[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
09 กรกฎาคม 2568 23:52:34 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - นักวิชาการชี้ภาวะโลกร้อนทำโลกและไทยเหลื่อมล้ำเพิ่ม  (อ่าน 205 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
สุขใจ ข่าวสด
I'm Robot
สุขใจ บอทนักข่าว
นักโพสท์ระดับ 15
****

คะแนนความดี: +101/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Italy Italy

กระทู้: มากเกินบรรยาย


บอท @ สุขใจ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 07 เมษายน 2567 17:59:01 »

นักวิชาการชี้ภาวะโลกร้อนทำโลกและไทยเหลื่อมล้ำเพิ่ม
 


<span class="submitted-by">Submitted on Sun, 2024-04-07 17:23</span><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>นักวิชาการชี้ภาวะโลกร้อนทำโลกและไทยเหลื่อมล้ำเพิ่ม ประชานิยมเฟื่องฟูบรรเทาปัญหาแต่ไม่ได้แก้โครงสร้าง </p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53636214447_225f9335da_o_d.jpg" />
<span style="color:#f39c12;">ภาพโดย </span><span style="color:#f39c12;">Gerd Altmann</span><span style="color:#f39c12;"> จาก </span><span style="color:#f39c12;">Pixabay</span></p>
<p>7 เม.ย. 2567 รศ.ดร.อนุสรณ์ ธรรมใจ ผู้อำนวนการศูนย์วิจัยเศรษฐกิจดิจิทัล การลงทุนและการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และ อดีตผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนานโยบายสาธารณะ สำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ภาวะโลกร้อนรุนแรงส่งผลกระทบต่อผลผลิตเกษตรกรรมทั่วโลกอย่างมาก เพิ่มต้นทุนภาคการผลิต ราคาอาหารโลกปรับตัวสูงขึ้น กระทบต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจกลางแจ้งโดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีอุณหภูมิสูงจนก่ออันตรายต่อสุขภาพนอกจากนี้ จากงานวิจัยขององค์กรระหว่างประเทศหลายหน่วยงานบ่งชี้ตรงกันว่า ภาวะโลกร้อนทำให้ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจซึ่งรุนแรงอยู่แล้วในระบบทุนนิยมโลกเพิ่มขึ้นอีก ไทยเป็นประเทศหนึ่งที่ได้รับผลกระทบโดยตรงมากขึ้นตามลำดับ  จากการข้อมูลล่าสุดของธนาคารกลางสหรัฐอเมริกา พบว่า กลุ่มคนร่ำรวยที่สุด 1% แรกในสหรัฐอเมริกา (ผู้ที่มีความมั่งคั่งมากกว่า 11 ล้านดอลลาร์ขึ้นไป) ถือครองทรัพย์สินและความมั่งคั่งกว่า 44.6 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ คนกลุ่ม 1% นี้มีความมั่งคั่งเพิ่มขึ้นในไตรมาสสี่ปีที่แล้วถึง 2 ล้านล้านดอลลาร์ เป็นผลจากการพุ่งขึ้นของราคาหุ้นที่กลุ่มคนเหล่านี้ถือครองอยู่ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นหุ้นที่เป็นบริษัทจดทะเบียนในสหรัฐอเมริกา </p>
