พ้นทุกข์ทีหลัง และความหมายที่ตีความได้จากหลักการการนี้ก็คือ การทำเพื่อประโยชน์สุขส่วนรวมถูกจัดลำดับความสำคัญมาก่อนประโยชน์สุขส่วนตัว </p>
<p>ในทางปฏิบัติ เราทำตามอุดมคติดังกล่าวได้จริงไหม ตัวอย่างที่เห็นเมื่อเร็วๆ นี้ คือกรณีอุบัติเหตุเครื่องบินของสายการบินเจแปนแอร์ไลน์ (JAL) เที่ยวบิน 516 ชนกับเครื่องบินของหน่วยยามฝั่ง ขณะลงจอดที่สนามบินฮาเนดะ ในกรุงโตเกียวของญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 2 ม.ค. ที่ผ่านมา ลูกเรือและนักบินได้ช่วยผู้โดยสารร่วม 400 คนให้รอดชีวิต โดยลูกเรือและนักบินออกจากเครื่องบินทีหลัง ก่อนเครื่องบินจะระเบิด </p>
<p><strong>ที่จริงแล้ว เราหาตัวอย่างได้มากว่ามีการกระทำที่เสียสละเพื่อคนอื่นและสังคมส่วนรวมอยู่จริง ทั้งในทางประวัติศาสตร์และปัจจุบัน ทั้งที่เป็นการเสียสละในบ้านเราและในสังคมนานาชาติ พูดให้ชัดขึ้น สังคมเปลี่ยนแปลงในทางที่เป็นธรรมมากขึ้นได้ เพราะมีคนเสียสละเพื่อส่วนรวมอยู่จริง</strong></p>
<p>อีกข้อสังเกตหนึ่งคือ ความคิดแบบมหายาน เป็นความคิดที่ยืดหยุ่นปรับตัวตามบริบททางสังคมและยุคสมัยที่เปลี่ยนไป นิยามของ “ความพ้นทุกข์” และ “ประโยชน์สุขส่วนรวม” จึงยืดหยุ่นด้วย ไม่จำเป็นว่าความพ้นทุกข์ จะต้องหมายถึงการบรรลุนิพานเท่านั้น อาจรวมถึงการพ้นทุกข์ทางสังคม จากอำนาจกดขี่ทางการเมือง เศรษฐกิจ ความไม่เท่าเทียม และความอยุติธรรมด้านต่างๆ ด้วย สิ่งที่เรียกว่า “ประโยชน์สุข” จึงไม่จำต้องเป็นประโยชน์สุขตามกรอบคิดทางศาสนาเท่านั้น แต่หมายรวมถึงความเป็นธรรมทางการเมือง สังคม และเศรษฐกิจเป็นต้นด้วย พุทธฝ่ายมหายาน (ที่มีนิกายย่อยหลากหลายนิกาย) ในจีน ญี่ปุ่น เวียดนาม อินเดีย และสังคมตะวันตก จึงสามารถปรับตัวกลมกลืนไปกับนิยามของประโยชน์สุขในสังคมนั้นๆ ได้ดีกว่า</p>
<p>อีกอย่าง ความคิดพื้นฐานฝ่ายมหายานที่ถือว่า “ทุกคนหรือสรรพสัตว์ต่างก็เป็นโพธิสัตว์” หรือมี “พุทธภาวะ” เป็นธรรมชาติที่แท้จริงของตนเอง นี่คือการยืนยัน “คุณค่าพื้นฐาน” อันเป็น “คุณค่าในตัวเอง” ของความเป็นมนุษย์ที่ทุกคนมีเหมือนกัน เราทุกคนจึงมี “ความเป็นคนเท่ากัน” ความแตกต่างภายนอก เช่น เชื้อชาติ เพศ สีผิว สถานภาพทางสังคม ศาสนา และอื่นๆ ไม่ใช่เหตุแบ่งแยกมนุษย์จากการมีความเป็นคนเท่ากัน ในฐานะที่ทุกคนมีพุทธภาวะเป็นคุณค่าพื้นฐานในตัวเองเสมอภาคกัน จากความคิดพื้นฐานเช่นนี้ เราจึงคิดต่อได้ว่า การจัดระบบสังคม การเมือง เศรษฐกิจ และอื่นๆ ก็ควรจัดให้สอดคล้องกับความเป็นคนเท่ากัน นั่นคือ ต้องวางระบบที่เป็นธรรมบนความเสมอภาคเท่าเทียมมากที่สุด เพื่อให้เอื้อต่อความพ้นทุกข์มิติต่างๆ ของปัจเจกบุคคล และสังคมส่วนรวม </p>
