[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
06 กรกฎาคม 2568 06:22:47 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - สรุปเสวนา: เมื่อความรุนแรงโดยรัฐล้นศาล ‘นิรโทษกรรม’ ทางออกกระบวนการยุติธรรมไท  (อ่าน 249 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
สุขใจ ข่าวสด
I'm Robot
สุขใจ บอทนักข่าว
นักโพสท์ระดับ 15
****

คะแนนความดี: +101/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Italy Italy

กระทู้: มากเกินบรรยาย


บอท @ สุขใจ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 21 กุมภาพันธ์ 2567 04:36:31 »

สรุปเสวนา: เมื่อความรุนแรงโดยรัฐล้นศาล ‘นิรโทษกรรม’ ทางออกกระบวนการยุติธรรมไทย?
 


<span class="submitted-by">Submitted on Wed, 2024-02-21 03:07</span><div class="field field-name-field-byline field-type-text-long field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><p><span style="color:#d35400;"><strong>ภาพ iLaw</strong></span></p>
</div></div></div><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><div class="summary-box" style="background:#eeeeee;border:1px solid #cccccc;padding:5px 10px;">
<ul>
<li>ทนายความเผยความประหลาดของกระบวนการยุติธรรมในการพิจารณาคดีการเมือง พร้อมตั้งคำถามถึงประโยชน์ที่สังคมได้รับจากการที่กระบวนการยุติธรรมดำเนินคดีกับประชาชนผู้ใช้เสรีภาพและเรียกร้องสิทธิของตนเอง</li>
<li>ทัศนีย์เล่าประสบการณ์ถูกจับ-ขึ้นศาลทหารจากคดีจดหมายประชามติ เชื่อตนเป็นเหยื่อคดีการเมืองเพราะเห็นต่างกับผู้มีอำนาจและมนุษย์ไม่สามารถคิดเหมือนกันทุกเรื่อง</li>
<li>พูนสุข ศูนย์ทนายฯ ชี้การให้ประชาชนขึ้นศาลทหารถือเป็นการแทรกแซงกระบวนการยุติธรรม</li>
<li>นักวิชาการ-นักการเมือง มองนิรโทษกรรมประชาชนเป็นทางออกแก้ปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองไทยที่สะสมมานาน</li>
</ul>
</div>
<p>21 ก.พ. 2567 เมื่อวันที่ 6 ก.พ. ที่ผ่านมา สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน (Human Rights Lawywers Association: HRLA) ได้จัดกิจกรรม Drink and Talk: เมื่อความรุนแรงโดยรัฐล้นศาล ‘นิรโทษกรรม’ ทางออกกระบวนการยุติธรรมไทย? ซึ่งประกอบไปด้วยนิทรรศการภาพถ่ายในคอนเซ็ปท์ความรุนแรงโดยรัฐและวงเสวนา ที่ ร้าน BEERGASM ปากเกร็ด จ.นนทบุรี โดยมีผู้ร่วมเสวนาทั้งหมด 5 คน ได้แก่ <strong>จันทร์จิรา จันทร์แผ้ว</strong> ทนายความและกรรมการสมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน <strong>พูนสุข พูนสุขเจริญ</strong> ฝ่ายนโนบายและกฎหมาย ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน <strong>มุนินทร์ พงศาปาน</strong> อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ <strong>ทัศนีย์ บูรณุปกรณ์</strong> อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและผู้ถูกดำเนินคดีในข้อหาตามมาตรา 116 และ <strong>วทันยา บุนนาค</strong> อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ดำเนินรายการโดย <strong>ยิ่งชีพ อัชฌานนท์</strong> ผู้อำนวยการโครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (iLaw) </p>
