[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
28 เมษายน 2567 02:49:04 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - นักวิชาการมอง IGNITE Thailand ดันศูนย์กลาง 8 ด้านเป็นจริงได้หากลงทุนในทักษะแรงงาน  (อ่าน 40 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
สุขใจ ข่าวสด
I'm Robot
สุขใจ บอทนักข่าว
นักโพสท์ระดับ 15
****

คะแนนความดี: +101/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Italy Italy

กระทู้: มากเกินบรรยาย


บอท @ สุขใจ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 25 กุมภาพันธ์ 2567 17:29:16 »

นักวิชาการมอง IGNITE Thailand ดันศูนย์กลาง 8 ด้านเป็นจริงได้หากลงทุนในทักษะแรงงาน
 


<span class="submitted-by">Submitted on Sun, 2024-02-25 14:37</span><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>นักวิชาการมองวิสัยทัศน์ IGNITE Thailand ดันศูนย์กลาง 8 ด้านเป็นจริงได้หากลงทุนในทักษะแรงงาน ยกเครื่องระบบการศึกษา วิจัยแปรรูปสร้างมูลค่า ลงทุนโครงสร้างพื้นฐานตามเป้าหมาย ลำดับความสำคัญในการลงทุนตามความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบและความสามารถในการแข่งขัน พร้อมมีแผนดำเนินการอย่างชัดเจน </p>
<p>25 ก.พ. 2567 รศ.ดร.อนุสรณ์ ธรรมใจ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเศรษฐกิจดิจิทัล การลงทุนและการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และ อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ให้ความเห็นต่อวิสัยทัศน์ IGNITE THAILAND และ ผลักดันให้ประเทศเป็นศูนย์กลาง 8 ด้านว่า IGNITE THAILAND เป็นสิ่งที่เป็นไปได้แต่อาจต้องใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 10 ปีสำหรับบางอุตสาหกรรม แต่บางอุตสาหกรรมไทยมีความพร้อมมาก บางอุตสาหกรรมต้องมีการลงทุนในทักษะแรงงานอย่างจริงจัง ยกเครื่องระบบการศึกษา มีการลงทุนทางด้านการวิจัยแปรรูปสร้างมูลค่า ลงทุนและพัฒนานวัตกรรมอย่างเป็นระบบ ลงทุนโครงสร้างพื้นฐานตามเป้าหมาย ลำดับความสำคัญในการลงทุนตามความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบและความสามารถในการแข่งขัน พร้อมมีแผนดำเนินการอย่างชัดเจน  ความต่อเนื่องของการดำเนินนโยบายจากเสถียรภาพทางการเมืองเป็นปัจจัยชี้ขาดความสำเร็จ อย่างไรก็ตาม นโยบายการกำหนดอุตสาหกรรมเป้าหมาย (Target Industries) เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมดังกล่าวเป็นศูนย์กลางทางด้านต่างๆในระดับภูมิภาคหรือในระดับโลกไม่ใช่เรื่องใหม่และเป็นโมเดลการพัฒนาเศรษฐกิจอุตสาหกรรมที่เคยประสบความสำเร็จมาแล้ว