[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
29 เมษายน 2567 09:28:54 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - 10 ปีผลสะเทือน 'ขบวนการดอกทานตะวัน' กับคนรุ่นใหม่ที่ไต้หวัน  (อ่าน 31 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
สุขใจ ข่าวสด
I'm Robot
สุขใจ บอทนักข่าว
นักโพสท์ระดับ 15
****

คะแนนความดี: +101/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Italy Italy

กระทู้: มากเกินบรรยาย


บอท @ สุขใจ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 25 มีนาคม 2567 21:36:10 »

10 ปีผลสะเทือน 'ขบวนการดอกทานตะวัน' กับคนรุ่นใหม่ที่ไต้หวัน
 


<span class="submitted-by">Submitted on Mon, 2024-03-25 20:36</span><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>ที่ไต้หวันเคยมีการประท้วงต่อต้านอิทธิพลจีนในชื่อว่า 'ขบวนการดอกทานตะวัน' เวลาผ่านไป 10 ปี มีการมองย้อนไปว่าขบวนการนี้ได้ส่งผลต่อคนรุ่นใหม่ที่มีส่วนร่วมทางการเมืองไต้หวันในยุคปัจจุบันอย่างไรบ้าง</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/3767/13302003583_eb6292d340_h.jpg" /></p>
<p>10 ปีที่แล้วมีขบวนการเคลื่อนไหวในไต้หวันที่เรียกว่า 'ขบวนการดอกทานตะวัน' ที่คนรุ่นใหม่ในยุคนั้นเข้าร่วมการประท้วง ในตอนนี้พวกเขาต่างก็โตขึ้นกันหมดแล้ว มีเส้นทางในหน้าที่การงานต่างกันออกไป แต่คนจำนวนมากก็ยังคงมีความทรงจำเกี่ยวกับสิ่งที่เกิดขึ้นในช่วงที่มีการประท้วงเรียกร้องประชาธิปไตยและต้านอิทธิพลของแผ่นดินใหญ่ด้วยการยึดอาคารสภานิติบัญญัติเป็นเวลา 24 วัน</p>
<p>ขบวนการดอกทานตะวันเริ่มต้นขึ้นเมื่อวันที่ 18 มี.ค. 2557 ในตอนนั้นมีนักศึกษาและนักกิจกรรมหลายร้อยคนที่พากันบุกเข้าไปและยึดสภานิติบัญญัติของสาธารณรัฐจีนหรือไต้หวัน เป็นเวลา 24 วัน พวกเขาทำไปเพื่อประท้วงการตัดสินใจของพรรคก๊กมินตั๋ง (KMT) ที่ทำการเร่งรัดกระบวนการพิจารณาและอนุมัติ "ข้อตกลงการค้าด้านบริการข้ามช่องแคบ" (CSSTA) กับจีนแผ่นดินใหญ่</p>
<p>การตัดสินใจของพรรคก๊กมินตั๋งทำให้เกิดความกังวลจากผู้ประท้วงจำนวนมากที่มองว่าการบูรณาการทางเศรษฐกิจร่วมกับจีนมากขึ้นอาจจะเปิดทางให้จีนปักกิ่งมีอำนาจเหนือไต้หวันได้</p>
<p>ขบวนการดอกทานตะวันของไต้หวันได้รับการสนับสนุนจากสังคม จนทำให้มีคนหลายแสนคนร่วมออกมาชุมนุมบนท้องถนนในวันที่ 30 มี.ค. 2557 เพื่อแสดงการสนับสนุนต่อการประท้วงต้านข้อตกลง CSSTA</p>
<p>หลังจากที่ หวังจินผิง โฆษกสภาในยุคสมัยนั้นแถลงว่าจะทำการเลื่อนพิจารณาเรื่องข้อตกลง CSSTA ออกไปจนกว่าจะมีการออกกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับข้อตกลงนี้ครบแล้ว ผู้ประท้วงก็พากันออกจากอาคารรัฐสภาของไต้หวันโดยสันติ</p>
<p>จนถึงตอนนี้ข้อตกลง CSSTA กับจีนก็ยังคงติดอยู่ในส่วนของสภานิติบัญญัติ โดยที่ได้รับความสนใจจากประชาชนน้อยลงเรื่อยๆ</p>
