[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
30 เมษายน 2567 13:08:29 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - แรงงานข้ามชาติโรงงานเสื้อผ้า 'VK GARMENT' แม่สอด 136 คน สู้ต่อชั้นฎีกา กรณีนายจ้างละเ  (อ่าน 34 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
สุขใจ ข่าวสด
I'm Robot
สุขใจ บอทนักข่าว
นักโพสท์ระดับ 15
****

คะแนนความดี: +101/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Italy Italy

กระทู้: มากเกินบรรยาย


บอท @ สุขใจ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 22 กุมภาพันธ์ 2567 16:29:07 »

แรงงานข้ามชาติโรงงานเสื้อผ้า 'VK GARMENT' แม่สอด 136 คน สู้ต่อชั้นฎีกา กรณีนายจ้างละเมิดสิทธิ
 


<span class="submitted-by">Submitted on Thu, 2024-02-22 15:22</span><div class="field field-name-field-byline field-type-text-long field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><p>ศิริรุ่ง ศรีสิทธิพิศาลภพ : รายงาน</p>
</div></div></div><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>แรงงานข้ามชาติลูกจ้างโรงงานผลิตเสื้อผ้า “VK GARMENT” อ.แม่สอด จ.ตาก จำนวน 136 คน เดินหน้าฎีกาคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ กรณีนายจ้างเจ้าของโรงงานละเมิดสิทธิแรงงาน ทนายชี้คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษยังคลาดเคลื่อนต่อหลักกฎหมาย นอกจากนี้แรงงานข้ามชาติทั้ง 136 คน ยังได้ยื่นฟ้องคดีต่อศาลอังกฤษ ประเด็นการถูกใช้แรงงานบังคับในโรงงาน VK GARMENT ซึ่งเป็นฐานผลิตเสื้อผ้าให้แบรนด์ TESCO</p>
<p> </p>
<p>22 ก.พ. 2567 มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา (มสพ.) รายงานจากกรณีที่ลูกจ้างแรงงานข้ามชาติจากประเทศพม่า จำนวน 136 คน  โดยความช่วยเหลือด้านกฎหมายของมูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา (มสพ.) และมูลนิธิเพื่อสุขภาพและการเรียนรู้ของแรงงานกลุ่มชาติพันธุ์ (MAP FOUDATION) ได้ยื่นฟ้องบริษัทนายจ้าง เจ้าของโรงงานผลิตเสื้อผ้า VK GARMENT อ.แม่สอด จ.ตาก ต่อศาลแรงงานภาค 6 (ศาลชั้นต้น) เพื่อให้บริษัทนายจ้างจ่ายเงินค่าชดเชยที่ถูกเลิกจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และอื่นๆ ซึ่งศาลแรงงานภาค 6 ได้มีคำพิพากษา ให้นายจ้างจ่ายเพียงค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้าง ส่วนคำขออื่นๆ พิพากษายกฟ้อง (คดีหมายเลขแดงที่ ร 1030/2565 ) ลูกจ้างจึงได้อุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษ ต่อมาเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2566 ศาลอุทธรณ์ฯ มีคำพิพากษายืนตามศาลชั้นต้นนั้น</p>
