โฆษกรัฐบาลฯ แจงเครื่องบินพม่าเป็นการปฏิบัติภารกิจพลเรือนตามปกติ
<span>โฆษกรัฐบาลฯ แจงเครื่องบินพม่าเป็นการปฏิบัติภารกิจพลเรือนตามปกติ</span>
<span><span>auser15</span></span>
<span><time datetime="2024-04-08T14:17:52+07:00" title="Monday, April 8, 2024 - 14:17">Mon, 04/08/2024 - 14:17</time>
</span>
<div class="field field--name-body field--type-text-with-summary field--label-hidden field-item"><p>โฆษกรัฐบาลฯ เผยไทยสนับสนุนการแก้ไขทุกปัญหาโดยทุกคู่ขัดแย้งด้วยสันติวิธี พร้อมให้ความช่วยเหลือตามแนวทางหลักการสากล แจงเครื่องบินพม่าเป็นการปฏิบัติภารกิจพลเรือนตามปกติ - ประธาน กมธ.ต่างประเทศ ห่วงสถานการณ์ชายแดน ย้ำ 4 ข้อเสนอให้รัฐบาลเร่งดำเนินการ ชี้เป็นเวลาเหมาะสมผลักดันกระบวนการสันติภาพในพม่า เพราะถ้ามีการสู้รบต่อไปคนที่ต้องรับภาระมากที่สุดคือประเทศไทย</p><p>8 เม.ย. 2567
เว็บไซต์รัฐบาลไทย รายงานว่านายชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีชี้แจงต่อการดำเนินนโยบายด้านการต่างประเทศของไทยว่า ไทยไม่ใช่คู่ขัดแย้งของใครในเวทีการเมืองระหว่างประเทศ และดำเนินนโยบายยืนหยัดคู่ความสงบสุข การแก้ไขความขัดแย้งโดยสันติวิธีเสมอมา</p><div class="more-story"><p><strong>เรื่องที่เกี่ยวข้อง</strong></p><ul><li>
เผย รบ.พม่าส่งเครื่องบินลงสนามบินแม่สอด 7-9 เม.ย. </li></ul></div><p>ดังนั้น ต่อประเด็นเรื่องเครื่องบินพม่าเป็นการปฏิบัติภารกิจฝ่ายพลเรือน ขอนำเครื่องบินพลเรือนเพื่อขอขนส่งสิ่งของพลเรือนตามปกติ ไม่ได้เป็นการรองรับภารกิจพิเศษ หรือมีการขนกำลังทหารหรืออาวุธ แต่อย่างใด</p><p>“รัฐบาลไทยดำเนินนโยบายอย่างชัดเจนเสมอมา ไทยไม่ใช่คู่ขัดแย้งของใคร มุ่งหวังให้ทุกฝ่ายดำเนินการในทางสันติวิธี แต่ในทางมนุษยธรรม ไทยพร้อมให้ความช่วยเหลือพลเรือน ตามแนวทางหลักการสากลเพื่อสันติสุขของโลกตามที่ได้ดำเนินการตลอดมา” นายชัย กล่าว</p><h2>ประธาน กมธ.ต่างประเทศ ห่วงสถานการณ์ชายแดนไทย ย้ำ 4 ข้อเสนอให้รัฐบาลเร่งดำเนินการ</h2><p>
ไทยรัฐออนไลน์ รายงานว่านายนพดล ปัทมะ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.) แบบบัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการการต่างประเทศ (กมธ.) สภาผู้แทนราษฎร กล่าวถึงสถานการณ์ที่กองกำลังกะเหรี่ยงเคเอ็นยู ได้ยึดเมืองเมียวดี ประเทศพม่า ตรงข้าม อ.แม่สอด จ.ตาก ของประเทศไทย และในขณะนี้มีผู้อพยพหนีภัยสงครามข้ามแดนมาแล้วบางส่วนนั้น ในเรื่องนี้ กมธ.ต่างประเทศ เคยมีข้อเสนอแนะถึงผู้ที่เกี่ยวข้อง 4 ข้อ ซึ่งยังใช้ได้ทุกข้อ ดังนี้</p><p>1. รีบตั้งกลไกติดตามสถานการณ์ในพม่าอย่างใกล้ชิด</p><p>2. มีแผนรองรับผู้อพยพหนีภัยสงครามและผลกระทบการสู้รบในพม่า</p><p>3. ช่วยเหลือทางมนุษยธรรมให้ครอบคลุมทั้งคนพม่าและชนกลุ่มน้อยที่ได้รับผลจากการสู้รบ</p><p>4. ผลักดันการเจรจาสันติภาพในพม่าโดยผ่านกลไกทรอยก้าพลัส ไทยควรเป็นหัวหอกเชิญประธานอาเซียน จีน อินเดีย เข้ามาผลักดันการเจรจาสร้างสันติภาพในพม่า ซึ่งจะเป็นการแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ ตรงเป้าที่สุด และได้จังหวะเวลาที่สุด</p><p>นายนพดล กล่าวต่อไปว่า ขณะนี้เหตุการณ์กลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ สู้รบกับทางรัฐบาลทหารพม่า เป็นเรื่องที่ฝ่ายความมั่นคงรับทราบมาอย่างต่อเนื่อง แต่มีคำถามว่าเรามีแผนรองรับที่ทันการและครอบคลุมหรือไม่ เนื่องจากการสู้รบน่าจะดำเนินการไปอย่างต่อเนื่องในฤดูแล้ง และจะมีคนหลบหนีภัยสงครามมาเป็นจำนวนมาก นอกจากนั้น อาจจะมีคนหนีการเกณฑ์ทหารในพม่าข้ามแดนเข้ามาในประเทศไทยเป็นจำนวนมาก ถามว่าระบบการตรวจสอบและการขึ้นทะเบียนคนเข้าเมืองทันการและสามารถรองรับได้เพียงใด มิฉะนั้นในอนาคตเราก็จะมีบุคคลที่เข้าเมืองแต่ไม่มีเอกสารเป็นจำนวนมาก ซึ่งอาจจะกระทบต่อปัญหาความมั่นคงในอนาคต</p><p>ทั้งนี้ จากสถานการณ์ล่าสุดในพม่า จึงขอตอกย้ำข้อเสนอ 4 ข้อที่ กมธ.