[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
07 กรกฎาคม 2568 03:50:42 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - อานนท์ มาเม้า: คำวินิจฉัย 31 มกราคมและคำถามต่ออนาคตศาลรัฐธรรมนูญ  (อ่าน 214 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
สุขใจ ข่าวสด
I'm Robot
สุขใจ บอทนักข่าว
นักโพสท์ระดับ 15
****

คะแนนความดี: +101/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Italy Italy

กระทู้: มากเกินบรรยาย


บอท @ สุขใจ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 30 มกราคม 2567 13:26:28 »

อานนท์ มาเม้า: คำวินิจฉัย 31 มกราคมและคำถามต่ออนาคตศาลรัฐธรรมนูญ
 


<span class="submitted-by">Submitted on Tue, 2024-01-30 12:45</span><div class="field field-name-field-byline field-type-text-long field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><p>กฤษฎา ศุภวรรธนะกุล : สัมภาษณ์/เรียบเรียง</p>
<p>กิตติยา อรอินทร์ : ภาพปก</p>
</div></div></div><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>ถ้าคำวินิจฉัยวันที่ 31 มกราคมออมากว่าการเสนอนโยบายแก้ไขมาตรา 112 ของพรรคก้าวไกลเป็นการล้มล้างการปกครอง อาจตามมาด้วยการยุบพรรค แต่ผลที่กว้างไกลว่าคือมาตรา 112 จะถูกแตะต้องไม่ได้อีกเลยหรือไม่ ซึ่งย่อมส่งผลต่อเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นอย่างมีนัยสำคัญ คำถามตามมาคือในการร่างรัฐธรรมนูญที่จะเกิดขึ้น ศาลรัฐธรรมนูญยังควรคงอยู่หรือไม่ ถ้ายังต้องมี ควรเป็นอย่างไรจึงจะไม่ล้ำเส้น</p>
<div class="summary-box">
<ul>
<li>ศาลรัฐธรรมนูญเป็นศาลพิเศษที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่ 2 ประการ หนึ่งคือการรักษาสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชน และสองคือตรวจสอบอำนาจทางการเมือง หรือกล่าวอย่างรวบรัดคือมีหน้าที่พิทักษ์รัฐธรรมนูญ</li>
<li>ศาลรัฐธรรมนูญไทยมีอำนาจตรวจสอบการใช้อำนาจของฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติ แต่ไม่ได้ถูกออกแบบมาเพื่อตรวจสอบศาลด้วยกันเองว่ามีการตีความที่ละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนหรือไม่</li>
<li>ศาลรัฐธรรมนูญไทยรู้ตัวหรือไม่ว่ากำลังถูกใช้เป็นเครื่องมือทางการเมือง</li>
<li>หากศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าพรรคก้าวไกลผิดจะส่งผลกระทบ 2 ประการ หนึ่งคือการใช้คำวินิจฉัยนี้ไปสู่การยุบพรรคก้าวไกลและทำลายเจตนารมณ์ของประชาชนที่เลือกพรรคก้าวไกล สอง จะทำให้การพูดคุยเกี่ยวกับมาตรา 112 ทำได้ยากขึ้นและอาจถูกมองว่าไม่สามารถแก้ไขหรือยกเลิกได้</li>
<li>ศาลรัฐธรรมนูญต้องตระหนักถึงเขตอํานาจที่จํากัดของตนและไม่เล่นนอกเขตอำนาจที่ตนมี เพราะจะเบียดผู้เล่นทางการเมืองในสนามอื่นซึ่งรัฐธรรมนูญไม่ได้อนุญาตให้ศาลนรัฐธรรมนูญลงไปเล่น</li>
<li>ศาลรัฐธรรมนูญควรมาจาก ส.ส. เพื่อเชื่อมโยงกลับไปหาประชาชนและปฏิรูปกระบวนการพิจารณาคดี</li>
</ul>
</div>
