[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
29 เมษายน 2567 04:22:13 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - หลายฝ่ายค้านส่ง 19 เด็กไร้สัญชาติที่มาเรียนที่วัดลพบุรี กลับพม่า 'ก้าวไกล' ช  (อ่าน 36 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
สุขใจ ข่าวสด
I'm Robot
สุขใจ บอทนักข่าว
นักโพสท์ระดับ 15
****

คะแนนความดี: +101/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Italy Italy

กระทู้: มากเกินบรรยาย


บอท @ สุขใจ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 26 มีนาคม 2567 08:50:31 »

หลายฝ่ายค้านส่ง 19 เด็กไร้สัญชาติที่มาเรียนที่วัดลพบุรี กลับพม่า 'ก้าวไกล' ช่วยประสานชะลอส่งกลับ
 


<span class="submitted-by">Submitted on Tue, 2024-03-26 07:46</span><div class="field field-name-field-byline field-type-text-long field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><p>ภาพปก: สำนักข่าวชายขอบ</p>
<p>อัพเดท: เมื่อ 26 มี.ค. 2567 เวลา 7.50 น.</p>
</div></div></div><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>ค้านส่ง 19 เด็กไร้สัญชาติกลับพม่า เผยรัฐละเมิดกฎหมาย-อนุสัญญาระหว่างประเทศ กสม.เตรียมสอบการละเมิดสิทธิเด็ก 'ปารมี' สส.ก้าวไกล และ กมธ.การศึกษาฯ เร่งประสานชะลอส่งตัวกลับ</p>
<p> </p>
<p>26 มี.ค. 2567 ผู้สื่อข่าวสำนักข่าวชายขอบ รายงานเมื่อ 24 มี.ค.ที่ผ่านมา ความคืบหน้ากรณีเด็กไร้สัญชาติจำนวน 19 คน จากมูลนิธิบ้านครูน้ำ อ.เชียงแสน จ.เชียงราย ซึ่งไปบวชเรียนอยู่ที่วัดสว่างอารมณ์ อ.บ้านหมี่ จ.ลพบุรี แต่ถูกเจ้าหน้าที่กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดลพบุรี (พมจ.ลพบุรี) เข้าไปตรวจสอบ และนำตัวกลับมายัง จ.เชียงราย เพื่อเตรียมผลักดันกลับประเทศพม่า โดยปัจจุบันอยู่ระหว่างให้ ตม.เชียงแสน ประสานทาง ตม.ท่าขี้เหล็กเพื่อติดตามพ่อแม่และขอเอกสารยืนยันตัวตนมารับเด็กกลับประเทศ</p>
<div class="more-story">
<p>ข่าวที่เกี่ยวข้อง</p>
<ul>
<li>19 เด็กไร้สัญชาติถูกออกการเรียน เสี่ยงถูกรัฐส่งกลับพม่า มูลนิธิบ้านครูน้ำร้อง กสม.สอบละเมิดสิทธิเด็ก</li>
</ul>
</div>
<p>เตือนใจ ดีเทศน์ ผู้ก่อตั้งและที่ปรึกษามูลนิธิพัฒนาชุมชนและเขตภูเขา (พชภ.) และอดีตสมาชิกวุฒิสภา กล่าวว่า การนำตัวเด็กจำนวน 19 คนกลับมาจากจังหวัดลพบุรี ถือว่าเป็นสถานการณ์พิเศษ ทำให้เด็กประสบกับภาวะไม่มั่นคง และไม่เห็นอนาคต จึงถูกพาหนีภัยจากประเทศเมียนมามายังประเทศไทย โดยเด็กเหล่านี้บางส่วนเป็นเด็กเร่ร่อน บางส่วนไม่มีผู้ปกครองซึ่งรัฐต้องมีนโยบายและแนวทางคุ้มครองเด็กเหล่านี้ ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 และอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิเด็ก ที่ต้องให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับเด็ก รวมทั้ง พ.ร.บ.การศึกษา พ.ศ. 2542 ที่ต้องให้สิทธิการศึกษากับเด็ก เพราะสถานการณ์ปัจจุบันมีปัญหารอบด้านทำให้เด็กๆ มีความเสี่ยงที่จะถูกนำไปค้าบริการและอยู่ในวงจรเครือข่ายยาเสพติด และยังเสี่ยงต่อการค้ามนุษย์ ค้าอวัยวะซึ่งมีราคาสูงมาก </p>
<p>เตือนใจ กล่าวว่า การที่รับเขามาดูแลให้การศึกษาในขณะที่ประเทศต้นทางกำลังประสบปัญหา แต่เมื่อพื้นที่เขากลับสู่ภาวะสงบเด็กๆ ก็จะกลับประเทศได้อย่างปลอดภัย ขณะที่ฝ่ายบริหารปัจจุบันยังไม่มีความชัดเจนในเรื่องนี้ การเตรียมส่งเด็ก 19 คนนี้กลับประเทศ นับเป็นครั้งที่ 2 จากเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาซึ่งมีกรณีนำเด็กกลับมาจาก ร.ร.ไทยรัฐวิทยา 6 จ.อ่างทอง ที่ครูกัลยา ทาสม อดีตผู้อำนวยการ (ผอ.) โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 6 รับเด็กชาวเมียนมา 126 คนเข้าเรียน และถูกเจ้าหน้าที่รัฐตั้งข้อกล่าวหาว่า กระทำผิดตาม พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 นำเด็กต่างด้าวเข้าเรียนในราชอาณาจักรไทย ก่อนโดนส่งกลับประเทศ แล้วยังโดนสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทองตั้งกรรมการสอบวินัย กล่าวหาว่าไม่ได้ดําเนินการตามขั้นตอนกับพวก ซึ่งเครือข่ายองค์กรที่ทำงานเกี่ยวกับสิทธิเด็ก เฝ้าติดตามว่าอัยการจะสั่งไม่ฟ้องคดีอาญา และจะมีการยกเลิกโทษทางวินัยหรือไม่ </p>
