[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
30 เมษายน 2567 10:12:11 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - UN พบผู้ลี้ภัยถูก ‘ทหาร ตำรวจ กลุ่มค้ามนุษย์ กลุ่มอาชญากร’ ล่วงละเมิด  (อ่าน 26 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
สุขใจ ข่าวสด
I'm Robot
สุขใจ บอทนักข่าว
นักโพสท์ระดับ 15
****

คะแนนความดี: +101/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Italy Italy

กระทู้: มากเกินบรรยาย


บอท @ สุขใจ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 01 เมษายน 2567 12:08:57 »

UN พบผู้ลี้ภัยถูก ‘ทหาร ตำรวจ กลุ่มค้ามนุษย์ กลุ่มอาชญากร’ ล่วงละเมิด
 


<span class="submitted-by">Submitted on Sun, 2024-03-31 17:35</span><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>รายงานพิเศษจาก 'เบนาร์นิวส์' ระบุสหประชาชาติ (UN) พบผู้ลี้ภัยบางส่วนในอินโดนีเซีย มาเลเซีย และไทยถูก ‘ทหาร ตำรวจ กลุ่มค้ามนุษย์ กลุ่มอาชญากร’ ล่วงละเมิด</p>
<p>เบนาร์นิวส์ รายงานว่าจากรายงานของสหประชาชาติที่เผยแพร่เมื่อช่วงปลายเดือน มี.ค. 2567 พบว่าถึงแม้ผู้ลี้ภัยกลุ่มตัวอย่างจำนวน 3 ใน 4 ในประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย และไทย จะอ้างว่าพวกเขาต้องทุกข์ทรมานจากการถูกเครือข่ายลักลอบขนผู้โยกย้ายถิ่นฐานล่วงละเมิดในรูปแบบต่าง ๆ ระหว่างที่หลบหนีออกจากประเทศบ้านเกิด กว่าครึ่งยังยืนยันว่า พวกเขาพร้อมที่จะหลบหนีอีกครั้ง</p>
<p>สำนักงานป้องกันยาเสพติดและปราบปรามอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และแปซิฟิก (United Nations Office on Drugs and Crime - UNODC) จัดทำแบบสำรวจผู้อพยพและผู้ลี้ภัยเกือบ 4,800 คน ในทั้งสามประเทศดังกล่าวที่ตัดสินใจใช้บริการเครือข่ายผิดกฎหมายเพื่อลักลอบเข้าสู่เขตแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สำนักงานภูมิภาคของ UNODC ในกรุงเทพมหานครกล่าวในรายงาน</p>
<p>รายงาน “การลักลอบขนผู้โยกย้ายถิ่นฐานในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” ระบุว่า พวกเขาถูก “ทหาร ตำรวจ ผู้ลักลอบค้ามนุษย์ เจ้าหน้าที่รักษาชายแดน หรือกลุ่มอาชญากร” ข่มเหง ซึ่งกลุ่มผู้ลี้ภัยที่เป็นกลุ่มตัวอย่างในการสำรวจครั้งนี้มาจากประเทศอัฟกานิสถาน บังกลาเทศ กัมพูชา อินโดนีเซีย ลาว เมียนมา ปากีสถาน โซมาเลีย และเวียดนาม รวมถึงชาวโรฮิงญา</p>
<p>“การลักลอบขนผู้โยกย้ายถิ่นฐานมิใช่การลงมือโดยตั้งใจหรือเป็นทางเลือกที่เสรี แต่เป็นการลงมือด้วยความสิ้นหวังเพื่อเสาะหาความมั่นคง ปลอดภัย หรือโอกาส หรือแม้กระทั่งอิสรภาพจากการลงมือข่มขู่ทำร้าย กดขี่ หรือคดโกงผู้อื่น” นายมาซุด คาริมิ ผู้แทนจากสำนักงานภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และแปซิฟิก กล่าว</p>
