[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
28 เมษายน 2567 12:23:10 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - แอฟริกาพึ่งจีนเรื่องพัฒนาอินเทอร์เน็ต แต่ก็มาพร้อมกับความเสี่ยงหลายด้าน  (อ่าน 31 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
สุขใจ ข่าวสด
I'm Robot
สุขใจ บอทนักข่าว
นักโพสท์ระดับ 15
****

คะแนนความดี: +101/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Italy Italy

กระทู้: มากเกินบรรยาย


บอท @ สุขใจ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 12 มีนาคม 2567 03:25:42 »

แอฟริกาพึ่งจีนเรื่องพัฒนาอินเทอร์เน็ต แต่ก็มาพร้อมกับความเสี่ยงหลายด้าน
 


<span class="submitted-by">Submitted on Mon, 2024-03-11 22:28</span><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>ถึงแม้ว่าแอฟริกาจะกำลังต้องการความช่วยเหลือในเรื่องการพัฒนาอินเทอร์เน็ตและไอที และการที่จีนเสนอเป็นผู้จัดหาและให้กู้ยืมเพื่อพัฒนาตรงจุดนี้ก็ส่งผลดีทางสถิติต่อแอฟริกาโดยมีผู้เข้าถึงอินเทอร์เน็ตเพิ่มมากขึ้น แต่ก็มีความกังวลว่าจะกลายเป็นปัญหาเรื่องการพึ่งพาจีนมากเกินไป และเปิดโอกาสให้จีนซุกซ่อนการจารกรรมทางไซเบอร์ รวมถึงมีข้อกังวลเรื่องการแผ่ขยายอำนาจด้วย</p>
<p>เทคโนโลยีดิจิทัลสร้างประโยชน์ให้กับประเทศแถบแอฟริกา มันเป็นการสนับสนุนส่งถึงบริการด้านสุขภาพ ส่งเสริมการเข้าถึงการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิต รวมถึงส่งเสริมการคำนึงถึงอย่างครอบคลุมในด้านการเงิน แต่ทว่าในแอฟริกาก็ยังมีอุปสรรคที่ทำให้เทคโนโลยีไม่สามารถนำพาประโยชน์เหล่านี้มาสู่ประชาชนได้ นั่นคือการขาดโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญต่อการเชื่อมโยงกับชุมชน นอกจากนี้ยังขาดแคลนในด้านการเงินและเทคโนโลยีด้วย</p>
<p>จากข้อมูลเมื่อปี 2566 ระบุว่า มีประชากรร้อยละ 83 ของแอฟริกาทางตอนใต้ของซาฮาราที่สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตมือถือเครือข่าย 3G ได้เป็นอย่างต่ำ เทียบกับในพื้นที่อื่นๆ แล้วผู้คนที่เข้าถึง 3G ขึ้นไปได้นั้นมีอยู่มากกว่าร้อยละ 95 นอกจากนี้ ข้อมูลในปีเดียวกันยังระบุว่า มีประชากรในแอฟริกาไม่ถึงครึ่งหนึ่งที่สามารถเข้าถึงการลงทะเบียนใช้อินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ได้ ตามหลังกลุ่มชาติอาหรับ (ร้อยละ 75) และตามหลังภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (ร้อยละ 88) เรื่องนี้แสดงให้เห็นว่าในจำนวนประชากรโลกที่ยังคงไม่สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ราว 2,600 ล้านคนนั้น มีชาวแอฟริกันอยู่ในจำนวนนี้เยอะมากอย่างมีนัยสำคัญ</p>
<p>แอฟริกาอาศัยจีนในการเปิดทางให้กับพัฒนาการด้านเทคโนโลยีและการส่งเสริมโครงการโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลขนาดใหญ่ มีงานวิจัยระบุว่ามีอย่างน้อย 38 ประเทศที่ทำงานอย่างใกล้ชิดกับบริษัทจีนเพื่อพัฒนาโครงข่ายไฟเบอร์ออปติกและโครงสร้างศูนย์ข้อมูล หรือเพื่อพัฒนาความรู้ทางด้านเทคโนโลยีของกลุ่มประเทศแอฟริกา</p>
<p>ปฏิเสธไม่ได้ว่าจีนมีส่วนช่วยในการทำให้ประเทศแอฟริกันมีพัฒนาการด้านดิจิทัลอย่างมาก ถึงแม้ว่าแอฟริกาจะยังคงมีความเหลื่อมล้ำด้านไอทีอยู่ก็ตาม แต่การเข้าถึง 3G ก็เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 22 ในปี 2553 เป็นร้อยละ 83 ในปี 2566 มีสถิติผู้ลงทะเบียนใช้งานอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์จากที่มีอยู่น้อยกว่าร้อยละ 2 ในปี 2553 เป็นร้อยละ 48 ในปี 2566</p>
<p>อย่างไรก็ตาม สำหรับรัฐบาลประเทศต่างๆ ในแอฟริกาแล้ว การให้ต่างชาติช่วยเหลือในการพัฒนาด้านดิจิทัลมาพร้อมกับความเสี่ยงในการที่จะต้องพึ่งพิงประเทศให้ความช่วยเหลือ เพื่อให้โครงสร้างเหล่านี้ยังคงทำงานอยู่ต่อไปได้</p>
