[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
30 เมษายน 2567 20:31:56 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - นักวิชาการชี้บทเรียนวิกฤตพม่าตอกย้ำแก้ปัญหาด้วยรัฐประหารทำให้ประเทศแตกเป็น  (อ่าน 37 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
สุขใจ ข่าวสด
I'm Robot
สุขใจ บอทนักข่าว
นักโพสท์ระดับ 15
****

คะแนนความดี: +101/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Italy Italy

กระทู้: มากเกินบรรยาย


บอท @ สุขใจ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 18 กุมภาพันธ์ 2567 16:09:07 »

นักวิชาการชี้บทเรียนวิกฤตพม่าตอกย้ำแก้ปัญหาด้วยรัฐประหารทำให้ประเทศแตกเป็นเสี่ยง
 


<span class="submitted-by">Submitted on Sun, 2024-02-18 15:26</span><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>นักวิชาการชี้บทเรียนวิกฤตพม่าตอกย้ำแก้ปัญหาด้วยรัฐประหารทำให้ประเทศแตกเป็นเสี่ยง ผู้ลี้ภัยผลัดถิ่นมากกว่า 1 ล้านคน เสียชีวิต บาดเจ็บพิการจากสงครามกลางเมืองหลายหมื่นคน รัฐบาลเผด็จการทหารบังคับเกณฑ์ทหารพลเรือน สะเทือนยอดแรงงานต่างชาติที่ได้รับอนุญาตทำงานในไทย กระทบภาคการผลิตและภาวะขาดแคลนแรงงานในไทยระยะหนึ่ง จะเกิดภาวะแรงงานพม่าหลบเข้าเมืองผิดกฎหมายมาทำงานเพิ่มขึ้น กระทบ แรงงาน MOU ไทยควรมีบทบาทนำในการเจรจาสันติธรรมและปกป้องมนุษยธรรม</p>
<p><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53385466253_770fc81603_o_d.png" />
<span style="color:#f39c12;">ภาพทหารพม่าเสริมกำลังในนครย่างกุ้งมากขึ้น เผยแพร่ในเทเลแกรมกลุ่มสนับสนุนรัฐบาลทหารพม่าเมื่อช่วงเดือน พ.ย. 2566 | ที่มาภาพ: Irrawaddy</span></p>
<p>18 ก.พ. 2567 รศ.ดร.อนุสรณ์ ธรรมใจ ประธานกรรมการบริหาร สถาบันปรีดี พนมยงค์ และกรรมการวิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  กล่าวว่า วิกฤตการณ์สงครามกลางเมืองในพม่าหลังการรัฐประหารเมื่อเดือน ก.พ. 2564 หลังผู้นำกองทัพไม่ยอมรับผลการเลือกตั้งของประชาชน ได้นำมาสู่ภาวะไร้เสถียรภาพ ความรุนแรงนองเลือด เกิดภาวะระส่ำระสายทางการเมืองไปทั่ว มีประชาชนกลายเป็นผู้ลี้ภัยและผลัดถิ่นไม่ต่ำกว่า 1 ล้านคน เสียชีวิตและบาดเจ็บพิการล้มตายหลายหมื่นคน เกิดวิกฤติทางเศรษฐกิจ ระบบสถาบันการเงินล่มสลาย เงินเฟ้อพุ่งขึ้นอย่างรุนแรง ความยากลำบากทางเศรษฐกิจปกคลุมไปทั่ว การด้อยค่าและดิ่งลงของค่าเงินจ๊าด เกิดภาวะขาดแคลนสินค้าจำเป็นพื้นฐาน ความมั่นคงสั่นคลอนอย่างรุนแรงอาจนำไปสู่ภาวการณ์แตกเป็นเสี่ยง ๆ ของสหภาพพม่า </p>