ต่างประเทศ เคยเสนอไปแล้วเพื่อให้ภาครัฐไปดำเนินการ โดยเฉพาะ ข้อ 1 เร่งรัดการมีกลไกระดับชาติจะเป็นในรูปแบบกรรมการ หรือมีเจ้าภาพในรูปแบบอื่นเพื่อติดตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลาในพม่าอย่างใกล้ชิด เพื่อมีมาตรการรองรับอย่างเป็นระบบ และข้อ 2 ซึ่งภาครัฐน่าจะสื่อสารแผนรองรับการอพยพหนีภัยสงครามและหนีการเกณฑ์ทหารว่าน่าจะมีจำนวนเท่าใด เพราะขณะนี้มีข้อมูลว่ามีชาวพม่าที่เข้ามาในไทยโดยไม่ผ่านช่องทางคนเข้าเมืองโดยถูกกฎหมายและซ่อนตัวอยู่ในจังหวัดต่างๆ บ้างแล้ว ซึ่งเราไม่สามารถทราบได้ว่ามีจำนวนเท่าไร และจะมีผลกระทบในระยะยาว</p><p>“ในขณะที่มีผู้หนีภัยสงคราม เราก็ต้องช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมโดยไม่เลือกปฏิบัติ ไม่ว่าการหลบภัย อาหาร อย่างไรก็ตาม ผมเห็นว่าต้นเหตุของปัญหาคือการสู้รบ คิดว่าเวลานี้น่าจะเป็นเวลาที่เหมาะสมมากในการที่จะผลักดันกระบวนการสันติภาพในพม่า โดยการตั้งทรอยก้าพลัสเพื่อโน้มน้าวทุกฝ่ายในพม่าหันหน้ามาพูดคุยกันเพื่อสร้างสันติภาพอย่างยั่งยืน เพราะถ้ามีการสู้รบกันต่อไปคนที่ต้องรับภาระมากที่สุดก็คือประเทศไทย”</p><p>นายนพดล ระบุอีกว่า เรามีความปรารถนาดี อยากเห็นสันติภาพ เสถียรภาพ และเอกภาพในพม่า ไทยจึงควรเป็นหัวหอกหลักในการร่วมมือคุยกับทางประธานอาเซียน จีน อินเดีย และควรดำเนินการทันที เพราะข้อเสนอในเรื่องนี้นักวิชาการและผู้สันทัดกรณีเรื่องพม่าก็ได้เสนอแนะรัฐบาลมาอย่างต่อเนื่อง ถ้าทำได้ก็จะปูทางไปสู่สันติภาพอย่างยั่งยืน เป็นการแก้ปัญหาที่ต้นเหตุและตรงจุดที่สุด รวมทั้งจะเพิ่มพูนบทบาทของไทยในเวทีโลกด้วย</p><p> </p></div>
<div class="node-taxonomy-container">
<ul class="taxonomy-terms">
<li class="taxonomy-term"><a href="
http://prachatai.com/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" hreflang="th">ข่า
http://prachatai.com/category/%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8" hreflang="th">ต่างประเท
http://prachatai.com/category/%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%87" hreflang="th">ความมั่นค
http://prachatai.com/category/%E0%B8%9E%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%B2" hreflang="th">พม่
http://prachatai.com/category/%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A7%E0%B8%94%E0%B8%B5" hreflang="th">เมียวด
http://prachatai.com/category/%E0%B8%81%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%87" hreflang="th">กะเหรี่ย
http://prachatai.com/category/knu" hreflang="th">KNU[/url]</li>
<li class="taxonomy-term"><a href="
http://prachatai.com/category/pdf" hreflang="th">PDF[/url]</li>
<li class="taxonomy-term"><a href="
http://prachatai.com/category/%E0%B9%81%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%AA%E0%B8%AD%E0%B8%94" hreflang="th">แม่สอ
http://prachatai.com/category/%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%81" hreflang="th">ตา
https://prachataistore.net</div>
http://prachatai.com/journal/2024/04/108746 