<p>พิธาไม่พ้นสภาพการเป็น ส.ส. จากปมหุ้นไอทีวี แต่ผู้ที่ติดตามการเมืองรู้ดีว่านี่เป็นเพียงการโหมโรงเพราะของจริงอยู่ที่วันที่ 31 มกราคมนี้ จากกรณีที่พรรคก้าวไกลถูกกล่าวหาว่าล้มล้างการปกครองจากการเสนอนโยบายปรับแก้กฎหมายอาญามาตรา 112 ซึ่งหากศาลรัฐธรรมนูวินิจฉัยว่าผิดจริงตามคำร้อง ก็มีทีท่าว่าการยุบพรรคก้าวไกลจะเป็นขั้นตอนต่อไปของฝั่งอนุรักษนิยม</p>
<p>แต่ถ้า...ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าผิด ผลกระทบจะไม่ได้มีเพียงแค่การยุบพรรคและทำลายเจตนารมณ์ของประชาชนที่เลือกพรรคก้าวไกลเท่านั้น อานนท์ มาเม้า จากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่ายังมีผลพวงไม่พึงประสงค์อื่นๆ ตามมาอีก และท่ามกลางกระแสการร่างรัฐธรรมนูญใหม่การคงอยู่หรือไม่ของศาลรัฐธรรมนูญและถ้าจะยังมีอยู่แดนอำนาจที่ชัดเจนควรมีขีดเส้นที่ตรงไหนจึงเป็นคำถามสำคัญที่รออยู่ข้างหน้า</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/51351142509_e98268778c_b.jpg" /></p>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#e67e22;">อานนท์ มาเม้า (ภาพจาก Law TU.)</span></p>
<h2><span style="color:#2980b9;">ศาลรัฐธรรมนูญกำลังทำหน้าที่พิทักษ์รัฐธรรมนูญหรือไม่?</span></h2>
<p>ศาลรัฐธรรมนูญเป็นศาลพิเศษที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่ 2 ประการ หนึ่งคือการรักษาสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชน และสองคืออำนาจทางการเมืองหมายถึงการตรวจสอบผู้เล่นทางการเมืองหรือการกระทําทางการเมืองในรูปแบบต่างๆ เช่น การตรวจสอบการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ การตรวจสอบคุณสมบัติของรัฐมนตรีหรือ ส.ส. หรือการยุบพรรคการเมือง เป็นต้น หรือกล่าวให้รวบรัดที่สุดก็คือมีหน้าที่พิทักษ์รัฐธรรมนูญนั่นเอง</p>
<p>เมื่อเป็นเช่นนี้ ขอบเขตอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญควรอยู่ตรงไหนจึงเป็นปัญหาคลาสสิกของประเทศทั่วโลกที่มีศาลรัฐธรรมนูญเพราะศาลรัฐธรรมนูญเป็นแบบศาลเดียวจบแลมีอำนาจผูกพันทุกองค์กร อานนท์กล่าวว่า</p>
<p>“มันเป็นข้อตระหนักที่เกิดจากความกังวลใจที่มาพร้อมกับการสร้างศาลรัฐธรรมนูญ เพราะศาลรัฐธรรมนูญถูกสร้างขึ้นแบบเป็นศาลที่มีความพิเศษ ไม่ใช่ศาลที่ตัดสินเรื่องราวทั่วไปในชีวิตประจําวันผู้คน แต่ถูกสร้างขึ้นมาโดยมีภารกิจใหญ่มากคือการพิทักษ์รัฐธรรมนูญ”</p>
<p>ดังนั้น ในระบบกฎหมายหนึ่งๆ จึงต้องวางเกณฑ์อย่างรัดกุมว่าต้องเป็นประเด็นที่จำเป็นจริงๆ จึงจะเข้าสู่การพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ เรื่องใดที่มีกลไกจัดการได้ก็ให้ดําเนินไปตามกลไกที่มี ปัญหาอยู่ที่ว่าสังคมไทยไม่ได้ครุ่นคิดกับเรื่องนี้มากเพียงพอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญที่ประชาชนไม่ได้มีส่วนร่วมทำให้การออกแบบอํานาจของศาลรัฐธรรมนูญมาจากกลไกที่ไม่ได้เริ่มต้นจากประชาชน</p>
<p>ทั้งนี้อำนาจของศาลรัฐธรรมนูญตามมาตรา 7 ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ ระบุไว้ถึง 13 อำนาจ ประกอบด้วย</p>
<p>1. คดีเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของกฎหมายหรือร่างกฎหมาย</p>