<p>ทั้งหมดนี้เป็นสิ่งที่ชนชั้นนำไทยพึงตระหนักถึงบทเรียนจากประเทศเพื่อนบ้าน และ ต้องแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ตามวิถีทางประชาธิปไตยและสถาปนาความยุติธรรมให้เกิดขึ้นในสังคมไทย และ ต้องมีการบังคับใช้กฎหมายอย่างเป็นธรรมในสังคมไทย ไม่ส่งเสริมการกระทำต่าง ๆ ที่ไป เซาะกร่อนบ่อนทำลาย ภราดรภาพ สันติธรรมและระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข หรือ สังคมไทยต้องช่วยกันลดการกระทำยั่วยุให้เกิดการขยายตัวของความขัดแย้งในบ้านเมือง ใช้การสานเสวนาและกลไกรัฐสภาในการแก้ไขปัญหาต่างๆอย่างถ้อยทีถ้อยอาศัยในฐานะเพื่อนร่วมชาติและเพื่อนร่วมโลก ความพยายามของ “เครือข่ายจารีตอนุรักษ์นิยมขวาจัดแบบอำนาจนิยม” ในการฟื้นคืนสู่อำนาจด้วยวิถีทางนอกระบบนิติรัฐนิติธรรม นอกวิถีทางประชาธิปไตย โดยใช้กลไกของรัฐธรรมนูญปี 2560 ที่เปิดช่องเอาไว้เกิดขึ้นได้เสมอหากเงื่อนไขทางการเมืองและสังคมสุกงอมพอ พวกเขาคงเลือกใช้ “นิติสงคราม” “ตุลาการภิวัฒน์” ก่อน หากไม่สำเร็จคงจะใช้กำลังยึดอำนาจรัฐประหารเช่นที่เคยเกิดขึ้นในประวัติศาสตร์ประชาธิปไตยอันลุ่มๆดอนๆของไทยในช่วง 92 ปีที่ผ่านมาหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง 24 มิ.ย. 2475 สังคมไทยและขบวนการของผู้รักชาติรักประชาธิปไตยจึงไม่ควรประมาทเพราะประเทศไทยมีรัฐประหารสำเร็จโดยเฉลี่ยทุก ๆ 7 ปี มีรัฐประหารมาแล้ว 13 ครั้ง ความพยายามในการก่อรัฐประหารอีกหลายครั้งที่ไม่สำเร็จกลายเป็นกบฎ ขอให้พวกเราช่วยกันรับมือความท้าทายของการสร้างเงื่อนไขเพื่อนำไปสู่การรัฐประหารในอีก 1-2 ปีข้างหน้านี้ ไม่ว่าจะเป็น การรัฐประหารโดยตุลาการ หรือ การรัฐประหารโดยกองทัพ เพื่อ เซาะกร่อนบ่อนทำลาย อำนาจอธิปไตยของประชาชน 
     
การเข้าแทรกแซงระบอบประชาธิปไตยในอนาคตด้วยการใช้รถถังหรืออาวุธมายึดอำนาจมีความเสี่ยงน้อยลง แต่จะมีการใช้ “นิติสงคราม” มากขึ้น “นิติสงคราม” นี้จะต้องมีการปูพื้นหรือสร้างกระแสในสังคมก่อนผ่านการใช้สงครามปฏิบัติการข่าวสารหรือไอโอเพื่อทำลายความชอบธรรมของฝ่ายตรงกันข้าม ปฏิบัติการข่าวสารบิดเบือน ไอโอของข่าวลวงข่าวเท็จพวกนี้จะพุ่งเป้าทำลายไปที่นโยบายของพรรคการเมือง สถาบันพรรคการเมือง และ นักการเมืองทั้งหลาย โดยเฉพาะพรรคการเมืองและนักการเมืองที่มีจุดยืนประชาธิปไตย การปฏิบัติการข่าวสารบางส่วนจะใช้ ข้อมูลกึ่งเท็จกึ่งจริง เพื่อทำลายภาพลักษณ์นักการเมืองให้เสียหายจนประชาชนสิ้นศรัทธา หรือ การปลุกปั่นความคิดทางการเมืองแบบอนุรักษ์นิยมขวาจัด หรือ แอบอ้างสถาบันสำคัญของชาติในการสร้างความแตกแยกในสังคมอย่างสุดโต่ง