<h2><span style="color:#2980b9;">ความประหลาดของกระบวนการยุติธรรมในการพิจารณาคดีการเมือง</span></h2>
<h2><a data-flickr-embed="true" href="https://www.flickr.com/photos/prachatai/53541858588/in/dateposted/" title="DSC_3790"><img alt="DSC_3790" height="1068" src="https://live.staticflickr.com/65535/53541858588_dc6abb9799_h.jpg" width="1600" />[/url]
<script async="" src="//embedr.flickr.com/assets/client-code.js" charset="utf-8"></script></h2>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#e67e22;">จันทร์จิรา จันทร์แผ้ว</span></p>
<p>การเสวนาครั้งนี้เริ่มที่ประเด็นความยากและสถานการณ์คดีความทางการเมืองปัจจุบัน จันทร์จิรากล่าวว่า บทบาทของทนายความที่เกี่ยวข้องกับคดีทางการเมืองตอนนี้ คือ การดูแลทั้งคดีความที่ประชาชนตกเป็นจำเลยจากการไปใช้เสรีภาพในการชุมนุมเพื่อแสดงออกเพื่อเรียกร้องสิทธิทางการเมืองหรือสิทธิบางประการ เช่น ช่วงที่มีการระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้มีผู้ประกันตนหลายคนตกงานและรวมตัวชุมนุมกันเพื่อเรียกร้องสิทธิจากสำนักงานประกันสังคม คือ ขอเงินที่เคยสมทบให้ประกันสังคมออกมาให้เขาใช้ แม้จำนวนผู้ชุมนุมจะไม่มากแต่ก็ถูกฟ้องร้องดำเนินคดี</p>
<p>จันทร์จิราจึงตั้งคำถามกับการดำเนินคดีต่อประชาชนในลักษณะดังกล่าวว่า ประชาชนและสังคมนี้ได้ประโยชน์อะไรจากการที่กระบวนการยุติธรรมดำเนินคดีกับผู้ที่ออกมาใช้เสรีภาพและเรียกร้องสิทธิของตนเอง ขณะเดียวกันคดีเหล่านี้ล้วนมีต้นทุนทางเศรษฐกิจและสังคม คือ มีกรณีที่จำเลยยอมให้ศาลออกหมายจับเนื่องจากตนไม่สามารถไปตามนัดของศาลได้เพราะอยู่ในช่วงทดลองงานไม่สามารถขาดงานได้ หรือคดีมาตรา 112 ที่มีโทษหนักและมักไม่ได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวเมื่อเทียบกับคดีทั่วไปและมีจำเลยจำนวนมากที่เปลี่ยนใจมารับสารภาพเพื่อให้คดีสิ้นสุด </p>
<p>“แล้วเราหวังให้กระบวนการแบบนี้ก่อเกิดอะไรในสังคม ด้านหนึ่งผู้มีอำนาจอาจเห็นว่าควรดำเนินคดีเพื่อให้เกิดความเกรงกลัวต่อกฎหมาย แต่ถามว่าในระยะยาวกระบวนการยุติธรรมมันเป็นเครื่องมือที่เปลี่ยนความคิดใครได้หรือไม่ มันไม่ได้ มันมีแต่ถ้ากระบวนการไม่เป็นธรรมจะยิ่งส่งผลต่อความไม่พอใจและความคับแค้นต่อสิ่งที่เกิดขึ้น ซึ่งจริงๆ แล้ว กระบวนการยุติธรรมถือเป็นเครื่องมือหนึ่งของรัฐที่ใช้เพื่อยับยั้งเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นทางการเมืองของประชาชน เพราะฉะนั้น เราจะคาดหวังความเป็นธรรมกับการดำเนินคดีโดยองค์กรศาลที่เป็นส่วนหนึ่งของการยับยั้งเสรีภาพประชาชนได้อย่างไร” จันทร์จิรากล่าว</p>