<p> เมื่อวันที่ 25 ม.ค. 2567 ลูกจ้างได้ยื่นคำร้องขออนุญาตฎีกาพร้อมกับยื่นฎีกา เนื่องจากไม่เห็นด้วยกับคำตัดสินของศาลอุทธรณ์ฯ ที่วินิจฉัยว่ากระบวนการสอบสวนของพนักงานตรวจแรงงาน สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดตาก สาขาแม่สอด ในกรณีละเมิดสิทธิแรงงานดังกล่าวนั้นชอบด้วยกฎหมายแล้ว โดยลูกจ้างแรงงานข้ามชาติมีความเห็นว่าคำวินิจฉัยดังกล่าวของศาลอุทธรณ์ฯ ยังคลาดเคลื่อนต่อหลักของความยุติธรรมและกฎหมายในหลายประเด็น ทั้งเรื่องกระบวนการสอบสวนของพนักงานตรวจแรงงานและกระบวนการไต่สวนคดีของศาลแรงงานภาค 6  (ศาลชั้นต้น) และกรณีไม่รับวินิจฉัยข้ออุทธรณ์ของลูกจ้างอีก 4 ประเด็น โดยศาลอุทธรณ์ฯ วินิจฉัยว่ามิใช่เป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อกฎหมายที่ลูกจ้างสามารถอุทธรณ์ได้</p>
<p>ชฤทธิ์ มีสิทธิ์ ทนายความของลูกจ้าง กล่าวว่า ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษรับวินิจฉัยอุทธรณ์ของลูกจ้างแรงงานข้ามชาติ 136 คนเพียงข้อเดียว คือ กระบวนการสอบสวนของพนักงานตรวจแรงงานชอบด้วยระเบียบการสอบสวนและพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541หรือไม่ โดยศาลได้ตัดสินว่าพนักงานตรวจแรงงาน แม่สอด ดำเนินการชอบด้วยกฎหมายแล้วในการตรวจสอบคำร้องของลูกจ้างที่ถูกละเมิดสิทธิแรงงาน ซึ่งในการอุทธรณ์นั้นยังมีอีก 4 ประเด็นที่เป็น ข้อกฎหมายสำคัญในคดีที่ศาลไม่รับพิจารณาวินิจฉัย โดยศาลอุทธรณ์เห็นว่าสิ่งที่ลูกจ้าง 136 ค อุทธรณ์มานั้นไม่ใช่ข้อกฎหมาย แต่เป็นการโต้แย้งหรือโต้เถียงการรับฟังพยานหลักฐานของศาลที่เป็นเรื่องข้อเท็จจริง  และในคดีแรงงานนั้นกฎหมายห้ามไม่ให้ฝ่ายใดอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง  </p>
<p>ประเด็นสำคัญที่ลูกจ้าง 136 คน ไม่เห็นด้วยกับคำตัดสินของศาลอุทธรณ์ จึงขออนุญาตฎีกา ได้แก่</p>
<ol>
<li>การจ่ายค่าจ้างของ บริษัท วีเค การ์เม้นท์ จำกัด ที่ศาลแรงงานภาค 6 วินิจฉัยเป็นเอกสารการจ่ายค่าจ้างรายชิ้นนั้น มีความถูกต้องตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 114 หรือไม่?</li>
<li>ฝ่ายลูกจ้างแรงงานข้ามชาติได้ขอให้ศาลแรงงานภาค 6 มีคำสั่งเรียกต้นฉบับเอกสารการจ่ายค่าจ้าง แต่ฝ่ายนายจ้างมิได้ปฏิบัติตามคำสั่งศาลโดยมิได้แสดงเหตุผล แต่ในการสืบพยานฝ่ายนายจ้างกลับนำสืบสำเนาเอกสารการจ่ายค่าจ้าง ซึ่งตามหลักกฎหมายถือว่าพยานดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมายและศาลต้องรับฟังข้อเท็จจริงตามที่ฝ่ายลูกจ้างนำสืบ ประเด็นอุทธรณ์ข้อนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 123 มิใช่ปัญหาข้อเท็จจริงตามที่ศาลอุทธรณ์ฯวินิจฉัย</li>
<li>คลิปเสียงการสนทนาระหว่างฝ่ายนายจ้างกับแกนนำลูกจ้างแรงงานระบุชัดเจนว่าไม่มีการจ่ายค่าจ้างขั้นต่ำตั้งแต่แรกเข้าทำงานเพราะตกลงกันแล้ว แต่ศาลแรงงานภาค 6 รับฟังและวินิจฉัยว่า แม้จะมีการจ่ายค่าจ้างไม่ครบตามขั้นต่ำ แต่เป็นช่วงเวลาใกล้จะเลิกจ้างแล้ว จึงเป็นการรับฟังและวินิจฉัยที่ขัดกับพยานหลักฐานในสำนวนคดี เป็นต้น</li>
<li>ศาลแรงงานภาค 6 ได้ระบุว่า แม้จะฟังว่านายจ้างไม่จ่ายค่าจ้างขั้นต่ำให้ลูกจ้าง ที่บอกว่าเป็นช่วงใกล้ๆเลิกจ้างเท่านั้น แต่กลับวินิจฉัยต่ออีกว่า ถ้าไม่ครบจริง ลูกจ้างก็ควรจะต้องโต้แย้งคัดค้านไว้ เพราะเมื่อไม่โต้แย้งและคัดค้านไว้ ก็ต้องรับฟังไว้ว่าจ่ายครบแล้ว</li>
