[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
01 พฤษภาคม 2567 21:23:10 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - เวที 'สรุปทิศทางประมงไทยในบริบทการค้าระหว่างประเทศ' แนะปรับปรุงกฎหมายและค  (อ่าน 41 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
สุขใจ ข่าวสด
I'm Robot
สุขใจ บอทนักข่าว
นักโพสท์ระดับ 15
****

คะแนนความดี: +101/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Italy Italy

กระทู้: มากเกินบรรยาย


บอท @ สุขใจ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 21 มกราคม 2567 02:57:36 »

เวที 'สรุปทิศทางประมงไทยในบริบทการค้าระหว่างประเทศ' แนะปรับปรุงกฎหมายและความร่วมมือกัน
 


<span class="submitted-by">Submitted on Sat, 2024-01-20 14:55</span><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>เวทีเสวนา 'สรุปทิศทางประมงไทยในบริบทการค้าระหว่างประเทศ : ข้อพิจารณาเรื่องสิทธิแรงงาน สิ่งแวดล้อม และมาตรฐานตลาดการค้าอาหารทะเล' เสนอแนะแนวทางการปรับปรุงกฎหมายและความร่วมมือในการทำงานร่วมกันระหว่างภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง - ผอ.EJF หวั่น ‘รัฐบาลเศรษฐา’ แก้ กม.ประมงทำสิทธิมนุษยชนถอยหลัง กระทบส่งออก 1.72 แสนล้านบาท - นายกสมาคมฯ ทูน่าไทย ชี้ประมงไทยไม่ยั่งยืนเพราะ “สกปรก-เสี่ยงสูง-งานยาก/งานหนัก” ถ้ารัฐไม่ส่งเสริมทุกส่วนจะถูกกีดกันทางการค้าโลก - นักวิชาการ มธ. แนะรัฐบาลสร้างมาตรฐานประมงยั่งยืน-สางปัญหา IUU ทำสินค้าให้ได้มาตรฐานยุโรปใส่ใจกระบวนการผลิตแข่งขันได้ทั่วโลก</p>
<p><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53475389074_8376b211c9_o_d.jpg" /></p>
<p>มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา แจ้งข่าวว่าเมื่อวันที่ 18 ม.ค. 2567 ที่สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศ (FCCT) เครือข่ายภาคประชาสังคม ประกอบด้วย มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา (มสพ.) มูลนิธิความยุติธรรมเชิงสิ่งแวดล้อม (EJF) เครือข่ายองค์กรด้านประชากรข้ามชาติ (MWG) และ Solidarity Center (SC) ได้จัดงานแถลงข่าวและเสวนาสรุปทิศทางประมงไทย ในบริบทการค้าระหว่างประเทศ : ข้อพิจารณาเรื่องสิทธิแรงงาน สิ่งแวดล้อม และมาตรฐานตลาดการค้าอาหารทะเล เพื่อเสนอแนะแนวทางการปรับปรุงกฎหมายและความร่วมมือในการทำงานร่วมกันระหว่างภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนติดตามสถานการณ์กฎหมายและนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองแรงงานประมงและข้อตกลงเขตการค้าเสรี (FTA)ที่เกี่ยวข้องกับประเทศไทย โดยมีตัวแทนเครือข่ายองค์กรภาคประชาชน นักวิชาการ ภาคธุรกิจ และผู้ที่สนใจเข้าร่วม</p>