<p>"ขอตั้งคำถามกับฝ่ายบริหาร หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับ พม.ที่ทำหน้าที่รักษาการตาม พ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก รวมทั้งกระทรวงศึกษาธิการ สภาความมั่นคงแห่งชาติ(สมช.) สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง (สตม.) ว่าจะมีแนวทางต่อเด็กเร่ร่อนไร้สัญชาติไร้ ผู้ปกครองที่หลบหนีภาวะไม่มั่นคง ความไม่ปลอดภัยเข้าในประเทศจะมีแนวทางดำเนินการอย่างไร เพื่อให้เด็กได้รับการคุ้มครองดูแลและรับมือสถานการณ์พิเศษที่มีความรุนแรงรอบด้านที่กำลังเกิดขึ้นนี้ได้" อดีต สว.กล่าว </p>
<p>สุรพงษ์ กองจันทึก ผู้ทรงคุณวุฒิด้านผู้ด้อยโอกาสและเด็ก คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) กล่าวว่า การนำเด็กออกโรงเรียนกลางคันถือเป็นการกระทำโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายและไม่สามารถทำได้ ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 เพราะถือว่าเด็กเป็นผู้บริสุทธิ์ รัฐต้องทำหน้าที่คุ้มครอง เพราะเด็กทั้ง 19 คนอายุน้อยต่ำกว่า 18 ปี การเข้าเมืองโดยเด็กมีผู้พามา เด็กไม่ได้มาเอง จึงไม่สามารถดำเนินการเอาผิดตาม พ.ร.บ.ตรวจคนเข้าเมืองและตาม พ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก</p>
<p>สุรพงษ์ กล่าวว่า นอกจากนี้ ด้านสิทธิการศึกษา ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 5 ก.ค. 2548 ได้เห็นชอบ ให้จัดสรรงบประมาณอุดหนุนเป็นค่าใช้จ่ายรายหัวให้แก่สถานศึกษาที่จัดการศึกษาให้แก่กลุ่มบุคลที่ไม่มีหลักฐานทะเบียนราษฎรหรือไม่มีสัญชาติไทย เพื่อขยายโอกาสทางการศึกษาแก่บุคคลที่ไม่มีหลักฐานทางทะเบียนราษฎร หรือไม่มีสัญชาติไทย สามารถเรียนได้โดยไม่จำกัดพื้นที่ และยกเลิกเรื่องการห้ามข้ามเขต จึงชอบด้วยกฎหมายที่เด็กไร้สัญชาติเหล่านี้จะสามารถเรียนที่ไหนก็ได้ ดังนั้นคนที่เกี่ยวข้องต้องชี้แจงต่อเจ้าหน้าที่ หน่วยงาน ทั้ง พม. กระทรวงศึกษาธิการ มีหน้าที่คุ้มครองเด็ก โดยขณะนี้ทาง กสม.ได้รับเรื่องร้องเรียนกรณีนักเรียนไร้สัญชาติทั้ง 19 คน หลังจากนี้คงจะเตรียมลงพื้นที่ไปรับตรวจสอบและรับฟังข้อมูลและข้อเท็จจริงจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง</p>
<p>ขณะที่ ปารมี ไวจงเจริญ สส.พรรคก้าวไกล และกรรมาธิการ (กมธ.) การศึกษา สภาผู้แทนราษฎร กล่าวว่า ในขณะนี้ตนได้รับทราบข้อมูลจากข่าวที่นำเสนอ และมีความเห็นว่าตอนนี้ต้องดำเนินพูดคุยหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ชะลอการผลักดันเด็กออกจากประเทศ เพราะเด็กหนีภัยสงครามและมีคนนำมาฝากให้อยู่ในที่ปลอดภัย จึงไม่ควรโดนผลักดันกลับ ทั้งด้วยสามัญสำนึกและมนุษยธรรม เด็กต้องได้รับการคุ้มครอง ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก และอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ไม่ควรผลักดันให้เขากับไปสู่พื้นที่อันตรายหรือมีความเสี่ยง การอ้างเรื่องกฎหมายคนเข้าเมืองจึงอยากให้ทบทวน เบื้องต้นเจ้าหน้าที่ต้องคุ้มครองเด็ก</p>
<p>"เบื้องต้นจะประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พม. และ ตม. มหาดไทย ดำเนินการให้ชะลอการส่งกลับ อยากให้มองคนเป็นคน เด็กอายุยังน้อยมาก มองเด็กเป็นเด็กที่ต้องอยู่ในที่ปลอดภัย จากนั้นก็พิจารณาเรื่องสิทธิด้านการศึกษา สถานะกันต่อไป" สส.พรรคก้าวไกล กล่าว</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">ก่อนหน้านี้ รองโฆษกสำนักนายกฯ เผย ครม.เห็นด้วยถอนข้อสงวนข้อที่ 22 อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก</span></h2>
<p>เว็บไซต์สื่อ "ผู้จัดการออนไลน์" รายงานเมื่อ 9 ม.ค.ที่ผ่านมา คารม พรหมพรกลาง รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบข้อเสนอแนะในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน กรณีการถอนข้อสงวนข้อ 22 ของอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ตามที่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) เสนอ โดยมอบหมายให้ พม. เป็นหน่วยงานหลักในการพิจารณาร่วมกับกระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงมหาดไทย สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อศึกษาแนวทางและความเหมาะสมของข้อเสนอแนะดังกล่าว โดยให้ พม.สรุปผลการพิจารณา หรือผลการดำเนินการในภาพรวม ส่งให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป</p>