<p>ในขณะเดียวกัน นักกิจกรรมจากขบวนการดอกทานตะวัน กลับมีบทบาทในเวทีการเมืองของไต้หวันมากขึ้นเรื่อยๆ โดยที่ชื่อของขบวนการดอกทานตะวันนี้ เป็นชื่อที่ตั้งตามดอกไม้ที่มีคนมอบให้เป็นของขวัญให้กับผู้ประท้วงในสมัยนั้นซึ่งเป็นสัญลักษณ์ที่แสดงถึงความหวัง</p>
<h3><span style="color:#2980b9;">ขบวนการดอกทานตะวัน เพิ่มการมีส่วนร่วมทางการเมืองของคนรุ่นใหม่</span></h3>
<p>เหมียวป๋อหย่า สมาชิกสภาไทเป ผู้ที่เป็นนักกิจกรรมขบวนการดอกทานตะวัน บอกว่าหนึ่งในผลลัพธ์ที่มีความสำคัญที่สุดสืบเนื่องมาจากขบวนการดอกทานตะวันคือการที่มันทำให้คนรุ่นใหม่เน้นการมีส่วนร่วมทางการเมืองมากขึ้น</p>
<p>เหมียวป๋อหย่า ผู้ที่ปัจจุบันอายุ 36 ปี บอกว่า ในทุกๆ การเลือกตั้งของไต้หวัน จะมีกลุ่มคนรุ่นใหม่เป็นผู้ที่ส่งอิทธิพลอย่างมีนัยสำคัญในนั้น เพราะการเคลื่อนไหวของคนรุ่นใหม่ในยุคขบวนการดอกทานตะวันเป็นช่วงเวลาสำคัญที่คนรุ่นใหม่ในไต้หวันมีส่วนร่วมทางการเมือง เหมียวป๋อหย่าบอกว่า เมื่อเทียบกันแล้ว ยุคก่อนหน้าปี 2557 มีคนรุ่นใหม่ที่ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งน้อยกว่ายุคหลังจากนั้น</p>
<p>เหมียวบอกว่าถึงแม้ว่าขบวนการดอกทานตะวันจะเป็นแรงบันดาลใจให้เธอเข้าสู่เส้นทางการเมือง แต่เธอก็เล็งเห็นว่าขบวนการทางสังคมอย่างเดียวยังมีความสำเร็จที่จำกัดและต้องการความร่วมมือจากภาคส่วนในวงการการเมืองด้วย</p>
<p>เหมียวเป็นผู้แทนของพรรคสังคมนิยมประชาธิปไตยในปี 2561 และ 2565 ในการเลือกตั้งท้องถิ่นและได้รับเลือกตั้งให้เป็น ส.ส. ไทเปทั้งสองครั้ง แต่เธอก็ไม่สามารถชนะที่นั่งในรัฐสภาได้ในการเลือกตั้งปี 2567</p>
<p>ส.ส. พรรค DPP มองว่า ขบวนการดอกทานตะวัน ให้ผลดีต่อไต้หวันทางเศรษฐกิจ</p>
<p>Jiho Tiun ส.ส. ท้องถิ่นเมืองจีหลง จากพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้า (DPP) กล่าวว่าการเข้าร่วมขบวนการดอกทานตะวันมาก่อนทำให้เขามีแต้มต่อทางการเมือง แต่ก็แค่เพียงเล็กน้อยเท่านั้น เขาลงสมัครรับเลือกตั้งท้องถิ่นเมื่อปี 2561 และ 2565 และได้รับเลือกเป็น ส.ส. ท้องถิ่นทั้งสองครั้ง</p>
<p>Tiun เคยร่วมยึดรัฐสภาในช่วงการประท้วงต่อต้านอิทธิพลจีนเช่นกัน เขาเปรียบเปรยวงการการเมืองกับวงการบันเทิงว่า "ขบวนการดอกทานตะวันไม่ได้ช่วยให้คุณออกอัลบั้มเดี่ยวได้ แต่มันเป็นเสมือนการที่คุณได้เข้าไปอยู่ในรายการวาไรตี้ที่มีชื่อเสียงและได้ยืนยิ้ม(ข้างพิธีกร)มากกว่า"</p>
<p>ทั้งนี้ Tiun ยังแก้ความเข้าใจผิดที่ว่า ขบวนการดอกทานตะวันแสดงให้เห็นว่าคนรุ่นใหม่มีความทุ่มเทให้กับการเมืองมากแค่ไหน Tiun มองว่าความเป็นจริงแล้วคนที่เข้าร่วมขบวนการจำนวนมากในตอนนี้ไม่ได้เข้ามามีส่วนร่วมอะไรทางการเมือง แต่ผลพวงทางบวกที่เกิดขึ้นจากการเคลื่อนไหวนั้น Tiun มองว่าเป็นเรื่องทางเศรษฐกิจมากกว่า เพราะมันทำให้ไต้หวันประสบความสำเร็จทางเศรษฐกิจได้โดยไม่ต้องไปอยู่ฝ่ายเดียวกับจีน</p>
<p>การมีส่วนร่วมทางการเมืองคนละแบบ</p>