<li>ในกระบวนการยุติธรรมลูกจ้าง136 คน ซึ่งเป็นคนงานข้ามชาติได้เดินทางเข้ามาทำงานในประเทศไทยเนื่องจากความยากจน รายได้ที่ประเทศพม่าไม่พอกินรวมทั้งหนีภัยสงครามในประเทศ เมื่อมาทำงานที่อำเภอแม่สอดก็ มีสภาพความเป็นอยู่ที่ยากลำบาก ไม่ได้มีความชำนาญภาษาไทย และไม่รู้กฎหมายไทย ฉะนั้น ประกอบกับในการมาทำงานที่แม่สอดก็ต้องมีภาระหนี้สินเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ทั้งฝั่งพม่าและฝั่งไทย ลูกจ้างแรงงานข้ามชาติจึงตกอยู่ในภาวะหวาดกลัว วิตกกังวล อยู่ในภาวะจำยอมเพื่อให้ได้มีงานทำที่ประเทศไทย จึงไร้อำนาจต่อรอง ในสภาพการณ์ดังกล่าวนี้ ฝ่ายแรงงานข้ามชาติอยากให้ศาลแรงงานได้เข้าใจสภาพส่วนนี้ที่เกิดขึ้นจริงกับแรงงานส่วนใหญ่ในประเทศไทยโดยเฉพาะในพื้นที่ อ.แม่สอด จ.ตาก ในกระบวนการตรวจสอบตั้งแต่พนักงานตรวจแรงงานและศาลชั้นต้นที่ต้องไต่สวนและตรวจสอบข้อเท็จจริงอย่างรอบด้านและเข้าใจสภาพชีวิตของลูกจ้างที่ยากลำบาก ควรดำเนินการอย่างเป็นธรรม ดังนั้น ข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานที่ปรากฏในรายงานการตรวจสอบตามหลักจรรยาบรรณของธุรกิจที่ระบุว่า มีการจัดทำเอกสารการจ่ายค่าจ้างแตกต่างกันถึง 3-4 แบบ มีการซักซ้อมกับลูกจ้างก่อนที่จะมีการตรวจสอบของฝ่ายตรวจสอบตามหลักจรรยาบรรณ และมีการปฏิบัติที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมายหลายเรื่องทั้งในเรื่องค่าจ้างขั้นต่ำ  ค่าล่วงเวลา และเอกสารการจ่ายค่าจ้างแบบรายชิ้น รวมทั้งมีบุคคลอื่นฝ่ายโรงงานเป็นผู้ตอกบัตรลงเวลาทำงานของลูกจ้างมาตลอด เป็นต้น ทั้งพนักงานตรวจแรงงานและศาลแรงงานภาค 6 ควรต้องตรวจสอบอย่างจริงจัง ตามปรัชญาแนวคิดของการไต่สวนคดีแรงงาน เพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงและหลักฐานที่เป็นความจริง ถูกต้องครบถ้วน เพื่อจะได้ตัดสินคดีอย่างเที่ยงธรรม  เพราะหาก คำตัดสินของพนักงานตรวจแรงงาน ศาลแรงงานภาค 6 (นครสวรรค์)  และศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษได้ระบุไว้ ยังไม่เพียงพอต่อการเข้าถึงความจริงที่เกิดขึ้นและการบังคับใช้กฎหมายเพื่อสร้างความเป็นธรรมให้แก่แรงงานข้ามชาติกลุ่มที่มีความยากลำบากหรือกลุ่มเปราะบาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งคดีที่ฟ้องร้องกันเป็นเพียงสิทธิขั้นพื้นฐานตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 เท่านั้น ในขณะที่ธุรกิจต่าง ๆ ก็มีแต่ขยายการจ้างงานที่แม่สอด และยังปรากฏข้อมูลว่ากระบวนการจ้างงานของฝ่ายธุรกิจยังมีความซับซ้อน ซ่อนเงื่อน อีกมากมาย</li>
</ol>
<h3><span style="color:#2980b9;">มุมมองความไม่เท่าเทียมระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง เป็นประเด็นที่ควรได้รับการพิจารณาในกระบวนการยุติธรรมศาลแรงงานไทย กรณีลูกจ้าง VK GARMENT</span></h3>
