[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
02 พฤษภาคม 2567 20:11:30 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: เฉาก๊วย (แท้) และเพื่อนเฉาก๊วย  (อ่าน 130 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2329


ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 123.0.0.0 Chrome 123.0.0.0


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 01 เมษายน 2567 11:34:25 »



เฉาก๊วย (แท้) และเพื่อนเฉาก๊วย


ที่มา - มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 29 มีนาคม - 4 เมษายน 2567
คอลัมน์ - โครงการสมุนไพรเพื่อการพึ่งพาตนเอง
เผยแพร่ - วันเสาร์ที่ 30 มีนาคม พ.ศ.2567


เฉาก๊วยเป็นของหวานที่คนไทยรู้จักและคุ้นเคยกันมานาน ยิ่งอากาศร้อนๆ เฉาก๊วยใส่น้ำแข็งไสก็เป็นหนึ่งในอาหารกินเล่นคลายร้อนที่ดี เดินไปกินร้านไหนๆ ก็บอกว่าเฉาก๊วยของแท้กันทุกร้าน บางเจ้ากล่าวว่าของแท้ต้องมาจากจังหวัดนั้น บางเจ้าว่าของแท้ต้องตัดเป็น 4 เหลี่ยม 6 เหลี่ยมก็มี แล้วเฉาก๊วยแท้ต้องมาจากจีนจริงหรือ?

คงเพราะชื่อ เฉาก๊วย เรียกกันตามภาษาจีน และด้วยการรับรู้มาเนิ่นนานว่า เฉาก๊วยต้องสั่งซื้อนำเข้าหญ้าเฉาก๊วยมาจากเมืองจีน ทำให้คนจำนวนมากเข้าใจว่าต้นเฉาก๊วยเป็นพืชเฉพาะถิ่นของจีนเท่านั้น แต่ถ้าดูข้อมูลวิชาการจากฐานข้อมูลของสวนพฤกษศาสตร์หลวงเมืองคิว มีรายงานว่าเฉาก๊วยมีถิ่นกำเนิดในอัสสัม บังกลาเทศ กัมพูชา จีนตอนใต้ ลาว เมียนมา เกาะนิวกีนี ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย ไต้หวัน เวียดนาม และในประเทศไทยด้วย

อย่างไรก็ตาม เพราะจีนเป็นประเทศที่มีการปลูกและส่งออกเฉาก๊วยมากที่สุด ซึ่งก็ส่งเขามาเมืองไทยมากมายด้วย ต่อมาอินโดนีเซียและเวียดนามมีการปลูกเป็นการค้าเช่นกัน และช่วงนี้เข้าสู่หน้าร้อนและร้อนที่สุด เฉาก๊วยจึงเป็นสมุนไพรทางเลือกอีกชนิดหนึ่งที่ช่วยการดูแลสุขภาพ ด้วยการรู้จักกินอาหารให้เข้ากับฤดูกาล เฉาก๊วยจึงเป็นทั้งอาหารและยา

เฉาก๊วยมีชื่อสามัญในภาษาอังกฤษว่า Black cincau หรือ Grass black jelly เดิมมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Mesona chinensis Benth. อยู่ในวงศ์กะเพรา หรือวงศ์มินต์ (Lamiaceae)

ต่อมามีการศึกษาทางโมเลกุลเชิงลึก ค้นพบข้อมูลใหม่จึงเปลี่ยนชื่อวิทยาศาสตร์มาเป็น Platostoma palustre (Blume) A.J.Paton เฉาก๊วยเป็นไม้ล้มลุก ประเภทคลุมดิน หรือเป็นไม้พุ่มกึ่งเลื้อย ขนาดเล็ก สูง 15-100 ซ.ม. ลำต้นกลม เปราะ หักง่าย เป็นพืชเดียวกับสะระแหน่ กะเพรา โหระพา แมงลัก ยี่หร่า และมินต์ ใบมีขนาดใหญ่กว่าใบมินต์ และเรียวแหลมรูปรี แกมรูปใบหอก ปลายใบแหลม โคนใบสอบสีเขียวสด ดอกมีสีขาว สีแดงอ่อน หรือสีฟ้า คล้ายดอกกะเพรา สามารถออกดอกได้ตลอดทั้งปี ขึ้นได้กับสภาพดินทั่วไป ชอบแสงแดด และความชุ่มชื้น พบในธรรมชาติบนที่สูง ปัจจุบันมีการปลูกเป็นพืชเศรษฐกิจ