ทำลายบรรยากาศของความเห็นต่างที่สามารถอยู่ร่วมกันได้ด้วยการพูดคุยด้วยเหตุผล ปฏิบัติการไอโอของเครือข่ายจารีตอนุรักษ์นิยมขวาจัดสุดโต่งอำนาจนิยม มักจะ แอบอ้างสถาบันสำคัญของชาติ และมีการทำงานอย่างเป็นระบบ เป็นเครือข่ายจนกระทั่งพัฒนาสู่ความเป็นสถาบันหรือฝังตัวอยู่ในบางสถาบันแล้วในขณะนี้ การแก้ปัญหาอย่างทันท่วงทีด้วยการโต้กลับด้วยความจริงและเหตุผลอย่างมีประสิทธิภาพเท่านั้นที่จะรักษาความมั่นคงของระบอบประชาธิปไตยและความสันติสุขของสังคมได้ และ สามารถ สกัดกั้น การเซาะกร่อนบ่อนทำลาย ของฝ่ายปรปักษ์ประชาธิปไตย ได้อย่างมีประสิทธิผล     </p>
<p>ดร.อนุสรณ์ กล่าวต่อว่า พม่าประเทศที่ตกอยู่ภายใต้การปกครองของระบอบเผด็จการทหารอย่างยาวนาน 50 ปี และมีประชาธิปไตยในช่วงสั้น ๆ ประเทศกำลังไปได้ดีและเกิดความรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจ นักลงทุนต่างชาติแห่เข้าไปลงทุนในพม่าจนพลิกโฉมให้สหภาพพม่าทันสมัยขึ้นอย่างไม่เคยปรากฎมาก่อนในยุคการปกครองแบบปิดประเทศของผู้นำกองทัพ ชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนกำลังจะดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ประชาธิปไตยที่ดำเนินมาเกือบทศวรรษต่อเนื่องจากรัฐบาลทหารสายปฏิรูป พรรคสหสามัคคีและการพัฒนา ของประธานาธิบดี เตงเส่ง และ รัฐบาลพรรคสันนิบาตเพื่อประชาธิปไตย หรือ พรรคเอ็นแอลดี สะดุดหยุดลงด้วยการรัฐประหารล่าสุดของผู้นำกองทัพในปี พ.ศ. 2564  สถานการณ์ในพม่าได้ตอกย้ำให้หลายประเทศตระหนักถึงผลกระทบของการรัฐประหารโดยใช้กำลัง ว่าทำให้ประเทศแตกเป็นเสี่ยง ผู้ลี้ภัยผลัดถิ่นมากกว่า 1 ล้านคน เสียชีวิตจากสงครามกลางเมืองหลายหมื่นคน</p>
<p>สถานการณ์สงครามกลางเมืองล่าสุดในพม่า กองทัพพม่าภายใต้รัฐบาลเผด็จการทหาร มิน อ่อง ล่าย ประสบความพ่ายแพ้ยับเยินในหลายพื้นที่ต่อกองกำลังต่อต้านการรัฐประหาร รัฐบาลเอกภาพแห่งชาติพม่า (NUG) และ กองกำลังกลุ่มชาติพันธุ์ รัฐบาลเผด็จการทหารพม่าจึงได้บังคับเกณฑ์ทหารพลเรือนขึ้น โดยประกาศบังคับเกณฑ์ทหารดังกล่าวจะครอบคลุมแรงงานหนุ่มสาวชาวพม่าที่เข้ามาทำงานในประเทศไทยภายใต้ MOU ด้วย  สภาวะดังกล่าวจะกระทบต่อภาคการผลิตบางกิจการของไทยและจะเกิดภาวะขาดแคลนแรงงานในไทยเป็นการชั่วคราวระยะหนึ่งเท่านั้น เพราะจะเกิดภาวะแรงงานพม่าหลบเข้าเมืองผิดกฎหมายมาทำงานเพิ่มขึ้น คนหนุ่มสาวจะหนีการเกณฑ์ทหารเข้ามาเป็นผู้ลี้ภัยในค่ายอพยพหรือเข้ามาเป็นแรงงานเข้าเมืองผิดกฎหมายเพิ่มขึ้น หากประเมินดูตลาดแรงงานของไทยพบว่า