<p>แต่เหตุผลทางศีลธรรมแบบพุทธเถรวาทไทย ที่ “นึกถึงตัวเอง” สำคัญอันดับแรก เป็นเหตุผลที่เชื่อมโยงกับความคิดพื้นฐานที่ว่า “ต้องช่วยตนเองให้พ้นทุกข์ได้ก่อนจึงช่วยคนอื่นให้พ้นทุกข์ตาม” แนวคิดนี้เน้นความเป็น “พระอรหันต์” ผู้หมดจดจากกิเลสแล้วจึงมาสอนคนอื่นให้ทำตาม จะเห็นว่าเป็นความคิดพื้นฐานที่เน้น “คุณธรรมส่วนบุคคล” มากกว่า คือเน้นการถือศีล ปฏิบัติธรรม การบวชเพื่อให้ตนเองเป็นคนดี มีความสุขความเจริญทั้งทางโลกและทางธรรม จนถึงเป้าหมายสุดท้ายคือการเป็นพระอรหันต์ ส่วนในเรื่องทางสังคมหรือส่วนรวม แนวคิดนี้เชื่อว่าถ้าแต่ละคนเป็นคนดี สังคมก็จะดีเอง ปัญหาทางสังคมและการเมืองจึงมีต้นเหตุมาจากการมีคนไม่ดี หรือมีคนเลวไปมีอำนาจทางการเมืองและอื่นๆ มากเกินไป การแก้ปัญหาที่ระบบ สร้างระบบให้ดีแค่ไหนก็เปล่าประโยชน์ ถ้าไม่ทำให้คนเป็นคนดี</p>
<p>อันที่จริง พุทธเถรวาทไทยก็เชื่อเรื่องโพธิสัตว์เช่นกัน แต่ไม่ได้เน้นว่า “ทุกคนเป็นโพธิสัตว์” หรือ “ทุกคนมีความเป็นพุทธะในตัวเอง” กลับเน้นการอุปโลกน์ชนชั้นปกครองเป็นพระโพธิสัตว์ สมมติเทพ พระพุทธเจ้าอยู่หัว ที่ผู้ใต้ปกครองต้องศรัทธา เชื่อฟัง และคอยพึ่งบารมี ตามอุดมคติ “การปกครองโดยธรรม” หรือการปกครองโดยกษัตริย์ที่เป็นคนดีมีคุณธรรม เมื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองจากสมบูรณาญาสิทธิราชย์แล้ว คติการปกครองโดยธรรม ก็ยังอยู่คู่สถาบันกษัตริย์ และถูก “ขยายความ” มาสู่การปกครองของรัฐบาลจากรัฐประหารว่า “ต้องให้คนดีมีคุณธรรมมาปกครองเพื่อแก้วิกฤตบ้านเมือง” และสู่รัฐบาลจากการเลือกตั้งว่า “ต้องเลือกคนดีมีคุณธรรมมาบริหารบ้านเมือง” รวมทั้งข้าราชการก็ต้องเป็นคนดีมีคุณธรรมด้วย </p>
<p>ยิ่งกว่านั้น ตามบรรทัดฐานทางศีลธรรม “ที่ปฏิบัติอยู่จริง” ในสังคมที่คนส่วนใหญ่ถือพุทธเถรวาทไทย คนดีมีคุณธรรมก็แบ่งเป็นช่วงชั้นชัดเจน นั่นคือ คนดีมีคุณธรรมระดับสูงสุดคือกษัตริย์ ซึ่งถือว่าเป็นคนดีมีคุณธรรมตามคติการปกครองโดยธรรมที่แท้จริง และอยู่เหนือหลักเสรีภาพในการตั้งคำถาม วิจารณ์ตรวจสอบ รองลงมาคือคนดีมีคุณธรรมที่มาปกครองประเทศผ่านการทำรัฐประหาร ที่ตรวจสอบไม่ได้ตามหลักการประชาธิปไตย และเอาผิดทางกฎหมายไม่ได้ (เช่น ทำรัฐประหารก็นิรโทษกรรมได้ง่ายดาย และไม่ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง เป็นต้น) และคนดีมีคุณธรรมระดับต่ำสุด คือนักการเมืองและข้าราชการต่างๆ ที่ตรวจสอบตามตามหลักการประชาธิปไตย และเอาผิดทางกฎหมายได้ (บ้างก็เอาผิดทางกฎหมายได้ง่ายเป็นพิเศษ เช่น ยุบพรรคการเมือง และตัดสิทธิ์ทางการเมืองได้ง่ายดาย เป็นต้น) </p>