<h2><span style="color:#3498db;">ผอ.EJF หวั่น ‘รัฐบาลเศรษฐา’ แก้ กม.ประมงทำสิทธิมนุษยชนถอยหลัง กระทบส่งออก 1.72 แสนล้านบาท </span></h2>
<p>ดอมินิก ทอมสัน ผู้อำนวยการภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ มูลนิธิความยุติธรรมเชิงสิ่งแวดล้อม(EJF) กล่าวถึงสถานการณ์การเปลี่ยนผ่านการบริหารจัดการประมงไทย ภายใต้รัฐบาลนำโดย เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ในเวทีการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งภาคประชาชาสังคมมีข้อกังวลและข้อเสนอแนะในประเด็นนี้ว่า หลังจากหลายปีที่ประเทศไทยได้สร้างความอื้อฉาวในระดับนานาชาติในเรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชน แรงงานบังคับ (Forced Labour) และแรงงานเด็ก (child labor) ก็มีการปฏิรูประบบอุตสาหกรรมประมง และได้ทำให้ประเทศไทยกลายเป็นผู้นำระดับภูมิภาคด้านการทำประมงและส่งออกอาหารทะเลที่ยั่งยืน ถูกกฎหมาย และเป็นธรรม มากขึ้น แต่อย่างไรก็ตามในขณะนี้ เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงแนวทางและแนวทางจัดการอุตสาหกรรมประมงที่ถอยหลังกลับ ซึ่งจะสร้างความเสียหายอย่างร้ายแรงต่อสิทธิมนุษยชนและชื่อเสียงของประเทศไทยต่อประชาคมโลก และจะสร้างผลกระทบต่อความพยายามของรัฐบาลใหม่ในการดึงดูดการลงทุนระหว่างประเทศใหม่</p>
<p>ดอมินิก กล่าวต่อว่า การผ่อนปรนมาตรการทางกฎหมายอาจเป็นตัวทำลายมาตรการทางการประมงและการส่งออกอาหารทะเลในเชิงเศรษฐกิจ ซึ่งตัวเลขประมาณการส่งออก ปี พ.ศ. 2564 มีมูลค่า 1.72 แสนล้านบาท การย้อนกลับไปดูพันธกรณีระหว่างประเทศของประเทศไทยในเรื่องการตรวจสอบย้อนกลับของอาหารทะเลจะทำให้ประเทศผู้ซื้ออาหารทะเลจำนวนมากอาจทบทวนการจัดซื้ออาหารทะเลจากประเทศไทยต่อไป แนวทางการรับมือนั้นจะต้องมีความชัดเจน มีความโปร่งใส แนวทางการปฏิบัติควรได้รับการพัฒนามากกว่าการผ่อนปรน สิ่งนี้จะทำให้อุตสาหกรรมอาหารทะเลในประเทศไทยเจริญรุ่งเรือง ที่แรงงานสามารถทำงานได้อย่างปลอดภัย และมีส่วนช่วยเสริมสร้างเศรษฐกิจของประเทศไทยสำหรับคนรุ่นต่อๆ ไปที่เข้ามาในอุตสาหกรรมนี้</p>
<p>“ประชากรของปลามีจำนวนน้อยลงมากในปัจจุบัน การลดต้นทุนในการทำอุตสาหกรรมประมงที่ทำได้ตอนนี้ คือ การลดต้นทุนด้านแรงงาน ซึ่งจะเสี่ยงต่อเรื่องการค้ามนุษย์ การใช้งานแรงงานเยี่ยงทาส วงจรการจับปลากำลังไปสู่จุดจบของอุตสาหกรรมมากเรื่อยๆ บริบทไทยก่อน ปี 2015 เราไม่รู้มีเรือเท่าไหร่ มีเครื่องหมายประจำเรืออย่างไรบ้าง ไม่มีการถ่วงสมดุล การล่วงล้ำจับปลา กฎหมายประมงออกแบบมานานแล้ว และไม่มีการลงโทษที่เหมาะสม การโอนย้ายเราไม่รู้เลย ไม่มีใครตรวจสอบถ่วงดุลได้ การตรวจสอบท่าเรือไม่สามารถททำได้เพียงพอ ไม่สัญญาณเตือน ผลคือจำนวนปลาลดลงอย่างมาก” ดอมินิก กล่าว</p>