<p>2. คดีเกี่ยวกับหน้าที่และอํานาจของสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา รัฐสภา คณะรัฐมนตรี หรือองค์กรอิสระ</p>
<p>3. คดีเกี่ยวกับการร้องขอให้เลิกการกระทําล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข</p>
<p>4. คดีที่ประชาชนหรือชุมชนฟ้องหน่วยงานของรัฐเพื่อให้ได้รับประโยชน์ตามรัฐธรรมนูญหมวด ๕ หน้าที่ของรัฐ</p>
<p>5. คดีเกี่ยวกับการสิ้นสุดสมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภา</p>
<p>6. คดีเกี่ยวกับการเสนอร่างพระราชบัญญัติที่มีหลักการอย่างเดียวกันหรือคล้ายกันกับหลักการของร่างพระราชบัญญัติที่ต้องยับยั้งไว้</p>
<p>7. คดีเกี่ยวกับการเสนอ การแปรญัตติ หรือการกระทําด้วยประการใดๆ ที่มีผลให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา หรือกรรมาธิการ มีส่วนไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมในการใช้งบประมาณรายจ่าย</p>
<p>8. คดีเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของร่างข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ร่างข้อบังคับการประชุมวุฒิสภา และร่างข้อบังคับการประชุมรัฐสภา</p>
<p>9. คดีเกี่ยวกับการสิ้นสุดลงของความเป็นรัฐมนตรี</p>
<p>10. คดีเกี่ยวกับหนังสือสัญญาท่ตี้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา</p>
<p>11. คดีที่ผู้ถูกละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญคุ้มครองไว้ร้องขอว่าการกระทํานั้นขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ</p>
<p>12. คดีเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม</p>
<p>13. คดีอื่นที่รัฐธรรมนูญ กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ หรือกฎหมายอื่นกําหนดให้อยู่ในเขตอํานาจของศาล</p>
<p>“ทั้ง 13 อํานาจถ้าเราจัดกรุ๊ปมันก็จะได้ 2 เรื่องใหญ่คือเรื่องเกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพประชาชนกับเรื่องอํานาจทางการเมืองหรือสถาบันการเมือง ทั้งสองเรื่องนี้เป็นสนามที่ศาลรัฐธรรมนูญลงไปได้ เมื่อลงไปแล้วก็กลับมาที่ลูปเดิมว่าแล้วศาลรัฐธรรมนูญจะตัดสินคดีในเรื่องดังกล่าวดีหรือไม่ดี แค่ไหน เพียงใด ไม่มีสูตรสําเร็จว่าศาลรัฐธรรมนูญในแต่ละประเทศต้องมีเรื่องนั้นเรื่องนี้เหมือนๆ กัน แต่จะเกาะอยู่บนแกนสองเรื่องสําคัญ”</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/52243663627_ff8a54f1b0_b.jpg" /></p>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#e67e22;">ภาพจากเว็บไซต์ศาลรัฐธรรมนูญ</span></p>
<h2><span style="color:#2980b9;">เมื่อศาลไม่แตะต้องศาลด้วยกัน</span></h2>
<p>ศาลรัฐธรรมนูญสามารถตรวจสอบฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติได้ แล้วอำนาจตุลาการซึ่งเป็น 1 ใน 3 อำนาจ ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจตรวจสอบหรือไม่ อานนท์ตอบว่า</p>
<p>“ศาลรัฐธรรมนูญไทยไม่ได้ถูกออกแบบให้สามารถตรวจสอบตัวคําพิพากษาหรือการพิจารณาพิพากษาคดีของศาลไทยได้ นี่คือข้อสังเกตว่ามันมีพื้นที่ที่ศาลรัฐธรรมนูญไทยไม่ได้ถูกออกแบบให้ลงไป แต่ในต่างประเทศเช่นเยอรมนีอนุญาตให้ศาลรัฐธรรมนูญเข้าไปตรวจสอบการพิจารณาพิพากษาของศาลทั่วไปได้ภายใต้เงื่อนไขบางประการที่ถือว่าสำคัญมาก เช่น การพิจารณาพิพากษาคดีที่กระทบกับสิทธิขั้นพื้นฐานประชาชน คดีที่ตัดสินเกี่ยวกับเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น”</p>