ประชากรในวัยทำงานของไทยลดลงอย่างต่อเนื่องและในอัตราเร่งมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560 ปัจจุบันประเทศไทยเข้าสู่สังคมสูงอายุอย่างสมบูรณ์แล้ว โดยปี 2566  มีผู้สูงวัย 20% วัยแรงงาน 63% และวัยเด็กเพียง 16% ประชากรในวัยทำงานปัจจุบันอยู่ที่ 42.4 ล้านคน และ มีแนวโน้มลดลงต่อเนื่อง ขณะนี้บางกิจการ บางอุตสาหกรรมสามารถทำการผลิตต่อไปได้โดยอาศัยแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้าน บางอุตสาหกรรมปรับใช้เครื่องจักรอัตโนมัติ ระบบหุ่นยนต์และเอไอมากขึ้น พึ่งพิงแรงงานมนุษย์ลดลง และผลิตภาพเพิ่มสูงขึ้น   จากงานวิจัยของ ธนาคารโลก เรื่อง “Aging and the Labour Market in Thailand พบว่า ภาวะประชากรสูงวัยส่งผลกระทบอย่างมากต่อตลาดแรงงานไทยและการพัฒนาเศรษฐกิจโดยรวม จำนวนประชากรวัยทำงานที่ลดลงของประเทศไทยส่งผลให้รายได้เฉลี่ยของบุคคลในประเทศเติบโตลดลง และหากไม่มีการปรับเปลี่ยนหรือเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากร คาดการณ์ว่าจะส่งผลให้การเติบโตของ GDP ต่อหัวลดลงอีกร้อยละ 0.86 ในทศวรรษ 2020 ซึ่งสามารถส่งผลกระทบต่อตลาดแรงงานอย่างมาก นอกจากนี้รายงานยังระบุว่า หากอัตราการมีส่วนร่วมในตลาดแรงงานนั้นคงที่ตามอายุและเพศแล้ว โครงสร้างประชากรของประเทศไทยจะเปลี่ยนไปโดยคาดการณ์ว่าจะส่งผลให้อัตราการมีส่วนร่วมของแรงงานโดยรวมจะลดลงประมาณร้อยละ 5 ระหว่างปี 2563 ถึงปี 2603 และจำนวนแรงงานลดลงถึง 14.4 ล้านคน ทั้งนี้จำนวนแรงงานที่ลดลงอาจส่งผลให้ประเทศอยู่ในภาวะขาดแคลนแรงงานซึ่งอาจขัดขวางโอกาสในการเติบโตของประเทศไทยได้ อย่างไรก็ตาม การนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้มากขึ้น อาจช่วยบรรเทาปัญหาการขาดแคลนแรงงานได้บางส่วน ในขณะที่ผลกระทบต่อประเทศอื่นๆ อาจทวีความรุนแรง เนื่องจากความต้องการแรงงานที่มีทักษะความชำนาญในด้านนี้เพิ่มมากขึ้น </p>
<p>ปัญหาการขาดแคลนแรงงานได้บรรเทาลงอย่างมากจากแรงงานต่างด้าวจากประเทศเพื่อนบ้าน ภาคการผลิต ภาคบริการในหลายกิจการต้องอาศัยแรงงานต่างชาติไม่ต่ำกว่า 60-70% ของกำลังแรงงานทั้งหมด หากพิจารณาตัวเลขข้อมูลล่าสุด พบว่า จำนวนแรงงานต่างด้าวที่รับอนุญาตอย่างถูกกฎหมายภายใต้มาตรา 59 (ทั้งแบบทั่วไป และ นำเข้าแรงงานตาม MOU) มาตรา 62 (ส่งเสริมการลงทุน) มาตรา 63/1 (ชนกลุ่มน้อย) มาตรา 63/2 (ตามมติ ครม 7 กุมภาพันธ์ และ มติ ครม 3 ตุลาคม 2566) และ แรงงานต่างด้าวทำงานแบบไปกลับตามมาตรา 64 ตามพระราชบัญญัติ การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว ยอดคงค้างรวมที่ยังคงทำงานในประเทศในเดือนมกราคม พ.