<p>ในขณะที่เหมียวและ Tiun เข้าสู่วงการการเมืองในระดับวิชาชีพ หงจุ้นจื้อ หนึ่งในขบวนการดอกทานตะวันหันก็ไปหาแนวทางที่ต่างออกไป หงจุ้นจื้อเคยเผชิญกับความรุนแรงของตำรวจในช่วงการประท้วงเช่นเดียวกับคนอื่นๆ อีกจำนวนมาก</p>
<p>ในตอนที่เกิดเหตุนั้น หงจุ้นจื้อกำลังศึกษาอยู่ปีแรกของปริญญาโท ตอนนั้นตำรวจทำการผลักและทุบตีเขา รวมถึงใช้รถฉีดน้ำฉีดใส่พวกเขาเพื่อสลายการชุมนุม</p>
<p>"การถูกสลายการชุมนุมไม่ได้ทำให้ความมุ่งมั่นที่จะประท้วงของผมมอดลงไปด้วย มันยิ่งทำให้ผมอยากช่วยเหลือคนที่ถูกทุบตีทำร้ายแบบเดียวกัน" หงจุ้นจื้อกล่าว</p>
<p>ถึงแม้ว่าในตอนนี้หงจะทำงานกับบริษัทไอทีในกรุงไทเปแต่เขาก็มักจะกลับบ้านเกิดที่หนานโถวเพื่อไปเลือกตั้งทุกครั้ง และสนับสนุนให้คนที่อยู่รอบตัวเขาลงคะแนนเสียงเลือกตั้งด้วย</p>
<p>หงบอกว่า สิ่งที่ขบวนการดอกทานตะวันส่งผลมากที่สุดต่อตัวเขาคือมันทำให้เขาสนใจถึงความคืบหน้าเกี่ยวกับการพัฒนาสังคมประชาธิปไตยในไต้หวัน และทำให้เขามีสำนึกในอัตลักษณ์ความเป็นชาวไต้หวันที่หนักแน่นขึ้นด้วย</p>
<p>เจิ้งเหรินเหา ก็เป็นหนึ่งที่คนที่เคยถูกตำรวจทุบตีในที่ชุมนุมของขบวนการดอกทานตะวัน และในตอนนั้นเขาก็เป็นนักศึกษา ป.โท ปีแรก เช่นเดียวกับหง</p>
<p>ในตอนนี้เจิ้งทำงานในสายวัฒนธรรม เขาบอกว่าในยุคสมัยที่มีขบวนการดอกทานตะวันนั้น เว็บกระดานข่าวไต้หวันเต็มไปด้วยการถกเถียงอภิปรายในเรื่องต่างๆ หลากหลายประเด็น ต่างจากในยุคสมัยปัจจุบันที่คนไม่ค่อยมีความกระตือรือร้นในเรื่องการหารือกันในประเด็นทางสังคมเท่าใดนัก</p>
<p>เจิ้งมองว่าอินเทอร์เน็ตในยุคปัจจุบันนั้น การเขียนอะไรในโซเชียลมีเดียทำให้คุณถูกชาวเน็ตแปะป้ายว่าเป็นสิ่งต่างๆ ได้ง่ายๆ และมีความคิดเห็นออนไลน์จำนวนมากถูกชักใยโดย "กองทัพอินเทอร์เน็ต" หรือบริษัทสร้างภาพประชาสัมพันธ์ ซึ่งเป็นการทำลายพื้นที่สำหรับการหารือกันอย่างมีเหตุผล</p>
<p>เจิ้งระบุอีกว่า ในแง่ของการเมืองแล้ว ขบวนการดอกทานตะวันได้สร้างพลังทางการเมืองใหม่ที่ดูเหมือนในตอนนี้จะหายไปแล้ว เช่นความล้มเหลวของพรรคอำนาจใหม่ (NPP) ที่มีพื้นเพมาจากขบวนการดอกทานตะวัน ไม่สามารถทำตามความคาดหวังที่ประชาชนเคยให้ไว้ได้สำเร็จ</p>
<p>อย่างไรก็ตาม เจิ้ง ก็บอกว่ามีเพื่อนเขาจากขบวนการดอกทานตะวันบางคนที่เข้าสู่เส้นทางการเมือง ไม่ว่าจะเป็น ส.ส. เทศบาลเมือง หรือผู้ใหญ่บ้าน แสดงให้เห็นว่าการตัดสินใจที่จะเข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมืองอย่างลึกซึ้งนั้นจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่ก็ได้</p>
<p><span style="color:#2980b9;">เรียบเรียงจาก</span></p>
<p><span style="color:#2980b9;">Sunflower Movement participants reflect on its 10th anniversary, </span><span style="color:#2980b9;">Focus Taiwan,</span><span style="color:#2980b9;"> 17-03-2024</span></p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ขhttps://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2024/03/108573
 