<p>“ผมคิดว่าศาลแรงงานแม้มีผู้พิพากษาสมทบฝ่ายนายจ้าง ฝ่ายลูกจ้าง แต่หลายท่านไม่เข้าใจปัญหาแรงงาน ทำให้ไม่มีบาทบาทช่วยในการตรวจสอบค้นหาความจริงในคดี ในคดีมีความซับซ้อน โดยเฉพาะคดีที่ลูกจ้างเป็นแรงงานข้ามชาติ ซึ่งเป็นกลุ่มเปราะบาง ทั้งขาดความรู้ความเข้าใจและอยู่ภายใต้อำนาจครอบงำของนายจ้าง ไม่กล้าโต้แย้งหรือพูดความจริงเมื่อมีผู้เข้าไปตรวจสอบโรงงาน เรื่องนี้เป็นปัญหาระบบของสหภาพแรงงานไทยที่ทำให้ไม่ได้ตัวแทนของลูกจ้างไปเป็นผู้พิพากษาสมทบ ทั้งกระบวนการพิจารณาคดีในศาลแรงงานที่แม้กำหนดให้ใช้ระบบไต่สวน แต่หลายคดี ศาลรับฟังข้อเท็จจริงที่ได้จากพนักงานตรวจแรงงานเป็นที่ยุติ ดังนั้นต้องแก้ปัญหาเชิงระบบ เชิงโครงสร้าง ต้องมีการปรับกระบวนการในการพิจารณาคดีแรงงาน เพื่อให้ศาลทำหน้าที่ค้นหาความจริงอย่างแท้จริง” สมชาย หอมลออ</p>

<p>สมชาย หอมลออ ประธานกรรมการมูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา (มสพ.) ได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้ 3 ประการ ดังนี้</p>
<p>ประการที่ 1 แนวคิดทางกฎหมายแรงงานไทยถือว่า กิจการเป็นของนายจ้างแต่เพียงฝ่ายเดียว ดังนั้นการดำเนินกิจการและบริหารจัดจึงเป็นอำนาจสิทธิ์ขาดแต่เพียงฝ่ายเดียวของนายจ้าง แต่ความจริงแล้วยังมีมีแนวคิดอื่นๆ เช่น ของฝ่ายสังคมนิยมที่ถือว่าในกิจการหนึ่งๆ ลูกจ้างมีลักษณะเป็นหุ้นส่วนด้วย ดังนั้น เพื่อความเป็นธรรมจึงต้องคำนึงถึงความมั่นคงในการทำงานและชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีของลูกจ้างด้วย   </p>
<p>ประการที่ 2 ความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างและลูกจ้างไม่เท่าเทียมกัน ยิ่งถ้าถือว่านายจ้างมีอำนาจบริหารงานโดยเด็ดขาดด้วยแล้ว ลูกจ้างจะตกเป็นเบี้ยล่างและจำยอมให้นายจ้างเอารัดเอาเปรียบได้โดยง่าย โดยเฉพาะลูกจ้างที่เป็นกลุ่มเปราะบาง เช่น เด็ก หญิง คนงานไร้ฝีมือ และแรงงานข้ามชาติ ยิ่งแรงงานที่ไม่ได้รวมกันเป็นสหภาพแรงงานแล้วอำนาจในการต่อรองกับนายจ้างแทบไม่มีเลย  ดังนั้น ศาลแรงงานควรคุ้มครองแรงงานซึ่งเป็นกลุ่มเปราะบาง ตามหลักการขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International Labour Organization : ILO) ซึ่งเรียกกฎหมายนี้ว่า “กฎหมายคุ้มครองแรงงาน” ไม่ใช่กฎหมายแพ่งแบบทั่วๆไป กฎหมายคุ้มครองแรงงานเป็นกฎหมายที่คุ้มครองคนงานที่เป็นคนตัวเล็กตัวน้อยในสังคม โดยอาจเรียกว่าเป็น social law คือ กฎหมายที่คุ้มครองกลุ่มคนที่เปราะบางในสังคม เช่น ผู้บริโภค ชนกลุ่มน้อย คุ้มครองกลุ่มชาติพันธุ์ รวมทั้งแรงงาน โดยเฉพาะแรงงานข้ามชาติ ถ้าเจ้าหน้าที่ที่รักษากฎหมายและศาลไม่เข้าใจแนวคิดนี้ ก็ยากที่จะทำให้แรงงานข้ามชาติเข้าถึงความยุติธรรมได้</p>
<p>ประเด็นที่ 3 ลูกจ้าง โดยเฉพาะแรงงานข้ามชาติ เป็นแรงงานที่มักตกอยู่ในอำนาจครอบงำของนายจ้าง เป็นกลุ่มเปราะบาง กฎหมายเข้าไปคุ้มครองไม่ถึง เอกสารพยานหลักฐานต่างๆ อยู่ในอำนาจควบคุมของนายจ้างได้  เมื่อมีข้อพิพาททางคดีความ ลูกจ้างจึงยากที่จะนำเสนอข้อเท็จจริงพยานหลักฐานต่อเจ้าหน้าที่หรือศาลได้ เพราะทุกอย่างอยู่ที่นายจ้างทั้งหมด นายจ้างจะบิดเบือนอย่างไรก็ได้ ถ้าไปดูกฎหมายคุ้มครองแรงงาน ก็จะเห็นว่านายจ้างต้องเก็บบันทึกการเข้าทำงาน ออกงาน  จ่ายค่าจ้าง ฯลฯ ลูกจ้างไม่สามารถเก็บ และไม่สามารถเข้าถึงเอกสารได้ด้วย ถ้านายจ้างไม่ให้ดูก็ไม่มีทางที่ลูกจ้างจะเข้าถึงได้</p>