<p><a data-flickr-embed="true" href="https://www.flickr.com/photos/prachatai/53541989239/in/photostream/" title="DSC_3839"><img alt="DSC_3839" height="1068" src="https://live.staticflickr.com/65535/53541989239_32c7853f83_h.jpg" width="1600" />[/url]</p>
<script async="" src="//embedr.flickr.com/assets/client-code.js" charset="utf-8"></script>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#e67e22;">ภาพคลิปวิดีโอกรณีวันทนา</span></p>
<p>กรณีฟ้องกลับเจ้าหน้าที่รัฐ เช่น คดีของ วันทนา โอทอง อายุ 62 ปี ที่ยืนรอขบวนอดีตนายกฯ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เมื่อวันที่ 13 มี.ค. 2566 ก่อนถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจหญิงนอกเครื่องแบบเข้าไปสกัดและควบคุมตัวไว้ ซึ่งวันทนาได้ฟ้องกลับเพื่อดำเนินคดีกับเจ้าหน้าที่ตำรวจเช่นกัน</p>
<p>ทั้งนี้ ในคดีนี้วันทนาได้ถูกพิพากษาจำคุก 6 เดือน 10 วัน ไม่รอลงอาญา โดยส่วนหนึ่งของคำพิพากษาได้กล่าวว่า  ‘...การที่วันทนาไปแจ้งความดำเนินคดีเจ้าหน้าที่ทำให้เจ้าหน้าที่เดือดร้อนและสูญเสียกำลังใจในการทำงาน…’</p>
<p>คำพิพากษาของศาลในกรณีของวันทนา ทำให้เห็นถึงการที่ศาลรับรองการใช้ความรุนแรงของเจ้าหน้าที่รัฐต่อประชาชน และส่งผลต่อหลักประกันสิทธิของประชาชนและการทำงานของเจ้าหน้าที่รัฐว่าสามารถอุดปากประชาชนที่มาแสดงออกทางการเมืองได้ แม้เจ้าหน้าที่จะอ้างว่าเหตุที่เอาใช้มืออุดปากเพราะวันทนาได้ตะโกนด่าอดีตนายกฯ และคนที่มาเชียร์อดีตนายกฯ เริ่มแสดงท่าทีไม่พอใจ จึงต้องใช้มือปิดปากเพื่อไม่ให้ได้รับอันตรายและรับประกันความปลอดภัยจากมวลชนฝ่ายตรงข้าม</p>
<div class="more-story" style="background:#eeeeee;border:1px solid #cccccc;padding:5px 10px;">
<ul>
<li>จำคุก “ป้าวันทนา” 6 เดือน 10 วัน ปรับ 1,000 ไม่รอลงอาญา เหตุตะโกนไล่ “ประยุทธ์” ที่บ้านโป่ง ก่อนได้ประกันตัว | ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน</li>
</ul>
</div>
<p>นอกจากนั้น ปัญหาที่พบระหว่างการทำคดีที่ประชาชนตกเป็นจำเลย คือ ความประหลาดของกระบวนการพิจารณาคดี เช่น การที่ผู้บริหารศาลเข้ามามีบทบาทในการพิจารณาคดีทำให้เกิดการเลื่อนนัดสืบพยานขึ้นมาเร็วขึ้นและตรงกับช่วงที่ทนายหรือจำเลยไม่ว่าง ทำให้เกิดการสืบพยานคดีโดยไม่มีทนาย แม้ศาลจะให้สิทธิจำเลยในการถามความพยานโจทก์เองก็ตาม บางคดีมีการตัดพยานและรีบตัดสินคดีภายใน 3 วัน หรือบางคดีศาลไม่อนุญาตให้เรียกพยานเอกสารเข้ามา ด้วยเหตุผลว่าเป็นข้อมูลที่ข้องเกี่ยวกับสถาบันฯ </p>