ศ. 2567 อยู่ที่ 3.145 ล้านคน ในจำนวนแรงงานต่างด้าวสามล้านกว่าคนนี้เป็นชาวพม่ามากกว่า 1.4 ล้านคน คิดเป็น 44% ของแรงงานต่างด้าวทั้งหมด และ ส่วนใหญ่เป็นคนหนุ่มสาว หากถูกเรียกเกณฑ์ทหารแล้วกลับไปพม่า จะกระทบต่อภาคการผลิตและเศรษฐกิจไทยทันที อย่างไรก็ตาม การประกาศการบังคับเกณฑ์ทหารของรัฐบาลเผด็จการทหารพม่าอาจไม่มีผลในทางปฏิบัติหากรัฐไทยไม่ให้ความร่วมมือส่งกลับ เพราะแรงงานพม่าส่วนใหญ่คงไม่มีใครอยากกลับไปรบเพื่อรักษาอำนาจให้เผด็จการแต่อย่างใด ไม่ได้กลับไปรบเพื่อรักษาอธิปไตยของชาติ หากรัฐบาลชุดนี้ให้ความร่วมมือต่อการร้องขอของรัฐบาลเผด็จการทหารพม่าส่ง แรงงานภายใต้ MOU ก็จะเกิดปรากฏ หนีหมายเรียกบังคับเกณฑ์ทหาร กลายเป็น แรงงานเข้าเมืองผิดกฎหมายไป แรงงานพม่าอาศัยและทำงานอยู่ในกรุงเทพและปริมณฑลประมาณ 747,417 คน หากแรงงานเหล่านี้หายไปเกิน 50% บางธุรกิจอุตสาหกรรม หรือ กิจการจะเกิดภาวะชะงักงันในการทำงานทันที ฉะนั้น รัฐบาลไทยและหน่วยราชการต้องแสวงหาวิธีที่เหมาะสมในการไม่ส่งคนหนุ่มสาวที่ถูกหมายเกณฑ์กลับพม่า เพราะคนเหล่านี้ก็ไม่อยากกลับประเทศตัวเองอยู่แล้ว และ ยิ่งต้องไปถูกเกณฑ์เป็นทหารให้ปกป้องรักษา ระบอบเผด็จการมิน อ่อง ล่าย ยิ่งไม่มีใครอยากกลับ แรงงานเหล่านี้คงจะกลับประเทศเมื่อสงครามกลางเมืองและการปกครองของระบอบเผด็จการกดขี่สิ้นสุดลง ซึ่งอาจต้องใช้เวลาอีกหลายปี และเมื่อสถานการณ์ในพม่าเปลี่ยนแปลงไป รัฐไทยก็ต้องเริ่มคิดตั้งแต่วันนี้ว่า นโยบายสาธารณะเกี่ยวกับโครงสร้างประชากร นโยบายแรงงานและแรงงานต่างด้าวควรเป็นอย่างไร   </p>
<p>ดร.อนุสรณ์ ประเมินว่าหากรวมแรงงานต่างด้าวที่เข้าเมืองแบบไม่ถูกกฎหมายแล้ว แรงงานต่างด้าวที่ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยน่าจะมีจำนวนไม่ต่ำกว่า 5 ล้านคน หากสถานการณ์สงครามกลางเมืองในพม่ายังดำเนินต่อไปและมีการบังคับการเกณฑ์ทหาร จะมีคนหนุ่มสาวจำนวนมากหนีออกนอกประเทศผ่านทั้งช่องทางตามกฎหมายและช่องทางธรรมชาติตามแนวชายแดน ด้วยเหตุผลทางด้านมนุษยธรรมและผลบวกต่อเศรษฐกิจของไทย ไทยควรขยายบทบาทค่ายผู้ลี้ภัยด้วยความร่วมมือกับองค์การสหประชาชาติ และ การยืดอายุการทำงานให้กับแรงงานพม่าภายใต้ MOU ในประเทศไทยทั้งหมดเพื่อรักษาชีวิตของคนเหล่านี้เอาไว้และยังเป็นผลดีต่อภาคการผลิตและระบบเศรษฐกิจที่ไม่ต้องเผชิญปัญหาการขาดแคลนแรงงานที่อาจเกิดขึ้นจากมาตรการบังคับการเกณฑ์ทหารของรัฐบาลเผด็จการทหารพม่า   </p>
