[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
28 เมษายน 2567 02:58:01 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - ตั้งข้อสังเกตแก้ไข พ.ร.ก.ประมง เสี่ยงถูกลดระดับความน่าเชื่อถือ-ขัดอนุสัญญาระหว  (อ่าน 32 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
สุขใจ ข่าวสด
I'm Robot
สุขใจ บอทนักข่าว
นักโพสท์ระดับ 15
****

คะแนนความดี: +101/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Italy Italy

กระทู้: มากเกินบรรยาย


บอท @ สุขใจ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 09 มีนาคม 2567 13:54:04 »

ตั้งข้อสังเกตแก้ไข พ.ร.ก.ประมง เสี่ยงถูกลดระดับความน่าเชื่อถือ-ขัดอนุสัญญาระหว่างประเทศ
 


<span class="submitted-by">Submitted on Sat, 2024-03-09 12:34</span><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>เครือข่ายองค์กรด้านประชากรข้ามชาติ (Migrant Working Group) ออกจดหมายเปิดผนึกตั้งข้อสังเกตการแก้ไขพระราชกำหนดการประมง พ.ศ.2558 มีความเสี่ยงต่อการถูกลดระดับความน่าเชื่อถือในตลาดการค้าโลก และขัดต่ออนุสัญญาระหว่างประเทศ</p>
<p>เมื่อวันที่ 8 มี.ค. 2567 ออกจดหมายเปิดผนึกตั้งข้อสังเกตการแก้ไขพระราชกำหนดการประมง พ.ศ.2558 มีความเสี่ยงต่อการถูกลดระดับความน่าเชื่อถือในตลาดการค้าโลก และขัดต่ออนุสัญญาระหว่างประเทศ โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้</p>
<h2><span style="color:#3498db;">จดหมายเปิดผนึก
เครือข่ายองค์กรภาคประชาสังคมตั้งข้อสังเกตการแก้ไขพระราชกำหนดการประมง พ.ศ.2558 มีความเสี่ยงต่อการถูกลดระดับความน่าเชื่อถือในตลาดการค้าโลก และขัดต่ออนุสัญญาระหว่างประเทศ</span></h2>
<p>เครือข่ายองค์กรด้านประชากรข้ามชาติ (Migrant Working Group)  ร่วมกับ มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา (Human Rights Development Foundation ) และ  Solidarity Center ทบทวนร่างกฎหมายประมงรายมาตรารวม 10 ฉบับ พบว่า เนื้อหาร่างพรบ. ของทุกฝ่ายทั้งจากคณะรัฐมนตรี พรรคฝ่ายรัฐบาล พรรคฝ่ายค้าน และสมาคมประมง มีเนื้อหาที่สอดคล้องเสมือนเป็นร่างฉบับเดียวกัน แสดงให้เห็นว่าการร่างพรบ.ฉบับนี้น่าจะมีทิศทางไปในแนวทางเดียวกัน แตกต่างกันในรายละเอียดบางมาตรา โดยหลักแล้วร่างพรบ.ทุกฉบับมุ่งเน้นในการผ่อนปรนให้การบังคับใช้กฎหมายต่อการทำประมงผิดกฎหมายมีมาตราการที่เบาลงทั้งในเรื่องของการจับสัตว์น้ำ การขนถ่ายสัตว์น้ำ อุปกรณ์จับสัตว์น้ำ การขนถ่ายแรงงานกลางทะเล มาตรการทางปกครองและการลงโทษทางอาญา </p>
<p>เครือข่ายฯมีความกังวลว่าหากกฎหมายดังกล่าวผ่านเข้าสู่การประกาศใช้ ความเสี่ยงต่อการทำประมงอย่างผิดกฎหมาย การทำประมงเกินขนาด และการละเมิดสิทธิแรงงานประมงในรัฐไทยอาจมีเพิ่มมากขึ้นสวนทางกับมาตรการและบทลงโทษต่อผู้กระทำลงกลับมีลักษณะที่เบาลง</p>
<p><strong>ข้อสังเกตที่ 1 บททั่วไปของร่างพรบ. แก้ไข พรก. การประมง พ.ศ. ......  </strong></p>
<p>• การคุ้มครองแรงงานและการใช้แรงงานประมงผิดกฎหมาย ถูกตัดออกจากส่วนหลักการและเหตุผลของร่างกฎหมาย ซึ่งเป็นประเด็นสำคัญที่องค์กรระหว่างประเทศให้ความสนใจ การใช้ประมงผิดกฎหมายเป็นข้อห่วงใยที่ทาง TIP Office และ EU ให้ความสำคัญ 
• การกำหนดบทลงโทษในร่างพรบ.มีวัตถุประสงค์เพื่อป้องปรามและป้องกันการกระทำความผิด การกำหนดบทลงโทษทางอาญาเพื่อให้เกิดการป้องปรามจึงควรเป็นการกำหนดโทษตามทฤษฎี อรรถประโยชน์ (Utilitarian theory) คือการกำหนดโทษเพื่อข่มขู่ยับยั้ง (Deterrence) มิให้เกิดการกระทำผิดขึ้นอีกในอนาคต
 