<p>ขณะที่ประเทศไทยไม่ได้เป็นเช่นนั้น ศาลอื่นๆ จึงมีอํานาจอย่างมากที่จะบริหารจัดการดุลพินิจของตนเองในนามของความเป็นอิสระ เพราะฉะนั้นศาลรัฐธรรมนูญไทยจึงถูกออกแบบให้มุ่งตรวจสอบฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหารมากกว่าฝ่ายตุลาการ</p>
<p>ประเด็นนี้แตกต่างจากเยอรมนีที่มีประชาธิปไตยที่เข้มแข็ง เพราะคำพิพากษาของศาลใดมีการตีความที่ขัดต่อเสรีภาพขั้นพื้นฐาน ผู้ที่เกี่ยวข้องสามารถส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยได้ เปรียบเทียบกับกรณีมาตรา 112 ของไทยก็สามารถส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญเยอรมนีตรวจสอบได้ว่าขัดเสรีภาพขั้นพื้นฐานหรือไม่ แต่ของไทยทำไม่ได้</p>
<div class="more-story">
<ul>
<li>หัวหน้าพรรคก้าวไกลไม่กังวลถูกยุบพรรค กรณีเสนอแก้ม.112 เป็นเรื่องนิติบัญญัติไม่ขัด รธน.</li>
<li>‘ก้าวไกล’ เปิดคำร้องแบบเต็ม ปมถูกกล่าวหา ‘ล้มล้างการปกครอง’ เหตุเสนอแก้ 112 ยัน ‘แก้ไขไม่ใช่ล้มล้าง’</li>
<li>‘พิธา’ ยังรอดคดีหุ้น ITV ศาล รธน.เห็นว่า ITV ไม่ได้ทำสื่อแล้ว แม้ไม่รับฟังว่าพิธาโอนหุ้นให้น้องแล้ว</li>
</ul>
</div>
<h2><span style="color:#2980b9;">ศาลรัฐธรรมนูญรู้ตัวหรือไม่ว่าถูกใช้เป็นเครื่องมือทางการเมือง</span></h2>
<p>“ผมนั่งทบทวนสิ่งที่เกิดขึ้นที่อังกฤษ” อานนท์เล่าถึงกรณีของอังกฤษ “นโยบายหาเสียงของพรรคก้าวไกลที่ถูกร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญว่าการแก้ไข 112 ถือเป็นการกระทําล้มล้างการปกครอง คนร้องอาศัยช่องทางรัฐธรรมนูญมาตรา 49 ยิงไปศาลรัฐธรรมนูญ เบื้องแรกก่อนเลยคือมันมีการใช้กลไกของศาลเพื่อให้มีผลทางการเมือง ถ้ามองมุมนี้ก็คือเอาศาลมาจัดการกับฝั่งที่นําเสนอความคิดเห็นที่สังคมไทยมักจะมองว่าเป็นฝั่งซ้ายโดยฝั่งขวา ถ้ามองในทางการเมืองอันนี้ก็เป็นปรากฏการณ์ของการใช้ศาลเป็นเครื่องมือ”</p>
<p>ประเด็นการใช้ศาลเป็นเครื่องมือทางการเมืองเคยเกิดขึ้นในอังกฤษในปี 2544 เมื่อสื่อฝ่ายซ้ายอย่างเดอะ การ์เดี้ยน ฟ้องศาลขอให้ศาลจัดการไม่ให้อัยการหรือตํารวจฟ้องร้องโดยอาศัย พ.ร.บ.กบฏ 1848 กับเดอะ การ์เดียนที่จะลงข่าวเกี่ยวกับการรณรงค์ระบอบสาธารณะในอังกฤษ</p>
<p>อานนท์กล่าวว่าสิ่งที่น่าสนใจคือศาลสูงอังกฤษ (ประเทศอังกฤษไม่มีศาลรัฐธรรมนูญ) ในเวลานั้นวินิจฉัยว่าผู้ฟ้องกําลังใช้ศาลเป็นเครื่องมือ ที่สําคัญคือยังไม่มีการดําเนินคดีใดๆ เขาตั้งข้อสังเกตว่าประการแรกศาลรู้ตัวว่าศาลอาจจะถูกใช้เป็นเครื่องมือทางการเมือง ผู้พิพากษาศาลสูงในเวลานั้นจะวินิจฉัยว่าการรณรงค์ระบอบสาธารณรัฐไม่เข้าข่ายการล้มล้างสถาบัน ผู้พิพากษาในคดีดังกล่าวกล่าวว่ากฎหมายต้องตีความให้สอดคล้องกับสภาพสังคมเท่าที่เป็นอยู่ในเวลาปัจจุบันโดยเฉพาะอย่างยิ่งการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน</p>