<p>การที่ ไทยและประชาคมอาเซียนที่เคยมีจุดยืนความสัมพันธ์ระหว่างประเทศโดยยึดหลักการ “ไม่แทรกแซงกิจการภายใน” ทำให้ มิติประชาธิปไตย มิติมนุษยธรรมและสิทธิมนุษยชน ไม่ใช่ประเด็นสำคัญในความสัมพันธ์ระหว่าง ไทย และ อาเซียน กับ พม่า ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ อดีตเลขาธิการอาเซียน ในสมัยเป็นรัฐมนตรีต่างประเทศของไทยได้นำเสนอแนวทางการทูตแบบ “พัวพันอย่างสร้างสรรค์” (Constructive Engagement) แต่รัฐบาลสมาชิกอาเซียนส่วนใหญ่ยังไม่เห็นด้วย จึงปรับมาใช้แนวทางหรือนโยบาย “ความพัวพันอย่างยืดหยุ่น” (Flexible Engagement) แทนและกรอบแนวทางนี้อาเซียนก็ใช้มาจนปัจจุบันนี้ แต่ดูเหมือนการฑูตของไทยในยุค รัฐบาล คสช จะไม่ค่อยยึดแนวทางนี้มากนัก จึงขอเรียกร้องให้ รัฐบาลชุดนี้ที่มีพรรคเพื่อไทยเป็นแกนนำ ได้ปรับเปลี่ยนนโยบายให้ความสำคัญต่อความเดือดร้อนและความทุกข์ยากของประชาชนประเทศเพื่อนบ้านมากขึ้น การที่รัฐบาลชุดนี้มีความริเริ่มให้เกิดพื้นที่ทางด้านมนุษยธรรมขึ้นก็ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี  ประเทศไทยและอาเซียน ควรมีบทบาทนำให้มีเจรจายุติการหยุดยิงและการหารือเพื่อให้เกิดสันติภาพในพม่า และนำไปสู่การคืนอำนาจให้ประชาชนผ่านการจัดการเลือกตั้งที่เป็นอิสระและยุติธรรม รัฐบาลไทยควรมีบทบาทเชิงรุกในการทำให้เกิดการเจรจาสันติภาพในพม่า บทบาทดังกล่าวของไทยจะช่วยรักษาชีวิตของพี่น้องประชาชนชาวพม่าผู้บริสุทธิ์ รักษาความสงบสันติภาพ ที่จะทำให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนทั้งสองฝั่งตามแนวชายแดน การยุติสงครามกลางเมือง และนำไปสู่การปฏิรูปประชาธิปไตยของพม่าจะเป็นผลโดยตรงจากความมุ่งมั่นและจริงจังของกลุ่มพลังต่างๆภายในประเทศ แต่การเปลี่ยนแปลงให้เกิด สันติธรรมประชาธิปไตยในพม่า นั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนจากอาเซียน ไทยและนานาชาติ รวมทั้งองค์การสหประชาชาติ  </p>
<p>ดร.อนุสรณ์ กล่าวอีกว่า การที่จะเปลี่ยนผ่านประเทศที่ปกครองแบบอำนาจนิยมเผด็จการทหารอย่างยาวนานให้เป็นประชาธิปไตย ทำให้ประเทศที่มีสงครามกลางเมือง เป็น ประทศที่มีสันติธรรม ย่อมไม่ใช่เรื่องง่ายอย่างแน่นอน การมีแนวทางพัวพันอย่างยืดหยุ่นและสร้างสรรค์ต่อพม่าของไทยและอาเซียนเป็นจุดเริ่มต้นที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงได้ และ อาจต้องเริ่มต้นให้มีการหยุดยิงและเจรจากันก่อน บทบาทของไทยมีความสำคัญ และ ไทยเคยทำสำเร็จมาแล้ว กรณีการเจรจาสันติภาพและยุติสงครามกลางเมืองในกัมพูชา มีการปรับเปลี่ยนนโยบายจากสนามรบเป็นสนามการค้า </p>
<p>ไทยสามารถแสดงบทบาทต่อสันติธรรมประชาธิปไตยในพม่าและอาเซียนได้ ไทยต้องแสดงให้เห็นถึงมาตรฐานและความก้าวหน้าบางอย่างที่สามารถยึดถือเป็นแบบอย่างได้ ดังต่อไปนี้  </p>