ใน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน จีนและสิงคโปร์ คำถามสำคัญ คือ ทำไมประเทศเหล่านี้ประสบความสำเร็จในการพัฒนาเศรษฐกิจและธุรกิจอุตสาหกรรมได้อย่างไร และ ทำไมประเทศเหล่านี้สามารถทำให้เกิดขึ้นได้จริงมากกว่าไทย และไม่เป็นเพียงนโยบายสวยหรู เป็นเรื่องที่ รัฐบาล เอกชน ภาคการศึกษา สถาบันวิจัย ต้องไปแสวงหาคำตอบและแก้ไขปัญหาร่วมกัน เพื่อให้ประเทศไทยเป็นประเทศแถวหน้าของเอเชียตะวันออก </p>
<p>ศูนย์กลางหรือฮับ 8 ด้านที่มีประกาศเป็นวิสัยทัศน์ของรัฐบาลเศรษฐานั้น มีศูนย์กลางเมืองท่องเที่ยว (Tourism Hub) ศูนย์กลางอาหาร (Agriculture &amp; Food Hub) เป็นด้านที่ประเทศมีความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบ (Comparative Advantage) และ มีความได้เปรียบเชิงการแข่งขัน (Competitive Advantage) และมีปัจจัยพื้นฐานรองรับที่เข้มแข็งสามารถพัฒนาต่อยอดได้เร็วและไม่ยากลำบากเกินไป และ น่าจะประสบความสำเร็จได้ไม่ยาก ความพร้อมอยู่ในอันดับค่อนข้างดีอยู่แล้ว เพียงแต่ต้องพัฒนาต่อเนื่องตลอดจึงจะรักษาความเป็นอันดับต้นๆต่อไปได้อย่างยั่งยืน รวมทั้งต้องทำให้ผลประโยชน์จากการพัฒนาอุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว กระจายตัวมายังรายเล็กรายน้อยมากขึ้น ส่วนความพยายามในการเป็นศูนย์กลางด้านการแพทย์และสุขภาพ (Wellness &amp; Medical Hub) น่าจะมีความเป็นไปได้ในระดับปานกลาง จะบรรลุเป้าหมายได้ดีขึ้นหากมีการผลิตบุคลากรทางการแพทย์และนักวิทยาศาสตร์ทางด้านการแพทย์และสุขภาพให้เพียงพอ และ ลงทุนทางด้านวิจัยในผลิตเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์และสุขภาพเอง หากแยกออกเป็นส่วนที่เป็นเฉพาะการให้บริการทางด้านสุขภาพและการแพทย์ (Wellness and Medical Service Hub) เฉพาะส่วนนี้ “ไทย” มีความพร้อมมาก  </p>
<p>ดร.อนุสรณ์ ตั้งข้อสังเกตว่า ส่วนอุตสาหกรรมโลจีติกส์ขนส่งของภูมิภาค (Logistic Hub) มีข้อได้เปรียบโดยสภาพที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ของประเทศ แต่ยังต้องลงทุนในโครงการขนาดใหญ่เพื่อเชื่อมโยงในระดับภูมิภาคอีกมาก การเป็นฮับหรือเป็นศูนย์กลางจึงเป็นจริง ไม่ใช่เป็นเพียงความฝัน และธุรกิจไทยทางด้านโลจีติกส์ต้องเป็นผู้เล่นสำคัญในระดับภูมิภาคด้วย ไม่เช่นนั้น สิ่งที่ประเทศไทยพัฒนาระบบโลจีติกส์และความเชื่อมโยงทางด้านการขนส่งจะเกิดประโยชน์ต่อบริษัทโลจีติกส์ข้ามชาติยักษ์ใหญ่มากกว่ากิจการของไทย จะเกิดมูลค่าเพิ่มต่อเศรษฐกิจไทยและคนไทยไม่มาก