<p>ดังนั้น กฎหมายวิธีพิจารณาคดีแรงงาน จึงกำหนดให้ศาลแรงงานเป็นศาลชำนัญพิเศษ คือ ศาลที่มีความรู้ความเข้าใจเรื่องแรงงาน อย่างน้อยต้องเข้าใจประเด็นทั้งสามดังกล่าวข้างต้น  และกำหนดให้ศาลใช้การแสวงหาความจริงโดย ระบบไต่สวน คือ ศาลเป็นผู้ค้นหาความจริงเอง โดยเฉพาะศาลแรงงานชั้นต้น ซึ่งเป็นศาลที่นั่งพิจารณาคดี มีอำนาจเรียกบุคคลหรือพยานหลักฐานใดๆมาศาลได้ทั้งสิ้น ศาลชั้นต้นจึงต้องค้นหาความจริงให้ครบถ้วน สิ้นกระแส ปราศจากข้อสงสัย จนเป็นข้อยุติที่ไม่สามารถโต้แย้งได้ เพราะในชั้นอุทธรณ์ และฎีกา จะโต้แย้งกันในประเด็นข้อเท็จจริงกันอีกไม่ได้ หากศาลชั้นต้นไม่ค้นหาความจริง แต่ยอมรับเพียงการสอบสวนของพนักงานตรวจแรงงานว่า เป็นข้อเท็จจริงที่ยุติแล้ว ทั้ง ๆ ที่มีการโต้แย้งในคดีว่ากระบวนการตรวจของพนักงานตรวจแรงงานมีข้อบกพร่อง อาจส่งผลทำให้แรงงานข้ามชาติไม่ได้รับความเป็นธรรม</p>
<p>เรื่องความรู้ความเข้าใจเรื่องแรงงานของศาล ก็เป็นประเด็นที่ควรพิจารณา นี่เป็นปัญหาเชิงระบบด้วย  ศาลแรงงานเป็นศาลชำนัญพิเศษ ผู้พิพากษาศาลแรงงานควรต้องมีความชำนาญเรื่องแรงงานและมีทักษะในการพิจารณาคดีในระบบไต่สวนเป็นพิเศษด้วย ผู้พิพากษาศาลแรงงานเป็นผู้ที่โยกย้ายมาจากศาลยุติธรรมทั่วไป ท่านถนัดคดีอาญา คดีแพ่ง ทั่วๆไป จริงอยู่ ก่อนทำหน้าที่ในศาลแรงงาน มีการฝึกอบรมเรื่องกฎหมายแรงงาน  แต่น่าจะไม่เข้าใจกฎหมายแรงงานในฐานะที่เป็น socialaw ไม่เข้าใจปัญหาแรงงาน โดยเฉพาะปัญหาของแรงงานที่เป็นกลุ่มเปราะบาง เช่น แรงงานข้ามชาติ และขาดทักษะในการพิจารณาและดำเนินคดีในระบบไต่สวนตามกระบวนการพิจารณาคดีแรงงาน  ยิ่งไปกว่านั้น ส่วนใหญ่ผู้พิพากษาศาลแรงงานจะอยู่ปฏิบัติหน้าที่เพียงไม่กี่ปี ก็โยกย้ายไปศาลอื่น แม้ว่าศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกา ตั้งแผนกคดีแรงงานขึ้นมา โดยประกอบด้วยผู้พิพากษาที่เคยปฏิบัติหน้าที่ในศาลแรงงานชั้นต้นมา มีความรู้ ความชำนาญมากขึ้น แต่ในประเด็นข้อเท็จจริง ศาลสูงทั้งสองศาลนี้ก็ไม่มีอำนาจพิจารณาวินิจฉัย</p>
<h3><span style="color:#2980b9;">ความเป็นมาของคดี VK จากศาลแรงงานไทยจนนำไปสู่การฟ้องคดีที่ศาลอังกฤษ</span></h3>
<p>สืบเนื่องจากคดีนี้ เกิดขึ้นช่วงเดือนตุลาคม ปี 2563 แรงงานข้ามชาติจำนวน 136 คน ซึ่งเป็นลูกจ้างของโรงงานผลิตเสื้อผ้าของ บริษัท วีเค การ์เม้นท์ จำกัด ที่ตั้งในพื้นที่ อ.แม่สอด จ.ตาก ได้ยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงาน สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดตาก สาขาแม่สอด เพื่อเรียกร้องเงินค่าจ้างขั้นต่ำ ค่าทำงานล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด ค่าจ้างในวันหยุดประเพณีย้อนหลัง 2 ปี และเงินค่าชดเชยและค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า โดยความเสียหายทั้งสิ้นรวม 136 คน รวมประมาณ 34 ล้านบาท ซึ่งหลังจากได้มีคำร้องและปรากฎข้อเท็จจริงต่อพนักงานตรวจแรงงาน ทางพนักงานตรวจแรงงาน สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดตาก สาขาแม่สอด ได้ออกคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานที่ 40/2563 ลงวันที่ 30 ธันวาคม 2563 ให้นายจ้างโรงงานผลิตเสื้อผ้าของ บริษัท วีเค การ์เม้นท์ จำกัด จ่ายชดใช้ค่าชดเชยประมาณ 3.6 ล้านบาท และค่าจ้างที่ไม่บอกกล่าวล่วงหน้าประมาณ 1.6 ล้านบาท ซึ่งทำให้ลูกจ้างรู้สึกว่าจำนวนค่าชดใช้ค่าชดเชยตามคำสั่งดังกล่าวไม่เป็นธรรมต่อลูกจ้าง</p>