<strong>ข้อสังเกตที่ 2 คณะกรรมการในร่างกฎหมาย </strong></p>
<p>• มีการตัดผู้แทนจากกระทรวงแรงงานออกจากคณะกรรมการ ทำให้คณะกรรมการในร่างกฎหมายใหม่ไม่มีผู้บังคับใช้กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน ซึ่งอาจนำมาซึ่งข้อจำกัดไม่สามารถใช้มาตรการทางปกครองได้หากมีกรณีละเมิดสิทธิแรงงานเกิดขึ้นบนเรือประมงเนื่องจากคณะกรรมการขาดความรู้ความเข้าใจในบริบทการคุ้มครองแรงงาน นอกจากนี้พบว่ามีการกระจายอำนาจให้แก่นักการเมืองท้องถิ่นในเขตทำประมง ซึ่งอาจทำให้อำนาจในการตรวจสอบผู้กระทำความผิดเป็นไปได้ยากมากขึ้น 
• ขาดกลไกในการตรวจสอบการทำงานทั้งจากหน่วยงานภายในและหน่วยงานภายนอก ร่างกฎหมายทุกฉบับไม่ได้แสดงให้เห็นกลไกการทำงานร่วมกันของคณะกรรมการทั้งหมดซึ่งเป็นข้อน่ากังวลถึงเรื่องประสิทธิภาพว่าจะมีแนวทางที่ชัดเจนไปในทางเดียวกันอย่างไร​
 