บางอุตสาหกรรม เช่น ศูนย์กลางการบิน (Aviation Hub) ศูนย์กลางผลิตยานยนต์แห่งอนาคต (Future Mobility Hub) ศูนย์กลางเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy Hub) ไม่ได้มีพื้นฐานที่เข้มแข็งนัก ขาดทั้งทักษะในระดับผู้ประกอบการและแรงงาน ไม่มีโครงสร้างพื้นฐานและระบบสนับสนุนอย่างเพียงพอ อุตสาหกรรมกลุ่มนี้ต้องอาศัยการลงทุนอย่างยาวนานต่อเนื่องไม่ต่ำกว่า 10 ปีจึงจะสามารถขึ้นมาอยู่ในระดับที่พอจะเรียกได้ว่าเป็นศูนย์กลางหรือฮับในอนุภูมิภาคได้ ส่วนการประกาศเป็น ศูนย์กลางทางการเงิน (Financial Hub) เป็น Wall Street ของอาเซียนนั้น ต้องตั้งประเด็นว่า สถาบันการเงินและสถาบันการลงทุนจะย้ายฐานออกจาก “สิงคโปร์” ที่เป็นศูนย์กลางการเงินของโลกอยู่แล้ว มายัง “ไทย” ด้วยปัจจัย ด้วยเหตุผลอะไร เพราะอาเซียนไม่จำเป็นต้องมีศูนย์กลางทางการเงินสองแห่ง หากลดระดับลงมาเป็นศูนย์กลางของอนุภูมิภาคอาเซียนอาจเป็นไปได้ด้วยการเสริมบทบาท “เงินบาท” ในอินโดจีนและเมียนมา ส่วนการพัฒนาระบบการเงินเพื่อความยั่งยืน (Carbon Credit Trading) เป็นเรื่องดี การเชิญชวนให้บริษัทไฮเทคทางด้านดิจิทัลเข้ามาลงทุนในประเทศไทย การตั้งศูนย์ Data Center รองรับ Cloud Computing เป็นเรื่องที่ดี สำคัญคือทำอย่างไรให้เกิดการเชื่อมโยงกับ บริษัท Start Up ไทยที่มีอยู่ไม่มากและทำอย่างไรทำให้เกิด บริษัท Unicorn ขึ้นมาให้ได้  </p>
<p>การทำให้ประสบความสำเร็จต้องอาศัยความมุ่งมั่น ต่อเนื่อง ทำงานหนัก ไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนจนนโยบายบิดเบี้ยว และ สิ่งที่ต้องขบคิดต่อในเชิงยุทธศาสตร์นโยบายเศรษฐกิจและการพัฒนาอุตสาหกรรม ก็คือ เราจำเป็นแค่ไหนในการเป็นศูนย์กลางหรือฮับมากมายภายใต้ข้อจำกัดของทรัพยากรและงบประมาณที่มีอยู่ในประเทศ เราอาจต้องใช้ประโยชน์จากระบบโลกาภิวัตน์การผลิต การค้าและการเชื่อมโยงและบูรณาการมากขึ้นอย่างที่บรรษัทข้ามชาติของไทยทำหรือไม่ โดยไม่จำเป็นต้องกำหนดการเป็นศูนย์กลางอันหลากหลายเกินไปจนไม่มีโพกัสหรือจุดเน้นในแง่ยุทธศาสตร์ของประเทศ การประกาศการเป็นศูนย์กลาง 8 ด้านถือเป็นนโยบายที่มีส่วนคล้ายกับนโยบาย Industrial Champions ที่เกิดขึ้นในเกาหลีใต้และญี่ปุ่นที่ให้ความสำคัญบริษัทขนาดใหญ่ที่โดดเด่นในภาคอุตสาหกรรมบางแขนงจะถูกเลือกและกำหนดเป้าหมายไม่เพียงแต่แสวงกำไรของกิจการธุรกิจอุตสาหกรรมนั้นๆแต่ต้องตอบสนองต่อยุทธศาสตร์ชาติ โดยกิจการเหล่านี้จะได้รับสิทธิประโยชน์มากมายจากภาครัฐเป็นการตอบแทน ความสำเร็จของนโยบายเหล่านี้ คือ ญี่ปุ่น และ เกาหลีใต้ สามารถสร้างบริษัทธุรกิจอุตสาหกรรมยักษ์ใหญ่ในระดับโลกและระดับภูมิภาคขึ้นมาได้ ขณะเดียวกัน ก็เกิดปัญหาแสวงหาค่าเช่าทางเศรษฐกิจ การเอื้อประโยชน์ระหว่างผู้กำหนดนโยบายและยักษ์ใหญ่ทางธุรกิจ ในเกาหลีใต้กลุ่มแชร์โบลจึงสามารถกำหนดทิศทางการพัฒนาประเทศและมีอิทธิพลทางการเมืองสูงเช่นเดียวกับกลุ่มเคดันเรนในญี่ปุ่น กรณีของญี่ปุ่น การประสบความสำเร็จในการสร้างความรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจและการขยายใหญ่ก้าวหน้าของบริษัทอุตสาหกรรมชั้นนำสู่ระดับภูมิภาคและระดับโลกเกิดขึ้นจากสามเหลี่ยมเหล็กภายใต้ระบบอุปถัมภ์ระหว่างรัฐกับทุน กลุ่มสหพันธ์องค์กรเศรษฐกิจ หรือ กลุ่มเคดันเรน (Federation of Economic Organization or Keidanren) ได้รับสิทธิประโยชน์และการสนับสนุนต่างๆอย่างมากจากรัฐ รวมทั้งได้สัมปทานขนาดใหญ่จากรัฐ พรรคเสรีประชาธิปไตย (Liberal Democratic Party) ที่เป็นรัฐบาลผูกขาดยาวนานก็ได้รับการสนับสนุนทางการเมืองจากกลุ่มเคดันเรน การสร้างความยิ่งใหญ่และการเป็นศูนย์กลางในอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นในหลายสาขาจึงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงสามทศวรรษ 1970-1990 แล้วโมเดลการพัฒนาแบบนี้ก็เกิดปัญหาหลังฟองสบู่ทางเศรษฐกิจแตก ขณะที่เกาหลีใต้ที่ไล่กวดยึดยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมแบบญี่ปุ่น สร้างความก้าวหน้าและเติบโตทัดเทียมญี่ปุ่น แต่ก็มีปัญหาการคอร์รัปชันในระบบการเมืองอันเกิดจากการเอื้อประโยชน์ระหว่างรัฐกับทุนขนาดใหญ่เช่นเดียวกับญี่ปุ่น         </p>
<p>กรณีของจีนการใช้โมเดลการพัฒนาที่แตกต่างจากญี่ปุ่นแต่มีแนวทางบางอย่างร่วมกัน อุตสาหกรรมยุทธศาสตร์ส่วนใหญ่เป็นรัฐวิสาหกิจไม่ใช่เอกชนแล้วจึงค่อยๆเปิดกว้างใช้ระบบเสรีกลไกตลาดเพิ่มขึ้น ใช้การวางแผนระยะยาวด้วยกลไกของพรรคคอมมิวนิสต์จีนและมีสถาบันดูแลการวางแผนระยะยาวอย่างเป็นระบบ รัฐบาลจีนเช่นเดียวกับสิงคโปร์มีการเตรียมความพร้อมด้านบุคลากรภาครัฐได้อย่างมีคุณภาพและประสบความสำเร็จในการสร้างระบบราชการที่มีสำนึกสาธารณะอย่างเข้มแข็ง ทั้งสองประเทศไม่ไว้วางใจภาคประชาสังคมมากนัก ยุทธศาสตร์ถูกกำหนดแบบรวมศูนย์และค่อนข้างมีลักษณะสั่งการจากข้างบน หรือ Top Down อย่างไรก็ตาม เมื่อเศรษฐกิจพัฒนาไปถึงระดับหนึ่ง การเปิดเสรีเน้นกลไกตลาดถึงระดับหนึ่ง โมเดลการพัฒนาแบบจีนหรือสิงคโปร์ก็ไม่สามารถแช่แข็งการมีส่วนร่วมของตลาดและประชาชนต่อไปได้ ต้องเปิดกว้างมากขึ้นในที่สุด ขณะที่ ไต้หวัน จะให้น้ำหนักไปที่ SMES, Start Up ทั้งหลายมากกว่าบริษัทขนาดใหญ่ทำให้ระบบเศรษฐกิจมีการกระจายตัวของผลประโยชน์มากกว่า  