วิธีการสกัดสารออกมาจากต้นเฉาก๊วย ทำได้โดยตัดต้นออกเป็นท่อนสั้นๆ ซึ่งมีใบติดอยู่ด้วย แล้วนำไปต้มน้ำจนเดือดก็จะมีสารที่มีลักษณะคล้ายๆ วุ้นออกมา ซึ่งเป็นสารเคมีที่เรียกว่า เพกติน (Pectin) ซึ่งจัดเป็นสารประกอบจำพวกคาร์โบไฮเดรต พร้อมกับมีส่วนที่เป็นยางออกมาด้วย สารที่ออกมานี้มีสีน้ำตาลเข้มเกือบเป็นสีดำ นี่เองคือที่มาที่เราเห็นเฉาก๊วยมีสีดำก็เพราะมาจากสาร 2 ชนิดนี้นั่นเอง

วิธีทำอีกอย่างหนึ่งจะนำใบเฉาก๊วยแห้ง ผสมกับแป้งมันสำปะหลัง แล้วนำมาต้มให้เดือดก็จะได้เฉาก๊วยออกมาเช่นกัน หรือวิธีทำที่นำต้นเฉาก๊วยตากแห้งแล้วค่อยนำไปต้มให้ได้น้ำสีดำ มีลักษณะเป็นเมือกเล็กๆ จากนั้นนำน้ำต้มเฉาก๊วยไปกรองแล้วไปผสมกับแป้งเท้ายายม่อมหรือแป้งมันสำปะหลัง คนให้เข้ากันแล้วตั้งทิ้งไว้จนเย็น จะได้วุ้นสีดำแบบเฉาก๊วยเช่นกัน

เฉาก๊วย มีสรรพคุณ แก้ร้อนใน ช่วยดับกระหาย ช่วยขับเสมหะ แก้อาการคลื่นไส้ เบื่ออาหาร ช่วยลดไข้ แก้อาการตัวร้อน ลดอาการกล้ามเนื้ออักเสบ ลดอาการตับอักเสบ ลดความดันโลหิตสูงและช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด บรรเทาอาการหวัด บรรเทาอาการเบื่ออาหาร แก้ปวดท้อง มวนท้อง บรรเทาอาการไขข้ออักเสบ

และในระยะหลังๆ มานี้ยังมีการนำเฉาก๊วยเป็นอาหารให้ผู้ป่วยในระยะให้เคมีบำบัดด้วย เพื่อช่วยบรรเทาอาการข้างเคียง ลดความร้อนในร่างกาย ฯลฯ

ในประเทศจีน แพทย์แผนจีนแนะนำว่าเฉาก๊วยมีสรรพคุณทางยา ที่ดีต่อคนเป็นเบาหวานและความดันโลหิตสูง

หากนำเฉาก๊วยมาต้มและดื่มเป็นประจำ อาการของโรคจะบรรเทาลงได้ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ต้องระวังปริมาณน้ำตาลที่เติมลงไปในน้ำเฉาก๊วยด้วย หรือดื่มน้ำเฉาก๊วยที่ใส่น้ำตาลเล็กน้อย หรือไม่เติมน้ำตาลเลยก็น่าจะเป็นทางเลือกที่ดีกว่า