<p> </p>
<h3><span style="color:#2980b9;">ทำไมแอฟริกาถึงต้องพึ่งพาเทคโนโลยีและแหล่งเงินทุนจากภายนอก</span></h3>
<p>ตลาดไอทีของโลกนั้นถูกควบคุมโครงสร้างโดยผู้ผลิตไม่กี่รายเท่านั้น เช่น ผู้จัดหาสินค้าสายเคเบิลไฟเบอร์ออปติคซึ่งเป็นชิ้นส่วนที่ทำให้เกิดอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงนั้น มาจากบริษัทสัญชาติจีนคือหัวเหว่ย และ ZTE กับบริษัทสัญชาติสวีเดนคืออิริคสัน</p>
<p>ประเทศแอฟริกันจำนวนมากมีรายได้ภายในประเทศที่จำกัดไม่สามารถซื้อเครื่องมือโครงข่ายอินเทอร์เน็ตเหล่านี้ได้เอง ทำให้ต้องพึ่งพาเงินทุนจากต่างชาติในการลงทุนโครงข่ายเหล่านี้ รวมถึงเงินกู้แบบผ่อนปรน, เครดิตเพื่อการพาณิชย์, หรือ หุ้นส่วนมหาชน-เอกชน เรื่องนี้อาจจะส่งอิทธิพลต่อรัฐในการเลือกผู้จัดหาโครงสร้างพื้นฐานอินเทอร์เน็ตด้วย</p>
<p>นอกจากนี้แอฟริกายังมีปัจจัยเรื่องสภาพภูมิประเทศที่ส่งผลให้เกิดความยากลำบากทางเทคโนโลยีและทางการเงิน พื้นที่ที่กว้างขวางและสภาพพื้นผิวของแอฟริกาทำให้การจัดทำโครงสร้างพื้นฐานแพงมาก นักลงทุนเอกชนหลีกเลี่ยงที่จะลงทุนกับพื้นที่ๆ มีคนอาศัยกันอยู่กระจายตัวอย่างบางเบาเพราะมันให้ผลตอบแทนคืนกลับมาไม่มากพอ</p>
<p>ประเทศที่ไม่มีอาณาเขตติดกับทะเลเลยก็จะต้องพึ่งพิงด้านโครงสร้างพื้นฐานและด้านไมตรีจิตกับประเทศริบชายฝั่งเพื่อให้มีการเชื่อมต่อโครงข่ายไฟเบอร์ออปติกของพวกเขากับสถานีเคเบิล</p>
<p> </p>
<h3><span style="color:#2980b9;">โครงการแบบครบวงจรจากจีน</span></h3>
<p>บางคนเชื่อว่า สาเหตุที่ผู้นำประเทศในแอฟริกาเลือกจีนเป็นผู้จัดหาทางไอทีให้นั้น เป็นเพราะว่าราคาถูก แต่ก็มีเกร็ดหลักฐานที่ชี้ให้เห็นไปในอีกทางหนึ่งคือ แอฟริกาชอบทำสัญญากับจีนในเรื่องนี้เพราะจีนเสนอแพกเกจโครงการแบบครบวงจรรวมถึงมีการให้กู้ยืมทางการเงินด้วย</p>
<p>แผนการของจีนที่เรียกว่า "EPC+F" ที่ย่อมาจาก "วิศวกรรม, จัดหา, ก่อสร้าง + เงินทุน" นั้นเป็นการที่บริษัทจากจีนอย่างหัวเหว่ย และ ZTE ทำการดูแลจัดการเรื่องวิศวกรรม, การจัดซื้อจัดจ้าง และการก่อสร้าง ในขณะที่ธนาคารจีนจะเป็นผู้คอยให้เงินทุนโดยมีรัฐบาลจีนหนุนหลัง ประเทศแองโกลา, ยูกันดา และ แซมเบีย เป็นตัวอย่างของประเทศบางส่วนที่ดูเหมือนจะได้รับประโยชน์จากข้อตกลงในรูปแบบนี้</p>
<p>การเสนอโครงการแบบครบวงจรเช่นนี้ เป็นสิ่งที่ดึงดูดให้ประเทศในแถบแอฟริกาทำสัญญาด้วย</p>
<p> </p>
<h3><span style="color:#2980b9;">แล้วจีนจะได้ประโยชน์อะไร?</span></h3>
<p>ในฐานะส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์ "ไปสู่นานาชาติ" ของจีน รัฐบาลจีนได้ส่งเสริมให้บริษัทจีนลงทุนและปฏิบัติการในต่างชาติ รัฐบาลเสนอการสนับสนุนด้านการเงินและคาดหวังว่าบริษัทต่างๆ จะช่วยเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันในระดับโลกให้กับสินค้าของจีนและเศรษฐกิจของจีนได้</p>
<p>ในระยะยาวแล้ว จีนต้องการที่จะจัดตั้งและส่งเสริมมาตรฐานกับบรรทัดฐานดิจิทัลของจีน ความร่วมมือด้านงานวิจัยและโอกาสในการฝึกอบรมช่วยทำให้มีนักศึกษาไอทีของจีนเพิ่มมากขึ้น รัฐบาลจีนหวังว่า แอพฯ โทรศัพท์มือถือกับสตาร์ทอัพในแอฟริกาจะเป็นการสะท้อนหลักการด้านเทคโนโลยีและด้านอุดมการณ์ ซึ่งรวมไปถึงการตีความเรื่องสิทธิมนุษยชน, ความเป็นส่วนตัวของข้อมูล และเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น ในแบบของจีนด้วย</p>
<p>นโยบายช่วยพัฒนาไอทีให้กับแอฟริกายังเป็นแนวทางวิสัยทัศน์แบบ "เส้นทางสายไหมดิจิทัล" ที่เป็นส่วนหนึ่งของความริเริ่ม "หนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง" ของจีนในการเบิกทางเส้นทางการค้าใหม่ด้วย</p>