โมเดลการพัฒนาเศรษฐกิจแบบอำนาจนิยมที่เคยประสบความสำเร็จอย่างสูงในเอเชียตะวันออก อาจไม่ประสบความสำเร็จในปัจจุบัน การมองว่าความเหลื่อมล้ำและการแสวงหาค่าเช่าทางเศรษฐกิจไม่ใช่เรื่องใหญ่ในโมเดลการพัฒนาแบบนี้กำลังมีปัญหาเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ  โจทย์สำคัญมากกว่าการพยายามเป็นศูนย์กลางทางด้านต่างๆของประเทศ คือ ผลประโยชน์จากการเป็นศูนย์กลาง ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจและการลงทุนต่างๆ ตกกระจายมาถึงประชาชนส่วนใหญ่หรือไม่ และ ทุกคนในประเทศนี้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอย่างชัดเจนอย่างไร </p>
<p>ดร.อนุสรณ์ กล่าวต่อว่า ประเทศที่มีระดับการพัฒนาตามหลังประเทศแถวหน้าของโลกอย่างไทย ต้องสร้างความได้เปรียบจาก “การพัฒนาทีหลัง” จาก ความสามารถทางสังคมและทุนมนุษย์ในการดูดซับ ถ่ายโอน เทคโนโลยีใหม่ๆ และ การออกแบบระบบสนับสนุนให้เกิดการถ่ายทอดเทคโนโลยีอย่างเป็นระบบ ไม่ใช่แค่ดึงดูดการลงทุนให้บรรษัทข้ามชาติยักษ์ใหญ่มาใช้ไทยเป็นฐานการผลิตเพื่อส่งออกเท่านั้น การไม่ได้ให้ความสำคัญในการสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยี การวิจัยและการพัฒนานวัตกรรม การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างเพียงพอทำให้ “ทุนมนุษย์ทั้งในระดับแรงงานและระดับประกอบการ” ไม่สามารถเป็นปัจจัยสำคัญในการช่วยทำให้ “ประเทศ” ก้าวข้ามพ้นกับดักการพัฒนาเมื่อสองสามทศวรรษที่ผ่านมาไปได้ นอกจากนี้ไทยยังมีอัตราส่วนทุนต่อผลิตผลเพิ่ม (ผลิตภาพ) ที่สูงมาก คือ ต้องใช้เงินลงทุนจำนวนมากเพื่อเพิ่มผลผลิตเพียงเล็กน้อย สะท้อนประสิทธิภาพการลงทุนโดยเฉพาะอยู่ในระดับต่ำนั่นเอง ปัญหาเชิงโครงสร้างยังไม่ได้รับการแก้ไขแม้นเวลาจะล่วงเลยมาร่วมสามทศวรรษหากย้อนกลับไปพิจารณาบทความเรื่อง “The Myth of Asia’s Miracle” ของ ศาสตราจารย์ ดร. พอล ครุกแมน (Paul Krugman) ที่ตีพิมพ์ในนิตยสาร Foreign Affairs เมื่อเดือนธันวาคม ค.ศ. 1994 (พ.ศ. 2537) บทความนี้ออกเผยแพร่ 2 ปีกว่าก่อนเกิดวิกฤตการณ์เศรษฐกิจเอเชียปี 2540 บทความชี้แนะว่า การเติบโตของไทยและเอเชียบางประเทศก่อนวิกฤติใหญ่ เกิดจาก การพึ่งพาเม็ดเงินลงทุนจากต่างประเทศและการเพิ่มขึ้นของจำนวนแรงงาน ไม่ได้พัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อเพิ่มผลิตภาพของทุนและแรงงานแต่อย่างใด จึงเป็นการเติบโตจากเปลือกนอก การพัฒนาเศรษฐกิจที่ขาดการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมภายในประเทศแม้จะดูรุ่งโรจน์ในช่วงแรกเพียงใดก็ตาม ไม่ช้าก็เร็วจะต้องประสบกับข้อจำกัดอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ สิ่งนี้เห็นได้จากการนำ “ไทย” ไปเทียบกับ “จีน” และ “เกาหลีใต้” หรือแม้นกระทั่ง “มาเลเซีย” และ “เวียดนาม” ในอนาคต   </p>