<strong>ข้อสังเกตที่ 3 การออกใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์กับการนิรโทษกรรมผู้เคยทำประมงผิดกฎหมาย</strong></p>
<p>มีความเสี่ยงกรณีเรือประมงที่เคยถูกเพิกถอนใบอนุญาตเกินกว่าสองปีสามารถกลับมาขอออกใบอนุญาตได้อีกครั้งหนึ่ง เนื่องจากในร่างกฎหมายได้ตัดข้อความใน (5) ซึ่งกำหนดห้ามผู้เคยถูกเพิกถอนใบอนุญาตทําการประมงยังไม่พ้นห้าปีนับถึงวันยื่นคําขอรับใบอนุญาต ดังนั้น หากร่างกฎหมายฉบับนี้ผ่านอาจจะเป็นการนิรโทษกรรมให้แก่เรือและผู้ที่เคยถูกมาตรการทางปกครองเพิกถอนใบอนุญาตจากกฎหมายฉบับเดิม</p>
<p><strong>ข้อสังเกตที่ 4 การอนุญาตให้มีการขนถ่ายสัตว์น้ำกลางทะเลด้วยเรือประมง </strong></p>
<p>ร่างกฎหมายทุกฉบับเปิดโอกาสให้มีการขนถ่ายสัตว์น้ำได้ทั้งประมงในและนอกน่านน้ำไทย กล่าวคือ ในร่างกฎหมายทุกฉบับการแก้ไขให้เรือประมงที่จดแจ้งต่อศูนย์ควบคุมเรือเข้าออกสามารถขนถ่ายสัตว์น้ำได้เช่นเดียวกับเรือขนถ่ายสัตว์น้ำและแก้ไขให้เรือประมงทีได้จดแจ้งสามารถนำเข้าสัตว์น้ำที่นำเข้าจากต่างประเทศเข้ามายังท่าเทียบเรือได้อีกด้วย ซึ่งมีความเสี่ยงในการทำประมงเกินขนาด การจับปลาด้วยวิธีการที่ผิดกฎหมายซึ่งไม่สามารถตรวจสอบที่มาของปลาได้ และเสี่ยงต่อการใช้แรงงานบังคับเนื่องจากเรือประมงต้องออกไปทำการประมงเป็นเวลานาน  </p>
<p><strong>ข้อสังเกตที่ 5 การรายงานคนประจำเรือ (Crew List) และหนังสือคนประจำเรือ</strong></p>
<p>ร่างกฎหมายทุกฉบับกำหนดให้เรือประมงไม่จำเป็นต้องแจ้งจำนวนรายชื่อและหนังสือคนประจำเรือ หรือหลักฐานการอนุญาต ของคนประจำเรือที่จะออกไปพร้อมกับเรือประมง และได้บัญญัติว่า “ในกรณีที่มีความจำเป็น เรือประมงที่จะออกจากฝั่งเพื่อไปทำการประมง สามารถรับฝากคนประจำเรือหรือลูกเรือที่มีใบอนุญาตและหนังสือประจำตัวแล้วออกไปกับเรือเพื่อนำส่งให้กับเรือประมงลำอื่นที่ได้รับอนุญาตแล้วได้”</p>
<p>การแก้ไขข้างต้นทำให้เกิดความสุ่มเสี่ยงต่อการละเมิดสิทธิแรงงานประมง เนื่องจากไม่สามารถตรวจสอบว่าเรือลำดังกล่าวได้ใช้แรงงานประมงอย่างถูกกฎหมายหรือไม่ ทำให้แรงงานประมงตกอยู่ในความสุ่มเสี่ยงที่จะตกเป็นแรงงานทาสโดยที่ไม่สามารถจะดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดได้เนื่องจากขาดพยานหลักฐานที่สำคัญ </p>
<p><strong>ข้อสังเกตที่ 6 มาตรการทางปกครอง</strong></p>
<p>• มาตรการทางปกครองที่ไม่ได้สัดส่วนต่อการกระทำความผิด  กล่าวคือ การพักหรือระงับใช้ใบอนุญาต โดยให้มีระยะเวลาหกสิบวันในกรณีที่เป็นความผิดครั้งแรก และไม่เกินเก้าสิบวันในกรณีที่เป็นความผิดซ้ำครั้งที่สอง  หรือการยึดหรือเพิกถอนใบอนุญาต โดยให้มีระยะเวลาได้ล่วงเวลาสองปี และสามารถกลับมาขอใบอนุญาตได้อีกครั้งหนึ่ง ซึ่งกรอบระยะเวลาดังกล่าวอาจไม่ได้สัดส่วนต่อการกระทำความผิดที่มีลักษณะกระทบต่อสาธารณประโยชน์ซึ่งผลกระทบดังกล่าวจำเป็นต้องได้รับการเยียวยาจากผู้กระทำความผิด เช่น ความผิดฐานการใช้เครื่องมือประมงผิดกฎหมาย ซึ่งอาจก่อให้เกิดการทำลายทรัพยากรธรรมชาติ การจับสัตว์น้ำต้องห้ามหรือการใช้เรือไร้สัญชาติเข้ามาทำประมง เป็นต้น และมาตรการทางปกครองควรกำหนดให้มีลักษณะไปในเชิงเยียวยาต่อความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากการละเมิดกฎหมายฉบับนี้ด้วย
• การกำหนดให้ผู้ที่ได้รับมาตรการทางปกครองไม่ต้องรับผิดทางอาญา 
ร่างกฎหมายของพรรคการเมือง ยกเว้นร่างจากคณะรัฐมนตรี ได้วางหลักไว้ว่า ในกรณีที่คณะกรรมการมาตรการทางปกครองได้ออกคำสั่งลงโทษผู้กระทำความผิดแล้ว ให้ระงับการดำเนินคดีที่มีโทษทางอาญาตามพระราชกำหนดนี้ในความผิดเดียวกันอีก บทบัญญัตินี้อาจส่งผลให้ผู้กระทำความผิดได้รับโทษทางอาญาน้อยลงเนื่องจากการใช้มาตรการทางปกครองมีระยะเวลาและการตัดสินใจโดยคณะกรรมการมาตราการทางปกครองที่รวดเร็วกว่าระบบกระบวนการยุติธรรม ซึ่งช่องว่างนี้อาจก่อให้เกิดปัญหาการเรียกรับผลประโยชน์เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ต้องรับโทษทางอาญาได้ง่ายขึ้น</p>
<p><strong>ข้อสังเกตที่ 7 บทลงโทษ </strong></p>
<p>• ยกเลิกโทษจำคุกในความผิดทุกกรณี  การยกเลิกโทษจำคุกควรมีเหตุผลที่ชัดเจนว่ามีความจำเป็นอย่างไร และจะมีมาตรการทดแทนอย่างไรที่เป็นการยับยั้งการกระทำความผิดไม่ให้เกิดขึ้นซ้ำอีก
• การลดโทษปรับในความผิดต่างๆ การลดโทษโดยไม่คำนึงถึงผลลัพธ์ความเสียหายอาจส่งผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาได้ 
การพิจารณาการลงโทษควรใช้หลักได้สัดส่วนซึ่งในบริบทการทำประมง กฎหมายควรอ้างอิงจากความเสียหายที่เกิดขึ้นซึ่งในที่นี้คือทรัพยากรธรรมชาติและมนุษย์ ดังนั้นการกำหนดโทษปรับต้องถึงขนาดที่ทำให้สามารถนำค่าปรับดังกล่าวมาชดเชยค่าเสียหายที่เกิดขึ้นได้</p>
<p>การแก้ไขพระราชกำหนดการประมงควรเป็นการแก้ไขกฎหมายในลักษณะที่จะไม่ทำให้ประเทศไทยตกอยู่ในความเสี่ยงที่จะถูกลดระดับความน่าเชื่อถือในตลาดการค้าโลกและประเทศไทยควรแสดงถึงความมุ่งมั่น จริงใจที่จะแก้ไขปัญหาแรงงานประมงให้สอดคล้องตามอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศฉบับที่ 188 ว่าด้วยการทำงานในภาคประมง ค.ศ.2007 ซึ่งไทยได้ให้สัตยาบันไว้และหลักการระหว่างประเทศว่าด้วยการป้องกันการทำประมงผิดกฎหมาย (Illegal. Unreported and Unregulated fishing หรือ IUU Fishing)</p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2024/03/108363
 

