ทำไมผู้นำคนใหม่กองกำลัง 'แวกเนอร์'-'รัสเซีย' ถึงขยายอำนาจในลิเบีย และแอฟริกา
<span class="submitted-by">Submitted on Fri, 2024-03-08 16:49</span><div class="field field-name-field-byline field-type-text-long field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><p>ภาพปก: กองกำลังแวกเนอร์ในเบลาลุส เมื่อ ก.ค. 2566 (ที่มา: ยูทูบ
BelTA)</p>
</div></div></div><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>ส่องปัจจัย ทำไมหลังกองกำลังทหารรับจ้างสัญชาติรัสเซีย 'แวกเนอร์' ได้ผู้นำคนใหม่ รับคำสั่ง รัฐบาล 'ปูติน' วางกำลังและสร้างอิทธิพลเพิ่มขึ้นในลิเบีย และประเทศต่างๆ ในภูมิภาคแอฟริกา </p>
<p> </p>
<p>กองกำลังทหารรับจ้าง 'แวกเนอร์' ที่รับคำสั่งจากรัฐบาลรัสเซีย ขยายกำลังของตัวเองในลิเบีย ตั้งแต่ปี 2561 เป็นอย่างต่ำ เมื่อตอนนั้นมีรายงานว่า ทางกลุ่มกองกำลังกลุ่มนี้เป็นกลุ่มแรกที่ทำการฝึกกองกำลังกลุ่มกบฏภายใต้การนำของผู้บัญชาการ คาลิฟา ฮัฟตาร์ (Kalifa Haftar) ผู้นำกองทัพแห่งชาติลิเบีย ซึ่งเป็นกองกำลังฝ่ายตะวันออกของลิเบีย</p>
<div><img alt="" src="
https://live.staticflickr.com/65535/53574602801_a165648b03_b.jpg" /></div>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#d35400;">กองกำลังแวกเนอร์ในเบลาลุส เมื่อปี 2566 (ที่มา: ยูทูบ
BelTA)</span></p>
<p>สำหรับลิเบีย เป็นประเทศที่มีสองรัฐสภาเนื่องจากความขัดแย้งทางการเมือง ทำให้ในปัจจุบันมีผู้นำรัฐบาล 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายที่มีฐานในกรุงตรีโปลี คือ "รัฐบาลเอกภาพแห่งชาติ" (GNU) กับ "กองกำลังแห่งชาติลิเบีย" (LNA) ที่นำโดยฮัฟตาร์ ซึ่งองค์การสหประชาชาติ มีมติให้เรียก LNA ว่าเป็น "กองกำลังของฮัฟตาร์" (HAF) เนื่องจากไม่ต้องการให้ความชอบธรรมของพวกเขาว่าเป็นกองกำลังที่มาจากรัฐบาลลิเบีย</p>
<p>ภายหลังจากเสียชีวิตของเยฟเกนี พรีโกซิน ผู้ก่อตั้งแวกเนอร์ และอดีตพันธมิตรของปูติน ซึ่งเสียชีวิตเมื่อปีที่แล้วนั้น ส่งผลให้ทิศทางของกองกำลังแวกเนอร์ในลิเบีย และภูมิภาคแอฟริกา ขาดความแน่นอน</p>
<p>รัสเซียใช้งานกองทัพทหารรับจ้างหลายกลุ่ม อย่างไรก็ตาม กลุ่มที่ใกล้ชิดกับรัฐบาลรัสเซียมากที่สุดก็หนีไม่พ้นแวกเนอร์ ที่ก่อตั้งโดนพรีโกซิน รัสเซียไม่ต้องลงทุนลงแรงอะไรมาก แวกเนอร์ก็ช่วยให้รัสเซียได้อิทธิพลทางการเงิน ทางการทหาร และทางการเมือง ในลิเบีย และทั่วแอฟริกา</p>
<p>สถาบันรอยัลยูไนเต็ดเซอร์วิส (RUSI) ที่เป็นหน่วยงานความมั่นคงของสหราชอาณาจักร รายงานว่า เมื่อพิจารณาจากผลประโยชน์แล้ว จึงแทบเป็นไปไม่ได้เลยที่รัสเซียจะทำการยุบแวกเนอร์ ถึงแม้ว่าแวกเนอร์ จะพยายามก่อกบฏต่อรัฐบาลรัสเซียเมื่อปี 2566 หลังจากที่พรีโกซิน เสียชีวิต </p>