<p><strong>จากบรรทัดฐานทางศีลธรรมดังกล่าว ทำให้เกิด “วัฒนธรรมยึดติดตัวบุคคลบวกอำนาจนิยม” คือ วัฒนธรรมที่ชนชั้นปกครอง สถาบันศาสนา สถาบันการศึกษา และอื่นๆ สร้างความคาดหวัง หรือปลูกฝังให้ประชาชนคาดหวังว่า ต้องให้ “คนดี” มาเป็นผู้ปกครอง และยอมรับการใช้อำนาจเผด็จการโดยธรรม หรือเผด็จการในนามความดีของผู้ปกครองเช่นนั้นได้ </strong></p>
<p>ความคิดพื้นทางการเมืองที่คาดหวังจะได้คนดีมาปกครอง และยอมรับอำนาจเผด็จการโดยคนดี อยู่บนพื้นฐานความเชื่อที่ว่า “ระบบดีไม่ดีไม่สำคัญเท่าคนดี” ซึ่งสอดรับกับความคิดทางศีลธรรมแบบเถรวาทไทยที่คำนึงถึงตัวเองก่อนว่า ต้องบรรลุเป็นพระอรหันต์ก่อนค่อยมาสอนคนอื่นให้พ้นทุกข์ตาม แต่ในความเป็นจริง นักบวชและชาวพุทธส่วนใหญ่ ก็ไม่ต้องจะบรรลุอรหันต์ หรือไม่ได้บำเพ็ญเพียรเพื่อเป็นพระอรหันต์ พวกเขาได้แต่คาดหวังว่าจะมีพระอรหันต์มาโปรด ซึ่งเป็น “จิตสำนึกแบบพึ่งพาคนที่เหนือกว่าตน” จิตสำนึกแบบนี้สอดรับกับจิตสำนึกทางการเมือง ที่หวังพึ่งพาคนดีที่มีอำนาจเด็ดขาดมาทำให้บ้านเมืองสงบสุข และเจริญรุ่งเรือง</p>
<p>นอกจากใน “ทางการเมือง” จิตสำนึกแบบพุทธเถรวาทไทย จะทำให้ผู้คนคาดหวังต่อสมมติเทพ พระโพธิสัตว์ พระพุทธเจ้าอยู่หัว หรือคนดีมีคุณธรรมาปกครองบ้านเมืองแล้ว ใน “ทางสังคม” ก็ทำให้เกิดปรากฏการณ์คลั่งผู้วิเศษ เช่น ผู้ที่ถูกโฆษณาว่าเป็นพระอริยะ พระอรหันต์ พระเกจิที่มีชื่อเสียงด้านต่างๆ กระทั่งสมเด็จผ้ายันตร์ เรื่อยมาถึงอาจารย์น้องไนซ์ เป็นต้น ขณะที่ในอีกด้านหนึ่งก็คลั่ง “เซเลบพุทธ” ทั้งพระและฆราวาสที่แสดง “ภูมิรู้” ออกมามา “ฟาด” ความเชื่อต่างๆ ที่ถูกมองว่า “งมงาย” นี่คือเรื่องราวหลักๆ ที่เป็นกระแสความคิด และปรากฏการณ์ซ้ำๆ ในสังคมพุทธไทย</p>
<p><strong>แต่ไม่มีกระแสความคิด หรือปรากฏการณ์ของการเคลื่อนไหวในนามพุทธเถรวาทไทยที่คำนึงถึง “คนอื่น” เช่น มีประชาชนที่เสียสละเพื่อส่วนรวม ออกมาต่อสู้เพื่อเสรีภาพ ประชาธิปไตย และความยุติธรรม ที่ถูกขังคุกด้วยมาตรา 112 ถูกอุ้มหาย อุ้มฆ่า และลี้ภัยการเมืองในต่างประเทศ แต่ไม่เคยมี “การส่งเสียงในนามพุทธเถรวาทไทย” ที่เรียกร้องให้ปกป้องสิทธิ เสรีภาพ และความยุติธรรมแก่ประชาชนเหล่านั้นเลย </strong></p>