<p>1. ต้องมีการแก้ไขกติกาสูงสุดรัฐธรรมนูญของไทยให้ยึดถือหลักการประชาธิปไตยเสียก่อน เนื้อหาส่วนไหนที่ขัดแย้งต่อหลักการประชาธิปไตย และ เป็นเนื้อหาที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งในสังคมต้องตัดออก ต้องปลดปล่อยนักโทษทางความคิดและนักโทษทางการเมืองออกจากการจองจำ ยกเลิกกฎหมายที่ละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชน เป็นต้น </p>
<p>2. ไทยควรมีบทบาทนำในการเรียกร้องให้ รัฐบาลเผด็จการทหารพม่า ปฏิบัติตามฉันทามติ 5 ข้อของอาเซียน และ คณะกรรมการปรึกษาหารือเพื่อยุติสงครามกลางเมืองและฟื้นฟูประชาธิปไตยและสันติภาพในพม่า  </p>
<p>3. ไทยควรสนับสนุนการดำเนินงานของสหประชาชาติให้การสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านสู่ประชาธิปไตยของพม่า และ ประเทศอื่นๆในอาเซียนที่ยังมีปัญหาความเป็นประชาธิปไตยและละเมิดสิทธิมนุษยชนอยู่ </p>
<p>4. เพิ่มความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมแก่ประชาชนที่ตกอยู่ในอันตราย หรือ หลบหนีจากพม่า และ ประสบความยากลำบากทางเศรษฐกิจและการดำเนินชีวิตอย่างรุนแรง ร่วมกับอาเซียนในการเรียกร้องให้ปล่อยตัวผู้ถูกคุมขังโดยพลการ รวมทั้งผู้ที่ถูกจำคุกโดยไม่เป็นธรรมทั้งหมด </p>
<p>5. เพิ่มแรงกดดันทางการทูต ผ่าน คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติและที่ประชุมสมัชชาเพื่อหยุดยั้งการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างรุนแรงในพม่า </p>
<p>6. เรียกร้องกดดันให้กองทัพพม่ายุติปฏิบัติการโจมตีทางอากาศต่อพลเรือน </p>
<p>7. รัฐบาลใหม่ต้องดำเนินการกวดขันตามแนวชายแดนเพื่อยุติการส่งมอบอาวุธและทรัพยากรอื่นๆที่ถูกใช้เพื่อปรามปรามประชาชนและละเมิดสิทธิมนุษยชนของกองทัพพม่า รัฐบาลต้องดำเนินการอย่างจริงจังในการปราบปรามขบวนการค้าอาวุธค้ายาเสพติดที่เจ้าหน้าที่ไทยเข้าไปเกี่ยวข้อง</p>
<p>8. ต้องสร้างเครือข่ายความร่วมมือของขบวนการประชาธิปไตยในภูมิภาคอาเซียน และ รักษาเอกภาพขบวนการประชาธิปไตยภายในแต่ละประเทศ และ สร้างพลังขับเคลื่อนให้เกิด “สันติธรรมประชาธิปไตย” ภายในประเทศและสร้างพลังเครือข่ายร่วมกันเพื่อให้ภูมิภาคนี้ เป็นภูมิภาคที่เคารพต่อสิทธิมนุษยชน ยึดถือมนุษยธรรม เป็นภูมิภาคที่มีเสถียรภาพและความมั่นคง สงบสันติ สิทธิเสรีภาพเบ่งบาน เป็นภูมิภาคอาเซียนของประชาชน โดยประชาชน เพื่อประชาชน ปัญหาความเป็นเผด็จการและอำนาจนิยมในแต่ละประเทศในภูมิอาเซียนนั้นไม่เหมือนกัน ฝ่ายปฏิปักษ์ประชาธิปไตยอำนาจนิยม