<p>สถานการณ์ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจของระบบทุนนิยมโลกที่มีมากอยู่แล้วถูกซ้ำเติมเพิ่มอีกจากผลกระทบของภาวะโลกร้อน การเกิดอุทกภัยจากระดับน้ำทะเลหนุนสูงในแต่ละปีอาจทำให้เกิดความสูญเสียหลายสิบล้านล้านดอลลาร์ต่อปี และจะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องไปจนถึงสิ้นศตวรรษ เมื่อระดับน้ำทะเลสูงขึ้นจนเกินการรองรับของพื้นที่แผ่นดิน เป็นเหตุให้ประชากรผู้อาศัยอยู่แถบชายฝั่งต้องอพยพไปอยู่พื้นที่อื่น มีผลกระทบต่อการจัดเก็บภาษี ฐานะการทางคลังอันเป็นผลจากการย้ายถิ่นและศูนย์กลางทางเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไปอีกด้วย ประชาชนต้องออกจากถิ่นที่อยู่และวิถีชีวิตแบบดั้งเดิมเพื่อเอาตัวรอดจากภัยธรรมชาติโดยไม่มีทางเลือกยังเป็นบ่อเกิดแห่งวิกฤตเชิงมนุษยธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศที่มีกำลังในการป้องกันชายฝั่งน้อย การเพิ่มระดับของน้ำทะเลยังส่งผลให้พื้นที่ชายฝั่งลดลง พื้นที่ของทะเลขยายใหญ่ขึ้น กระตุ้นให้เกิดข้อพิพาทระหว่างประเทศเกี่ยวกับการประมงและทรัพยากรทางทะเลทั่วโลกเป็นผลจากการอ้างสิทธิ์ทางทะเลเปลี่ยนแปลงจากพื้นที่ชายฝั่งใหม่ของประเทศต่างๆ</p>
<p>งานวิจัยของกรีนพีซ (Greenpeace) ได้มีการใช้ปัญญาประดิษฐ์ (AI) คาดการณ์ผลกระทบในพื้นที่ของประเทศไทยและประเทศอื่นๆอย่างละเอียดกว่าเดิม กรณีของไทย งานวิจัยคาดการณ์โดย AI พบว่ามีชาวไทยมากกว่า 10% ที่อาศัยอยู่บนพื้นที่ซึ่งมีแนวโน้มว่าจะถูกน้ำท่วม (อันประกอบไปด้วยกรุงเทพและปริมณฑล บางจังหวัดในพื้นที่ราบลุ่มภาคกลาง ตะวันตกและบางส่วนของภาคตะวันออก) ในปี ค.ศ. 2050 ซึ่งเป็นเปอร์เซ็นต์ที่สูงขึ้นอย่างมากเมื่อเทียบกับผลลัพธ์ตามเทคนิคเดิมก่อนหน้านี้ที่คำนวณไว้เพียง 1% โดยจุดเสี่ยงสำคัญคือเมืองหลวงอย่างกรุงเทพและปริมณฑล เมืองหลวงของไทยอาจเป็นศูนย์กลางของวิกฤตน้ำท่วมในอนาคต แต่ผลกระทบทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นในหลายพื้นที่จะผลักดันให้ประชาชนกลุ่มยากจนดิ้นรนออกจากพื้นที่เดิมเพื่อหางานทำใหม่ และ ครอบครัวรายได้น้อยจะได้รับผลกระทบหนักที่สุด บางส่วนไม่มีความพร้อมในการย้ายถิ่น นอกจากระดับน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้นแล้ว กรุงเทพฯและปริมณฑลยังมีสภาพเป็นดินอ่อน มีการขยายตัวของความเป็นเมืองอย่างไร้ระเบียบไร้ทิศทาง มีการทรุดตัวของแผ่นดินจากสิ่งก่อสร้างขนาดใหญ่จำนวนมาก อาจเผชิญน้ำไหลบ่าจากทางเหนือ จากงานวิจัยคาดการณ์อนาคตของกรีนพีซ (Greenpeace) ประเมินว่า ในอีก 6 ปีข้างหน้า (ปี พ.ศ. 2573) มากกว่า 90% ของกรุงเทพฯ เป็นพื้นที่ลุ่มต่ำที่เสี่ยงน้ำท่วมหากระดับน้ำทะเลเพิ่มขึ้น ตามการวิเคราะห์โดยใช้ภาพฉายอนาคต ความเสียหายทางเศรษฐกิจคิดเป็นมูลค่ารวม 512,280 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ มากกว่า 18 ล้านล้านบาท มีผลกระทบต่อประชากร 10.45 ล้านคนในกรุงเทพฯและปริมณฑล รวมทั้ง ประชาชนในต่างจังหวัดที่ต้องพึ่งพารายได้จากแรงงานในกรุงเทพฯ การประเมินเบื้องต้นความเสียหายทางเศรษฐกิจคิดเป็น 96% ของ GDP(PPP) รวมของกรุงเทพฯ เพิ่มความเหลื่อมล้ำในประเทศให้สูงขึ้นอีก </p>
