[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
09 กรกฎาคม 2568 13:04:50 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - ศาลปกครองฯไม่รับคำฟ้องผู้ประกันตนฟ้อง ก.แรงงาน ปมไม่เร่งจัดเลือกตั้งบอร์ดประ  (อ่าน 183 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
สุขใจ ข่าวสด
I'm Robot
สุขใจ บอทนักข่าว
นักโพสท์ระดับ 15
****

คะแนนความดี: +101/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Italy Italy

กระทู้: มากเกินบรรยาย


บอท @ สุขใจ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 01 เมษายน 2567 22:52:26 »

ศาลปกครองฯไม่รับคำฟ้องผู้ประกันตนฟ้อง ก.แรงงาน ปมไม่เร่งจัดเลือกตั้งบอร์ดประกันสังคม-เลือกปฏิบัติ
 


<span class="submitted-by">Submitted on Mon, 2024-04-01 21:16</span><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>ศาลปกครองสูงสุดชี้ขาดคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับคำฟ้องไว้พิจารณา ตัวแทนแรงงานผู้ประกันตน ฟ้องกระทรวงแรงงาน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน และปลัดกระทรวงแรงงาน กรณีไม่เร่งดำเนินการจัดให้มีการเลือกตั้งคณะกรรมการประกันสังคม และขอให้เพิกถอนระเบียบหลักเกณฑ์ ที่มีการเลือกปฏิบัติต่อแรงงานข้ามชาติ</p>
<p>1 เม.ย.2567 ผู้สื่อข่าวได้รับแจ้งจาก มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา (มสพ.) ว่า ศาลปกครองสูงสุดชี้ขาดคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับคำฟ้องไว้พิจารณา ตัวแทนแรงงานผู้ประกันตน ฟ้องกระทรวงแรงงาน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน และปลัดกระทรวงแรงงาน 'กรณีไม่เร่งดำเนินการจัดให้มีการเลือกตั้งคณะกรรมการประกันสังคม และขอให้เพิกถอนระเบียบหลักเกณฑ์ ที่มีการเลือกปฏิบัติต่อแรงงานข้ามชาติ'</p>
<p>จิรารัตน์ มูลศิริ ทนายความและผู้รับมอบอำนาจ  ข้อสังเกตในคดีนี้ แรงงานข้ามชาติที่ได้เข้าสู่ระบบผู้ประกันตนประกันสังคม กว่าหนึ่งล้านคนทั่วประเทศไทยส่วนใหญ่ ยังไม่สามารถเข้าถึงสิทธิประโยชน์ในประกันสังคมได้ด้วยตนเอง ด้วยเหตุของความเข้าใจในข้อกฎหมาย ภาษา หรือปัจจัยอื่น การออกหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการเลือกตั้งคณะกรรมการประกันสังคมที่จำกัดสิทธิของตนเองนั้นยังไม่มีทางออก แต่หากการที่แรงงานข้ามชาติได้เข้าถึงการใช้สิทธิเลือกตั้งคณะกรรมการประกันสังคม ไม่ใช่เพียงแต่ลูกจ้างที่ได้ประโยชน์ จะยังมีฝ่ายนายจ้าง และภาคส่วนอื่นที่เป็นภาคีประกันสังคมได้รับประโยชน์ด้วยเช่นกัน นับว่าเป็นประโยชน์อย่างกว้างในหลายมิติและเกิดการเปลี่ยนแปลงไปตรงตามความต้องการที่เหมาะสม ต่อการบริหารกองทุนประกันสังคมที่เป็นเงินของผู้ใช้แรงงาน</p>
<p>สมชาย หอลออ ประธานมูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนากล่าวว่า การที่ศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งไม่รับวินิจฉัยคดีนั้น อาจทำให้ถูกมองไปได้ว่า ศาลไทยปฏิเสธที่จะให้ความยุติธรรมและเยียวยาแก่ผู้ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน</p>
<p>มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนาสรุปประเด็นสำคัญ ดังนี้</p>
<div class="note-box">