<p>"การที่ประเทศไทยยังคงข้อสงวนข้อ 22 ของอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กไว้ จะทำให้ถูกมองว่าประเทศไทยไม่มีนโยบายดูแลเด็กผู้ลี้ภัยหรือเด็กที่อยู่ในสถานการณ์เฉกเช่นเดียวกับผู้ลี้ภัยที่อยู่ในเขตอำนาจของไทย ทำให้เด็กกลุ่มดังกล่าวไม่ได้รับการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพขั้นพื้นฐานเช่นเด็กกลุ่มอื่นในประเทศ อันไม่สอดคล้องกับหลักการไม่เลือกปฏิบัติ ประเทศไทยควรถอนข้อสงวนข้อ 22 ของอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กโดยเร็ว เพื่อสะท้อนเจตนารมณ์และยืนยันความมุ่งมั่นของประเทศไทยที่จะคุ้มครองเด็กผู้ลี้ภัยและเด็กผู้แสวงหาที่พักพิงตามพันธกรณีด้านสิทธิมนุษยชนที่มีอยู่ โดยเฉพาะหลักการไม่เลือกปฏิบัติและการคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของเด็กตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก รวมถึงหลักการไม่ผลักดันบุคคลกลับไปสู่อันตราย" คารม กล่าว</p>
<p>ต่อมา เว็บไซต์ มติชนออนไลน์ รายงานเมื่อ 27 ก.พ. 2567 ระบุว่า อรรถพล สังขวาสี เลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) เปิดเผยว่า ได้รับมอบหมายจาก พล.ต.อ.เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ร่วมประชุมคณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ (กดยช.) ที่มี วราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เป็นประธาน ซึ่งที่ประชุมมีมติเห็นชอบถอนข้อสงวน ข้อ 22 ในอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก เมื่อถอนข้อสงวนนี้ไป จะทำให้ประเทศสามารถคุ้มครอง ช่วยเหลือเด็กผู้ลี้ภัย และเด็กที่แสวงหาที่พักพิง ทำให้ไทยเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติมากขึ้น</p>
<p>อรรถพล กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ ที่ประชุมเห็นชอบการจัดทำร่างแนวทางการดำเนินการถอนข้อสงวน ข้อ 22 ของอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ซึ่งมีสาระสำคัญ เช่น กำหนดนิยามคำจำกัดความ "เด็กผู้ลี้ภัย" โดยจำแนกเด็กเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ 1.เด็กหนีภัยการสู้รบจากเมียนมา กว่า 3.2 หมื่นคน อยู่ในพื้นที่พักพิงชั่วคราว 9 แห่ง และ 2.เด็กผู้ลี้ภัย และเด็กผู้แสวงหาที่พักพิงในเมือง กว่า 1.8 พันคน พร้อมกับกำหนดมาตรการที่เหมาะสมเพื่อช่วยเหลือเด็กเหล่านี้ โดยนำกฎหมายที่มีอยู่มาคุ้มครองเด็ก เช่น พ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก พ.ศ.2564 พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 เป็นต้น พร้อมกับประสานความร่วมมือกับองค์กรสหประชาชาติในการช่วยเหลือ และคุ้มครองเด็ก</p>
<p>"หากประเทศถอนข้อสงวน ข้อ 22 ในอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแล้ว เชื่อว่าประโยช์ที่จะได้รับมีดังนี้ 1.เด็กทุกคนได้รับสิทธิขั้นพื้นฐานอย่างปราศจากการเลือกปฏิบัติ โดยยึดประโยชน์ของเด็กเป็นลำดับแรก พร้อมทั้งได้รับความคุ้มครอง และดูแลช่วยเหลือเท่าที่จะเป็นไปได้ 2.ส่งเสริมบทบาทของประเทศไทนในการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัย และเด็ก ในบริบทการย้ายถิ่นฐาน สอดคล้องกับคำมั่นที่ไทยได้ให้ไว้เวทีระหว่างประเทศ 3.พัฒนาภาพลักษณ์ที่ดี และมุมมองด้านบวกของไทย และ 4.หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และองค์การระหว่างประเทศด้านเด็กในไทย ดำเนินงานด้านเด็กในบริบทการโยกย้ายถิ่นฐานในอย่างครอบคลุม" อรรถพล กล่าว</p>
<p>อนึ่ง ประเทศไทยได้เป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กโดยการภาคยานุวัติเมื่อปี พ.ศ. 2535 และได้ตั้งข้อสงวนไว้ 3 ข้อ เพื่อยกเว้นการดำเนินการตามบทบัญญัติของอนุสัญญาในข้อนั้น ได้แก่ 1) ข้อ 7 ว่าด้วยสถานะบุคคล 2) ข้อ 22 ว่าด้วยสถานะของเด็กผู้ลี้ภัยและเด็กผู้แสวงหาที่พักพิง และ 3) ข้อ 29 ว่าด้วยการจัดการศึกษา ต่อมาประเทศไทยได้ถอนข้อสงวนข้อ 29 เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2540 และข้อ 7 เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2553 ปัจจุบันคงเหลือเพียงข้อสงวนข้อ 22 และถือเป็นรัฐภาคีประเทศสุดท้ายที่ยังคงข้อสงวนข้อนี้</p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2024/03/108577
 