<p>“ข้อมูลระบุว่าผู้ลักลอบขนย้ายผู้อพยพเหล่านี้อาจจะเป็นปัจเจกผู้ดำเนินการเพียงลำพัง มีเครือข่ายเชื่อมต่อกับอาชญากรหรือกลุ่มองค์กรอาชญากรรมแบบไม่แน่นแฟ้น ดังนั้นการนำพวกเขาเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมจึงเป็นขั้นตอนที่สำคัญในการปกป้องผู้ที่กำลังแสวงหาชีวิตที่ปลอดภัยและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น” เขาเอ่ยในแถลงการณ์ที่แนบมากับรายงานที่ระบุว่า เจ้าหน้าที่ทหารและตำรวจมีแนวโน้มที่จะก่อความรุนแรงทางร่างกาย ขอสินบนหรือขู่กรรโชก ทำร้ายจนถึงแก่ชีวิต และล่วงละเมิดทางเพศระหว่างที่กำลังเดินทางโยกย้ายถิ่นฐาน </p>
<p>“ความรุนแรงที่ไม่ใช่เชิงกายภาพ (เช่น การคุกคาม) พบบ่อยในกลุ่มตัวอย่างผู้ชาย (18% ของผู้อพยพเพศชายที่มีส่วนร่วมในแบบสำรวจ) มากกว่าผู้หญิง (13%) ส่วนผู้หญิง 11 % และผู้ชาย 6% ให้ข้อมูลว่าเคยมีประสบการณ์โดนล่วงละเมิดทางเพศ ในขณะที่ผู้ชาย 9% และผู้หญิง 6% มีประสบการณ์ในการเห็นเหยื่อเสียชีวิต” รายงานระบุ</p>
<p>ส่วนสาเหตุของความต้องการในการลักลอบโยกย้ายถิ่นฐาน ราวหนึ่งในสี่ของกลุ่มตัวอย่างให้ข้อมูลว่า ปัญหาสภาพภูมิอากาศ เช่น น้ำท่วม ภัยแล้ง หรืออุณหภูมิที่แปรปรวนสูงของโลก กระตุ้นให้พวกเขาออกค้นหาผู้ที่สามารถลักลอบพาตัวเองเข้าไปในเขตแดนใหม่</p>
<p>รายงานระบุอีกว่า ปัญหาวิกฤตสภาพภูมิอากาศมีส่วนเชื่อมโยงกับชาวบังกลาเทศที่ต้องการลักลอบหนีออกนอกประเทศอย่างชัดเจน สามในสี่ของกลุ่มตัวอย่างชาวบังกลาเทศอ้างว่า ประเด็นเรื่องสภาพภูมิอากาศแปรปรวนหรือปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมกระตุ้นให้พวกเขาตัดสินใจหลบหนีออกนอกประเทศ ในขณะที่กลุ่มผู้อพยพจำนวนใกล้เคียงกันก็กล่าวว่า พวกเขาถูกบังคับให้ติดสินบนเจ้าหน้าที่ มอบสิ่งของตอบแทน หรือรับใช้พวกเขาตามคำสั่งระหว่างการเดินทาง</p>
<p>รายงานยังระบุอีกว่า ผู้อพยพเหล่านี้เชื่อว่า พวกเขาต้องใช้ผู้ช่วยลักลอบเข้าเขตแดนอื่นเพื่อเป็นกันชนจัดการกับเจ้าหน้าที่ที่ทุจริต” และถึงแม้ว่าพวกเขาจะต้องพบเจอกับการล่วงละเมิดที่รุนแรง จำนวนผู้ลี้ภัยกว่าครึ่ง (48%) ยืนยันว่า ตนเองก็ตัดสินใจที่จะใช้บริการการลักลอบโยกย้ายถิ่นฐานอยู่ดี ในขณะที่ผู้ลี้ภัย 40% ปฏิเสธที่จะใช้บริการ และอีก 12% ไม่สามารถตัดสินใจได้</p>
<p>สองในสามของกลุ่มตัวอย่างให้ข้อมูลว่า พวกเขา ครอบครัว หรือเพื่อนเป็นฝ่ายเริ่มติดต่อกับผู้ลักลอบขนผู้ลี้ภัยเข้าเมืองผ่านทางโซเชียลมีเดีย ทางโทรศัพท์ หรือไปติดต่อพบเจอด้วยตนเอง พวกเขาจ่ายค่าธรรมเนียมโดยเฉลี่ย 2,380 ดอลลาร์สหรัฐ (ราว 119,291.96 บาท) และเกือบ 90% ของผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงญากล่าวกับผู้สัมภาษณ์ว่า พวกเขาใช้บริการลักลอบย้ายถิ่นฐานเพื่อเดินเข้าสู่ประเทศมาเลเซีย ไทย หรืออินโดนีเซีย</p>