<p style="margin-left: 40px;">1. ราชกิจจานุเบกษา ลงวันที่ 22 มิ.ย. 2558 ลงประกาศ พระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2558 มาตรา 8 กำหนดให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่ง เรียกว่า “คณะกรรมการประกันสังคม” ประกอบด้วยตัวแทนจากภาครัฐ กับตัวแทนฝ่ายนายจ้างและตัวแทนฝ่ายผู้ประกันตนฝ่ายละ 7 คน โดยให้ผู้แทนของฝ่ายนายจ้างและฝ่ายผู้ประกันตน ต้องมาจากการเลือกตั้ง โดยคำนึงถึงการมีส่วนร่วมอย่างแท้จริงของฝ่ายนายจ้างและฝ่ายผู้ประกันตน สัดส่วนระหว่างหญิงและชาย รวมทั้งการมีส่วนร่วมอย่างมีประสิทธิผลของคนพิการ และผู้ด้อยโอกาส ทั้งนี้ หลักเกณฑ์และวิธีการเลือกตั้งให้เป็นไปตามระเบียบที่รัฐมนตรีกำหนด ซึ่ง กระทรวงแรงงาน และประกันสังคมจะต้องดำเนินการจัดให้มีการเลือกตั้ง</p>
<p style="margin-left: 40px;">2. การกำหนดคุณสมบัติผู้มีสิทธิเลือกตั้งกรรมการในคณะกรรมการประกันสังคมต้องมีสัญชาติไทยเท่านั้น ซึ่งไม่รวมถึงผู้ประกันตนที่ไม่มีสัญชาติไทยด้วย  ซึ่งผู้ประกันตนไม่ได้แต่เพียงผู้ประกันตนสัญชาติไทยเท่านั้น แต่ยังมีผู้ประกันตนที่เป็นแรงงานต่างชาติด้วย แต่ถูกจำกัดสิทธิในการเข้าถึงการเลือกตั้ง เนื่องมาจากระเบียบกระทรวงแรงงานว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเลือกตั้งผู้แทนฝ่ายนายจ้างและผู้แทนฝ่ายผู้ประกันตนเป็นกรรมการในคณะกรรมการประกันสังคม พ.ศ. 2564 ข้อ 16 กำหนดว่า ผู้มีสิทธิเลือกตั้งต้องมีคุณสมบัติ ต้องมีสัญชาติไทยเท่านั้น</p>
<p style="margin-left: 40px;"> เหตุแห่งที่มาของคดีนี้</p>
<p style="margin-left: 40px;">1. สืบเนื่องมาจากเมื่อวันที่ 2 พ.ค. 2566 เวลา 13.00 ที่ศาลปกครอง ถนนแจ้งวัฒนะ กรุงเทพมหานคร  ได้มี ธนพร วิจันทร์ พร้อมตัวแทนผู้ประกันตนทั้งแรงงานสัญชาติไทยและสัญชาติอื่น จำนวน 6 คน ได้ยื่นฟ้องกระทรวงแรงงาน เป็นผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 และปลัดกระทรวงแรงงาน เป็นผู้ถูกฟ้องคดีที่ 3 ขอให้ศาลปกครองมีคำสั่งให้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสามคน ดำเนินการจัดการเลือกตั้ง เพื่อให้มีผู้แทนฝ่ายนายจ้างและฝ่ายผู้ประกันตน (ลูกจ้าง) เป็นกรรมการในคณะกรรมการประกันสังคม และขอให้มีคำสั่งเพิกถอนระเบียบกระทรวงแรงงาน ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเลือกตั้งผู้แทนฝ่ายนายจ้างและฝ่ายผู้ประกันตนเป็นกรรมการในคณะกรรมการประกันสังคม พ.ศ.2564 ที่กำหนดว่า ผู้มีสิทธิรับเลือกตั้งเป็นกรรมการในคณะกรรมการประกันสังคมต้องมีสัญชาติไทย และผู้มีสิทธิเลือกตั้งต้องมีสัญชาติไทยเท่านั้น</p>
<p style="margin-left: 40px;">2. เมื่อวันที่ 26 พ.ค. 2566 ศาลปกครองได้มีหนังสือ ลงวันที่ 23 พ.ค. 2566  เรื่องแจ้งคำสั่งไม่รับคำฟ้องไว้พิจารณา โดยมีรายละเอียดว่า “..ศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่า รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 197 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีปกครองอันเนื่องมาจากการใช้อำนาจทางปกครองตามกฎหมายหรือเนื่องมาจากการดำเนินกิจการทางปกครอง ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 ในการพิจารณาคดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่ว่าจะเป็นการออกกฎหมาย คำสั่งหรือกระทำอื่นใด คดีพิพาทเกี่ยวกับหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐละเลยต่อหน้าที่ตามกฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ หรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร</p>