<p>พูดให้ตรงที่สุด บรรดาผู้รู้หรือนักวิชาการพุทธไทย ไม่ว่านักบวชหรือฆราวาสไม่สนใจหรอกว่าการแยกศาสนาจากรัฐ เพื่อทำให้ศาสนาไม่ตกเป็นเครื่องมือทางการเมืองของชนชั้นปกครอง และเพื่อสร้างประชาธิปไตยโลกวิสัยให้เป็นจริง จะเกิดประโยชน์และมีความเป็นธรรมแก่ประชาชนทุกศาสนา และคนไม่มีศาสนาอย่างไรบ้าง พวกเขาคิดถึงแต่ตัวเองหรือพวกของตนเองเป็นด้านหลักว่า ทำอย่างไรจะบัญญัติในรัฐธรรมนูญให้พุทธศาสนาเป็น “ศาสนาประจำชาติ” ทำอย่างไรรัฐจะอุปถัมภ์พุทธเถรวาทไทยเป็นพิเศษมากขึ้นๆ เป็นต้น</p>
<p>ยิ่งกว่านั้น พวกเขาไม่เคยตั้งคำถามด้วยซ้ำว่า การสร้างและการคงไว้ซึ่ง “ระบบศักดินาพระ” เพื่อค้ำ “ระบบศักดินาเจ้า” เป็นการเดินสวนทางกับ “เส้นทางอิสรภาพ” ของพุทธะไหม ดูพวกเขามีความสุขและภาคภูมิใจกับการเรียกตนเองด้วยภาษาโบราณๆ ว่า “เจ้าคุณ” และยินดีปกป้องระบบศักดินาพระไว้สนับสนุนระบบศักดินาเจ้า มากกว่าที่จะต้องการ “แยกศาสนาจากรัฐ” เพื่อให้พุทธศาสนาปรับตัวสอดคล้องและสนับสนุนประชาธิปไตยโลกวิสัย ที่เกิดประโยชน์แก่คนส่วนใหญ่ ไม่ว่าจะถือศาสนาใดๆ หรือไม่มีศาสนาก็ตาม </p>
<p>ตัวอย่างที่ว่ามาเป็นต้น คือภาพสะท้อน “วัฒนธรรมทางศีลธรรมแบบพุทธเถรวาทไทย” ที่ยึดถือว่าการทำบุญ ถือศีล ปฏิบัติธรรม และอื่นๆ คือการกระทำที่ “คำนึงถึงตัวเอง” เป็นด้านหลัก เช่น เพื่อให้ตนเองได้บุญ ให้บุญดลบันดาลโชคลาภ ความมั่งคั่ง เกียรติยศ ความสุขในโลกนี้และโลกหน้า หรือปฏิบัติธรรมเพื่อความสงบ ความสุขของตนเอง อาจจะโพสเฟสว่า “วันนี้ไปทำบุญตักบาตรมา ปฏิบัติธรรมมา เอาบุญมาฝากทุกๆ คน” แล้วก็มีคนเข้ามาสาธุรัวๆ แต่นี่ไม่เกี่ยวอะไรกับการช่วยเหลือคนอื่น และทำให้สังคมดีขึ้น เป็นธรรม และน่าอยู่มากขึ้น</p>
<p>ยิ่งกว่านั้น บางคนต่อให้ทำเลวๆ มาอย่างไร พอเข้าวัดปฏิบัติธรรม หรือ “บวชพระ” ก็กลายเป็น “คนดี” เฉยเลย บางคนเป็นเผด็จการสั่งกองกำลังทหารปราปรามนักศึกษาและประชาชนอย่างโหดเหี้ยม ก็ได้รับ “ผ้าไตรพระราชทาน” บวชพระในพระอารามหลวง โดยมีพระราชาคณะระดับสูงเป็นพระอุปัชฌาย์บวชให้ เป็นต้น ซึ่งน่าสังเกตว่าตามธรรมวินัยของพุทธะ “ห้ามบวชให้โจร” แต่พุทธเถรวาทไทยกลับบวชให้เผด็จการที่สั่งใช้กองกำลังสังหารนักศึกษาและประชาชนอย่างโหดเหี้ยมได้ ทั้งๆ ที่เผด็จการทราราชเช่นนั้นเลวร้ายยิ่งกว่าโจร การกระทำเช่นนั้นของพุทธเถรวาทไทยจึงกลายเป็นชนวนเหตุนองเลือดในประวัติศาสตร์ 6 ตุลา ดังที่เราทราบกัน กระนั้นพุทธเถรวาทไทยก็ยังสนับสนุนเผด็จการทรราชมาทุกยุค </p>