<p>“สิทธิขั้นพื้นฐานในการสู้คดีอย่างเต็มที่เราหาได้หรือไม่ในคดีลักษณะนี้… โดยเฉพาะคดี 112 เราเห็นว่ากระบวนการยุติธรรมไม่ใช่ทางออกสำหรับคดีเหล่านี้แน่นอน มันคือทางตัน เพราะฉะนั้น… การที่สังคมจะเดินหน้าต่อไปได้ การนิรโทษกรรมน่าจะเป็นทางออก… เราเข้าใจว่ากระบวนการยุติธรรมไม่ได้อยากรับภาระเหล่านี้ แต่เป็นสิ่งที่เลี่ยงไม่ได้ คดีชุมนุมตั้งแต่ 2564 ก็ทยอยฟ้องเรื่อย ๆ คำถามคือคดีเหล่านี้สังคมได้ประโยชน์อะไร” จันทร์จิรา กล่าว</p>
<h2><span style="color:#2980b9;"><strong>ทัศนีย์เล่าประสบการณ์ถูกจับ-ขึ้นศาลทหาร พูนสุขชี้เป็นการแทรกแซงกระบวนการยุติธรรม</strong></span></h2>
<h2><span style="color:#2980b9;"><a data-flickr-embed="true" href="https://www.flickr.com/photos/prachatai/53542098130/in/photostream/" title="DSC_3850"><img alt="DSC_3850" height="1068" src="https://live.staticflickr.com/65535/53542098130_2150b5ebbf_h.jpg" width="1600" />[/url]
<script async="" src="//embedr.flickr.com/assets/client-code.js" charset="utf-8"></script><p></p></span></h2>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#e67e22;">ทัศนีย์ บูรณุปกรณ์</span></p>
<p>ทัศนีย์ผู้เคยตกเป็นจำเลยคดีทางการเมืองและขึ้นศาลทหารหลังการรัฐประหาร 2557 จากการส่งจดหมายแสดงความคิดเห็นเรื่องร่างรัฐธรรมนูญในประเด็นที่มาและบทบาทของ สว. ในช่วงการทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญในปี 2559 ทำให้ทัศนีย์ถูกกล่าวหาว่า เป็นอั้งยี่ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 209 ยุยงปลุกปั่นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116 และก่อให้เกิดความวุ่นวายในการออกเสียงประชามติ ตามพ.ร.บ.ประชามติฯ โดยใช้ มาตรา 44 ในการควบคุมตัว</p>
<p>ด้วยเหตุดังกล่าวทำให้ฝ่ายความมั่นคงมาหาทัศนีย์ น้องสาวถูกปิดซอยล้อมบ้าน มีเจ้าหน้าที่มาตรวจค้นสถานที่ทำงาน มีการเช็คโทรศัพท์และคนที่เคยมีประวัติการติดต่อกับทัศนีย์ ทั้งเจ้าของโรงพิมพ์และคนที่ถูกฝากซื้อซองจดหมาย ทัศนีย์กล่าวว่า ตอนนั้นรู้สึกเหมือนตนเองเป็นอาชญากรสงคราม จากนั้นทัศนีย์และทีมงานต้องถูกจับกุมร่วม 15 คน บางคนไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการส่งจดหมายแต่อย่างใด ทำให้ต้องเข้าเรือนจำระหว่างชั้นสอบสวนเกือบเดือน สู้คดีในศาลทหารและพลเรือนร่วม 4 ปี ท้ายสุดศาลยกฟ้อง </p>
<p>หลังถูกจับกุม ทัศนีย์ต้องอยู่ในค่ายทหาร 1 สัปดาห์ และขึ้นศาลทหารเชียงใหม่ โดยไม่ได้รับสิทธิการประกันตัวเนื่องจากกลัวจะไปยุ่งกับพยานหลักฐาน ระหว่างอยู่ในเรือนจำทัศนีย์ได้พบเหตุการณ์หลายอย่างที่ทำให้เกิดการตั้งคำถามต่อสิทธิความเป็นมนุษย์ของตนเอง ทัศนีย์ถูกปฏิบัติเหมือนตนเองเป็นนักโทษทั้งที่คดียังไม่ถูกตัดสิน ทั้งการค้นตัวที่ทำตามระเบียบใส่ชุดนักโทษ การถ่ายรูปนักโทษ การนอนแบบนักโทษ มีผ้าปูให้ 3 ผืนและมีผ้าห่มและหมอนเล็กๆ ครอบครัวต้องมาเยี่ยมผ่านลูกกรงตลอด 20 กว่าวัน เหตุการณ์ตอนนั้นส่งผลถึงสภาพจิตใจของทัศนีย์และครอบครัว ถ้าไม่กินยาจะนอนไม่หลับและต้องพบแพทย์จิตเวช</p>