<h2><span style="color:#3498db;">ฮิวแมนไรท์วอทช์ฯ กังวล หากคลายกฎทำประมงจะเปิดประตูค้ามนุษย์ </span></h2>
<p>ฟิล โรเบิร์ตสัน รองผอ.ฮิวแมนไรท์วอทช์ ประจำภูมิภาคเอเชีย กล่าวว่า หากรัฐบาลไทยมีการเปลี่ยนแปลงกฎระเบียบข้อบังคับในการทำประมง คนที่เสียประโยชน์คือลูกเรือ โดยเฉพาะการแก้ไขในเรื่องระบบติดตามตรวจสอบเรือ เป็นระบบใหม่ที่ให้ออกเรือนานมากกว่า 30 วัน มีเรือออกไปรับปลาและเปลี่ยนถ่ายลูกเรือกลางทะเลได้ ซึ่งจะเป็นการเปิดประตูให้มีการค้ามนุษย์เกิดขึ้น และที่สำคัญจะทำให้เกิดการทำประมงที่ผิดกฎหมายเกิดขึ้นด้วย </p>
<p>“อย่างไรก็ตามส่วนตัวมองว่าสมาคมประมงเป็นเด็กดื้อ ไม่ค่อยเชื่อฟังกฎหมายและไม่เชื่อฟังรัฐบาล คิดว่าอยู่ในทะเลจะทำอย่างไรก็ได้ตามความพอใจ จึงเห็นว่าไม่เหมาะที่จะให้สมาคมประมงกำหนดว่าอะไรเป็นสิ่งที่รัฐบาลไทยควรทำหรือไม่ควรทำ แนวโน้มคือเขาพยายามเสนอให้รัฐบาลชุดนี้เปิดเสรีอุตสาหกรรมประมง ยกเลิกการปกป้องสิทธิของลูกเรือ ซึ่งจะสร้างปัญหาเรื่องการทำประมงผิดกฎหมายตามมา ที่ผ่านมาสมาคมประมงไม่เคยยอมรับการปฏิรูปและไม่ยอมรับว่ามีการค้ามนุษย์เกิดขึ้นจริง ประเด็นเหล่านี้จะเป็นเรื่องที่ทำลายความสามารถของรัฐบาลไทยและเศรษฐกิจไทยในการส่งอาหารทะเลออกไปข้างนอก เพราะหากยกเลิกกฎระเบียบต่างๆ ในการปกป้องลูกเรือก็จะมีปฏิกิริยาจากต่างประเทศว่ารัฐบาลไทย เรือประมงไทย กลับมาใช้แรงงานการค้ามนุษย์แล้ว” ฟิล กล่าว </p>
<h2><span style="color:#3498db;">ประมงพื้นบ้านฯ ย้ำ ถ้าจะแก้ กม. ต้องสร้างความเท่าเทียมการเข้าถึงทรัพยากร -ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ -ความยั่งยืนเพื่อคนรุ่นหลัง</span></h2>
<p>ปิยะ เทศแย้ม นายกสมาคมประมงพื้นบ้านแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ที่ผ่านมากลุ่มประมงพื้นบ้านไม่มีตัวตน และกำลังจะถูกลดความสำคัญอย่างน่าตกใจ พูดไม่ได้พูดจากความรู้สึกหรือความนึกคิดของตนคนเดียว แต่เป็นการรวบรวมความคิดเห็นของสมัชชา 66 องค์กรที่เป็นเครือข่ายประมงพื้นบ้านในนามสมาคมสมาพันธ์ชาวประมงพื้นบ้านแห่งประเทศไทย เราได้สัมผัสในทุกเวทีการยกร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) การประมง พ.ศ. 2558 ที่จะเป็นกฎหมายฉบับใหม่ โดยมีตัวแทนพรรคการเมืองทั้งหมด 6 พรรคเขียนร่างกฎหมายขึ้นมา โดยร่าง พ.ร.บ.ของพรรคเพื่อไทยได้เป็นฉบับเปรียบเทียบกับ พ.ร.ก. การประมง พ.ศ.2558 และฉบับแก้ไข 2560 ถ้าเราไปดูจุดมุ่งหมาย พ.ร.ก.การประมง พ.ศ. 2558 ในมาตรา 4 (2) ได้ให้ความสำคัญกับประมงพื้นบ้าน หมายถึงพยายามที่จะสนับสนุนการประมงพื้นบ้าน องค์กรประมงท้องถิ่น เพื่อสนับสนุนและยกความสำคัญของประมงพื้นบ้าน แต่พอเราไปดูร่าง พ.ร.บ.ของพรรคการเมืองทั้ง 6 พรรค โดยเฉพาะฉบับของพรรคเพื่อไทยเรากลับเห็นว่าในมาตรา 4 (2) มีการขีดทิ้ง แล้วพยายามที่จะไปส่งเสริมการประมงทุกประเภทที่ถูกกฎหมายทุกวิถีทางทุกรูปแบบ ซึ่งการซ่อนคำแบบนี้ไว้นั้นน่าตกใจ เป็นสิ่งที่ชี้ให้เห็นว่าประมงพื้นบ้านกำลังจะไม่มีตัวตนในร่าง พ.ร.บ.ทุกฉบับที่กำลังจะแก้</p>