<p>ในแง่ของดิจิทัลแล้ว เป้าหมายของจีนคือการเพิ่มสถานะของตัวเองในด้านไอที และทำให้ลดการพึ่งพาแหล่งผู้จัดหาทางเทคโนโลยีจากตะวันตกเพียงอย่างเดียว รัฐบาลจีนต้องการให้เกิดระเบียบโลกดิจิทัลที่มีจีนเป็นศูนย์กลาง การลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานและการสร้างความร่วมมือด้านการฝึกอบรมกับประเทศแถบแอฟริกาสามารถเป็นจุดเริ่มต้นไปสู่เป้าหมายที่ว่าได้</p>
<p> </p>
<h3><span style="color:#2980b9;">ปฏิบัติการในระยะยาว</span></h3>
<p>ถ้ามองในแง่ของเทคโนโลยีแล้ว การที่เน้นพึ่งพิงโครงสร้างพื้นฐานจากผู้จัดหาแค่กลุ่มเดียวจะทำให้รัฐที่รับบริการในเรื่องนี้มีความเปราะบาง เมื่อลูกค้าพึ่งพาผู้จัดหารายใดรายหนึ่งโดยเฉพาะ มันก็เป็นเรื่องยากและมีค่าใช้จ่ายสูงในการเปลี่ยนผู้จัดหารายใหม่ ในแง่นี้กลุ่มประเทศแอฟริกันกำลังถูกทำให้ติดกับดักระบบนิเวศทางดิจิทัลของจีน</p>
<p>นักวิจัยอย่าง อาร์เธอร์ กวังวา จากสถาบันจริยศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยยูเทรกต์ (เนเธอร์แลนด์) เชื่อว่าการส่งออกวัสดุจัดสร้างโครงสร้างพื้นฐานสำคัญของจีนจะเปิดทางให้เกิดการจารกรรมทางการทหารและทางอุตสาหกรรม ข้อกล่าวหาเหล่านี้เป็นการกล่าวหาไปในตัวด้วยว่าอุปกรณ์ที่ผลิตจากจีนนั้นออกแบบมาในแบบที่สามารถใช้ในการโจมตีทางไซเบอร์ได้</p>
<p>ฮิวแมนไรท์วอทช์ องค์กรเอ็นจีโอที่ทำการวิจัยและรณรงค์เรื่องสิทธิมนุษยชนแสดงความกังวลว่า การใช้โครงสร้างพื้นฐานจากจีนอาจจะเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดการใช้เทคโนโลยีเปิดทางให้กับระบอบอำนาจนิยม โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริษัทหัวเหว่ยที่เคยถูกกล่าวหาเรื่องให้ความร่วมมือกับรัฐบาลจีนในการสอดแนมศัตรูทางการเมืองในยูกันดาและแซมเบีย ซึ่งหัวเหว่ยปฏิเสธข้อกล่าวหานี้</p>
<p> </p>
<h3><span style="color:#2980b9;">ทางรอดของปัญหา</span></h3>
<p>จีนมีส่วนร่วมให้เกิดการพัฒนาทางดิจิทัลอย่างรวดเร็วในประเทศแถบแอฟริกา แต่มันก็ทำให้กลุ่มประเทศแอฟริกามีความเสี่ยงเรื่องการพึ่งพิงจีนในระยะยาว การที่จะแก้ปัญหานี้ได้ คือต้องกระจายความเสี่ยงโดยการเพิ่มผู้จัดหาโครงสร้างพื้นฐาน โอกาสในการฝึกอบรม และความร่วมมือ ให้มาจากแหล่งต่างๆ ที่หลากหลายกว่านี้</p>
<p>นอกจากนี้ควรจะมีการเรียกร้องให้มีการสร้างมาตรฐานการทำงานร่วมกันในเวทีนานาชาติ เช่น สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU) ซึ่งเป็นองค์การของสหประชาชาติที่รับผิดชอบประเด็นเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีข้อมูลข่าวสาร การมีมาตรฐานการทำงานร่วมกันจะช่วยให้มีผลิตภัณฑ์หรือระบบที่จะปฏิสัมพันธ์กับผลิตภัณฑ์และระบบอื่นๆ หมายความว่าผู้รับบริการจะสามารถซื้อวัตถุดิบเทคโนโลยีต่างๆ จากผู้จัดหาที่แตกต่างกันได้ และสามารถสับเปลี่ยนผู้จัดหาที่ต่างกันในการแก้ปัญหาในทางเทคโนโลยีได้ เรื่องนี้เอื้อต่อการแข่งขันของตลาดและทำให้เกิดการแก้ปัญหาที่มีประสิทธิภาพสูงได้โดยการไม่ทำให้ผู้รับบริการถูกบีบให้อยู่แต่กับผู้ค้ารายเดียว</p>
<p>ทางแก้สุดท้ายคือ ในระยะยาวแล้วประเทศแถบแอฟริกาจะต้องหาวิธีการสร้างโครงสร้างพื้นฐานด้วยตนเองให้ได้และลดการพึ่งพาลง</p>
<p> </p>
<p><span style="color:#2980b9;">เรียบเรียงจาก</span></p>
<p><span style="color:#2980b9;">Africa needs China for its digital development – but at what price?, </span><span style="color:#2980b9;">The Conversation,</span><span style="color:#2980b9;"> 27-02-2024</span></p>
<p><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/51764893688_6eddafd58e_b.jpg" /></p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-promote-end field-type-text field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even">ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2024/03/108394
 