<p>ด้วยจำนวนค่าชดเชยและค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ที่พนักงานตรวจแรงงานประเมินออกมานั้นทางฝั่งลูกจ้างโรงงาน 136 คน ไม่เห็นด้วยกับคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานจึงได้ฟ้องคดีต่อศาลแรงงานภาค 6 ขอให้เพิกถอนคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานดังกล่าว ปรากฏว่าฝ่ายนายจ้างคือ บริษัท วีเค การ์เม้นท์ จำกัด ก็ไม่ยอมรับคำสั่งให้ชดใช้ค่าชดเชยและค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ต่อลูกจ้างเช่นกัน จึงได้ดำเนินการฟ้องเพิกถอนคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานซึ่งดำเนินการฟ้องคดีก่อนลูกจ้าง ลูกจ้างแรงงานข้ามชาติจึงได้ยื่นคำร้องสอดเข้าไปในคดีดังกล่าวเป็นคู่ความฝ่ายที่สาม (เรียกว่าผู้ร้องสอด) ซึ่งมีนายจ้างบริษัท วีเค การ์เม้นท์ จำกัด เป็นโจทก์ พนักงานตรวจแรงงานสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดตาก สาขาแม่สอด เป็นจำเลย</p>
<p>ต่อมาเมื่อ 15 กันยายน 2565 ศาลแรงงานภาค 6 พิพากษาให้นายจ้างจ่ายค่าชดใช้ชดเชยเพิ่มอีกประมาณ 1.6 ล้านบาท  เนื่องจากฝ่ายลูกจ้างสามารถนำสืบพยานหลักฐานเกี่ยวกับระยะเวลาการทำงานได้ ฝ่ายลูกจ้างจึงเห็นด้วยกับคำพิพากษาศาลแรงงานภาค 6 ในเรื่องค่าชดเชยและค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าที่วินิจฉัย จึงไม่ติดใจดำเนินคดีต่อไปในประเด็นดังกล่าว (คดีหมายเลขแดงที่ ร 1030/2565 ลงวันที่ 15 กันยายน 2565 )  แต่ลูกจ้าง 136 คน ยังคงไม่เห็นด้วยกับเรื่องเงินต่าง ๆ ที่ตอบแทนการทำงาน หลักฐานการจ่ายค่าจ้าง และกระบวนการสอบสวนของพนักงานตรวจแรงงานที่ ไม่ถูกต้องตามระเบียบการสอบสวนและตามกฎหมาย และรวบรวมหลักฐานข้อเท็จจริงที่ไม่ครบถ้วน หลังจากมีคำพิพากษาศาลชั้นต้น ลูกจ้าง 136 คน ได้ยื่นอุทธรณ์ในประเด็นดังกล่าว จนเมื่อศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษได้มีคำตัดสินว่าประเด็นการตรวจสอบข้อเท็จจริงหรือการสอบสวนของพนักงานตรวจแรงงานชอบด้วย ระเบียบว่าด้วยการสอบสวนของพนักงานตรวจแรงงาน ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541แล้ว และอีกหลายประเด็นที่เกี่ยวเนื่องกับข้อเท็จจริงประกอบความไม่โปร่งใสในเรื่องกระบวนสอบสวนของพนักงานตรวจแรงงานและพยานหลักฐานสำคัญที่ชี้ว่าบริษัท วีเค การ์เม้นท์ จำกัด ได้ละเมิดสิทธิแรงงานในเรื่องค่าจ้างขั้นต่ำ ค่าล่วงเวลา และค่าทำงานในวันหยุด เนื่องจากเป็นพยานหลักฐานที่ไม่เป็นไปตามที่พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 114 และกฎหมายว่าด้วยลักษณะพยานคือประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 123</p>