<p>“ประมงพื้นบ้านกำลังจะหมดตัวตน ความน่าเจ็บปวดของ พ.ร.ก.การประมง 2558 ...แต่วันนี้คณะกรรมการนโยบายเรื่องสัตว์น้ำในทะเลออกมาแบ่งให้ใช้ระบบสัดส่วนประมงโควต้า ปรากฎว่าประเทศไทยมีเรืออยู่ 60,000 ลำ เป็นประมงพานิชย์ 10,000 ลำ ได้สัดส่วนไป 80% ถ้าตามบันทึกในแต่ละปีได้ 1.2 ล้านตัน เรือประมงพื้นบ้านมีอยู่ 50,000 ลำ ได้สัดส่วนการจัดสัตว์น้ำ โควต้า 20% คิดเป็นสัดส่วนได้แค่ 2.8 ล้านตัน..นี่คือความจนจากการบริหารที่ยังไม่ทั่วถึง”</p>
<p>ปิยะ กล่าวต่อว่า วันนี้ถ้าจะแก้กฎหมายต้องเน้น 4 เรื่อง 1.ทะเลคือพื้นที่สาธารณะ ต้องสร้างความตระหนักว่าใครก็ตามที่ใช้พื้นที่สาธารณะประกอบอาชีพต้องผ่านกฎกติกาที่เป็นธรรมและเท่าเทียม 2.สร้างกติกากฎหมายที่เปิดโอกาสให้คนทุกคนทุกกลุ่มมีความเท่าเทียมในการเข้าถึงทรัพยากรและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์เรื่องแรงงานต่างชาติ 3.ความมั่นคงทางอาหารต้องมีในกฎหมาย ต้องมองว่าประมงไม่ใช่แค่อาชีพ วันนี้ทะเลทั่วโลกมันคือทะเลเดียวกันทั้งโลก เป็นแหล่งโปรตีนที่ใหญ่ที่สุด สะอาดที่สุด 4.ส่งต่อความยั่งยืนให้คนรุ่นหลัง การรักษาสัตว์น้ำ การรักษาแหล่งธรรมชาติให้รุ่นลูกรุ่นหลาน </p>
<p>“วิถีของประมงพื้นบ้านและพาณิชย์มันมีวิถีเดียวกันคือการจับสัตว์น้ำเพื่อเอาไปชาย แต่วิธีการจับมันไม่เหมือนกัน ความยั่งยืนคือการต้องไม่ทำลายพื้นที่อาศัยของสัตว์น้ำ เช่น กัลปังหา ปะการังเทียม ฯลฯ และต้องไม่ทำลายระบบพึ่งพาสัตว์น้ำ สัตว์ตัวใหญ่กินสัตว์น้ำตัวเล็ก สัตว์น้ำตัวเล็กกินแพลงตอน มันต้องเป็นระบบห่วงโซ่ เราต้องไม่ทำลายความยั่งยืนความมั่นคงอาหาร” ปิยะ กล่าว </p>
<h2><span style="color:#3498db;">นายกสมาคมฯ ทูน่าไทย ชี้ประมงไทยไม่ยั่งยืนเพราะ “สกปรก-เสี่ยงสูง-งานยาก/งานหนัก” ถ้ารัฐไม่ส่งเสริมทุกส่วนจะถูกกีดกันทางการค้าโลก</span></h2>
<p>ดร.ชนินทร์ ชลิศราพงศ์ นายกสมาคมอุตสาหกรรมทูน่าไทย กล่าวถึงผลกระทบของการทำประมง ที่ไม่ยั่งยืนและละเมิดสิทธิแรงงานประมงในอดีตว่า ปัญหานี้ได้สร้างผลกระทบต่อภาพลักษณ์ประเทศ เกิดปัญหาการค้ามนุษย์ การใช้แรงงานบังคับ แรงงานขัดหนี้ ไม่มีระบบการจ้างงานและสภาพแวดล้อม การทำงานที่ดี ไม่มีสวัสดิการขั้นพื้นฐานรองรับ ทั้งนี้การทำประมงที่ไม่ยั่งยืน ส่งผลทำให้ทรัพยากรสัตว์น้ำลดลง ไม่เพียงพอต่อการบริโภค อีกทั้งประชาชนเข้าถึงสัตว์น้ำคุณภาพได้ยากขึ้น เกิดปัญหาขาดแคลนแรงงานโดยแรงงานเห็นว่าเป็นงานด้านประมงเป็นงาน 3D คือ งานสกปรก (Dirty) งานเสี่ยงสูงหรืออันตราย (Danger) และงานยากหรืองานหนัก (Difficult) และเสี่ยงต่อแรงงานบังคับ ค้ามนุษย์ ทั้งนี้ภาครัฐ หลายหน่วยงาน ต้องออกมาตรการทุ่มเททรัพยากรกำลังคนและระดมค่าใช้จ่ายเพื่อแก้ไขสถานการณ์เหล่านี้ </p>