ใน ไทย อาจดูโหดร้าย ใช้ความรุนแรงน้อยกว่า เผด็จการทหารพม่า เป็นระบอบอำนาจนิยมที่ฉลาดกว่า เนียนกว่า และ หลอกล่อให้ ขบวนการประชาธิปไตยแตกแยกลง และ อ่อนแอลง กรณีการจัดตั้งรัฐบาลภายใต้รัฐธรรมนูญปี 2560 อันบิดเบี้ยวเจตนารมณ์ของประชาชนส่วนใหญ่เป็นปรากฎการณ์ที่เราเห็นอย่างชัดเจน และ ขอให้ท่านติดตามความพยายามในการตัดสิทธินักการเมือง และ ยุบพรรคการเมืองฝ่ายประชาธิปไตย ให้ดี การกระทำดังกล่าวจะนำมาสู่วิกฤตการณ์ทางการเมืองและการเผชิญหน้าขัดแย้งรอบใหม่ได้ </p>
<p>9. ขยาย MOU ให้แรงงานต่างด้าวชาวพม่า ได้ทำงานในไทยต่อไป ซึ่งจะทำให้เกิดผลดีต่อเศรษฐกิจไทยและความมีมนุษยธรรมของสังคมไทย ร่วมมือกับองค์กรระหว่างประเทศโดยเฉพาะสหประชาชาติพัฒนาพื้นที่ทางด้านมนุษยธรรมปลอดการสู้รบเพื่อให้ผู้ลี้ภัยสงคราม ผู้รักสันติ ได้อพยพตั้งถิ่นฐานเป็นการชั่วคราวจนกว่า ประเทศพม่า จะมีสันติภาพ </p>
<p> </p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2024/02/108122
 

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

นักข่าวหัวเห็ด แห่งเวบสุขใจ
อัพเดตข่าวทันใจ ตลอด 24 ชั่วโมง

>> http://www.SookJai.com <<
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
[ข่าวมาแรง] - ศาลอนุมัติหมายจับเจ้าของโกดังเก็บดอกไม้เพลิงมูโนะ
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 355 กระทู้ล่าสุด 02 สิงหาคม 2566 14:49:17
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - ชาวแม่สะเรียงคัดค้านเหมืองแร่และโรงโม่หิน
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 129 กระทู้ล่าสุด 20 สิงหาคม 2566 17:06:12
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - แนะขยายโอกาสการศึกษาแก้ปัญหาความยากจนข้ามรุ่น
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 142 กระทู้ล่าสุด 28 สิงหาคม 2566 03:32:28
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - งานวิจัยชี้คนทำงานเป็นกะมีความเสี่ยงด้านความจำและการรับรู้
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 173 กระทู้ล่าสุด 28 สิงหาคม 2566 14:19:50
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - รพ.มิตรประชาพร้อมรับส่งต่อผู้ป่วยสิทธิบัตรทอง
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 150 กระทู้ล่าสุด 02 กันยายน 2566 11:02:13
โดย สุขใจ ข่าวสด
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.688 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 23 เมษายน 2567 21:00:20