<p><strong>ปัจจุบันมีคำถามมากขึ้นๆ ว่า การทำความดีที่นึกถึงตนเองเป็นที่ตั้งแบบพุทธเถรวาทไทยถือเป็น “ศีลธรรม” (moral, morality) ได้หรือไม่? </strong></p>
<p>เช่น นิธิ เอียวศรีวงศ์ ยืนยันว่า “การกระทำที่ถือเป็นศีลธรรมได้ ต้องเป็นการกระทำบนพื้นฐานของการนึกถึงคนอื่น” ซึ่งเรื่องนี้ถกเถียงกันได้ แต่แนวคิดจริยศาสตร์สมัยใหม่กระแสหลัก ก็ยืนยันสอดคล้องกับนิธิว่า การทำความดีทางศีลธรรมต้องอยู่บนพื้นฐานของการนึกถึงคนอื่น และสังคมส่วนรวม เช่น การกระทำสิ่งที่ถูกต้องบนพื้นฐานของการเคารพความเป็นมนุษย์ของตนเองและคนอื่นในฐานะ “คนเท่ากัน” ที่แสดงออกเป็นการปกป้องสิทธิ เสรีภาพ ความเสมอภาค ศักดิ์ศรึความเป็นมนุษย์ ความยุติธรรมทางสังคม และการเมือง หรือการทำเพื่อประโยชน์สุขส่วนรวมในแง่ต่างๆ </p>
<p>โดยนัยดังกล่าว การต่อสู้เพื่อเสรีภาพ และประชาธิปไตยของพลเมืองที่ถูกกดปราบด้วย 112 ทำให้พวกเขาต้องตกเป็น “นักโทษการเมือง” หรือ “นักโทษทางความคิด” หรือตกเป็น “ผู้ลี้ภัยทางการเมือง” และถูกอุ้มหาย อุ้มฆ่า ย่อมเป็น “การกระทำที่นึกถึงคนอื่นและสังคมส่วนรวม” อย่างชัดแจ้ง จึงเป็นการกระทำที่มี “ศีลธรรมสาธารณะ” ตามเกณฑ์ของจริยศาสตร์สมัยใหม่กระแสหลัก ไม่ว่าจะเป็นจริยศาสตร์สายคานท์ หรือสายประโยชน์นิยม เป็นต้น</p>
<p><strong>แต่ความคิดพื้นฐานทางศีลธรรม และบรรทัดฐานทางศีลธรรมแบบพุทธเถรวาทไทย ที่เน้นการทำดีบนเหตุผลที่นึกถึงตนเองเป็นที่ตั้ง นำไปสู่วัฒนธรรมยึดติดตัวบุคคลบวกอำนาจนิยมทางการเมืองและทางสังคม ซึ่งขัดแย้งกับศีลธรรมสาธารณะ การสร้างประชาธิปไตยโลกวิสัย ความยุติธรรมทางสังคม และการเมืองอย่างมีนัยสำคัญ </strong></p>
<p> </p>
<p> </p>
<p style="margin: 0in 0in 8pt;"><span style="font-size:11pt"><span style="line-height:107%"><span style="font-family:Calibri,sans-serif"><strong><span lang="TH" style="font-size:12.0pt" xml:lang="TH"><span style="line-height:107%"><span style="font-family:"Tahoma",sans-serif">ที่มาภาพ </span></span></span></strong>
http://www.anakame.com/page/5_Misc/N158.html</span></span></span></p>
<p style="margin-bottom:0in; margin:0in 0in 8pt"> </p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">บทค
https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์
https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
https://prachatai.com/journal/2024/01/107602 