<p>“มีบางอย่างไม่เป็นธรรมจริงๆ ผมเชื่อว่าการแก้กฎหมายไม่ได้จะกลับไปก่อนปี 2015 เพราะโรงงานต่างๆและเรือปรับปรุงไปไกลแล้ว ดังนั้น การถอยหลังเป็นไปไม่ได้ เพราะอุตสาหกรรมเขาก็อยู่ไม่ได้ ถ้าทำผิดกฎหมาย หลักสากล ก็ไม่มีคนซื้อ ประมงพาณิชย์ โดนกดมานานแล้ว ประมงพาณิชย์ ควรได้รับการดูแลปรับปรุง ตลาดเรามี เราเปลี่ยนแปลงเรือขนไทย capacity building ขอให้มีการศึกษาผลกระทบอย่างรอบด้าน จัดประชุมผู้ได้เสียทุกส่วน หาจุดร่วมที่ดีที่สุด เรายังมีศักยภาพ ที่จะ TOP 3 ในงานประมงที่ดูแลสิ่งแวดล้อม และปกป้องสิทธิแรงงาน” ดร.ชนินทร์ ชลิศราพงศ์</p>
<p>ดร.ชนินทร์ กล่าวต่อว่า ปัจจุบันไทยอยู่ระหว่างการเจรจา FTA กับคู่ค้าสำคัญ อาทิ EU ที่เป็นตลาดขนาดใหญ่ สมาคมการค้าเสรีแห่งยุโรป (EFTA) ซึ่งเป็นกลุ่มประเทศที่มีความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม โดยการเจรจาปัจจุบันไม่ได้หารือประเด็นการลดภาษีอย่างเดียว ยังมีประเด็น เช่น แรงงาน และสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะกลายเป็นข้อกีดกันทางการค้า หากไม่สามารถปฏิบัติตามมาตรฐานที่ประเทศคู่ค้ากำหนดไว้ ดังนั้นอุตสาหกรรมต้องมีการปรับตัว และปฏิบัติตามกฎระเบียบสากล อย่างไรก็ตามในเรื่องการผ่อนคลายมาตรการทำประมง เช่น การห้ามขนถ่ายสัตว์น้ำและลูกเรือกลางทะเล เรื่องแรงงานอายุขั้นต่ำ 18 ปี หรือการปรับปรุงข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ต้องพิจารณาให้รอบด้าน เพราะอาจส่งผลให้เกิดความไม่โปร่งใสในการทำประมง อาจมีการทำประมง IUU รวมถึงการค้ามนุษย์บนเรือประมง ที่จะส่งผลกระทบในการเจรจาทางการค้าและ การปฏิบัติตามกฎระเบียบคู่ค้า โดยเฉพาะ EU และสหรัฐอเมริกา หากเป็นเช่นนี้ไทยก็ไม่สามารถส่งสินค้าประมงไปยังกลุ่มประเทศที่มีความกังวลในเหล่านี้ได้ รวมถึงต้องคำนึงในเรื่องการทำตามอนุสัญญาฉบับที่ 188 ว่าด้วยการทำงานในภาคประมง ปี 2007 ขององค์กรแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ที่ไทยได้รับไว้เมื่อปี 2562 ซึ่งส่งผลต่อเศรษฐกิจภาพรวมประเทศ และความสามารถในการแข่งขันของไทยในฐานะผู้ผลิตสินค้าเกษตรและอาหารเพื่อส่งออกสำคัญของโลก</p>
<h2><span style="color:#3498db;">ปลอดประสพ โต้ ‘ประเทศไทยไร้แรงงานบังคับ’ นายกสมาคมประมงฯ ยัน กม.ตั้งแต่ ม.44 ต้องปฏิรูปเพื่อให้สินค้าประมงไทยตีขึ้นในตลาดโลก </span></h2>