<p>“ขอเล่าบรรยากาศที่ครอบครัวที่ต้องมาหาเรา เราคุยกันผ่านลูกกรง พ่อแม่อายุ 70 80 ต้องมาหาเราทุกวันผ่านลูกกรง แล้วกุ้งคิดว่า เด็กๆเยาวชนอีกหลายคน พ่อแม่เขาต้องมีสภาพจิตใจนั้น ซึ่งวันนี้เด็กหลายคนก็ยังอยู่ในสภาพจิตใจแบบนี้ คือ สภาพที่เราเอามือจับไปได้ที่ลูกกรงเท่านั้น”</p>
<p>ทัศนีย์กล่าวว่ากระบวนการสู้คดีนั้นมีต้นทุนที่ต้องใช้ ทั้งเวลา เงิน ความสัมพันธ์กับครอบครัว และการถูกตัดสินจากสังคม แม้บทสรุปของคดีนี้จะเป็นการยกคำร้องไม่มีความผิด แต่ทัศนีย์ยังไม่ได้รับการเยียวยาทางจิตใจจากสิ่งที่ถูกกระทำ พร้อมกล่าวว่านี่ คือ เหตุผลที่ต้องมีการนิรโทษกรรมประชาชนที่เหลืออยู่ตอนนี้ เพราะตนมั่นใจว่าตั้งแต่ปี 2549 จนถึงปัจจุบันยังมีประชาชนที่ค้างอยู่ในคดีความเหล่านี้มากกว่า 1,000 คน</p>
<p>“คดีทางการเมืองแต่ละคน ทุกคนเยาวชนแต่ละคนประชาชนที่อยู่ในนั้นแต่ละคน มันก็หาคำตอบไม่ได้ว่า ข้อหาที่เราผิดเนี่ยเกิดจากการกระทำอะไรนอกจากความคิดเห็นต่าง ซึ่งเราก็มาเป็นมนุษย์ มนุษย์มีความเห็นต่างกันทุกคน ความรู้สึกต้นทุนที่ทุกคนต้องเสีย ต้นทุนค่าใช้จ่าย ต้นทุนทางด้านจิตใจ ต้นทุนทางด้านสังคม เราซึ่งไม่เคยมีความผิดแต่เราต้องไปอยู่ในเรือนจำสังคมจะมองเรายังไง” ทัศนีย์ กล่าว</p>
<p><a data-flickr-embed="true" href="https://www.flickr.com/photos/prachatai/53541857793/in/photostream/" title="DSC_3758"><img alt="DSC_3758" height="1068" src="https://live.staticflickr.com/65535/53541857793_c8a00229b2_h.jpg" width="1600" />[/url]</p>
<script async="" src="//embedr.flickr.com/assets/client-code.js" charset="utf-8"></script>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#d35400;">พูนสุข พูนสุขเจริญ</span></p>
<p>พูนสุขอธิบายปัญหาและภาพรวมที่ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนพบตลอดการก่อตั้งศูนย์ทนายฯ คือ เมื่อวันที่ 24 พ.ค. 2557 ซึ่งเป็นเวลา 2 วัน หลังการรัฐประหารโดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ซึ่งมีการใช้มาตรา 44 เรียกบุคคลไปรายงานตัว จับกุม และคุมขังประชาชนจำนวนมาก ทั้งยังประกาศให้พลเรือนขึ้นศาลทหาร พูนสุขมองว่าการกระทำดังกล่าวเป็นการแทรกแซงกระบวนการยุติธรรม และใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือในการจำกัดสิทธิเสรีภาพของประชาชน</p>
<p>สถานการณ์ที่ศูนย์ทนายฯ เจอในช่วงเวลานั้น คือ การใช้มาตรา 116 ซึ่งเป็นหนึ่งประเภทคดีที่ต้องทำให้ประชาชนต้องขึ้นศาลทหารไม่ต่ำกว่า 2,400 คน ขณะความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ก่อนรัฐประหาร 2557 นั้นถือเป็นคดีร้ายแรงและคนที่ถูกคดีส่วนใหญ่ศาลจะไม่อนุญาตให้มีการประกันตัว และเมื่อเกิดการรัฐประหารขึ้น คสช. ก็ได้กำหนดให้ผู้กระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ต้องขึ้นศาลทหาร  ทำให้พูนสุขมองว่าประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 มีความสัมพันธ์กับสถานการณ์ทางการเมืองมาโดยตลอด </p>