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

นักข่าวหัวเห็ด แห่งเวบสุขใจ
อัพเดตข่าวทันใจ ตลอด 24 ชั่วโมง

>> http://www.SookJai.com <<
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
[ข่าวมาแรง] - 'ก้าวไกล' ประกาศการเมืองไทยเข้าสู่ซีซัน 2 ‘ก้าวไกล vs. การเมืองระบบเก่า’
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 142 กระทู้ล่าสุด 27 สิงหาคม 2566 16:43:08
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - 'ก้าวไกล' ตั้งคณะทำงานพิเศษป้องกันและแก้ไขปัญหาความรุนแรงทางเพศ
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 59 กระทู้ล่าสุด 21 ตุลาคม 2566 14:05:20
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - ‘ก้าวไกล’ ชวนประชาชนแสดงความเห็นร่างกฎหมาย ‘ยุบ กอ.รมน.’
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 137 กระทู้ล่าสุด 28 ตุลาคม 2566 21:35:18
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - 'ก้าวไกล' เป็นเจ้าภาพจัดประชุมเครือข่ายพรรคการเมืองแนวสังคมประชาธิปไตยเอเ
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 85 กระทู้ล่าสุด 17 พฤศจิกายน 2566 23:18:22
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - สส.ก้าวไกล ชี้ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำยั่งยืนต้องเพิ่มค่าแรงทุกปีไม่ให้ต่ำกว่าอัตร
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 45 กระทู้ล่าสุด 09 ธันวาคม 2566 17:23:32
โดย สุขใจ ข่าวสด
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.407 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 25 เมษายน 2567 16:22:23