<p>ปลอดประสพ สุรัสวดี ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ประเด็นกังวลจากภาคประชาสังคม ที่พูดถึงว่า การแก้ไขกฎหมายในครั้งนี้จะทำให้สถานการณ์แย่ลง ตนมองว่าไม่มีทางที่จะแย่ลงและต้องปรับปรุงให้ดีขึ้น กฎหมายที่ออกในช่วงรัฐบาลคณะรักษาความสงบในประเทศไทย (คสช.) เป็นกฎหมายที่ไม่ได้มีการฟังความเห็นจากทุกภาคส่วน มีลักษณะเป็นเผด็จการ กฎหมายฉบับนี้สร้างผลกระทบต่อประมงพาณิชย์ อย่างมาก การที่ภาคประชาสังคมตั้งธงว่าจะถอยหลัง การยกประเด็นเรื่องเรือประมงนอกน่านน้ำ การขนถ่ายทางทะลนั้น ไม่สามารถทำได้มา 6-7 ปีแล้วในประเทศไทย บริบทสถานการณ์ในปัจจุบันเปลี่ยนจากอดีตไปอย่างมากจึงมองว่าควรที่จะนำบทเรียนเดิมมาเรียนรู้และแก้ปัญหาให้ประมงพาณิชย์สามารถพัฒนาอุตสาหกรรมที่ไม่เสียดุลการค้าระหว่างประเทศอย่างทุกวันนี้ ในส่วนเรื่องของแรงงานนั้นมองว่าการแก้กฎหมายที่จะเกิดขึ้นในส่วนที่ดีพัฒนาขึ้นด้านแรงงานไม่ได้ไปแตะต้อง แต่จะเป็นเรื่องของกฎหมายที่สร้างข้อจำกัดเงื่อนไขที่ไม่เป็นธรรมให้ประมงพาณิชย์ปลดล็อคบางเรื่องพัฒนาอุตสาหกรรมประมงให้กลับมาส่งออกอันดับต้นต้นของโลก </p>
<p>“กฎหมายอะไรก็ตามที่เกิดจากช่วงเผด็จการที่ใช้ ม.44 เราจะต้องนำกลับมาทบทวนทั้งหมดทุกอันไม่มียกเว้นเพราะเราเข้าสู่ระบอบประชาธิปไตย สิ่งที่เรากำลังปรับปรุงขณะนี้คือการ Reform เราไม่ได้กลับหลังเราจะเดินไปข้างหน้าที่ดีกว่าเดิม... Forced Labour ไม่มีในประเทศไทย ทาสเราหมดไปตั้งแต่รัชกาลที่ 5 ก่อนการเลิกทาสในอเมริกาอีก แต่มีคนทำผิดจริงต้องเอามันมาลงโทษ เพราะคนไม่ใช่สัตว์...” ปลอดประสพ กล่าว</p>
<p>มงคล สุขเจริญคณา ประธานสมาคมการประมงแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ขอบคุณทางหน่วยงาน ที่จัดโอกาสที่ดีที่มีสมาคมฯ มาชี้แจง ประเด็นที่ห่วงใยคือสิ่งที่เกิดขึ้นในอดีตที่ผ่านมา สมาคมฯไม่มีโอกาสสื่อสาร หลายครั้งมองว่าองค์กรต่างประเทศนั้นได้ข้อมูลด้านเดียวทำให้เกิดปัญหาทัศนคติที่เป็นลบในอาชีพประมงไทย ทางสมาคมฯ เสนอการแก้กฎหมายประมง เพราะมองว่าเราในฐานะชาวประมงถูกรัฐบาล ยึดอำนาจ คสช. และใช้อำนาจเผด็จจการแก้กำหมายประมง ในขณะนี้มีรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง มีความหวังว่าผลกระทบจาก 7-8 ปีที่ผ่านมาจะต้องได้รับการแก้ไข ประมงในประเทศไทยเสียดุลการค้าจากการนำเข้าสินค้าประมงที่มีสัดส่วนพอกับการส่งออก เราต้องเร่งแก้ทั้งเรื่องค่าปรับ การบังคับใช้กฎหมายจากการออกกฎหมายในช่วง ม.44 ที่ทำให้ประมงพาณิชย์ไม่สามารถส่งเสริมการดำเนินธุรกิจประมงได้ดีขึ้น โดยเฉพาะปัญหาประมงที่สำคัญคือความเข้มงวดของกฎหมายและการเปรียบเทียบปรับ การขนถ่ายสินค้าทางทะเล</p>
<p>“ท่านกังวลว่าจะกังวลเรื่องแรงงาน เราไม่ได้แตะอะไรเลย สิ่งที่เราแตะเราอยากได้แรงงานถูกกฎหมายโดยง่าย ต้นทางของมัน คือ ราชการกำหนดเงื่อนไข ทำให้ได้แรงงานมาทำงานประมงที่ยุ่งยาก เราพยายามทำให้แรงงานประกอบอาชีพได้ง่าย ค่าจ้างจ่ายผ่านบัญชี และเงินสด เราใช้ได้หมด ท่านไปถามแรงงานจริงๆก่อนว่าเขาต้องการอะไร เรามีวิธีการที่จะแก้ไขให้ท่านเชื่อมั่นได้ NGOs ทำงานกับสมาคมฯได้ เราทำงานเปิดเผย โปร่งใส เราไม่ได้หลบเลื่องที่จะแก้ปัญหา” มงคล กล่าว </p>