<p>ลูกจ้างผู้เป็นแรงงานข้ามชาติ 136 คน จึงได้ดำเนินการขออนุญาตฎีกาและยื่นฎีกา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 เพื่อขอให้ศาลฎีกาได้โปรดตรวจสอบกระบวนการสอบสวนและไต่สวนในคดีแรงงานตั้งแต่ชั้นพนักงานตรวจแรงงาน จนถึงชั้นอุทธรณ์ และได้วินิจฉัยข้อกฎหมายสำคัญที่ฝ่ายธุรกิจกระทำต่อแรงงานข้ามชาติ อันเป็นการใช้สิทธิดำเนินคดีให้ถึงที่สุด โดยลูกจ้างซึ่งเป็นแรงงานข้ามชาติ 136 คน มีความคาดหวังว่าจะได้รับสิทธิขั้นพื้นฐานตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 และความเป็นธรรมจากกระบวนการยุติธรรมด้านแรงงาน</p>
<h3><span style="color:#2980b9;">ลูกจ้างฟ้องคดีต่อศาลอังกฤษ กรณีใช้แรงงานบังคับใน VK GARMENT ซึ่งเป็นฐานผลิตเสื้อผ้าให้แบรนด์ TESCO</span></h3>
<p>เมื่อปี 2565 สำนักข่าว The Guardian ได้รายงานข่าวเรื่องบริษัทเทสโก้ถูกฟ้อง กรณีบังคับใช้แรงงานผลิตกางเกงยีนส์ F&amp;F ที่แม่สอด (Workers in Thailand who made F&amp;F jeans for Tesco ‘trapped in effective forced labour’ ลงวันที่ Sun 18 Dec 2022 ) ซึ่งมี ลูกจ้างแรงงานข้ามชาติในโรงงาน 136 คน เป็นโจทก์ยื่นฟ้องต่อศาลอังกฤษผ่านสำนักงานกฎหมาย Leigh Day โดยฟ้องร้องบริษัทที่เกี่ยวข้อง ซึ่งได้แก่ บริษัท วีเค การ์เม้นท์ จำกัด (VK GARMENT), ‘เทสโก้’ (Tesco PLC) ‘เอก-ชัย ดิสทริบิวชั่น ซิสเทม’ (Ek-Chai Distribution System Company Limited ซึ่งมีเทสโก้เป็นเจ้าของ ก่อนขายให้เครือเจริญโภคภัณฑ์ในปี 2563) และบริษัทตรวจสอบ (auditing) ที่ชื่อว่า ‘อินเตอร์เทค’ (Intertek) ว่ามีการละเมิดสิทธิมนุษยชนและสิทธิแรงงานในโรงงานท้อผ้า VK GARMENT ลูกจ้างแรงงานเมียนมาในโรงงาน 136 คน อยู่ในสภาพถูกบังคับใช้แรงงานในหลากหลายรูปแบบ เช่น การทำงาน 99 ชั่วโมง/สัปดาห์ ได้รับค่าจ้างที่ต่ำกว่ากฎหมายกำหนด เพื่อผลิตสินค้าเสื้อผ้าส่งให้แบรนด์ดังระดับโลก ซึ่งมีการสัมภาษณ์ลูกจ้างแรงงานเมียนมา จำนวน 21 คน มีรายละเอียดว่า</p>
<ul>
<li>แรงงานส่วนใหได้รับค่าจ้างเพียง ประมาณ 136 บาท (3 ปอนด์) ต่อวัน โดยทำงานระหว่างเวลา 8.00 น. - 23.00 น. โดยมีวันหยุดเพียง 1 วัน/เดือน</li>
<li>บันทึกเกี่ยวกับการจ้างงานจะถูกเก็บไว้โดยหัวหน้างาน แสดงให้เห็นว่าคนงานส่วนใหญ่ในสายงานของตนได้รับค่าจ้างน้อยกว่าประมาณ 180 บาท/วัน (4 ปอนด์ต่อวัน) ซึ่งต่ำกว่าค่าจ้างขั้นต่ำตามกฎหมายของประเทศไทย</li>
<li>ลูกจ้างแรงงานข้ามชาติเมียนมาต้องทำงานตลอดทั้งคืนเป็นเวลา 24 ชั่วโมงอย่างน้อยเดือนละ1 ครั้ง เพื่อทำตามคำสั่งซื้อแบรนด์ Supply Chain จำนวนมาก เมื่อแรงงานทำงานเมื่อยล้าก็หลับไปบนจักรเย็บผ้า</li>
<li>มีกรณีที่ลูกจ้างได้รับบาดเจ็บสาหัส จากเครื่องมือในอุตสาหกรรมเย็บผ้า มีการสูญเสียอวัยวะปลายนิ้วชี้ของหลังจากผ่ามันด้วยเครื่องทำกระดุมขณะกำลังผลิตแจ็คเก็ตยีนส์ F&amp;F</li>
<li>ลูกจ้างแรงงานข้ามชาติหลายคนกล่าวว่าพวกเขาถูกผู้จัดการในโรงงานตะโกนและขู่หากพวกเขาไม่ได้ทำงานล่วงเวลาและบรรลุเป้าหมายตามคำสั่ง</li>
<li>คนงานมากกว่า 12 คน ที่ให้สัมภาษณ์กล่าวว่าโรงงานได้เปิดบัญชีธนาคารให้พวกเขา แล้วยึดบัตรและรหัสผ่านเพื่อให้ดูเหมือนว่าพวกเขาได้รับค่าจ้างขั้นต่ำแต่จ่ายเป็นเงินสดน้อยกว่ามาก</li>