<p>นอกจากนี้ ภาวะอุณหภูมิสูงมาก เกิดสภาพอากาศร้อนรุนแรง ทำให้เกิดการเจ็บป่วยและเสียชีวิตขึ้นได้ ความแตกต่างของอัตราการเสียชีวิตในพื้นที่ต่างๆจากภาวะโลกร้อนรุนแรง เกี่ยวพันกับหลายปัจจัย ซึ่งรวมถึงการเข้าถึงบริการสุขภาพ สถาปัตยกรรม ความหนาแน่นของเมือง ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและรูปแบบการใช้ชีวิต การวิจัยชี้ให้เห็นถึงการแตกต่างระหว่างภูมิภาคที่ร่ำรวยและยากจน นักวิจัยพบว่า อเมริกาเหนือและเอเชียตะวันออกมีแนวโน้มที่จะผู้เสียชีวิตจากสภาพภูมิอากาศในสัดส่วนที่ต่ำกว่า บางประเทศในอเมริกากลางและใต้มีสัดส่วนการเสียชีวิตจากความร้อนมากกว่า 70% อันเนื่องมาจากภาวะโลกร้อน การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศส่งผลกระทบต่อสุขภาพของเราอยู่แล้ว โดยพื้นฐานแล้ว การเสียชีวิตจากความร้อนทั้งหมดสามารถป้องกันได้ แต่ครอบครัวยากจนทั่วโลกรวมทั้งไทยอาจประสบความยากลำบากในเข้าถึงการป้องกันผลกระทบจากฐานะทางเศรษฐกิจ รัฐบาลจึงต้องมีบทบาทเข้ามาช่วยเหลือรวมทั้งบรรเทาผลกระทบที่จะทำให้ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจขยายวงเพิ่มขึ้น ผู้คนทั่วโลกใช้เครื่องปรับอากาศมากขึ้น ซึ่งอาจทำให้อัตราการเสียชีวิตลดลง ขณะเดียวกันก็มีส่วนทำให้เกิดการปล่อยความร้อนให้กับโลกมากขึ้นในขณะเดียวกัน </p>
<p>รศ.ดร.อนุสรณ์ กล่าวต่อว่า แนวคิดและนโยบายแบบประชานิยมเฟื่องฟูขึ้นท่ามกลางความเหลื่อมล้ำที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ “ประชานิยม” บรรเทาปัญหาความเหลื่อมล้ำได้ระดับหนึ่ง แต่ไม่ได้แก้โครงสร้าง และ ยังทำให้ “ประชาชนส่วนใหญ่” “นักการเมือง” และ “ข้ารัฐการ” ไม่ตระหนักและละเลยปัญหาในเชิงโครงสร้างอีกด้วย ขณะเดียวกัน รูปแบบวิธีการทางการเมืองแบบประชานิยมที่เกิดขึ้นในยุโรป สหรัฐอเมริกา ละตินอเมริกา และเอเชียบางประเทศ จะก่อความขัดแย้งและทำให้ระบอบเสรีประชาธิปไตยอ่อนแอลง แปรสภาพเป็น ระบอบอำนาจนิยมจากการเลือกตั้งมากขึ้นตามลำดับ วิธีการทางการเมืองแบบประชานิยมมุ่งสร้างคู่ตรงข้ามในเชิงศีลธรรมระหว่าง “ประชาชน” และ “ชนชั้นนำผู้ฉ้อฉล” เพื่อระดมการสนับสนุนจากมวลชนให้ชนะเลือกตั้ง อย่างไรก็ตาม จากการศึกษาในหลายประเทศที่มีนโยบายประชานิยม พบว่า ต้องอาศัยผู้นำที่มีบารมี (Charismatic Leadership) อาศัยระบบอุปถัมภ์ (Clientelism) มีปัญหาความเหลื่อมล้ำรุนแรง และในหลายกรณีประชานิยมอาจไม่ได้นำมาสู่การบรรเทาปัญหาความเหลื่อมล้ำ นโยบายกระจายการจัดสรรทรัพยากร การกระจายรายได้กระจายความมั่งคั่ง ความสำเร็จของการลดความเหลื่อมล้ำเป็นผลจากการปฏิรูปทางเศรษฐกิจและการสร้างความเป็นธรรมทางสังคมมากกว่า</p>