<p>“สิ่งที่รัฐบาลในอดีตทำคือทำลายอาชีพประมงที่ถูกกฎหมาย กม.ประมงถูกยึดให้ทำประมงได้แค่ 8 เดือน แต่เขียนบังคับให้จ่ายค่าจ้าง 1 ปี เรือถูกกฎหมายที่มีอยู่ 8-9 พันลำที่ขาดทุนทุกวันนี้ เพราะต้นทุนที่ออกไปค่าใช้จ่ายไม่คุ้มกัน...ผมยืนยันว่าเรือประมงผิดกฎหมายมันสูญพันธุ์ไปแล้ว และการแก้ไขเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องที่เราจะมาทำลายประมงพื้นบ้าน”มงคล กล่าว</p>
<h2><span style="color:#3498db;">นักวิชาการ มธ. แนะรัฐบาลสร้างมาตรฐานประมงยั่งยืน-สางปัญหา IUU ทำสินค้าให้ได้มาตรฐานยุโรปใส่ใจกระบวนการผลิตแข่งขันได้ทั่วโลก</span></h2>
<p>จารุประภา รักพงษ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายการค้าระหว่างประเทศ คณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า ขณะนี้ ประเทศไทยในเรื่องเขตการค้าเสรี (FTA) ในสหภาพยุโรป (EU) กำลังอยู่ในช่วงเจรจากำหนดกรอบความร่วมมือระหว่างกัน ซึ่งเท่าที่ทราบเรื่องการทำประมงที่ผิดกฎหมาย (IUU) จะเป็นกรอบแรกที่จะดำเนินการเจรจา คาดว่าตั้งแต่ปีหน้าเป็นต้นไปจะมีการลงรายละเอียดว่าจะมีการหารือกันในเรื่องใดบ้าง ทั้งนี้ในมุมมองของ EU ในเรื่องของมาตรฐานสินค้าและความปลอดภัยทางอาหารที่ส่งออกจากประเทศไทย ซึ่งประเทศไทยแก้ปัญหาเรื่องเหล่านี้ได้ค่อนข้างประสบความสำเร็จ และ EU ไม่ได้มองจุดนี้แล้วแต่มองไปที่มาตรฐานที่ควรคาดหวังอื่นๆ EU รับสินค้าจากไทยไม่เกิน 3 % ของมูลค่าสินค้านำเข้าจากทั่วโลก แต่เป็นผู้ซื้อรายใหญ่ของโลก ฉะนั้น EU จึงเน้นไปที่มาตรฐานเรื่องการประมงอย่างยั่งยืน และ มีความเกี่ยวข้องกับ IUU ทั้งประเด็นเรื่องสิทธิมนุษยชนและสิ่งแวดล้อม ทั้งกระบวนการในภาคอุตสาหกรรมประมง ตลาดยุโรปจึงเป็นตัวชี้วัดสำคัญ ถ้าเราทำตามมาตรฐานยุโรปได้แปลว่าเราส่งสินค้าไปที่ไหนในโลกก็ได้ เพราะประเทศอื่นมีการเทียบมาตรฐานตัวเองกับมาตรฐานยุโรปเช่นเดียวกัน ยุโรปเป็นตลาดใหญ่ แม้จะไม่ได้มีมูลค่าเยอะที่สุด แต่เป็นตลาดที่มีคุณภาพ และสินค้าของเราที่ไปยุโรป เป็นสินค้าที่เราสร้างมูลเพิ่มได้มาก กระบวนการผลิตเกิดขึ้นประเทศไทยมากขึ้น เรามีการจ้างแรงงานจำนวนมาก และได้กำไรจากสิ่งนี้มาก</p>
<p>“ถ้าเราแข่งกันเฉพาะในเรื่องของสินค้าราคาถูก มันก็จะต้องถูกแซงเข้าสักวัน เราจึงต้องไปเคลื่อนในเรื่องคุณภาพ ถ้าเรามองว่าตลาดยุโรปสำคัญลูกค้าแคร์ในเรื่องกระบวนการผลิตและวิธีการผลิตที่ไม่เกี่ยวข้องกับคุณภาพของผลิตภัณฑ์ ไม่ใช่แค่สินค้า ใหญ่ ดี สด แต่เป็นเรื่องของกระบวนการผลิตและวิธีการผลิตได้มาตรฐานของประเทศปลายทางแล้วหรือไม่ ซึ่งแสดงออกด้วยตราสัญลักษณ์ ตรามาตรฐาน หรือแม้ไม่ได้แสดงตราแต่ตอนที่ตอนที่ประเทศไทยได้ใบเหลืองใน IUU ยอดสินค้า ตกทันที ดังนั้นมันจึงต้องมีการปรับเพื่อทันตามกระแสโลก” จารุประภา กล่าว </p>