<li>คนงานส่วนใหญ่อาศัยนายจ้างในการรับรองสถานะการเข้าเมืองอย่างถูกต้องตามกฎหมาย และมีลูกจ้างแรงงานข้ามชาติบางคนกล่าวว่า พวกเขาถูกยึดเอกสารประจำตัวโดยโรงงานเพื่อชดใช้หนี้สินจากการทำเอกสารการจ้างงานให้ถูกต้องตามกฎหมาย</li>
<li>สภาพที่พักของลูกจ้างไม่เหมาะสม ซึ่งลูกจ้างต้องพักอาศัยในพื้นที่ว่างใกล้โรงงานที่เป็นห้องที่แออัดยัดเยียดสำหรับนอนและมีห้องน้ำที่สกปรก คนงานบอกว่าห้องส่วนใหญ่ไม่มีประตู มีเพียงผ้าม่านเท่านั้น</li>
</ul>
<p>ดังนั้น การฟ้องร้องคดีนี้ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศจึงเป็นตัวสะท้อนสำคัญที่ทำให้เห็นว่าเมื่อลูกจ้างมีความกล้าหาญที่จะลุกขึ้นมาเรียกร้องสิทธิต่อนายจ้างเมื่อถูกละเมิดตามกระบวนการยุติธรรม และอาศัยการต่อสู้ทางกฎหมายต่อบริษัทที่เกี่ยวข้อง การฟ้องคดีของลูกจ้างแรงงานข้ามชาตินี้ได้สร้างผลกระทบต่อตัวพวกเขาเองทั้ง 136 คน ที่ใช้ชีวิตอย่างยากลำบากในประเทศไทย แต่การที่พวกเขาเลือกที่จะสู้ไม่ถอย เพราะพวกเขาต้องการให้เห็นว่าลูกจ้างแรงงานทุกคนต้องตระหนักถึงสิทธิของตนและไม่ยอมให้ตนถูกละเมิดสิทธิ นี่คือหัวใจสำคัญของการขับเคลื่อน</p>
<p> </p>
<p><strong>อ้างอิง</strong></p>
<p>https://thematter.co/brief/193044/193044</p>
<p>https://www.theguardian.com/business/2022/dec/18/workers-in-thailand-who-made-ff-jeans-for-tesco-trapped-in-effective-forced-labour</p>
<p> </p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-promote-end field-type-text field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even">ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2024/02/108171
 

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

นักข่าวหัวเห็ด แห่งเวบสุขใจ
อัพเดตข่าวทันใจ ตลอด 24 ชั่วโมง

>> http://www.SookJai.com <<
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
มวยคาดเชือก แม่สอด-ลาว 8 ธค. 55
ลานกว้าง (มุมดูคลิป)
▄︻┻┳═一 1 2837 กระทู้ล่าสุด 16 มกราคม 2558 14:34:50
โดย ▄︻┻┳═一
[ข่าวด่วน] - AOT ยันไม่เคยไม่ได้รับนโยบายรัฐเข้าบริหาร 3 ทอ.ตาก-แม่สอด-พิษณุโลก
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 371 กระทู้ล่าสุด 12 มกราคม 2565 11:14:24
โดย สุขใจ ข่าวสด
[โพสทูเดย์] - กมธ.ชี้ "แม่สอด" เหมาะตั้ง "กาสิโน" เก็บภาษีคืนท้องถิ่นโดยตรง
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 147 กระทู้ล่าสุด 12 มิถุนายน 2565 09:40:14
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - กลุ่มนำเข้าโคกระบือชายแดน ปิดถนนตาก-แม่สอด หลัง ก.เกษตรสั่งชะลอนำเข้า
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 63 กระทู้ล่าสุด 30 พฤศจิกายน 2566 22:13:53
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - ‘ปานปรีย์’ ลงพื้นที่ อ.แม่สอด พบภาคธุรกิจ-เยี่ยมจุดช่วยเหลือมนุษยธรรมชายแดน
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 45 กระทู้ล่าสุด 09 กุมภาพันธ์ 2567 23:07:57
โดย สุขใจ ข่าวสด
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.719 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 06 มีนาคม 2567 06:52:24