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

นักข่าวหัวเห็ด แห่งเวบสุขใจ
อัพเดตข่าวทันใจ ตลอด 24 ชั่วโมง

>> http://www.SookJai.com <<
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
[ข่าวมาแรง] - ชาวแม่สะเรียงคัดค้านเหมืองแร่และโรงโม่หิน
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 128 กระทู้ล่าสุด 20 สิงหาคม 2566 17:06:12
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - แนะขยายโอกาสการศึกษาแก้ปัญหาความยากจนข้ามรุ่น
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 141 กระทู้ล่าสุด 28 สิงหาคม 2566 03:32:28
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - งานวิจัยชี้คนทำงานเป็นกะมีความเสี่ยงด้านความจำและการรับรู้
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 172 กระทู้ล่าสุด 28 สิงหาคม 2566 14:19:50
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - รพ.มิตรประชาพร้อมรับส่งต่อผู้ป่วยสิทธิบัตรทอง
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 149 กระทู้ล่าสุด 02 กันยายน 2566 11:02:13
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - คนทำงานตั้งข้อสังเกต แก้ ก.ม. ประมง เสี่ยงทำไทย ถูกลดระดับความน่าเชื่อถือ ในตลา
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 32 กระทู้ล่าสุด 14 มีนาคม 2567 05:43:19
โดย สุขใจ ข่าวสด
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.21 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 08 เมษายน 2567 19:35:25