<p>จารุประภา ทิ้งท้ายว่า รัฐบาลต้องหาจุดสมดุลในเรื่องนี้ให้ดี เพราะถ้าสร้างสมดุลได้ไม่ดี มันจะมีผู้ที่ไม่สามารถปรับตัวได้ และถูกทิ้งไว้ข้างหลัง รัฐจึงต้องเข้ามาช่วยในเรื่องนี้ เราจึงต้องแข่งในเรื่องคุณภาพ เอาเทคโนโลยี มาช่วย และความรู้ที่มีมาเป็นการลดต้นทุน ต้องเคลื่อนไปอย่างนี้เพื่อให้โตอย่างยั่งยืน และเป็นเจ้าในการผลิตสินค้าสร้างมูลค่าเพิ่มต่อไป ขณะที่เรื่องแรงงานนั้นปัจจุบันเป็นประเด็นที่สำคัญมาก การมีมุมมองเรื่องแรงงานข้ามชาติมีความจำเป็นและควรได้รับการส่งเสริมพัฒนาศักยภาพสำคัญ เพราะมีความจำเป็นในกระบวนการผลิตของอุตสาหกรรมประมงไทย ถ้าขาดแรงงานข้ามชาติก็เหมือนไทยขาดฟันเฟือง เพราะบางอย่างเป็นงานที่ต้องใช้คน ไม่สามารถใช้เครื่องจักรได้ แรงงานข้ามชาติจึงเป็นส่วนหนึ่งของ Supply Chain เป็นส่วนหนึ่งของทรัพยากรมนุษย์ที่ต้องพัฒนาไปด้วยกัน</p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2024/01/107707
 

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

นักข่าวหัวเห็ด แห่งเวบสุขใจ
อัพเดตข่าวทันใจ ตลอด 24 ชั่วโมง

>> http://www.SookJai.com <<
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
เวที จิตวิญญาณใหม่ : เปลี่ยนโลกจากด้านใน ด้วย หัวใจอันประเสริฐ
กระบวนการ NEW AGE
มดเอ๊ก 4 2941 กระทู้ล่าสุด 06 กรกฎาคม 2559 12:36:53
โดย มดเอ๊ก
[ข่าวด่วน] - เพื่อไทยเตรียมเดินสายหาเสียง 5 เวที 5 จังหวัด 5 วันรวด มุ่งแลนด์สไลด์
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 90 กระทู้ล่าสุด 21 มีนาคม 2566 19:03:15
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - ศาลอนุมัติหมายจับเจ้าของโกดังเก็บดอกไม้เพลิงมูโนะ
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 356 กระทู้ล่าสุด 02 สิงหาคม 2566 14:49:17
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - องค์กรพิทักษ์สัตว์เรียกร้องให้เพิ่มเรื่องสวัสดิภาพสัตว์และห้ามใช้ยาปฏิชีวน
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 363 กระทู้ล่าสุด 05 สิงหาคม 2566 15:31:10
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - คาดแบงก์พาณิชย์ไทยปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยตามอัตราดอกเบี้ยนโยบาย กนง.
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 268 กระทู้ล่าสุด 06 สิงหาคม 2566 18:04:42
โดย สุขใจ ข่าวสด
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.299 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 19 เมษายน 2567 00:14:14