<p>กรณีของไทย มาตรการประชานิยมพักหนี้ แจกเงิน อาจไม่ได้แก้ปัญหาวิกฤติหนี้สินได้อย่างแท้จริงเพียงช่วยบรรเทาความเดือดร้อน ประเมินหนี้ครัวเรือนไทยเทียบกับจีดีพีปลายปี 2567 อาจแตะ 92% หนี้ครัวเรือนที่สูงกว่าร้อยละ 90 ของ GDP เป็นระดับที่ต้องเฝ้าระวัง และอาจฉุดรั้งการขยายตัวของเศรษฐกิจในอนาคต สร้างความเสี่ยงต่อเสถียรภาพระบบการเงินและอาจลุกลามไปเป็นปัญหาสังคม ซึ่งจะยิ่งแก้ไขได้ยากขึ้น แม้นหนี้ครัวเรือนต่อจีดีพีขยายตัวเพิ่ม เพราะต้นทุนทางการเงินสูงขึ้นและเศรษฐกิจฟื้นตัวช้าและน้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้ ยอดหนี้คงค้างยังคงเพิ่มขึ้นต่อเนื่องทำให้หนี้ครัวเรือนคงค้างอยู่ที่ 16.95-17 ล้านล้านบาทเทียบกับไตรมาสแรกปีที่แล้วที่มีอยู่ยอดหนี้ครัวเรือนคงค้างอยู่ที่ 15.19 ล้านล้านบาท เมื่อนำมาคำนวณ พบว่า หนี้เฉลี่ยรายบุคคลสูงกว่า 240,000 บาทต่อคน หนี้ครัวเรือนของชาวไทยเฉลี่ยอาจทะลุ 550,000 แสนบาทต่อครัวเรือน ชาวไทยในวัยทำงานอายุไม่เกิน 35 ปี มีรายได้ครัวเรือนเฉลี่ยต่อเดือนประมาณ 25,000-27,000 บาท ขณะที่รายจ่ายครัวเรือนเฉลี่ยแต่ละเดือนเกือบเท่ากับรายได้จึงไม่มีเงินออม เมื่อมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม ค่าใช้จ่ายฉุกเฉินมากกว่ารายจ่ายปรกติ จึงจำเป็นต้องก่อหนี้เพื่อเสริมสภาพคล่องให้เพียงพอ ประเทศไทยจึงมีหนี้ครัวเรือนสูงเป็นอันดับสองในเอเชีย รองจากเกาหลีใต้ และ อยู่ในอันดับที่ 12 ของโลก ขณะเดียวกัน คนไทยมีหนี้สาธารณะที่ต้องร่วมกันรับผิดชอบเฉลี่ยท่านละ 168,430 บาท (คำนวณจากตัวเลขปลายปีที่แล้ว) รัฐบาลทำขาดดุลงบประมาณเพิ่มเติมอีกในปีงบประมาณ 67 และ 68 จะทำให้ หนี้สาธารณะที่ประชาชนแต่ละท่านที่ต้องร่วมกันรับผิดชอบเฉลี่ย อาจสูงกว่า 170,000 บาทต่อคน เท่ากับว่า ชาวไทยแต่ละท่านมีภาระหนี้สินส่วนครัวเรือนรวมหนี้สาธารณะอยู่ที่ท่านละ 410,000 บาท ฉะนั้นการตั้งเป้าให้เศรษฐกิจขยายตัวได้เต็มศักยภาพที่ 5-6% เป็นเรื่องสำคัญเพื่อให้เศรษฐกิจมีรายได้สูงขึ้น และ ต้องสร้างกลไกให้เกิดการกระจายรายได้มายังคนส่วนใหญ่อย่างทั่วถึง คือ ต้องปฏิรูปโครงสร้างการกระจายรายได้และลดความเหลื่อมล้ำอย่างจริงจัง การพักหนี้ เจรจาประนอมหนี้ หรือ ลดดอกเบี้ยเป็นเพียงแค่บรรเทาแต่ไม่ได้แก้ปัญหาในระยะยาว ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจต้องแก้ด้วยการปฏิรูปเศรษฐกิจ มาตรการประชานิยมช่วยได้แค่บรรเทาปัญหาในระยะสั้นเท่านั้น  การดำเนินการแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนอย่างยั่งยืนและเป็นระบบ ต้องมีการยกระดับมาตรฐานกระบวนการให้สินเชื่อและการปฏิบัติกับลูกหนี้อย่างเป็นธรรม (Responsible Lending) ครอบคลุมตลอดวงจรหนี้ของลูกหนี้ Responsible Lending เกิดขึ้นได้เมื่อมีการกำกับดูแลที่มีประสิทธิภาพพร้อมการแข่งขันเพิ่มขึ้นในอุตสาหกรรมบริการทางการเงิน นอกจากนี้ การคิดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ตามความเสี่ยง (Risk-based Pricing) รวมทั้ง ยกเลิกกำหนดเพดานดอกเบี้ยจะช่วยให้เกิดการปรับพฤติกรรมวินัยทางการเงินของครัวเรือนให้ดีขึ้น แนวทางเหล่านี้ต้องทำควบคู่กับมาตรการระยะสั้น (พักหนี้ ประนอมหนี้ ลดดอกเบี้ย) ที่จะช่วยบรรเทาวิกฤติหนี้สินครัวเรือนได้อย่างยั่งยืนในระยะยาว  </p>
<p>รศ.ดร.อนุสรณ์ กล่าวในช่วงท้ายว่า ชุดของนโยบายประชานิยมมักเชื่อมโยงกับการกระจายรายได้และลดความเหลื่อมล้ำเสมอ และ มีองค์ประกอบสำคัญสองประการ คือ หนึ่ง มองเจตจำนงประชาชนเหนือกว่าหลักการด้านอื่นๆ สอง เจตจำนงของประชาชนควรสะท้อนผ่านความสัมพันธ์โดยตรงระหว่างประชาชนกับผู้นำทางการเมือง   </p>
<p>การพักหนี้ การแจกเงิน การขึ้นค่าแรงโดยยึดกรอบการบริหารนโยบายเศรษฐกิจมหภาคที่ดี ระมัดระวังในเรื่องวินัยการเงินการคลัง ย่อมไม่นำไปสู่ความไร้เสถียรภาพของเศรษฐกิจมหภาค วิกฤติหนี้สาธารณะ อัตราเงินเฟ้อพุ่งสูง เหมือนประชานิยมในละตินอเมริกาในยุคฮวน เปรองแห่งอาร์เจนตินา ค.ศ. 1946-1955 หรือ อัลแบร์โต ฟูจิโมริแห่งเปรู ค.ศ. 1990-2000 บรรเทาปัญหาหนี้สินและลดความเหลื่อมล้ำได้บ้าง วิกฤติหนี้สิน และ ความเหลื่อมล้ำรุนแรง จะกลายเป็น “ระเบิดเวลา” ที่จะนำไปสู่ปัญหาทางเศรษฐกิจ การเมือง สังคมในอนาคตของไทยได้ การบรรเทาปัญหาด้วยมาตรการระยะสั้นย่อมมีความจำเป็นไม่ต่างจากการแก้ปัญหาในเชิงโครงสร้างด้วยมาตรการระยะยาว ความเหลื่อมล้ำไม่ว่าจะเป็นความเหลื่อมล้ำในโอกาส (Inequality of Opportunity) หรือ ความเหลื่อมล้ำของผลลัพธ์ (Inequality of Outcome) ก็ตาม จะกดดันให้อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจลดลงในระยะปานกลางและระยะยาว ศักยภาพและประสิทธิภาพของระบบเศรษฐกิจถดถอยลง เป็นผลลบต่อเสถียรภาพของระบอบประชาธิปไตยและความมั่นคงทางการเมืองและสังคม </p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ขhttps://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2024/04/108735
 

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

นักข่าวหัวเห็ด แห่งเวบสุขใจ
อัพเดตข่าวทันใจ ตลอด 24 ชั่วโมง

>> http://www.SookJai.com <<
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.585 วินาที กับ 27 คำสั่ง

Google visited last this page 17 มีนาคม 2568 13:08:58