<p style="margin-left: 40px;">ศาลปกครองให้ความเห็นว่า เรื่องนี้ไม่อยู่ในอำนาจของศาลปกครอง แต่อยู่ในอำนาจของศาลแรงงาน ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 บัญญัติว่า ศาลแรงงานมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดี ในคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิหน้าที่ตามฎหมายว่าด้วยประกันสังคม แต่ระเบียบกระทรวงแรงงานว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเลือกตั้งผู้แทนฝ่ายนายจ้างและผู้แทนฝ่ายผู้ประกันตนเป็นกรรมการในคณะกรรมการประกันสังคม พ.ศ. 2564 ข้อ 16 กำหนดว่า ผู้มีสิทธิเลือกตั้งต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้ (1) มีสัญชาติไทย…”</p>
<p style="margin-left: 40px;">3. ผู้ฟ้องคดีทั้งหกอุทธรณ์คำสั่งศาลปกครอง  เนื่องจากการที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กระทรวงแรงงานและปลัดกระทรวงแรงงาน ปล่อยปละละเลย ไม่เร่งดำเนินการจัดให้มีการเลือกตั้งคณะกรรมการประกันสังคม ถือเป็นอำนาจของศาลปกครองโดยตรงที่ต้องพิจารณาการไม่จัดให้มีการเลือกตั้ง  ประกอบกับการตั้งหลักเกณฑ์และระเบียบในเรื่องสัญชาติของผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งที่เป็นสมาชิกประกันสังคม ถือเป็นการกีดกันและเลือกปฏิบัติต่อผู้ประกันตนที่ลูกจ้างต่างชาติ และขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 27 กับหลักกติการะหว่างประเทศ อาทิ อนุสัญญาด้านสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม หรือ International Covenant on Economic, Social and Cultural Rights (CESCR) กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง หรือ International Covenant on Civil and Political Rights (ICCPR)</p>
<p style="margin-left: 40px;">4. วันที่ 28 มี.ค. 2567 เวลา 14:00 ศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งชี้ขาดคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับคำฟ้องไว้พิจารณา ผลแห่งคำสั่งในคดีนั้น ศาลปกครองสูงสุดเห็นว่า ผู้ฟ้องคดีที่ 3 และ 4 เป็นแรงงานข้ามชาติ ได้รับควาทเดือดร้อนเสียหายหรืออาจเดือดร้อนเสียหายโดยมิอาจหลีกเลี่ยงได้ของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 จากการออกระเบียบกระทรวงแรงงานว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเลือกตั้งผู้แทนฝ่ายนายจ้างและผู้แทนฝ่ายผู้ประกันตนเป็นกรรมการในคณะกรรมการประกันสังคม พ.ศ. 2564 ข้อ 16 (1) กำหนดว่า ผู้มีสิทธิเลือกตั้งต้องมีสัญชาติไทยเท่านั้น จึงเป็นผู้มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลตามมาตรา 9 วรรคหนึ่ง (1) วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.2542  แต่ศาลได้พิจารณาต่อว่า ผู้ฟ้องคดีที่ 3 และ 4 มิได้นำคดีมายื่นฟ้องภายในระยเวลาที่กำหนด ไม่ทำตามมาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติเดียวกัน ที่กำหนดให้จะต้องยื่นฟ้องภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่รู้หรือควรรู้ถึงเหตุแห่งการฟ้องคดี เมื่อระเบียบดังกล่าวลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 8 ก.ค. 2564 มีผลบังคับใช้วันที่ 9 ก.ค. 2564 จะต้องฟ้องภายในวันที่ 7 ต.ค. 2564 หากแต่นำคดีมาฟ้องวันที่ 2 พ.ค. 2566 ศาลปกครองสูงสุดเห็นว่าแรงงานข้ามชาติผู้ฟ้องคดีต้องรู้หรือควรรู้ถึงเหตุแห่งการฟ้องคดีแล้ว จึงเป็นการยื่นฟ้องเกินระยะเวลาที่กำหนด ประกอบกับไม่ใช่คำฟ้องที่มีเหตุจำเป็นหรือเป็นคดีที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ ตามกำหนดแห่งข้อ 30 ของระเบียบที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสงสุด ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดปกครอง พ.ศ. 2543 ศาลจึงไม่รับคำฟ้องของผู้ฟ้องคดีที่ 3 และที่ 4 ไว้พิจารณา</p>