<p>“จุดนี้น่าสนใจยังไง มันเป็นการที่ศาลรู้ตัว สอง ศาลกําลังบอกสังคมว่าพวกที่ใช้ศาลเป็นเครื่องมือไม่ใช่สิ่งดี ในทางกฎหมาย มันจะสร้างความปั่นป่วนวุ่นวาย ข้อสังเกตตรงนี้น่าสนใจมากว่าปกติเราไม่ค่อยเห็นศาลบอกว่าศาลกำลังถูกใช้เป็นเครื่องมือทางการเมือง ส่วนศาลไทยไม่เห็นว่าตนเองถูกใช้เป็นเครื่องมือหรือศาลคิดว่าเรื่องนี้เป็นสิ่งที่มีหน้าที่ต้องจัดการอยู่แล้วตามกลไกทางกฎหมายที่มีอยู่”</p>
<p>“ถ้าผมเป็นศาล ผมรู้ว่าศาลกําลังถูกใช้เป็นเครื่องมือทางการเมือง ประเด็นมีอยู่ว่าความผิดตามมาตรา 49 ในรัฐธรรมนูญ 60 เราตีความกันยังไง การนําเสนอเพื่อแก้ไขเฉยๆ เป็นการกระทําเพื่อล้มล้างการปกครองจริงไหม ผมว่าต้องดูเจตนาของการกระทําว่ามันเป็นการล้มล้างจริงๆ หรือเปล่า หรือว่าเจตนาของเขาต้องการทําให้สถาบันมีเสถียรภาพ ตัดแก้ไขปัญหาบางอย่างโดยสถาบันยังคงอยู่ ผมคิดว่าต้องดูเจตนาด้วย เพราะฉะนั้นลําพังการเสนอแก้ไขหรือยกเลิก 112 มันง่ายเกินไปที่จะบอกว่าเขามีเจตนาเพื่อล้มล้าง”</p>
<p>“ข้อที่น่าสังเกตคือประเทศสําคัญอย่างเยอรมนีซึ่งมีมาตราเกี่ยวกับการล้มล้างระบอบรัฐธรรมนูญ แต่เขาจะดูว่าการกระทําดังกล่าวเป็นภยันตรายใกล้จะถึงต่อระบอบการเมืองจริงๆ หรือเปล่า ผมกําลังมองความได้สัดส่วนของการตีความว่าคุณร้อนตัวเกินไปไหม เรื่องแค่นี้ไม่มีทางเลยที่จะล้มล้างตัวระบอบการเมืองหรือสถาบันได้ เป็นข้อสังเกตจากทางฝั่งเยอรมนีซึ่งก็มีบทบัญญัตินี้ แล้วไทยเราลอกมา”</p>
<p>อานนท์เห็นว่าการเขียนคําร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญผ่านมาตรา 49 ทำได้ไม่ยาก แต่สุดท้ายแล้วมันเป็นการผลักปัญหาให้ศาลไปทําหน้าที่ พรรคการเมืองต้องอยู่บนสายพานคดีความ ศาลรัฐธรรมนูญก็ต้องต้องทําเรื่องดังกล่าว ศาลเองและสังคมไทยต้องตระหนักว่ามันอาจจะนำไปสู่การใช้ศาลเป็นเครื่องมือโดยหยิบยืมทรัพยากรจากรัฐ อานนท์เห็นว่าควรตัดช่องทางมาตรา 49 ทิ้งไปซึ่งระบุว่า บุคคลใดกระทําการเพื่อล้มล้างระบอบการปกครองประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ถ้ามีผู้ใดเห็นการกระทําดังกล่าวให้ให้ยื่นต่ออัยการสูงสุดได้ ถ้าอัยการสูงสุดไม่ทําหน้าที่นี้ต่อภายใน 15 วัน คนนั้นสามารถข้ามไปฟ้องศาลรัฐธรรมนูญได้ เพราะยังมีกลไกอื่นที่ใช้ได้อยู่ เช่น ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 116 ความผิดฐานกบฏเรื่องล้มล้างรัฐธรรมนูญหรือแม้กระทั่งมาตรา 112 เขาตั้งข้อสังเกตว่ามาตรา 49 เป็นมาตราที่ถูกเพิ่มเข้ามาเพื่อใช้จัดการกับพรรคการเมือง</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53072368572_426247f42e_b.jpg" /></p>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#e67e22;">อ่านเนื้อหาคำร้องกรณีพรรคก้าวไกลถูกกล่าวหา ‘ล้มล้างการปกครอง’ เหตุเสนอแก้ 112 ได้</span><span style="color:#e67e22;">ที่นี่</span><span style="color:#e67e22;"> </span></p>
<h2><span style="color:#2980b9;">ผลกระทบจากคำวินิจฉัยวันที่ 31 ถ้าก้าวไกลผิด 112 จะแตะต้องไม่ได้เลยหรือไม่</span></h2>
<p>ในวันที่ 31 มกราคมนี้ถ้าศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าพรรคก้าวไกลผิดจะสร้างผลกระทบ 2 ประการ ประการแรกคือการใช้คำวินิจฉัยนี้ไปสู่การยุบพรรคก้าวไกลและทำลายเจตนารมณ์ของประชาชนที่เลือกพรรคก้าวไกล ประการที่ 2 ซึ่งส่งผลรุนแรงกว่าคือ</p>