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

นักข่าวหัวเห็ด แห่งเวบสุขใจ
อัพเดตข่าวทันใจ ตลอด 24 ชั่วโมง

>> http://www.SookJai.com <<
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
[ข่าวมาแรง] - ชาวแม่สะเรียงคัดค้านเหมืองแร่และโรงโม่หิน
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 128 กระทู้ล่าสุด 20 สิงหาคม 2566 17:06:12
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - แนะขยายโอกาสการศึกษาแก้ปัญหาความยากจนข้ามรุ่น
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 141 กระทู้ล่าสุด 28 สิงหาคม 2566 03:32:28
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - งานวิจัยชี้คนทำงานเป็นกะมีความเสี่ยงด้านความจำและการรับรู้
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 172 กระทู้ล่าสุด 28 สิงหาคม 2566 14:19:50
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - รพ.มิตรประชาพร้อมรับส่งต่อผู้ป่วยสิทธิบัตรทอง
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 149 กระทู้ล่าสุด 02 กันยายน 2566 11:02:13
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - 10 ปีผลสะเทือน 'ขบวนการดอกทานตะวัน' กับคนรุ่นใหม่ที่ไต้หวัน
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 39 กระทู้ล่าสุด 26 มีนาคม 2567 04:09:49
โดย สุขใจ ข่าวสด
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.442 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 28 มีนาคม 2567 08:31:33