<p style="margin-left: 40px;">5. จิรารัตน์ มูลศิริ ทนายความและ ผู้รับมอบอำนาจ  ข้อสังเกตในคดีนี้ แรงงานข้ามชาติที่ได้เข้าสู่ระบบผู้ประกันตนประกันสังคม กว่าหนึ่งล้านคนทั่วประเทศไทยส่วนใหญ่ ยังไม่สามารถเข้าถึงสิทธิประโยชน์ในประกันสังคมได้ด้วยตนเอง ด้วยเหตุของความเข้าใจในข้อกฎหมาย ภาษา หรือปัจจัยอื่น การออกหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการเลือกตั้งคณะกรรมการประกันสังคมที่จำกัดสิทธิของตนเองนั้นยังไม่มีทางออก แต่หากการที่แรงงานข้ามชาติได้เข้าถึงการใช้สิทธิเลือกตั้งคณะกรรมการประกันสังคม ไม่ใช่เพียงแต่ลูกจ้างที่ได้ประโยชน์ จะยังมีฝ่ายนายจ้าง และภาคส่วนอื่นที่เป็นภาคีประกันสังคมได้รับประโยชน์ด้วยเช่นกัน นับว่าเป็นประโยชน์อย่างกว้างในหลายมิติและเกิดการเปลี่ยนแปลงไปตรงตามความต้องการที่เหมาะสม ต่อการบริหารกองทุนประกันสังคมที่เป็นเงินของผู้ใช้แรงงาน</p>
<p style="margin-left: 40px;">“การที่ศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งไม่รับวินิจฉัยคดีนั้น อาจทำให้ถูกมองไปได้ว่า ศาลไทยปฏิเสธที่จะให้ความยุติธรรมและเยียวยาแก่ผู้ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน” สมชายกล่าว</p>
<p style="margin-left: 40px;">สมชาย หอลออ ประธานมูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา ได้ให้ความเห็นว่า คำวินิจฉัยของศาลปกครองสูงสุดในคดีนี้ น่าจะไม่ชอบด้วยหลักของความยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน ทั้งนี้เพราะ ประการแรก สิทธิของผู้ประกันตนที่เป็นแรงงานข้ามชาติในการเลือกตั้งกรรมการประกันสังคมนั้น เป็นสิทธิมนุษยชน มิใช่เป็นสิทธิส่วนบุคคล และการฟ้องคดีนี้ ผู้ฟ้องคดีมิได้มีความมุ่งหมายที่จะให้ศาลคุ้มครองเยียวยาสิทธิในการเลือกตั้งกรรมการประกันสังคมของผู้ฟ้องคดีเท่านั้น แต่เพื่อคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของแรงงานข้ามชาติซึ่งเป็นผู้ประกันตนทั้งปวงด้วย ดังนั้นจึงถือว่าเป็นการฟ้องคดีเพื่อประโยชน์สาธารณะ ประการสุดท้าย ผู้ฟ้องคดีขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนระเบียบกระทรวงแรงงาน ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเลือกตั้งผู้แทนฝ่ายนายจ้างและฝ่ายผู้ประกันตนเป็นกรรมการในคณะกรรมการประกันสังคม พ.ศ.2564 ด้วย ดังนั้น ตราบใดที่ระเบียบฉบับนี้ยังมีผลใช้บังคับอยู่ ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากระเบียบดังกล่าว ย่อมฟ้องคดีได้เสมอ ศาลจะอ้างว่าผู้ฟ้องคดีไม่ฟ้องภายในกำหนด 90 วันไม่ได้ การที่ศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งไม่รับวินิจฉัยคดีนั้น อาจทำให้ถูกมองไปได้ว่า ศาลไทยปฏิเสธที่จะให้ความยุติธรรมและเยียวยาแก่ผู้ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน</p>
</div>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ขhttps://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2024/04/108662
 

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

นักข่าวหัวเห็ด แห่งเวบสุขใจ
อัพเดตข่าวทันใจ ตลอด 24 ชั่วโมง

>> http://www.SookJai.com <<
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.132 วินาที กับ 27 คำสั่ง

Google visited last this page 06 มิถุนายน 2568 14:07:25