<p>“ถ้าการเสนอนโยบายยกเลิกหรือแก้ไข 112 เป็นการกระทําที่เป็นการล้มล้างซึ่งผมไม่เห็นด้วย แต่ถ้าตีความไปถึงจุดนั้นผมคิดว่าสังคมไทยจะเหนื่อยหนัก แล้วจะทําให้เรื่องนี้ถูกพูดกันในที่ลับ ถูกพูดกันอย่างไม่เปิดเผยและโดยสันติวิธีเพราะพื้นที่ที่จะคุยอย่างเปิดเผยไม่มี 112 จะถูกมองว่ายกเลิกไม่ได้อีกเลย แต่ผมอยากฟังมากว่าถ้าแก้ไขได้ไหม ต้องรอดูคำวินิจฉัย”</p>
<p>กรณีนี้เป็นการปะทะกันระหว่าง 2 คุณค่าคือการคุ้มครองสถาบันกษัตริย์กับเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น อานนท์ไม่แน่ใจว่าสังคมไทยรู้จักการชั่งน้ําหนักของคุณค่าทั้งสองคุณค่าให้ไปด้วยกันได้หรือไม่เช่นที่หลายๆ ประเทศสามารถทำได้ เพราะสังคมไทยมักจะมีผู้แพ้และผู้ชนะไปเลย</p>
<p>กลับไปยังประเทศอังกฤษอีกครั้งซึ่งมีการคุ้มครองพระประมุขของรัฐเช่นกัน ขณะเดียวกันก็คุ้มครองเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของผู้คนด้วย ทำให้เห็นปรากฏการณ์หลายๆ เรื่องในอังกฤษ ตราบใดที่การแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ไม่ได้ใช้ความรุนแรง เป็นเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นโดยสันติวิธีตราบนั้นการแสดงความเห็นย่อมทําได้</p>
<p>“ยกตัวอย่างเช่นการถือป้ายประท้วงว่า Not My King หรือเชิดชูสาธารณรัฐในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของคิงชาร์ลที่ 3 ถามว่าอังกฤษจัดการกับการแสดงความคิดเห็นที่เลยเถิดไหม จัดการ แต่เป็นการจัดการบนคอนเซ็ปต์ของการก่อความไม่สงบต่อสังคมหรือการใช้ความรุนแรงในการแสดงความคิดเห็นหรือการกระทําต่อสถาบันพระมหากษัตริย์”</p>
<p>นอกจากนั้น ศาลรัฐธรรมนูญก็กําลังปะทะกับเสียงของประชาชนที่เลือกพรรคก้าวไกล ศาลรัฐธรรมนูญทุกที่ที่อานนท์ศึกษาไม่มีอํานาจตรวจสอบนโยบายพรรคการเมือง</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/51570397235_5b0f353e6b_b.jpg" /></p>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#e67e22;">ภาพโดยแมวส้ม</span></p>
<h2><span style="color:#2980b9;">ล้ำเส้น</span></h2>
<p>กับประเทศไทย หลายเหตุการณ์ที่ศาลรัฐธรรมนูญล้ำเส้นเข้าไปในแดนการเมือง เช่นคําวินิจฉัยในคดีเกี่ยวกับประมวลกฎหมายอาญาความผิดฐานทําแท้ง นอกจากศาลจะต้องตัดสินว่าบทบัญญัติที่มีการร้องนั้นขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่แล้ว ศาลขยับสู่ประเด็นว่าเห็นควรปรับปรุงความผิดอาญาฐานทําแท้งหรือไม่ด้วย เพราะโดยหลักแล้วศาลรัฐธรรมนูญจะตัดสินว่าขัดหรือไม่ขัดรัฐธรรมนูญเท่านั้น ไม่แสดงความเห็นว่าควรปรับปรุงกฎหมายหรือไม่ เพราะเป็นแดนของฝ่ายนิติบัญญัติ</p>
<p>ศาลรัฐธรรมนูญต้องตระหนักถึงเขตอํานาจที่จํากัดของตน ไม่เล่นนอกสนาม เพราะจะมีปัญหาตามมาเนื่องจากมันเบียดผู้เล่นในสนามอื่นซึ่งเป็นสนามที่รัฐธรรมนูญไม่ได้อนุญาตให้ศาลนรัฐธรรมนูญลงไปเล่น เช่น การการกําหนดมิตินโยบายของรัฐว่าควรปรับปรุงกฎหมายหรือไม่ไม่ใช่หน้าที่ศาลรัฐธรรมนูญ</p>