<p>สืบเนื่องจากรายงานฉบับนี้ของ UNODC เบนาร์นิวส์ติดต่อสัมภาษณ์ชาวโรฮิงญาจำนวน 3 ราย ที่ตัดสินใจใช้บริการเครือข่ายลักลอบขนผู้โยกย้ายถิ่นฐานเพื่อแสวงหาแผ่นดินใหม่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นอกเหนือจากประเทศเมียนมา</p>
<p>ช็อบเบียร์ ฮุสเซน หนึ่งในผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงญาอายุ 18 ปี เป็นอีกหนึ่งผู้ลี้ภัยจากบรรดาชาวโรฮิงญา 2,000 คนที่พักพิงอยู่ในภูมิภาคอาเจะฮ์ ประเทศอินโดนีเซียตั้งแต่เดือนตุลาคม ปี 2566 เขาเดินทางจากค่ายผู้ลี้ภัยค็อกซ์บาซาร์ ประเทศบังกลาเทศ ล่องเรือหลายสัปดาห์กว่าจะมาถึงอาเจะห์เบซาร์รีเจนซี่ในวันที่ 10 ธันวาคมพร้อมกับชาวโรฮิงญาราว 130 ราย</p>
<p>ช็อบเบียร์ระบุว่า ครอบครัวส่งเขาออกนอกประเทศเพื่อแสวงหาชีวิตที่ดีกว่า</p>
<p>“การใช้ชีวิตในค่ายผู้ลี้ภัยค็อกซ์บาซาร์ บังกลาเทศไม่ปลอดภัยอีกต่อไปแล้วเพราะมีการก่อความรุนแรง ลักพาตัวและขู่กรรโชกบ่อยครั้ง แต่กลับกลายเป็นว่าการเดินทางออกมาจากที่นั่นก็ไม่ได้เป็นไปตามที่ผมคาดหวังอีกเช่นเดียวกัน” เขากล่าว</p>
<p>4 เดือนหลังจากที่เขาเดินทางมาถึงอาเจะฮ์ ช็อบเบียร์เผยว่าชีวิตของเขาไม่แตกต่างไปจากตอนใช้ชีวิตอยู่ที่ค่ายผู้ลี้ภัยในบังกลาเทศเสียเท่าไหร่ เพราะเขาใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการกินข้าวและนอนหลับ</p>
<p>“ที่นี่ไม่มีอะไรให้ทำเลยแม้ว่าผมจะอยากออกไปเรียนหนังสือหรือทำงานก็ตาม”</p>
<p>ช็อบเบียร์กล่าวว่า พ่อของเขาจ่ายเงินให้กับผู้ลักลอบค้ามนุษย์เพื่อพาเขาเดินทางขึ้นเรือไม้ล่องไปตามทะเลอันดามันเป็นเวลา 45 วัน เพื่อเดินทางไปยังประเทศอินโดนีเซีย หลังจากที่พวกเขาให้คำมั่นสัญญาถึงชีวิตที่ดีกว่าในอินโดนีเซียหรือมาเลเซีย ช็อบเบียร์ไม่ทราบว่าพ่อเขาต้องจ่ายเงินเป็นจำนวนเท่าไหร่ในการลักลอบย้ายถิ่นฐานครั้งนี้</p>
<p>พ่อ แม่ และพี่น้องอีก 7 คนของเขาใช้ชีวิตอยู่ในค่ายผู้ลี้ภัยแสนแออัดยัดเยียดที่ค็อกซ์บาซาร์หลังจากที่ถูกบังคับให้เดินทางออกจากรัฐยะไข่ ภายหลังการโจมตีอันโหดร้ายของกองทัพเมียนมาในปี 2560</p>
<p>“บ้านของเราถูกเผาและทหารยิงหนึ่งในน้องชายคนเล็กของผมตาย เราถึงได้ตัดสินใจย้ายมาอยู่ที่บังกลาเทศ” เขากล่าว</p>
<p>ชาฮีดุลลาห์ โมด โฮเซน ผู้ลี้ภัยอีกรายในมาเลเซียกล่าวว่า ครอบครัวของเขาจ่ายเงินให้กับผู้ลักลอบเพื่อหนีออกจากค่ายผู้ลี้ภัยอันแออัดเพื่อแสวงหาโอกาสที่ดีกว่าในประเทศอื่น เดิมทีเขาอาศัยอยู่ในค่ายผู้ลี้ภัยกูตูปาลองในบังกลาเทศหลังจากที่ครอบครัวหลบหนีการถูกดำเนินคดีในเมียนมา โดยครอบครัวของเขาและชาวโรฮิงญาอีกราวหนึ่งล้านคนต้องอยู่ร่วมกันในค่ายผู้ลี้ภัยและตั้งถิ่นฐานอยู่ด้านในและรอบๆ ค็อกซ์บาซาร์</p>
<p>ชาฮีดุลลาห์เผยว่า เขามองไม่เห็นอนาคตตัวเองจากการอยู่ในค่าย</p>
<p>“มีกลุ่มผู้ร้ายมากมายที่จับคนมาเรียกค่าไถ่ และถ้าครอบครัวของเหยื่อไม่ยอมจ่าย พวกเขาก็ขู่จะฆ่าเหยื่อคนนั้น” ชาฮีดุลลาห์ในวัย 29 ปีบอกกับเบนาร์นิวส์ และยังเสริมอีกว่า กลุ่มผู้ร้ายลงมือวางเพลิงที่อยู่อาศัยของคนในค่ายผู้ลี้ภัยที่เบียดเสียดยามค่ำคืน ส่งผลให้หลายครอบครัวต้องกลายเป็นคนไร้บ้าน</p>