<p>ขณะเดียวกันช่วงปี 2561-2563 พูนสุขสังเกตถึงความพยายามที่จะไม่ใช้ มาตรา 112 กับประชาชน ก่อนวันที่ 19 พ.ย. 2563 ที่ประยุทธ์ประกาศบังคับใช้กฎหมายทุกมาตราเอาผิดกับกลุ่มผู้ชุมนุมทางการเมือง  และทำให้มีประชาชนถูกดำเนินคดีเป็นจำนวนมากอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน</p>
<p>ด้วยเหตุที่กล่าวข้างต้น ทำให้ ร่าง พ.ร.บ. นิรโทษกรรมประชาชน นับการนิรโทษกรรมประชาชนตั้งแต่การกระทำตั้งแต่ 19 ก.ย. 2549 จนถึงวันที่พระราชบัญญัติบังคับใช้ โดยความผิดที่จะนิรโทษกรรมทันที คือ คดีตามประกาศหรือคำสั่ง คสช. คดีพลเรือนในศาลทหาร คดีมาตรา 112 คดี พ.ร.ก. ฉุกเฉินฯ คดี พ.ร.บ. ประชามติฯ และคดีตามฐานความผิดที่เกี่ยวโยงกับคดีข้างต้น โดยไม่รวมเจ้าหน้าที่รัฐที่ใช้ความรุนแรงสลายการชุมนุมเกินกว่าเหตุและผู้ก่อกบฏทำรัฐประหาร ทั้งนี้ สามารถอ่านรายละเอียดเกี่ยวกับร่าง พ.ร.บ. นิรโทษกรรมประชาชนได้ที่ amnestypeople.com</p>
<h2><span style="color:#2980b9;"><strong>นักวิชาการ-นักการเมือง มองนิรโทษกรรมประชาชนเป็นทางออกแก้ปัญหาความขัดแย้ง</strong></span></h2>
<h2><span style="color:#2980b9;"><a data-flickr-embed="true" href="https://www.flickr.com/photos/prachatai/53542110885/in/photostream/" title="DSC_3776"><img alt="DSC_3776" height="1068" src="https://live.staticflickr.com/65535/53542110885_b5adb279c6_h.jpg" width="1600" />[/url]
<script async="" src="//embedr.flickr.com/assets/client-code.js" charset="utf-8"></script><p></p></span></h2>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#e67e22;">มุนินทร์ พงศาปาน</span></p>
<p>มุนินทร์เห็นถึงปฏิกิริยาของสังคมต่อกฎหมายมาตรา 112 คือ จากเดิมเป็นข้อกฎหมายและเป็นประเด็นที่ดูร้ายแรง การรณรงค์เป็นไปด้วยความยากลำบาก แต่สังคมในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา คือ ตั้งแต่มีการชุมนุมเมื่อปี 2563 สังคมก็เริ่มเปิดใจให้ประเด็นเกี่ยวกับมาตรา 112 ให้กลายเป็นเรื่องที่พูดคุยกันได้ในสาธารณะมากขึ้นโดยเฉพาะในการเลือกตั้งที่ผ่านมา หลายพรรคการเมืองได้แสดงเจตจำนงและจุดยืนที่มีต่อข้อกฎหมายดังกล่าวมากขึ้น</p>
<p>เมื่อมองสภาพการเมืองในปัจจุบันทำให้มุนินทร์เข้าใจมากขึ้นว่า ทำไมคณะรัฐประหารถึงพยายามจับกุมประชาชนที่ออกมารณรงค์ต่อต้านการทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญในปี 2559 เพราะมีเหยื่อจำนวนมากจากรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 โดยเฉพาะพรรคการเมือง เช่น ก้าวไกล และการเลือกตั้งตลอด 2 ครั้งที่ผ่านมา </p>