แต่เมื่อค้นคว้าในตำรายาจีน พบว่ายังมีสมุนไพรอีกชนิดหนึ่งที่มีชื่อเรียกว่า เฉาก๊วย เช่นกัน เขียนเป็นภาษาจีนได้ว่า ??? (Cao guo, Fructus Tsaoko ) เฉาก๊วยชนิดนี้เป็นผลสุกของพืชที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Lanxangia tsao-ko (Crevost & Lemari?) M.F.Newman & ?korni?k อยู่ในวงศ์ขิงข่า (Zingiberaceae)

พืชนี้คนไทยเรียกว่า “กระวานดำ” มีรสเผ็ด อุ่น มีฤทธิ์สลายความชื้น ขับความเย็น แก้ความเย็นกระทบกระเพาะอาหารและลำไส้ (แก้ความเย็นที่ทำให้ปวด จุกเสียด แน่นท้อง อาเจียน ท้องเสีย) มีฤทธิ์ขับเสมหะ และแก้ไข้มาลาเรีย

ในอินโดนีเซียก็มีการปลูกต้นเฉาก๊วยเป็นการค้าแล้ว แต่ก็พบว่าคนท้องถิ่นนิยมกินวุ้นจากพืชชนิดหนึ่งคล้ายเฉาก๊วย เรียกว่า “Cincau Hijau” มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cyclea barbata Miers. หรือ เรียกว่า หญ้าวุ้นสีเขียว ( green grass jelly) ซึ่งคล้ายกับเฉาก๊วยที่เรียกว่าหญ้าวุ้นสีดำ (black grass jelly) โดยนำใบสดมาปั่น กรองเอากากออก ปล่อยไว้ประมาณ 5 นาที น้ำที่กรองได้จะกลายเป็นวุ้นสีเขียว ใช้เป็นของหวานเหมือนเฉาก๊วย สรรพคุณก็คล้ายกัน

ที่มหาวิทยาลัยขอนแก่นรายงานพบว่า หญ้าวุ้นสีเขียวของอินโดนีเซียก็คือ “หมาน้อย” ที่เป็นภูมิปัญญาอีสานนำมาสกัดเอาวุ้นมาประกอบอาหารคาวหวานนั่นเอง

แต่เดิมหมาน้อยมีชื่อวิทยาศาสตร์อันเดียวกับพืชที่ภาคกลางเรียกว่า “กรุงเขมา” ใช้ชื่อว่า Cissampelos pareira L. แต่จากการศึกษาในระดับโมเลกุลพบว่า หมาน้อยเป็นพืชที่อยู่คนละสกุลกับกรุงเขมา พืชหมาน้อยมีอย่างน้อย 2 ชนิด Cyclea polypetala Dunn และ Cyclea peltata (Burm.f.) Hook.f. & Thomson และหญ้าวุ้นสีเขียวของอินโดนีเซีย ชนิด Cyclea barbata Miers ก็มีรายรายงานว่าพบในประเทศไทยเช่นเดียวกัน

เมืองไทยมีความหลากหลายทางชีวภาพของพืชในกลุ่มนี้ค่อนข้างสูง พืชกลุ่มนี้มีสารเพกตินที่เป็นคาร์โบไฮเดรตที่ไม่ให้พลังงานในปริมาณที่สูงด้วย จึงนำมาใช้ประโยชน์และสร้างโปรดักต์ด้านสุขภาพได้มากมาย

ร้อนปีนี้ยังอีกยาวไกล เฉาก๊วย หมอน้อย หญ้าวุ้นเขียว มีอยู่มากมายในไทยมีสรรพคุณดีเหมาะกับนำมากินในคิมหันตฤดูนี้ •


Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 01 เมษายน 2567 11:37:31 โดย ใบบุญ » บันทึกการเข้า
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
กว่าจะมาเป็น “เฉาก๊วย - Chao Kuay” แก้ร้อนใน กระหายน้ำ
สุขใจ ในครัว
Kimleng 1 5449 กระทู้ล่าสุด 10 กรกฎาคม 2556 19:55:28
โดย หมีงงในพงหญ้า
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.394 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page วานนี้