<p>เช่นเดียวกับกลุ่มกองกำลังทหารรับจ้างกลุ่มอื่นๆ อย่างเช่น คอนสเตลลิส ของสหรัฐฯ (ที่เคยใช้ชื่อ "แบล็กวอเตอร์") แวกเนอร์ทำให้ประเทศของตัวเองสามารถปฏิบัติการท่ามกลางความขัดแย้งในต่างประเทศได้ โดยที่ยังคงวางตัวดูเหมือนจะอยู่ห่างจากความขัดแย้ง ทำให้สามารถส่งอิทธิพลได้ไปพร้อมๆ กับสามารถปฏิเสธความรับผิดชอบได้ในระดับหนึ่ง พอสามารถวางตัวออกห่างได้เช่นนี้ ก็ทำให้กองกำลังทหารรับจ้างเหล่านี้ปฏิบัติการสงครามที่อยู่นอกขอบข่ายพันธกรณีของรัฐได้ เช่น ปฏิบัติการก่อการร้าย และปฏิบัติการบิดเบือนข้อมูลข่าวสารในแบบที่กองทัพของประเทศไม่ได้รับอนุญาตให้กระทำ</p>
<p>รัสเซีย จัดให้หน่วยงานข่าวกรองรัสเซีย GRU โดยเฉพาะ นายพล อังเดร เอเวอรียานอฟ เป็นผู้ทำหน้าที่บัญชาการวางกำลังของแวกเนอร์ในต่างประเทศ ถึงแม้ว่าจะมีการใช้กองกำลังทหารรับจ้างอื่นมาคั่นกลางอย่างกองกำลัง "คอนวอย" ซึ่งก่อตั้งในปี 2566 ขึ้นที่ไครเมีย พื้นที่ที่รัสเซียยึดครองจากยูเครน และกองกำลัง "รีดัต" ที่ปฏิบัติการในยูเครน </p>
<p>ส่วนกองกำลังแวกเนอร์นั้นมีการจัดตั้งมาตั้งแต่ปี 2551 เพื่อปกป้องผลประโยชน์ทางธุรกิจของรัสเซีย โดยที่ยังทิ้งช่องว่างให้รัสเซียปฏิเสธความรับผิดชอบได้ ในตอนที่แวกเนอร์ ปฏิบัติการในยูเครนนั้น พวกเขามีการเปลี่ยนชื่อตัวเองเป็น "โวลุนเทียร์คอร์ปส์" และในปฏิบัติการที่อื่นๆ ก็มีการเปลี่ยนชื่อเป็น "เอ็กซ์เพดิชันนารีคอร์ปส์"</p>
<p>สิ่งที่สะท้อนให้เห็นว่า กองกำลังแวกเนอร์ ยังคงมีความทะเยอทะยานอย่างไม่ลดละคือการที่พวกเขาสร้างกำลังรบรับจ้างทั่วแอฟริการาว 40,000 นาย ถึงแม้ว่าจะลดเหลือ 20,000 นาย แต่ก็นับว่าใหญ่กว่าที่พวกเขาเคยทำได้ในช่วงหลังๆ นี้</p>
<p>การประเมินเจตนาของนายพลเอเวอรียานอฟนั้น จะกระทำได้จากการมองย้อนกลับไปในตอนที่เขาเป็นผู้บัญชาการหน่วย 29155 ซึ่งเป็นฝ่ายข่าวกรองการทหารของรัสเซีย มีรายงานว่าในตอนนั้นหน่วยงานนี้ทำหน้าที่ดูแลจัดการการลอบสังหารข้ามชาติและการทำลายเสถียรภาพของประเทศในยุโรป</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">ทำไมแอฟริกาถึงสำคัญต่อ 'แวกเนอร์'</span></h2>
<p>'แอฟริกา' เป็นหนึ่งในทวีปที่มีเชื้อเพลิงและแร่มากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ซึ่งในตอนนี้เป็นทวีปที่มีประชากรหนุ่มสาวกำลัง "บูม" จึงเป็นที่ที่จะเปลี่ยนแปลงลักษณะประชากรของโลก</p>
<p>ในแอฟริกา มีประเทศลิเบีย ที่เป็นแหล่งน้ำมันและทองคำที่ใหญ่ที่สุดติดอันดับท็อป 50 ของโลก นอกจากนี้ ภูมิศาสตร์ของลิเบีย ที่ติดกับประเทศ ไนเจอร์ ชาด และซูดาน อีกทั้ง ยังเชื่อมกับแอฟริกาเหนือ และยุโรป ทำให้ลิเบีย มีความสำคัญทางยุทธศาสตร์</p>