<p>“อีกตัวอย่างหนึ่งที่ทุกคนเห็นและกลายเป็นมีมก็คือตุลาการบนบัลลังก์ออกมาพูดเรื่องทำให้ถนนลูกรังหมดไปเสียก่อน เพราะฉะนั้นเขาต้องรู้ตัวเองว่ามีอำนาจจำกัดและพยายามจํากัดอํานาจตัวเอง เว้นเสียแต่ว่าไม่คิด สิ่งที่น่ากลัวคือพอไม่คิด สิ่งที่ตัดสินมันเลยสนามที่ตัวเองเล่นได้ แล้วมันถูกอธิบายว่ามันส่งผลผูกพันองค์กรอื่นให้ต้องปฏิบัติตาม แล้วใครจะกล้าบอกว่าสิ่งที่คุณเล่นนอกสนามฉันไม่ต้องคํานึงถึง”</p>
<div class="more-story">
<ul>
<li>วรเจตน์ ภาคีรัตน์: ประชาธิปไตยจะหดแคบ อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขจะขยายพื้นที่</li>
<li>วรเจตน์ ภาคีรัตน์: 112 กับ สถาบันกษัตริย์: 1 ทศวรรษเพื่อการทบทวน [คลิป]</li>
<li>ไชยันต์ ไชยพร: 10 ข้อเสนอ 10 สิงหา #ธรรมศาสตร์จะไม่ทน ‘ไม่ใช่การล้มล้างสถาบัน’</li>
</ul>
</div>
<h2><span style="color:#2980b9;">ยังต้องมีหรือไม่และมีอย่างไร</span></h2>
<p>ถึงเราจะเห็นการล้ำเส้นของศาลรัฐธรรมนูญหลายเหตุการณ์ แต่อานนท์ยังเห็นว่ายังควรมีศาลรัฐธรรมนูญ แม้ว่าปรากฏการณ์ยุคหลังๆ ศาลรัฐธรรมนูญถูกวิพากษ์วิจารณ์มากว่าอยู่ภายใต้อํานาจครอบงําในยุครัฐประหาร แล้วศาลรัฐธรรมนูญในยุครัฐประหารก็เดินหน้าต่อในยุคที่พยายามเป็นประชาธิปไตย ซึ่งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญจำนวนไม่น้อยมาจากวุฒิสภาที่มาจากการแต่งตั้งโดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ดังนั้น การได้มาซึ่งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญต้องเป็นประชาธิปไตยมากกว่านี้ กล่าวคือให้ผู้แทนประชาชนเป็นผู้คัดเลือก</p>
<p>“ถามว่ามันสําคัญยังไง ผมเชื่อว่าผู้แทนปวงชนอย่างน้อยที่สุดเขามีความชอบธรรม สองเขาฟังครับ และเขามักจะเป็นตัวแทนของเสียงในสังคม ไม่ใช่เสียงจากคนใดคนหนึ่ง เพราะฉะนั้นผมคิดว่าภาพสะท้อนของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่ออกมาจากผู้แทนประชาชนน่าจะ represent ความคิดของผู้คนในสังคมนั้นได้</p>
<p>“ในส่วนกลไกเกี่ยวกับอํานาจ ผมคิดว่าหลายเรื่องต้องมานั่งคุยกันว่าขอบเขตอํานาจ 13 ข้อ เรื่องไหนไม่ควรอยู่ในอํานาจศาลรัฐธรรมนูญ ยกตัวอย่างเช่นการถือหุ้นสื่อ การควบคุมกิจการสื่อ มันเป็นปัญหามากว่าทําไมรัฐธรรมนูญถึงต้องวางยาแรงขนาดนี้กับคนที่เป็นเจ้าของสื่อ นี่ยังไม่รวมปัญหาว่าการตีความว่าอะไรเป็นสื่อหรือไม่เป็นสื่อ บทบัญญัติรัฐธรรมนูญมาตรานี้เป็นผลผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นหลังการยึดอํานาจรัฐบาลคุณทักษิณยุบหุ้นไอทีวีแล้วก็ตกมาถึงรัฐธรรมนูญปัจจุบัน การห้ามนักการเมืองถือหุ้นในกิจการสื่อเพราะกลัวการครอบงำ</p>
<p>“วิธีคิดแบบนี้สวนกระแสปัจจุบันที่ทุกคนทำสื่อได้ การตีความว่าเป็นเจ้าของสื่ออาจจะมีปัญหาก็ได้ มันควรเป็นเสรีภาพของเขาไหมที่จะใช้ชีวิตหรือชอบในการสื่อสารต่อสังคมอย่างนั้น แต่เรื่องสำคัญประการที่สองก็คือการเชื่อว่าคนเราถูกครอบงําได้ ผมว่ามันมาเกิดจาก perception ที่ดูแคลนคนและสังคมนั้นคุ้นชินกับการครอบงํามาโดยตลอด หรือสังคมนั้นรู้ตัวเองว่าใช้สื่อในการควบคุมได้ซึ่งแสดงว่าสังคมนั้นไม่ได้มีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของทุกคนจริงๆ หรอก บทบัญญัตินี้อย่าว่าแต่อยู่ในอํานาจศาลรัฐธรรมนูญเลย มันไม่ควรอยู่ในอํานาจศาลไหนเลยด้วยซ้ำ”</p>