<p>ชาฮิดุลเลาะห์กล่าวว่า เขาติดต่อองค์กรเพื่อจัดเตรียมการเดินทางไปยังมาเลเซีย ซึ่งหลังจากนั้นไม่นาน องค์กรดังกล่าวก็เรียกค่าใช้จ่ายจากแม่ของเขาจำนวน 500,000 ตากาบังกลาเทศ (ราว 4,565 ดอลล่าร์สหรัฐ หรือ166,095 บาท) เพื่อส่งเขาไปที่ประเทศมาเลเซีย โดยเขาเดินทางมาถึงมาเลเซียในเดือนกันยายน ปี 2566</p>
<p>“ผมไม่รู้ว่าแม่หาเงินมาได้ยังไง แต่หลังจากนั้นไม่กี่วัน ผมก็ถูกส่งให้ขึ้นเรือกับชาวโรฮิงญาอีกราว 100 คน เราใช้เวลาเดินทางเป็นเวลาหนึ่งเดือน บวกกับการปีนเขาเพื่อข้ามแดนไปยังมาเลเซีย เราไม่มีอาหารกินเลยตลอดเส้นทาง จึงต้องหากินเท่าที่ได้ในพื้นที่ตรงนั้น” เขากล่าว และเสริมว่าผู้ลี้ภัยต้องฝืนกินใบไม้เพื่อประทังชีวิตในระหว่างที่ปีนเขาอยู่ในป่า</p>
<p>การเดินทางของชาฮิดุลลาห์จบลงในเดือนกันยายน ปีที่ผ่านมาในเมืองอัมปัง ใกล้กับเมืองหลวงกัวลาลัมเปอร์ เมื่อเขาถูกส่งตัวไปอยู่ที่ชุมชนชาวต่างชาติโรฮิงญา</p>
<p>ที่บังกลาเทศ หญิงสาวชาวโรฮิงญากลับมาที่ค่ายผู้ลี้ภัยแล้วหลังจากที่พยายามเดินทางไปยังเมียนมาเพื่อเข้าสู่พิธีการแต่งงานที่ถูกจัดตั้งไว้แล้ว จนต้องถูกตัดสินให้จำคุกอยู่ในเรือนจำที่เมียนมาเป็นเวลามากกว่าหนึ่งปี</p>
<p>ฮาลิมา คาตุนเห็นพ่อของเธอถูกกองทัพทหารเมียนมาปลิดชีวิตกับตาในรัฐยะไข่ในวันที่ 25 สิงหาคม 2560 แม่ของเธอจึงพาเธอและน้องสาวอีก 2 คนหลบหนีข้ามชายแดนมาอยู่ที่ค่ายผู้ลี้ภัยบังกลาเทศในค่ายเทคนาฟ เวลานั้นฮาลิมาอายุ 18 ปี เธอบอกว่าเธอหลบหนีออกจากค่ายผู้ลี้ภัยที่นั่นในปลายปี 2565 เพื่อเดินทางไปยังประเทศมาเลเซียโดยกลุ่มค้ามนุษย์ เป็นผู้ดำเนินการพาหลบหนี แต่หลังจากนั้นกลับถูกเจ้าหน้าที่เมียนมาจับกุมเนื่องจากเครื่องยนต์เรือเสียหายระหว่างที่เดินทางอยู่ในทะเล  เธอจึงต้องใช้ชีวิต 13 เดือนอยู่ในเรือนจำที่เมียนมา </p>
<p>“ครอบครัวตามหาร่องรอยของฉันไม่เจอเลยในระหว่าง 13 เดือนนั้น พวกเขาจึงได้แต่คิดว่าฉันคงจมน้ำทะเลตายหรือไม่ก็เสียชีวิตด้วยสาเหตุใดสาเหตุหนึ่ง” เธอให้สัมภาษณ์กับเบนาร์นิวส์</p>
<p>หลังจากที่เธอได้รับการปล่อยตัวจากเรือนจำ ฮาลิมาเดินทางกลับบังกลาเทศในเดือนกุมภาพันธ์จากความช่วยเหลือของญาติชาวเมียนมา</p>
<p>“การแต่งงานของฉันกับฮาบิเบอร์ ราห์มัน ชายหนุ่มชาวโรฮิงญาในมาเลเซียถูกจัดการไว้แล้ว เขาเป็นคนที่พยายามจะติดต่อองค์กร ‘ดาลาล’ เพื่อส่งฉันไปที่นั่น” เธอกล่าว คำว่าดาลาลหมายถึงนายหน้า</p>
<p>“หนึ่งในนายหน้าที่พาฉันเดินทางไปยังมาเลเซียเป็นชาวโรฮิงญาที่อาศัยอยู่ในเมียนมา ส่วนอีกคนเป็นชาวบังกลาเทศ” ฮาลิมากล่าว</p>
<p>กลุ่มค้ามนุษย์เรียกร้องเงินจำนวน 800,000 ทากา (ราว 7,289 ดอลล่าร์สหรัฐ หรือ 265,246 บาท) เป็นค่าจัดการเดินทางส่งเธอไปยังประเทศมาเลเซีย ฮาลิมาร่วมเดินทางไปกับหญิงและชายชาวโรฮิงญา และชาวบังกลาเทศอีกหลายราย</p>