<p>ใน ก.ย. 2566 เอเวอร์ยานอฟ กับจอมพลฮัฟตาร์ เคยเดินทางด้วยกันเพื่อไปเยือน มาลี บูร์กินา ฟาโซ สาธารณรัฐแอฟริกากลาง และไนเจอร์ ทุกที่ที่พวกเขาเดินทางไปเยือน สรุปได้ว่าเป็นการไปขอทรัพยากร เพื่อแลกเปลี่ยนกับความมั่นคง</p>
<div style="text-align: center;"><img alt="" src="
https://live.staticflickr.com/65535/53574932144_1ceafffed5_b.jpg" /></div>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#d35400;">(ขวา) คาลิฟา ฮัฟตาร์ (ที่มา: X บัญชี </span>
<span style="color:#d35400;">StateDept_NEA</span><span style="color:#d35400;">)</span></p>
<p>มีแต่ลิเบีย เท่านั้นที่ใช้วิธีการแบบเดียวกันไม่ได้ โรงขุดเจาะน้ำมันของรัสเซีย ที่ใหญ่โตสามารถปฏิบัติการในลิเบีย ได้ ต้องอาศัยอีกรัฐบาลหนึ่งของลิเบีย ในกรุงตริโปลี คือ รัฐบาลเอกภาพแห่งชาติ (GNU) ที่ได้รับการยอมรับจากนานาชาติ นั่นทำให้ฮัฟตาร์ และพรรคพวกของเขา จะต้องควักกระเป๋าตนเอง เพื่อให้มีการวางกำลัง "เอ็กซ์เพดิชันนารี คอร์ปส์" ซึ่งเป็นอีกชื่อหนึ่งของแวกเนอร์</p>
<p>ตาเร็ก มีเกรีซี นักวิจัยอาวุโสจากคณะมนตรียุโรปด้านความสัมพันธ์ทางการทูต กล่าวว่า "ฮัฟตาร์ต้องการแวกเนอร์" เขาบอกอีกว่า นอกจากฮัฟตาร์ จะให้ที่พักพิงแก่แวกเนอร์ ในลิเบียแล้ว แวกเนอร์ยังสามารถใช้ฐานที่มั่นในลิเบีย เพื่อสนับสนุนปฏิบัติการในซีเรีย ซูดาน และที่อื่นๆ ได้ด้วย</p>
<p>มีเกรีซี แสดงทัศนะว่า มันไม่ใช่แค่เรื่องการสนับสนุนทางการทหาร แต่นับเป็น "เครือข่าย" แวกเนอร์ใช้ฐานที่มั่นทางตะวันออกของลิเบีย เพื่อขนส่ง "แคปตากอน" ยาเสพติดผิดกฎหมายจากซีเรีย มีการหันมาใช้ทอง เพื่อหลีกเลี่ยงการคว่ำบาตรและทำการลอบขนคนเข้าเมืองจากทางตอนใต้ของแอฟริกา รวมถึงจากที่อื่นๆ ที่มาไกลมากอย่างบังคลาเทศ</p>
<p>มีเกรซี มองว่า "ลิเบียเป็ยพื้นที่ที่ทำกำไรได้อย่างมากแก่แวกเนอร์"</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">อิทธิพลของแวกเนอร์</span></h2>
<p>ผู้เชี่ยวชาญประเมินว่า กองกำลังแวกเนอร์ในชื่อ 'เอ็กซ์เพดิชันนารี คอร์ปส' ในลิเบีย มีทหารรับจ้างอยู่ราว 800 นาย และมีราว 4,600 นายที่กระจายตัวไปทั่วแอฟริกาตอนล่างของซาฮารา นอกจากนักรบแล้ว ยังมีฐานทัพอากาศตามที่ต่างๆ ซึ่งมีการอนุญาตให้ทั้งกองกำลังของฮัฟตาร์และกองกำลังทหารรับจ้างใช้ฐานทัพอากาศเหล่านี้ในการลำเลียงสิ่งของต่างๆ ระหว่างกลุ่มพันธมิตรในซูดาน และประเทศอื่นๆ ในภูมิภาค</p>
<p>นอกจากอิทธิพลภาคพื้นดินแล้ว ตอนนี้กำลังมีการเจรจาเพื่อที่จะให้เรือรบรัสเซีย สามารถเทียบท่าในท่าเรือทอบรุค ของลิเบียได้ โดยแลกกับระบบป้องกันอากาศยานและการฝึกอบรมนักบินให้กับกองกำลังของฮัฟตาร์</p>