<div class="more-story">
<ul>
<li>[Live] ล้มล้าง-รุนแรง : 3 ปี 10 ข้อเรียกร้องปฏิรูปสถาบันฯ และการเคลื่อนไหวทะลุวัง</li>
<li>ครบรอบ 2 ปี ย้อนดู 10 ข้อเสนอปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ 'แนวร่วมธรรมศาสตร์ฯ' ตอนนี้ไปถึงไหน </li>
</ul>
</div>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53057756660_331be6a4a6_b.jpg" /></p>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#e67e22;">ภาพโดย แมวส้ม</span></p>
<h2><span style="color:#2980b9;">ปฏิรูปกระบวนการพิจารณาคดี</span></h2>
<p>อานนท์ยังเสนอให้มีการปฏิรูประบบการทำงานของศาลรัฐธรรมนูญด้วย โดยระบบไต่สวนที่ถูกใช้ miracle word ว่าศาลรัฐธรรมนูญมีอํานาจไต่สวนเพื่อหาความจริง แต่คําถามคือเมื่อศาลได้ข้อเท็จจริงมาแล้วศาลได้ฟังความทุกฝ่ายหรือยัง ศาลได้ให้โอกาสฝ่ายผู้ถูกร้องโต้แย้งหรือไม่</p>
<p>“ระบบไต่สวนของศาลที่ใช้และกล่าวอ้างว่าคือการหาความจริง จริงๆ แล้วมันไม่แฟร์เพราะสิ่งที่คุณได้มาจากคุณนู้นคนนี้คุณไม่ได้เอามากางสรุปหรือเปิดโอกาสให้จําเลยได้โต้แย้งว่าตรงไหนบ้างที่เขาไม่เห็นด้วย ตอนที่มีม็อบเวทีตรงลานพญานาคเรื่องข้อเสนอปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ 10 ข้อ ศาลรัฐธรรมนูญมีคําสั่งเรียกเอกสารจากหน่วยงานต่างๆ รวมถึงธรรมศาสตร์ด้วย ผมถามฝั่งจําเลยในคดีว่ารู้ไหมเขาเรียกอะไรไปจากธรรมศาสตร์บ้างและมีโอกาสโต้แย้งไหม พวกเขาบอกไม่รู้เลย</p>
<p>“มันเป็นข้อบกพร่องในตัวกฎหมายศาลรัฐธรรมนูญเองว่าสิ่งที่ศาลระบุว่าไต่สวนเรียกเอกสาร ทำไมไม่แผ่ล่ะว่าสุดท้ายแล้วศาลได้อะไรมา คุณมีอะไรจะเถียงอีกไหม ซึ่งศาลปกครองทำนะครับ ศาลปกครองใช้ระบบไต่สวนเหมือนกัน ศาลปกครองหาข้อเท็จจริงมาเองแล้วแผ่ให้ดูว่ามีใครจะเถียงตรงไหนไหม ถ้าเถียงเดี๋ยวไปต่อ หากันจุดนั้นให้จบ แต่ศาลรัฐธรรมนูญเหมือนหาของเข้าลิ้นชักเข้าบ้านคนเดียว ถ้ามีโอกาสผมคิดว่าเรื่องกระบวนการในศาลรัฐธรรมนูญก็น่าคิด”</p>
<p>สังคมไทยรอคำวินิจฉัยที่จะมาถึงด้วยอารมณ์หลากหลาย ไม่ว่าผลจะเป็นเช่นไรก็ไม่ได้ลบล้างข้อเท็จจริงที่ว่าศาลรัฐธรรมนูญได้ล้ำเข้าไปในเขตแดนอำนาจของผู้เล่นทางการเมืองอื่น และการร่างรัฐธรรมนูญที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต ศาลรัฐธรรมนูญจำเป็นต้องถูกถกเถียงอภิปรายอย่างเข้มข้นเพื่อหาข้อสรูปว่ายังควรมีอยู่หรือไม่ ถ้าจะยังคงมีอยู่ ขอบเขตอำนาจและกระบวนวิธีการพิจารณาควรเป็นอย่างไร</p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%A1%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%93%E0%B9%8C-0" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">สัมภ
บันทึกการเข้า

นักข่าวหัวเห็ด แห่งเวบสุขใจ
อัพเดตข่าวทันใจ ตลอด 24 ชั่วโมง

>> http://www.SookJai.com <<
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.279 วินาที กับ 27 คำสั่ง

Google visited last this page 16 พฤษภาคม 2568 02:52:00