<p>“หลังจากที่เดินทางออกมาจากชามิลา (หมู่บ้านในรัฐยะไข่) เราก็ใช้ชีวิตอยู่บนเรือเป็นเวลา 22 วันก่อนที่จะย้ายไปยังเรือที่เล็กกว่าอีก 2 วัน 2 คืน แต่หลังจากที่เครื่องยนต์เรือเสีย พวกลูกเรือก็หลบหนีไป จากนั้น ‘เจ้าหน้าที่ทหาร’ ก็เดินทางมาช่วยเรา และรถของเจ้าหน้าที่ตำรวจก็ขับพาเรามาขังไว้ที่นั่นเป็นเวลา 12 วัน” เธอให้ข้อมูล</p>
<p>หลังจากที่ถูกตัดสินจำคุก 2 ปีที่เรือนจำในเมียนมา ฮาลิมาก็ถูกคุมขังเป็นเวลา 13 เดือน จนกระทั่งเมื่อ 3 สัปดาห์ที่ผ่านมา ฮาลิมาก็จ่ายเงินให้กับนายหน้าเพื่อเดินทางหลบหนีโดยการนั่งเรือข้ามแม่น้ำนาฟไปยังประเทศบังกลาเทศ</p>
<p>เธอบอกว่าชายหนุ่มที่เคยสัญญาว่าจะแต่งงานกับเธอได้แต่งงานกับหญิงสาวชาวโรฮิงญาอีกคนซึ่งมาจากค่ายผู้ลี้ภัยที่บังกลาเทศไปแล้ว และพาหล่อนหนีไปที่ประเทศมาเลเซีย</p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ขhttps://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2024/03/108644
 

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

นักข่าวหัวเห็ด แห่งเวบสุขใจ
อัพเดตข่าวทันใจ ตลอด 24 ชั่วโมง

>> http://www.SookJai.com <<
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
[ข่าวมาแรง] - เปิดประวัติ ‘ซอ ติน วิน’ ทหาร BGF คนสำคัญ ผู้ซื้อไฟฟ้าจากไทยจ่ายป้อนเมืองจีนเทา
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 74 กระทู้ล่าสุด 22 กันยายน 2566 18:50:38
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - เปิดประวัติ ‘ซอ ติน วิน’ ทหาร BGF คนสำคัญ ผู้ซื้อไฟฟ้าจากไทยจ่ายป้อนเมืองจีนเทา
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 67 กระทู้ล่าสุด 22 กันยายน 2566 20:21:40
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - เปิดประวัติ ‘ซอ ติน วิน’ ทหาร BGF คนสำคัญ ผู้ซื้อไฟฟ้าจากไทยจ่ายป้อนเมืองจีนเทา
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 101 กระทู้ล่าสุด 23 กันยายน 2566 03:58:20
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - กมธ.ทหาร หารือ รมว.กลาโหม ชูโครงการ 'พลทหารปลอดภัย' ช่องทางติดต่อร้องทุกข์ของ
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 48 กระทู้ล่าสุด 03 กุมภาพันธ์ 2567 08:13:49
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - ชาวบ้าน ต.บ้านดง อ.แม่เมาะ จ.ลำปาง เตรียมร้อง กมธ.ทหาร สอบข้อเท็จจริงถูกทหารยึดที
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 50 กระทู้ล่าสุด 17 กุมภาพันธ์ 2567 17:12:15
โดย สุขใจ ข่าวสด
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.172 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 23 เมษายน 2567 09:33:55