<p>การรัฐประหารเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายและเป็นเรื่องที่ขัดต่อหลักประชาธิปไตยอย่างร้ายแรง แต่เมื่อเกิดขึ้นก็ได้ถูกรับรองโดยกระบวนการยุติธรรมหรือกฎหมายต่าง ๆ เมื่อไหร่ก็ตามที่เกิดการรัฐประหาร ศาลย่อมยอมรับสิ่งนี้ไปโดยปริยาย มุนินทร์มองว่าสิ่งเหล่านี้เป็นความอัปยศของวงการนิติศาสตร์หรือกระบวนการยุติธรรมของประเทศไทย ดังนั้น การนิรโทษกรรมประชาชนนั้นจึงถือเป็นการลบล้างความอัปยศของกระบวนการดังกล่าว แม้จะไม่สามารถชดเชยสิ่งที่สูญเสียไปได้ทั้งหมดก็ตาม</p>
<p>“สิ่งที่เราคุยกันอยู่ตอนนี้เป็นการพยายามแก้ไขปัญหาทางการเมืองที่สั่งสมมา และเป็นรากของปัญหาที่สะสมมาหลายสิบปี จริงอยู่ที่ตอนนี้เห็นว่ากระแสคนไม่ได้สนใจ แต่เราก็ไม่รู้ว่ามันจะเกิดขึ้นอีกเมื่อไหร่ มันอาจจะเงียบหรือปะทุขึ้นมา มันอาจจะรอเวลาว่าจะมีเหตุการณ์หรือสถานการณ์อะไรขึ้นมา กระทั่งคนในสังคมไม่สามารถอดทนได้อีก” มุนินทร์ กล่าว</p>
<p><a data-flickr-embed="true" href="https://www.flickr.com/photos/prachatai/53541863428/in/photostream/" title="DSC_3917"><img alt="DSC_3917" height="1068" src="https://live.staticflickr.com/65535/53541863428_843e0bb60d_h.jpg" width="1600" />[/url]</p>
<script async="" src="//embedr.flickr.com/assets/client-code.js" charset="utf-8"></script>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#e67e22;">วทันยา บุนนาค</span></p>
<p>วทันยาในฐานะที่เป็นนักการเมืองกล่าวว่าตนรู้สึกสะเทือนใจเมื่อได้ฟังประสบการณ์จากผู้ได้รับผลกระทบจากคดีความทางการเมือง และที่ผ่านมาตนได้ทำความเข้าใจเกี่ยวกับ พ.ร.บ. นิรโทษกรรมประชาชน ในเบื้องต้น คือ เห็นว่าหลักคิดของร่างกฎหมายฉบับนี้เป็นการคืนความยุติธรรมให้คนที่ไม่ได้รับความยุติธรรมจากกระบวนการทางกฎหมาย ซึ่งต่อให้ไม่ใช่คดีการเมืองก็ไม่ควรมีใครไม่ได้รับความยุติธรรม </p>
<p>นอกจากนั้น วทันยาเชื่อว่าการมีความคิดเห็นที่แตกต่างทางการเมืองนั้นเป็นเรื่องปกติ ซ้ำยังมีข้อดีในตัวของมันเอง คือ การเห็นต่างนั้นทำให้เกิดการถกเถียงและหาข้อสรุปเพื่อให้เกิดสิ่งใหม่ในสังคม  แต่การแสดงความคิดเห็นนี้ยังต้องอยู่ในกรอบที่เราไม่ไปละเมิดเสรีภาพของคนอื่น ดังนั้น วทันยาจึงไม่เห็นเหตุผลที่ประชาชนที่ถูกดำเนินคดีการเมืองจะไม่ได้รับความยุติธรรมกลับคืน</p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2024/02/108153
 

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

นักข่าวหัวเห็ด แห่งเวบสุขใจ
อัพเดตข่าวทันใจ ตลอด 24 ชั่วโมง

>> http://www.SookJai.com <<
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 1.045 วินาที กับ 27 คำสั่ง

Google visited last this page 29 พฤษภาคม 2568 12:44:12