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

นักข่าวหัวเห็ด แห่งเวบสุขใจ
อัพเดตข่าวทันใจ ตลอด 24 ชั่วโมง

>> http://www.SookJai.com <<
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
[ข่าวมาแรง] - ศาลอนุมัติหมายจับเจ้าของโกดังเก็บดอกไม้เพลิงมูโนะ
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 349 กระทู้ล่าสุด 02 สิงหาคม 2566 14:49:17
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - องค์กรพิทักษ์สัตว์เรียกร้องให้เพิ่มเรื่องสวัสดิภาพสัตว์และห้ามใช้ยาปฏิชีวน
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 361 กระทู้ล่าสุด 05 สิงหาคม 2566 15:31:10
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - คาดแบงก์พาณิชย์ไทยปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยตามอัตราดอกเบี้ยนโยบาย กนง.
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 265 กระทู้ล่าสุด 06 สิงหาคม 2566 18:04:42
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - ประเทศไทยกำลังเดินถอยหลังเรื่องความคุ้มครองความยากจนผู้สูงอายุ
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 274 กระทู้ล่าสุด 17 สิงหาคม 2566 17:55:22
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - เผยนักกิจกรรมชายแดนใต้ถูกคุกคามหลังไลฟ์สดการปิดล้อม
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 208 กระทู้ล่าสุด 20 สิงหาคม 2566 15:35:02
โดย สุขใจ ข่าวสด
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.649 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 11 เมษายน 2567 05:17:39