<p>นอกจากนี้การกระจุกตัวของกำไรและความเข้มข้นของมูลค่าบริษัทในตลาดหุ้นสหรัฐอเมริกานั้น พบว่าขนาดมูลค่าตลาดและกำไรกระจุกตัวของ 7 บริษัทยักษ์ใหญ่ไฮเทคสหรัฐอันประกอบไปด้วย Apple, Amazon, Alphabet, Meta, Microsoft, Nvidia and Tesla อาจสร้างความเสี่ยงอย่างมากต่อตลาดหุ้นโลกและเศรษฐกิจสหรัฐในอนาคตได้ มูลค่าตลาดของ 7 บริษัทมีขนาดใหญ่กว่ามูลค่าตลาดของทั้งตลาดหลักทรัพย์ที่มีขนาดใหญ่อันดันสองของโลก มูลค่าตลาดหรือราคาหุ้นของ 7 บริษัทจึงมีมูลค่าใหญ่กว่ามูลค่าของตลาดหุ้นของทุกประเทศยกเว้นตลาดหุ้นสหรัฐอเมริกา สิ่งนี้สะท้อนความเหลื่อมล้ำรุนแรงในโลกาภิวัตน์ของเศรษฐกิจดิจิทัลที่อยู่ภายใต้อิทธิพลของบริษัทยักษ์ใหญ่ไฮเทคไม่กี่แห่ง ภาวะดังกล่าวเป็นเรื่องที่นักลงทุนพึงตระหนักถึงความเสี่ยงและบริหารความเสี่ยงให้ดี หากฟองสบู่ราคาหุ้นของ 7 บริษัทแตกขึ้นมาในวันใดจะมีผลกระทบต่อตลาดการลงทุน ตลาดการเงินและเศรษฐกิจโดยรวมของโลกมาก ขณะที่ผู้กำหนดนโยบายเศรษฐกิจดิจิทัลของไทย ควร ศึกษาทำความเข้าใจและกำหนดนโยบายสาธารณะที่เหมาะสมในเรื่องดังกล่าว การซื้อและใช้บริการเทคโนโลยีของคนอื่นตลอดเวลาโดยไม่สามารถพัฒนาเทคโนโลยีของตัวเองได้ โดยเฉพาะในธุรกิจแพลตฟอร์มย่อมทำให้ตกเป็นเบี้ยล่างทางเศรษฐกิจตลอดเวลา และ เกิดสภาวะ “ทำมาก ทำอย่างหนัก ได้น้อย และไม่สามารถหลุดพ้นจากการเป็นหนี้หรือความยากจนได้” ไม่ใช่ภาวะ “ทำน้อย ผลิตภาพสูง และได้มากเพราะเป็นเจ้าของเทคโนโลยีหรือแพลตฟอร์มเอง” หากประเทศไทยไม่สามารถพัฒนาอุตสาหกรรมดิจิทัลหรือเทคโนโลยีแบบไล่กวดได้เช่น จีน ไต้หวันและญี่ปุ่น เราควรศึกษาวิธีการทางนโยบายภาษีของอียูในการทำให้เกิดการแบ่งปันอย่างเป็นธรรมจากบริษัทยักษ์ใหญ่ไฮเทคสหรัฐโดยไม่ละเมิดกฎเกณฑ์องค์การการค้าโลกหรือข้อตกลงทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศที่ไทยได้ทำไว้   </p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2024/02/108217
 

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

นักข่าวหัวเห็ด แห่งเวบสุขใจ
อัพเดตข่าวทันใจ ตลอด 24 ชั่วโมง

>> http://www.SookJai.com <<
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.209 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 26 กุมภาพันธ์ 2567 13:35:15