<p>อีวาน คลิสซิคซ์ เจ้าหน้าที่ด้านนโยบายการต่างประเทศรัสเซียที่ศูนย์เพื่อการป้องกันประเทศและความมั่นคงจากเอสโทเนีย กล่าวว่า แถบเมดิเตอร์เรเนียนตอนกลาง และตะวันออก เป็นพื้นที่ที่สำคัญอย่างมากต่อยุโรป และต่อนาโต การที่รัสเซียสามารถเข้าถึงท่าเรือเมดิเตอร์เรเนียนในซีเรียอยู่แล้วและยังได้ท่าเรือในลิเบียเพิ่มขึ้นอีก จะกลายเป็นการแข่งขันด้านอาวุธกับยุโรป โดยเฉพาะกับอังกฤษ ที่มีการวางกำลังกองทัพเรือจำนวนมากที่ไซปรัส</p>
<p>นอกจากนี้ นักวิเคราะห์ยังประเมินว่ามีโอกาสที่กองกำลังแวกเนอร์ จะขยายตัวเพิ่มขึ้นอีกเป็น 20,000 นาย ซึ่งมีการเกณฑ์กำลังพลจากที่ต่างๆ ทั่วแอฟริกา และอาจจะกลายเป็นการที่กลุ่มทหารรับจ้างกลุ่มนี้จะสามารถนำกองทัพจากประเทศในแอฟริกาประเทศหนึ่งไปวางกำลังในอีกประเทศหนึ่งได้โดยทำตามกฎที่พวกเขาตั้งขึ้นมาเอง จนอาจจะทำให้เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนด้านต่างๆ ได้ เช่น การข่มขืน การทารุณกรรม และการใช้ทุ่นระเบิดต่อต้านบุคคล</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">หมากเกมนี้จะลงเอยอย่างไร</span></h2>
<p>ในลิเบียไม่ได้มีแต่แวกเนอร์เท่านั้นที่ส่งอิทธิต่อการต่อสู้ทางการเมืองในประเทศที่มีการเปลี่ยนแปลงไปๆ มาๆ แต่ยังมีกลุ่มติดอาวุธที่เป็นมิตรกับรัฐบาลในตรีโปลี และกองกำลังชาวตุรกี ที่คอยจับมือกับผู้นำทหารในท้องถิ่น พวกเขาเคยช่วยกันทำการขับไล่กองกำลังของฮัฟตาร์ ที่แวกเนอร์ หนุนหลัง </p>
<p>นอกจากนี้ กลุ่มรัฐบาลในตรีโปลี ที่เป็นมิตรกับชาวตุรกียังมีอิทธิพลควบคุมเรื่องอุตสาหกรรมพลังงานในลิเบียด้วย ซึ่งเป็นภาคส่วนอุตสาหกรรมที่รัสเซียทุ่มทุนในลิเบีย ดังนั้น นักวิเคราะห์จึงมองว่า รัสเซียและแวกเนอร์มีโอกาสที่จะทรยศฮัฟตาร์ เพื่อรักษาผลประโยชน์ของตัวเอง และอาจจะหันไปจับมือกับกองกำลังชาวตุรกีแทน </p>
<p>คลิสซิคซ์ กล่าวว่า "คุณต้องไม่ลืมว่ารัสเซียนั้นปฏิสัมพันธ์เชิงยุทธศาสตร์นานาชาติด้วยนัยยะเชิงภูมิภาค ... เจตนาของปูติน คือการสร้างโลกที่แบ่งขั้วกันหลายขั้ว ด้วยการที่ทั้งอินเดีย และจีน ต่างก็ใช้อำนาจของตนเอง แทนที่จะมีแต่ (อำนาจจาก) โลกตะวันตกแบบที่พวกเรามีอยู่ในตอนนี้"</p>
<p> </p>
<p><strong>เรียบเรียงจาก</strong></p>
<p>
Under new general, Russia’s Wagner makes deeper inroads into Libya, Aljazeera, 25-02-2024</p>
<p><strong>ข้อมูลเพิ่มเติมจาก</strong>
https://en.wikipedia.org/wiki/Western_Libya_campaign </p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">
https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์
https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
https://prachatai.com/journal/2024/03/108353 







